MoneyTalk@SET25Sep16หุ้นเด่นQ4&ประสบการณ์เซียนฝ่าวิกฤติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 25, 2016 9:14 pm
MoneyTalk@SET25Sep16
ช่วงที่ 2 สัมมนา หัวข้อ “ประสบการณ์เซียน ฝ่าอดีตวิกฤตหุ้น"
1) คุณมนตรี ศรไพศาล CEO บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง
2) คุณธานินทร์ งามวิทยาพงษ์ นักลงทุนอาวุโส ฉายา “คลายเครียด”
3) คุณกวี ชูกิจเกษม นักวิเคราะห์และกลยุทธ์หุ้น
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
เกริ่นนำ
อ.ไพบูลย์ เซียนต่างกับคนธรรมดาอย่างไร?
อ.เสน่ห์ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน เซียนแปลว่า เทวดา ผู้สำเร็จผู้เก่งผู้วิเศษผู้เก่งชำนาญในทางหนึ่งทางใด เช่น “เซียนการพนัน”
มีคนวิเคราะห์ว่าเซียนเป็นเทพของจีน จะถือว่าเซียนเป็นอมตะไม่รู้จักตาย
ร่างอาจจะหายไปแต่ความเป็นเซียนยังอยู่
โป๊ยเซียน หรือ 8 เซียน ได้แก่ เซียนยา/รักษาโลภ โชคลาภ การค้า ดีงามกตัญญู ความมีอายุยืน อุปชาติอุดมสมบูรณ์ พยากรณ์หยั่งรู้ ลาภยศตำแหน่ง
คนจีนมีความเชื่อว่าถ้าบูชาโป๊ยเซียนทั้ง 8 นี้ก็จะนำมาซึ่งสิ่งที่ปราถนา
แต่วันนี้เรามี 4 เซียน ได้แก่…
เซียนคลายเครียด เซียนหลักทรัพย์ เซียนนักวิเคราะห์ เซียนนักลงทุน
เราจะได้ฟังว่าทั้ง 4 เซียนผ่านวิกฤติมาอย่างไร?
เริ่มลงทุน?
คุณ ธานินนทร์ เริ่มลงทุนยุค ราชาเงินทุน ปี 2522
ดร.นิเวศน์ เริ่มลงทุนราวปี 2532 ช่วงกลับจากเรียนจบต่างประเทศ
คุณมนตรี เริ่มปี 2531 ทำงาน ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ที่ เจเอฟธนาคม วันที่ 18/8/1988 เพราะเป็นบริษัทฮ่องกงชอบเลข 8
คุณกวี ลงทุนครั้งแรกปี 2537 สมัยตลาดหุ้น 1700 จุด ตอนนั้นก็มีนักวิเคราะห์บอกว่าจะไป 2000 จุด
แต่ละคนผ่านวิกฤติอะไรมาบ้าง?
คุณธานินทร์
รากศัพท์ภาษาจีนคำว่าเซียน เป็นคำสมาสระหว่าง คนกับภูเขา เซียนปลีกวิเวกบนภูเขา แต่ถ้าเล่นหุ้นก็อยู่บนภูเขากับเต็มไปหมด
ขอแยกวิกฤติเป็น 2 ประเภท
1. วิกฤติแบบเรื้อรัง vs วิกฤติไม่เรื้อรัง – อย่างเช่น สมัยบริษัทเงินทุนที่ไม่มีแบงค์หนุนหลังล้มละลาย ฟองสบู่แตก ธนาคารก็เอาไม่อยู่ ล้มไปหลายธนาคาร
ส่วนที่ไม่เรื้อรัง Subprime มาจากอเมริกาไม่เกี่ยวกับเรา , สงครามอิรัก, black Monday
2. วิกฤติมีโอกาสให้แก้ตัว vs วิกฤติที่ไม่มีโอกาสให้แก้ตัว – วิกฤติไม่มีให้แก้ตัว เช่น บริษัทออกจากตลาดไปแล้ว(ยกใบหุ้นให้ดู) อีกแบบคือบริษัทยังอยู่
คุณมนตรี
เจอเหมือนกับคุณธานินทร์ ยกเว้นอย่างเดียวคือ ราชาเงินทุน เพราะเด็กไป ช่วงสมัยลงทุนอายุ 24
เราควรเอาความเสียหายมาเป็นบทเรียน ที่หนักสุดคือปี 40 ช่วงนั้นเป็นขาขึ้น เรากำลังสอนเรื่อง warrant บอกว่าถ้าหุ้นดี หุ้นลูกจะยิ่งดี
จึงเข้าไปซื้อหุ้นธนสยามวอร์แรนต์ ได้ราคา 50-60 บาท (ตัวแม่ราว 600) ราคาใช้สิทธิ์ไม่สูง ปรากฏ วอร์แรนต์ราคาขึ้นไป 400 อยากจะขาย
แต่ได้ยินว่าจะไป 2000 ตอนนั้นก็เอาบ้านไปจำนองแล้วไปซื้อเพิ่ม พอเจอช่วงที่สับสนตกหนัก หัวใจเขย่ามาก มีทั้งข่าวดีร้ายสลับกัน
หุ้นลงแรงก็ขาย พอข่าวดีหุ้นขึ้นก็ซื้อกลับมาอีก โดนแบบนี้ไปหลายรอบ อีกทั้งตอนนั้นไปซื้อบ้านเพิ่มไว้ด้วย เจอวิกฤติปี 40 พอดี หมดตัว
ตอนนั้นก็ได้อธิษฐานกับพระเจ้า พระองค์ก็ได้สอนเรื่องความเสี่ยงให้กับเรา
เราต้องเรียนรู้ที่จะขอบคุณพระเจ้าและยอมรับสถานการณ์ เปลี่ยนความเจ็บปวดเป็นบทเรียน
ตอนนั้นก็กลับไปกอดภรรยาสารภาพที่ตัดสินใจผิด และสู้ต่อด้วยกัน เจอปัญหาแล้ว เราจะปล่อยให้เสียใจทุกข์ใจไปทำไม
หน้าที่เราคือ ต้องเก็บบทเรียนราคาแพงมาเป็นบทเรียนชีวิตและก้าวหน้าต่อไป
ช่วงนั้นรายได้ในฝ่ายก็ลดลงมากจากหลายร้อยล้านเหลือแค่ 5 ล้าน ก็ลำบาก พอดีจบ CFA และได้รับเสนองานใหม่
ให้ดูเรื่องการลงทุนที่ AIA ตอนนั้นมานั่งคิดถือว่าเรายังโชคดี 56 finance ปิด แต่ก็ยังดีที่ไม่ตกงาน ช่วงนั้นโดนลดเงินเดือน ก็คิดว่ายังดีกว่าตกงาน
จึงมาเขียนหนังสือร่วมกันพลิกเศรษฐกิจ ให้กำลังใจกับผู้คน
และได้มาออกรายการ money talk อ.อยากให้กำลังกับผู้คน ก็เอารูปมาโชว์ Attitude เป็นภาพภูเขาที่มีเมฆทึบมาก มีแสงริบหรี่มาก
มีข้อความภาษาอังกฤษว่า Your face to the sunshine, and you will not see the shadow
ตราบเท่าที่คุณยังไม่ละสายตาจากแสงสว่าง คุณจะไม่เห็นความมืด เราเจอวิกฤติมาด้วยกัน ก็ต้องช่วยกันฟื้น
ชอบคำที่ผู้ใหญ่ของ BANPU เคยเล่าให้ฟัง ว่าเคยถามผู้บริหารในบริษัทแต่ละคนว่าวิกฤติครั้งนี้เกิดจากอะไร
ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนก็ตอบกันหลากหลาย ท่านประธานบอกว่าไม่ใช่ ปัญหาคือ ผู้บริหาร ให้พวกเรายอมรับอย่างมีกำลังใจ
ปัญหาต่างๆอาจมาจากภายนอก แม้เราควบคุมไม่ได้ แต่อาจจะคาดการณ์และระมัดระวังได้
ถ้าเป็นปัญหาของประเทศไทย ก็เป็นเรื่องที่คนไทยต้องร่วมกัน อีกหลายปีต่อมาก็ได้เป็นผู้บริหารกิมเอ็ง(ซึ่งรวมกับหยวนต้า)
ถือว่าเป็น CEO คนหนุ่ม ตอนนั้นอายุ 37 ปี มานึกย้อนไปว่าทำไมเราถึงมาจุดนี้ได้ ส่วนหนึ่งนั่นก็เพราะวิกฤติ
เราไม่ได้อยากให้เกิดขึ้นอีก แต่ก็มีพี่ๆหลายคนหายไปจากวงการ ก็เป็นโอกาสให้คนรุ่นหลัง
มันเป็นหลักการคล้ายๆ pursuit of happiness ไม่ว่าจะความยากลำบากแค่ไหน
สิ่งที่เราตัดสินใจได้คือการเลือกจะมีความสุข มีคำกล่าวว่า “คุณไม่มีความสุขหรอก จนกว่าคุณจะตัดสินใจเลือกที่จะมีความสุข” เราเลือกได้เสมอ
ดร.นิเวศน์
ที่เป็นวิกฤติจริงๆก็ปี 40 ทุกคนโดนกันหมด ตอนนั้นเป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ชีวิตไม่เคยก้าวมาเป็นผู้นำ
ตอนอายุ 30 กว่าเพิ่งเริ่มทำงาน ตำแหน่งก็ไม่ค่อยดีเด่น ส่วนใหญ่เป็นคนยืนข้างๆคอยสังเกตการณ์ ตั้งแต่เด็กรู้ว่าตัวเองไม่มีความเป็นนักพนัน เรียนจบวิศวะ
ทำงานวิศวะ ไม่รู้จักหุ้น พวกคนที่เล่นหุ้นใช้ไม่ได้ รู้สึกว่าเป็นคนชีวิตไม่ขยัน ไม่ทำงาน เก็งกำไรหาเงิน จนเรียนจบปริญญาเอกด้านการเงิน
จบมาก็ยังรู้สึกไม่น่าเล่นหุ้น ปริญญาสอนว่าไม่สามารถเอาชนะตลาดได้หรอก เราอยู่สถาบันการเงินไม่ได้ทำเรื่องลงทุนหุ้นโดนตรง(อยู่หน่วยงานIB)
แต่พอมีวิกฤติก็ต้องโดนออกจากงานมาด้วย ก่อนหน้าก็ไม่ค่อยเชื่อ ไม่ค่อยเล่นหุ้นเท่าไร ซึ่งหลักจากวิกฤติก็มาเข้าตลาดมาเต็มๆโดยมองแบบนักลงทุน
ซื้อหุ้นแล้วเก็บไว้ผ่านมาหลายๆปีก็ค่อยขาย ตั้งใจลงทุนซื้อหุ้นเพื่อเป็นธุรกิจของเราเอาตัวรอด ได้เป็นเจ้าของธุรกิจส่วนหนึ่ง
คุณกวี
ถือว่าโชคดีช่วงเกิดวิกฤติเริ่มเงินเดือน 11,500 บาท จบปริญญาตรีวิศวะ ได้เงินเดือน 15,000 บาท ไปเรียนปริญญาโท 2 ปี ได้เงินเดือน 11,500 บาท
ซึ่งการเงินช่วงที่เรียนเป็นมนุษย์ทองคำ ได้โบนัส 12 เดือน เข้าไปช่วงตลาดหุ้น 1700 จุด ซื้อหุ้นตัวแรกคือ ธนาคาร ทุกคนเห็นภาพสถาบันการเงินดีมาก
ไม่มีใครคิดว่าจะล้ม ธนาคารแรกที่ซื้อคือ นครหลวงไทย ซื้อ 30 กว่าบาท ใช้เงินไม่เยอะมาก มาขายได้ตอน 1 บาท (ยังดีที่ขายได้ไม่เป็นกระดาษ)
คุณธานินทร์ เสริม ตอนนั้นก็ซื้อศรีนคร ได้ใบหุ้นมา 2 หุ้น ยังมีเรียกประชุมทุกวันนี้
คุณกวี
ข้อดีตอนนั้นเสียหายไม่เยอะ เพราะเงินเรายังไม่เยอะ แต่สอนอะไรเราเยอะมาก วิกฤติยังไงก็ต้องมี และข้างหน้ายังต้องมี การล้มมันคล้ายๆกัน
เลห์แมนบรอเธอร์ ล้มก็เป็นโดมิโน ราชาเงินทุน(ฟินวัน) ต้มยำกุ้ง ก็เหมือนกัน ถ้าใครเป็นนักลงทุนแล้วรู้ว่าข้างหน้าจะมีวิกฤติ ก็จะปลอดภัยในการลงทุน
ความสุขมันอยู่ที่คุณเลือกเองจะมีความสุข คุณจะไม่ไปโลภ รู้ว่าจุดไหนว่าต้องพอ หลายปีแล้วที่เราไม่เจอวิกฤติเรื้อรัง ยังไงก็คงมีวิกฤติอีก
ดร.นิเวศน์
ถ้าเราเอาตัวรอด ไม่อยู่ในวิกฤติได้ก็จะรอด หน้าที่เราคือไปอยู่ข้างๆมัน อย่าอยู่ในวิกฤติ
ช่วงก่อนเกิดวิกฤติก็มักจะเป็นช่วงที่มีความสุขรืนเริงสุขเหมือนปาร์ตี้ เราก็ต้องยอมหลบเลี่ยงก่อน เวลาวิกฤติหุ้นลงหนัก 50% ถ้าเราหลบวิกฤติได้ทุกครั้งก็สบาย
กลยุทธ์ผ่าวิกฤติ?
คุณธานินทร์
หุ้ยจีโหย่วจีหุ้ย วิกฤติมีโอกาส หุ้นจีโหย่วหุ้นจี โอกาสมีวิกฤติ
อีกวิกฤติที่คนไม่คิดถึงคือการเสพติดข้อมูลข่าวสาร หุ้นขึ้นพูดอย่างหุ้นลงพูดอย่าง ใครเสพติดมากสภาพจิตใจจะแย่ การลงทุนจะผิดพลาด ส่วนตัวไม่ตามข้อมูลในไลน์เลย
ปัจจุบันโอกาสกับวิกฤติสลับกันเร็วมาก คนที่แทงถูกข้างเป็นโอกาสของคนที่แทงผิดข้าง ถ้าเรารู้สึกว่าเป็นโอกาสแต่แทงผิดข้างก็กลายเป็นวิกฤติ
เหมือนยังในหนัง the big short เขาบอกว่าจะไม่เกิดวิกฤติได้ไง ขนาดชื่อหมายังเอามาใส่เป็นชือกู้ซื้อบ้านได้
ก็เป็นโอกาสให้ Short หุ้นรวยได้
ดร.นิเวศน์ บัฟเฟตต์เคยบอกว่า คน 2 คนทำเหมือนกัน แต่คนที่ทำทีหลังโง่ เหมือนคนซื้อหุ้นตัวเดียวกันแต่คนละช่วงเวลา
คุณมนตรี
1. ทุกความเสียหาย ทุกความเจ็บปวดให้เปลี่ยนเป็นบทเรียน พระเจ้าตรัสเรื่องความเสี่ยง เราไม่ควรกลัวความเสี่ยง
แต่ควรประเมินความเสี่ยงให้ได้ จากวิกฤติที่เคยเจอ กับกลุ่มผู้บริหารที่ maybank ผู้บริหารก็ลำบาก เจอลูกค้าก็ลำบาก ทุกครั้งต้องอธิบายหนี้เสียบริษัทเคยเห็นเป็น
npl 400 ล้าน ซึ่งตั้งแต่ปี 98 ผู้บริหารก็ตกลงกันว่าจะดูแลความเสี่ยงให้ดี ซึ่งบลจ.เสียหายคือลูกค้าหมดตัว
ปี 2008 ตลาดหุ้นไทยแกร่งกว่าต่างประเทศเยอะ แต่ก็ยังมีหลายบริษัทที่เป็นลูกโป่งแตกในตลาด market cap. จาก 20,000 ล้านบาท เหลือ 200 ล้านบาทใน 8 วัน
บางโบรกเกอร์ที่ปล่อยสินเชื่อไปบางแห่งขาดทุนเป็น พันล้าน ร้อยล้าน หลายสิบล้านบาท
แต่ Maybank kimeng ขาดทุนเป็น 0 บาท ซึ่งเรามีโอกาสที่เอาบทเรียนมาปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบ
ในแง่นักลงทุนต้องดูปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่ใช้ข่าวลือ หุ้นอภินิหารขึ้นได้โดยไม่มีเหตุผล มักจะลงได้ง่ายๆอย่างมีเหตุผล
ต้องฝึกบริหารความเสี่ยง ถ้ามาขอ margin แล้วบอกว่าทำไมโบรกเกอร์อื่นให้แต่เราไม่ให้ หรือให้จำกัด เพราะเป็นห่วงลูกค้า
2. โบรกเกอร์มีหน้าที่ช่วยนักลงทุน ต้องใช้เหตุผลในการประเมินวิกฤติช่วงใกล้ 1600-1700 คนจะถามว่าใกล้วิกฤติเท่า
ตอนปี 40 ตลาด pe 28 เท่า มองไปข้างหน้า pe20 เท่า คิดส่วนกลับได้ผลตอบแทน 5% ฝากธนาคารตอนนั้นได้ดอกเบี้ย 10%
ตอนนี้ตลาดหุ้นไทย pe 14 เท่า แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประมาณ 1%
ตอนต้นปีเราฟันธงว่าตลาดจะผันผวน แปลว่าหุ้นลงก็อย่ากลัวเกินไป ปลายปีน่าจะดี บริษัทจดทะเบียนกำไรดีขึ้น การท่องเที่ยวยังดี การลงทุนเดินหน้า
คำแนะนำคือ ถ้าประเมินเองไม่ออก ก็ศึกษาจากงานวิจัย มีหลายโบรกเกอร์
3. นอกจากเลือกดูจังหวะ อีกทางเลือกโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มมนุษย์เงินเดือน ซื้อหุ้นทุกเดือนในจำนวนเงินเท่ากัน ที่เรียก dollar cost average(dca)
เวลาลงยาวๆจะเหมือนทอยลูกเต๋า ความเสี่ยงจะลดลง ถ้าเราทอยลูกเดียว 1 แย่สุด 6 ดีสุด คือไม่ดีก็แย่ แต่เราทอยไปเรื่อยๆ มันก็จะเข้าสู่ค่าเฉลี่ย
ในระยะยาวถ้าเป็นคนทำงานหลายๆปีอาจจะมีเงินเกษียนได้
คุณกวี
บทวิเคราะห์เราดูพื้นฐาน เราไม่ทำข่าวลือ ข่าว inside มียกตัวอย่างหุ้นตัวหนึ่งคนมาปรึกษา บอกว่า inside ก็เลยตอบกลับมาจะเป็น inside ได้ยังไง
ทุกคนรู้กันหมด สุดท้ายหุ้นแบบนี้ก็ราคาลดลงอย่างมาก บทวิเคราะห์ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่กรองมาดีที่สุดแล้ว ดีกว่าทางไลน์แน่นอน
ช่วงแรกที่ขาดทุนยืมเงินพ่อมา 1 ล้าน คืนไป 3 แสน สอนอะไรเราหลายอย่าง
1. เราเป็นนักลงทุนแบบไหนกันแน่? หลายคนพลาดตั้งแต่วันแรกที่ลงทุน พอกลับไปสำรวจแล้วเรารู้ว่าเป็นใครจะลงทุนได้ถูกทาง
แล้วก็ไปศึกษาแนวทางนั้นให้เหมาะกับตัวเรา เช่น หลายคนมีนิสัยชอบเก็งกำไร ถือหุ้นยาวๆไม่ได้ ก็ต้องรู้จัก cut loss ไม่ใช่เปลี่ยนเป็นถือยาว เป็น VI เพราะว่าลงทุนผิดพลาด
2. ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้น 100% จะลง 20% หรือ 30% ก็ได้ เรียกว่ากระจายความเสี่ยง ผลลัพธ์มหัศจรรย์อาจจะไม่เกิด
แต่ผลตอบแทนจะเหมาะสมและสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว ไม่มีใครซื้อได้ถูกที่สุดและขายได้แพงที่สุด ดูว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน ลงทุนหุ้นได้กี่ %
3. ถ้าลงทุนแนว VI สิ่งสำคัญ 2 เรื่อง ที่ต้องทำคือ รู้จักบริษัทพื้นฐานกิจการ เช่น รู้จัก Ptt ไหม? Pttgc ทำอะไรรู้ไหม? โอเลฟินส์หรืออะโรเมติกส์? ผลิตภัณฑ์เอาไปทำอะไร?
ต้องตอบให้ได้ว่าบริษัททำอะไร และมีความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ดูความสม่ำเสมอในอดีต กำไร อัตราทำกำไร การกู้หนี้ยืมสิน ความสม่ำเสมอไม่ได้หลอกใคร
แต่ราคาหุ้นที่หลอกเรา ความสม่ำเสมอของพื้นฐานในอดีตไม่เคยโกหก เมื่อรู้ว่าบริษัทดี ต่อให้ติดดอย ในระยะยาวบริษัทก็จะยังทำผลกำไรให้กับท่าน
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นถูก ถ้าได้สองอย่างนี้จะได้หุ้นมหัศจรรย์ สิบปีเติบโตเป็นหมื่นเปอร์เซ็นต์ จะรู้ได้อย่างไร ก็วิกฤติจะทำให้หุ้นลง
อย่างเช่น หุ้นรพ.กรุงเทพ วันที่เกิด subprime หุ้นลง 50% แต่ปีนั้นกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องถึงปีถัดไป ถ้าแบบนี้เรียกว่าราคาหุ้นหลอกเรา
นักลงทุนที่เป็น VI จะรู้ว่าเป็นของถูก วิกฤติย่อยๆก็มี เช่น น้ำท่วม บริษัทประกันภัย ราคาหุ้นร่วงแรงมาก
หรือถ้าสมมติ การท่องเที่ยว เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ จะเป็นโอกาสซื้อหุ้นกลุ่มโรงแรม
ถ้าถามวันนี้หุ้นถูกหรือแพง คนจะตอบว่าแพง แล้วทำไมจะไม่รู้ว่าตอนไหนหุ้นถูก พอหุ้นแพงหาหุ้นไม่ได้ก็จะเหลือแต่หุ้นเล็กๆน้อยๆที่ปั่นไปมา
เลือกหุ้นดีสำคัญที่สุด ถ้าเลือกหุ้นดี ตอนดอย ต่อไปมันก็จะมีดอยใหม่ (ราคาสูงขึ้น) แต่ ถ้าเลือกหุ้นไม่ดี จะติดดอยตลอดไป และเป็นสิ่งที่ง่ายด้วย
ทุกคนสามารถใช้สัญชาตญาณแยกได้ว่าหุ้นไหนดีหรือไม่ดี รอวิกฤติและเลือกหุ้นให้ถูกจะได้ผลตอบแทนมหาศาลในฐานะที่เป็นนักลงทุน VI
ดร.นิเวศน์
จากประสบการณ์ที่พยายามยืนข้างๆวิกฤติ ตอนเข้าตลาดเต็มๆปี 40 ดัชนี 850 จุด
ปีต่อมาหุ้นตกจาก 850 เหลือ 400 ปีถัดมา จาก 400 เหลือ 200 เราอยู่ข้างๆเพราะหุ้นเราไม่ขาดทุน กำไรนิดๆด้วยซ้ำ รอจังหวะ พอ 200 หุ้นเริ่มขึ้นเราก็ขึ้นตาม
ในปี 2008 หุ้นลงจาก 800 เหลือ 400 พอร์ตก็ขาดทุนราว 10 กว่า % พอหุ้นขึ้นเราก็ขึ้นตาม ผลตอบแทนเราจะแตกต่างกับตลาดมากก็คือตรงนี้ เพราะเสียหายน้อยกว่าตลาด
วิธีเลี่ยงวิกฤติ เวลาซื้อหุ้นดูว่าหุ้นตัวนั้นจะตายอย่างไร จะตายที่ไหน อย่างปี 40 หุ้นที่จะตายคือ หุ้นที่มีหนี้สูง
ตอนนั้นหุ้นที่รุ่งเรืองมากที่สุด คือหุ้นที่กู้หนี้มากที่สุด เราก็ไปเลือกหุ้นที่ไม่มีหนี้ เป็นผู้นำ ยอดขายไม่ผัวผวนมาก คนต้องกินต้องใช้
เช่น หุ้นอาหาร จะประคองตัวได้ พอเศรษฐกิจฟื้นก็ไปต่อ
ภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือทุกคนอยากจะลงทุน มี theme น่าสนใจคนอยากจะเข้าไปทำเยอะๆ
อย่างตอน subprime พวก real estate บูมมาก บริษัทการเงินปล่อยกู้มหาศาล แต่ในวันนั้นผู้เชี่ยวชาญทุกคนจะบอกว่าหุ้นเหล่านี้ปลอดภัยมาก ระดับเกรด AA,AAA
ฝากไว้ วิธีดูหุ้นง่ายนิดเดียว ให้เราตอบคำถาม 3 คำ 3 ปี 3 พีอี
3 คำคือ รายได้ปีนี้ กำไรปีนี้ ปันผลปีนี้จะต้องเพิ่มขึ้น ไม่ลดลง ต้องให้เพิ่มทั้ง 3 อย่าง
3 ปี ให้ถามตัวเองว่าบริษัทนี้ จะเติบโตต่อไปอีก 3 ปีข้างหน้า ค่อนข้างแน่นอน หลายธุรกิจเราก็ไม่แน่ใจว่าอีก 3 ปีข้างหน้าจะโตได้ เช่นโภคภัณฑ์
3พีอี คือ ต้องคาดการณ์ว่า ถ้าเอาราคาในวันนี้ไปหารกำไรในปีที่ 3 pe ไม่เกิน 20 เท่า สามารถซื้อได้ อย่างบางหุ้นแนวโน้มเติบโตดีมากๆ
อย่างพลังงานทดแทน แต่คิดกำไรในปีที่ 3 แล้ว pe ยังเกิน 20 เท่าก็ยังไม่น่าซื้อ
คุณธานินทร์ เราอย่าบอกตัวเราเองว่า เทคนิคต้องแม่น ปัจจัยพื้นฐานต้องแม่น แต่ต้องถามตัวเองว่าถ้ามันไม่แม่นอย่างที่เราคิด ต้องทำอย่างไร?
คุณมนตรี
อยากแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่าลงทุนแบบ 100-0 fund manager ที่เก่งๆบอกว่า จะไม่ลงทุน 100% ต้องมีเงินสดบ้าง
เช่น 5% ไม่ใช่กลัวความเสี่ยง แต่ถ้ามีโอกาสจะได้เข้าไปซื้อได้ อีกความเสี่ยงคือถือเงินสดเยอะเกินไป เช่น ถือเงินสด 40% หุ้น 60%
ถ้าผิดทาง fund manager ก็ทำผลตอบแทนตามตลาดไม่ทัน
อ.เสน่ห์ เล่ากลอนปิดท้าย
ประสบการณ์สี่เซียนผันเปลี่ยนหุ้น
เซียนลงทุนเซียนวิเคราะห์ให้เหมาะเหม็ง
เซียนคลายเคลียดเซียนหลักทรัพย์กับกิมเอ็ง
เซียนสุดเจ๋งฝ่าวิกฤติพิชิตชัย
อ.ไพบูลย์ กล่าวปิดท้าย การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
เราให้ข้อมูล ท่านตัดสินใจเอง ท่านได้หรือเสียประโยชน์ขึ้นกับท่านเอง
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค และแขกรับเชิญทุกท่านที่จัดงานและให้ความรู้ดีๆให้กับทุกคน
ขอบคุณสปอนเซอร์และทีมงานทุกท่านครับ
ขอบคุณพี่แป๋มที่สนับสนุนของกินในงาน พี่นุชสนับสนุนของกินนอกงาน วันนี้อิ่มจัง
*ในช่วงที่ 1 ติดภารกิจพอดี ขอบคุณพี่อมรที่ช่วยสรุปให้ด้วยนะครับ
Moneytalk@SETครั้งต่อไป
อาทิตย์ 16/10 เปิดจองเสาร์ 8/10
ช่วงที่ 1 สัมภาษณ์หุ้น 4 บริษัท Gpsc, tkn, amatav, อีก 1 บริษัทกำลังยืนยัน
ช่วงที่ 2 เลือกหุ้นบริหารพอร์ตแบบเซียน เซียนวิน, เซียนนิเวศน์ และอีก 2 ท่านกำลังยืนยัน
ช่วงที่ 2 สัมมนา หัวข้อ “ประสบการณ์เซียน ฝ่าอดีตวิกฤตหุ้น"
1) คุณมนตรี ศรไพศาล CEO บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง
2) คุณธานินทร์ งามวิทยาพงษ์ นักลงทุนอาวุโส ฉายา “คลายเครียด”
3) คุณกวี ชูกิจเกษม นักวิเคราะห์และกลยุทธ์หุ้น
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
เกริ่นนำ
อ.ไพบูลย์ เซียนต่างกับคนธรรมดาอย่างไร?
อ.เสน่ห์ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน เซียนแปลว่า เทวดา ผู้สำเร็จผู้เก่งผู้วิเศษผู้เก่งชำนาญในทางหนึ่งทางใด เช่น “เซียนการพนัน”
มีคนวิเคราะห์ว่าเซียนเป็นเทพของจีน จะถือว่าเซียนเป็นอมตะไม่รู้จักตาย
ร่างอาจจะหายไปแต่ความเป็นเซียนยังอยู่
โป๊ยเซียน หรือ 8 เซียน ได้แก่ เซียนยา/รักษาโลภ โชคลาภ การค้า ดีงามกตัญญู ความมีอายุยืน อุปชาติอุดมสมบูรณ์ พยากรณ์หยั่งรู้ ลาภยศตำแหน่ง
คนจีนมีความเชื่อว่าถ้าบูชาโป๊ยเซียนทั้ง 8 นี้ก็จะนำมาซึ่งสิ่งที่ปราถนา
แต่วันนี้เรามี 4 เซียน ได้แก่…
เซียนคลายเครียด เซียนหลักทรัพย์ เซียนนักวิเคราะห์ เซียนนักลงทุน
เราจะได้ฟังว่าทั้ง 4 เซียนผ่านวิกฤติมาอย่างไร?
เริ่มลงทุน?
คุณ ธานินนทร์ เริ่มลงทุนยุค ราชาเงินทุน ปี 2522
ดร.นิเวศน์ เริ่มลงทุนราวปี 2532 ช่วงกลับจากเรียนจบต่างประเทศ
คุณมนตรี เริ่มปี 2531 ทำงาน ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ที่ เจเอฟธนาคม วันที่ 18/8/1988 เพราะเป็นบริษัทฮ่องกงชอบเลข 8
คุณกวี ลงทุนครั้งแรกปี 2537 สมัยตลาดหุ้น 1700 จุด ตอนนั้นก็มีนักวิเคราะห์บอกว่าจะไป 2000 จุด
แต่ละคนผ่านวิกฤติอะไรมาบ้าง?
คุณธานินทร์
รากศัพท์ภาษาจีนคำว่าเซียน เป็นคำสมาสระหว่าง คนกับภูเขา เซียนปลีกวิเวกบนภูเขา แต่ถ้าเล่นหุ้นก็อยู่บนภูเขากับเต็มไปหมด
ขอแยกวิกฤติเป็น 2 ประเภท
1. วิกฤติแบบเรื้อรัง vs วิกฤติไม่เรื้อรัง – อย่างเช่น สมัยบริษัทเงินทุนที่ไม่มีแบงค์หนุนหลังล้มละลาย ฟองสบู่แตก ธนาคารก็เอาไม่อยู่ ล้มไปหลายธนาคาร
ส่วนที่ไม่เรื้อรัง Subprime มาจากอเมริกาไม่เกี่ยวกับเรา , สงครามอิรัก, black Monday
2. วิกฤติมีโอกาสให้แก้ตัว vs วิกฤติที่ไม่มีโอกาสให้แก้ตัว – วิกฤติไม่มีให้แก้ตัว เช่น บริษัทออกจากตลาดไปแล้ว(ยกใบหุ้นให้ดู) อีกแบบคือบริษัทยังอยู่
คุณมนตรี
เจอเหมือนกับคุณธานินทร์ ยกเว้นอย่างเดียวคือ ราชาเงินทุน เพราะเด็กไป ช่วงสมัยลงทุนอายุ 24
เราควรเอาความเสียหายมาเป็นบทเรียน ที่หนักสุดคือปี 40 ช่วงนั้นเป็นขาขึ้น เรากำลังสอนเรื่อง warrant บอกว่าถ้าหุ้นดี หุ้นลูกจะยิ่งดี
จึงเข้าไปซื้อหุ้นธนสยามวอร์แรนต์ ได้ราคา 50-60 บาท (ตัวแม่ราว 600) ราคาใช้สิทธิ์ไม่สูง ปรากฏ วอร์แรนต์ราคาขึ้นไป 400 อยากจะขาย
แต่ได้ยินว่าจะไป 2000 ตอนนั้นก็เอาบ้านไปจำนองแล้วไปซื้อเพิ่ม พอเจอช่วงที่สับสนตกหนัก หัวใจเขย่ามาก มีทั้งข่าวดีร้ายสลับกัน
หุ้นลงแรงก็ขาย พอข่าวดีหุ้นขึ้นก็ซื้อกลับมาอีก โดนแบบนี้ไปหลายรอบ อีกทั้งตอนนั้นไปซื้อบ้านเพิ่มไว้ด้วย เจอวิกฤติปี 40 พอดี หมดตัว
ตอนนั้นก็ได้อธิษฐานกับพระเจ้า พระองค์ก็ได้สอนเรื่องความเสี่ยงให้กับเรา
เราต้องเรียนรู้ที่จะขอบคุณพระเจ้าและยอมรับสถานการณ์ เปลี่ยนความเจ็บปวดเป็นบทเรียน
ตอนนั้นก็กลับไปกอดภรรยาสารภาพที่ตัดสินใจผิด และสู้ต่อด้วยกัน เจอปัญหาแล้ว เราจะปล่อยให้เสียใจทุกข์ใจไปทำไม
หน้าที่เราคือ ต้องเก็บบทเรียนราคาแพงมาเป็นบทเรียนชีวิตและก้าวหน้าต่อไป
ช่วงนั้นรายได้ในฝ่ายก็ลดลงมากจากหลายร้อยล้านเหลือแค่ 5 ล้าน ก็ลำบาก พอดีจบ CFA และได้รับเสนองานใหม่
ให้ดูเรื่องการลงทุนที่ AIA ตอนนั้นมานั่งคิดถือว่าเรายังโชคดี 56 finance ปิด แต่ก็ยังดีที่ไม่ตกงาน ช่วงนั้นโดนลดเงินเดือน ก็คิดว่ายังดีกว่าตกงาน
จึงมาเขียนหนังสือร่วมกันพลิกเศรษฐกิจ ให้กำลังใจกับผู้คน
และได้มาออกรายการ money talk อ.อยากให้กำลังกับผู้คน ก็เอารูปมาโชว์ Attitude เป็นภาพภูเขาที่มีเมฆทึบมาก มีแสงริบหรี่มาก
มีข้อความภาษาอังกฤษว่า Your face to the sunshine, and you will not see the shadow
ตราบเท่าที่คุณยังไม่ละสายตาจากแสงสว่าง คุณจะไม่เห็นความมืด เราเจอวิกฤติมาด้วยกัน ก็ต้องช่วยกันฟื้น
ชอบคำที่ผู้ใหญ่ของ BANPU เคยเล่าให้ฟัง ว่าเคยถามผู้บริหารในบริษัทแต่ละคนว่าวิกฤติครั้งนี้เกิดจากอะไร
ซึ่งผู้บริหารแต่ละคนก็ตอบกันหลากหลาย ท่านประธานบอกว่าไม่ใช่ ปัญหาคือ ผู้บริหาร ให้พวกเรายอมรับอย่างมีกำลังใจ
ปัญหาต่างๆอาจมาจากภายนอก แม้เราควบคุมไม่ได้ แต่อาจจะคาดการณ์และระมัดระวังได้
ถ้าเป็นปัญหาของประเทศไทย ก็เป็นเรื่องที่คนไทยต้องร่วมกัน อีกหลายปีต่อมาก็ได้เป็นผู้บริหารกิมเอ็ง(ซึ่งรวมกับหยวนต้า)
ถือว่าเป็น CEO คนหนุ่ม ตอนนั้นอายุ 37 ปี มานึกย้อนไปว่าทำไมเราถึงมาจุดนี้ได้ ส่วนหนึ่งนั่นก็เพราะวิกฤติ
เราไม่ได้อยากให้เกิดขึ้นอีก แต่ก็มีพี่ๆหลายคนหายไปจากวงการ ก็เป็นโอกาสให้คนรุ่นหลัง
มันเป็นหลักการคล้ายๆ pursuit of happiness ไม่ว่าจะความยากลำบากแค่ไหน
สิ่งที่เราตัดสินใจได้คือการเลือกจะมีความสุข มีคำกล่าวว่า “คุณไม่มีความสุขหรอก จนกว่าคุณจะตัดสินใจเลือกที่จะมีความสุข” เราเลือกได้เสมอ
ดร.นิเวศน์
ที่เป็นวิกฤติจริงๆก็ปี 40 ทุกคนโดนกันหมด ตอนนั้นเป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ชีวิตไม่เคยก้าวมาเป็นผู้นำ
ตอนอายุ 30 กว่าเพิ่งเริ่มทำงาน ตำแหน่งก็ไม่ค่อยดีเด่น ส่วนใหญ่เป็นคนยืนข้างๆคอยสังเกตการณ์ ตั้งแต่เด็กรู้ว่าตัวเองไม่มีความเป็นนักพนัน เรียนจบวิศวะ
ทำงานวิศวะ ไม่รู้จักหุ้น พวกคนที่เล่นหุ้นใช้ไม่ได้ รู้สึกว่าเป็นคนชีวิตไม่ขยัน ไม่ทำงาน เก็งกำไรหาเงิน จนเรียนจบปริญญาเอกด้านการเงิน
จบมาก็ยังรู้สึกไม่น่าเล่นหุ้น ปริญญาสอนว่าไม่สามารถเอาชนะตลาดได้หรอก เราอยู่สถาบันการเงินไม่ได้ทำเรื่องลงทุนหุ้นโดนตรง(อยู่หน่วยงานIB)
แต่พอมีวิกฤติก็ต้องโดนออกจากงานมาด้วย ก่อนหน้าก็ไม่ค่อยเชื่อ ไม่ค่อยเล่นหุ้นเท่าไร ซึ่งหลักจากวิกฤติก็มาเข้าตลาดมาเต็มๆโดยมองแบบนักลงทุน
ซื้อหุ้นแล้วเก็บไว้ผ่านมาหลายๆปีก็ค่อยขาย ตั้งใจลงทุนซื้อหุ้นเพื่อเป็นธุรกิจของเราเอาตัวรอด ได้เป็นเจ้าของธุรกิจส่วนหนึ่ง
คุณกวี
ถือว่าโชคดีช่วงเกิดวิกฤติเริ่มเงินเดือน 11,500 บาท จบปริญญาตรีวิศวะ ได้เงินเดือน 15,000 บาท ไปเรียนปริญญาโท 2 ปี ได้เงินเดือน 11,500 บาท
ซึ่งการเงินช่วงที่เรียนเป็นมนุษย์ทองคำ ได้โบนัส 12 เดือน เข้าไปช่วงตลาดหุ้น 1700 จุด ซื้อหุ้นตัวแรกคือ ธนาคาร ทุกคนเห็นภาพสถาบันการเงินดีมาก
ไม่มีใครคิดว่าจะล้ม ธนาคารแรกที่ซื้อคือ นครหลวงไทย ซื้อ 30 กว่าบาท ใช้เงินไม่เยอะมาก มาขายได้ตอน 1 บาท (ยังดีที่ขายได้ไม่เป็นกระดาษ)
คุณธานินทร์ เสริม ตอนนั้นก็ซื้อศรีนคร ได้ใบหุ้นมา 2 หุ้น ยังมีเรียกประชุมทุกวันนี้
คุณกวี
ข้อดีตอนนั้นเสียหายไม่เยอะ เพราะเงินเรายังไม่เยอะ แต่สอนอะไรเราเยอะมาก วิกฤติยังไงก็ต้องมี และข้างหน้ายังต้องมี การล้มมันคล้ายๆกัน
เลห์แมนบรอเธอร์ ล้มก็เป็นโดมิโน ราชาเงินทุน(ฟินวัน) ต้มยำกุ้ง ก็เหมือนกัน ถ้าใครเป็นนักลงทุนแล้วรู้ว่าข้างหน้าจะมีวิกฤติ ก็จะปลอดภัยในการลงทุน
ความสุขมันอยู่ที่คุณเลือกเองจะมีความสุข คุณจะไม่ไปโลภ รู้ว่าจุดไหนว่าต้องพอ หลายปีแล้วที่เราไม่เจอวิกฤติเรื้อรัง ยังไงก็คงมีวิกฤติอีก
ดร.นิเวศน์
ถ้าเราเอาตัวรอด ไม่อยู่ในวิกฤติได้ก็จะรอด หน้าที่เราคือไปอยู่ข้างๆมัน อย่าอยู่ในวิกฤติ
ช่วงก่อนเกิดวิกฤติก็มักจะเป็นช่วงที่มีความสุขรืนเริงสุขเหมือนปาร์ตี้ เราก็ต้องยอมหลบเลี่ยงก่อน เวลาวิกฤติหุ้นลงหนัก 50% ถ้าเราหลบวิกฤติได้ทุกครั้งก็สบาย
กลยุทธ์ผ่าวิกฤติ?
คุณธานินทร์
หุ้ยจีโหย่วจีหุ้ย วิกฤติมีโอกาส หุ้นจีโหย่วหุ้นจี โอกาสมีวิกฤติ
อีกวิกฤติที่คนไม่คิดถึงคือการเสพติดข้อมูลข่าวสาร หุ้นขึ้นพูดอย่างหุ้นลงพูดอย่าง ใครเสพติดมากสภาพจิตใจจะแย่ การลงทุนจะผิดพลาด ส่วนตัวไม่ตามข้อมูลในไลน์เลย
ปัจจุบันโอกาสกับวิกฤติสลับกันเร็วมาก คนที่แทงถูกข้างเป็นโอกาสของคนที่แทงผิดข้าง ถ้าเรารู้สึกว่าเป็นโอกาสแต่แทงผิดข้างก็กลายเป็นวิกฤติ
เหมือนยังในหนัง the big short เขาบอกว่าจะไม่เกิดวิกฤติได้ไง ขนาดชื่อหมายังเอามาใส่เป็นชือกู้ซื้อบ้านได้
ก็เป็นโอกาสให้ Short หุ้นรวยได้
ดร.นิเวศน์ บัฟเฟตต์เคยบอกว่า คน 2 คนทำเหมือนกัน แต่คนที่ทำทีหลังโง่ เหมือนคนซื้อหุ้นตัวเดียวกันแต่คนละช่วงเวลา
คุณมนตรี
1. ทุกความเสียหาย ทุกความเจ็บปวดให้เปลี่ยนเป็นบทเรียน พระเจ้าตรัสเรื่องความเสี่ยง เราไม่ควรกลัวความเสี่ยง
แต่ควรประเมินความเสี่ยงให้ได้ จากวิกฤติที่เคยเจอ กับกลุ่มผู้บริหารที่ maybank ผู้บริหารก็ลำบาก เจอลูกค้าก็ลำบาก ทุกครั้งต้องอธิบายหนี้เสียบริษัทเคยเห็นเป็น
npl 400 ล้าน ซึ่งตั้งแต่ปี 98 ผู้บริหารก็ตกลงกันว่าจะดูแลความเสี่ยงให้ดี ซึ่งบลจ.เสียหายคือลูกค้าหมดตัว
ปี 2008 ตลาดหุ้นไทยแกร่งกว่าต่างประเทศเยอะ แต่ก็ยังมีหลายบริษัทที่เป็นลูกโป่งแตกในตลาด market cap. จาก 20,000 ล้านบาท เหลือ 200 ล้านบาทใน 8 วัน
บางโบรกเกอร์ที่ปล่อยสินเชื่อไปบางแห่งขาดทุนเป็น พันล้าน ร้อยล้าน หลายสิบล้านบาท
แต่ Maybank kimeng ขาดทุนเป็น 0 บาท ซึ่งเรามีโอกาสที่เอาบทเรียนมาปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบ
ในแง่นักลงทุนต้องดูปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่ใช้ข่าวลือ หุ้นอภินิหารขึ้นได้โดยไม่มีเหตุผล มักจะลงได้ง่ายๆอย่างมีเหตุผล
ต้องฝึกบริหารความเสี่ยง ถ้ามาขอ margin แล้วบอกว่าทำไมโบรกเกอร์อื่นให้แต่เราไม่ให้ หรือให้จำกัด เพราะเป็นห่วงลูกค้า
2. โบรกเกอร์มีหน้าที่ช่วยนักลงทุน ต้องใช้เหตุผลในการประเมินวิกฤติช่วงใกล้ 1600-1700 คนจะถามว่าใกล้วิกฤติเท่า
ตอนปี 40 ตลาด pe 28 เท่า มองไปข้างหน้า pe20 เท่า คิดส่วนกลับได้ผลตอบแทน 5% ฝากธนาคารตอนนั้นได้ดอกเบี้ย 10%
ตอนนี้ตลาดหุ้นไทย pe 14 เท่า แต่ดอกเบี้ยเงินฝากประมาณ 1%
ตอนต้นปีเราฟันธงว่าตลาดจะผันผวน แปลว่าหุ้นลงก็อย่ากลัวเกินไป ปลายปีน่าจะดี บริษัทจดทะเบียนกำไรดีขึ้น การท่องเที่ยวยังดี การลงทุนเดินหน้า
คำแนะนำคือ ถ้าประเมินเองไม่ออก ก็ศึกษาจากงานวิจัย มีหลายโบรกเกอร์
3. นอกจากเลือกดูจังหวะ อีกทางเลือกโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มมนุษย์เงินเดือน ซื้อหุ้นทุกเดือนในจำนวนเงินเท่ากัน ที่เรียก dollar cost average(dca)
เวลาลงยาวๆจะเหมือนทอยลูกเต๋า ความเสี่ยงจะลดลง ถ้าเราทอยลูกเดียว 1 แย่สุด 6 ดีสุด คือไม่ดีก็แย่ แต่เราทอยไปเรื่อยๆ มันก็จะเข้าสู่ค่าเฉลี่ย
ในระยะยาวถ้าเป็นคนทำงานหลายๆปีอาจจะมีเงินเกษียนได้
คุณกวี
บทวิเคราะห์เราดูพื้นฐาน เราไม่ทำข่าวลือ ข่าว inside มียกตัวอย่างหุ้นตัวหนึ่งคนมาปรึกษา บอกว่า inside ก็เลยตอบกลับมาจะเป็น inside ได้ยังไง
ทุกคนรู้กันหมด สุดท้ายหุ้นแบบนี้ก็ราคาลดลงอย่างมาก บทวิเคราะห์ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่กรองมาดีที่สุดแล้ว ดีกว่าทางไลน์แน่นอน
ช่วงแรกที่ขาดทุนยืมเงินพ่อมา 1 ล้าน คืนไป 3 แสน สอนอะไรเราหลายอย่าง
1. เราเป็นนักลงทุนแบบไหนกันแน่? หลายคนพลาดตั้งแต่วันแรกที่ลงทุน พอกลับไปสำรวจแล้วเรารู้ว่าเป็นใครจะลงทุนได้ถูกทาง
แล้วก็ไปศึกษาแนวทางนั้นให้เหมาะกับตัวเรา เช่น หลายคนมีนิสัยชอบเก็งกำไร ถือหุ้นยาวๆไม่ได้ ก็ต้องรู้จัก cut loss ไม่ใช่เปลี่ยนเป็นถือยาว เป็น VI เพราะว่าลงทุนผิดพลาด
2. ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้น 100% จะลง 20% หรือ 30% ก็ได้ เรียกว่ากระจายความเสี่ยง ผลลัพธ์มหัศจรรย์อาจจะไม่เกิด
แต่ผลตอบแทนจะเหมาะสมและสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว ไม่มีใครซื้อได้ถูกที่สุดและขายได้แพงที่สุด ดูว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน ลงทุนหุ้นได้กี่ %
3. ถ้าลงทุนแนว VI สิ่งสำคัญ 2 เรื่อง ที่ต้องทำคือ รู้จักบริษัทพื้นฐานกิจการ เช่น รู้จัก Ptt ไหม? Pttgc ทำอะไรรู้ไหม? โอเลฟินส์หรืออะโรเมติกส์? ผลิตภัณฑ์เอาไปทำอะไร?
ต้องตอบให้ได้ว่าบริษัททำอะไร และมีความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ดูความสม่ำเสมอในอดีต กำไร อัตราทำกำไร การกู้หนี้ยืมสิน ความสม่ำเสมอไม่ได้หลอกใคร
แต่ราคาหุ้นที่หลอกเรา ความสม่ำเสมอของพื้นฐานในอดีตไม่เคยโกหก เมื่อรู้ว่าบริษัทดี ต่อให้ติดดอย ในระยะยาวบริษัทก็จะยังทำผลกำไรให้กับท่าน
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นถูก ถ้าได้สองอย่างนี้จะได้หุ้นมหัศจรรย์ สิบปีเติบโตเป็นหมื่นเปอร์เซ็นต์ จะรู้ได้อย่างไร ก็วิกฤติจะทำให้หุ้นลง
อย่างเช่น หุ้นรพ.กรุงเทพ วันที่เกิด subprime หุ้นลง 50% แต่ปีนั้นกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องถึงปีถัดไป ถ้าแบบนี้เรียกว่าราคาหุ้นหลอกเรา
นักลงทุนที่เป็น VI จะรู้ว่าเป็นของถูก วิกฤติย่อยๆก็มี เช่น น้ำท่วม บริษัทประกันภัย ราคาหุ้นร่วงแรงมาก
หรือถ้าสมมติ การท่องเที่ยว เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ จะเป็นโอกาสซื้อหุ้นกลุ่มโรงแรม
ถ้าถามวันนี้หุ้นถูกหรือแพง คนจะตอบว่าแพง แล้วทำไมจะไม่รู้ว่าตอนไหนหุ้นถูก พอหุ้นแพงหาหุ้นไม่ได้ก็จะเหลือแต่หุ้นเล็กๆน้อยๆที่ปั่นไปมา
เลือกหุ้นดีสำคัญที่สุด ถ้าเลือกหุ้นดี ตอนดอย ต่อไปมันก็จะมีดอยใหม่ (ราคาสูงขึ้น) แต่ ถ้าเลือกหุ้นไม่ดี จะติดดอยตลอดไป และเป็นสิ่งที่ง่ายด้วย
ทุกคนสามารถใช้สัญชาตญาณแยกได้ว่าหุ้นไหนดีหรือไม่ดี รอวิกฤติและเลือกหุ้นให้ถูกจะได้ผลตอบแทนมหาศาลในฐานะที่เป็นนักลงทุน VI
ดร.นิเวศน์
จากประสบการณ์ที่พยายามยืนข้างๆวิกฤติ ตอนเข้าตลาดเต็มๆปี 40 ดัชนี 850 จุด
ปีต่อมาหุ้นตกจาก 850 เหลือ 400 ปีถัดมา จาก 400 เหลือ 200 เราอยู่ข้างๆเพราะหุ้นเราไม่ขาดทุน กำไรนิดๆด้วยซ้ำ รอจังหวะ พอ 200 หุ้นเริ่มขึ้นเราก็ขึ้นตาม
ในปี 2008 หุ้นลงจาก 800 เหลือ 400 พอร์ตก็ขาดทุนราว 10 กว่า % พอหุ้นขึ้นเราก็ขึ้นตาม ผลตอบแทนเราจะแตกต่างกับตลาดมากก็คือตรงนี้ เพราะเสียหายน้อยกว่าตลาด
วิธีเลี่ยงวิกฤติ เวลาซื้อหุ้นดูว่าหุ้นตัวนั้นจะตายอย่างไร จะตายที่ไหน อย่างปี 40 หุ้นที่จะตายคือ หุ้นที่มีหนี้สูง
ตอนนั้นหุ้นที่รุ่งเรืองมากที่สุด คือหุ้นที่กู้หนี้มากที่สุด เราก็ไปเลือกหุ้นที่ไม่มีหนี้ เป็นผู้นำ ยอดขายไม่ผัวผวนมาก คนต้องกินต้องใช้
เช่น หุ้นอาหาร จะประคองตัวได้ พอเศรษฐกิจฟื้นก็ไปต่อ
ภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือทุกคนอยากจะลงทุน มี theme น่าสนใจคนอยากจะเข้าไปทำเยอะๆ
อย่างตอน subprime พวก real estate บูมมาก บริษัทการเงินปล่อยกู้มหาศาล แต่ในวันนั้นผู้เชี่ยวชาญทุกคนจะบอกว่าหุ้นเหล่านี้ปลอดภัยมาก ระดับเกรด AA,AAA
ฝากไว้ วิธีดูหุ้นง่ายนิดเดียว ให้เราตอบคำถาม 3 คำ 3 ปี 3 พีอี
3 คำคือ รายได้ปีนี้ กำไรปีนี้ ปันผลปีนี้จะต้องเพิ่มขึ้น ไม่ลดลง ต้องให้เพิ่มทั้ง 3 อย่าง
3 ปี ให้ถามตัวเองว่าบริษัทนี้ จะเติบโตต่อไปอีก 3 ปีข้างหน้า ค่อนข้างแน่นอน หลายธุรกิจเราก็ไม่แน่ใจว่าอีก 3 ปีข้างหน้าจะโตได้ เช่นโภคภัณฑ์
3พีอี คือ ต้องคาดการณ์ว่า ถ้าเอาราคาในวันนี้ไปหารกำไรในปีที่ 3 pe ไม่เกิน 20 เท่า สามารถซื้อได้ อย่างบางหุ้นแนวโน้มเติบโตดีมากๆ
อย่างพลังงานทดแทน แต่คิดกำไรในปีที่ 3 แล้ว pe ยังเกิน 20 เท่าก็ยังไม่น่าซื้อ
คุณธานินทร์ เราอย่าบอกตัวเราเองว่า เทคนิคต้องแม่น ปัจจัยพื้นฐานต้องแม่น แต่ต้องถามตัวเองว่าถ้ามันไม่แม่นอย่างที่เราคิด ต้องทำอย่างไร?
คุณมนตรี
อยากแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่าลงทุนแบบ 100-0 fund manager ที่เก่งๆบอกว่า จะไม่ลงทุน 100% ต้องมีเงินสดบ้าง
เช่น 5% ไม่ใช่กลัวความเสี่ยง แต่ถ้ามีโอกาสจะได้เข้าไปซื้อได้ อีกความเสี่ยงคือถือเงินสดเยอะเกินไป เช่น ถือเงินสด 40% หุ้น 60%
ถ้าผิดทาง fund manager ก็ทำผลตอบแทนตามตลาดไม่ทัน
อ.เสน่ห์ เล่ากลอนปิดท้าย
ประสบการณ์สี่เซียนผันเปลี่ยนหุ้น
เซียนลงทุนเซียนวิเคราะห์ให้เหมาะเหม็ง
เซียนคลายเคลียดเซียนหลักทรัพย์กับกิมเอ็ง
เซียนสุดเจ๋งฝ่าวิกฤติพิชิตชัย
อ.ไพบูลย์ กล่าวปิดท้าย การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
เราให้ข้อมูล ท่านตัดสินใจเอง ท่านได้หรือเสียประโยชน์ขึ้นกับท่านเอง
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค และแขกรับเชิญทุกท่านที่จัดงานและให้ความรู้ดีๆให้กับทุกคน
ขอบคุณสปอนเซอร์และทีมงานทุกท่านครับ
ขอบคุณพี่แป๋มที่สนับสนุนของกินในงาน พี่นุชสนับสนุนของกินนอกงาน วันนี้อิ่มจัง
*ในช่วงที่ 1 ติดภารกิจพอดี ขอบคุณพี่อมรที่ช่วยสรุปให้ด้วยนะครับ
Moneytalk@SETครั้งต่อไป
อาทิตย์ 16/10 เปิดจองเสาร์ 8/10
ช่วงที่ 1 สัมภาษณ์หุ้น 4 บริษัท Gpsc, tkn, amatav, อีก 1 บริษัทกำลังยืนยัน
ช่วงที่ 2 เลือกหุ้นบริหารพอร์ตแบบเซียน เซียนวิน, เซียนนิเวศน์ และอีก 2 ท่านกำลังยืนยัน