“เก่งหรือโชคดี ? ลงทุนยังไงไม่หลอกตัวเอง”/road to billion
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
“เก่งหรือโชคดี ? ลงทุนยังไงไม่หลอกตัวเอง”/road to billion
โพสต์ที่ 1
ในโลกของการลงทุน โชคเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับการแข่งขันต่างๆ โชคมีผลต่อผลลัพธ์ที่ออกมาไม่มากก็น้อย Micahel Mauboussin หัวหน้าของทีมกลยุทธ์ของ Credit Suisse เคยกล่าวไว้ในหนังสือ Success Equation ว่า ”โชคมีผลต่อการลงทุนค่อนข้างมาก ต่างกับกีฬาอย่างหมากรุกหรือบาสเก็ตบอลที่โชคมีผลน้อยกว่า” นี่คือเหตุผลที่ทำให้เรามักจะเห็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ “โชคดี” ได้ผลตอบแทนหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ในขณะที่นักลงทุนชั้นเซียนอาจจะมีผลตอบแทนติดลบ
แต่ปัจจัยของ “โชค” จะมีผลน้อยลงมากถ้าเวลาผ่านไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมนักลงทุนอย่าง Buffett ที่มี Track Record กว่า 60 ปี (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Buffett Partnership ในปี 1956) จึงเป็นที่นับถืออย่างมาก เพราะระยะเวลานานขนาดนั้น ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง ก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนแบบน่าเหลือเชื่อได้ เรียกได้ว่าถ้าแค่ “โชคดี” คงอยู่มาไม่ได้นานขนาดนี้
(Credit รูป จากหนังสือ Success Equation)
แต่ เนื่องจากมนุษย์ส่วนมากมีแนวโน้มที่จะคิดว่าตัวเองเก่งกว่าความเป็นจริง การที่เราจะประเมินผลลัพธ์การลงทุนของตัวเอง จำเป็นต้องมีตัวเลขและข้อมูลเข้ามาประกอบ (ใช้ Hard Facts vs. Opinion) ซึ่งสามารถทำได้โดยการคำนวณ NAV อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และใช้ NAV ตัวนี้เพื่อวัดผลตอบแทน
วิธีคำนวณ NAV แบบง่ายๆ
1. กำหนดวัน และความถี่ในการคำนวณ NAV อย่างน้อยที่สุดต้องทำปีละ 1 ครั้ง แต่ส่วนตัวผมทำเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับนักลงทุนส่วนมาก ที่ไม่ได้ลงทุนเต็มเวลา ควรทำ NAV อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพราะจะได้ทำการปรับพอร์ตตามผลประกอบการในแต่ละไตรมาสได้ทันท่วงที
2. คำนวณ มูลค่าทรัพย์สินในพอร์ต (หุ้น เงินปันผล เงินสด) หักออกด้วยหนี้สิน (Margin Loan, เงินที่ยืมมาสำหรับการลงทุน) แล้วก็นำยอดรวมมาหาร 100 บาท (ค่า NAV เริ่มต้น) จะได้เท่ากับจำนวนหน่วยของ NAV ที่เรามี ณ วันเริ่มต้น สมมติเราคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิได้ 500,000 บาท เราก็จะมีทั้งหมด 5,000 หน่วย หน่วยละ 100 บาท
3. เมื่อเราเติมเงิน หรือ ถอนเงินไปใช้ เราจะต้องทำการขายหน่วย ณ NAV วันที่ถอนหรือลงทุนเพิ่ม ยกตัวอย่างต่อจากข้อที่แล้ว สมมติว่าเวลาผ่านไป 3 เดือน พอร์ตมีกำไร มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 750,000 บาท NAV จะกลายเป็น 150 บาท โดยที่มีจำนวนหน่วย 5,000 หน่วยเท่าเดิม แต่ถ้าเราจะเติมเงิน 300,000 บาท เราจะได้หน่วยเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 + (300,000 / 150) = 7,000 หน่วย แต่ NAV จะเท่าเดิมที่ 150 บาท
วิธีการนี้จะทำได้เราสามารถวัด ผลตอบแทนได้แม่นยำ ไม่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนเพิ่มหรือถอนเงินออก พอเราได้ตัวเลขนี้แล้วเราก็นำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบกับดัชนีเทียบวัด (Benchmark) ถ้าเราลงทุนหุ้นไทยก็ใช้ SET หรือ SET TRI (SET Total Return Index ดัชนีผลตอบแทนรวม ซึ่งจะรวมปันผลเข้าไปด้วย เป็นดัชนีเทียบวัดที่ผมว่าน่าจะถูกต้องกว่า หาข้อมูลได้ในเวบของตลาดหลักทรัพย์ฯครับ)
ถ้าผลตอบแทนดีกว่า ตลาดก็ควรจะมีความสุขกับมัน อย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราได้มากกว่าก็จะทะนงตัวแบบไม่จำเป็น ได้น้อยกว่าเพื่อนก็กลุ้มใจ ดูแล้วไม่มีประโยชน์เลย แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลตอบแทน NAV ของเราแพ้ตลาด ก็ต้องมาดูว่าเราทำ “เหตุ” หรือกระบวนการการลงทุนของเราได้ดีหรือยัง จะศึกษาเพิ่มเติมหรือว่าปรับปรุงแก้ไขตรงไหน เรียนรู้จากข้อผิดพลาด แต่บางครั้งเราทำ “เหตุ” ได้ดีแล้ว แต่ “ผล” ก็ยังออกมาไม่เป็นใจ แบบนี้ก็ต้องทำใจ อดทนรอ เพราะถ้าเรามีกระบวนการลงทุนที่ดีแล้ว ในที่สุดเราก็จะสามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว
อย่างที่ปรมาจารย์ด้านการจัดการ Peter Drucker เคยบอกครับ
“ What gets measures, gets managed”
อะไรที่สามารถวัดผลได้ ก็สามารถจัดการได้
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ
บอล Road to Billion
ปล. ตอนนี้มีโบรคเกอร์บางแหล่งมีระบบการวัด NAV อยู่ในเวบไซต์เลย ไม่ต้องคำนวณแถมทำกราฟเปรียบเทียบกับ SET ได้อีกด้วย ก็สะดวกดีครับ ผมเองไม่อยากเอ่ยชื่อ ลองหาดูแล้วกันนะครับ
แต่ปัจจัยของ “โชค” จะมีผลน้อยลงมากถ้าเวลาผ่านไป นี่คือเหตุผลว่าทำไมนักลงทุนอย่าง Buffett ที่มี Track Record กว่า 60 ปี (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Buffett Partnership ในปี 1956) จึงเป็นที่นับถืออย่างมาก เพราะระยะเวลานานขนาดนั้น ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง ก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนแบบน่าเหลือเชื่อได้ เรียกได้ว่าถ้าแค่ “โชคดี” คงอยู่มาไม่ได้นานขนาดนี้
(Credit รูป จากหนังสือ Success Equation)
แต่ เนื่องจากมนุษย์ส่วนมากมีแนวโน้มที่จะคิดว่าตัวเองเก่งกว่าความเป็นจริง การที่เราจะประเมินผลลัพธ์การลงทุนของตัวเอง จำเป็นต้องมีตัวเลขและข้อมูลเข้ามาประกอบ (ใช้ Hard Facts vs. Opinion) ซึ่งสามารถทำได้โดยการคำนวณ NAV อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และใช้ NAV ตัวนี้เพื่อวัดผลตอบแทน
วิธีคำนวณ NAV แบบง่ายๆ
1. กำหนดวัน และความถี่ในการคำนวณ NAV อย่างน้อยที่สุดต้องทำปีละ 1 ครั้ง แต่ส่วนตัวผมทำเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับนักลงทุนส่วนมาก ที่ไม่ได้ลงทุนเต็มเวลา ควรทำ NAV อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง เพราะจะได้ทำการปรับพอร์ตตามผลประกอบการในแต่ละไตรมาสได้ทันท่วงที
2. คำนวณ มูลค่าทรัพย์สินในพอร์ต (หุ้น เงินปันผล เงินสด) หักออกด้วยหนี้สิน (Margin Loan, เงินที่ยืมมาสำหรับการลงทุน) แล้วก็นำยอดรวมมาหาร 100 บาท (ค่า NAV เริ่มต้น) จะได้เท่ากับจำนวนหน่วยของ NAV ที่เรามี ณ วันเริ่มต้น สมมติเราคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิได้ 500,000 บาท เราก็จะมีทั้งหมด 5,000 หน่วย หน่วยละ 100 บาท
3. เมื่อเราเติมเงิน หรือ ถอนเงินไปใช้ เราจะต้องทำการขายหน่วย ณ NAV วันที่ถอนหรือลงทุนเพิ่ม ยกตัวอย่างต่อจากข้อที่แล้ว สมมติว่าเวลาผ่านไป 3 เดือน พอร์ตมีกำไร มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 750,000 บาท NAV จะกลายเป็น 150 บาท โดยที่มีจำนวนหน่วย 5,000 หน่วยเท่าเดิม แต่ถ้าเราจะเติมเงิน 300,000 บาท เราจะได้หน่วยเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 + (300,000 / 150) = 7,000 หน่วย แต่ NAV จะเท่าเดิมที่ 150 บาท
วิธีการนี้จะทำได้เราสามารถวัด ผลตอบแทนได้แม่นยำ ไม่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนเพิ่มหรือถอนเงินออก พอเราได้ตัวเลขนี้แล้วเราก็นำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบกับดัชนีเทียบวัด (Benchmark) ถ้าเราลงทุนหุ้นไทยก็ใช้ SET หรือ SET TRI (SET Total Return Index ดัชนีผลตอบแทนรวม ซึ่งจะรวมปันผลเข้าไปด้วย เป็นดัชนีเทียบวัดที่ผมว่าน่าจะถูกต้องกว่า หาข้อมูลได้ในเวบของตลาดหลักทรัพย์ฯครับ)
ถ้าผลตอบแทนดีกว่า ตลาดก็ควรจะมีความสุขกับมัน อย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราได้มากกว่าก็จะทะนงตัวแบบไม่จำเป็น ได้น้อยกว่าเพื่อนก็กลุ้มใจ ดูแล้วไม่มีประโยชน์เลย แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลตอบแทน NAV ของเราแพ้ตลาด ก็ต้องมาดูว่าเราทำ “เหตุ” หรือกระบวนการการลงทุนของเราได้ดีหรือยัง จะศึกษาเพิ่มเติมหรือว่าปรับปรุงแก้ไขตรงไหน เรียนรู้จากข้อผิดพลาด แต่บางครั้งเราทำ “เหตุ” ได้ดีแล้ว แต่ “ผล” ก็ยังออกมาไม่เป็นใจ แบบนี้ก็ต้องทำใจ อดทนรอ เพราะถ้าเรามีกระบวนการลงทุนที่ดีแล้ว ในที่สุดเราก็จะสามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว
อย่างที่ปรมาจารย์ด้านการจัดการ Peter Drucker เคยบอกครับ
“ What gets measures, gets managed”
อะไรที่สามารถวัดผลได้ ก็สามารถจัดการได้
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ
บอล Road to Billion
ปล. ตอนนี้มีโบรคเกอร์บางแหล่งมีระบบการวัด NAV อยู่ในเวบไซต์เลย ไม่ต้องคำนวณแถมทำกราฟเปรียบเทียบกับ SET ได้อีกด้วย ก็สะดวกดีครับ ผมเองไม่อยากเอ่ยชื่อ ลองหาดูแล้วกันนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3419
- ผู้ติดตาม: 0
Re: “เก่งหรือโชคดี ? ลงทุนยังไงไม่หลอกตัวเอง”/road to billio
โพสต์ที่ 2
พอดีมีfile nav ที่วัดมูลค่าผลตอบแทนการลงทุนแบบคร่าวๆ ตามตัวอย่าง เพื่อนๆท่านใดสนใจ pm มาเลยพร้อมe-mailได้เลยครับ
แนบไฟล์
ในเกมการเงิน อะไรที่ไม่รู้ คือ ความเสี่ยง