หลุมพราง PE / คนขายของ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 08, 2016 5:05 am
หลุมพราง PE / โดย คนขายของ
“จะเลือกหุ้นที่จะลงทุนต้องดูอะไร?” เป็นคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมือใหม่มักถามรุ่นพี่ๆในทุกยุคทุกสมัย คำตอบแบบสั้นๆกระชับรวบรัดที่มักได้ยินก็คือ “ดูค่า PE อันไหนต่ำแสดงว่าถูก” ข้อมูลนี้ดูเหมือนจะถูกถ่ายทอดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยยังไม่มีอินเตอร์เน็ต นักลงทุนต้องเปิดตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์ แล้วไล่ดูค่า PE จากตารางหุ้นแล้วเอาปากกาวงหุ้นที่ PE ต่ำทีละตัว ความเชื่อเรื่องการดูค่า PE นั้นยังถูกใช้ อ้างอิงในอีกหลายรูปแบบ เช่น PE กลุ่มอุตสาหกรรม และ PE ในอดีต เพื่อใช้หาราคาที่เหมาะสม และ มีการใช้ในบทวิเคราะห์เพื่อหาราคาเป้าหมาย บทสรุปเหล่านี้จะใช้ได้จริงหรือไม่? มีประเด็นไหนที่เป็น จุดอ่อนบ้าง? ในบทความนี้เราจะลองมาพิจารณากัน
PE คือค่าอัตราส่วนระหว่างตัวเลข 2 ตัวคือ ราคาต่อหุ้น หารด้วย กำไรต่อหุ้น ตัวเลข PE ที่เรามักเห็นใน หน้าหนังสือพิมพ์ หรือ ตามอินเตอร์เนต มักเป็นตัวเลข PE ที่ใช้ราคาปัจจุบัน หารด้วยกำไรต่อหุ้นย้อน หลังไปสี่ไตรมาส (Trailing 12 Months PE หรือ TTM PE) หากเราใช้ตัวเลขนี้เป็นหลักในการเลือกหุ้นก็อาจจะเข้าทำนอง การขับรถโดยการมองแต่กระจกมองหลัง เพราะเป็นการให้น้ำหนักกับกำไรที่ผ่านมาแล้ว โดยไม่สนใจกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น อัตราส่วน PE ที่นักลงทุนสถาบัน หรือ นักวิเคราะห์มักให้ความสำคัญมากกว่า TTM PE ก็คือ Forward PE ซึ่งเป็นการมองออกไปข้างหน้าอีก โดยเอากำไรของบริษัทที่คาดว่าจะได้ในอีก 12 เดือนข้างหน้ามาคำนวณค่า PE ซึ่งการใช้อัตราส่วนนี้น่าจะเหมาะสมกับนักลงทุนมากกว่า เพราะการลงทุนส่วนมากเป็นการซื้ออนาคตไม่ใช้อดีตที่ผ่านมาแล้ว
“PE กลุ่ม” หรือ Sector PE / Industry PE ก็เป็นอีกตัวเลขที่มีการใช้กันมาก โดยเฉพาะในบทวิเคราะห์ เพื่อหาราคาเป้าหมาย โดยใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับหุ้น IPO ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ เช่น มีบริษัทค้าปลีกใหม่เข้า มาทำการซื้อขายในตลาด ก็จะมีการอ้างอิง PE เฉลี่ยของกลุ่มค้าปลีกที่ 24 เท่า ดังนั้นหุ้น IPO นี้ก็ควรจะ มีราคาเหมาะสมที่ PE 24 เท่าด้วย แต่หากเราพิจารณาความเป็นจริงของกลุ่มค้าปลีกไทย เราจะเห็นได้ว่าแต่ละบริษัทมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน ค้าปลีกแบบค้าส่ง มีอัตรากำไรสุทธิน้อยกว่า ค้าปลีกแบบร้าน สะดวกซื้อ และ ห้างสรรพสินค้า อัตราส่วน ROI ก็ไม่เท่ากัน โอกาสการเติบโตในอนาคตก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ PE กลุ่ม เพื่อหาราคาเป้าหมายอาจไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก คล้ายกันกับว่า รอบเอวเฉลี่ย ของชายไทยอยู่ที่ 32 นิ้ว ดังนั้นหากใครไม่รู้รอบเอวตัวเองและต้องการซื้อกางเกง ก็ควรจะซื้อกางเกงเอว 32 มาใส่ ซึ่งผมคิดว่าตรรกะแบบนี้ไม่น่าจะถูกต้องเท่าไหร่นัก ทางที่ถูกคือน่าจะเอาสายวัดมาวัดเอวของ ตัวเองดีกว่า
“PE ในอดีต” หรือ Historical PE เป็นค่า PE เฉลี่ยในอดีตซึ่งมักมีการใช้เป็นตัวเลขอ้างอิงเทียบกับค่า PE ในปัจจุบันว่าราคาในตอนนี้ถูกหรือแพง การใช้ PE ในอดีตอาจพอให้เห็นภาพคร่าวๆได้ ใช้ประกอบการพิจารณาในการลงทุนได้ แต่ไม่ควรคิดว่าเป็นของศักดิ็สิทธิ์ที่จะสัมฤิทธิ์ผลทุกครั้งไป จุดอ่อนของการใช้ PE ในอดีต อยู่ที่ว่าตัวเลขนี้ไม่ได้ใส่ความละเอียดอ่อนเรื่องของ วงจรธุรกิจลงไป หรือ เรื่องของ วัฏจักรของอุตสาหกรรมลงไป เช่น PE เฉลี่ยของหุ้นของ Microsoft ในช่วงปี 1990-2000 มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ราวๆ 39 เท่า ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมคอนพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ต่อมาเมื่อ การใช้ Smart Phone และ Tablet เข้ามากินส่วนแบ่งการตลาด ทำให้ PE เฉลี่ยในช่วงปี 2005-2015 อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า ดังนั้นการที่ Microsoft ซื้อขายกันอยู่ต่ำกว่า PE ในอดีตก็เป็นเรื่องที่สมเหตุผล ไม่ได้หมายความว่าหุ้น Microsoft ราคาถูกน่าซื้อลงทุนแต่อย่างใด
การวิเคราะห์หุ้นนั้นแบ่งเป็นหลักๆได้สองแบบ คือ หนึ่ง การวิเคราะห์แบบเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นเรื่องความ สามารถในการแข่งขัน, พลวัตในอุตสากรรม และ อำนาจต่อรองของบริษัทที่มีต่อคู่ค้า และ สองการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งเน้นเรื่องอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น PE, PBV, ROE เป็นต้น การวิเคราะห์หุ้นที่ดีนั้นควรใช้การวิเคราะห์ทั้งสองอย่างประกอบกัน การใช้ค่า PE นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์เชิงปริมาณเท่านั้น นักลงทุนควรพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆประกอบการตัดสินใจด้วย ตัวอย่างที่ดีของการวิเคราะห์หุ้นนั้น สามารถดูได้จาก “ความเห็นที่ปรึกษาการเงินอิสระเกี่ยวกับ รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์” ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องจัดทำให้ผู้ถือหุ้นเวลามีการซื้อขายกิจการ (M&A) แล้วเราจะได้เห็นว่าการวิเคราะห์อย่างมืออาชีพจริงๆนั้นเป็นอย่างไร
“จะเลือกหุ้นที่จะลงทุนต้องดูอะไร?” เป็นคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมือใหม่มักถามรุ่นพี่ๆในทุกยุคทุกสมัย คำตอบแบบสั้นๆกระชับรวบรัดที่มักได้ยินก็คือ “ดูค่า PE อันไหนต่ำแสดงว่าถูก” ข้อมูลนี้ดูเหมือนจะถูกถ่ายทอดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยยังไม่มีอินเตอร์เน็ต นักลงทุนต้องเปิดตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์ แล้วไล่ดูค่า PE จากตารางหุ้นแล้วเอาปากกาวงหุ้นที่ PE ต่ำทีละตัว ความเชื่อเรื่องการดูค่า PE นั้นยังถูกใช้ อ้างอิงในอีกหลายรูปแบบ เช่น PE กลุ่มอุตสาหกรรม และ PE ในอดีต เพื่อใช้หาราคาที่เหมาะสม และ มีการใช้ในบทวิเคราะห์เพื่อหาราคาเป้าหมาย บทสรุปเหล่านี้จะใช้ได้จริงหรือไม่? มีประเด็นไหนที่เป็น จุดอ่อนบ้าง? ในบทความนี้เราจะลองมาพิจารณากัน
PE คือค่าอัตราส่วนระหว่างตัวเลข 2 ตัวคือ ราคาต่อหุ้น หารด้วย กำไรต่อหุ้น ตัวเลข PE ที่เรามักเห็นใน หน้าหนังสือพิมพ์ หรือ ตามอินเตอร์เนต มักเป็นตัวเลข PE ที่ใช้ราคาปัจจุบัน หารด้วยกำไรต่อหุ้นย้อน หลังไปสี่ไตรมาส (Trailing 12 Months PE หรือ TTM PE) หากเราใช้ตัวเลขนี้เป็นหลักในการเลือกหุ้นก็อาจจะเข้าทำนอง การขับรถโดยการมองแต่กระจกมองหลัง เพราะเป็นการให้น้ำหนักกับกำไรที่ผ่านมาแล้ว โดยไม่สนใจกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น อัตราส่วน PE ที่นักลงทุนสถาบัน หรือ นักวิเคราะห์มักให้ความสำคัญมากกว่า TTM PE ก็คือ Forward PE ซึ่งเป็นการมองออกไปข้างหน้าอีก โดยเอากำไรของบริษัทที่คาดว่าจะได้ในอีก 12 เดือนข้างหน้ามาคำนวณค่า PE ซึ่งการใช้อัตราส่วนนี้น่าจะเหมาะสมกับนักลงทุนมากกว่า เพราะการลงทุนส่วนมากเป็นการซื้ออนาคตไม่ใช้อดีตที่ผ่านมาแล้ว
“PE กลุ่ม” หรือ Sector PE / Industry PE ก็เป็นอีกตัวเลขที่มีการใช้กันมาก โดยเฉพาะในบทวิเคราะห์ เพื่อหาราคาเป้าหมาย โดยใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับหุ้น IPO ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ เช่น มีบริษัทค้าปลีกใหม่เข้า มาทำการซื้อขายในตลาด ก็จะมีการอ้างอิง PE เฉลี่ยของกลุ่มค้าปลีกที่ 24 เท่า ดังนั้นหุ้น IPO นี้ก็ควรจะ มีราคาเหมาะสมที่ PE 24 เท่าด้วย แต่หากเราพิจารณาความเป็นจริงของกลุ่มค้าปลีกไทย เราจะเห็นได้ว่าแต่ละบริษัทมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน ค้าปลีกแบบค้าส่ง มีอัตรากำไรสุทธิน้อยกว่า ค้าปลีกแบบร้าน สะดวกซื้อ และ ห้างสรรพสินค้า อัตราส่วน ROI ก็ไม่เท่ากัน โอกาสการเติบโตในอนาคตก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ PE กลุ่ม เพื่อหาราคาเป้าหมายอาจไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก คล้ายกันกับว่า รอบเอวเฉลี่ย ของชายไทยอยู่ที่ 32 นิ้ว ดังนั้นหากใครไม่รู้รอบเอวตัวเองและต้องการซื้อกางเกง ก็ควรจะซื้อกางเกงเอว 32 มาใส่ ซึ่งผมคิดว่าตรรกะแบบนี้ไม่น่าจะถูกต้องเท่าไหร่นัก ทางที่ถูกคือน่าจะเอาสายวัดมาวัดเอวของ ตัวเองดีกว่า
“PE ในอดีต” หรือ Historical PE เป็นค่า PE เฉลี่ยในอดีตซึ่งมักมีการใช้เป็นตัวเลขอ้างอิงเทียบกับค่า PE ในปัจจุบันว่าราคาในตอนนี้ถูกหรือแพง การใช้ PE ในอดีตอาจพอให้เห็นภาพคร่าวๆได้ ใช้ประกอบการพิจารณาในการลงทุนได้ แต่ไม่ควรคิดว่าเป็นของศักดิ็สิทธิ์ที่จะสัมฤิทธิ์ผลทุกครั้งไป จุดอ่อนของการใช้ PE ในอดีต อยู่ที่ว่าตัวเลขนี้ไม่ได้ใส่ความละเอียดอ่อนเรื่องของ วงจรธุรกิจลงไป หรือ เรื่องของ วัฏจักรของอุตสาหกรรมลงไป เช่น PE เฉลี่ยของหุ้นของ Microsoft ในช่วงปี 1990-2000 มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ราวๆ 39 เท่า ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมคอนพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ต่อมาเมื่อ การใช้ Smart Phone และ Tablet เข้ามากินส่วนแบ่งการตลาด ทำให้ PE เฉลี่ยในช่วงปี 2005-2015 อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า ดังนั้นการที่ Microsoft ซื้อขายกันอยู่ต่ำกว่า PE ในอดีตก็เป็นเรื่องที่สมเหตุผล ไม่ได้หมายความว่าหุ้น Microsoft ราคาถูกน่าซื้อลงทุนแต่อย่างใด
การวิเคราะห์หุ้นนั้นแบ่งเป็นหลักๆได้สองแบบ คือ หนึ่ง การวิเคราะห์แบบเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นเรื่องความ สามารถในการแข่งขัน, พลวัตในอุตสากรรม และ อำนาจต่อรองของบริษัทที่มีต่อคู่ค้า และ สองการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งเน้นเรื่องอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น PE, PBV, ROE เป็นต้น การวิเคราะห์หุ้นที่ดีนั้นควรใช้การวิเคราะห์ทั้งสองอย่างประกอบกัน การใช้ค่า PE นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์เชิงปริมาณเท่านั้น นักลงทุนควรพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆประกอบการตัดสินใจด้วย ตัวอย่างที่ดีของการวิเคราะห์หุ้นนั้น สามารถดูได้จาก “ความเห็นที่ปรึกษาการเงินอิสระเกี่ยวกับ รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์” ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องจัดทำให้ผู้ถือหุ้นเวลามีการซื้อขายกิจการ (M&A) แล้วเราจะได้เห็นว่าการวิเคราะห์อย่างมืออาชีพจริงๆนั้นเป็นอย่างไร