บทเรียนการลงทุนจาก WW II/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
บทเรียนการลงทุนจาก WW II/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ผมจำไม่ได้ว่าเริ่มสนใจศึกษาและรู้สึก “หลงใหล” กับการอ่านเรื่องของสงครามโลกครั้งที่สองหรือที่มักเขียนเป็นตัวย่อภาษาอังกฤษว่า WW II (World War II) ตั้งแต่เมื่อไร รู้แต่ว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ผมกลายเป็นนักลงทุน VI ที่มุ่งมั่นประมาณ 20 ปีมาแล้ว ภาพยนตร์และสารคดีที่เกี่ยวกับหรืออิงกับสงครามโลกครั้งที่สองเกือบทุกเรื่องกลายเป็นเรื่องที่ผมอยากชม หลายเรื่องไม่เกี่ยวกับการรบแต่เป็นเรื่องของชีวิตในช่วงสงคราม เช่น เรื่องของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยนาซีก็กลายเป็นหนังที่ผมชอบดูไปด้วย เหตุผลที่ผมชอบนั้นส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ สงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็นสงครามที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์และได้เผยให้เห็นพฤติกรรมและธาตุแท้ของมนุษย์ถึงแก่น และในเหตุการณ์นั้น คนแต่ละกลุ่มหรือชาติได้ใช้สรรพกำลัง ความคิด และอารมณ์ขั้นสูงสุดที่จะ “เอาชนะ” เพื่อที่จะดำรงความเป็นมนุษย์ที่สูงที่สุดหรือดีที่สุดของตนเองและเผ่าพันธุ์ของตนเอง ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องของ WW II น่าจะทำให้เราเข้าใจเรื่องของมนุษย์และสังคมมากมายอย่างที่หาได้ยากจากเรื่องอื่น ๆ
บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ผมคิดว่าสามารถนำมาประยุกต์ได้กับเรื่องของการต่อสู้และการแข่งขันได้เกือบทุกเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องของธุรกิจและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนยอดของธุรกิจ และต่อไปนี้ก็คือบทเรียนบางประการจากสงครามที่ผมอยากนำมาพูดถึง
เรื่องย่อที่สุดของ WW II ก็คือ เยอรมันเริ่มก่อสงครามโดยการบุกยึดครองยุโรปตะวันตกเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศษได้สำเร็จในเวลาอันสั้น กลยุทธ์ก็คือการรุกรบอย่างรวดเร็วแบบสายฟ้าแลบนำโดยรถถังแพนเซอร์ที่ทรงประสิทธิภาพและทหารที่มีความสามารถยอดเยี่ยมที่ถูกเตรียมการอย่างดีโดยการบังคับและการ “ล้างสมอง” ประชาชนโดยพรรคนาซีที่ได้เข้ากุมอำนาจเด็ดขาดในรัฐบาล วัตถุประสงค์ของนาซีก็คือการที่จะเข้าครอบครองประเทศและทรัพยากรแทบทั้งหมดในยุโรปโดยคนเยอรมัน พันธมิตรหลักของเยอรมันที่เรียกว่าฝ่ายอักษะที่สำคัญก็คือ อิตาลีที่นำโดยมุสโสลินีผู้เผด็จการฟาสซิสที่หวังครอบครองยุโรปบางส่วนและอาฟริกา และญี่ปุ่นที่นำโดยกลุ่มทหารที่ต้องการครอบครองเอเชียเพื่อความมั่งคั่งของญี่ปุ่น
ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำสงครามต่อต้านฝ่ายอักษะที่สำคัญก็คืออังกฤษ สหภาพโซเวียตรัสเซีย อเมริกาและประเทศประเทศหลัก ๆ ของโลกแทบจะทุกประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะประเทศเหล่านั้นมีความเกี่ยวดองกับอังกฤษในฐานะประเทศอาณานิคมหรืออดีตอาณานิคม ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้ว จำนวนคนและทรัพยากรของฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นมากกว่าฝ่ายอักษะหลายเท่าแม้ว่าในช่วงเริ่มต้นของสงครามประเทศเหล่านั้นจะยังไม่มีความพร้อมอะไรเลยเนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่สามารถบังคับหรือล้างสมองให้คนเตรียมเข้าสู้รบ
หลังจากความสำเร็จในการยึดครองฝรั่งเศสและยุโรปเกือบทั้งหมด เยอรมันก็บุกรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ หนาวเย็นมากในฤดูหนาวและมีคนจำนวนมาก เยอรมันคิดว่ากองทัพรัสเซียอ่อนแอมากและน่าจะสามารถยึดได้ในเวลาอันรวดเร็วและไม่ได้ “เผื่อ” สถานการณ์ที่ “ไม่คาดฝัน” อะไรเลยรวมทั้ง “ดูแคลน” คนรัสเซียว่าด้อยความสามารถ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เยอรมันจะชนะนั้น ภาวะอากาศที่หนาวเย็นและการบังคับให้ทหารต่อสู้จนตัวตายโดยสตาลินซึ่งเป็น “เผด็จการสังคมนิยม” ก็ทำให้เยอรมันต้อง “ติดหล่ม” ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทุกชาติโดยเฉพาะรัสเซียมีเวลาระดมสรรพกำลังและต่อสู้จนได้ชัยชนะในที่สุด โดยที่ญี่ปุ่นเองนั้นก็มีเรื่องราวหรือชะตากรรมแบบเดียวกับเยอรมันที่ชนะในช่วงแรกแต่สุดท้ายก็ถูกอเมริกาที่ใหญ่กว่ามากถล่มจนยับเยิน
บทเรียนแรกที่ผมคิดว่าเราสามารถนำมาใช้กับธุรกิจและการลงทุนก็คือ ในสงครามนั้น เยอรมันรบโดยไม่ได้ปฏิบัติตาม “กฎของสงคราม” โดยเฉพาะกฎที่ว่าผู้ชนะนั้นคือผู้ที่มีทรัพยากรมากกว่าในสนามรบและกฎอื่น ๆ หลายครั้งโดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ ของสงครามนั้น ฮิตเลอร์บัญชาการรบเองและมีความเชื่อมั่นในความสามารถและความแข็งแกร่งของกองทัพมากเกินไปจึงสั่งการในแบบที่ผิดกฎของสงครามมากโดยไม่ฟังแม่ทัพนายกองที่ทักท้วง ผลก็คือความพ่ายแพ้ ในการลงทุนก็เช่นกัน ผมคิดว่ามี “กฎเหล็ก” ของการลงทุนหลายอย่างที่เราไม่ควรฝืน อย่าไปคิดว่าเราแน่หรือคิดว่าครั้งนี้มีข้อยกเว้นและเรา “มั่นใจมาก” เราอาจจะเคยทำสำเร็จได้กำไรมากด้วยการทำผิดกฎหลักของการลงทุน เช่น การทุ่มลงทุนตัวเดียวเต็มพอร์ต แต่การทำแบบนั้นก็อาจจะเหมือนกับที่ฮิตเลอร์สามารถชนะฝรั่งเศษในเวลาอันสั้นและไปแพ้จนเป็นหายนะในรัสเซียก็ได้
บทเรียนข้อสองของผมก็คือ อย่าซื้อหุ้นถ้าไม่แน่ใจว่าจะไม่ขาดทุน หรืออย่าเข้าสนามรบโดยไม่มั่นใจว่าจะชนะแน่ นี่เป็นสิ่งที่ผมเห็นจากการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอเมริกานั้น เวลาจะบุกเข้ายึดเมืองหรือประเทศคืนและรุกเข้ายึดครองประเทศฝ่ายอักษะนั้น พวกเขาจะมีการวางแผนอย่างดีและยอมใช้เวลาค่อย ๆ “รุกคืบ” ตัวอย่างเช่น แทนที่จะบุกเข้ายุโรปทันที พวกเขากลับเริ่มโดยบุกเข้าทางอาฟริกาเหนือเพื่อที่จะต่อไปที่อิตาลีที่ค่อนข้างอ่อนแอและฝรั่งเศสจนถึงเยอรมัน เป็นต้น เช่นเดียวกัน สหรัฐเองนั้นก่อนที่จะเข้าโจมตีเกาะญี่ปุ่น อเมริกาค่อย ๆ ยึดเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรเพื่อที่จะ “ตั้งฐาน” ใกล้เกาะญี่ปุ่นเข้าไปเรื่อย ๆ และในการรบทุกครั้งนั้น อเมริกาจะทุ่มคนและอาวุธโดยเฉพาะเรือรบและเครื่องบินเข้าไปมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่นอย่างน้อย 3 เท่าเพื่อให้มั่นใจว่าชนะแน่
ในแง่ของการลงทุนนั้น ผมคิดว่าในการซื้อหุ้นเราก็ควรจะต้องประเมินอย่างรอบคอบมาก ๆ ว่า โอกาสที่เราจะชนะหรือได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ—ในระยะยาว อาจจะตั้งไว้ซัก 2-3 ปี นั้นสูงมาก ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นเราก็จะไม่ซื้อ เราจะไม่เสี่ยงที่จะซื้อหุ้นเพียงเพราะเราหวังว่าเราจะได้กำไรเร็ว ๆ ในเวลาอันสั้นแต่ความไม่แน่นอนสูง พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าดูแล้วมีโอกาสขาดทุนเนื่องจากมีปัจจัยไม่แน่นอนหลายอย่างที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง เราไม่เอา เราไม่ต้องการที่จะเข้าไป “ติดหุ้น” เหมือนอย่างที่เยอรมันเข้าไปติดอยู่ในรัสเซียเพราะกำลังทหารและสรรพาวุธไม่พอเนื่องจากระยะทางเดินทัพนั้นไกลมาก
บทเรียนสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ถ้ารู้ว่า “แพ้” ก็ต้องมีกลยุทธ์ในการ “ถอย” นี่ก็อีกเช่นกัน เป็นเรื่องของฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่าฝ่ายอักษะและรัสเซีย เหตุผลอาจจะเป็นว่าในประเทศของ “โลกเสรี” นั้น รัฐมีอำนาจจำกัดในการบังคับพลเมือง และการสั่งหรือปล่อยให้คน “สู้ตาย” นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องไม่ว่าในกรณีใด ตรงกันข้าม ฮิตเลอร์มักสั่งให้กองทัพ “ยืนหยัด” สู้ตายทั้ง ๆ ที่กำลัง “แพ้” ซึ่งทำให้กำลังทหารอ่อนแอลงไปมาก และที่ยิ่งกว่านั้นก็คือญี่ปุ่นที่ทหารส่วนใหญ่ไม่ยอมแพ้และต้องตายเกือบทั้งหมดในแทบทุกสมรภูมิ ตรงกันข้าม กลยุทธ์ในการ “หนี” ของกองทัพอังกฤษเป็นแสน ๆ คน ที่ชายหาดดังเคิร์กข้ามทะเลกลับเกาะอังกฤษ และการ “หนี” ของแมคอาเธอร์จากเกาะฟิลิปปินส์และคำพูดอมตะว่า “I shall return” นั้นเป็นกลยุทธ์ที่ดีต่อการรบในเวลาต่อมามาก และผมก็คิดเช่นเดียวกันว่า ในการลงทุนนั้น ถ้ารู้ว่าแพ้ เช่น หุ้นที่เราถืออยู่มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นฐานหรือเราคิดว่ามีโอกาสที่จะแย่ลงมากและราคาหุ้นได้ตกลงไปมาก เราก็อาจจะต้อง “ยอมแพ้” และ “หนี” คือขายหุ้นไปแม้จะขาดทุนมาก เราอาจจะ “ปลอบใจตัวเอง” ว่า I shall return ได้กำไรจากเงินที่ขายไปและไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นแทนก็ได้
การนำบทเรียนของ WW II มาใช้ในการลงทุนนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ว่าที่จริงผมยังนำมันมาใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมากรวมถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ชะตากรรมของชาวยิวและเหตุผลที่มันเกิดขึ้นเตือนให้ผมรู้ว่าโลกนี้มีอันตรายมากมายที่เราต้องตระหนัก บางสิ่งบางอย่างมันก็เกินจากความคาดคิดได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมมักจะหาคำตอบว่าทำไมสังคมเยอรมันที่ประกอบไปด้วยคนที่มีความสามารถสูงและ “ฉลาด” มากสามารถก่อให้เกิดเรื่องราวทั้งสงครามและการก่ออาชญากรรมแบบนั้นได้ และคำตอบนั้นก็จะกลายมาเป็น “บทเรียน” ที่ผมจะนำมาใช้คาดการณ์หรือมองว่าสังคมของไทยและ/หรือสังคมของโลก จะไปทางไหนในอนาคตมองจากสถานะในปัจจุบัน
บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ผมคิดว่าสามารถนำมาประยุกต์ได้กับเรื่องของการต่อสู้และการแข่งขันได้เกือบทุกเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องของธุรกิจและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนยอดของธุรกิจ และต่อไปนี้ก็คือบทเรียนบางประการจากสงครามที่ผมอยากนำมาพูดถึง
เรื่องย่อที่สุดของ WW II ก็คือ เยอรมันเริ่มก่อสงครามโดยการบุกยึดครองยุโรปตะวันตกเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศษได้สำเร็จในเวลาอันสั้น กลยุทธ์ก็คือการรุกรบอย่างรวดเร็วแบบสายฟ้าแลบนำโดยรถถังแพนเซอร์ที่ทรงประสิทธิภาพและทหารที่มีความสามารถยอดเยี่ยมที่ถูกเตรียมการอย่างดีโดยการบังคับและการ “ล้างสมอง” ประชาชนโดยพรรคนาซีที่ได้เข้ากุมอำนาจเด็ดขาดในรัฐบาล วัตถุประสงค์ของนาซีก็คือการที่จะเข้าครอบครองประเทศและทรัพยากรแทบทั้งหมดในยุโรปโดยคนเยอรมัน พันธมิตรหลักของเยอรมันที่เรียกว่าฝ่ายอักษะที่สำคัญก็คือ อิตาลีที่นำโดยมุสโสลินีผู้เผด็จการฟาสซิสที่หวังครอบครองยุโรปบางส่วนและอาฟริกา และญี่ปุ่นที่นำโดยกลุ่มทหารที่ต้องการครอบครองเอเชียเพื่อความมั่งคั่งของญี่ปุ่น
ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำสงครามต่อต้านฝ่ายอักษะที่สำคัญก็คืออังกฤษ สหภาพโซเวียตรัสเซีย อเมริกาและประเทศประเทศหลัก ๆ ของโลกแทบจะทุกประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะประเทศเหล่านั้นมีความเกี่ยวดองกับอังกฤษในฐานะประเทศอาณานิคมหรืออดีตอาณานิคม ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้ว จำนวนคนและทรัพยากรของฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นมากกว่าฝ่ายอักษะหลายเท่าแม้ว่าในช่วงเริ่มต้นของสงครามประเทศเหล่านั้นจะยังไม่มีความพร้อมอะไรเลยเนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่สามารถบังคับหรือล้างสมองให้คนเตรียมเข้าสู้รบ
หลังจากความสำเร็จในการยึดครองฝรั่งเศสและยุโรปเกือบทั้งหมด เยอรมันก็บุกรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ หนาวเย็นมากในฤดูหนาวและมีคนจำนวนมาก เยอรมันคิดว่ากองทัพรัสเซียอ่อนแอมากและน่าจะสามารถยึดได้ในเวลาอันรวดเร็วและไม่ได้ “เผื่อ” สถานการณ์ที่ “ไม่คาดฝัน” อะไรเลยรวมทั้ง “ดูแคลน” คนรัสเซียว่าด้อยความสามารถ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เยอรมันจะชนะนั้น ภาวะอากาศที่หนาวเย็นและการบังคับให้ทหารต่อสู้จนตัวตายโดยสตาลินซึ่งเป็น “เผด็จการสังคมนิยม” ก็ทำให้เยอรมันต้อง “ติดหล่ม” ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทุกชาติโดยเฉพาะรัสเซียมีเวลาระดมสรรพกำลังและต่อสู้จนได้ชัยชนะในที่สุด โดยที่ญี่ปุ่นเองนั้นก็มีเรื่องราวหรือชะตากรรมแบบเดียวกับเยอรมันที่ชนะในช่วงแรกแต่สุดท้ายก็ถูกอเมริกาที่ใหญ่กว่ามากถล่มจนยับเยิน
บทเรียนแรกที่ผมคิดว่าเราสามารถนำมาใช้กับธุรกิจและการลงทุนก็คือ ในสงครามนั้น เยอรมันรบโดยไม่ได้ปฏิบัติตาม “กฎของสงคราม” โดยเฉพาะกฎที่ว่าผู้ชนะนั้นคือผู้ที่มีทรัพยากรมากกว่าในสนามรบและกฎอื่น ๆ หลายครั้งโดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ ของสงครามนั้น ฮิตเลอร์บัญชาการรบเองและมีความเชื่อมั่นในความสามารถและความแข็งแกร่งของกองทัพมากเกินไปจึงสั่งการในแบบที่ผิดกฎของสงครามมากโดยไม่ฟังแม่ทัพนายกองที่ทักท้วง ผลก็คือความพ่ายแพ้ ในการลงทุนก็เช่นกัน ผมคิดว่ามี “กฎเหล็ก” ของการลงทุนหลายอย่างที่เราไม่ควรฝืน อย่าไปคิดว่าเราแน่หรือคิดว่าครั้งนี้มีข้อยกเว้นและเรา “มั่นใจมาก” เราอาจจะเคยทำสำเร็จได้กำไรมากด้วยการทำผิดกฎหลักของการลงทุน เช่น การทุ่มลงทุนตัวเดียวเต็มพอร์ต แต่การทำแบบนั้นก็อาจจะเหมือนกับที่ฮิตเลอร์สามารถชนะฝรั่งเศษในเวลาอันสั้นและไปแพ้จนเป็นหายนะในรัสเซียก็ได้
บทเรียนข้อสองของผมก็คือ อย่าซื้อหุ้นถ้าไม่แน่ใจว่าจะไม่ขาดทุน หรืออย่าเข้าสนามรบโดยไม่มั่นใจว่าจะชนะแน่ นี่เป็นสิ่งที่ผมเห็นจากการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอเมริกานั้น เวลาจะบุกเข้ายึดเมืองหรือประเทศคืนและรุกเข้ายึดครองประเทศฝ่ายอักษะนั้น พวกเขาจะมีการวางแผนอย่างดีและยอมใช้เวลาค่อย ๆ “รุกคืบ” ตัวอย่างเช่น แทนที่จะบุกเข้ายุโรปทันที พวกเขากลับเริ่มโดยบุกเข้าทางอาฟริกาเหนือเพื่อที่จะต่อไปที่อิตาลีที่ค่อนข้างอ่อนแอและฝรั่งเศสจนถึงเยอรมัน เป็นต้น เช่นเดียวกัน สหรัฐเองนั้นก่อนที่จะเข้าโจมตีเกาะญี่ปุ่น อเมริกาค่อย ๆ ยึดเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรเพื่อที่จะ “ตั้งฐาน” ใกล้เกาะญี่ปุ่นเข้าไปเรื่อย ๆ และในการรบทุกครั้งนั้น อเมริกาจะทุ่มคนและอาวุธโดยเฉพาะเรือรบและเครื่องบินเข้าไปมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่นอย่างน้อย 3 เท่าเพื่อให้มั่นใจว่าชนะแน่
ในแง่ของการลงทุนนั้น ผมคิดว่าในการซื้อหุ้นเราก็ควรจะต้องประเมินอย่างรอบคอบมาก ๆ ว่า โอกาสที่เราจะชนะหรือได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ—ในระยะยาว อาจจะตั้งไว้ซัก 2-3 ปี นั้นสูงมาก ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นเราก็จะไม่ซื้อ เราจะไม่เสี่ยงที่จะซื้อหุ้นเพียงเพราะเราหวังว่าเราจะได้กำไรเร็ว ๆ ในเวลาอันสั้นแต่ความไม่แน่นอนสูง พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าดูแล้วมีโอกาสขาดทุนเนื่องจากมีปัจจัยไม่แน่นอนหลายอย่างที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง เราไม่เอา เราไม่ต้องการที่จะเข้าไป “ติดหุ้น” เหมือนอย่างที่เยอรมันเข้าไปติดอยู่ในรัสเซียเพราะกำลังทหารและสรรพาวุธไม่พอเนื่องจากระยะทางเดินทัพนั้นไกลมาก
บทเรียนสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ถ้ารู้ว่า “แพ้” ก็ต้องมีกลยุทธ์ในการ “ถอย” นี่ก็อีกเช่นกัน เป็นเรื่องของฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่าฝ่ายอักษะและรัสเซีย เหตุผลอาจจะเป็นว่าในประเทศของ “โลกเสรี” นั้น รัฐมีอำนาจจำกัดในการบังคับพลเมือง และการสั่งหรือปล่อยให้คน “สู้ตาย” นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องไม่ว่าในกรณีใด ตรงกันข้าม ฮิตเลอร์มักสั่งให้กองทัพ “ยืนหยัด” สู้ตายทั้ง ๆ ที่กำลัง “แพ้” ซึ่งทำให้กำลังทหารอ่อนแอลงไปมาก และที่ยิ่งกว่านั้นก็คือญี่ปุ่นที่ทหารส่วนใหญ่ไม่ยอมแพ้และต้องตายเกือบทั้งหมดในแทบทุกสมรภูมิ ตรงกันข้าม กลยุทธ์ในการ “หนี” ของกองทัพอังกฤษเป็นแสน ๆ คน ที่ชายหาดดังเคิร์กข้ามทะเลกลับเกาะอังกฤษ และการ “หนี” ของแมคอาเธอร์จากเกาะฟิลิปปินส์และคำพูดอมตะว่า “I shall return” นั้นเป็นกลยุทธ์ที่ดีต่อการรบในเวลาต่อมามาก และผมก็คิดเช่นเดียวกันว่า ในการลงทุนนั้น ถ้ารู้ว่าแพ้ เช่น หุ้นที่เราถืออยู่มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นฐานหรือเราคิดว่ามีโอกาสที่จะแย่ลงมากและราคาหุ้นได้ตกลงไปมาก เราก็อาจจะต้อง “ยอมแพ้” และ “หนี” คือขายหุ้นไปแม้จะขาดทุนมาก เราอาจจะ “ปลอบใจตัวเอง” ว่า I shall return ได้กำไรจากเงินที่ขายไปและไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นแทนก็ได้
การนำบทเรียนของ WW II มาใช้ในการลงทุนนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ว่าที่จริงผมยังนำมันมาใช้ในเรื่องอื่น ๆ อีกมากรวมถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ชะตากรรมของชาวยิวและเหตุผลที่มันเกิดขึ้นเตือนให้ผมรู้ว่าโลกนี้มีอันตรายมากมายที่เราต้องตระหนัก บางสิ่งบางอย่างมันก็เกินจากความคาดคิดได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมมักจะหาคำตอบว่าทำไมสังคมเยอรมันที่ประกอบไปด้วยคนที่มีความสามารถสูงและ “ฉลาด” มากสามารถก่อให้เกิดเรื่องราวทั้งสงครามและการก่ออาชญากรรมแบบนั้นได้ และคำตอบนั้นก็จะกลายมาเป็น “บทเรียน” ที่ผมจะนำมาใช้คาดการณ์หรือมองว่าสังคมของไทยและ/หรือสังคมของโลก จะไปทางไหนในอนาคตมองจากสถานะในปัจจุบัน