ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
- ichbinpao
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 794
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 3
ข่าวออกมาละครับ
(เพิ่มเติม) ครม. ไฟเขียว พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บบ้านราคาสูงกว่า 50 ลบ.ขึ้นไป 0.05-0.1% ส่วนหลัง 2 ล้านแรกเก็บ 0.03-0.30% คาดประกาศใช้ปี 60
FONT
SHARE
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -7 มิ.ย. 59 16:28 น.
ครม. อนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บบ้านหลังแรกสูงกว่า 50 ลบ. อัตรา 0.05-0.1% ส่วนต่ำกว่า 50 ลบ.เว้นภาษี ขณะที่บ้านหลังที่ 2 เก็บล้านบาทแรก 0.03-0.30% ด้านที่ดินว่างเปล่าเก็บในอัตรา 1-3% ส่วนที่อยู่อาศัยที่เป็นมรดกแต่เกิน 50 ลบ. หรือเป็นบ้านหลังที่ 2 จะลดภาษีให้ 50% หากโอนก่อนพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ประกาศใช้ รมว. คลังหวังเพิ่มรายได้เข้าอปท. เป็น 6.4 หมื่นลบ./ปี จากเดิม 3 หมื่นลบ./ปี หวัง พ.ร.บ. ประกาศใช้ในปี 2560 ยืนยันประชาชน 99.96% ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พบมีบ้านที่เข้าเกณฑ์จำนวนเพียง 8,556 หลัง หรือ 0.04%
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างกฎหมายที่เสนอนี้ไม่ใช่การเก็บภาษีใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ของตน ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้เกิดการกระจาย การถือครองที่ดิน และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สินได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่ ประกอบด้วย ที่ดินเกษตรกรรม มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.2% แต่ให้ยกเว้นมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี ส่วนที่ดินที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไปคิดอัตราภาษี 0.1% ด้านที่อยู่อาศัย มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.5% แต่ให้ยกเว้นมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนที่บ้านหลังที่ 2 ให้มีการจัดเก็บตามอัตราขั้นบันได โดยจัดเก็บตั้งแต่ 1 ล้านบาทแรกคิดอัตราภาษี 0.03% ขึ้นไป แต่หากมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 100 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3% ส่วนที่ดินเพื่อการพาณิชกรรม มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 2% โดยมูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 20 ล้านบาท เก็บในอัตรา 0.3% ถึงมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 3,000 ล้่านบาท จัดเก็บในอัตรา 1.5% และที่รกร้างว่างเปล่า มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 5% แต่กำหนดเก็บในปีที่ 1-3 ในอัตรา 1% ปีที่ 4-6 ในอัตรา 2% และปีที่ 7 ขึ้นไปในอัตรา 3%
นายอภิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ฉบับใหม่ จะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและทำให้เกิดความเป็นธรรมในการเก็บภาษี รวมถึงท้องถิ่นได้เม็ดเงินรายได้ภาษีมากขึ้น เฉลี่ย 64,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ได้ประมาณ 30,000 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้หลังจากนี้จะเสนอหลักการดังกล่าวให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา หากไม่มีการปรับแก้ไขมาก กระทรวงการคลังพยายามจะผลักดันให้มีการบังคับใช้ให้ทันภายในเดือนมกราคม 2560
ทั้งนี้ยืนยันประชาชน 99.96% จะไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และจะไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเสียภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยที่จะเกิน 50 ล้านบาท มีจำนวนเพียง 8,556 หลัง หรือ 0.04% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพและเมืองใหญ่
พร้อมกันนี้ครม.ยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาปรับลดหรือยกเว้นภาษีเหล่านี้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขึ้น ซึ่งจะมีการประกาศตามแต่ละพื้นที่
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
3. หน่วยงานจัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้จะเป็นของ อปท. ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ
4. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
5. ฐานภาษี ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
6. อัตราภาษีที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ จะเป็นอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะจัดแบ่งอัตราภาษีดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน คือ (1) กรณีใช้เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 (2) กรณี ใช้เพื่อเป็นที่พักอาศัย ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 และ (3) กรณีใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ (เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น) ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ในส่วนของที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน กำหนดอัตราภาษีสูงสุดในกฎหมายให้ อปท. เรียกเก็บภาษีสำหรับที่ดินดังกล่าวในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ของฐานภาษี
7. ยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น
8. อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดเป็นอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี้
(1) เกษตรกรรม ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี
(2) ที่พักอาศัยหลัก ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่ร้อยละ 0.05 ถึงร้อยละ 0.1 และที่พักอาศัยหลังอื่น ตั้งแต่ร้อยละ 0.03 ถึง ร้อยละ 0.3 ของฐานภาษี
(3) ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ร้อยละ 0.3 ถึง ร้อยละ 1.5 ของฐานภาษี
(4) ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดินจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี ตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 3 ของฐานภาษี โดยปีที่ 1-3 จะเก็บร้อยละ 1 ปีที่ 4-6 จะเก็บ ร้อยละ 2 และปีที่ 7 ขึ้นไป จะเก็บร้อยละ 3
9. การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการบรรเทาภาระให้กับเจ้าของบ้านพักอาศัยหลักที่ได้มาจากการรับมรดก ผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ และกิจการสาธารณะ ดังนี้
9.1 ในกรณีที่เจ้าของบ้านพักอาศัยหลักได้รับกรรมสิทธิ์บ้านหลังดังกล่าวมาจากการรับมรดกก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะมีการบรรเทาภาษีให้ โดยการลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 50 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
9.2 ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 1 ปี ให้กับที่ดินที่อยู่ระหว่างการปลูกสร้างบ้านที่เจ้าของใช้เป็นบ้านของตนเอง
9.3 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี สำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย ที่นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของ เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
9.4 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี สำหรับอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน เป็นระยะเวลา 5 ปี
9.5 ให้ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย สำหรับกิจการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น
10. นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นสามารถขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อลดหรือยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนได้ เช่น เกิดภัยพิบัติ หรืออาคาร บ้านเรือนเกิดเสียหายหรือถูกทำลาย
ทั้งนี้ ได้กำหนดบทเฉพาะกาลให้กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งถูกยกเลิกโดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป สำหรับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสียหรือพึงชำระหรือที่ค้างอยู่หรือที่ต้องคืนก่อนที่จะเริ่มมีการบังคับใช้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างพระบัญญัติดังกล่าว
(เพิ่มเติม) ครม. ไฟเขียว พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บบ้านราคาสูงกว่า 50 ลบ.ขึ้นไป 0.05-0.1% ส่วนหลัง 2 ล้านแรกเก็บ 0.03-0.30% คาดประกาศใช้ปี 60
FONT
SHARE
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -7 มิ.ย. 59 16:28 น.
ครม. อนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บบ้านหลังแรกสูงกว่า 50 ลบ. อัตรา 0.05-0.1% ส่วนต่ำกว่า 50 ลบ.เว้นภาษี ขณะที่บ้านหลังที่ 2 เก็บล้านบาทแรก 0.03-0.30% ด้านที่ดินว่างเปล่าเก็บในอัตรา 1-3% ส่วนที่อยู่อาศัยที่เป็นมรดกแต่เกิน 50 ลบ. หรือเป็นบ้านหลังที่ 2 จะลดภาษีให้ 50% หากโอนก่อนพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ประกาศใช้ รมว. คลังหวังเพิ่มรายได้เข้าอปท. เป็น 6.4 หมื่นลบ./ปี จากเดิม 3 หมื่นลบ./ปี หวัง พ.ร.บ. ประกาศใช้ในปี 2560 ยืนยันประชาชน 99.96% ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พบมีบ้านที่เข้าเกณฑ์จำนวนเพียง 8,556 หลัง หรือ 0.04%
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างกฎหมายที่เสนอนี้ไม่ใช่การเก็บภาษีใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ของตน ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้เกิดการกระจาย การถือครองที่ดิน และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สินได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่ ประกอบด้วย ที่ดินเกษตรกรรม มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.2% แต่ให้ยกเว้นมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี ส่วนที่ดินที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไปคิดอัตราภาษี 0.1% ด้านที่อยู่อาศัย มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.5% แต่ให้ยกเว้นมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนที่บ้านหลังที่ 2 ให้มีการจัดเก็บตามอัตราขั้นบันได โดยจัดเก็บตั้งแต่ 1 ล้านบาทแรกคิดอัตราภาษี 0.03% ขึ้นไป แต่หากมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 100 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3% ส่วนที่ดินเพื่อการพาณิชกรรม มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 2% โดยมูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 20 ล้านบาท เก็บในอัตรา 0.3% ถึงมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 3,000 ล้่านบาท จัดเก็บในอัตรา 1.5% และที่รกร้างว่างเปล่า มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 5% แต่กำหนดเก็บในปีที่ 1-3 ในอัตรา 1% ปีที่ 4-6 ในอัตรา 2% และปีที่ 7 ขึ้นไปในอัตรา 3%
นายอภิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ฉบับใหม่ จะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและทำให้เกิดความเป็นธรรมในการเก็บภาษี รวมถึงท้องถิ่นได้เม็ดเงินรายได้ภาษีมากขึ้น เฉลี่ย 64,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ได้ประมาณ 30,000 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้หลังจากนี้จะเสนอหลักการดังกล่าวให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา หากไม่มีการปรับแก้ไขมาก กระทรวงการคลังพยายามจะผลักดันให้มีการบังคับใช้ให้ทันภายในเดือนมกราคม 2560
ทั้งนี้ยืนยันประชาชน 99.96% จะไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และจะไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเสียภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยที่จะเกิน 50 ล้านบาท มีจำนวนเพียง 8,556 หลัง หรือ 0.04% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพและเมืองใหญ่
พร้อมกันนี้ครม.ยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาปรับลดหรือยกเว้นภาษีเหล่านี้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขึ้น ซึ่งจะมีการประกาศตามแต่ละพื้นที่
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
3. หน่วยงานจัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้จะเป็นของ อปท. ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ
4. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
5. ฐานภาษี ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
6. อัตราภาษีที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ จะเป็นอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะจัดแบ่งอัตราภาษีดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน คือ (1) กรณีใช้เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 (2) กรณี ใช้เพื่อเป็นที่พักอาศัย ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 และ (3) กรณีใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ (เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น) ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ในส่วนของที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน กำหนดอัตราภาษีสูงสุดในกฎหมายให้ อปท. เรียกเก็บภาษีสำหรับที่ดินดังกล่าวในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ของฐานภาษี
7. ยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น
8. อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดเป็นอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี้
(1) เกษตรกรรม ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี
(2) ที่พักอาศัยหลัก ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่ร้อยละ 0.05 ถึงร้อยละ 0.1 และที่พักอาศัยหลังอื่น ตั้งแต่ร้อยละ 0.03 ถึง ร้อยละ 0.3 ของฐานภาษี
(3) ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ร้อยละ 0.3 ถึง ร้อยละ 1.5 ของฐานภาษี
(4) ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดินจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี ตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 3 ของฐานภาษี โดยปีที่ 1-3 จะเก็บร้อยละ 1 ปีที่ 4-6 จะเก็บ ร้อยละ 2 และปีที่ 7 ขึ้นไป จะเก็บร้อยละ 3
9. การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการบรรเทาภาระให้กับเจ้าของบ้านพักอาศัยหลักที่ได้มาจากการรับมรดก ผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ และกิจการสาธารณะ ดังนี้
9.1 ในกรณีที่เจ้าของบ้านพักอาศัยหลักได้รับกรรมสิทธิ์บ้านหลังดังกล่าวมาจากการรับมรดกก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะมีการบรรเทาภาษีให้ โดยการลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 50 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
9.2 ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 1 ปี ให้กับที่ดินที่อยู่ระหว่างการปลูกสร้างบ้านที่เจ้าของใช้เป็นบ้านของตนเอง
9.3 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี สำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย ที่นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของ เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
9.4 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี สำหรับอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน เป็นระยะเวลา 5 ปี
9.5 ให้ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย สำหรับกิจการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น
10. นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นสามารถขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อลดหรือยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนได้ เช่น เกิดภัยพิบัติ หรืออาคาร บ้านเรือนเกิดเสียหายหรือถูกทำลาย
ทั้งนี้ ได้กำหนดบทเฉพาะกาลให้กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งถูกยกเลิกโดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป สำหรับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสียหรือพึงชำระหรือที่ค้างอยู่หรือที่ต้องคืนก่อนที่จะเริ่มมีการบังคับใช้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างพระบัญญัติดังกล่าว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 5
- แล้วอาคารพาณิชย์ ที่ข้างล่างเป็นร้านขายของ แต่ข้างบนบ้านเป็นที่อยู่อาศัย
คิดภาษียังไงครับ
- แต่ที่แน่ๆ ธุรกิจในหาดใหญ่จะกลับบ้านเก่าจำนวนมาก
เพราะ ราคาประเมินที่ดินหาดใหญ่แพงมากๆ ระดับรองจากกรุงเทพฯชั้นในเท่านั้น
แต่ค่าเช่าต่างๆ ไม่ได้คุ้มกับราคาที่ดินเลย และการทำธุรกิจต่างๆ ก็ไม่ได้มีกำไรเยอะ
แบบเดียวกับกรุงเทพฯ แต่ราคาที่ดินพุ่งขึ้นสูงเพราะเป็นการเก็งกำไรในกลุ่ม
นายทุนทั้งหลาย ซื้อแพงเพื่อขายแพงต่อ
การทำธุรกิจค้าขายแล้วจ่ายภาษีที่ดินตามราคาประเมินในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
จึงแทบเป็นไปไม่ได้ ราคาที่ดินที่ซื้อมาเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนไร่ละแค่หลักหมื่นหลักแสน
เท่านั้น ปัจจุบันไร่ละสี่สิบห้าสิบถึงแปดสิบล้านบาท (ราคาประเมินกรมที่ดินนะครับผม)
ไม่ต้องคิดอาคารที่ตั้งอยู่ แค่นี้ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่ 4 แสนบาทถึง 8 แสนบาทต่อไร่แล้วครับ
โชว์รูมรถยนต์ขนาดกลางๆ ก็มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ เสียภาษีเฉพาะที่ดินยังไม่รวมอาคาร
(ซึ่งก็ต้องนำมาคิดรวมด้วย) ก็ 8 แสนถึง 1.6 ล้านบาท ต่อปีนะครับ ธุรกิจในหาดใหญ่
ในปัจจุบันที่จริงยังด้อยกว่าเขตรอบนอกหรือชานเมืองกรุงเทพฯ มากครับ กำลังซื้อมันต่าง
กันมหาศาล
ผมเคยคิดเล่นว่า ถ้าอย่างนั้น ผมขอให้รัฐบาลซื้อที่ดินและอาคารของคนหาดใหญ่ไปใน
ราคาที่รัฐบาลประเมินเลยครับ เพื่อเป็นทางออกให้กับคนหาดใหญ่
คิดภาษียังไงครับ
- แต่ที่แน่ๆ ธุรกิจในหาดใหญ่จะกลับบ้านเก่าจำนวนมาก
เพราะ ราคาประเมินที่ดินหาดใหญ่แพงมากๆ ระดับรองจากกรุงเทพฯชั้นในเท่านั้น
แต่ค่าเช่าต่างๆ ไม่ได้คุ้มกับราคาที่ดินเลย และการทำธุรกิจต่างๆ ก็ไม่ได้มีกำไรเยอะ
แบบเดียวกับกรุงเทพฯ แต่ราคาที่ดินพุ่งขึ้นสูงเพราะเป็นการเก็งกำไรในกลุ่ม
นายทุนทั้งหลาย ซื้อแพงเพื่อขายแพงต่อ
การทำธุรกิจค้าขายแล้วจ่ายภาษีที่ดินตามราคาประเมินในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
จึงแทบเป็นไปไม่ได้ ราคาที่ดินที่ซื้อมาเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนไร่ละแค่หลักหมื่นหลักแสน
เท่านั้น ปัจจุบันไร่ละสี่สิบห้าสิบถึงแปดสิบล้านบาท (ราคาประเมินกรมที่ดินนะครับผม)
ไม่ต้องคิดอาคารที่ตั้งอยู่ แค่นี้ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่ 4 แสนบาทถึง 8 แสนบาทต่อไร่แล้วครับ
โชว์รูมรถยนต์ขนาดกลางๆ ก็มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ เสียภาษีเฉพาะที่ดินยังไม่รวมอาคาร
(ซึ่งก็ต้องนำมาคิดรวมด้วย) ก็ 8 แสนถึง 1.6 ล้านบาท ต่อปีนะครับ ธุรกิจในหาดใหญ่
ในปัจจุบันที่จริงยังด้อยกว่าเขตรอบนอกหรือชานเมืองกรุงเทพฯ มากครับ กำลังซื้อมันต่าง
กันมหาศาล
ผมเคยคิดเล่นว่า ถ้าอย่างนั้น ผมขอให้รัฐบาลซื้อที่ดินและอาคารของคนหาดใหญ่ไปใน
ราคาที่รัฐบาลประเมินเลยครับ เพื่อเป็นทางออกให้กับคนหาดใหญ่
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 313
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 6
ระยะยาวภาษีที่ดินและมรดก...จะถูกวนมาเก็บที่ชนชั้นกลาง ค่าเช่าห้องในเมืองจะสูงขึ้น , ราคาบ้านจะสูงขึ้น
คนจะนิยมเก็บเงินสดไม่สะสมทรัพย์สิน..เมื่อเกิดวิกฤตการเงิน..เงินจะไม่มีค่าทรัพย์สินก็ไม่มี...ย้อมกลับไปที่รัฐบาลอีกครั้ง
คนจะนิยมเก็บเงินสดไม่สะสมทรัพย์สิน..เมื่อเกิดวิกฤตการเงิน..เงินจะไม่มีค่าทรัพย์สินก็ไม่มี...ย้อมกลับไปที่รัฐบาลอีกครั้ง
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 7
รอดูตัวจริงๆครับกับการใช้งาน
เพราะ ผู้ที่เดือดร้อนสุดคือ ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์นี้เป็นเหมือนเสาหลักของเศรษฐกิจ
ได้รับการปกป้องมานาน ไม่รู้ว่าคราวนี้ยกเว้นไหม
ธนาคารพาณิชย์โดน NPA,NPL เป็นตัวใหญ่เลย
ดังนั้นทางปฏิบัติน่าจะมีทางออกให้
เพราะ ผู้ที่เดือดร้อนสุดคือ ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์นี้เป็นเหมือนเสาหลักของเศรษฐกิจ
ได้รับการปกป้องมานาน ไม่รู้ว่าคราวนี้ยกเว้นไหม
ธนาคารพาณิชย์โดน NPA,NPL เป็นตัวใหญ่เลย
ดังนั้นทางปฏิบัติน่าจะมีทางออกให้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 8
คุยกัน มีคนถามว่า ทำไมผมมีบ้านสองหลัง
ราคารวมกันไม่ถึงสิบล้าน ต้องเสียภาษี อีกคน
มีบ้านหลังเดียวราคา 50 ล้านไม่ต้องเสีย
นั่นสินะ
ลองคิดดูคนต่างจังหวัด มาซื้อคอนโดเล็กให้ลูกเรียน
หนังสือที่กรุงเทพฯ ต้องเสียภาษี เพราะเป็นบ้านหลังที่สอง
คณะรัฐมนตรี เค้าใช้อะไรคิดครับ ออกมาได้ยังไง
ผมเห็นกับกฎหมายภาษีที่ดินใหม่ที่ต้องปรับปรุงแต่
ไม่ใช่ออกมาแบบนี้ ห่วยมากๆ ผมคิดว่า ก.ม.
ฉบับนี้ จะพังเศรษฐกิจของประเทศชาติยิ่งกว่า
300 บาททั่วไทวอีก
ราคารวมกันไม่ถึงสิบล้าน ต้องเสียภาษี อีกคน
มีบ้านหลังเดียวราคา 50 ล้านไม่ต้องเสีย
นั่นสินะ
ลองคิดดูคนต่างจังหวัด มาซื้อคอนโดเล็กให้ลูกเรียน
หนังสือที่กรุงเทพฯ ต้องเสียภาษี เพราะเป็นบ้านหลังที่สอง
คณะรัฐมนตรี เค้าใช้อะไรคิดครับ ออกมาได้ยังไง
ผมเห็นกับกฎหมายภาษีที่ดินใหม่ที่ต้องปรับปรุงแต่
ไม่ใช่ออกมาแบบนี้ ห่วยมากๆ ผมคิดว่า ก.ม.
ฉบับนี้ จะพังเศรษฐกิจของประเทศชาติยิ่งกว่า
300 บาททั่วไทวอีก
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 9
บ้านหลังที่ 2 เห็นด้วยครับว่าไม่น่าเก็บ บางคนจำเป็นต้องมี แล้วพาณิชย์นี่เก็บซ้ำซ้อนกับภาษีโรงเรือนหรือปล่าวครับ ภาษีโรงเรือนนี่ก็โหดอยู่แล้วนะครับ12.5% แต่เห้นด้วยกับกฏหมายนะที่ว่างเปล่าเยอะแยะปล่อยทิ้งร้างเห็นแล้วเสียดายโอกาส มันไม่ใช่เจ้าของคนเดียวแต่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเมืองได้เลย บางคนเคยคุยให้ผมฟังว่ามีที่ดินอยู่ครึ่งจังหวัด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 10
ภาษีโรงเรือนยกเลิกไปเลยครับ ก.ม.ใหม่มาแทนI_Jay เขียน:บ้านหลังที่ 2 เห็นด้วยครับว่าไม่น่าเก็บ บางคนจำเป็นต้องมี แล้วพาณิชย์นี่เก็บซ้ำซ้อนกับภาษีโรงเรือนหรือปล่าวครับ ภาษีโรงเรือนนี่ก็โหดอยู่แล้วนะครับ12.5% แต่เห้นด้วยกับกฏหมายนะที่ว่างเปล่าเยอะแยะปล่อยทิ้งร้างเห็นแล้วเสียดายโอกาส มันไม่ใช่เจ้าของคนเดียวแต่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเมืองได้เลย บางคนเคยคุยให้ผมฟังว่ามีที่ดินอยู่ครึ่งจังหวัด
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- neuhiran
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 817
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์ที่ 11
มีรัฐบาลใหม่แล้วลงชื่อคัดค้านได้มั๊ยครับ ถ้าเราไม่พอใจ
ถ้าได้ละดีเลย ผมจะคัดค้านเรื่อง กฎหมายคุ้มครองสัตว์น่ะ ปากซอยบ้านผมมีหมาจรจัดเยอะมาก
เดินไม่ดีจะโดนรุมกันตายเอา
ถ้าได้ละดีเลย ผมจะคัดค้านเรื่อง กฎหมายคุ้มครองสัตว์น่ะ ปากซอยบ้านผมมีหมาจรจัดเยอะมาก
เดินไม่ดีจะโดนรุมกันตายเอา