แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 1
แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559 19Mar2016
วันนี้พกคอมมาด้วย โต๊ะจดสะดวก เลยฟังไปจดไปด้วยครับเพลินๆ มี 4 part หลักๆ
1) สัมภาษณ์ส่งไม้ต่อนายกสมาคมthaivi
2) สัมภาษณ์อ.นิเวศน์
3) สัมภาษณ์สมาชิกที่แลกเปลี่ยนข้อมูลบ่อยๆ
4) สัมภาษณ์พี่โยโย่ สันติ สิงหวังชา
บางช่วงก็วิ่งเข้าวิ่งออกบ้าง ถ้าตกหล่นผิดพลาดขออภัยด้วยนะครับ
ขอบคุณทีมงาน thaivi คณะกรรมการ วิทยากรทุกท่าน ที่เสียสละแรงกายแรงสมองในงานนี้
รวมทั้งสมาชิกทุกคนที่มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันให้สังคม
ทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือสนับสนุนให้กับองค์ต่างการกุศลต่างๆ
(รวมทั้งร่วมกันบริจาคเงินให้ตลาดหุ้นครับ )
1) สัมภาษณ์ส่งไม้ต่อนายกสมาคมthaivi
พิธีกร พี่บอล
ความประทับใจ? ประสบการณ์?
พี่โจ
ไม่ได้ตั้งใจมาเป็น เดินอยู่หลังเวที แล้วมีคนถีบขึ้นมาเป็น
รู้สึกประทับใจกรรมการทุกท่าน นายกเป็นแค่หัว แต่หัวทำอะไรไม่ได้
อย่าง กานต์ พี่นุช ลี่ เกด เป็นต้น รวมทั้งพวกเราทุกคนเป็นเลือดเนื้อ ลมหายใจสมาคม
ตอนตั้งสมาคมฯมีความเข้าใจผิด เรื่องเก็บเงินกันเยอะ
ช่วงแรกกรรมการหลายท่านก็ท้อแท้ จะยกเลิกเก็บเงินเหมือนกัน
แต่ก็มีกรรมการที่มองว่าไม่เก็บเงินก็อยู่ไม่ได้ ต้องไปหาเงินทาง หาผลประโยชน์ทางอื่น
พี่ไก่ธันวา เคยบอกว่าถ้ามีสมาชิกซัก 1500 ก็น่าจะรอดแล้ว ตอนนี้เรามี 1 หมื่นกว่าคน
ค่าสมาชิก 400 บาทถือว่าน้อยมากสำหรับเงินพวกเรา มันคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้
การรับตำแหน่งเป็นนายกสมาคมคนต่อไป?
พี่ชาย
คิดอยู่ซักพัก ก็ต้องปรึกษาภรรยาด้วย ที่ตัดสินใจเพราะเข้ามาใช้หนี้
ความรู้ส่วนหนึ่งก็ได้มาจากเวบ thaivi อ่านมาตั้งแต่ปี 2004 มีไม่กี่เวบ ตลาดหุ้น กระทิงเขียว จน thaivi
ได้ความรู้มากมายจากเพื่อนๆสมาชิกหลายคน และมีตัวอย่างที่ดี
เช่น อ.ไพบูลย์ จัด money talk ทำฟรี ท่านนั่งตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น ก็เหนื่อย ทำเพื่อสังคม
อ.นิเวศน์ ก็ไปฟังพูดให้สังคม ท่านจริงใจ คิดอย่างไรก็พูดอย่างงั้น
เคยไปงาน mai นักวิเคราะห์พูด ท่านก็บอกว่าอย่าไปซื้อเลยไม่ดี ก็พูดตรงๆ
คิดว่าควรเสียสละ คืนกลับให้สังคมบ้าง และชวนเพื่อนๆสมาชิกทำอย่างอื่นบ้าง ถ้ามีโอกาส
คนที่ลงทุนในหุ้นหมกมุ่น อาจจะมีกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เช่น ไปทำบุญ ทำเพื่อสังคม
เพิ่มเติมอื่นๆ
พี่โจ
มีความตั้งใจว่าอยากเขียนหนังสือ ประกาศไว้ว่าไม่เกิน 3 ปี ประกาศไว้จะได้กระตุ้นตัวเอง
กรรมการกับทีมงานยังต้องการเพิ่ม คนที่มีทัศนคติตรงกัน ไม่หวังผลประโยชน์ มีความซื่อสัตย์
คำถามจากทางบ้าน
เวลาตั้งเป้าหมายลงทุนทำอย่างไร?
พี่โจ
ตอนเข้าใจสมการทบต้นครั้งแรกตื่นเต้น ไม่น่าเชื่อว่าทำแค่ปีละ 20% จากเงินหลักแสน
หลายๆปีกลายเป็นเศรษฐีร้อยล้านได้
เราควบคุมไม่ได้ว่าจะได้เท่าไรในแต่ละปี เราทำเต็มความสามารถของเรา จะได้เท่าไรก็อีกเรื่อง
ถ้าทัศนคติถูกต้อง วิธีการถูกต้อง ผลตอบแทนก็มาเอง ทีแรกคิดว่าจะเป็นเศรษฐีร้อยล้านตอนอายุ 60
ตอนนี้อย่าไปหวังผลเลิศ ได้ 20-30% ก็เพียงพอแล้ว
บางทีตาเรามองจุดหมายมากเกินไป ลืมก้มลงมองพื้น เดินทีละก้าว ดูพื้นฐานธุรกิจ เลือกหุ้นดีๆ ราคาไม่แพง บางปีดีๆ อาจได้ 150% จะคิดเสมอว่านี่เป็นผลตอบแทนดีผิดปกติ
เราอาจจะโชคดี ซักวันพอร์ตเราก็อาจลดลง 50-60% ได้เช่นกัน
ถ้าเราได้มาก ให้คิดเสมอว่าซักวันเราจะเสีย ไม่งั้นเราจะหยิ่งผยอง มันเป็นไปไม่ได้ ว่าเราจะทำได้สูงๆเสมอ
ลงทุนให้ถูกต้อง ทบต้นไปเรื่อยๆ
ผลตอบแทนที่ได้ 1700 กว่าเท่า ที่จริงผลตอบแทนเงินจริงน้อยกว่านี้มาก
เพราะเอาเงินออกไปช่วยเหลือคนอื่นเยอะ ถ้าโชคดีไม่มีภาระมาก ก็จะไปได้เร็ว
พี่ชาย
เห็นด้วยกับคุณโจ
อ่านหนังสือ magic number มีเป้าหมาย 15-20%
ก่อนจะศึกษา vi ตั้งเป้าหมายเป็นเท่า พอเข้าใจก็ตั้งเป้าลดลง
รู้สึกเหมือนคุณโจ เราบอกไม่ได้ว่าปีหนึ่งเราจะได้เท่าไร อยู่ที่ตลาดจะเท่าไร
บางปีเราอาจไม่ดี อาจจะไม่ใช่เราตัดสินใจผิด
อย่างในหนัง big short เขาตัดสินใจถูก แต่ต้องรอนาน 2-3 ปี
ต้องทนความเจ็บปวด จนกว่าจะได้ผลตอบแทนจากการ short ของเขา
พยายามศึกษาธุรกิจให้ถ่องแท้ เดี๋ยวก็ได้รางวัลเอง
เรื่องล้างพอร์ต คนที่ทำได้ต้องมีความรู้การลงทุนที่ดีมาก ถ้าล้างพอร์ตต้องรู้ด้วยว่าจะกลับมาเมื่อไร
ต้องเป็น market timer ที่เก่งมาก ถ้าล้างได้ถูก ต้องกลับมาซื้อได้ถูกอีก
เหมือนแทงหัวก้อย สองรอบ โอกาสถูกคือ 1 ใน 4
ถ้าทำแบบบัฟเฟตต์เลือกกิจการที่ดีๆ ตัดสินใจน้อยครั้ง มีโอกาสชนะมากกว่า
ช่วงน้ำท่วมใหญ่ มีนักลงทุนที่เก่งกาจ ล้างพอร์ต ปรากฏหุ้นก็ไม่ลง
ฝากไว้ ผลตอบแทน ตั้งไว้บางทีเป็นการกดดันตัวเอง
ถึงเป้าหมายแล้วล้างพอร์ต ก็ต้องเก่งมากที่จะกลับมาซื้อ
คุณโจ เสริมพี่ชาย ถ้าพอร์ตใครที่หุ้นดีอยู่แล้ว กิจการดี ยังต่ำกว่ามูลค่า
ไม่จำเป็นต้องล้าง เป็นพอร์ตสะอาด
นักลงทุนระยะยาว ไม่มีอะไรกดดัน ไม่เหมือน trigger fund
เป็นเกณฑ์ไม่ฉลาด รังเกียจกำไร พอถึง 7% ขาย แทนที่จะให้ขึ้นไปเป็น 100%
Q.ชีวิตจริงหุ้นลงไปเยอะ ไม่ล้างพอร์ตจะได้หรอ?? Ex. SSI, BANPU ?
A. พี่โจ
ถ้าไม่อยากให้เราจนมุม ให้ทำสิ่งถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก แบบนี้มันสกปรกตั้งแต่แรก
คือที่คิดว่าถูกมันไม่ถูก ไม่มีใครยินดีเมื่อหุ้นตัวเองถือราคาลง เราจะสงสัยว่าทำอะไรผิด
จะเริ่มลังเล เราต้องยึดที่พื้นฐานบริษัท ราคาลงคือวิกฤติของราคา
ไม่ใช่วิกฤติของพื้นฐานกิจการ เช่น ตัวเลข yield 6% เงินฝาก 2% กิจการยังดีทำไมต้องขาย
พี่ชาย stock selection เองไม่ได้เหมาะกับทุกคน ที่เลือกมาไม่แน่ใจทำไมเลือกตัวนั้น
ถ้าไม่ถนัด stock selction ให้ซื้อ index fund ก่อนก็ได้ ไม่แพ้ตลาดแน่
แต่ stock selection แบบนี้แพ้ไปเยอะมาก แล้วศึกษาความรู้อุตสาหกรรม
ตัวธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อเลือกได้ดีกว่า นี้
พี่ชาย
ขอเสริมคุณโจ ถ้าคุณซื้อถูก ตลาดให้คุณผิดในระยะสั้น
จะมีคนที่ฉลาดเหมือนกัน มีเงินเยอะ แม้เลือกหุ้นถูกตัว มันจะไม่ขึ้น
เคยซื้อหุ้นตัวหนึ่งปีก่อนที่ 9 บาท ไม่ไปไหน ลงไป 8 บาท จนรู้สึกผิด
สุดท้ายก็วิ่งไป 15 บาท เหมือน 10 กว่าปีก่อน เคยซื้อหุ้น hmpro 4.30
ไม่มีใครซื้อด้วยเลย มีคนตั้ง offer ก็ซื้อไปหมด
ขึ้นไปนิดหน่อยแล้วก็โดนกดลงไป 3.8 แต่สุดท้ายเวลาก็กลับขึ้นไป
มันอยู่ที่เราเข้าใจธุรกิจนั้นขนาดนั้นไหม กำไรเป็นขาขึ้นไหม
ดร.นิเวศน์เขียนในบทความ กำไรเพิ่ม รายได้เพิ่ม ปันผล
คุณโจก็พูดอยู่บ่อยๆ ถ้าเห็นหุ้นไหนที่กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี ราคาไม่ไปไหน มันต้องไป
เงินเพิ่มขึ้นตลอด แต่สินทรัพย์ไม่เพิ่มเร็วเหมือนกัน
อย่างมนุษย์เงินเดือน ได้เงินทุกเดือน แต่สินทรัพย์ไม่ได้เพิ่มตลอดแบบนั้น
เงินเข้ามาก็ต้องมาหาสินทรัพย์ลงทุน ซึ่งสินทรัพย์ดีๆมีไม่พอกับเงิน
เราตัดสินใจถูกแล้ว ก็จะมีคนทดสอบ
พี่โจ
เสริมเราเลือกหุ้น หุ้นก็เลือกเราเหมือนกันว่า เราสมควรรวย สมควรสำเร็จไหม ต้องทำตัวให้สมควรได้รับด้วย
Q. เคยมีเคสที่ตัดสินใจผิด ขาดทุนหนักไหม ความมั่นใจ กับความโง่ กั้นกันเส้นบางๆ?
A. พี่โจ
ต้องยอมรับว่า เราเลือกหุ้นตามเกณฑ์ แต่บางครั้งมันลงจริง ผมมีวินัยข้อหนึ่ง
ไม่ให้ตัวเองเข้าสู่มุมอับ หุ้นตัวไหนก็ตาม ถ้าราคาลงจะซื้อถัว
แต่เมื่อมีสัดส่วน 20% ของพอร์ตจะหยุด บางทีสิ่งที่คิดว่ารู้อาจจะไม่ใช่
คนที่รู้วงในอาจจะขายมาก่อน ด้วยวินัยข้อนี้ เต็มที่ก็จะเจ๊งแค่ 20% พอร์ต
นี่คือวินัยที่จะไม่ให้สูญเสียมากกว่านั้น บางคนถัวจนตัวตาย
Cut loss จะทำต่อเมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงที่น่าจะถาวร หรือเสียเวลาไปหลายปี
แต่ถ้าชั่วคราว ไม่ต่อเนื่องยาวนาน อาจจะถือสู้ก็ได้แล้วแต่กรณี
พี่ชาย
คล้ายๆ คุณโจ บอกไป คิดว่า การลงทุนในหุ้นการขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดา
บัฟเฟตต์ก็เคยผิดพลาด ผมก็เคยผิดพลาด
คนเรามักจะเห็นการตัดสินใจใช้ราคาเป็นเครื่องชี้นำ แต่ของผมไม่ใช่ราคาเป็นหลัก จะใช้ธุรกิจ
เช่น คาดการณ์ว่าธุรกิจจะดี แต่ไม่ดีอย่างคาด พอไปอ่าน md&a แล้วก็เข้าใจแล้วว่าไม่ได้ดีอย่างที่คิด ก็ขาย
บางตัวซื้อไม่ได้มั่นใจมาก อย่างในหนังสือนักลงทุนดันโด ที่คุณพรชัย แปล
ถ้าพลาดก็พลาดนิดหน่อย แต่โอกาสกำไรเยอะมาก
เช่น ถูกกำไร 100% ผิดขาดทุน 10% ดังนั้นจะเลือกหุ้นที่ mos พอสมควร
บางครั้งก็มีตัดสินใจพลาด เพราะประเมินธุรกิจ ประเมินอุตสาหกรรมผิด
เหมือนเราทำการค้า ซื้อเสื้อโหลมา ปรากฏลูกค้าไม่ชอบ ขายไม่ดี ก็ต้องขายลดราคา
เพื่อเอาทุนไปซื้อเสื้อชุดใหม่ดีกว่า บางทีพวก price maker ก็ใช้ราคาชี้นำรายใหญ่
ให้เข้าใจว่าผิด บางทีก็ลากหุ้นขึ้น ให้คิดว่าตัดสินใจถูก บางทีลากหุ้นลง ให้คิดว่าตัดสินใจผิด
Key ในการหาหุ้น?
พี่โจ
ทำความเข้าใจธุรกิจ เลือกหุ้นกำไรเติบโต ในราคาไม่แพงเกิน และต้องยืนหยัดด้วย
บางทีราคา correction ชั่วคราว ใจไม่แข็งขายไป ก็เจ๊งได้เหมือนกัน
ต้องมี 3 ข้อ กำไรโต ราคาไม่แพง ยืนหยัด
พี่ชาย
อย่างที่เคยพูดว่าวิธีการอาจจะไม่ได้เหมาะกันทุกคน
ส่วนตัวจะดูหลายอย่าง ดูมหภาคด้วย ถ้าเอาเฉพาะเรื่องพื้นฐาน
ชอบหุ้นที่กำไรเติบโตได้ แต่ asset play ไม่ชอบเท่าไร เหมือนมีสมบัติไม่มีกุญแจ
พวกนี้ roe ไม่ดี ชอบหุ้นกำไรโต roe สูงๆ roe บอกประสิทธิภาพการใช้ทุน
ROE ต้องต่อเนื่องยาวนานด้วย บางทีไปดู set.or.th ไม่เห็นภาพ เพราะเป็นอดีต
บางทีหุ้นที่ turn around ต้องเจาะรายไตรมาส ดู annual อย่างเดียวไม่ทัน
แล้วมา convert เป็น roe จะเริ่มเห็นก่อนคนอื่น
ส่วนใหญ่จะชอบซื้อหุ้นที่เห็นกำไรใน 3-5 ปี ได้แจ่มชัด โตไปได้ทุกไตรมาส
roe ควรสูงพอสมควร หรือสูงเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
เป็นกิจการที่กระแสเงินสดดี เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อบริษัทโตถึงจุดหนึ่ง การพึ่งพาธนาคาคจะน้อยลง
เช่น บ.ห้างสรรพสินค้าห้างหนึ่ง จะสร้างห้างหนึ่งต้องใช้เงิน 3-4 พันล้านบาท
กระแสเงินเขา 3-4 พันล้าน จะสร้าง 3 ห้างต้องใช้เงินหมื่นล้าน ต้องกู้เงินมา 6 พันล้าน
แต่ทุกวันนี้ กระแสเงินสด 1.5 หมื่นล้าน สมัยนี้จะขยาย สามห้าง
ใช้กระแสเงินสดจากกิจการได้ไม่ต้องกู้แบงค์ ตอนแรกเขาต้องสร้างหนี้เยอะ
ต่อไปค่าใช้จ่ายกู้จะลดลง กระแสเงินสดเพิ่มก็จะเป็นเงินต่อเงินไปได้อีก
ชอบกิจการแบนี้ แนวโน้มกระแสเงินสดเพิ่มเรื่อยๆ มี roe สูง กำไรโตได้สม่ำเสมอ
สภาวะเศรษฐกิจโลกเป็ฯอย่างไร อะไรต้องระวัง?
พี่ชาย
มีหลายคนเริ่มสนใจเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นห่วง เพราะถ้าไม่บริหารให้ดี จะกังวลไปทุกอย่าง
ปี 1960 ปธน.เคเนดี้ โดนสังหาร รัสเซียเอาอาวุธจ่อคิวบา แต่หุ้นอเมริกาขึ้นมากมาย
อย่างช่วงที่ผ่านมาบอกจีนจะแย่แล้ว กูรูต่างๆถือหุ้นอะไรอยู่ ไม่เห็นมีใครล้างพอร์ต
ช่วงที่ผ่านมาถ้ามีวิกฤติหุ้นจะขึ้น ดอกเบี้ยจะต่ำ fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ย แรงนอกจากนักลงทุน
จะมีแรงจากตลาดเงินด้วย เป็นแรงหลักที่ทำให้หุ้นขึ้น อย่าง บ.ประกัน aia aig 10 ปีก่อน
ถ้าซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทน 5% ผ่านมาหมดอายุแล้ว ตอนนี้ซื้ออีกได้แค่ 1.9%
อย่างตอนนี้พันธบัตรรัฐบาลไทย 1.8% แปลกมาก ถูกกว่าของพันธบัตรอเมริกาอีก
ประเด็นหลักคือ บ.ประกัน กองทุน กบข. หรือบ.ที่ต้องอาศัย bond เป็นรายได้หลัก ต้องทำอย่างไร?
AIA ลงทุนในพันธบัตรอเมริกา ถ้าไปซื้อเวลฟาโก ได้ปันผล 3% ซื้อ bond ได้ 1.9%
ตอนนี้ กบข.กำลังแก้กฏเกณฑ์ให้ลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงได้มากขึ้น
อย่าง AIA ไปสร้างออฟฟิศให้เช่าได้ผลตอบแทนดีกว่าซื้อ bond
เรื่องมหภาคบางทีซับซ้อน
ง่ายสุดสำหรับบุคคลธรรมดา ของดี ราคาถูก ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่คนธรรมดาทำได้
ช่วงที่ผ่านมารู้มากใช่จะได้กำไร ง่ายที่สุดเหมือนที่บัฟเฟตต์บอก คุณโจ บอก
พี่โจ
เสริมเรื่องมหภาค ในตำรา ปีเตอร์ ลินซ์ก็บอก
ถ้าหุ้นอยู่กับเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ก็ต้องรวยทุกคน
ส่วนตัวคิดว่าปัจจัยมันเยอะ วิกฤติแต่ละครั้งมาด้วยเหตุผลต่างกัน
สิ่งที่เราทำได้ บริษัทดีๆ กำไรจะโต ราคาไม่แพง ปลอดภัยแล้ว
พวกสถาบันการเงิน บ.ประกัน ก่อนวิกฤติ 40 มีสัดส่วนถือหุ้น 2-3% ตลาด
ทุกวันนี้ ราว 10% เงิน กบข. ประกันสังคม บลจ. ที่เติบโตขึ้นทุกปี
เขาก็ต้องหาผลตอบแทน ดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินอย่างไรก็ต้องมาที่หุ้น
ขาลงหุ้นลงหมด ขาขึ้นเป็นหุ้นไม่ค่อย VI ? เป็นวัฏจักร ?
A. พี่โจ
น่าสนใจ แต่ผมจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสไตล์เพื่อสร้างผลตอบแทน
ทุกวันนี้หุ้นในพอร์ตก็ราคายังขึ้น ต้นทุนในการเปลี่ยนสไตล์สูงเกินไป กว่าที่จะสร้างขึ้นมา
องค์ความรู้ต้องใช้เวลาสูง คิดว่าไม่ได้เปลี่ยนง่ายขนาดนั้น ถ้าเรามีหุ้นที่ดี ไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องมา
ถ้าเรายืนหยัด เหมือนวิ่งมาราธอน เราอาจะโดนแซง แต่เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ค่อยๆแซง
เงยหน้ามาอีกทีเราอาจจะชนะแล้ว ต้องยืนหยัด และหลักการถูกต้อง
การถือเงินสด?
พี่ชาย
ส่วนใหญ่จะมีเงินสำรอง 6 เดือน – 2 ปี น่าจะมี 4-5% พอร์ต
ปีเตอร์ลินซ์ ไม่มีเงินสด ซื้อหุ้นสภาพคล่องดี defensive อาจไม่ต้องถือเงินสดเป็นก้อนจริงๆ
เอาเงินฝากแบงค์ก็ต้องระวัง ถ้ามีวิกฤติ คนที่จ่ายดอกเบี้ยให้แบงค์คือคนทำธุรกิจ
แบงค์เอาเงินนั้นมาจ่ายให้คนฝากเงิน
ถ้าใครผ่านวิกฤติมาเยอะๆ ก็จะรู้ว่าไม่ได้ปลอดภัยซักทีเดียว
บางกิจการในตลาดหุ้นปลอดภัยกว่าแบงค์อีก
แบงค์เราไม่รู้ว่าสินทรัพย์ที่เขาถืออยู่ เห็นตัวเลข
แต่ไม่เห็นหลักประกัน ไม่รู้ว่าสินทรัพย์ที่ถือครองมีคุณภาพดีหรือไม่ดีอย่างไร
จะเห็นว่าในวิกฤติแบงค์มักจะล้ม บางกิจการจะรอด
หุ้นกลุ่มสือสารที่คิดว่าเป็น defensive แต่ลง?
พี่ชาย
ต้องรู้ว่า ธุรกิจนั้นอยู่ในวงจรธุรกิจช่วงไหน ไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยว ใบอนุญาตจะหมด
เป็นช่วง ที่ฤดูเก็บเกี่ยวหมดไปแล้ว ตอนนี้ต้องซื้อปุ๋ย ซื้อเมล็ดข้าว ต้องจ่ายเงินออกไป
ถ้าดูพวก advanc dtac ตอนแรก จะไม่ค่อยกำไร หรืออย่างทางด่วน ก็เป็นสัมปทาน
ต้องเข้าใจการจ่ายเงิน เข้าออก ว่าเยอะ ตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้าย
เป็นช่วงที่ต้องลงทุนกับโครงข่าย ไม่ใช่เก็บเกี่ยวอย่างที่ผ่านมา
ช่วงปลายที่ผ่านมาปันผลถล่มทลายเพราะเงินสดเยอะมาก
ไม่ใช่ดูแค่ตัวเลข roe roa yield ต้องดูวงจรธุรกิจ ก็จะเห็นชัดว่าควรลงทุนหุ้นสือสารหรือไม่
ถือเงินสด ?
พี่โจ
เงินสด 8% short tfex ไว้ 5% โดนไปร้อยกว่าจุด เติมเงินไป 2 รอบแล้ว
เพราะมีบางปัจจัยที่กังวล อย่างที่ short เป็นการ hedging เผื่อหุ้นลง
มันคาดการณ์ไม่ได้ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนเวียดนาม 8% เป็นการกระจายความเสี่ยง
ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ อย่าง uber grab taxi รถยนต์ขับเอง drone ต่างๆ
เป็นเรื่องใกล้ตัวไหม ในฐานะนักลงทุน จะกระทบเราไหม ?
พี่ชาย
คิดว่ามีผล แต่ไม่อยากให้กังวลเกินไป เช่น ร้านหนังสือ ยอดขายตก
se-ed ที่เคยเป็นหุ้นดาวเด่น ปันผล กำไรลดลง แสดงให้เห็นว่า technology มีผล
แต่จะคาดว่าใครจะเป็นผู้ชนะยากมาก สมัยปี 1960 ธุรกิจรถยนต์บูมมาก
ทุกคนคิดว่าหุ้นรถยนต์ต้องมาแน่ กลายเป็นคนผลิตรถมาเต็มไปหมด
ไม่รู้ว่าใครจะชนะ อย่าง 3D printer เป็นที่พูดกันมาก หุ้น 3D printer peak
ตอน 2013 หลังจากนั้นก็ล้มไม่เป็นท่า เพราะคนตามเข้ามาเยอะ
ดังนั้นสิ่งที่ควรทำ อย่างตอนอุตสาหกรรมรถยนต์ บูม ใครชนะไม่รู้ แต่ม้าแพ้แน่
อย่างบัฟเฟตต์ซื้อซอสไฮน์ อีกร้อยปี ก็ยังเป็นซอสแบบนี้
เราลงทุนในกิจการที่คุ้นเคย มองออกว่าจะเป็นอย่างไรอีก 5-10 ปี
Google เพิ่งประกาศขาย boston dynamic เพราะคิดว่าไม่สามารถทำประโยชน์ได้อย่างที่คิด
เราไม่รู้หรอกถ้าไม่ใช่คนในวงการ และบางทีคนในวงการก็คาดการณ์ไม่ได้
หรืออย่างราคาน้ำมันที่ไม่มีใครรู้
คาดเดาเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่ใช่บุคคลธรรรมดาจะทำได้
พี่โจ
พยายามโฟกัสที่บริษัท พยายามคิดติดตามว่าจะมีอะไรมากระทบบริษัทได้
มีเทคโนโลยีอะไรมากระทบ เช่น se-ed , it ชัดเจนว่าได้ผลกระทบ
แต่ส่วนใหญ่มีไม่เยอะ อย่าง tv digital, พลังงานทดแทน สุดท้ายก็เจ๊งเกือบหมด
จะมีอะไรใหม่ๆเสมอ บางทีก็เป็น noise ก็ติดตามบ้าง แต่อย่างพะวงมาก
การลงทุน Infrastructure ?
พี่ชาย
จังหวะนี้ดีสุดแล้ว รัฐบาลสามารถกู้เงินได้ถูกมาก 1.8% เป็นจังหวะที่ดีให้เกิดการลงทุน
กำลังเข็น Thailand future fund พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นติดลบ
คิดว่าส่วนหนึ่งน่าจะสนใจ bond เรา รวมทั้งเงินบาทมีเสถียรภาพ
Export นอกจากไทย ที่อื่นก็ไม่ค่อยโตเหมือนกัน มาเล, อินโด, ฟิลิปปินส์
มียกเว้น เวียดนามโตเกิดจากการย้ายฐานเพราะแรงงานถูก
การลงทุน infrastructure จึงเป็นสิ่งที่เหมาะมาก ไทยเว้นมากนานมาก
คิดว่าเป็นประทีปสุดท้ายถ้าไม่เกิดขึ้น
ส่วนตัวยังเชื่อมั่นในประเทศไทย
ลงทุนในเวียดนาม?
A. พี่โจ อยากกระจายความเสี่ยง แต่คิดว่าคงไม่ได้ไปมากมาก
พี่บอลปิดท้าย
อย่างที่พี่เวบเคยบอก เราอย่ามี bubble ในพอร์ตเราเอง
หาหุ้นราคาต่ำ กำไรโต ปันผลเสมอๆ
2) สัมภาษณ์อ.นิเวศน์
พิธีกร พี่กานต์ พี่หลิน
ตลาดหุ้นไทยปีนี้ที่ขึ้นมา ?
อ.นิเวศน์ ยังบอกอะไรไม่ได้ ระยะสั้นขึ้นกับอะไรหลายอย่าง เช่น เม็ดเงิน
หุ้นไม่ถูก แต่ไม่ได้แพงมาก พอลงทุนได้แต่มีความเสี่ยง
หุ้นจะขึ้นได้เพราะ Fund flow กับ พื้นฐาน
Fund flow มีอิทธิพลในระยะสั้น 80% fundflow 20% พื้นฐาน
ช่วงนี้ fundflow ดีก็ขึ้น ไม่ดีก็ลง ระยะยาวก็ไปตามพื้นฐาน
เม็ดเงินไม่มีที่ไป ดอกเบี้ยก็ต่ำ
ตอนนี้ถือเงินสดเกือบ 40% แล้ว ไม่รู้จะลงยังไง
พอจะมีตัวลง มันก็ไม่แพง ดีกว่าฝากเงิน ไม่ 1-2% ยิ่งเงินเยอะยิ่งดอกเบี้ยต่ำ
หลักการส่วนตัวจะต่างกับหลายคน ลงทุนยาวๆ ทำตัวเหมือนเป็นเสนาธิการจะเข้าสงคราม
จะลงทุนแต่ละครั้งจะคิดหลายๆอย่างแล้ว
เยอรมัน รบเร็ว บุก 3-6 เดือนยึดประเทศ อาศัยความเร็ว กำลังอาวุธอะไรเร็ว ใหม่ๆชนะหมด
ฝ่ายสัมพันธมิตรเวลาเอาคืน ยึดหลักการทางทหารหมด เหมือนซุนวู
ถ้าเข้าสู่สงครามถ้าไม่แน่ใจว่าชนะแน่ๆไม่เข้า ต้องเอาให้ชัวร์มากๆ
แล้วรบต้องชนะ ไม่มีคำว่าแพ้ หลักสงครามมีอยู่แล้ว ว่าต้องทำอย่างไร
อเมริการบกับญี่ปุ่น ทุกสนามต้องมีกำลังมากกว่า 3 เท่า เป็นอย่างต่ำ
พอบุกเข้าไป ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นทหารตายได้แต่ห้ามยอมแพ้
รบกันทุกครั้งทหารญี่ปุ่นเป็นเชลยน้อยมาก แสนคนตายไปเก้าหมื่นกว่า
เวลาอเมริกันรบเอาเยอะไว้ก่อน
ก็คือเป็นการลงทุนไปต้องมั่นใจว่าชนะ
บางทีก็เสียดายว่าเราคิดผิดหรือเปล่า ยังไม่รู้สึกเหมือนตกรถ
การลงทุนก็อย่างนี้เป็นการวัดใจ
เยอรมันบุกเข้าไปรัสเซีย สุดท้ายเยอรมันแพ้หมด
อีกฝ่ายเล่นเกมยืดเยื้อรบไปถอยไป หนีไปเรื่อย ไม่สู้ตาย เก็บชีวิตไว้ก่อน กลับมาอีกทีเยอะๆ
สัมพันธมิตรทั้งหมดกลยุทธแบบเดียวกัน รักษาชีวิตทหาร ไม่ประชัน
รัสเซียบ้าบิ่น กลับมาตาย ลูกเมียจะอดอยากด้วย
ต้องดูพื้นฐานเป็นหลัก โอกาสแย่ลงจะน้อยมาก ยิ่งราคาถูกด้วยยิ่งปลอดภัย
จะใช้หลักเกณฑ์อะไรมองว่า reasonable ? superstock สมัยนี้ pe 20 เท่า ไม่แพง?
อ.นิเวศน์ ต้องดู fundamental บริษัทแยกแยะให้หมด ว่าอันนี้สุดยอด รองลงมา
ถ้าเป็นฟุตบอล อันนี้เป็น เมสซี่ อันนี้รองลงมา จ่ายค่าตัวเท่าไรได้
การลงทุนสุดโต่งไม่ได้ เช่น บอก governance ไม่ดี ตัดทิ้งลงทุนไม่ได้ จะสุดโต่งไม่ได้
ต้องดูว่า governance อะไรที่มันแย่จริงๆ เช่น โดย กลต. ว่ากล่าว อาจจะไม่ใช่แย่สุด อาจจะดีด้วยซ้ำ
อย่างเช่น บริษัท รับเหมา เราก็รู้เวลารับงาน ต้องรู้ว่าเป็นธุรกิจที่ governance แบบไหน
แบบนี้คือใช้ไม่ได้ ตรวจสอบไม่ได้ แต่จับไม่ได้ ไม่ได้แปลว่า governance ดี
นักลงทุนต้องเชื่อตัวเอง
พี่กานต์เสริมว่า คือมองไม่ใช่แยกเป็นขาว หรือ ดำ เป็นสีเทา แล้วเทาก็มีว่าเฉดเข้ม เฉดอ่อน
อ.นิเวศน์ อย่างคะแนน governance ที่ให้ เกณฑ์ก็ไม่ได้บอกว่าดี เช่น ต้องมีกรรมการข้างนอกกี่คน ต่างๆ
เป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพ ต้องมีอีกหลายๆด้าน
อย่าง Berkshire Hathaway ถ้ามาสอบ governance ในไทย ตก คนเดียวตัดสินใจเองหมด ปันผลก็ไม่จ่าย
แต่จริงๆเราต้องเข้าใจ ตัดสินใจเองตามความเป็นจริง
เรื่อง สุดโต่งไม่ใช่แค่เรื่องนี้ อย่างอัดมาร์จิ้นตัวเดียว รวยก็รวย จนก็จนไปเลย
ส่วนตัว เคยมีหุ้นตัวเดียวสูงสุด 50% เพราะราคามันขึ้น แต่หลังจากนั้นก็ลดลงมา
เหมือนตอนบัฟเฟตต์ซื้ออเมริกันเอ็กซ์เพลส แต่ถ้าซื้อตั้งแต่แรก 50% คิดว่าเกินไปอยู่แล้ว
ส่วนใหญ่จะถือหลายตัว 5-6 ตัวใหญ่ๆ
ตอนนี้ตัวหลักๆ ยังมีอยู่เยอะ เป็นครั้งแรกใน 20 ปีที่ถือเงินสดเยอะๆ เป็นช่วง 2 ปีแล้ว
หลักๆยังไม่ซื้อเพิ่ม เวียดนามหลักจากรอบก่อน ก็ยังเฉยๆ ยังรอไปก่อนช่วงนี้อยากมีเงินสด
หุ้นไทยก็ไม่ตกหนักๆนานแล้ว
แต่ถือไปนานๆวันหนึ่งอาจจะตก ซื้อแล้วลงก็ได้
อย่างพวกหุ้นแบงค์ที่บอกว่าซื้อได้ ก็ปันผล 4-5%
มองๆพวกแบงค์ใหญ่แบงค์เล็กก็ดูน่าสนใจ ก็ต้องเอาแบงค์ npl ยังพอสำรองได้ กำไรก็ไม่ตก
ตอนนี้ก็เห็น fund flow เข้ามาตลอด
อะไรที่ดีเกินจริง วันหนึ่งก็ต้องกลับมาบ้าง เราก็ได้ประโยชน์
ถ้าซื้อตอนนั้นก็ไม่ขาดทุน
มนุษย์คือ ยีนส์ มีความโลภ โกรธ หลง ประสาน
คนที่ทำความดี สุดท้ายก็ตายที่ผลประโยชน์
การลงทุนหุ้นเวียดนาม?
อ.นิเวศน์ หลังๆได้ติดต่อ dbs แผนกข้อมูลส่งข้อมูลอะไรมาดี
ก็มี research ดีๆ แต่ยังไม่ได้ take action อะไรที่นี่
ก็ไม่มีคิดค่าธรรมเนียมฝากหุ้น วันแรกไปต่างประเทศว่าซื้อไปแรกจะเสียค่าดูแลหุ้น (custodian)
ทุกวันนี้เสียเงิน 6-7 แสนบาท ไม่ได้ทำอะไร ค่าดูแลหุ้น ไม่ได้ทำอะไรเป็นปี เสียเงินทุกเดือน
หุ้นละ 2 เซ็นต์ คิดเป็นจำนวนหุ้น
ตอนนี้มีหุ้นอยู่ 50-60 ตัว 5% พอร์ต แต่ก็ไม่ได้ติดตามอะไรมาก
เวียดนามก็ประเทศเป็นอย่างที่คิด เติบโตเร็ว คนอื่นติดลบ แต่เวียดนาโตสูงเกือบสุด
ส่งออกก็ดี เทรนด์ยังล้นหลาม คนจะลงทุนเต็มไปหมด ภาพชัดเจน
ปัญหาคือ fundflow ไม่มี นักลงทุนต่างชาติเข้า
แต่นักลงทุน local กำลังสร้างตัว กำลังผ่อนบ้าน เงินออมไม่มี ไม่มีระบบกู้ต่างๆ
ต้องเก็บเงินซื้อบ้าน บางทีแบกกระแสอบเงินไปซื้อ สมัยนี้คงดีขึ้นเยอะ
ประเด็นคือเงินไม่มี ก็ไม่มีใครอยากซื้อหุ้น มีแต่ต่างชาติไปซื้อ
ซึ่งซื้อได้แค่ 10 หุ้น ก็โตเอาๆ หุ้นนิ่งๆซื้อไม่ขึ้น volume ก็ไม่ค่อยมี
หุ้นตัวใหญ่ๆ พันกว่าล้านบาทเอง ขายเครื่องนอน 25% ประเทศ
พอเปรียบเทียบของเรากับเขาแพงมาก ถ้าบ้านเรา market cap 8 พันล้านบาท
เทียบกับเขานี่ใหญ่มาก pvb 0.8 div 10% ไม่มีใครเอา ฝากแบงค์ก็ได้ตั้งหลาย %
วันก่อนมีส่งมาตัวหนึ่ง ที่เมืองจีน เหมือนทางด่วนบ้านเรา market cap 3 หมื่นล้าน
กำไรก็มากกว่าของเรา ทางด่วนมีมากกว่าเท่าตัว div 8-10% แต่หุ้นลงไม่ขึ้น เพราะ fund flow หาย
บางทีเลยทำใจไม่ได้ที่จะซื้อหุ้น หุ้นที่ถูกๆ แบบเดียวกับบ้านเรา มีทีอื่น คล้ายๆว่าต้องรอให้ลงหน่อย
ไม่ได้เครียดอะไร สมัยก่อนซื้อด้วยความสบายใจ มีเงินไม่กี่วัน หายหมด ซื้อด้วยความสบายใจ ไม่อยากเก็บไว้ก่อน รอนู่นนี่
หลังๆ ซื้อแล้วมันรู้สึกว่าเข้าสงครามไม่รู้ว่าจะชนะหรือแพ้ อาจจะโอกาสชนะ 60%
แต่ก็มีปัจจัยที่เข้าไปเสร็จแล้วเจ๊ง ติดอยู่อย่างนั้น ค้างอยู่ ถอยก็ไม่ได้ เหมือนเยอรมันบุกรัสเซีย
ฮิตเลอร์ก็บ้า ต้องชนะ ก่อนเข้าสงครามวิเคราะห์ไม่ครบ ไม่เผื่อว่าถ้าไม่ชนะในกี่วันจะทำอย่างไร
ไม่เผื่อปัจจัยบางอย่างไป จะทำอย่างไร
ถ้าเกิดขึ้นจะทำอย่างไร พอติดแล้วถูกล้อม แล้วตายตรงนั้นจะทำอย่างไร
ขึ้นกับ คาแรคเตอร์ของคุณด้วย เป็นเสนาธิการแบบไหน
ประเทศพวก อังกฤษ พวกอะไร สั่งทหารไปรบไม่ได้ วินัยก็ไม่ค่อยมี สุดท้ายทำไมชนะสงครามได้
แต่พวกประเทศที่กล้ามาก สั่งได้ หมด สุดท้ายตาย
พีกานต์ เปรียบเหมือนนักลงทุนที่ aggressive กล้ามาก ได้เยอะเสียเยอะได้
มุมมองลงทุนเปลี่ยนไปตามระยะเวลาไหม?
อ.นิเวศน์ เปลี่ยนมาเรื่อยๆ เปลี่ยนใหญ่ๆมาหลายปีแล้ว หลังจากนั้นก็ตระหนักมากขึ้น
เหมือนบัฟเฟตต์กว่าจะซ้อแต่ละตัวนานมาก พอซื้อแล้วก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร
แนวโน้มตัวเองก็รู้สึกอย่างนั้น อายุมากขึ้น ใจเย็นมากขึ้น
ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็ทำรายการ ออกกำลัง ส่วนล้างจานที่จริงตอนนี้มีผู้ช่วย
อ่านหนังสือเยอะ พวกประวัติศาสตร์ อย่างสงครามโลกครั้ง ที่ 2 อ่านไม่รู้กี่เที่ยว
เวลามีเล่มออกใหม่ ก็อ่านอีก แต่ละเล่มมีมุมที่ไม่เหมือนกัน
ทุกวันนี้ก็ยังมีคนเขียนประวัติศาสตร์ตลอดเวลา คนออกใหม่ก็จะมีมุมมองต่างๆ ใส่เหตุผล อะไรเล่าเข้าไป
เขียนด้วยมุมมองนักวิชาการนักคิด แต่ละคนมองเหตุการณ์ที่เกิดสำคัญไม่เหมือนกัน
เช่น ดังเคิร์ก เป็นสถานที่ อังกฤษเข้าไปรบช่วยฝรั่งเศส ถูกล้อมตกทะเล
กลายเป็นสิ่งที่อังกฤษทำ คือจะหนีอย่างไร ออกแบบกลยุทธ์ใหญ่เลย
สงครามโลกครั้งที่ 1,2 อ่านแล้วจะเห็น development ว่ารบกันอย่างไร
ครั้งที่ 1 ไปสร้างสนามยิงกันไปมา ครั้งที่ 2 ไปขุดสนามรบ เหมือนไม่ได้แล้ว
โลกเปลี่ยนไปเจ๊ง ไม่ได้ใช้แล้ว ไปยึดติดของเก่าๆไม่ได้แล้ว
อยากให้แนะนำ คนเพิ่งเริ่มลงทุน annual report ดู opp day ทำอย่างไรดี
ก่อนงบจะออกมาดีจะเห็นได้อย่างไร กำไรเพิ่มขึ้น?
อ.นิเวศน์ เป็นเรื่องปกติ มันก็มี insider อยู่แล้ว ขึ้นกับจับได้หรือเปล่า
เราไม่ได้อยู่ในโลกที่ทุกอย่างยุติธรรม อันนั้นเป็นการเล่นระยะสั้น
คนที่ได้ประโยชน์มากๆ คือคนที่มี inside
บางที inside ทำงานมากไปแล้ว บางทีประกาศออกก็ขาย
เหมือนเข้าไปรบยังไม่แน่ว่าจะชนะหรือแพ้
อยู่ที่คุณเลือกก่อนว่าจะเล่นเกมไหน แล้วต้องปฏิบัติตัวตามเกมที่เลือก
ถ้าทำไม่สอดคล้องก็เสียเปรียบ
ความสำเร็จของคน ต้องคิดเรื่องใหญ่ๆให้ชัดก่อน กลยุทธ์ว่าจะไปอย่างไร
เหมือน สงครามโลกครั้งที่ 2 เขากลับไปคิดว่าจะยึดเยอรมมันได้อย่างไร
บางคนบอกเข้าฝรั่งเศสยกพ้นขึ้นตก บางคนบอกเยอรมันแข็งแกร่งมาก
ให้ไปยึดแอฟริกาก่อน เพราะบอกใจเย็นๆ ช้าๆ ไม่ต้องกลัว ไปตรงนั้นยึดง่าย
สงครามโลกเกิดในยุโรปแต่รบกันหนักในแอฟริกา เป็นประเทศที่ไม่เกี่ยวอะไรแต่กลายเป็นสนามรบ
บางทีต้องวางกลยุทธ์ของเราว่าจะไปอย่างไร
ไม่ต้องไปลุ้น ไปแช่ง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดของมันเอง
การประสบความสำเร็จในชีวิต ขึ้นกับ strategy ใหญ่ ไม่กี่ครั้ง
อย่างไปตัดสินใจบ่อยๆ แต่ไม่มีผลต่อชีวิต
ไปพูดที่สิงคโปร์มา ยกคนที่ประสบความสำเร็จมากในการลงทุน 2 คน บัฟเฟตต์ กับ ป้าแอนน์
ตัวที่ยิ่งใหญ่สุดคือ เวลา ในการลงทุน
บัฟเฟตต์ได้ผลตอบแทนปีละ 20% แอนน์ได้ 18%
บัฟเฟตต์ลงทุน 60 ปี แอนน์ลงทุน 50 ปี
บัฟเฟตต์ จาก ล้านเป็นหกหมื่นล้าน แอนน์ ห้าพัน เป็นยี่สิบสองล้านเหรียญ
ต้องรักษาตัวเองให้ลงทุนได้นานๆ การขาดทุนเยอะๆ เสียหายหนักมาก
ถ้าลงทุนผลตอบแทนสูงๆมาตลอด แต่ถ้าขาดทุนหนักๆ ปีเดียว
ก็ผลตอบแทนแพ้คนที่ผลตอบแทนสม่ำเสมอได้ ถ้าดูแบบโซรอสบางทีก็ขาดทุนหนัก
การลงทุนแปลก เป็นสิ่งน้อยอย่างที่ต้องฝืนยีนส์ ยีนส์บอกต้องได้เยอะ ได้เร็ว ต้อง action
อย่าง ผบห. ไม่ active ไม่ประสบความสำเร็จ แต่นักลงทุน active มาก อาจไม่สำเร็จ
ย้อนกลับไปช่วงก่อนหน้านี้ ลงทุนอย่างไร?
อ.นิเวศน์ น้อยกว่าพวกเราเยอะ ตัดหุ้นออกไป 80% เพราะเป็นสิ่งที่เราไม่เอาอยู่แล้ว
อะไรที่ไม่เข้าเกณฑ์ตัดอยู่แล้ว หุ้นจำนวนมากที่พูดกัน ipo 80-90% ไม่ดูหรอก
ไม่ค่อยเชื่อว่าเป็นจริง อยู่นอกตลาด มี record น้อยเกินไป
อุตสาหกรรมบางอย่าง ที่หาผู้ชนะไม่ได้ ขึ้นลงผันผวนก็ตัดไป commodities ก็ตัดเกือบหมด
ตัดไปตัดมาก็เหลือไม่เยอะ
ปรัชญา คือ เชื่อมั่น 100% ว่า เราไม่สามารถรวยจากบริษัทห่วยๆ ไม่ใช่ทางเรา
บางคนอาจจะเก่ง เป็นทางแต่ละคน ขอเป็นบริษัทที่ดี
เรารู้ว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ราคาผันผวน แต่ไม่ใช่ทางของเรา
ดูภาพใหญ่ โครงสร้างการแข่งขันธุรกิจ มีความได้เปรียบ
ถ้าเป็นแบบนี้ในระยะยาว เราว่าไม่ไหว ก็ไม่เอา หาเพชรในตม
ไม่มีความจำเป็นว่าถ้าคนเชียร์ตัวนั้นตัวนี้ดี ก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก
เวลาคนบอกกำไรดี ก็อย่าไปเชื่อมาก ขาดทุนก็ไม่ได้พูด
อ่านเรื่องยีนส์ ทำไมคนนั้นพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ทุกครั้งที่เขาทำแบบนี้เพราะอะไร
มนุษย์จะทำอะไรทุกครั้งต้อง evaluate มนุษย์ทุกคนอยากให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนดี
เราจะเอาตัวรอดได้ดี คนมีแนวโน้มอยากให้คนอื่นเห็นว่าฉันมีดี จะต้องทำอะไรให้คนอื่นเห็นว่าดี
อย่างหนังสือคุณวิกรม ผมจะเป็นคนดี
สมัยนี้ social มาแรง ถ้ามีโอกาส เราจะสร้างให้เราเห็นว่าเราดีได้
มีอีกวิธีคือ ถ้ายังทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องไปบอกว่าคนอื่นแย่ เพื่อบอกว่าฉันดี ไม่งั้นจะบอกได้ว่าคนอื่นแย่หรอ
โดยธรรมชาติ อยากให้เห็นว่าเราเป็นคนดี คนเก่ง ใจดี เป็นกลยุทธ์ในการเอาตัวรอดของคน
สัตว์ไม่มีความจำเป็น แม้จะมียีนส์เหมือนกัน แต่มันไม่ต้องพึ่งคนอื่น ส่วนใหญ่ล่าเอง หาเหยือเองอยู่รอดด้วยตัวเอง
มนุษย์อยู่รอดด้วยการร่วมมือกัน ต้องไปช่วยกัน ต้องให้คนอื่นรู้สึกว่าเป็นคนดี ให้ยอมรับ ให้เป็นพวก
บางคนขาดทุนหน้ามืด บอกปีนี้กำไรไม่ดี ได้ 20% นับที่กำไร ขาดทุนไม่นับ จะได้เห็นว่าเราเก่ง
ต้องคิดว่าคนพูดคิดอย่างไร มีแรง bias ไหม มีต้นทุนไหม ลองวิเคราะห์ดู หลังๆก็ปลง เรารู้เข้าใจแล้วก็ปลง
พอร์ตตอนนี้ก็พอๆตลาด ที่จริงชนะนิดหน่อย
คำถามหุ้นรายตัว
Robins
ส่วนตัวก็สนใจมานาน แต่ที่ลังเลเพราะเศรษฐกิจบ้านเรายังไม่ดี ถ้ามันแย่ๆ พวกนี้ก็กระทบหนักได้
ถ้าเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนเป็นโตช้าไปเลย ธุรกิจก็จะไม่ค่อยดี
เพราะมันไปได้ ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ต้องโต โดยเฉพาะต่างจังหวัด
ตัวปัจจัยบริษัทเอง ใช้ได้ เป็นเจ้าเก่า อยู่กับเครือเซ็นทรัล มีความสามารถ มี good will พอสมควร
แต่อิงกับเศรษฐกิจเยอะ ที่กำไรดีขึ้นมาเพราะเขาเพิ่มพื้นที่เช่าแบบเดียวกับ cpn ข้อดีก็มี
คือรายได้แน่นอนขึ้น แต่คู่แข่งก็เยอะขึ้น ในระยะยาว ถ้าไม่โดตเร็วอย่างอดีต ก็ไม่ได้ดีเลิศมาก
และสิ่งที่ได้ ไม่ 100% เพราะเขาเพิ่งเริ่มธุรกิจนี้
คนที่มาเช่ารอบแรก พวก mk พวกห้างเสื้อผ้าต่างๆเข้าไปเปิดตาม พอหมดสัญญา
มันก็ไม่ได้เวิร์คมาก ขายไม่ได้ ก็อาจจะไม่ดีอย่างที่คิด
ถ้าเทียบกับ cpn เขาไปเน้นค่าเช่ามากกว่า มีธุรกิจในกรุงเทพ หัวเมืองอะไรที่ยึดไว้เยอะแล้ว
แต่ robnis เอง ตัวห้าง ยังเป็นตัวหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงที่มี e commerce อะไรต่างๆ
รวมทั้งรูปแบบการขายสินค้าอื่นๆ ที่เราไม่จำเป็นต้องไป เลยต้องต่อราคาเยอะหน่อย
ปีก่อน หุ้นที่ตกมารู้สึกว่าตกตัวเล็กเยอๆ แต่ภาพใหญ่ๆ 14% ยังตกไม่เยอะ
ข้อเสียพวก long term จะซึงยาวก็จะระวัง
ถ้ามองย้อนหลังไปไกลๆ สถานการณ์ตอนนี้หนักเอาการณ์ มีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยน fundamental
เศรษฐกิจดาวน์แบบถาวรได้ ทะเลาะตบตี มีมาตลอด แต่ประชากรศาสตร์ไปได้
ตอนนี้ราคาหุ้นดีกว่าที่คิดเยอะ โดยเฉพาะเทียบกับต่างประเทศ รู้สึกฝืนความรู้สึก
เพราะคนไทยมีเงินมากๆ ไม่มีทางเลือก มองประเทศไทย ไม่ได้เลวร้าย
ยังมีอนาคตอีกเยอะ เราอาจจะแค่มองอีกแบบ
Model ธุรกิจ พวก low cost ผลิตเพื่อส่งออก?
ไม่ work ที่เราเจริญขึ้นมาได้เพราะ low cost manufacturing ซึ่ง concept ตรงนี้เริ่มหายไป
ต้องมี value added เพิ่มขึ้น แบบเกาหลี ไต้หวัน ตอนหลังปรับเป็น hi tech เป็น consumer
อย่างไต้หวัน ไม่มีแบรนด์แต่ผลิต hitech hi value
อย่างเมืองไทยที่มีคือการท่องเที่ยว ต้องดูว่าจะสามารถดึงเศรษฐกิจโดยรวมขึ้นได้ไหม
ของเราเป็นแบบ low price low cost tourism อาศัยจีน อาศัยของถูก
Aot การท่องเที่ยว?
Aot มันเป็น perfect stock เป็นสิ่งที่เมืองไทย strong mega trend hot ที่สุด
อยู่ๆคนจีนก็แห่มาเที่ยวไทยเพิ่ม 30% เป็นเจ้าเดียวที่ monopoly และเป็น peak capacity คือ perfect สุดๆ
ธุรกิจที่ high operating leverage คือลงทุนไปแล้ว กำลังผลิตเหลือเฟือเลย สร้างเสร็จใหม่ๆขาดทุน
จนค่อยๆกำไรๆๆ แล้ว พีคตอน full capacity รายได้ลงมาเป็นกำไรหมด
ตอนนี้เป็นช่วงที่ได้ทุกอย่าง peak ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทุกอย่างดีไปหมด เราก็เลยขายไป
ขายหมูไปแต่ก็คิดว่าวันหนึ่งมันก็คงมีจุดสมดุล ถือมา 7-8 ปีได้เกือบๆสิบเด้ง
Bigc
ขายไปแล้ว ถ้าดู valuation ก็ไม่แพงมาก นี่ก็ถือมาไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ต้นทุนก็สิบกว่าบาท พอขายหุ้นแบบนี้ไปแล้ว มันไม่สามารถหาอะไรที่เทียบเท่าพวกนี้ได้ (ก็เลยเหลือเงินสดเยอะ)
Ict จะหาเงินมาจ่ายใบอนุญาตไหม?
ไม่เคยเจออะไรใหญ่โตเป็นหลายหมื่นล้านแบบนี้ ไม่น่าจะเป็นได้ ต้องเตรียมการณ์ ต้องอะไรชัดเจนกว่านี้
สมมติถึงแม้ไม่มีรายใหม่ แต่ภาพก็เปลี่ยนไปแล้ว การแข่งขันก็ไม่เหมือนเดิม
มีโอกาสที่จะมี thread เข้ามาตลอดเวลา การประมูลใบอนุญาตใหม่ก็จะเกิดขึ้นต่อ
ทุกอย่างลงทุนไปแล้วต้องเพิ่ม demand เพิ่ม capacity เลี่ยงยาก
ธุรกิจมัน mature มีกำไรดี ใช้ได้ มีปันผลดี
แล้วก็อาจจะมีคนจับมือกับพวก CAT , TOT มาทำ ก็มีคนใหม่เข้ามาได้อีก
เหมือนต่างประเทศที่ไม่ได้กำไรดีขนาดนั้น
3) สัมภาษณ์สมาชิกที่แลกเปลี่ยนข้อมูลบ่อยๆ
พิธีกร หมอเค และพี่โจ
หมอเค เชิญสมาชิก
บอร์ด thaivi 2 ท่านขึ้นมา คุณkraikria และ คุณtanapol
เป็นแบบอย่างสมาชิกที่ดี ถ้าเราช่วยกัน provide ข้อมูลดี ก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน
พี่โจกล่าวถึงเวบ thaivi
เวบ thaivi ก็ตั้งมาเป็น 10 ปี หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าซบเซาลง ซึ่งก็มีหลายสาเหตุ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยน ที่ไปตั้งกลุ่มในไลน์ ในเฟซ ที่ไม่มีกฏเกณฑ์ แต่ในเวบมีกฏระเบียบเยอะ
ถ้าไม่มีกฏอยู่ไม่ได้ ทำให้หลายคนรู้สึกอิสรภาพน้อยลง ทำให้ไม่มีแรงจูงใจ
คนเก่าๆ ที่เป็นเซียนแล้วก็ไม่ค่อยอยากโพสต์ ก็เป็นไปได้หลายสาเหตุ
แต่หลายๆคนก็มาโพสต์สม่ำเสมอ
อย่าง คุณไกล่เกลี่ย ที่เคยมาวิเคราะห์ธนาคารเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องแบงค์
หรือ หมออิ๋วก็รู้ลึกรู้จริงทุกเรื่อง หลายบริษัทรู้สึกว่าเขาศึกษามาจริง เป็นตัวอย่างที่ดี
เข้าในเวบเรามิใช่มาตักตวงจากคนอื่น เราอยากได้ ต้องให้ก่อน
หาข้อมูลจาก ir คิดมาแลกเปลี่ยน
ในสังคมที่หลากหลายก็มีคนที่แปลกแยกเหมือนกัน ใน 3 ปีที่ผ่านมาแบนไป 2 คน ถือว่าน้อยมากๆ
ถ้าเราโพสต์ตามกติกาเวบบอร์ด ไม่มีปัญหา
ใครบอกว่าโพสต์เรื่อง ลบข้อเสียอย่างถูกต้อง ผมคิดว่าไม่จริง
แต่คนที่โดนติดลบน่าจะเพราะโพสต์ไร้มารยาท ถ้าเราทักท้วงข้อเสียด้วยความจริงใจ น่าจะไม่มีปัญหา
คนที่เพื่อนโพสต์ดีๆ แล้วไปกดลบก็เป็นรสนิยมส่วนตัว ก็ปล่อยๆไป
หมอเค สัมภาษณ์สมาชิก
คุณkraikria – พี่วา เป็นเซลล์ขายซอฟต์แวร์ เข้าเวบมาตั้งแต่ปี 2005
ไม่ได้เข้าเวบทุกวัน ไม่เกินครึ่งชั่วโมง ทุกวันนี้ไม่ได้หาข้อมูลจาก thaivi
ส่วนใหญ่ก็ตามตลาดหลักทรัพย์ ตามบทวิเคราะห์
พอเราโพสต์ไปก็จะมีคนเข้ามาคุยกับเราบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนทำให้ประเทืองปัญญามากขึ้น
คุณ Tanapol - หมออิ๋ว ตอนนี้เป็นนักลงทุน full time เข้าเวบตั้งแต่ปี 47-48
โพสต์ก็เป็นการรวบรวมความคิด ว่าเราจะโพสต์ยังไงให้เป็นชั้นเป็นตอน เป็นเหตุเป็นผล
จะชอบโพสต์หุ้นที่ราคาต่ำๆ ไม่ค่อยมีคนสนใจ ข้อมูลที่หาส่วนใหญ่ก็ดูจากงบที่ออกมา
กำไรตัวไหนโตเยอะ ถ้าจะยั่งยืนก็เจาะต่อ ก็หาข้อมูลจาก opp day ir ถามพี่เก่งๆ
ส่วนข้อมูลต่างๆที่หาก็หาจาก google ได้
เชียร์หุ้นใน thaivi เป็นเรื่องผิดไหม?
พี่โจ การเชียร์หุ้นใน thaivi ไม่ใช่เรื่องผิด คนที่โพสต์ก็ย่อมมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ตราบใดที่เราโพสต์แบบสุจริตใจ ใช้ข้อมูลที่เป็น fact ไม่เกินเลย ยอมรับได้ ไม่มีใครว่า
ถ้ามันเกินเลยไป คนอื่นก็รับรู้ เอาให้พอดีๆ อยู่ในกรอบของเวบ ไม่มีปัญหา
ส่วนเรื่องโพสต์กราฟ เราตั้งสมาคมมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ก็ขอให้เคารพเจ้าบ้าน ส่วนตัวจะใช้หลายทางก็แล้วแต่
ใช้เวบให้เป็นประโยชน์?
คุณวา ควรโฟกัสเวบบอร์ดแต่ละตัว ความรู้ที่ได้ส่วนใหญ่จะได้จากบอร์ดที่ไม่ใช่ 100 คนร้อยหุ้น
หรือ vdo พวก money talk ดู vdo ก็ได้ความรู้เยอะกว่า ร้อยคนร้อยหุ้นอีก
พี่โจ้ คลังคุณค่ามีหลายกะทู้ มีประโยชน์ หลายๆอันที่เป็นความรู้หลักการ ไม่ใช่ขลุกแต่ลอกหุ้น
หมออิ๋ว ชอบอ่านพวกบทความเก่าๆ มีเซียนหลายท่านที่เขียนไว้อย่างดี
ทำให้รู้หลักการ่ลงทุนเน้นคุณค่าอย่างแท้จริง หลักมองธุรกิจให้ออก อนาคตในปีสองปีหรือห้าปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
เหมือนที่อ.นิเวศน์บอก ถ้ามองธุรกิจออกก็จะมองกำไรออก หลักการจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
อยากสำเร็จต้องอ่านให้หนักกว่าคนอื่น เหมือนกฏ 10,000 ชม.ของ outlier
4) สัมภาษณ์พี่โยโย่ สันติ สิงหวังชา
พิธีกร พี่บอล พี่มี่
เริ่มต้นลงทุน?
เปิดพอร์ตปี 45 เริ่มลงทุนแนว VI
เป้าหมายการลงทุนตั้งครั้งแรก ตอนอ่านหนังสือ rich dad poor dad เป็นคนอ่านอะไรแล้วก็อินกับมัน
อยากมีชีวิตที่ไม่เหนื่อย ต้องทำงานทุกวัน อยากไม่เหนื่อยมีเงินเลี้ยงตัวเองได้
อ่าน how to เยอะๆ คนเราอยากประสบความสำเร็จ
ต้องเขียนเป้าหมาย ให้วัดค่าได้ จับต้องได้ ยังไม่ได้ลงทุนจริงจัง
ณ วันนั้นยังไม่ได้ตั้งผลตอบแทนเป็นเรื่องเป็นราว
ซึ่งตอนนั้นอายุ 20-21 ก็เลยคิดจากเงินเดือนเท่านี้ ผลตอบแทนทั่วไป
อายุ 30 1 ล้านบาทต้องได้ หลังจากนั้นเงินก็ทำงานต่อไป 10 ปีก็ต้องโตไป 10 เท่า
เปิดพอร์ตวันแรกมีเงิน 2 แสนบาท ลงเงินไปซักครึ่งปึ คุณแม่ให้เงินมา 1.5 ล้านบาท
มีเติมเงินบ้างเล็กๆหน่อยๆ น่าจะเก็บเงินได้เดือนละหมื่นกว่าบาทซักปี คิดว่าเติมอีกแสนนึง
ตอนที่ออกมาลงทุนเต็มตัว มันง่ายมาก ตลาดตอน 350 ตลาดขึ้นไป 700 ลงทุนโง่ๆก็กำไร 100-200%
ตอนนั้นก็มั่นใจมากว่าที่ตั้งเป้าพันล้านไว้ หมูๆแน่นอน ซึ่งเป็นความมั่นใจแบบผิดๆ
พอย้อนกลับไปดูหุ้นตัวที่เคยคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันผิดทั้งนั้นเลย ทั้งๆที่หุ้นขึ้น
มันมี 2 อย่าง คือ มันถูกจริงหรือเปล่า กับ มันถูกต้องหรือเปล่า
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมจะเป็นแบบแรกคือ มองเห็นว่าหุ้นตัวนี้มันถูก โอกาสขาดทุนมันน้อย มีโอกาสโต
ผลตอบแทน ช่วงแรกๆ ก็โตเฉลี่ยตีกว่าตลาด เช่น ตลาดโต 100 เราโต 200 มีบางปีที่แพ้ตลาดบ้าง
ปีที่แพ้มากๆ คือปีที่ใช้ มาร์จิ้น และเป็นปีที่เกิด subprime
วิถี VI บางครั้งก็คิดว่ามันเป็น DNA
อย่างช่วงที่ทำงานได้เงินเดือน 2 หมื่น ใช้ 5 พัน เก็บได้ 1.5 หมื่น
ไม่ได้เที่ยวมาก ไม่ได้สังสรรค์บ่อย นั่งรถเมล์ไปทำงาน เป็นโดยนิสัย
ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นการกัดก้อนเกลือกิน ใช้จ่ายเยอะไม่ได้รู้สึกมีความสุขเพิ่ม
เวลานัดเพื่อน เขาก็จะชอบไปนัดกินแพงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราชอบมาก
พี่มี่ เสริมว่า สำหรับใครเริ่มต้น ถ้าใช้จ่ายเยอะ จะทำให้ความฝันยิ่งห่างไกลขึ้น
เคยได้ยินเรื่องอิสรภาพทางการเงิน จากพวก mlm อะไรมาเยอะ แต่ก็ไม่เหมือนคุณโยโย่ ที่พูดมีประกายตา
ใช้ชีวิตแบบมีการวางแผน ตั้งแต่อายุ 30 ก็พอร์ตทะลุพันล้าน
หัวใจหลัก VI ไม่ใช่ผลตอบแทน อยู่ที่การทบต้น ทบมาเรื่อยๆ
พี่บอล เสริม การ VI ไม่ได้แปลว่าไม่ใช้เงิน แต่ใช้ในจังหวะที่เหมาะสม ใช้กับสิ่งที่สำคัญ
เรื่องการใช้ margin ? การถือหุ้น ?
พี่โยโย่ ช่วงลงทุน 3-4 ปี แรกไม่เคยใช้ มาร์จิ้นเลย
ช่วงที่ถือน้อยๆตัว คือ ถือ 1 ตัว แต่ไม่ได้ใช้ มาร์จิ้น
ไม่เคยใช้ มาร์จิ้น เคยใช้เยอะๆ คือ 40-50% ของทุนที่เรามี
พอใช้ไป 2 ปีก็เจอ subprime ตลาดลงไป 45% พอร์ต่ลงไป 60% รู้สึกเปลี่ยนชีวิต
ตอนนั้นเคยคิดว่าถ้ามีเงิน 20 ล้าน ไปหาพวก fix income ได้ return 5% ต่อปี
ก็มีเงินใช้ปีละ ล้าน น่าจะพอได้แล้ว ถ้ามีเกิน 20 ล้าน จะมาเล่นหุ้นเต็มตัว
ซึ่งตอนนั้นเกินไปแล้ว พอมาเจอ มาร์จิ้นรอบนั้นจาก 65 ล้าน ลงไปต่ำสุดเหลือเงิน 18 ล้าน
ซึ่งหุ้นนั้นก็ไม่ได้สภาพคล่องดีมาก แล้วมีคนที่เล่นมาร์จิ้นหนักในหุ้นเดียวกันก็โดน force sell
ซึ่งกดดันมาก ที่จริงโชคดีมากที่ตอนนั้นไม่ตาย เหมือนขับรถเร็ว 200 km/hr
แล้วรอดตายมาได้ คนก็คิดว่าขับรถเก่ง หลังจากนั้นมีใช้บ้างนิดหน่อยตอน subprime หุ้น pe 1-2 เท่าก็หาได้
จึงใช้ margin อีกรอบราว 20% ของเงินที่มี
ถ้าจะใช้มาร์จิ้น คิดว่าต้องใช้ในช่วงที่หุ้นถูกมาก
อย่างเช่น ตอนนี้เห็นหุ้น pe 10 เท่า บอกว่าถูก อันนี้ไม่ใช่เวลาใช้ margin ถ้าเห็นหุ้น pe 1-2 เท่า
มันถูกมากอยากใช้ก็พอว่า คิดว่าใช้ไม่เกิน 20% ก็พอแล้ว
เห็นประสบการณ์จากเพื่อนหลายๆคนที่คิดว่ารอด มีเกณฑ์ สภาพคล่อง อัตราส่วนการลดหุ้นลง
แต่สุดท้ายเวลาหุ้นลงมันก็ไม่มีสภาพคล่อง
หุ้นหมัดน็อค? กำไรโต pe เพิ่มได้? หาได้อย่างไร
พี่โยโย่ เป็น criteria ที่ใช้เมื่อหลายปีก่อน
1. โตได้ 20% อย่างน้อยใน 3 ปีข้างหน้า
2. ต้องถูก อย่างเมื่อก่อน หุ้นโต 30% ซื้อหุ้น pe 4 เท่า หวังไปขาย 8 เท่า
สมัยนี้หุ้นโต 20% pe 15 เท่ายังบอกว่าโต
หรือ หุ้น superstock สมัยนี้ก็โตลดลง ได้ 10% กว่าๆ pe 30-40 เท่า
ความปลอดภัยในการลงทุนมันเปลี่ยนไปอย่างเทียบไม่ได้
สมัยนี้หวัง pe 4-5 เท่ายาก ถ้าเจอ pe 8 เท่า ก็ถูกมากแล้ว
คำที่ชอบมาก ใช้ประจำ คือ ซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดแย่
การซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม มันมีโอกาสได้หุ้นถูกยาก
แต่ถ้ามองในอุตสาหกรรที่คนยี้ ซึ่งในหุ้นที่ถูกก็จะมีโอกาสเจอหุ้นที่ดีอยู่ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ผู้บริหารก็ต้องดี เลือกซื่อสัตย์ ขยัน ไม่ขี้โม้ เข้าใจอุตสาหกรรมดี ถามไปตอบได้ ไม่ปิดบัง
ผู้บริหารที่ดี ส่วนใหญ่จะรู้ว่ามีอะไรเป็นความเสี่ยง และเตรียมรับมือไว้
สมมติไปเจอหุ้นส่งออก ถามว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นอย่างไร
แล้วตอบว่า แบงค์ชาติไม่ปล่อยให้แข็งขนาดนั้นหรอก ก็จะไม่ชอบผู้บริหารแบบนี้
เมื่อก่อนเคยตั้งเป็นกฏว่าจะต้องได้เจอผู้บริหารก่อน
แต่หลังๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้เจอผู้บริหารเท่าไร
เขามองว่า ถ้าหุ้นมันดี แล้วมันถูกจริงๆ เด่นชัดจนไม่ต้องไปคุยกับผู้บริหาร
อย่างเช่น บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้นปิโตรไชน่า คนก็ไปถามว่าทำไมซื้อหุ้นจีน
เขาตอบอ่าน annual report แล้วก็ประเมินมูลค่าแบบ conservative
ซึ่งมูลค่าต่ำกว่าที่เป็นหลายเท่า ปลอดภัยมาก ก็ซื้อเลย ไม่ได้เจอผู้บริหาร
งบการเงิน เป็นสิ่งแรกที่ดู ถ้ามีคนแนะนำมา จะดูอันนี้ก่อนเลย ย้อนหลังไปหลายปี
สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไร ผันผวนไหม ถ้าใช้ได้ค่อยมาเจาะต่อ ว่าธุรกิจทำอะไร
ซึ่งถ้างบการเงินไม่ผ่านก็ปิดตั้งแต่ต้น
ถ้า story ดี แต่งบไม่น่าสนใจ?
ต้องคุยกับผู้บริหาร จะโตเพราะอะไร งบ make sense อนาคตอาจจะเปลี่ยนไปได้
มีอะไรดีขึ้น แต่คงไม่ได้ลงทุนหนักๆ
ถ้ายังเป็นไปในแนวทางที่ผู้บริหารพูดก็ค่อยๆทยอยซื้อไปเรื่อย
หุ้นในอดีตที่สำเร็จเป็นหมัดน็อค?
ตัวหุ้น spali ตอนนั้นใช้ margin เล่นหุ้น pe 1 เท่ากว่า
เจอ ps กับ lpn ก่อน pe 2 เท่า มี backlog รออยู่แล้ว ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไร
ราคาขายปัจจุบันก็แพงกว่าราคาที่ซื้อครั้งแรก สภาวะตลาดหุ้นดูแย่ แต่เศรษฐกิจไม่ได้แย่
ดูดีด้วยซ้ำ ตอนนั้นก็เลยซื้อ พอผ่านมาจากตอนนั้น มันก็โต ขึ้นมาเฉลี่ยปีละ 20%
สมมติเราถือจาก pe 2 เท่ามา 6 เท่าก็ได้ 3 เด้งแล้ว
แล้วถ้ารวมผลตอบแทนที่กำไรโต 20% อีก ก็เป็น 4 เด้งแล้ว
ตอนนั้นซื้อครั้งแรก 2 บาทกว่า eps ที่คิดไว้ 1 บาทกว่า ปันผล 20% ทางแพ้แทบไม่มี
และยังเป็น eps ที่มีแนวโน้มจะโต
ตอนที่ขายนั่นคือไปเจอตัวอื่น ขายตอน 12 บาท เจอหุ้นที่ pe ถูก โตมากกว่า
อย่างตอนนี้อสังหาฯ อิงเศรษฐกิจเยอะ หนี้ครัวเรือนเยอะ ภาพทุกอย่างไม่ดี pe กลุ่มก็เลยต่ำ
แต่เราไม่จำเป็นต้องเล่นหุ้นทั้งกลุ่ม ถ้าเลือกบริษัทดีๆ ที่โดดเด่นก็ได้
พี่มี่ เสริม ถ้าดู lpn, ps , spali ผลตอบแทนที่ผ่านมาก็ไม่ได้แพ้ cpall นะ
ทุกอุตสาหกรรมถ้าเราเห็นความสามารถแข่งขัน เห็นได้ว่าเขาจะโตได้อย่างไร เหมือนปีเตอร์ลินซ์บอก
ตัวอย่างเกือบตาย ?
หุ้น ptl ตอนซื้อธุรกิจโต มีแนวโต้โตเรื่อยๆ ซื้อราคา 6 บาท pe ราวๆ 5 เท่า
สูตรตอนนั้นง่ายๆ ซื้อหุ้น pe 4-5 เท่าไปขาย pe 8 เท่า ตอนนั้นก็หวังไปขาย 10-12 บาท
ซึ่งเจอ subprime และใช้ margin สภาพคล่องต่ำ ลงไป 2-3 บาท
สุดท้ายกำไรก็ออกมาอย่างที่คิด ไม่มีอะไรผิด ซึ่งผิดที่ใช้ margin กับหุ้นสภาพคล่องต่ำ
ถ้าตอนนั้นไม่ใช้ margin ก็ถือเฉยๆ ได้ปันผล 10% ไม่มีอะไรต้องเดือดร้อน
ถ้าเราทำทุกอย่างถูก เลือกหุ้นดี ไม่แพง โตต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาอะไร
ถ้าชีวิตดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ก็อย่าหาปัญหาใส่ตัว
ยกตัวอย่าง มีหุ้นมั่นคงได้โต 10% ต้นๆ Pe 30 เท่า แข็งแกร่ง ผ่านไป 5 ปี
กำไรจะขึ้นมาเท่าตัว แล้วหลังจาก 5 ปีนั้นจะโตได้แบบนั้นไหม ?
อาจจะโตได้ไม่เกิน 5% หรือตีว่าโตตามเศรษฐกิจ ซึ่งไปดูที่อเมริกา
หุ้นที่เคยเป็น superstock ทั้งหลายแบบนั้น trade อยู่ที่ 15 เท่า พวก Walmart อะไรต่างๆ
ซึ่งถ้ามองภาพนี้ ผ่านมา 5 ปี กำไรโตเท่านึง แต่ pe ลดลงครึ่งนึง มันคุ้มไหม? ได้ปันผล upside 2% ต่อปี
ถ้าเราทำได้ ผลตอบแทนอาจจะได้ 5-6% แต่ถ้าเราพลาด ติดลบ 10 กว่า % ต่อปี คุ้มไหม?
เรามอง risk กับ reward ถ้า reward มันดีมาก เรายอมเสี่ยง
คนเราชอบเอาอดีตมาลากเส้นต่อไปอนาคต เช่น อดีตโต 50% เราก็คิดว่าอนาคตจะโต 50%
ที่จริงแล้ว มันยากมากที่จะโตได้ระดับนั้นไปเรื่อยๆ ถ้าโตระดับนั้นได้ต่อเนื่อง ก็ใหญ่ระดับโลกแล้ว
จากประสบการณ์ เลือกหุ้นถูกไม่ค่อยพลาด มันก็ถูกแบบนั้น แต่เวลามองหุ้นโต
เช่น snc ผบห.เก่ง ทุกอย่างตอบได้เคลียร์หมด โตอดีตปีละ 30% ก็คิดว่าจะโตได้ 30%
ไปเรื่อยๆ หลังจากวันที่ขายหุ้นไปจนถึงวันนี้ โตเพียง 5-10% ซึ่งห่างจากที่คิดไปเยอะ
มีหุ้นแบบนี้เยอะ มี 10 ตัว ผมมองโตถูกต้องจริงๆแค่ 2 ตัว
เจอคนที่เก่งมาก มองธุรกิจขาด เขาซื้อหุ้น pe 30 เท่า ซื้อ 10 ตัว อาจจะถูกซัก 6 ตัว
แต่เราทำแบบนั้นไม่ได้ เรามองอนาคตไม่ขาด ซึ่งคนที่จะมองอนาคตได้ขาด
อย่างผมมอง ก็มีเช่น ดร.นิเวศน์ คุณประชา หมอพงษ์ศักดิ์ พี่เวบ
เราจะเอาอะไรไปเทียบกับเขา ถ้าโอกาสถูกน้อยก็ผิดก็เล่นเกมที่เราถนัดดีกว่า
พี่มี่เสริม ขนาด คุณโยโย่ เป็นคนอ่านหนังสือ เยอะมาก ยังพูดแบบนี้ แสดงว่าเราอย่าไปคาดการณ์อนาคตมาก
การลงทุนต่างประเทศ?
คิดถึงทุกครั้งที่หาหุ้นเล่นในประเทศไทยไม่ได้ อย่างช่วงนี้ ก็ไม่ค่อยมีหุ้นถูกๆ แบบที่ชอบ
อย่างเมื่อ 6-7 ปีก่อน ตลาดหุ้น 800 กว่าจุด รู้สึกหาหุ้นเล่นไม่ได้ [หา pe 4 เท่าไปขาย 8 เท่าแบบเดิมไม่ได้]
ตอนนั้นมองไปต่างประเทศ มองอเมริกา ซึ่งตลาดพัฒนาแล้ว ดูไปทีละตัว
ก็น่าสนใจไปหมด ไม่ได้หลับไม่ได้นอน
สนุกมาก จนไปเจอหุ้นทำธุรกิจจีนที่ list ในตลาดอเมริกา
ชื่อหุ้น ไชน่า ไบโอติกส์ ทำจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นหุ้นตีแตก โต 30% ต่อปี
ราคาราว 15 เหรียญ มี cash ในบริษัท 4 เหรียญ เหมือนซื้อ net 11 เหรียญ pe 5 เท่า
ก็ศึกษาไปดูธุรกิจเขามีแนวโน้มโตแค่ไหน ซึ่งตลาดโปรไบโอติกส์ในจีนยังเล็กมาก เทียบกับอเมริกา
ซึ่งจีนโตขึ้น รายได้เยอะขึ้น ลูกมากขึ้น มีจุดแข็ง จีนยังผลิตไม่เพียงพอ
ต้องนำเช้าจากต่างประเทศ ซึ่งของเขาถูกกว่านำเข้า 50% ยังไงก็ต้องใช้
ผลิตเท่าไรก็หมด demand ก็เยอะจน supply ไม่พอ มองเป้าหมาย 15 เหรียญไป 150 เหรียญ ชัวร์
มันก็ขึ้นไป 18-20 เหรียญ เวลาผ่านไป ก็มีเวบไซต์ออกมาโจมตีบริษัท ว่าบริษัทนี้ไม่มีอยู่จริง
แล้วก็หาหลักฐานมาแสดง บริษัทนี้ทำอยู่สองอย่าง ขาย b2b เข้าบริษัทนม
อีกอย่างคือทำแคปซูลให้คนสุขภาพขับถ่ายไม่ดี
อย่าง b2b ตรวจสอบยาก ตัวที่ขายแคปซูลต้องมีสาขา
เขาไปสำรวจตามเมืองจีนไปหาเท่าไรก็หาไม่เจอ
ตอนนั้นก็คิดว่าเมืองจีนมันใหญ่มาก ถ้า 200 สาขามันน้อยมาก
ซึ่งหลังจากนั้นบริษัทก็ประกาศแก้ข่าว ถ่ายรูปหน้าร้าน มาลงให้ดู
ตอนนั้นก็สบายใจ บริษัทแก้ข่าว คงเป็นพวก short หุ้น
แต่หลังจากนั้นก็มีข่าวต่ออีก ว่าไปตามที่อยู่นั้นแล้วไม่มีจริง แถมยอด short เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หลังจากนั้นบริษัทก็จัด company visit ก็ไปดูโรงงานผลิต ดูสาขา ดูห้างเหมือน bigc บ้านเรา
ก็สบายใจ หุ้นก็ลงเรื่อยๆ จาก 18 ไปเหลือ 12 เหลือ 10 เหรียญ
ยังมั่นใจว่ามันไม่ได้โกง แต่ก็คิดว่ามันจะโกงได้อย่างไร
ไปอ่านหนังสือเจอ งบกำไรขายทุน หรือค่าใช้จ่ายแต่งได้
อย่างค่าใช้จ่ายต้องลงก็ไปลงเป็น r&d แต่งบกระแสเงินสดหลอกไม่ได้ ถ้ารายได้ กำไรโต
ซึ่งงบกระแสเงินสดต้องโตด้วย
แล้วไปดูงบกระแสเงินสดดูทะลุปรุโปร่งก็ไม่มีปัญหา ก็สบายใจ มีเขียนบทความวิเคราะห์ด้วย
ผ่านไปสักพัก cfo ลาออก ก็เริ่มไม่สบายใจ ผ่านไปสักพัก auditor เริ่มไม่รับรองงบ ซึ่งเป็น big4 ด้วย
สุดท้ายซื้อมา 15 ขาย 7.5 ขาดทุน 50%
โรงงานที่ไปดูคงเช่ามาหลอก หรือจ้างคนมาซื้อของ งบก็ปลอม
ซึ่งเคสแบบนี้มีเยอะที่เป็นหุ้นจีน list ในอเมริกา
จึงเป็นบทเรียนให้คิด อย่างหุ้นในเมืองไทยที่มี story ดูดี จะโตอย่างนั้นอย่างนี้
เวลาผ่านไป โครงการไม่ได้ การเติบโตไม่ได้ เพราะอย่างนั้นอย่างนี้
จะรู้สึกว่า หุ้นที่เราถือแล้วต้องไปคอยแก้ตัวให้ มันมักทำไม่ได้อย่างที่เราคิด
ถ้ามีหุ้นที่ไม่ deliver แบบที่บอกไว้ ส่วนใหญ่ไม่ดีหรอก
นอกจาก ไชน่าไบโอติกส์ก็มีประสบการณ์คล้ายๆอย่างนี้อีก 2-3 ครั้ง
โดนหนักๆไปหลายที เคยท้อไหม?
อย่างตอน subprime 65 เหลือ 18 ล้าน เอา resume ไป update ใหม่ เลย
เพราะเรามีแผนไว้ว่าถ้าต่ำกว่า 20 ล้าน เราต้องทำงาน
โชคดีว่าตลาดหุ้นฟื้นเลยไม่ต้องร่อนใบสมัคร
ตอนนั้นไม่ท้อ รู้สึกว่าสิ่งที่เราคิดไม่ผิด ธุรกิจมันดี หุ้นมันถูก แต่เราไม่คิดว่าหุ้นต้องคิดเท่าไร
ในระยะเวลาเท่าไร หรือหุ้นจะไม่ลงไปต่ำกว่าเท่าไร ไม่ได้มีอะไรผิดคาด
เรารู้อยู่แล้วว่าตลาดไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา มันเป็นเรื่องปกติ ก็เลยเฉยๆ
อย่างตอนไชน่าไบโอติกส์ เป็นเหตุสุดวิสัย หลักการเรายังถูกต้องเหมือนเดิม
เพียงแต่ไปเจอหลักการพิเศษ ลงทุนหุ้นไป 100 ตัวจะเจอโกงซักตัวก็ไม่ได้ผิดใจอะไรมาก
ซึ่งตอนนั้นกลับมาก็ได้ไปซื้อ jas ตอน 0.8 พอดี ที่ขาดทุนก็ได้คืนหมด
พี่มี่เสริม เรามักจะเอาราคาหรือผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง
ถ้าซื้อมั่วๆแต่ราคาขึ้น สมองเราก็จะคิดว่าถูก แต่ถ้ากระบวนการเราถูกแล้ว แต่ราคาลง เราจะคิดว่าผิด
ช่วงเมืองไทย ไม่ค่อยดี และเริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศมากขึ้น จะลงทุนแบบไหนดี?
กลยุทธ์ก็ต่างไป ส่วนตัวเล่นหุ้นโฟกัส โดยจริต ชอบซื้อแบบไม่กี่ตัว เจาะหุ้นลึกมาก
จะไปถือสไตล์พี่โจ เพราะเราเจาะลึกหลายตัวไม่ได้ ซึ่งช่วงที่ลงเยอะๆ คือ 4 ตัว ถ้าน้อยๆ คือ 1-2 ตัว
บทเรียนที่เรียนรู้ อะไรก็ตามที่เรารู้และเข้าใจมันดีเราจะโฟกัสมันได้
อะไรที่เราไม่รู้ ไม่เข้าใจมันดี ใช้การโฟกัสตายแน่ เหมือนไชน่า ไบโอติกส์
ตอนนั้นเอาเงินไปครึ่งพอร์ตแล้วถือตัวเดียว เป็นกลยุทธ์ที่ผิด
ตอนนี้ก็เลยกระจายไป 5% ซื้อไป 40 ตัว
อย่างเวียดนามก็มองๆ ว่าน่าสนใจ
ตอนนี้ที่ไปต่างประเทศ เป็นกลยุทธ์ใหม่สำหรับผม แต่เป็นกลยุทธ์ที่มีมานานแล้ว
ถ้าใครเคยอ่าน little book that beat market เขามีสูตรง่ายๆ คือ ธุรกิจที่ดี มี return on invested capital
ไม่ใช่ธุรกิจที่โต คือเราลงเงินน้อยๆ แต่ได้ return เยอะๆ ส่วนธุรกิจที่ถูก คือ pe ต่ำ แล้วก็เอาสองปัจจัยนี้
อย่างถ้าเอาหุ้นทั้งตลาดนี้มาเรียงกันด้วย roic pe เรียง แล้วเอา rank มาบวกกัน
จะได้หุ้นที่คุณภาพดีราคาไม่แพง แล้วเขาก็ใช้สูตรนี้ทดสอบกับข้อมูลย้อนหลังในอเมริกา
ซื้อแล้วผ่านไป 1 ปี ขายให้หมด ทำซ้ำทุกปี return ย้อนหลัง 14-16 ปี
ได้ return 30% ต่อปี ชนะตลาดที่ได้ 12%
ซึ่งก็มีคนเอามาประยุกต์ในไทย siamquant , research ดร.ลลิตา, ดร.ไพบูลย์
แต่ละคนก็ทดสอบคนละช่วงเวลากัน แต่พูดเหมือนกันหมดว่าชนะตลาดได้พอสมควร
ซึ่งตอนนี้ก็ใช้หลักการคล้ายๆ อันนี้
Jitta ก็เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่ทำเรื่องคล้ายๆแบบนี้ เพื่อให้สามารถลงทุนได้โดยไม่ต้องคิดมาก
ซื้อหุ้นไป 40 ตัว เจาะรายตัวก็ไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้ว เป็นช่วงทดลองอยู่
เราจะผสมผสานสไตล์ quant กับ vi ได้ไหม?
Quant ใช้แต่ตัวเลข ไม่ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คนจะชอบไปนึกถึง technical เลยไม่อยากใช้คำนั้นเท่าไร
ส่วนแนวนี้ขอเรียกว่า Quantitative VI ละกัน คือใช้ค่าทางการเงิน มาคิด
อย่างไปอเมริกา ก็ใช้หลักนี้แล้วก็ซื้อไปเลย 40 ตัว
หรืออีกแนวทางหนึ่ง ใช้หุ้นนี้กรองหุ้นออกมา เราก็ไปวิเคราะห์ต่อ แล้วก็มาลงทุนแบบเดิมที่เราทำ
พี่มี่ แชร์วิธีใช้ jitta สมมติมีไอเดียอยากลงทุนหุ้นค้าปลีก
ปกติไม่เคยดู jitta line เลย แต่ jitta score เข้าใจว่าคำนวณจากงบการเงินย้อนหลังเกือบ 10 ปี
ซึ่งจะเอามาจำๆ เอามาค้นหาคำตอบต่อ เพื่อเป็นข้อสังเกตเพื่ออ่านหาข้อมูลเพิ่มเติม
ทำไมถึงลงทุนใน Jitta ? หรือ startup รวมๆ ?
ศึกษา startup แม้จะไม่เจาะลึกมาก คิดว่า เป็น mega trend อย่างหนึ่ง
เดิมธุรกิจถูกจำกัด 2 อย่าง คือ
1) เงินทุน เป็น barrier to entry อย่างหนึ่ง เช่นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก
จะมีไม่กี่เจ้า แต่ทุกวันนี้เงินไม่ใช่ปัญหา เงินล้นโลก ดอกเบี้ยต่ำ ทุกคนอยากหาผลตอบแทน
จึงเกิดโครงสร้าง บริษัท startup ที่ยังไม่มีรายได้ แต่คนเห็นอนาคต barrier to entry ตรงนี้หายไปแล้ว
อย่างธุรกิจ bank เดิม เป็นเหมือนเสือนอนกิน คนจะเกิด bank แข่งยาก ใบอนุญาตลำบาก
พอเจอ startup การแข่งขันก็เปลี่ยนไป
2) เทคโนโลยี เปลี่ยนไปเยอะมาก ทำให้การแข่งขัน คนอยู่ต่างอุตสาหกรรม ต่างประเทศ แข่งกันได้เสรี ขึ้น
ถ้าไม่ศึกษาสิ่งเหล่านี้ไว้ หุ้นที่เราลงทุนอาจจะโดนสิ่งเหล่านี้ตีไปจนเจ๊งเลย
เป็น disruptive เป็นธุรกิจใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมมากๆ จนทำให้ของเดิมเปลี่ยนไป
ถ้าเราจะลงทุนไม่ศึกษาพวกนี้ไว้ก็หมดตัวได้ง่ายๆ เหมือนกัน
Startup มองเป็น thread กับธุรกิจเดิม
แต่ก็เป็นโอกาส แม้จะมีความเสี่ยงสูงมาก พันคน อาจจะอยู่ได้แค่ คนเดียว
พี่มี่ เสริม ซุนวูบอก รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง startup รบพันครั้ง ชนะแค่ครั้งเดียวก็พอแล้ว
Jitta ?
รู้จักเจ้าของมานานแล้ว เป็นเด็กเตรียมฯรุ่นเดียวกัน
พอไปเจอ jitta ก็เจอว่ามี formula เหมือนกัน ใครก็เข้าไปใช้ได้ พอเริ่มๆเล่นไป รู้สึกว่าชอบกว่า magic formula
ตอนแรกก็เอา magic formula มาใช้กับตลาดไทย ก็เจอว่าพวกลำดับแรกๆ เป็นกำไรพิเศษไปหลายตัวมาก
Pe ก็ต่ำมาก ค่า ROIC ก็ต้องสูงมากตามเหมือนกัน รู้สึกว่าลงตามนี้ มันไม่สบายใจที่จะถือ
เช่น ลำดับ 1 คือ jas ปีที่แล้วขายสายไฟเบอร์ทั้งบริษัทได้กำไรหมื่นล้านก็ติดลำดับมา
ถัดไปก็ขายทรัพย์สิน ต้นทุนกำไรลงเยอะเลยกำไรดี เป็นกำไรพิเศษสักครึ่งหนึ่ง
พอไปดู jitta jas ก็ติดอันดับ 1 เหมือนกัน แต่ใน jitta เป็น 1 ใน 4 ก็น่าสนใจกว่า
ซึ่งเขาไม่เปิดเผยสูตร ก็เลยนัดเจ้าของคุยด้วย เพราะอยากรู้ว่าคิดมาอย่างไร
พอถามๆดูก็คิดว่าเขามีมุมมองที่ดี เขาเคยทำ startup มาหลายบริษัท แนวคิดเลือกหุ้นเขาก็คล้ายๆกัน
พวก ratio ต่างๆที่เขาใช้ มัน make sense เลยถามเขาว่ามีหุ้นเหลือไหม อยากร่วมด้วย
สุดท้ายก็ได้ลงทุนด้วย ไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรเป็นพิเศษ
มีแผนการณ์อย่างไรต่อ?
หลายปีที่ผ่านมาเน้น return สูงๆ วันนี้
แต่วันนี้ตลาดบังคับให้เปลี่ยน หวัง return สูงๆ ไม่ได้
อยากจะเน้นรักษาเงินต้น ต้องมีการกระจายมากขึ้น
ตอนนี้ถือหุ้นไทย 90% แบ่งเงินลง jitta 5% อีก 5% ลงต่างประเทศ
ซึ่งต่อไปถ้าหาหุ้นในตลาดไทยไม่ได้ คงลดสัดส่วนลงเรื่อยๆ
หลังๆก็ไม่ได้ติดตามหุ้นมากขึ้น ก็คงจะกระจายไปหลายๆประเทศ เวียดนามก็เป็นที่สนใจ ก็ต้องใช้เวลา
ผ่านไปแนวทางที่ว่า ใช้สูตรไม่ใช้สมอง ผลลัพธ์เป็นอย่างไร
ถ้าดี ปีหน้าก็อาจจะเพิ่มสัดส่วน ไปต่างประเทศเพิ่ม ก็ยังไม่แน่
คงทยอยๆลด มองว่าตลาดไทย ภาพใหญ่ไม่ได้ดี หุ้นรายตัวทุกวันนี้ก็ไม่ได้ดี หุ้นดี ก็แพงจนซื้อไม่ลง
แต่ก็คิดว่าสุดท้ายวันหนึ่งคงโตน้อยลง และจะไม่ถูกอีกต่อไป
ซึ่งแนวทาง Q VI ก็คิดว่าเป็นแนวทางที่อยากไป
คิดไว้ว่าไม่อยากไปดูหุ้นรายตัว คนเข้าตลาดเยอะ VI เก่งๆเยอะ ขยันเยอะ ก็ไปอ่านเรื่องอื่นเยอะ
อยากลงทุนไม่ได้คิดอะไร แล้วหวังผลตอบแทนให้ลดลง
ถ้าตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 7% ต่อปี หวังได้ซัก 10% ต่อปีก็ happy แล้ว
เลยต้องทดสอบดูก่อน Q VI เป็นแนวทางที่ใช่หรือเปล่า
ซึ่งถ้าวันหนึ่งใช้แล้วมันแน่นอน ก็อาจจะ move ไป 100% เลยก็ได้ แล้วใช้เวลาไปทำอย่างอื่น
พี่บอลเสริม ว่าเป็นการหากลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ life style ของเรา
การจะสำเร็จชนะตลาดได้ ต้องเป็น 20 คนแรก จึงเอาชนะตลาดได้ อยากให้ฝากข้อคิด ?
ยังมีหุ้นให้หา มีหลักการอะไรให้ชนะตลาดไหม?
พี่โยโย่ พอลงทุนนานๆก็เจอนักลงทุนเซียนๆ ระดับ ท็อปๆ เจอรอบตัวมากมาย เป็นร้อยคน
ขอเรียกว่า นิสัยเซียน มันมีสิ่งเหมือนๆกันคือ ขอยกคำพูด ชาลีมังเกอร์
ทุกวันที่ตื่นนอนคุณต้องฉลาดกว่าเมื่อวาน แล้วเซียนทุกคนเป็นอย่างนี้จริงๆ
เขาจะหาความรู้ใส่ตัว มีหลายวิธี อ่านหนังสือก็เป็นทางหนึ่ง
อย่างหมอพงษ์ศักดิ์ บอกว่าดู opp day แต่ละไตรมาส ดูอย่างต่ำครึ่งหนึ่ง
อย่างคุณประชา วันๆก็นั่งอ่านหนังสือ ใช้เวลาคิดวิเคราะห์ พบผู้บริหาร
แต่ละคนมีรูปแบบหาความรู้ต่างกันไป บางคนก็เอาตัวเองไปเข้ากับคนเก่งๆ ไปหาความรู้เพิ่ม
คุณจะชนะคนอื่นได้ ทุกวันต้องฉลาดกว่าเมื่อวาน
เคยเห็นเลขของญี่ปุ่น 1.01 ยกกำลัง อินฟินิตี้
ถ้าเราดีกว่าเมื่อวาน 1% ผ่านไปไม่นานจะเก่งกว่าคนอื่นเต็มไปหมด
คนส่วนใหญ่ เป็น 0.99 ยกกำลัง เราไปเรียนรู้สิ่งผิดๆ เราไปเอาตัววัดผิดๆ
อย่างที่พี่มี่บอก ว่าเห็นราคาขึ้นคือถูก ราคาลงคือผิด
หลักง่ายๆคือต้องฉลาดกว่าเมื่อวานให้ได้
วันนี้พกคอมมาด้วย โต๊ะจดสะดวก เลยฟังไปจดไปด้วยครับเพลินๆ มี 4 part หลักๆ
1) สัมภาษณ์ส่งไม้ต่อนายกสมาคมthaivi
2) สัมภาษณ์อ.นิเวศน์
3) สัมภาษณ์สมาชิกที่แลกเปลี่ยนข้อมูลบ่อยๆ
4) สัมภาษณ์พี่โยโย่ สันติ สิงหวังชา
บางช่วงก็วิ่งเข้าวิ่งออกบ้าง ถ้าตกหล่นผิดพลาดขออภัยด้วยนะครับ
ขอบคุณทีมงาน thaivi คณะกรรมการ วิทยากรทุกท่าน ที่เสียสละแรงกายแรงสมองในงานนี้
รวมทั้งสมาชิกทุกคนที่มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันให้สังคม
ทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือสนับสนุนให้กับองค์ต่างการกุศลต่างๆ
(รวมทั้งร่วมกันบริจาคเงินให้ตลาดหุ้นครับ )
1) สัมภาษณ์ส่งไม้ต่อนายกสมาคมthaivi
พิธีกร พี่บอล
ความประทับใจ? ประสบการณ์?
พี่โจ
ไม่ได้ตั้งใจมาเป็น เดินอยู่หลังเวที แล้วมีคนถีบขึ้นมาเป็น
รู้สึกประทับใจกรรมการทุกท่าน นายกเป็นแค่หัว แต่หัวทำอะไรไม่ได้
อย่าง กานต์ พี่นุช ลี่ เกด เป็นต้น รวมทั้งพวกเราทุกคนเป็นเลือดเนื้อ ลมหายใจสมาคม
ตอนตั้งสมาคมฯมีความเข้าใจผิด เรื่องเก็บเงินกันเยอะ
ช่วงแรกกรรมการหลายท่านก็ท้อแท้ จะยกเลิกเก็บเงินเหมือนกัน
แต่ก็มีกรรมการที่มองว่าไม่เก็บเงินก็อยู่ไม่ได้ ต้องไปหาเงินทาง หาผลประโยชน์ทางอื่น
พี่ไก่ธันวา เคยบอกว่าถ้ามีสมาชิกซัก 1500 ก็น่าจะรอดแล้ว ตอนนี้เรามี 1 หมื่นกว่าคน
ค่าสมาชิก 400 บาทถือว่าน้อยมากสำหรับเงินพวกเรา มันคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้
การรับตำแหน่งเป็นนายกสมาคมคนต่อไป?
พี่ชาย
คิดอยู่ซักพัก ก็ต้องปรึกษาภรรยาด้วย ที่ตัดสินใจเพราะเข้ามาใช้หนี้
ความรู้ส่วนหนึ่งก็ได้มาจากเวบ thaivi อ่านมาตั้งแต่ปี 2004 มีไม่กี่เวบ ตลาดหุ้น กระทิงเขียว จน thaivi
ได้ความรู้มากมายจากเพื่อนๆสมาชิกหลายคน และมีตัวอย่างที่ดี
เช่น อ.ไพบูลย์ จัด money talk ทำฟรี ท่านนั่งตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น ก็เหนื่อย ทำเพื่อสังคม
อ.นิเวศน์ ก็ไปฟังพูดให้สังคม ท่านจริงใจ คิดอย่างไรก็พูดอย่างงั้น
เคยไปงาน mai นักวิเคราะห์พูด ท่านก็บอกว่าอย่าไปซื้อเลยไม่ดี ก็พูดตรงๆ
คิดว่าควรเสียสละ คืนกลับให้สังคมบ้าง และชวนเพื่อนๆสมาชิกทำอย่างอื่นบ้าง ถ้ามีโอกาส
คนที่ลงทุนในหุ้นหมกมุ่น อาจจะมีกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เช่น ไปทำบุญ ทำเพื่อสังคม
เพิ่มเติมอื่นๆ
พี่โจ
มีความตั้งใจว่าอยากเขียนหนังสือ ประกาศไว้ว่าไม่เกิน 3 ปี ประกาศไว้จะได้กระตุ้นตัวเอง
กรรมการกับทีมงานยังต้องการเพิ่ม คนที่มีทัศนคติตรงกัน ไม่หวังผลประโยชน์ มีความซื่อสัตย์
คำถามจากทางบ้าน
เวลาตั้งเป้าหมายลงทุนทำอย่างไร?
พี่โจ
ตอนเข้าใจสมการทบต้นครั้งแรกตื่นเต้น ไม่น่าเชื่อว่าทำแค่ปีละ 20% จากเงินหลักแสน
หลายๆปีกลายเป็นเศรษฐีร้อยล้านได้
เราควบคุมไม่ได้ว่าจะได้เท่าไรในแต่ละปี เราทำเต็มความสามารถของเรา จะได้เท่าไรก็อีกเรื่อง
ถ้าทัศนคติถูกต้อง วิธีการถูกต้อง ผลตอบแทนก็มาเอง ทีแรกคิดว่าจะเป็นเศรษฐีร้อยล้านตอนอายุ 60
ตอนนี้อย่าไปหวังผลเลิศ ได้ 20-30% ก็เพียงพอแล้ว
บางทีตาเรามองจุดหมายมากเกินไป ลืมก้มลงมองพื้น เดินทีละก้าว ดูพื้นฐานธุรกิจ เลือกหุ้นดีๆ ราคาไม่แพง บางปีดีๆ อาจได้ 150% จะคิดเสมอว่านี่เป็นผลตอบแทนดีผิดปกติ
เราอาจจะโชคดี ซักวันพอร์ตเราก็อาจลดลง 50-60% ได้เช่นกัน
ถ้าเราได้มาก ให้คิดเสมอว่าซักวันเราจะเสีย ไม่งั้นเราจะหยิ่งผยอง มันเป็นไปไม่ได้ ว่าเราจะทำได้สูงๆเสมอ
ลงทุนให้ถูกต้อง ทบต้นไปเรื่อยๆ
ผลตอบแทนที่ได้ 1700 กว่าเท่า ที่จริงผลตอบแทนเงินจริงน้อยกว่านี้มาก
เพราะเอาเงินออกไปช่วยเหลือคนอื่นเยอะ ถ้าโชคดีไม่มีภาระมาก ก็จะไปได้เร็ว
พี่ชาย
เห็นด้วยกับคุณโจ
อ่านหนังสือ magic number มีเป้าหมาย 15-20%
ก่อนจะศึกษา vi ตั้งเป้าหมายเป็นเท่า พอเข้าใจก็ตั้งเป้าลดลง
รู้สึกเหมือนคุณโจ เราบอกไม่ได้ว่าปีหนึ่งเราจะได้เท่าไร อยู่ที่ตลาดจะเท่าไร
บางปีเราอาจไม่ดี อาจจะไม่ใช่เราตัดสินใจผิด
อย่างในหนัง big short เขาตัดสินใจถูก แต่ต้องรอนาน 2-3 ปี
ต้องทนความเจ็บปวด จนกว่าจะได้ผลตอบแทนจากการ short ของเขา
พยายามศึกษาธุรกิจให้ถ่องแท้ เดี๋ยวก็ได้รางวัลเอง
เรื่องล้างพอร์ต คนที่ทำได้ต้องมีความรู้การลงทุนที่ดีมาก ถ้าล้างพอร์ตต้องรู้ด้วยว่าจะกลับมาเมื่อไร
ต้องเป็น market timer ที่เก่งมาก ถ้าล้างได้ถูก ต้องกลับมาซื้อได้ถูกอีก
เหมือนแทงหัวก้อย สองรอบ โอกาสถูกคือ 1 ใน 4
ถ้าทำแบบบัฟเฟตต์เลือกกิจการที่ดีๆ ตัดสินใจน้อยครั้ง มีโอกาสชนะมากกว่า
ช่วงน้ำท่วมใหญ่ มีนักลงทุนที่เก่งกาจ ล้างพอร์ต ปรากฏหุ้นก็ไม่ลง
ฝากไว้ ผลตอบแทน ตั้งไว้บางทีเป็นการกดดันตัวเอง
ถึงเป้าหมายแล้วล้างพอร์ต ก็ต้องเก่งมากที่จะกลับมาซื้อ
คุณโจ เสริมพี่ชาย ถ้าพอร์ตใครที่หุ้นดีอยู่แล้ว กิจการดี ยังต่ำกว่ามูลค่า
ไม่จำเป็นต้องล้าง เป็นพอร์ตสะอาด
นักลงทุนระยะยาว ไม่มีอะไรกดดัน ไม่เหมือน trigger fund
เป็นเกณฑ์ไม่ฉลาด รังเกียจกำไร พอถึง 7% ขาย แทนที่จะให้ขึ้นไปเป็น 100%
Q.ชีวิตจริงหุ้นลงไปเยอะ ไม่ล้างพอร์ตจะได้หรอ?? Ex. SSI, BANPU ?
A. พี่โจ
ถ้าไม่อยากให้เราจนมุม ให้ทำสิ่งถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก แบบนี้มันสกปรกตั้งแต่แรก
คือที่คิดว่าถูกมันไม่ถูก ไม่มีใครยินดีเมื่อหุ้นตัวเองถือราคาลง เราจะสงสัยว่าทำอะไรผิด
จะเริ่มลังเล เราต้องยึดที่พื้นฐานบริษัท ราคาลงคือวิกฤติของราคา
ไม่ใช่วิกฤติของพื้นฐานกิจการ เช่น ตัวเลข yield 6% เงินฝาก 2% กิจการยังดีทำไมต้องขาย
พี่ชาย stock selection เองไม่ได้เหมาะกับทุกคน ที่เลือกมาไม่แน่ใจทำไมเลือกตัวนั้น
ถ้าไม่ถนัด stock selction ให้ซื้อ index fund ก่อนก็ได้ ไม่แพ้ตลาดแน่
แต่ stock selection แบบนี้แพ้ไปเยอะมาก แล้วศึกษาความรู้อุตสาหกรรม
ตัวธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อเลือกได้ดีกว่า นี้
พี่ชาย
ขอเสริมคุณโจ ถ้าคุณซื้อถูก ตลาดให้คุณผิดในระยะสั้น
จะมีคนที่ฉลาดเหมือนกัน มีเงินเยอะ แม้เลือกหุ้นถูกตัว มันจะไม่ขึ้น
เคยซื้อหุ้นตัวหนึ่งปีก่อนที่ 9 บาท ไม่ไปไหน ลงไป 8 บาท จนรู้สึกผิด
สุดท้ายก็วิ่งไป 15 บาท เหมือน 10 กว่าปีก่อน เคยซื้อหุ้น hmpro 4.30
ไม่มีใครซื้อด้วยเลย มีคนตั้ง offer ก็ซื้อไปหมด
ขึ้นไปนิดหน่อยแล้วก็โดนกดลงไป 3.8 แต่สุดท้ายเวลาก็กลับขึ้นไป
มันอยู่ที่เราเข้าใจธุรกิจนั้นขนาดนั้นไหม กำไรเป็นขาขึ้นไหม
ดร.นิเวศน์เขียนในบทความ กำไรเพิ่ม รายได้เพิ่ม ปันผล
คุณโจก็พูดอยู่บ่อยๆ ถ้าเห็นหุ้นไหนที่กำไรเพิ่มขึ้นทุกปี ราคาไม่ไปไหน มันต้องไป
เงินเพิ่มขึ้นตลอด แต่สินทรัพย์ไม่เพิ่มเร็วเหมือนกัน
อย่างมนุษย์เงินเดือน ได้เงินทุกเดือน แต่สินทรัพย์ไม่ได้เพิ่มตลอดแบบนั้น
เงินเข้ามาก็ต้องมาหาสินทรัพย์ลงทุน ซึ่งสินทรัพย์ดีๆมีไม่พอกับเงิน
เราตัดสินใจถูกแล้ว ก็จะมีคนทดสอบ
พี่โจ
เสริมเราเลือกหุ้น หุ้นก็เลือกเราเหมือนกันว่า เราสมควรรวย สมควรสำเร็จไหม ต้องทำตัวให้สมควรได้รับด้วย
Q. เคยมีเคสที่ตัดสินใจผิด ขาดทุนหนักไหม ความมั่นใจ กับความโง่ กั้นกันเส้นบางๆ?
A. พี่โจ
ต้องยอมรับว่า เราเลือกหุ้นตามเกณฑ์ แต่บางครั้งมันลงจริง ผมมีวินัยข้อหนึ่ง
ไม่ให้ตัวเองเข้าสู่มุมอับ หุ้นตัวไหนก็ตาม ถ้าราคาลงจะซื้อถัว
แต่เมื่อมีสัดส่วน 20% ของพอร์ตจะหยุด บางทีสิ่งที่คิดว่ารู้อาจจะไม่ใช่
คนที่รู้วงในอาจจะขายมาก่อน ด้วยวินัยข้อนี้ เต็มที่ก็จะเจ๊งแค่ 20% พอร์ต
นี่คือวินัยที่จะไม่ให้สูญเสียมากกว่านั้น บางคนถัวจนตัวตาย
Cut loss จะทำต่อเมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงที่น่าจะถาวร หรือเสียเวลาไปหลายปี
แต่ถ้าชั่วคราว ไม่ต่อเนื่องยาวนาน อาจจะถือสู้ก็ได้แล้วแต่กรณี
พี่ชาย
คล้ายๆ คุณโจ บอกไป คิดว่า การลงทุนในหุ้นการขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดา
บัฟเฟตต์ก็เคยผิดพลาด ผมก็เคยผิดพลาด
คนเรามักจะเห็นการตัดสินใจใช้ราคาเป็นเครื่องชี้นำ แต่ของผมไม่ใช่ราคาเป็นหลัก จะใช้ธุรกิจ
เช่น คาดการณ์ว่าธุรกิจจะดี แต่ไม่ดีอย่างคาด พอไปอ่าน md&a แล้วก็เข้าใจแล้วว่าไม่ได้ดีอย่างที่คิด ก็ขาย
บางตัวซื้อไม่ได้มั่นใจมาก อย่างในหนังสือนักลงทุนดันโด ที่คุณพรชัย แปล
ถ้าพลาดก็พลาดนิดหน่อย แต่โอกาสกำไรเยอะมาก
เช่น ถูกกำไร 100% ผิดขาดทุน 10% ดังนั้นจะเลือกหุ้นที่ mos พอสมควร
บางครั้งก็มีตัดสินใจพลาด เพราะประเมินธุรกิจ ประเมินอุตสาหกรรมผิด
เหมือนเราทำการค้า ซื้อเสื้อโหลมา ปรากฏลูกค้าไม่ชอบ ขายไม่ดี ก็ต้องขายลดราคา
เพื่อเอาทุนไปซื้อเสื้อชุดใหม่ดีกว่า บางทีพวก price maker ก็ใช้ราคาชี้นำรายใหญ่
ให้เข้าใจว่าผิด บางทีก็ลากหุ้นขึ้น ให้คิดว่าตัดสินใจถูก บางทีลากหุ้นลง ให้คิดว่าตัดสินใจผิด
Key ในการหาหุ้น?
พี่โจ
ทำความเข้าใจธุรกิจ เลือกหุ้นกำไรเติบโต ในราคาไม่แพงเกิน และต้องยืนหยัดด้วย
บางทีราคา correction ชั่วคราว ใจไม่แข็งขายไป ก็เจ๊งได้เหมือนกัน
ต้องมี 3 ข้อ กำไรโต ราคาไม่แพง ยืนหยัด
พี่ชาย
อย่างที่เคยพูดว่าวิธีการอาจจะไม่ได้เหมาะกันทุกคน
ส่วนตัวจะดูหลายอย่าง ดูมหภาคด้วย ถ้าเอาเฉพาะเรื่องพื้นฐาน
ชอบหุ้นที่กำไรเติบโตได้ แต่ asset play ไม่ชอบเท่าไร เหมือนมีสมบัติไม่มีกุญแจ
พวกนี้ roe ไม่ดี ชอบหุ้นกำไรโต roe สูงๆ roe บอกประสิทธิภาพการใช้ทุน
ROE ต้องต่อเนื่องยาวนานด้วย บางทีไปดู set.or.th ไม่เห็นภาพ เพราะเป็นอดีต
บางทีหุ้นที่ turn around ต้องเจาะรายไตรมาส ดู annual อย่างเดียวไม่ทัน
แล้วมา convert เป็น roe จะเริ่มเห็นก่อนคนอื่น
ส่วนใหญ่จะชอบซื้อหุ้นที่เห็นกำไรใน 3-5 ปี ได้แจ่มชัด โตไปได้ทุกไตรมาส
roe ควรสูงพอสมควร หรือสูงเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
เป็นกิจการที่กระแสเงินสดดี เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อบริษัทโตถึงจุดหนึ่ง การพึ่งพาธนาคาคจะน้อยลง
เช่น บ.ห้างสรรพสินค้าห้างหนึ่ง จะสร้างห้างหนึ่งต้องใช้เงิน 3-4 พันล้านบาท
กระแสเงินเขา 3-4 พันล้าน จะสร้าง 3 ห้างต้องใช้เงินหมื่นล้าน ต้องกู้เงินมา 6 พันล้าน
แต่ทุกวันนี้ กระแสเงินสด 1.5 หมื่นล้าน สมัยนี้จะขยาย สามห้าง
ใช้กระแสเงินสดจากกิจการได้ไม่ต้องกู้แบงค์ ตอนแรกเขาต้องสร้างหนี้เยอะ
ต่อไปค่าใช้จ่ายกู้จะลดลง กระแสเงินสดเพิ่มก็จะเป็นเงินต่อเงินไปได้อีก
ชอบกิจการแบนี้ แนวโน้มกระแสเงินสดเพิ่มเรื่อยๆ มี roe สูง กำไรโตได้สม่ำเสมอ
สภาวะเศรษฐกิจโลกเป็ฯอย่างไร อะไรต้องระวัง?
พี่ชาย
มีหลายคนเริ่มสนใจเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นห่วง เพราะถ้าไม่บริหารให้ดี จะกังวลไปทุกอย่าง
ปี 1960 ปธน.เคเนดี้ โดนสังหาร รัสเซียเอาอาวุธจ่อคิวบา แต่หุ้นอเมริกาขึ้นมากมาย
อย่างช่วงที่ผ่านมาบอกจีนจะแย่แล้ว กูรูต่างๆถือหุ้นอะไรอยู่ ไม่เห็นมีใครล้างพอร์ต
ช่วงที่ผ่านมาถ้ามีวิกฤติหุ้นจะขึ้น ดอกเบี้ยจะต่ำ fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ย แรงนอกจากนักลงทุน
จะมีแรงจากตลาดเงินด้วย เป็นแรงหลักที่ทำให้หุ้นขึ้น อย่าง บ.ประกัน aia aig 10 ปีก่อน
ถ้าซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทน 5% ผ่านมาหมดอายุแล้ว ตอนนี้ซื้ออีกได้แค่ 1.9%
อย่างตอนนี้พันธบัตรรัฐบาลไทย 1.8% แปลกมาก ถูกกว่าของพันธบัตรอเมริกาอีก
ประเด็นหลักคือ บ.ประกัน กองทุน กบข. หรือบ.ที่ต้องอาศัย bond เป็นรายได้หลัก ต้องทำอย่างไร?
AIA ลงทุนในพันธบัตรอเมริกา ถ้าไปซื้อเวลฟาโก ได้ปันผล 3% ซื้อ bond ได้ 1.9%
ตอนนี้ กบข.กำลังแก้กฏเกณฑ์ให้ลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงได้มากขึ้น
อย่าง AIA ไปสร้างออฟฟิศให้เช่าได้ผลตอบแทนดีกว่าซื้อ bond
เรื่องมหภาคบางทีซับซ้อน
ง่ายสุดสำหรับบุคคลธรรมดา ของดี ราคาถูก ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่คนธรรมดาทำได้
ช่วงที่ผ่านมารู้มากใช่จะได้กำไร ง่ายที่สุดเหมือนที่บัฟเฟตต์บอก คุณโจ บอก
พี่โจ
เสริมเรื่องมหภาค ในตำรา ปีเตอร์ ลินซ์ก็บอก
ถ้าหุ้นอยู่กับเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ก็ต้องรวยทุกคน
ส่วนตัวคิดว่าปัจจัยมันเยอะ วิกฤติแต่ละครั้งมาด้วยเหตุผลต่างกัน
สิ่งที่เราทำได้ บริษัทดีๆ กำไรจะโต ราคาไม่แพง ปลอดภัยแล้ว
พวกสถาบันการเงิน บ.ประกัน ก่อนวิกฤติ 40 มีสัดส่วนถือหุ้น 2-3% ตลาด
ทุกวันนี้ ราว 10% เงิน กบข. ประกันสังคม บลจ. ที่เติบโตขึ้นทุกปี
เขาก็ต้องหาผลตอบแทน ดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินอย่างไรก็ต้องมาที่หุ้น
ขาลงหุ้นลงหมด ขาขึ้นเป็นหุ้นไม่ค่อย VI ? เป็นวัฏจักร ?
A. พี่โจ
น่าสนใจ แต่ผมจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสไตล์เพื่อสร้างผลตอบแทน
ทุกวันนี้หุ้นในพอร์ตก็ราคายังขึ้น ต้นทุนในการเปลี่ยนสไตล์สูงเกินไป กว่าที่จะสร้างขึ้นมา
องค์ความรู้ต้องใช้เวลาสูง คิดว่าไม่ได้เปลี่ยนง่ายขนาดนั้น ถ้าเรามีหุ้นที่ดี ไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องมา
ถ้าเรายืนหยัด เหมือนวิ่งมาราธอน เราอาจะโดนแซง แต่เวลาผ่านไปเรื่อยๆ ค่อยๆแซง
เงยหน้ามาอีกทีเราอาจจะชนะแล้ว ต้องยืนหยัด และหลักการถูกต้อง
การถือเงินสด?
พี่ชาย
ส่วนใหญ่จะมีเงินสำรอง 6 เดือน – 2 ปี น่าจะมี 4-5% พอร์ต
ปีเตอร์ลินซ์ ไม่มีเงินสด ซื้อหุ้นสภาพคล่องดี defensive อาจไม่ต้องถือเงินสดเป็นก้อนจริงๆ
เอาเงินฝากแบงค์ก็ต้องระวัง ถ้ามีวิกฤติ คนที่จ่ายดอกเบี้ยให้แบงค์คือคนทำธุรกิจ
แบงค์เอาเงินนั้นมาจ่ายให้คนฝากเงิน
ถ้าใครผ่านวิกฤติมาเยอะๆ ก็จะรู้ว่าไม่ได้ปลอดภัยซักทีเดียว
บางกิจการในตลาดหุ้นปลอดภัยกว่าแบงค์อีก
แบงค์เราไม่รู้ว่าสินทรัพย์ที่เขาถืออยู่ เห็นตัวเลข
แต่ไม่เห็นหลักประกัน ไม่รู้ว่าสินทรัพย์ที่ถือครองมีคุณภาพดีหรือไม่ดีอย่างไร
จะเห็นว่าในวิกฤติแบงค์มักจะล้ม บางกิจการจะรอด
หุ้นกลุ่มสือสารที่คิดว่าเป็น defensive แต่ลง?
พี่ชาย
ต้องรู้ว่า ธุรกิจนั้นอยู่ในวงจรธุรกิจช่วงไหน ไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยว ใบอนุญาตจะหมด
เป็นช่วง ที่ฤดูเก็บเกี่ยวหมดไปแล้ว ตอนนี้ต้องซื้อปุ๋ย ซื้อเมล็ดข้าว ต้องจ่ายเงินออกไป
ถ้าดูพวก advanc dtac ตอนแรก จะไม่ค่อยกำไร หรืออย่างทางด่วน ก็เป็นสัมปทาน
ต้องเข้าใจการจ่ายเงิน เข้าออก ว่าเยอะ ตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้าย
เป็นช่วงที่ต้องลงทุนกับโครงข่าย ไม่ใช่เก็บเกี่ยวอย่างที่ผ่านมา
ช่วงปลายที่ผ่านมาปันผลถล่มทลายเพราะเงินสดเยอะมาก
ไม่ใช่ดูแค่ตัวเลข roe roa yield ต้องดูวงจรธุรกิจ ก็จะเห็นชัดว่าควรลงทุนหุ้นสือสารหรือไม่
ถือเงินสด ?
พี่โจ
เงินสด 8% short tfex ไว้ 5% โดนไปร้อยกว่าจุด เติมเงินไป 2 รอบแล้ว
เพราะมีบางปัจจัยที่กังวล อย่างที่ short เป็นการ hedging เผื่อหุ้นลง
มันคาดการณ์ไม่ได้ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนเวียดนาม 8% เป็นการกระจายความเสี่ยง
ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ อย่าง uber grab taxi รถยนต์ขับเอง drone ต่างๆ
เป็นเรื่องใกล้ตัวไหม ในฐานะนักลงทุน จะกระทบเราไหม ?
พี่ชาย
คิดว่ามีผล แต่ไม่อยากให้กังวลเกินไป เช่น ร้านหนังสือ ยอดขายตก
se-ed ที่เคยเป็นหุ้นดาวเด่น ปันผล กำไรลดลง แสดงให้เห็นว่า technology มีผล
แต่จะคาดว่าใครจะเป็นผู้ชนะยากมาก สมัยปี 1960 ธุรกิจรถยนต์บูมมาก
ทุกคนคิดว่าหุ้นรถยนต์ต้องมาแน่ กลายเป็นคนผลิตรถมาเต็มไปหมด
ไม่รู้ว่าใครจะชนะ อย่าง 3D printer เป็นที่พูดกันมาก หุ้น 3D printer peak
ตอน 2013 หลังจากนั้นก็ล้มไม่เป็นท่า เพราะคนตามเข้ามาเยอะ
ดังนั้นสิ่งที่ควรทำ อย่างตอนอุตสาหกรรมรถยนต์ บูม ใครชนะไม่รู้ แต่ม้าแพ้แน่
อย่างบัฟเฟตต์ซื้อซอสไฮน์ อีกร้อยปี ก็ยังเป็นซอสแบบนี้
เราลงทุนในกิจการที่คุ้นเคย มองออกว่าจะเป็นอย่างไรอีก 5-10 ปี
Google เพิ่งประกาศขาย boston dynamic เพราะคิดว่าไม่สามารถทำประโยชน์ได้อย่างที่คิด
เราไม่รู้หรอกถ้าไม่ใช่คนในวงการ และบางทีคนในวงการก็คาดการณ์ไม่ได้
หรืออย่างราคาน้ำมันที่ไม่มีใครรู้
คาดเดาเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่ใช่บุคคลธรรรมดาจะทำได้
พี่โจ
พยายามโฟกัสที่บริษัท พยายามคิดติดตามว่าจะมีอะไรมากระทบบริษัทได้
มีเทคโนโลยีอะไรมากระทบ เช่น se-ed , it ชัดเจนว่าได้ผลกระทบ
แต่ส่วนใหญ่มีไม่เยอะ อย่าง tv digital, พลังงานทดแทน สุดท้ายก็เจ๊งเกือบหมด
จะมีอะไรใหม่ๆเสมอ บางทีก็เป็น noise ก็ติดตามบ้าง แต่อย่างพะวงมาก
การลงทุน Infrastructure ?
พี่ชาย
จังหวะนี้ดีสุดแล้ว รัฐบาลสามารถกู้เงินได้ถูกมาก 1.8% เป็นจังหวะที่ดีให้เกิดการลงทุน
กำลังเข็น Thailand future fund พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นติดลบ
คิดว่าส่วนหนึ่งน่าจะสนใจ bond เรา รวมทั้งเงินบาทมีเสถียรภาพ
Export นอกจากไทย ที่อื่นก็ไม่ค่อยโตเหมือนกัน มาเล, อินโด, ฟิลิปปินส์
มียกเว้น เวียดนามโตเกิดจากการย้ายฐานเพราะแรงงานถูก
การลงทุน infrastructure จึงเป็นสิ่งที่เหมาะมาก ไทยเว้นมากนานมาก
คิดว่าเป็นประทีปสุดท้ายถ้าไม่เกิดขึ้น
ส่วนตัวยังเชื่อมั่นในประเทศไทย
ลงทุนในเวียดนาม?
A. พี่โจ อยากกระจายความเสี่ยง แต่คิดว่าคงไม่ได้ไปมากมาก
พี่บอลปิดท้าย
อย่างที่พี่เวบเคยบอก เราอย่ามี bubble ในพอร์ตเราเอง
หาหุ้นราคาต่ำ กำไรโต ปันผลเสมอๆ
2) สัมภาษณ์อ.นิเวศน์
พิธีกร พี่กานต์ พี่หลิน
ตลาดหุ้นไทยปีนี้ที่ขึ้นมา ?
อ.นิเวศน์ ยังบอกอะไรไม่ได้ ระยะสั้นขึ้นกับอะไรหลายอย่าง เช่น เม็ดเงิน
หุ้นไม่ถูก แต่ไม่ได้แพงมาก พอลงทุนได้แต่มีความเสี่ยง
หุ้นจะขึ้นได้เพราะ Fund flow กับ พื้นฐาน
Fund flow มีอิทธิพลในระยะสั้น 80% fundflow 20% พื้นฐาน
ช่วงนี้ fundflow ดีก็ขึ้น ไม่ดีก็ลง ระยะยาวก็ไปตามพื้นฐาน
เม็ดเงินไม่มีที่ไป ดอกเบี้ยก็ต่ำ
ตอนนี้ถือเงินสดเกือบ 40% แล้ว ไม่รู้จะลงยังไง
พอจะมีตัวลง มันก็ไม่แพง ดีกว่าฝากเงิน ไม่ 1-2% ยิ่งเงินเยอะยิ่งดอกเบี้ยต่ำ
หลักการส่วนตัวจะต่างกับหลายคน ลงทุนยาวๆ ทำตัวเหมือนเป็นเสนาธิการจะเข้าสงคราม
จะลงทุนแต่ละครั้งจะคิดหลายๆอย่างแล้ว
เยอรมัน รบเร็ว บุก 3-6 เดือนยึดประเทศ อาศัยความเร็ว กำลังอาวุธอะไรเร็ว ใหม่ๆชนะหมด
ฝ่ายสัมพันธมิตรเวลาเอาคืน ยึดหลักการทางทหารหมด เหมือนซุนวู
ถ้าเข้าสู่สงครามถ้าไม่แน่ใจว่าชนะแน่ๆไม่เข้า ต้องเอาให้ชัวร์มากๆ
แล้วรบต้องชนะ ไม่มีคำว่าแพ้ หลักสงครามมีอยู่แล้ว ว่าต้องทำอย่างไร
อเมริการบกับญี่ปุ่น ทุกสนามต้องมีกำลังมากกว่า 3 เท่า เป็นอย่างต่ำ
พอบุกเข้าไป ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นทหารตายได้แต่ห้ามยอมแพ้
รบกันทุกครั้งทหารญี่ปุ่นเป็นเชลยน้อยมาก แสนคนตายไปเก้าหมื่นกว่า
เวลาอเมริกันรบเอาเยอะไว้ก่อน
ก็คือเป็นการลงทุนไปต้องมั่นใจว่าชนะ
บางทีก็เสียดายว่าเราคิดผิดหรือเปล่า ยังไม่รู้สึกเหมือนตกรถ
การลงทุนก็อย่างนี้เป็นการวัดใจ
เยอรมันบุกเข้าไปรัสเซีย สุดท้ายเยอรมันแพ้หมด
อีกฝ่ายเล่นเกมยืดเยื้อรบไปถอยไป หนีไปเรื่อย ไม่สู้ตาย เก็บชีวิตไว้ก่อน กลับมาอีกทีเยอะๆ
สัมพันธมิตรทั้งหมดกลยุทธแบบเดียวกัน รักษาชีวิตทหาร ไม่ประชัน
รัสเซียบ้าบิ่น กลับมาตาย ลูกเมียจะอดอยากด้วย
ต้องดูพื้นฐานเป็นหลัก โอกาสแย่ลงจะน้อยมาก ยิ่งราคาถูกด้วยยิ่งปลอดภัย
จะใช้หลักเกณฑ์อะไรมองว่า reasonable ? superstock สมัยนี้ pe 20 เท่า ไม่แพง?
อ.นิเวศน์ ต้องดู fundamental บริษัทแยกแยะให้หมด ว่าอันนี้สุดยอด รองลงมา
ถ้าเป็นฟุตบอล อันนี้เป็น เมสซี่ อันนี้รองลงมา จ่ายค่าตัวเท่าไรได้
การลงทุนสุดโต่งไม่ได้ เช่น บอก governance ไม่ดี ตัดทิ้งลงทุนไม่ได้ จะสุดโต่งไม่ได้
ต้องดูว่า governance อะไรที่มันแย่จริงๆ เช่น โดย กลต. ว่ากล่าว อาจจะไม่ใช่แย่สุด อาจจะดีด้วยซ้ำ
อย่างเช่น บริษัท รับเหมา เราก็รู้เวลารับงาน ต้องรู้ว่าเป็นธุรกิจที่ governance แบบไหน
แบบนี้คือใช้ไม่ได้ ตรวจสอบไม่ได้ แต่จับไม่ได้ ไม่ได้แปลว่า governance ดี
นักลงทุนต้องเชื่อตัวเอง
พี่กานต์เสริมว่า คือมองไม่ใช่แยกเป็นขาว หรือ ดำ เป็นสีเทา แล้วเทาก็มีว่าเฉดเข้ม เฉดอ่อน
อ.นิเวศน์ อย่างคะแนน governance ที่ให้ เกณฑ์ก็ไม่ได้บอกว่าดี เช่น ต้องมีกรรมการข้างนอกกี่คน ต่างๆ
เป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพ ต้องมีอีกหลายๆด้าน
อย่าง Berkshire Hathaway ถ้ามาสอบ governance ในไทย ตก คนเดียวตัดสินใจเองหมด ปันผลก็ไม่จ่าย
แต่จริงๆเราต้องเข้าใจ ตัดสินใจเองตามความเป็นจริง
เรื่อง สุดโต่งไม่ใช่แค่เรื่องนี้ อย่างอัดมาร์จิ้นตัวเดียว รวยก็รวย จนก็จนไปเลย
ส่วนตัว เคยมีหุ้นตัวเดียวสูงสุด 50% เพราะราคามันขึ้น แต่หลังจากนั้นก็ลดลงมา
เหมือนตอนบัฟเฟตต์ซื้ออเมริกันเอ็กซ์เพลส แต่ถ้าซื้อตั้งแต่แรก 50% คิดว่าเกินไปอยู่แล้ว
ส่วนใหญ่จะถือหลายตัว 5-6 ตัวใหญ่ๆ
ตอนนี้ตัวหลักๆ ยังมีอยู่เยอะ เป็นครั้งแรกใน 20 ปีที่ถือเงินสดเยอะๆ เป็นช่วง 2 ปีแล้ว
หลักๆยังไม่ซื้อเพิ่ม เวียดนามหลักจากรอบก่อน ก็ยังเฉยๆ ยังรอไปก่อนช่วงนี้อยากมีเงินสด
หุ้นไทยก็ไม่ตกหนักๆนานแล้ว
แต่ถือไปนานๆวันหนึ่งอาจจะตก ซื้อแล้วลงก็ได้
อย่างพวกหุ้นแบงค์ที่บอกว่าซื้อได้ ก็ปันผล 4-5%
มองๆพวกแบงค์ใหญ่แบงค์เล็กก็ดูน่าสนใจ ก็ต้องเอาแบงค์ npl ยังพอสำรองได้ กำไรก็ไม่ตก
ตอนนี้ก็เห็น fund flow เข้ามาตลอด
อะไรที่ดีเกินจริง วันหนึ่งก็ต้องกลับมาบ้าง เราก็ได้ประโยชน์
ถ้าซื้อตอนนั้นก็ไม่ขาดทุน
มนุษย์คือ ยีนส์ มีความโลภ โกรธ หลง ประสาน
คนที่ทำความดี สุดท้ายก็ตายที่ผลประโยชน์
การลงทุนหุ้นเวียดนาม?
อ.นิเวศน์ หลังๆได้ติดต่อ dbs แผนกข้อมูลส่งข้อมูลอะไรมาดี
ก็มี research ดีๆ แต่ยังไม่ได้ take action อะไรที่นี่
ก็ไม่มีคิดค่าธรรมเนียมฝากหุ้น วันแรกไปต่างประเทศว่าซื้อไปแรกจะเสียค่าดูแลหุ้น (custodian)
ทุกวันนี้เสียเงิน 6-7 แสนบาท ไม่ได้ทำอะไร ค่าดูแลหุ้น ไม่ได้ทำอะไรเป็นปี เสียเงินทุกเดือน
หุ้นละ 2 เซ็นต์ คิดเป็นจำนวนหุ้น
ตอนนี้มีหุ้นอยู่ 50-60 ตัว 5% พอร์ต แต่ก็ไม่ได้ติดตามอะไรมาก
เวียดนามก็ประเทศเป็นอย่างที่คิด เติบโตเร็ว คนอื่นติดลบ แต่เวียดนาโตสูงเกือบสุด
ส่งออกก็ดี เทรนด์ยังล้นหลาม คนจะลงทุนเต็มไปหมด ภาพชัดเจน
ปัญหาคือ fundflow ไม่มี นักลงทุนต่างชาติเข้า
แต่นักลงทุน local กำลังสร้างตัว กำลังผ่อนบ้าน เงินออมไม่มี ไม่มีระบบกู้ต่างๆ
ต้องเก็บเงินซื้อบ้าน บางทีแบกกระแสอบเงินไปซื้อ สมัยนี้คงดีขึ้นเยอะ
ประเด็นคือเงินไม่มี ก็ไม่มีใครอยากซื้อหุ้น มีแต่ต่างชาติไปซื้อ
ซึ่งซื้อได้แค่ 10 หุ้น ก็โตเอาๆ หุ้นนิ่งๆซื้อไม่ขึ้น volume ก็ไม่ค่อยมี
หุ้นตัวใหญ่ๆ พันกว่าล้านบาทเอง ขายเครื่องนอน 25% ประเทศ
พอเปรียบเทียบของเรากับเขาแพงมาก ถ้าบ้านเรา market cap 8 พันล้านบาท
เทียบกับเขานี่ใหญ่มาก pvb 0.8 div 10% ไม่มีใครเอา ฝากแบงค์ก็ได้ตั้งหลาย %
วันก่อนมีส่งมาตัวหนึ่ง ที่เมืองจีน เหมือนทางด่วนบ้านเรา market cap 3 หมื่นล้าน
กำไรก็มากกว่าของเรา ทางด่วนมีมากกว่าเท่าตัว div 8-10% แต่หุ้นลงไม่ขึ้น เพราะ fund flow หาย
บางทีเลยทำใจไม่ได้ที่จะซื้อหุ้น หุ้นที่ถูกๆ แบบเดียวกับบ้านเรา มีทีอื่น คล้ายๆว่าต้องรอให้ลงหน่อย
ไม่ได้เครียดอะไร สมัยก่อนซื้อด้วยความสบายใจ มีเงินไม่กี่วัน หายหมด ซื้อด้วยความสบายใจ ไม่อยากเก็บไว้ก่อน รอนู่นนี่
หลังๆ ซื้อแล้วมันรู้สึกว่าเข้าสงครามไม่รู้ว่าจะชนะหรือแพ้ อาจจะโอกาสชนะ 60%
แต่ก็มีปัจจัยที่เข้าไปเสร็จแล้วเจ๊ง ติดอยู่อย่างนั้น ค้างอยู่ ถอยก็ไม่ได้ เหมือนเยอรมันบุกรัสเซีย
ฮิตเลอร์ก็บ้า ต้องชนะ ก่อนเข้าสงครามวิเคราะห์ไม่ครบ ไม่เผื่อว่าถ้าไม่ชนะในกี่วันจะทำอย่างไร
ไม่เผื่อปัจจัยบางอย่างไป จะทำอย่างไร
ถ้าเกิดขึ้นจะทำอย่างไร พอติดแล้วถูกล้อม แล้วตายตรงนั้นจะทำอย่างไร
ขึ้นกับ คาแรคเตอร์ของคุณด้วย เป็นเสนาธิการแบบไหน
ประเทศพวก อังกฤษ พวกอะไร สั่งทหารไปรบไม่ได้ วินัยก็ไม่ค่อยมี สุดท้ายทำไมชนะสงครามได้
แต่พวกประเทศที่กล้ามาก สั่งได้ หมด สุดท้ายตาย
พีกานต์ เปรียบเหมือนนักลงทุนที่ aggressive กล้ามาก ได้เยอะเสียเยอะได้
มุมมองลงทุนเปลี่ยนไปตามระยะเวลาไหม?
อ.นิเวศน์ เปลี่ยนมาเรื่อยๆ เปลี่ยนใหญ่ๆมาหลายปีแล้ว หลังจากนั้นก็ตระหนักมากขึ้น
เหมือนบัฟเฟตต์กว่าจะซ้อแต่ละตัวนานมาก พอซื้อแล้วก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร
แนวโน้มตัวเองก็รู้สึกอย่างนั้น อายุมากขึ้น ใจเย็นมากขึ้น
ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็ทำรายการ ออกกำลัง ส่วนล้างจานที่จริงตอนนี้มีผู้ช่วย
อ่านหนังสือเยอะ พวกประวัติศาสตร์ อย่างสงครามโลกครั้ง ที่ 2 อ่านไม่รู้กี่เที่ยว
เวลามีเล่มออกใหม่ ก็อ่านอีก แต่ละเล่มมีมุมที่ไม่เหมือนกัน
ทุกวันนี้ก็ยังมีคนเขียนประวัติศาสตร์ตลอดเวลา คนออกใหม่ก็จะมีมุมมองต่างๆ ใส่เหตุผล อะไรเล่าเข้าไป
เขียนด้วยมุมมองนักวิชาการนักคิด แต่ละคนมองเหตุการณ์ที่เกิดสำคัญไม่เหมือนกัน
เช่น ดังเคิร์ก เป็นสถานที่ อังกฤษเข้าไปรบช่วยฝรั่งเศส ถูกล้อมตกทะเล
กลายเป็นสิ่งที่อังกฤษทำ คือจะหนีอย่างไร ออกแบบกลยุทธ์ใหญ่เลย
สงครามโลกครั้งที่ 1,2 อ่านแล้วจะเห็น development ว่ารบกันอย่างไร
ครั้งที่ 1 ไปสร้างสนามยิงกันไปมา ครั้งที่ 2 ไปขุดสนามรบ เหมือนไม่ได้แล้ว
โลกเปลี่ยนไปเจ๊ง ไม่ได้ใช้แล้ว ไปยึดติดของเก่าๆไม่ได้แล้ว
อยากให้แนะนำ คนเพิ่งเริ่มลงทุน annual report ดู opp day ทำอย่างไรดี
ก่อนงบจะออกมาดีจะเห็นได้อย่างไร กำไรเพิ่มขึ้น?
อ.นิเวศน์ เป็นเรื่องปกติ มันก็มี insider อยู่แล้ว ขึ้นกับจับได้หรือเปล่า
เราไม่ได้อยู่ในโลกที่ทุกอย่างยุติธรรม อันนั้นเป็นการเล่นระยะสั้น
คนที่ได้ประโยชน์มากๆ คือคนที่มี inside
บางที inside ทำงานมากไปแล้ว บางทีประกาศออกก็ขาย
เหมือนเข้าไปรบยังไม่แน่ว่าจะชนะหรือแพ้
อยู่ที่คุณเลือกก่อนว่าจะเล่นเกมไหน แล้วต้องปฏิบัติตัวตามเกมที่เลือก
ถ้าทำไม่สอดคล้องก็เสียเปรียบ
ความสำเร็จของคน ต้องคิดเรื่องใหญ่ๆให้ชัดก่อน กลยุทธ์ว่าจะไปอย่างไร
เหมือน สงครามโลกครั้งที่ 2 เขากลับไปคิดว่าจะยึดเยอรมมันได้อย่างไร
บางคนบอกเข้าฝรั่งเศสยกพ้นขึ้นตก บางคนบอกเยอรมันแข็งแกร่งมาก
ให้ไปยึดแอฟริกาก่อน เพราะบอกใจเย็นๆ ช้าๆ ไม่ต้องกลัว ไปตรงนั้นยึดง่าย
สงครามโลกเกิดในยุโรปแต่รบกันหนักในแอฟริกา เป็นประเทศที่ไม่เกี่ยวอะไรแต่กลายเป็นสนามรบ
บางทีต้องวางกลยุทธ์ของเราว่าจะไปอย่างไร
ไม่ต้องไปลุ้น ไปแช่ง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดของมันเอง
การประสบความสำเร็จในชีวิต ขึ้นกับ strategy ใหญ่ ไม่กี่ครั้ง
อย่างไปตัดสินใจบ่อยๆ แต่ไม่มีผลต่อชีวิต
ไปพูดที่สิงคโปร์มา ยกคนที่ประสบความสำเร็จมากในการลงทุน 2 คน บัฟเฟตต์ กับ ป้าแอนน์
ตัวที่ยิ่งใหญ่สุดคือ เวลา ในการลงทุน
บัฟเฟตต์ได้ผลตอบแทนปีละ 20% แอนน์ได้ 18%
บัฟเฟตต์ลงทุน 60 ปี แอนน์ลงทุน 50 ปี
บัฟเฟตต์ จาก ล้านเป็นหกหมื่นล้าน แอนน์ ห้าพัน เป็นยี่สิบสองล้านเหรียญ
ต้องรักษาตัวเองให้ลงทุนได้นานๆ การขาดทุนเยอะๆ เสียหายหนักมาก
ถ้าลงทุนผลตอบแทนสูงๆมาตลอด แต่ถ้าขาดทุนหนักๆ ปีเดียว
ก็ผลตอบแทนแพ้คนที่ผลตอบแทนสม่ำเสมอได้ ถ้าดูแบบโซรอสบางทีก็ขาดทุนหนัก
การลงทุนแปลก เป็นสิ่งน้อยอย่างที่ต้องฝืนยีนส์ ยีนส์บอกต้องได้เยอะ ได้เร็ว ต้อง action
อย่าง ผบห. ไม่ active ไม่ประสบความสำเร็จ แต่นักลงทุน active มาก อาจไม่สำเร็จ
ย้อนกลับไปช่วงก่อนหน้านี้ ลงทุนอย่างไร?
อ.นิเวศน์ น้อยกว่าพวกเราเยอะ ตัดหุ้นออกไป 80% เพราะเป็นสิ่งที่เราไม่เอาอยู่แล้ว
อะไรที่ไม่เข้าเกณฑ์ตัดอยู่แล้ว หุ้นจำนวนมากที่พูดกัน ipo 80-90% ไม่ดูหรอก
ไม่ค่อยเชื่อว่าเป็นจริง อยู่นอกตลาด มี record น้อยเกินไป
อุตสาหกรรมบางอย่าง ที่หาผู้ชนะไม่ได้ ขึ้นลงผันผวนก็ตัดไป commodities ก็ตัดเกือบหมด
ตัดไปตัดมาก็เหลือไม่เยอะ
ปรัชญา คือ เชื่อมั่น 100% ว่า เราไม่สามารถรวยจากบริษัทห่วยๆ ไม่ใช่ทางเรา
บางคนอาจจะเก่ง เป็นทางแต่ละคน ขอเป็นบริษัทที่ดี
เรารู้ว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ราคาผันผวน แต่ไม่ใช่ทางของเรา
ดูภาพใหญ่ โครงสร้างการแข่งขันธุรกิจ มีความได้เปรียบ
ถ้าเป็นแบบนี้ในระยะยาว เราว่าไม่ไหว ก็ไม่เอา หาเพชรในตม
ไม่มีความจำเป็นว่าถ้าคนเชียร์ตัวนั้นตัวนี้ดี ก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก
เวลาคนบอกกำไรดี ก็อย่าไปเชื่อมาก ขาดทุนก็ไม่ได้พูด
อ่านเรื่องยีนส์ ทำไมคนนั้นพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ทุกครั้งที่เขาทำแบบนี้เพราะอะไร
มนุษย์จะทำอะไรทุกครั้งต้อง evaluate มนุษย์ทุกคนอยากให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนดี
เราจะเอาตัวรอดได้ดี คนมีแนวโน้มอยากให้คนอื่นเห็นว่าฉันมีดี จะต้องทำอะไรให้คนอื่นเห็นว่าดี
อย่างหนังสือคุณวิกรม ผมจะเป็นคนดี
สมัยนี้ social มาแรง ถ้ามีโอกาส เราจะสร้างให้เราเห็นว่าเราดีได้
มีอีกวิธีคือ ถ้ายังทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องไปบอกว่าคนอื่นแย่ เพื่อบอกว่าฉันดี ไม่งั้นจะบอกได้ว่าคนอื่นแย่หรอ
โดยธรรมชาติ อยากให้เห็นว่าเราเป็นคนดี คนเก่ง ใจดี เป็นกลยุทธ์ในการเอาตัวรอดของคน
สัตว์ไม่มีความจำเป็น แม้จะมียีนส์เหมือนกัน แต่มันไม่ต้องพึ่งคนอื่น ส่วนใหญ่ล่าเอง หาเหยือเองอยู่รอดด้วยตัวเอง
มนุษย์อยู่รอดด้วยการร่วมมือกัน ต้องไปช่วยกัน ต้องให้คนอื่นรู้สึกว่าเป็นคนดี ให้ยอมรับ ให้เป็นพวก
บางคนขาดทุนหน้ามืด บอกปีนี้กำไรไม่ดี ได้ 20% นับที่กำไร ขาดทุนไม่นับ จะได้เห็นว่าเราเก่ง
ต้องคิดว่าคนพูดคิดอย่างไร มีแรง bias ไหม มีต้นทุนไหม ลองวิเคราะห์ดู หลังๆก็ปลง เรารู้เข้าใจแล้วก็ปลง
พอร์ตตอนนี้ก็พอๆตลาด ที่จริงชนะนิดหน่อย
คำถามหุ้นรายตัว
Robins
ส่วนตัวก็สนใจมานาน แต่ที่ลังเลเพราะเศรษฐกิจบ้านเรายังไม่ดี ถ้ามันแย่ๆ พวกนี้ก็กระทบหนักได้
ถ้าเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนเป็นโตช้าไปเลย ธุรกิจก็จะไม่ค่อยดี
เพราะมันไปได้ ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ต้องโต โดยเฉพาะต่างจังหวัด
ตัวปัจจัยบริษัทเอง ใช้ได้ เป็นเจ้าเก่า อยู่กับเครือเซ็นทรัล มีความสามารถ มี good will พอสมควร
แต่อิงกับเศรษฐกิจเยอะ ที่กำไรดีขึ้นมาเพราะเขาเพิ่มพื้นที่เช่าแบบเดียวกับ cpn ข้อดีก็มี
คือรายได้แน่นอนขึ้น แต่คู่แข่งก็เยอะขึ้น ในระยะยาว ถ้าไม่โดตเร็วอย่างอดีต ก็ไม่ได้ดีเลิศมาก
และสิ่งที่ได้ ไม่ 100% เพราะเขาเพิ่งเริ่มธุรกิจนี้
คนที่มาเช่ารอบแรก พวก mk พวกห้างเสื้อผ้าต่างๆเข้าไปเปิดตาม พอหมดสัญญา
มันก็ไม่ได้เวิร์คมาก ขายไม่ได้ ก็อาจจะไม่ดีอย่างที่คิด
ถ้าเทียบกับ cpn เขาไปเน้นค่าเช่ามากกว่า มีธุรกิจในกรุงเทพ หัวเมืองอะไรที่ยึดไว้เยอะแล้ว
แต่ robnis เอง ตัวห้าง ยังเป็นตัวหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงที่มี e commerce อะไรต่างๆ
รวมทั้งรูปแบบการขายสินค้าอื่นๆ ที่เราไม่จำเป็นต้องไป เลยต้องต่อราคาเยอะหน่อย
ปีก่อน หุ้นที่ตกมารู้สึกว่าตกตัวเล็กเยอๆ แต่ภาพใหญ่ๆ 14% ยังตกไม่เยอะ
ข้อเสียพวก long term จะซึงยาวก็จะระวัง
ถ้ามองย้อนหลังไปไกลๆ สถานการณ์ตอนนี้หนักเอาการณ์ มีความเสี่ยงที่จะเปลี่ยน fundamental
เศรษฐกิจดาวน์แบบถาวรได้ ทะเลาะตบตี มีมาตลอด แต่ประชากรศาสตร์ไปได้
ตอนนี้ราคาหุ้นดีกว่าที่คิดเยอะ โดยเฉพาะเทียบกับต่างประเทศ รู้สึกฝืนความรู้สึก
เพราะคนไทยมีเงินมากๆ ไม่มีทางเลือก มองประเทศไทย ไม่ได้เลวร้าย
ยังมีอนาคตอีกเยอะ เราอาจจะแค่มองอีกแบบ
Model ธุรกิจ พวก low cost ผลิตเพื่อส่งออก?
ไม่ work ที่เราเจริญขึ้นมาได้เพราะ low cost manufacturing ซึ่ง concept ตรงนี้เริ่มหายไป
ต้องมี value added เพิ่มขึ้น แบบเกาหลี ไต้หวัน ตอนหลังปรับเป็น hi tech เป็น consumer
อย่างไต้หวัน ไม่มีแบรนด์แต่ผลิต hitech hi value
อย่างเมืองไทยที่มีคือการท่องเที่ยว ต้องดูว่าจะสามารถดึงเศรษฐกิจโดยรวมขึ้นได้ไหม
ของเราเป็นแบบ low price low cost tourism อาศัยจีน อาศัยของถูก
Aot การท่องเที่ยว?
Aot มันเป็น perfect stock เป็นสิ่งที่เมืองไทย strong mega trend hot ที่สุด
อยู่ๆคนจีนก็แห่มาเที่ยวไทยเพิ่ม 30% เป็นเจ้าเดียวที่ monopoly และเป็น peak capacity คือ perfect สุดๆ
ธุรกิจที่ high operating leverage คือลงทุนไปแล้ว กำลังผลิตเหลือเฟือเลย สร้างเสร็จใหม่ๆขาดทุน
จนค่อยๆกำไรๆๆ แล้ว พีคตอน full capacity รายได้ลงมาเป็นกำไรหมด
ตอนนี้เป็นช่วงที่ได้ทุกอย่าง peak ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทุกอย่างดีไปหมด เราก็เลยขายไป
ขายหมูไปแต่ก็คิดว่าวันหนึ่งมันก็คงมีจุดสมดุล ถือมา 7-8 ปีได้เกือบๆสิบเด้ง
Bigc
ขายไปแล้ว ถ้าดู valuation ก็ไม่แพงมาก นี่ก็ถือมาไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ต้นทุนก็สิบกว่าบาท พอขายหุ้นแบบนี้ไปแล้ว มันไม่สามารถหาอะไรที่เทียบเท่าพวกนี้ได้ (ก็เลยเหลือเงินสดเยอะ)
Ict จะหาเงินมาจ่ายใบอนุญาตไหม?
ไม่เคยเจออะไรใหญ่โตเป็นหลายหมื่นล้านแบบนี้ ไม่น่าจะเป็นได้ ต้องเตรียมการณ์ ต้องอะไรชัดเจนกว่านี้
สมมติถึงแม้ไม่มีรายใหม่ แต่ภาพก็เปลี่ยนไปแล้ว การแข่งขันก็ไม่เหมือนเดิม
มีโอกาสที่จะมี thread เข้ามาตลอดเวลา การประมูลใบอนุญาตใหม่ก็จะเกิดขึ้นต่อ
ทุกอย่างลงทุนไปแล้วต้องเพิ่ม demand เพิ่ม capacity เลี่ยงยาก
ธุรกิจมัน mature มีกำไรดี ใช้ได้ มีปันผลดี
แล้วก็อาจจะมีคนจับมือกับพวก CAT , TOT มาทำ ก็มีคนใหม่เข้ามาได้อีก
เหมือนต่างประเทศที่ไม่ได้กำไรดีขนาดนั้น
3) สัมภาษณ์สมาชิกที่แลกเปลี่ยนข้อมูลบ่อยๆ
พิธีกร หมอเค และพี่โจ
หมอเค เชิญสมาชิก
บอร์ด thaivi 2 ท่านขึ้นมา คุณkraikria และ คุณtanapol
เป็นแบบอย่างสมาชิกที่ดี ถ้าเราช่วยกัน provide ข้อมูลดี ก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน
พี่โจกล่าวถึงเวบ thaivi
เวบ thaivi ก็ตั้งมาเป็น 10 ปี หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าซบเซาลง ซึ่งก็มีหลายสาเหตุ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยน ที่ไปตั้งกลุ่มในไลน์ ในเฟซ ที่ไม่มีกฏเกณฑ์ แต่ในเวบมีกฏระเบียบเยอะ
ถ้าไม่มีกฏอยู่ไม่ได้ ทำให้หลายคนรู้สึกอิสรภาพน้อยลง ทำให้ไม่มีแรงจูงใจ
คนเก่าๆ ที่เป็นเซียนแล้วก็ไม่ค่อยอยากโพสต์ ก็เป็นไปได้หลายสาเหตุ
แต่หลายๆคนก็มาโพสต์สม่ำเสมอ
อย่าง คุณไกล่เกลี่ย ที่เคยมาวิเคราะห์ธนาคารเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องแบงค์
หรือ หมออิ๋วก็รู้ลึกรู้จริงทุกเรื่อง หลายบริษัทรู้สึกว่าเขาศึกษามาจริง เป็นตัวอย่างที่ดี
เข้าในเวบเรามิใช่มาตักตวงจากคนอื่น เราอยากได้ ต้องให้ก่อน
หาข้อมูลจาก ir คิดมาแลกเปลี่ยน
ในสังคมที่หลากหลายก็มีคนที่แปลกแยกเหมือนกัน ใน 3 ปีที่ผ่านมาแบนไป 2 คน ถือว่าน้อยมากๆ
ถ้าเราโพสต์ตามกติกาเวบบอร์ด ไม่มีปัญหา
ใครบอกว่าโพสต์เรื่อง ลบข้อเสียอย่างถูกต้อง ผมคิดว่าไม่จริง
แต่คนที่โดนติดลบน่าจะเพราะโพสต์ไร้มารยาท ถ้าเราทักท้วงข้อเสียด้วยความจริงใจ น่าจะไม่มีปัญหา
คนที่เพื่อนโพสต์ดีๆ แล้วไปกดลบก็เป็นรสนิยมส่วนตัว ก็ปล่อยๆไป
หมอเค สัมภาษณ์สมาชิก
คุณkraikria – พี่วา เป็นเซลล์ขายซอฟต์แวร์ เข้าเวบมาตั้งแต่ปี 2005
ไม่ได้เข้าเวบทุกวัน ไม่เกินครึ่งชั่วโมง ทุกวันนี้ไม่ได้หาข้อมูลจาก thaivi
ส่วนใหญ่ก็ตามตลาดหลักทรัพย์ ตามบทวิเคราะห์
พอเราโพสต์ไปก็จะมีคนเข้ามาคุยกับเราบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนทำให้ประเทืองปัญญามากขึ้น
คุณ Tanapol - หมออิ๋ว ตอนนี้เป็นนักลงทุน full time เข้าเวบตั้งแต่ปี 47-48
โพสต์ก็เป็นการรวบรวมความคิด ว่าเราจะโพสต์ยังไงให้เป็นชั้นเป็นตอน เป็นเหตุเป็นผล
จะชอบโพสต์หุ้นที่ราคาต่ำๆ ไม่ค่อยมีคนสนใจ ข้อมูลที่หาส่วนใหญ่ก็ดูจากงบที่ออกมา
กำไรตัวไหนโตเยอะ ถ้าจะยั่งยืนก็เจาะต่อ ก็หาข้อมูลจาก opp day ir ถามพี่เก่งๆ
ส่วนข้อมูลต่างๆที่หาก็หาจาก google ได้
เชียร์หุ้นใน thaivi เป็นเรื่องผิดไหม?
พี่โจ การเชียร์หุ้นใน thaivi ไม่ใช่เรื่องผิด คนที่โพสต์ก็ย่อมมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ตราบใดที่เราโพสต์แบบสุจริตใจ ใช้ข้อมูลที่เป็น fact ไม่เกินเลย ยอมรับได้ ไม่มีใครว่า
ถ้ามันเกินเลยไป คนอื่นก็รับรู้ เอาให้พอดีๆ อยู่ในกรอบของเวบ ไม่มีปัญหา
ส่วนเรื่องโพสต์กราฟ เราตั้งสมาคมมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ก็ขอให้เคารพเจ้าบ้าน ส่วนตัวจะใช้หลายทางก็แล้วแต่
ใช้เวบให้เป็นประโยชน์?
คุณวา ควรโฟกัสเวบบอร์ดแต่ละตัว ความรู้ที่ได้ส่วนใหญ่จะได้จากบอร์ดที่ไม่ใช่ 100 คนร้อยหุ้น
หรือ vdo พวก money talk ดู vdo ก็ได้ความรู้เยอะกว่า ร้อยคนร้อยหุ้นอีก
พี่โจ้ คลังคุณค่ามีหลายกะทู้ มีประโยชน์ หลายๆอันที่เป็นความรู้หลักการ ไม่ใช่ขลุกแต่ลอกหุ้น
หมออิ๋ว ชอบอ่านพวกบทความเก่าๆ มีเซียนหลายท่านที่เขียนไว้อย่างดี
ทำให้รู้หลักการ่ลงทุนเน้นคุณค่าอย่างแท้จริง หลักมองธุรกิจให้ออก อนาคตในปีสองปีหรือห้าปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
เหมือนที่อ.นิเวศน์บอก ถ้ามองธุรกิจออกก็จะมองกำไรออก หลักการจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
อยากสำเร็จต้องอ่านให้หนักกว่าคนอื่น เหมือนกฏ 10,000 ชม.ของ outlier
4) สัมภาษณ์พี่โยโย่ สันติ สิงหวังชา
พิธีกร พี่บอล พี่มี่
เริ่มต้นลงทุน?
เปิดพอร์ตปี 45 เริ่มลงทุนแนว VI
เป้าหมายการลงทุนตั้งครั้งแรก ตอนอ่านหนังสือ rich dad poor dad เป็นคนอ่านอะไรแล้วก็อินกับมัน
อยากมีชีวิตที่ไม่เหนื่อย ต้องทำงานทุกวัน อยากไม่เหนื่อยมีเงินเลี้ยงตัวเองได้
อ่าน how to เยอะๆ คนเราอยากประสบความสำเร็จ
ต้องเขียนเป้าหมาย ให้วัดค่าได้ จับต้องได้ ยังไม่ได้ลงทุนจริงจัง
ณ วันนั้นยังไม่ได้ตั้งผลตอบแทนเป็นเรื่องเป็นราว
ซึ่งตอนนั้นอายุ 20-21 ก็เลยคิดจากเงินเดือนเท่านี้ ผลตอบแทนทั่วไป
อายุ 30 1 ล้านบาทต้องได้ หลังจากนั้นเงินก็ทำงานต่อไป 10 ปีก็ต้องโตไป 10 เท่า
เปิดพอร์ตวันแรกมีเงิน 2 แสนบาท ลงเงินไปซักครึ่งปึ คุณแม่ให้เงินมา 1.5 ล้านบาท
มีเติมเงินบ้างเล็กๆหน่อยๆ น่าจะเก็บเงินได้เดือนละหมื่นกว่าบาทซักปี คิดว่าเติมอีกแสนนึง
ตอนที่ออกมาลงทุนเต็มตัว มันง่ายมาก ตลาดตอน 350 ตลาดขึ้นไป 700 ลงทุนโง่ๆก็กำไร 100-200%
ตอนนั้นก็มั่นใจมากว่าที่ตั้งเป้าพันล้านไว้ หมูๆแน่นอน ซึ่งเป็นความมั่นใจแบบผิดๆ
พอย้อนกลับไปดูหุ้นตัวที่เคยคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันผิดทั้งนั้นเลย ทั้งๆที่หุ้นขึ้น
มันมี 2 อย่าง คือ มันถูกจริงหรือเปล่า กับ มันถูกต้องหรือเปล่า
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมจะเป็นแบบแรกคือ มองเห็นว่าหุ้นตัวนี้มันถูก โอกาสขาดทุนมันน้อย มีโอกาสโต
ผลตอบแทน ช่วงแรกๆ ก็โตเฉลี่ยตีกว่าตลาด เช่น ตลาดโต 100 เราโต 200 มีบางปีที่แพ้ตลาดบ้าง
ปีที่แพ้มากๆ คือปีที่ใช้ มาร์จิ้น และเป็นปีที่เกิด subprime
วิถี VI บางครั้งก็คิดว่ามันเป็น DNA
อย่างช่วงที่ทำงานได้เงินเดือน 2 หมื่น ใช้ 5 พัน เก็บได้ 1.5 หมื่น
ไม่ได้เที่ยวมาก ไม่ได้สังสรรค์บ่อย นั่งรถเมล์ไปทำงาน เป็นโดยนิสัย
ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นการกัดก้อนเกลือกิน ใช้จ่ายเยอะไม่ได้รู้สึกมีความสุขเพิ่ม
เวลานัดเพื่อน เขาก็จะชอบไปนัดกินแพงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราชอบมาก
พี่มี่ เสริมว่า สำหรับใครเริ่มต้น ถ้าใช้จ่ายเยอะ จะทำให้ความฝันยิ่งห่างไกลขึ้น
เคยได้ยินเรื่องอิสรภาพทางการเงิน จากพวก mlm อะไรมาเยอะ แต่ก็ไม่เหมือนคุณโยโย่ ที่พูดมีประกายตา
ใช้ชีวิตแบบมีการวางแผน ตั้งแต่อายุ 30 ก็พอร์ตทะลุพันล้าน
หัวใจหลัก VI ไม่ใช่ผลตอบแทน อยู่ที่การทบต้น ทบมาเรื่อยๆ
พี่บอล เสริม การ VI ไม่ได้แปลว่าไม่ใช้เงิน แต่ใช้ในจังหวะที่เหมาะสม ใช้กับสิ่งที่สำคัญ
เรื่องการใช้ margin ? การถือหุ้น ?
พี่โยโย่ ช่วงลงทุน 3-4 ปี แรกไม่เคยใช้ มาร์จิ้นเลย
ช่วงที่ถือน้อยๆตัว คือ ถือ 1 ตัว แต่ไม่ได้ใช้ มาร์จิ้น
ไม่เคยใช้ มาร์จิ้น เคยใช้เยอะๆ คือ 40-50% ของทุนที่เรามี
พอใช้ไป 2 ปีก็เจอ subprime ตลาดลงไป 45% พอร์ต่ลงไป 60% รู้สึกเปลี่ยนชีวิต
ตอนนั้นเคยคิดว่าถ้ามีเงิน 20 ล้าน ไปหาพวก fix income ได้ return 5% ต่อปี
ก็มีเงินใช้ปีละ ล้าน น่าจะพอได้แล้ว ถ้ามีเกิน 20 ล้าน จะมาเล่นหุ้นเต็มตัว
ซึ่งตอนนั้นเกินไปแล้ว พอมาเจอ มาร์จิ้นรอบนั้นจาก 65 ล้าน ลงไปต่ำสุดเหลือเงิน 18 ล้าน
ซึ่งหุ้นนั้นก็ไม่ได้สภาพคล่องดีมาก แล้วมีคนที่เล่นมาร์จิ้นหนักในหุ้นเดียวกันก็โดน force sell
ซึ่งกดดันมาก ที่จริงโชคดีมากที่ตอนนั้นไม่ตาย เหมือนขับรถเร็ว 200 km/hr
แล้วรอดตายมาได้ คนก็คิดว่าขับรถเก่ง หลังจากนั้นมีใช้บ้างนิดหน่อยตอน subprime หุ้น pe 1-2 เท่าก็หาได้
จึงใช้ margin อีกรอบราว 20% ของเงินที่มี
ถ้าจะใช้มาร์จิ้น คิดว่าต้องใช้ในช่วงที่หุ้นถูกมาก
อย่างเช่น ตอนนี้เห็นหุ้น pe 10 เท่า บอกว่าถูก อันนี้ไม่ใช่เวลาใช้ margin ถ้าเห็นหุ้น pe 1-2 เท่า
มันถูกมากอยากใช้ก็พอว่า คิดว่าใช้ไม่เกิน 20% ก็พอแล้ว
เห็นประสบการณ์จากเพื่อนหลายๆคนที่คิดว่ารอด มีเกณฑ์ สภาพคล่อง อัตราส่วนการลดหุ้นลง
แต่สุดท้ายเวลาหุ้นลงมันก็ไม่มีสภาพคล่อง
หุ้นหมัดน็อค? กำไรโต pe เพิ่มได้? หาได้อย่างไร
พี่โยโย่ เป็น criteria ที่ใช้เมื่อหลายปีก่อน
1. โตได้ 20% อย่างน้อยใน 3 ปีข้างหน้า
2. ต้องถูก อย่างเมื่อก่อน หุ้นโต 30% ซื้อหุ้น pe 4 เท่า หวังไปขาย 8 เท่า
สมัยนี้หุ้นโต 20% pe 15 เท่ายังบอกว่าโต
หรือ หุ้น superstock สมัยนี้ก็โตลดลง ได้ 10% กว่าๆ pe 30-40 เท่า
ความปลอดภัยในการลงทุนมันเปลี่ยนไปอย่างเทียบไม่ได้
สมัยนี้หวัง pe 4-5 เท่ายาก ถ้าเจอ pe 8 เท่า ก็ถูกมากแล้ว
คำที่ชอบมาก ใช้ประจำ คือ ซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดแย่
การซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม มันมีโอกาสได้หุ้นถูกยาก
แต่ถ้ามองในอุตสาหกรรที่คนยี้ ซึ่งในหุ้นที่ถูกก็จะมีโอกาสเจอหุ้นที่ดีอยู่ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ผู้บริหารก็ต้องดี เลือกซื่อสัตย์ ขยัน ไม่ขี้โม้ เข้าใจอุตสาหกรรมดี ถามไปตอบได้ ไม่ปิดบัง
ผู้บริหารที่ดี ส่วนใหญ่จะรู้ว่ามีอะไรเป็นความเสี่ยง และเตรียมรับมือไว้
สมมติไปเจอหุ้นส่งออก ถามว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นอย่างไร
แล้วตอบว่า แบงค์ชาติไม่ปล่อยให้แข็งขนาดนั้นหรอก ก็จะไม่ชอบผู้บริหารแบบนี้
เมื่อก่อนเคยตั้งเป็นกฏว่าจะต้องได้เจอผู้บริหารก่อน
แต่หลังๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้เจอผู้บริหารเท่าไร
เขามองว่า ถ้าหุ้นมันดี แล้วมันถูกจริงๆ เด่นชัดจนไม่ต้องไปคุยกับผู้บริหาร
อย่างเช่น บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้นปิโตรไชน่า คนก็ไปถามว่าทำไมซื้อหุ้นจีน
เขาตอบอ่าน annual report แล้วก็ประเมินมูลค่าแบบ conservative
ซึ่งมูลค่าต่ำกว่าที่เป็นหลายเท่า ปลอดภัยมาก ก็ซื้อเลย ไม่ได้เจอผู้บริหาร
งบการเงิน เป็นสิ่งแรกที่ดู ถ้ามีคนแนะนำมา จะดูอันนี้ก่อนเลย ย้อนหลังไปหลายปี
สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไร ผันผวนไหม ถ้าใช้ได้ค่อยมาเจาะต่อ ว่าธุรกิจทำอะไร
ซึ่งถ้างบการเงินไม่ผ่านก็ปิดตั้งแต่ต้น
ถ้า story ดี แต่งบไม่น่าสนใจ?
ต้องคุยกับผู้บริหาร จะโตเพราะอะไร งบ make sense อนาคตอาจจะเปลี่ยนไปได้
มีอะไรดีขึ้น แต่คงไม่ได้ลงทุนหนักๆ
ถ้ายังเป็นไปในแนวทางที่ผู้บริหารพูดก็ค่อยๆทยอยซื้อไปเรื่อย
หุ้นในอดีตที่สำเร็จเป็นหมัดน็อค?
ตัวหุ้น spali ตอนนั้นใช้ margin เล่นหุ้น pe 1 เท่ากว่า
เจอ ps กับ lpn ก่อน pe 2 เท่า มี backlog รออยู่แล้ว ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไร
ราคาขายปัจจุบันก็แพงกว่าราคาที่ซื้อครั้งแรก สภาวะตลาดหุ้นดูแย่ แต่เศรษฐกิจไม่ได้แย่
ดูดีด้วยซ้ำ ตอนนั้นก็เลยซื้อ พอผ่านมาจากตอนนั้น มันก็โต ขึ้นมาเฉลี่ยปีละ 20%
สมมติเราถือจาก pe 2 เท่ามา 6 เท่าก็ได้ 3 เด้งแล้ว
แล้วถ้ารวมผลตอบแทนที่กำไรโต 20% อีก ก็เป็น 4 เด้งแล้ว
ตอนนั้นซื้อครั้งแรก 2 บาทกว่า eps ที่คิดไว้ 1 บาทกว่า ปันผล 20% ทางแพ้แทบไม่มี
และยังเป็น eps ที่มีแนวโน้มจะโต
ตอนที่ขายนั่นคือไปเจอตัวอื่น ขายตอน 12 บาท เจอหุ้นที่ pe ถูก โตมากกว่า
อย่างตอนนี้อสังหาฯ อิงเศรษฐกิจเยอะ หนี้ครัวเรือนเยอะ ภาพทุกอย่างไม่ดี pe กลุ่มก็เลยต่ำ
แต่เราไม่จำเป็นต้องเล่นหุ้นทั้งกลุ่ม ถ้าเลือกบริษัทดีๆ ที่โดดเด่นก็ได้
พี่มี่ เสริม ถ้าดู lpn, ps , spali ผลตอบแทนที่ผ่านมาก็ไม่ได้แพ้ cpall นะ
ทุกอุตสาหกรรมถ้าเราเห็นความสามารถแข่งขัน เห็นได้ว่าเขาจะโตได้อย่างไร เหมือนปีเตอร์ลินซ์บอก
ตัวอย่างเกือบตาย ?
หุ้น ptl ตอนซื้อธุรกิจโต มีแนวโต้โตเรื่อยๆ ซื้อราคา 6 บาท pe ราวๆ 5 เท่า
สูตรตอนนั้นง่ายๆ ซื้อหุ้น pe 4-5 เท่าไปขาย pe 8 เท่า ตอนนั้นก็หวังไปขาย 10-12 บาท
ซึ่งเจอ subprime และใช้ margin สภาพคล่องต่ำ ลงไป 2-3 บาท
สุดท้ายกำไรก็ออกมาอย่างที่คิด ไม่มีอะไรผิด ซึ่งผิดที่ใช้ margin กับหุ้นสภาพคล่องต่ำ
ถ้าตอนนั้นไม่ใช้ margin ก็ถือเฉยๆ ได้ปันผล 10% ไม่มีอะไรต้องเดือดร้อน
ถ้าเราทำทุกอย่างถูก เลือกหุ้นดี ไม่แพง โตต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาอะไร
ถ้าชีวิตดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ก็อย่าหาปัญหาใส่ตัว
ยกตัวอย่าง มีหุ้นมั่นคงได้โต 10% ต้นๆ Pe 30 เท่า แข็งแกร่ง ผ่านไป 5 ปี
กำไรจะขึ้นมาเท่าตัว แล้วหลังจาก 5 ปีนั้นจะโตได้แบบนั้นไหม ?
อาจจะโตได้ไม่เกิน 5% หรือตีว่าโตตามเศรษฐกิจ ซึ่งไปดูที่อเมริกา
หุ้นที่เคยเป็น superstock ทั้งหลายแบบนั้น trade อยู่ที่ 15 เท่า พวก Walmart อะไรต่างๆ
ซึ่งถ้ามองภาพนี้ ผ่านมา 5 ปี กำไรโตเท่านึง แต่ pe ลดลงครึ่งนึง มันคุ้มไหม? ได้ปันผล upside 2% ต่อปี
ถ้าเราทำได้ ผลตอบแทนอาจจะได้ 5-6% แต่ถ้าเราพลาด ติดลบ 10 กว่า % ต่อปี คุ้มไหม?
เรามอง risk กับ reward ถ้า reward มันดีมาก เรายอมเสี่ยง
คนเราชอบเอาอดีตมาลากเส้นต่อไปอนาคต เช่น อดีตโต 50% เราก็คิดว่าอนาคตจะโต 50%
ที่จริงแล้ว มันยากมากที่จะโตได้ระดับนั้นไปเรื่อยๆ ถ้าโตระดับนั้นได้ต่อเนื่อง ก็ใหญ่ระดับโลกแล้ว
จากประสบการณ์ เลือกหุ้นถูกไม่ค่อยพลาด มันก็ถูกแบบนั้น แต่เวลามองหุ้นโต
เช่น snc ผบห.เก่ง ทุกอย่างตอบได้เคลียร์หมด โตอดีตปีละ 30% ก็คิดว่าจะโตได้ 30%
ไปเรื่อยๆ หลังจากวันที่ขายหุ้นไปจนถึงวันนี้ โตเพียง 5-10% ซึ่งห่างจากที่คิดไปเยอะ
มีหุ้นแบบนี้เยอะ มี 10 ตัว ผมมองโตถูกต้องจริงๆแค่ 2 ตัว
เจอคนที่เก่งมาก มองธุรกิจขาด เขาซื้อหุ้น pe 30 เท่า ซื้อ 10 ตัว อาจจะถูกซัก 6 ตัว
แต่เราทำแบบนั้นไม่ได้ เรามองอนาคตไม่ขาด ซึ่งคนที่จะมองอนาคตได้ขาด
อย่างผมมอง ก็มีเช่น ดร.นิเวศน์ คุณประชา หมอพงษ์ศักดิ์ พี่เวบ
เราจะเอาอะไรไปเทียบกับเขา ถ้าโอกาสถูกน้อยก็ผิดก็เล่นเกมที่เราถนัดดีกว่า
พี่มี่เสริม ขนาด คุณโยโย่ เป็นคนอ่านหนังสือ เยอะมาก ยังพูดแบบนี้ แสดงว่าเราอย่าไปคาดการณ์อนาคตมาก
การลงทุนต่างประเทศ?
คิดถึงทุกครั้งที่หาหุ้นเล่นในประเทศไทยไม่ได้ อย่างช่วงนี้ ก็ไม่ค่อยมีหุ้นถูกๆ แบบที่ชอบ
อย่างเมื่อ 6-7 ปีก่อน ตลาดหุ้น 800 กว่าจุด รู้สึกหาหุ้นเล่นไม่ได้ [หา pe 4 เท่าไปขาย 8 เท่าแบบเดิมไม่ได้]
ตอนนั้นมองไปต่างประเทศ มองอเมริกา ซึ่งตลาดพัฒนาแล้ว ดูไปทีละตัว
ก็น่าสนใจไปหมด ไม่ได้หลับไม่ได้นอน
สนุกมาก จนไปเจอหุ้นทำธุรกิจจีนที่ list ในตลาดอเมริกา
ชื่อหุ้น ไชน่า ไบโอติกส์ ทำจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นหุ้นตีแตก โต 30% ต่อปี
ราคาราว 15 เหรียญ มี cash ในบริษัท 4 เหรียญ เหมือนซื้อ net 11 เหรียญ pe 5 เท่า
ก็ศึกษาไปดูธุรกิจเขามีแนวโน้มโตแค่ไหน ซึ่งตลาดโปรไบโอติกส์ในจีนยังเล็กมาก เทียบกับอเมริกา
ซึ่งจีนโตขึ้น รายได้เยอะขึ้น ลูกมากขึ้น มีจุดแข็ง จีนยังผลิตไม่เพียงพอ
ต้องนำเช้าจากต่างประเทศ ซึ่งของเขาถูกกว่านำเข้า 50% ยังไงก็ต้องใช้
ผลิตเท่าไรก็หมด demand ก็เยอะจน supply ไม่พอ มองเป้าหมาย 15 เหรียญไป 150 เหรียญ ชัวร์
มันก็ขึ้นไป 18-20 เหรียญ เวลาผ่านไป ก็มีเวบไซต์ออกมาโจมตีบริษัท ว่าบริษัทนี้ไม่มีอยู่จริง
แล้วก็หาหลักฐานมาแสดง บริษัทนี้ทำอยู่สองอย่าง ขาย b2b เข้าบริษัทนม
อีกอย่างคือทำแคปซูลให้คนสุขภาพขับถ่ายไม่ดี
อย่าง b2b ตรวจสอบยาก ตัวที่ขายแคปซูลต้องมีสาขา
เขาไปสำรวจตามเมืองจีนไปหาเท่าไรก็หาไม่เจอ
ตอนนั้นก็คิดว่าเมืองจีนมันใหญ่มาก ถ้า 200 สาขามันน้อยมาก
ซึ่งหลังจากนั้นบริษัทก็ประกาศแก้ข่าว ถ่ายรูปหน้าร้าน มาลงให้ดู
ตอนนั้นก็สบายใจ บริษัทแก้ข่าว คงเป็นพวก short หุ้น
แต่หลังจากนั้นก็มีข่าวต่ออีก ว่าไปตามที่อยู่นั้นแล้วไม่มีจริง แถมยอด short เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หลังจากนั้นบริษัทก็จัด company visit ก็ไปดูโรงงานผลิต ดูสาขา ดูห้างเหมือน bigc บ้านเรา
ก็สบายใจ หุ้นก็ลงเรื่อยๆ จาก 18 ไปเหลือ 12 เหลือ 10 เหรียญ
ยังมั่นใจว่ามันไม่ได้โกง แต่ก็คิดว่ามันจะโกงได้อย่างไร
ไปอ่านหนังสือเจอ งบกำไรขายทุน หรือค่าใช้จ่ายแต่งได้
อย่างค่าใช้จ่ายต้องลงก็ไปลงเป็น r&d แต่งบกระแสเงินสดหลอกไม่ได้ ถ้ารายได้ กำไรโต
ซึ่งงบกระแสเงินสดต้องโตด้วย
แล้วไปดูงบกระแสเงินสดดูทะลุปรุโปร่งก็ไม่มีปัญหา ก็สบายใจ มีเขียนบทความวิเคราะห์ด้วย
ผ่านไปสักพัก cfo ลาออก ก็เริ่มไม่สบายใจ ผ่านไปสักพัก auditor เริ่มไม่รับรองงบ ซึ่งเป็น big4 ด้วย
สุดท้ายซื้อมา 15 ขาย 7.5 ขาดทุน 50%
โรงงานที่ไปดูคงเช่ามาหลอก หรือจ้างคนมาซื้อของ งบก็ปลอม
ซึ่งเคสแบบนี้มีเยอะที่เป็นหุ้นจีน list ในอเมริกา
จึงเป็นบทเรียนให้คิด อย่างหุ้นในเมืองไทยที่มี story ดูดี จะโตอย่างนั้นอย่างนี้
เวลาผ่านไป โครงการไม่ได้ การเติบโตไม่ได้ เพราะอย่างนั้นอย่างนี้
จะรู้สึกว่า หุ้นที่เราถือแล้วต้องไปคอยแก้ตัวให้ มันมักทำไม่ได้อย่างที่เราคิด
ถ้ามีหุ้นที่ไม่ deliver แบบที่บอกไว้ ส่วนใหญ่ไม่ดีหรอก
นอกจาก ไชน่าไบโอติกส์ก็มีประสบการณ์คล้ายๆอย่างนี้อีก 2-3 ครั้ง
โดนหนักๆไปหลายที เคยท้อไหม?
อย่างตอน subprime 65 เหลือ 18 ล้าน เอา resume ไป update ใหม่ เลย
เพราะเรามีแผนไว้ว่าถ้าต่ำกว่า 20 ล้าน เราต้องทำงาน
โชคดีว่าตลาดหุ้นฟื้นเลยไม่ต้องร่อนใบสมัคร
ตอนนั้นไม่ท้อ รู้สึกว่าสิ่งที่เราคิดไม่ผิด ธุรกิจมันดี หุ้นมันถูก แต่เราไม่คิดว่าหุ้นต้องคิดเท่าไร
ในระยะเวลาเท่าไร หรือหุ้นจะไม่ลงไปต่ำกว่าเท่าไร ไม่ได้มีอะไรผิดคาด
เรารู้อยู่แล้วว่าตลาดไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา มันเป็นเรื่องปกติ ก็เลยเฉยๆ
อย่างตอนไชน่าไบโอติกส์ เป็นเหตุสุดวิสัย หลักการเรายังถูกต้องเหมือนเดิม
เพียงแต่ไปเจอหลักการพิเศษ ลงทุนหุ้นไป 100 ตัวจะเจอโกงซักตัวก็ไม่ได้ผิดใจอะไรมาก
ซึ่งตอนนั้นกลับมาก็ได้ไปซื้อ jas ตอน 0.8 พอดี ที่ขาดทุนก็ได้คืนหมด
พี่มี่เสริม เรามักจะเอาราคาหรือผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง
ถ้าซื้อมั่วๆแต่ราคาขึ้น สมองเราก็จะคิดว่าถูก แต่ถ้ากระบวนการเราถูกแล้ว แต่ราคาลง เราจะคิดว่าผิด
ช่วงเมืองไทย ไม่ค่อยดี และเริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศมากขึ้น จะลงทุนแบบไหนดี?
กลยุทธ์ก็ต่างไป ส่วนตัวเล่นหุ้นโฟกัส โดยจริต ชอบซื้อแบบไม่กี่ตัว เจาะหุ้นลึกมาก
จะไปถือสไตล์พี่โจ เพราะเราเจาะลึกหลายตัวไม่ได้ ซึ่งช่วงที่ลงเยอะๆ คือ 4 ตัว ถ้าน้อยๆ คือ 1-2 ตัว
บทเรียนที่เรียนรู้ อะไรก็ตามที่เรารู้และเข้าใจมันดีเราจะโฟกัสมันได้
อะไรที่เราไม่รู้ ไม่เข้าใจมันดี ใช้การโฟกัสตายแน่ เหมือนไชน่า ไบโอติกส์
ตอนนั้นเอาเงินไปครึ่งพอร์ตแล้วถือตัวเดียว เป็นกลยุทธ์ที่ผิด
ตอนนี้ก็เลยกระจายไป 5% ซื้อไป 40 ตัว
อย่างเวียดนามก็มองๆ ว่าน่าสนใจ
ตอนนี้ที่ไปต่างประเทศ เป็นกลยุทธ์ใหม่สำหรับผม แต่เป็นกลยุทธ์ที่มีมานานแล้ว
ถ้าใครเคยอ่าน little book that beat market เขามีสูตรง่ายๆ คือ ธุรกิจที่ดี มี return on invested capital
ไม่ใช่ธุรกิจที่โต คือเราลงเงินน้อยๆ แต่ได้ return เยอะๆ ส่วนธุรกิจที่ถูก คือ pe ต่ำ แล้วก็เอาสองปัจจัยนี้
อย่างถ้าเอาหุ้นทั้งตลาดนี้มาเรียงกันด้วย roic pe เรียง แล้วเอา rank มาบวกกัน
จะได้หุ้นที่คุณภาพดีราคาไม่แพง แล้วเขาก็ใช้สูตรนี้ทดสอบกับข้อมูลย้อนหลังในอเมริกา
ซื้อแล้วผ่านไป 1 ปี ขายให้หมด ทำซ้ำทุกปี return ย้อนหลัง 14-16 ปี
ได้ return 30% ต่อปี ชนะตลาดที่ได้ 12%
ซึ่งก็มีคนเอามาประยุกต์ในไทย siamquant , research ดร.ลลิตา, ดร.ไพบูลย์
แต่ละคนก็ทดสอบคนละช่วงเวลากัน แต่พูดเหมือนกันหมดว่าชนะตลาดได้พอสมควร
ซึ่งตอนนี้ก็ใช้หลักการคล้ายๆ อันนี้
Jitta ก็เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่ทำเรื่องคล้ายๆแบบนี้ เพื่อให้สามารถลงทุนได้โดยไม่ต้องคิดมาก
ซื้อหุ้นไป 40 ตัว เจาะรายตัวก็ไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้ว เป็นช่วงทดลองอยู่
เราจะผสมผสานสไตล์ quant กับ vi ได้ไหม?
Quant ใช้แต่ตัวเลข ไม่ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คนจะชอบไปนึกถึง technical เลยไม่อยากใช้คำนั้นเท่าไร
ส่วนแนวนี้ขอเรียกว่า Quantitative VI ละกัน คือใช้ค่าทางการเงิน มาคิด
อย่างไปอเมริกา ก็ใช้หลักนี้แล้วก็ซื้อไปเลย 40 ตัว
หรืออีกแนวทางหนึ่ง ใช้หุ้นนี้กรองหุ้นออกมา เราก็ไปวิเคราะห์ต่อ แล้วก็มาลงทุนแบบเดิมที่เราทำ
พี่มี่ แชร์วิธีใช้ jitta สมมติมีไอเดียอยากลงทุนหุ้นค้าปลีก
ปกติไม่เคยดู jitta line เลย แต่ jitta score เข้าใจว่าคำนวณจากงบการเงินย้อนหลังเกือบ 10 ปี
ซึ่งจะเอามาจำๆ เอามาค้นหาคำตอบต่อ เพื่อเป็นข้อสังเกตเพื่ออ่านหาข้อมูลเพิ่มเติม
ทำไมถึงลงทุนใน Jitta ? หรือ startup รวมๆ ?
ศึกษา startup แม้จะไม่เจาะลึกมาก คิดว่า เป็น mega trend อย่างหนึ่ง
เดิมธุรกิจถูกจำกัด 2 อย่าง คือ
1) เงินทุน เป็น barrier to entry อย่างหนึ่ง เช่นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก
จะมีไม่กี่เจ้า แต่ทุกวันนี้เงินไม่ใช่ปัญหา เงินล้นโลก ดอกเบี้ยต่ำ ทุกคนอยากหาผลตอบแทน
จึงเกิดโครงสร้าง บริษัท startup ที่ยังไม่มีรายได้ แต่คนเห็นอนาคต barrier to entry ตรงนี้หายไปแล้ว
อย่างธุรกิจ bank เดิม เป็นเหมือนเสือนอนกิน คนจะเกิด bank แข่งยาก ใบอนุญาตลำบาก
พอเจอ startup การแข่งขันก็เปลี่ยนไป
2) เทคโนโลยี เปลี่ยนไปเยอะมาก ทำให้การแข่งขัน คนอยู่ต่างอุตสาหกรรม ต่างประเทศ แข่งกันได้เสรี ขึ้น
ถ้าไม่ศึกษาสิ่งเหล่านี้ไว้ หุ้นที่เราลงทุนอาจจะโดนสิ่งเหล่านี้ตีไปจนเจ๊งเลย
เป็น disruptive เป็นธุรกิจใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมมากๆ จนทำให้ของเดิมเปลี่ยนไป
ถ้าเราจะลงทุนไม่ศึกษาพวกนี้ไว้ก็หมดตัวได้ง่ายๆ เหมือนกัน
Startup มองเป็น thread กับธุรกิจเดิม
แต่ก็เป็นโอกาส แม้จะมีความเสี่ยงสูงมาก พันคน อาจจะอยู่ได้แค่ คนเดียว
พี่มี่ เสริม ซุนวูบอก รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง startup รบพันครั้ง ชนะแค่ครั้งเดียวก็พอแล้ว
Jitta ?
รู้จักเจ้าของมานานแล้ว เป็นเด็กเตรียมฯรุ่นเดียวกัน
พอไปเจอ jitta ก็เจอว่ามี formula เหมือนกัน ใครก็เข้าไปใช้ได้ พอเริ่มๆเล่นไป รู้สึกว่าชอบกว่า magic formula
ตอนแรกก็เอา magic formula มาใช้กับตลาดไทย ก็เจอว่าพวกลำดับแรกๆ เป็นกำไรพิเศษไปหลายตัวมาก
Pe ก็ต่ำมาก ค่า ROIC ก็ต้องสูงมากตามเหมือนกัน รู้สึกว่าลงตามนี้ มันไม่สบายใจที่จะถือ
เช่น ลำดับ 1 คือ jas ปีที่แล้วขายสายไฟเบอร์ทั้งบริษัทได้กำไรหมื่นล้านก็ติดลำดับมา
ถัดไปก็ขายทรัพย์สิน ต้นทุนกำไรลงเยอะเลยกำไรดี เป็นกำไรพิเศษสักครึ่งหนึ่ง
พอไปดู jitta jas ก็ติดอันดับ 1 เหมือนกัน แต่ใน jitta เป็น 1 ใน 4 ก็น่าสนใจกว่า
ซึ่งเขาไม่เปิดเผยสูตร ก็เลยนัดเจ้าของคุยด้วย เพราะอยากรู้ว่าคิดมาอย่างไร
พอถามๆดูก็คิดว่าเขามีมุมมองที่ดี เขาเคยทำ startup มาหลายบริษัท แนวคิดเลือกหุ้นเขาก็คล้ายๆกัน
พวก ratio ต่างๆที่เขาใช้ มัน make sense เลยถามเขาว่ามีหุ้นเหลือไหม อยากร่วมด้วย
สุดท้ายก็ได้ลงทุนด้วย ไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรเป็นพิเศษ
มีแผนการณ์อย่างไรต่อ?
หลายปีที่ผ่านมาเน้น return สูงๆ วันนี้
แต่วันนี้ตลาดบังคับให้เปลี่ยน หวัง return สูงๆ ไม่ได้
อยากจะเน้นรักษาเงินต้น ต้องมีการกระจายมากขึ้น
ตอนนี้ถือหุ้นไทย 90% แบ่งเงินลง jitta 5% อีก 5% ลงต่างประเทศ
ซึ่งต่อไปถ้าหาหุ้นในตลาดไทยไม่ได้ คงลดสัดส่วนลงเรื่อยๆ
หลังๆก็ไม่ได้ติดตามหุ้นมากขึ้น ก็คงจะกระจายไปหลายๆประเทศ เวียดนามก็เป็นที่สนใจ ก็ต้องใช้เวลา
ผ่านไปแนวทางที่ว่า ใช้สูตรไม่ใช้สมอง ผลลัพธ์เป็นอย่างไร
ถ้าดี ปีหน้าก็อาจจะเพิ่มสัดส่วน ไปต่างประเทศเพิ่ม ก็ยังไม่แน่
คงทยอยๆลด มองว่าตลาดไทย ภาพใหญ่ไม่ได้ดี หุ้นรายตัวทุกวันนี้ก็ไม่ได้ดี หุ้นดี ก็แพงจนซื้อไม่ลง
แต่ก็คิดว่าสุดท้ายวันหนึ่งคงโตน้อยลง และจะไม่ถูกอีกต่อไป
ซึ่งแนวทาง Q VI ก็คิดว่าเป็นแนวทางที่อยากไป
คิดไว้ว่าไม่อยากไปดูหุ้นรายตัว คนเข้าตลาดเยอะ VI เก่งๆเยอะ ขยันเยอะ ก็ไปอ่านเรื่องอื่นเยอะ
อยากลงทุนไม่ได้คิดอะไร แล้วหวังผลตอบแทนให้ลดลง
ถ้าตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 7% ต่อปี หวังได้ซัก 10% ต่อปีก็ happy แล้ว
เลยต้องทดสอบดูก่อน Q VI เป็นแนวทางที่ใช่หรือเปล่า
ซึ่งถ้าวันหนึ่งใช้แล้วมันแน่นอน ก็อาจจะ move ไป 100% เลยก็ได้ แล้วใช้เวลาไปทำอย่างอื่น
พี่บอลเสริม ว่าเป็นการหากลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ life style ของเรา
การจะสำเร็จชนะตลาดได้ ต้องเป็น 20 คนแรก จึงเอาชนะตลาดได้ อยากให้ฝากข้อคิด ?
ยังมีหุ้นให้หา มีหลักการอะไรให้ชนะตลาดไหม?
พี่โยโย่ พอลงทุนนานๆก็เจอนักลงทุนเซียนๆ ระดับ ท็อปๆ เจอรอบตัวมากมาย เป็นร้อยคน
ขอเรียกว่า นิสัยเซียน มันมีสิ่งเหมือนๆกันคือ ขอยกคำพูด ชาลีมังเกอร์
ทุกวันที่ตื่นนอนคุณต้องฉลาดกว่าเมื่อวาน แล้วเซียนทุกคนเป็นอย่างนี้จริงๆ
เขาจะหาความรู้ใส่ตัว มีหลายวิธี อ่านหนังสือก็เป็นทางหนึ่ง
อย่างหมอพงษ์ศักดิ์ บอกว่าดู opp day แต่ละไตรมาส ดูอย่างต่ำครึ่งหนึ่ง
อย่างคุณประชา วันๆก็นั่งอ่านหนังสือ ใช้เวลาคิดวิเคราะห์ พบผู้บริหาร
แต่ละคนมีรูปแบบหาความรู้ต่างกันไป บางคนก็เอาตัวเองไปเข้ากับคนเก่งๆ ไปหาความรู้เพิ่ม
คุณจะชนะคนอื่นได้ ทุกวันต้องฉลาดกว่าเมื่อวาน
เคยเห็นเลขของญี่ปุ่น 1.01 ยกกำลัง อินฟินิตี้
ถ้าเราดีกว่าเมื่อวาน 1% ผ่านไปไม่นานจะเก่งกว่าคนอื่นเต็มไปหมด
คนส่วนใหญ่ เป็น 0.99 ยกกำลัง เราไปเรียนรู้สิ่งผิดๆ เราไปเอาตัววัดผิดๆ
อย่างที่พี่มี่บอก ว่าเห็นราคาขึ้นคือถูก ราคาลงคือผิด
หลักง่ายๆคือต้องฉลาดกว่าเมื่อวานให้ได้
Go against and stay alive.
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 2
Thank you so much krub
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 3
กราบๆ
จริงๆ รอบหน้า เสนอ สัมภาษณ์ คนจดนั้นแหล่ะ
(ปีนี้ top form)
จริงๆ รอบหน้า เสนอ สัมภาษณ์ คนจดนั้นแหล่ะ
(ปีนี้ top form)
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 6
แหม่ๆๆ นี่มันวิธีหนีการสัมภาษณ์ชัดๆkongkiti เขียน:กราบๆ
จริงๆ รอบหน้า เสนอ สัมภาษณ์ คนจดนั้นแหล่ะ
(ปีนี้ top form)
รอบหน้าช่วยกันผลักดันเมพ kongkiti ขึ้นไปแชร์ด้วยนะครับ
Go against and stay alive.
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณทุกท่านมากครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
- theerasak24
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 621
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณมากครับผม
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณ คุณ บิ๊กมากครับ เมื่อวาน เวลาผมน้อยไปนิด เลย เร่งจนลืมพูดว่า จริงๆ ผมอยากชื่นชม คนที่ โพสต์ดีๆหลายคน เลย rank ชื่อ คนที่โพสต์เยอะมา แต่ เอาจรืง ๆ เวลาจำกัด เลยเลือกคนที่ พอจะรู้จัก มาพูดก่อน หวังว่าครั้งหน้าๆ ผมจะมีโอกาส ได้นำเสนอท่านที่โพสต์ดีๆท่านอื่นอีก
อีกอย่างที่ ผมไม่ได้พูดถึงคือ การที่ผมแนะนำ คนโพสต์ดีๆ ไม่ได้หมายความว่า ให้ไปลอกหุ้น นะครับ เพราะ การลอกหุ้นโดยปราศจากการคิด นั้นมีโอกาส ที่จะ ขาดทุนสูงมาก
สิ่งที่ผมมุ่งเน้นคือ ตัวอย่างของ คนที่โพสต์ เพื่อ เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่สามารถสร้างสังคม ไทยวีไอที่ดี ในอนาคตครับ
อีกอย่างที่ ผมไม่ได้พูดถึงคือ การที่ผมแนะนำ คนโพสต์ดีๆ ไม่ได้หมายความว่า ให้ไปลอกหุ้น นะครับ เพราะ การลอกหุ้นโดยปราศจากการคิด นั้นมีโอกาส ที่จะ ขาดทุนสูงมาก
สิ่งที่ผมมุ่งเน้นคือ ตัวอย่างของ คนที่โพสต์ เพื่อ เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่สามารถสร้างสังคม ไทยวีไอที่ดี ในอนาคตครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณครับ จดครบถ้วนเช่นเคย สุดยอดๆ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 91
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 16
กราบขอบคุณพี่บิ๊กครับi-salmon เขียน:แหม่ๆๆ นี่มันวิธีหนีการสัมภาษณ์ชัดๆkongkiti เขียน:กราบๆ
จริงๆ รอบหน้า เสนอ สัมภาษณ์ คนจดนั้นแหล่ะ
(ปีนี้ top form)
รอบหน้าช่วยกันผลักดันเมพ kongkiti ขึ้นไปแชร์ด้วยนะครับ
อยากฟังพี่ก้อง พี่บิ๊ก แชร์ด้วยครับ
เดวนั่งหน้าพร้อมป้ายไฟเลยครับ
นักลงทุนที่ดี คือ นักลงทุนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
- ckanjana
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 19
thank you
█║▌│█│║▌║││█║▌│║▌║
https://www.facebook.com/ckivp
https://www.facebook.com/ckivp
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณครับพี่หมอเค ผมว่าการที่มีช่วงชื่นชมตัวอย่างที่ดี และพูดเรื่องการใช้เวบบอร์ดเป็นสิ่งที่ดีมากเลยครับcrazyrisk เขียน:ขอบคุณ คุณ บิ๊กมากครับ เมื่อวาน เวลาผมน้อยไปนิด เลย เร่งจนลืมพูดว่า จริงๆ ผมอยากชื่นชม คนที่ โพสต์ดีๆหลายคน เลย rank ชื่อ คนที่โพสต์เยอะมา แต่ เอาจรืง ๆ เวลาจำกัด เลยเลือกคนที่ พอจะรู้จัก มาพูดก่อน หวังว่าครั้งหน้าๆ ผมจะมีโอกาส ได้นำเสนอท่านที่โพสต์ดีๆท่านอื่นอีก
อีกอย่างที่ ผมไม่ได้พูดถึงคือ การที่ผมแนะนำ คนโพสต์ดีๆ ไม่ได้หมายความว่า ให้ไปลอกหุ้น นะครับ เพราะ การลอกหุ้นโดยปราศจากการคิด นั้นมีโอกาส ที่จะ ขาดทุนสูงมาก
สิ่งที่ผมมุ่งเน้นคือ ตัวอย่างของ คนที่โพสต์ เพื่อ เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นใหม่สามารถสร้างสังคม ไทยวีไอที่ดี ในอนาคตครับ
ตัวผมเองก็ไม่ค่อยได้เข้าบอร์ดเท่าไร บางทีสนใจตัวไหนก็เข้ามาเปิดดูร้อยคนร้อยหุ้น อ่านข้อมูล ดูความเห็น
แต่ก็กังวลๆไม่ค่อยที่กล้าโพสต์ข้อมูลหุ้นรายตัวมากนัก
คิดว่าคงมีคนเป็นเหมือนกัน การออกมาพูดทำความเข้าใจ มีแนะนำแบบอย่างที่ดี น่าจะทำให้บรรยากาศดีขึ้นครับ
และกลุ่มพวกกะทู้ความรู้ทั้งหลายก็มีเก่าๆใหม่ๆ หลายๆอันลองกลับไปอ่านดูที่แชร์กันไว้ ดีมากๆเลยครับ
คิดว่าเป็นประโยชน์ทั้งมือเก่ามือใหม่ที่จะอ่าน นอกจากการดูหุ้นรายตัวอย่างเดียว
Go against and stay alive.
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
โพสต์ที่ 25
ขอบคุณมากๆครับ อ่านแล้วรู้สึกว่ามีพลังเพิ่มขึ้นเยอะเบยครับ
ขอบคุณวิทยากร และทีมงานทุกๆท่านครับ
ขอบคุณวิทยากร และทีมงานทุกๆท่านครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ