หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ปุจฉา Cloud โดยเฉพาะ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2016 10:44 pm
โดย miracle
ตั้งกระทู้เฉพาะกิจเรื่องของ Cloud โดยเฉพาะดีกว่า
Cloud หรือก้อนเมฆ นั้นเป็นกระแสมา 2-3 ปีแล้ว กระแสเกิดจากอะไร
กระแสนั้นเกิดจากแรงผลักดันของมหาอุทกภัย ปี 2554 และ เรื่องของกฏระเบียบการทำงานในภาวะฉุกเฉิน
ที่ต้องมี Back up site หรือ Dark site ประกอบกับเรื่องของการไม่สนับสนุนทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์สำหรับระบบงานที่ทำงานอยู่ ซึ่งโดยที่ระบบงานแต่ละระบบใช้วันนี้ อีกอย่างน้อย 5-10 ปีค่อยเลิกใช้ หรือ บางแห่ง เห็นใช้กันยาวนานกว่า 10 ปีก็มีให้เห็น

เอาว่าด้วยเรื่องของฮาร์ดแวร์ก่อน โดยทั่วไปนั้น เจ้าของผลิตภัณฑ์ เช่น DELL ,HP ,Oracle Sun,Hitachi เป็นต้นนั้น
สามารถซื้อประกันอุปกรณ์ได้ 5 ปี โดยต่ออายุเป็นแบบ ปีต่อปี ถ้าเกิน 5 ปีไปแล้ว อุปกรณ์ไม่สามารถจัดหาได้ จำเป็นต้องจัดหาจากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่จากเจ้าของผลิตภัณฑ์เช่นมาจาก Amezon หรือ แหล่งสินค้ามือสอง นั้นเอง ถึงสามารถจัดหาอุปกรณ์ทดแทนได้นั้นเอง

ส่วนซอฟแวร์ นั้น เจ้าใหญ่ๆ เช่น Microsoft นั้นเป็นผู้ผลิตในระบบปฏิบัติการนั้นเอง MS มีการกำหนดการสนับสนุนในแต่ละผลิตภัณฑ์ ทำให้เมื่อหมดการสนับสนุนแล้ว ไม่มี Pack เพื่ออุดช่องโหว่ง ทางด้านความปลอดภัย (Security) ได้ หรือ การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาก็ต้องยุติลงไปด้วย ประกอบกับ อุปกรณ์ใหม่ๆ ก็ไม่รองรับการทำงานซอฟแวร์เก่าๆ แล้วทำให้ไม่สามารถติดตั้งได้ ทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นนั้นเอง

ส่วนเรื่องของข้อกำหนดต่างๆนั้น ขึ้นอยู่กับธุรกิจ โดยธุรกิจที่ผลักดันให้ อุตสาหกรรม IT นั้นเดินหน้า คงหนีไม่พ้นการเงิน การธนาคาร ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักในการผลักดันให้เกิดขึ้น โดยที่ การเงินการธนาคารนั้น โดยข้อกำหนดเรื่องความเสี่ยง หรือ Risk Management เป็นตัวบังคับ โดยข้อกำหนดอยู่ใน BASEL2 เป็นต้นมา และขยายเพิ่มใน BASEL3 อีก เลยทำให้เป็นตัวเร่งในการเกิดขึ้น Cloud

เอาละว่าด้วยเรื่อง Back ground มาพอควรแล้ว
เรื่องของ Cloud นั้น แบ่งออกเป็นอะไร
1. IaaS (Infrastructure as a Service) ตัวนี้คือ ตัวเริ่มต้น ของ Cloud นั้นเอง
Instrastructure as a Service ก็เปรียบได้เหมือนกับ ถนนหนทาง ,ทางรถไฟ,ไฟฟ้า,น้ำประปา นั้นเอง
ตัวนี้เป็นตัวพื้นฐาน เหมือนเครื่องคอมที่ต้องมี CPU,Mainboard ,RAM ,Power Supply ,Harddisk ,DVD,mouse ,keyboard,จอแสดงผล ซึ่งให้ผู้เช่าสามารถใช้งานได้นั้นเอง

2. PaaS (Platform as a Service) ตัวนี้ต่อยอดจากจาก IaaS
โดยคราวนี้บริษัทผู้ให้บริการนั้น ให้ระบบปฏิบัติการ พร้อมด้วยซอฟแวร์ที่ต้องการเช่น ฐานข้อมูล ,ระบบจัดการ CRM ,tool ในการพัฒนา เป็นต้น มาพร้อมด้วย ทำให้ผู้เช่าจ่ายเป็นค่าเช่าแทนที่เดิม เมื่อใช้งานระบบต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์+ซื้อซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ที่เป็นค่า License (สิทธิ์การใช้งานหรือเช่าใช้งาน) แล้วตามมาด้วยการตัดค่าเสื่อมราคาเป็นรายปี แต่เมื่อเป็นค่าเช่า แล้วทางบัญชีคิดเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้ภาษีที่จ่ายลดลงนั้นเอง

3.SaaS (Software as a Service) ตัวนี้คือตัวที่พัฒนาต่อจาก PaaS
คราวนี้ ผู้เช่าสามารถใช้งานซอฟแวร์ที่ไหนก็ได้ เพียงคุณต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
โดยที่ผู้ใช้งานไม่รู้ว่า ผู้ให้บริการนั้นให้บริการจากที่ไหนของโลก ตัวอย่างของอันนี้คือ Office 365 ของ MS ,Google MAP เป็นต้น
มาถึงระดับที่ 3 แล้ว บริษัทจดทะเบียนในตลาด(ห)ลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีไหม ก็บอกว่ามีผู้ให้ดำเนินการอยู่
แต่น้อยรายกว่าตัวแรก
แล้วผู้ใช้งานมี Switching Cost สูงไหม ต้องบอกว่า เหมือนยุคของ Software ที่ติดตั้งบนเครื่อง นั้นคือใช้เจ้าไหนแล้ว
ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเจ้าอื่นง่ายๆนั้นเอง หรือเปลี่ยนที่ก็สร้างความวุ่นวายให้แก่หน่วยงาน IT ได้มากมาย

ถ้าหากแบ่งอีกแบบหนึ่งคือ
1. Private Cloud คือ ตั้งขึ้นมา ใช้งานส่วนตัวเท่านั้น ไม่มีคนอื่นๆมาเกี่ยวข้องด้วยละ
2. Hybrid Cloud คือ ตั้งขึ้นมาใช้งานส่วนตัวแล้วมีคนอื่นร่วมใช้ด้วยในบางส่วนเท่านั้น
3. Public Cloud คือ ตั้งขึ้นมาแล้วให้คนอื่นๆใช้งานทั้งหมด เปิดสาธารณะใช้งานนั้นเอง


นอกจากนี้ ยังมีอื่นๆเช่น Cloud Storage ที่คิดค่าเช่าตามจำนวนพื้นที่จัดเก็บ ,หรือคิดค่าบริการตามเวลาในการประมวลผล หรือ จำนวนขนาดข้อมูลที่ต้องใช้ในการประมวลผล ตัวอย่างเช่น บริการของ Google นั้นเอง
Network Cloud ตัวนี้คือ ตัวอย่างการเช่าท่อเชื่อมต่ออินเตอร์ หรือเราเตอร์เพื่อให้บริการสาขา โดยที่ไม่ต้องติดตั้ง Router หรือ Switch เพื่อใช้งาน แต่เช่าเอานั้นเอง

แหล่งข้อมูล

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81 ... 1%E0%B8%86
https://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing
https://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_storage

Re: ปุจฉา Cloud โดยเฉพาะ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 11, 2016 1:27 pm
โดย miracle
คำถามต่อมา ใช้งาน Amezon หรือของ MS Azure หรือของ International Brand หรือ ผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลกได้ไหม
ตอบเลยว่าได้แต่ว่า ปัญหาคือ ช่องทางในการเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการนั้น เชื่อมต่อภายในประเทศหรือ ต้องต่อท่อไปต่างประเทศ
ถ้าหากต่อท่อไปต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายสูงกว่าภายในประเทศ ที่สำคัญคือต้องมีการการันตีความเร็ว และผู้ใช้บริการเป็นผู้เสียเงินค่าช่องทางเองด้วย
ที่สำคัญ การคิดค่าบริการ คิดเป็น ดอลล่าร์สหรัฐ มันมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้องด้วย
แต่หาก Amezon ,MS Azure หรือ International Cloud Provider มาลงทุนในประเทศไทย ได้ไหม
ตอบว่าได้ แต่เข้าลงทุนเพื่ออะไร เนื่องจาก ช่องทางที่เชื่อมต่อต่างประเทศ จุดใหญ่ๆ อยู่ที่สิงคโปร์ มิใช่ไทย
ดังนั้น ลงทุนไปคุ้มค่าหรือเปล่า

คำถามต่อเนื่อง สองธนาคารร่วมกับต่างชาติไปลงทุนที่จังหวัดภาคตะวันออกนั้น มีผลไหม
คำตอบคือ ทั้งสองธนาคารที่ไปลงทุนนั้น เมื่อตอนปี 2554 หนึ่งในนั้น สำนักงานใหญ่น้ำท่วม
ส่วนอีกเจ้า ก็เดินทางไปศูนย์คอมพิวเตอร์ลำบากเหมือนกัน ดังนั้นไปที่ภาคตะวันออกซึ่งน้ำท่วมก็ลงเร็ว เพราะอยู่ใกล้ทะเล
เดินทางสะดวก นั้นคือแผนในการป้องกันความเสี่ยงนั้นเอง
ส่วนให้ Public ใช้งานหรือไม่นั้น ต้องถามว่า มาตราฐานของธนาคารกับทั่วไปนั้นแตกต่างกัน
ดังนั้นถ้าให้ Public ใช้งานราคาก็ไม่น่าจะถูกกว่าเจ้าที่ทำให้ Public ใช้งานอยู่
:)

Re: ปุจฉา Cloud โดยเฉพาะ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 12, 2016 11:26 am
โดย ALOHAYONG
เรียนสอบถาม เพิ่มครับ จาก concept ของ IaaS ที่เป็นเหมือน server ของระบบ cloud computing โดยธรรมชาติ ของธุรกิจ ไม่น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากมาย การแข่งขันเป็นลักษณะ price war เป็นหลัก เพื่อยึดลูกค้าให้ได้ก่อน ถ้า AWS หรือ Google cloud มาลงทุนตั้ง data center ในไทยแล้วให้ บริการ IaaS ในประเทศ IaaS provider ในประเทศ น่าจะแข่งขันลำบากรึป่าวครับ

Re: ปุจฉา Cloud โดยเฉพาะ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 13, 2016 12:40 am
โดย miracle
ALOHAYONG เขียน:เรียนสอบถาม เพิ่มครับ จาก concept ของ IaaS ที่เป็นเหมือน server ของระบบ cloud computing โดยธรรมชาติ ของธุรกิจ ไม่น่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากมาย การแข่งขันเป็นลักษณะ price war เป็นหลัก เพื่อยึดลูกค้าให้ได้ก่อน ถ้า AWS หรือ Google cloud มาลงทุนตั้ง data center ในไทยแล้วให้ บริการ IaaS ในประเทศ IaaS provider ในประเทศ น่าจะแข่งขันลำบากรึป่าวครับ
คำตอบได้ตอบไปแล้วครับ
ที่บอกไปมีสองประเด็นคือ
1. Cloud ที่ใช้งานนั้นต้องใช้ช่องสัญญาณ ออกไปยังต่างประเทศหรือไม่ (ช่องทางการติดต่อ)
2. การคิดคำนวณเรื่องราคาเป็น เงินสกุลดอลล่าร์หรือเปล่า (จ่ายค่าบริการ)

ส่วนที่ดูเพิ่มเติมคือ สำรองข้อมูล ว่าเป็นเช่นไร ,การสนับสนุนปัญหารับแจ้งทางไหน , SLA เท่าไร เป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบกับ Local Brand
ข้อได้เปรียบสุดๆของ Local Brand คือ ภาษาเดียวกับ ค่าเงินบาท วงจรการเชื่อมต่อภายในประเทศไม่ได้ออกไปนอกประเทศ
:)