Theranos… ยูนิคอร์นชั้นดีหรือแค่ปาหี่ราคาแพง
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 22, 2016 5:13 pm
Tharanos เป็นบริษัทสตาร์ทอัพบริษัทหนึ่งที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Elizabeth Holmes ในปีค.ศ. 2003 ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเทรานอสได้อ้างว่าบริษัทตนได้พัฒนาวิธีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพแบบใหม่ที่ใช้เพียงการเจาะเลือดเพียงไม่หยดจากปลายนิ้ว แทนที่จะเป็นการเจาะเลือดเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำในปริมาณหลายมิลลิลิตรอย่างในปัจจุบัน
เทรานอสได้ทำการระดมทุนผ่านทาง VC หรือ venture capital หลายต่อหลายครั้ง โดยในครั้งแรกเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ จนภายหลัง เทรานอสมีเงินระดมทุนรวมกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือที่ในวงการสตาร์ทอัพจะให้ชื่อเล่นว่า “ยูนิคอร์น” ซึ่งเป็นชื่อที่เอาไว้เรียกบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มูลค่าการระดมทุนสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทเหล่านี้มักจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ บริษัทมีนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ชั้นยอดอยู่ในมือ (หรือในบางครั้งก็เป็นการทำให้นักลงทุนเชื่อว่ามี) แต่ผลประกอบการบริษัทยังไม่ดี ไม่มีกำไร เป็นบริษัทเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูง ถ้ารุ่ง บริษัทก็อาจจะก้าวขึ้นเป็นบริษัทระดับโลกได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่ถ้าร่วง บริษัทก็พร้อมจะกลายมูลค่าเป็นศูนย์ได้เช่นเดียวกัน
ในแง่มุมของผู้บริหาร Elizabeth Holmes ถือได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ใหญ่สุดของเทรานอสในปัจจุบัน โดยอลิซาเบธมีลักษณะของผู้หญิงเก่งแห่งซิลิคอนวัลเลย์ทุกประการ เธอเป็นผู้หญิงพูดจาฉะฉาน มีประวัติการเข้าร่วมการค้นพบนวัตกรรมทางการแพทย์ตั้งแต่อายุ 19 ปี และที่สำคัญ อลิซาเบธจะสวมเสื้อคอเต่าสีดำเสมอ จนนักลงทุนหลายคนมองว่าเธอตั้งใจที่สร้างภาพลักษณ์ให้ดูคล้ายกับผู้บริหารระดับโลกอย่างสตีฟ จ๊อบแห่งแอปเปิ้ลที่มักจะสวมเสื้อคอเต่าเป็นประจำ และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์คแห่งเฟสบุ๊คที่ชอบใส่เสื้อสีเดียวกันตลอดชีวิตการทำงาน
ปัญหาของเทรานอสเริ่มแดงขึ้นเมื่อบริษัทได้ทำการระดมทุนอย่างหนักในช่วงปีค.ศ. 2013 – 2015 จนมูลค่าบริษัทสูงขึ้นไปเกือบถึง 1 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่นวัตกรรมการตรวจเลือดจากปลายนิ้วชื่อ Edison ที่เทรานอสภูมิใจนำเสนอและใช้มาเป็นฟันเฟืองหลักในการระดมทุนนั้นกลับไม่มีผลการพัฒนาที่ชัดเจนสักที ยิ่งเมื่อฟองสบู่ของบริษัทไอทีทั้งหลายที่มักนิยมเรียกกันว่าบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์โตขึ้นเรื่อยๆ หลายบริษัทล้มละลายลงอย่างน่าใจหาย ทำให้เทรานอสถูกกดดันหนักขึ้นจากการต้องการคำพิสูจน์ที่จะแสดงต่อนักลงทุนว่าเงินของพวกเขาจะสามารถกลายสภาพมาเป็นนวัตกรรมเอดิสันเปลี่ยนโลกได้ “จริง”
เมื่อเทรานอสถูกกดดันจากสังคมนักลงทุนมากขึ้น อลิซาเบธผู้ก่อตั้งก็ออกนำผลการตรวจเลือดที่ทุกคนอยากเห็นนั้นมาแสดงต่อวอลล์สตรีท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวก็ให้ผลยอดเยี่ยม แต่เมื่อถูกตรวจสอบไปมาก็ค้นพบว่าผลตรวจเลือดที่นำมาแสดงให้ทุกคนเห็นนั้น จริงๆ แล้วมาจากการตรวจเลือดแบบดั้งเดิม (เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ) ถึง 98% ในขณะที่มีผลตรวจที่ส่งมาจากห้องปฏิบัติการที่ใช้เครื่องตรวจแบบจากปลายนิ้วอย่างเอดิสันเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้เกิดข้อกังขาในวอลล์สตรีทขึ้นไปอีกว่าตกลงนวัตกรรมเอดิสันของเทรานอสนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ทำไมเวลาผ่านมาเป็นสิบปีแล้วแต่เครื่องตรวจที่ว่ายังคงจับต้องไม่ได้เสียที
ล่าสุดเมื่อห้องปฏิบัติการในรัฐแคลิฟอร์เนียของเทรานอสถูกเข้าตรวจสอบตามกำหนดการของกฎหมายในการทวนสอบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจสอบที่น่าตกใจก็ถูกเผยแพร่ออกมาแก่สาธารณชน อย่างแรกคือเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบผลเลือดต่างๆ นั้นก็ยังคงเป็นเครื่องมือแบบเก่านั่นเอง แถมระบบคุณภาพในห้องปฏิบัติการก็ย่ำแย่จนน่าตกใจ มีการใช้สารเคมีหมดอายุ เปลี่ยนวันที่หมดอายุของสารที่ใช้ รวมไปถึงการละเลยเรื่องเอกสารและการจดบันทึกการทำงาน
เอดิสันและเทรานอสน่าจะกลายเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกได้ไม่ยากหากทุกอย่างดำรงอยู่บนความเป็น “จริง” เพราะการตรวจเลือดหาผลการตรวจที่ซับซ้อน เพียงใช้เลือดไม่กี่หยดจากปลายนิ้วนั้นเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มากในวงการทางการแพทย์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จะรู้ดีว่าการตรวจหาสารบางอย่างในเลือดนั้นต้องใช้เลือดตัวอย่างในปริมาณที่มากเพียงพอที่จะทำให้สารที่ค้นหามีมากพอจะเกินขีดจำกัดที่ตรวจสอบได้ และแน่นอนว่ามันย่อมมากกว่าเลือดเพียงหยดสองหยดจากปลายนิ้วเพียงแน่นอน
ล่าสุด อลิซาเบธยังคงให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์คถึงเรื่องราวของบริษัทเทรานอสที่ดูจะเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยากเหลือเกินในปัจจุบัน ซึ่งเธอก็ให้ความเห็นไว้เพียงแต่ว่า “สิ่งที่พวกเราต้องทำคือสนใจแต่เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป และผลลัพธ์ที่แสดงออกมาเท่านั้น เพราะสิ่งดังกล่าวมันจะตอบทุกอย่างด้วยตัวเอง”
แน่นอนว่าในปัจจุบันเทรานอสก็ยังคงตกอยู่ในสภาวะยากลำบากต่อไปเรื่อยๆ ในมุมมองของนักลงทุนคนหนึ่ง เทรานอสถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงได้ให้เห็นว่าโลกนี้ไม่ได้มีเพียงแต่สตาร์ทอัพแบบเฟสบุ๊ค หรือกูเกิ้ลเท่านั้น แต่โลกนี้ยังมีความเสี่ยงจากการไม่ประสบความสำเร็จมากมาย ซึ่งก็อาจจะตอบได้ยากว่าเทรานอสจะทำสำเร็จหรือไม่ แต่สิ่งที่อาจจะตอบได้คือ บางครั้ง มันอาจจะเป็นความเสี่ยงที่มากมายเกินกว่านักลงทุนคนหนึ่งจะรับมือ
ลงทุนศาสตร์
เทรานอสได้ทำการระดมทุนผ่านทาง VC หรือ venture capital หลายต่อหลายครั้ง โดยในครั้งแรกเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ จนภายหลัง เทรานอสมีเงินระดมทุนรวมกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือที่ในวงการสตาร์ทอัพจะให้ชื่อเล่นว่า “ยูนิคอร์น” ซึ่งเป็นชื่อที่เอาไว้เรียกบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มูลค่าการระดมทุนสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทเหล่านี้มักจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ บริษัทมีนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ชั้นยอดอยู่ในมือ (หรือในบางครั้งก็เป็นการทำให้นักลงทุนเชื่อว่ามี) แต่ผลประกอบการบริษัทยังไม่ดี ไม่มีกำไร เป็นบริษัทเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูง ถ้ารุ่ง บริษัทก็อาจจะก้าวขึ้นเป็นบริษัทระดับโลกได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่ถ้าร่วง บริษัทก็พร้อมจะกลายมูลค่าเป็นศูนย์ได้เช่นเดียวกัน
ในแง่มุมของผู้บริหาร Elizabeth Holmes ถือได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ใหญ่สุดของเทรานอสในปัจจุบัน โดยอลิซาเบธมีลักษณะของผู้หญิงเก่งแห่งซิลิคอนวัลเลย์ทุกประการ เธอเป็นผู้หญิงพูดจาฉะฉาน มีประวัติการเข้าร่วมการค้นพบนวัตกรรมทางการแพทย์ตั้งแต่อายุ 19 ปี และที่สำคัญ อลิซาเบธจะสวมเสื้อคอเต่าสีดำเสมอ จนนักลงทุนหลายคนมองว่าเธอตั้งใจที่สร้างภาพลักษณ์ให้ดูคล้ายกับผู้บริหารระดับโลกอย่างสตีฟ จ๊อบแห่งแอปเปิ้ลที่มักจะสวมเสื้อคอเต่าเป็นประจำ และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์คแห่งเฟสบุ๊คที่ชอบใส่เสื้อสีเดียวกันตลอดชีวิตการทำงาน
ปัญหาของเทรานอสเริ่มแดงขึ้นเมื่อบริษัทได้ทำการระดมทุนอย่างหนักในช่วงปีค.ศ. 2013 – 2015 จนมูลค่าบริษัทสูงขึ้นไปเกือบถึง 1 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่นวัตกรรมการตรวจเลือดจากปลายนิ้วชื่อ Edison ที่เทรานอสภูมิใจนำเสนอและใช้มาเป็นฟันเฟืองหลักในการระดมทุนนั้นกลับไม่มีผลการพัฒนาที่ชัดเจนสักที ยิ่งเมื่อฟองสบู่ของบริษัทไอทีทั้งหลายที่มักนิยมเรียกกันว่าบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์โตขึ้นเรื่อยๆ หลายบริษัทล้มละลายลงอย่างน่าใจหาย ทำให้เทรานอสถูกกดดันหนักขึ้นจากการต้องการคำพิสูจน์ที่จะแสดงต่อนักลงทุนว่าเงินของพวกเขาจะสามารถกลายสภาพมาเป็นนวัตกรรมเอดิสันเปลี่ยนโลกได้ “จริง”
เมื่อเทรานอสถูกกดดันจากสังคมนักลงทุนมากขึ้น อลิซาเบธผู้ก่อตั้งก็ออกนำผลการตรวจเลือดที่ทุกคนอยากเห็นนั้นมาแสดงต่อวอลล์สตรีท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวก็ให้ผลยอดเยี่ยม แต่เมื่อถูกตรวจสอบไปมาก็ค้นพบว่าผลตรวจเลือดที่นำมาแสดงให้ทุกคนเห็นนั้น จริงๆ แล้วมาจากการตรวจเลือดแบบดั้งเดิม (เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ) ถึง 98% ในขณะที่มีผลตรวจที่ส่งมาจากห้องปฏิบัติการที่ใช้เครื่องตรวจแบบจากปลายนิ้วอย่างเอดิสันเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้เกิดข้อกังขาในวอลล์สตรีทขึ้นไปอีกว่าตกลงนวัตกรรมเอดิสันของเทรานอสนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ทำไมเวลาผ่านมาเป็นสิบปีแล้วแต่เครื่องตรวจที่ว่ายังคงจับต้องไม่ได้เสียที
ล่าสุดเมื่อห้องปฏิบัติการในรัฐแคลิฟอร์เนียของเทรานอสถูกเข้าตรวจสอบตามกำหนดการของกฎหมายในการทวนสอบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจสอบที่น่าตกใจก็ถูกเผยแพร่ออกมาแก่สาธารณชน อย่างแรกคือเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบผลเลือดต่างๆ นั้นก็ยังคงเป็นเครื่องมือแบบเก่านั่นเอง แถมระบบคุณภาพในห้องปฏิบัติการก็ย่ำแย่จนน่าตกใจ มีการใช้สารเคมีหมดอายุ เปลี่ยนวันที่หมดอายุของสารที่ใช้ รวมไปถึงการละเลยเรื่องเอกสารและการจดบันทึกการทำงาน
เอดิสันและเทรานอสน่าจะกลายเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกได้ไม่ยากหากทุกอย่างดำรงอยู่บนความเป็น “จริง” เพราะการตรวจเลือดหาผลการตรวจที่ซับซ้อน เพียงใช้เลือดไม่กี่หยดจากปลายนิ้วนั้นเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มากในวงการทางการแพทย์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จะรู้ดีว่าการตรวจหาสารบางอย่างในเลือดนั้นต้องใช้เลือดตัวอย่างในปริมาณที่มากเพียงพอที่จะทำให้สารที่ค้นหามีมากพอจะเกินขีดจำกัดที่ตรวจสอบได้ และแน่นอนว่ามันย่อมมากกว่าเลือดเพียงหยดสองหยดจากปลายนิ้วเพียงแน่นอน
ล่าสุด อลิซาเบธยังคงให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์คถึงเรื่องราวของบริษัทเทรานอสที่ดูจะเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยากเหลือเกินในปัจจุบัน ซึ่งเธอก็ให้ความเห็นไว้เพียงแต่ว่า “สิ่งที่พวกเราต้องทำคือสนใจแต่เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป และผลลัพธ์ที่แสดงออกมาเท่านั้น เพราะสิ่งดังกล่าวมันจะตอบทุกอย่างด้วยตัวเอง”
แน่นอนว่าในปัจจุบันเทรานอสก็ยังคงตกอยู่ในสภาวะยากลำบากต่อไปเรื่อยๆ ในมุมมองของนักลงทุนคนหนึ่ง เทรานอสถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงได้ให้เห็นว่าโลกนี้ไม่ได้มีเพียงแต่สตาร์ทอัพแบบเฟสบุ๊ค หรือกูเกิ้ลเท่านั้น แต่โลกนี้ยังมีความเสี่ยงจากการไม่ประสบความสำเร็จมากมาย ซึ่งก็อาจจะตอบได้ยากว่าเทรานอสจะทำสำเร็จหรือไม่ แต่สิ่งที่อาจจะตอบได้คือ บางครั้ง มันอาจจะเป็นความเสี่ยงที่มากมายเกินกว่านักลงทุนคนหนึ่งจะรับมือ
ลงทุนศาสตร์