Norm Conformity อคติการลงทุนแบบเคลื่อนที่เข้าหาฝูงชน
ในเส้นทางของการลงทุนนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบุคคลหนึ่งที่มามีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนมากนั่นคือ “ตลาด” หรือที่เบนเกรแฮมตั้งชื่อให้ว่า Mr. Market นั่นเอง หลายคนคงเคยประสบกับปัญหาว่าเมื่อซื้อหุ้นแล้วราคาลง เราจะมีความรู้สึกว่าบริษัทนี้อาจจะไม่ดี พื้นฐานไม่แข็งแกร่งอย่างที่คิด ในขณะที่เมื่อซื้อหุ้นแล้วราคาขึ้น เราจะรู้สึกว่าบริษัทนี้ดี พื้นฐานยอดเยี่ยม ทั้งที่ความจริงการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นๆ ไม่ได้บอกถึงพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทเลย
คำถามคือถ้านายตลาดตัดสินใจผิดจริงแล้วจะมีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดตามนายตลาดไหม?
Norm Conformity คืออคติประเภทหนึ่งในการตัดสินใจ โดยอคตินี้กล่าวถึงการที่คนเรามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจตาม Norm หรือบรรทัดฐานของกลุ่ม แม้ว่าคำตอบนั้นจะผิดก็ตาม ส่วนหนึ่งเพราะมนุษย์มีความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจมากกว่าที่จะอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของคนในสังคม นั่นแปลว่าถึงแม้ว่าจะรู้ทั้งรู้ว่านายตลาดผิด แต่เราในฐานะมนุษย์คนหนึ่งก็มีโอกาสจะตัดสินใจพลาด เพราะมันเป็นจิตวิทยาพื้นฐานของคนที่จะเคลื่อนที่เข้าหาฝูงชนนั่นเอง
Norm Conformity มีการศึกษาระดับโลกอยู่ชิ้นหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก โดยนักทดลองได้ทดลองให้คน 6 คนมานั่งตอบคำถามในห้องหนึ่ง ซึ่งมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ ส่วนอีก 5 คนที่เหลือนั้นถูกจัดฉากให้ตอบถูกและผิดไปตามการทดลอง
การทดลองมีชื่อว่า Asch Experiment โดยคำถามที่ถามจะเป็นคำถามที่ง่ายมาก เช่น เส้นตรงไหนที่ยาวเท่ากัน (ตัวอย่างภาพคำถามอยู่ด้านล่างบทความ) โดยคำตอบนั้นชัดเจนมาก และเมื่อทดลองให้คนตอบโดยเป็นอิสระนั้นพบว่ามีโอกาสผิดต่ำกว่า 1% เสียอีก เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่ใครๆ ก็น่าจะตอบได้
ผลการทดลองออกมาน่าสนใจมาก เนื่องจากคำถามที่ผู้ร่วมทดลองอื่นจงใจตอบผิดเหมือนกัน 12 คำถามใน 15 คำถามนั้นมีผู้ทดลองที่ตอบโดยอิสระตอบผิดตามไปด้วย ถึงแม้ว่าคำถามนั้นจะง่ายเพียงไหนก็ตาม โดยพบว่า 75% ของผู้ทดลองตอบผิดคำถามใดคำถามหนึ่ง ในขณะที่มีเพียง 25% เท่านั้นที่ตอบถูกต้องตามข้อเท็จจริง
ถึงแม้ว่าการทดลองนี้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ก็อาจพูดง่ายๆ ว่า ถ้าการตัดสินใจของเราถูกอิทธิพลจากปัจจัยของฝูงชนเข้ามาเกี่ยวข้อง เรามีโอกาสตัดสินใจผิดถึง 75% ทั้งที่มันเป็นคำถามที่ง่ายแสนง่าย แต่อย่าลืมว่าโลกของการลงทุนนั้น คำถามไม่ได้ง่ายระดับว่าเส้นตรงไหนยาวเท่ากัน แต่กลับซับซ้อนไปด้วยเหตุและปัจจัยจำนวนมาก
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการลงทุนหนึ่งคือการพาตัวเองออกไปจากฝูงชนเพื่อลดอคติด้าน Norm Conformity Bias ที่อาจเกิดขึ้นในการตัดสินใจได้ เรียนรู้ว่าอะไรคือข้อเท็จจริงและอะไรคือข้อคิดเห็นที่ตลาดให้ เพราะถ้านักลงทุนยังเป็นอิสระจากตลาดไม่ได้ นักลงทุนก็ยากที่จะชนะตลาดได้ในระยะยาว
สังเกตว่าหลายครั้ง หุ้นบางตัวในตลาดได้รับความนิยมอย่างมากจนน่าตกใจ ซึ่งถ้ามองในมุมมองของการประเมินมูลค่าแล้วอาจจะเรียกได้ว่า “แพงมาก” ยกตัวอย่างเช่นหุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หุ้นบางตัวสามารถขึ้นได้เป็นสิบเด้งเพียงเพราะหันไปทำธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งแน่นอนว่านักหลายคนไม่ได้เข้าซื้อเพราะเข้าถึงพื้นฐานอย่างแท้จริง แต่เป็นเพราะโดนกระแสของตลาดกดดันว่า “หุ้นพลังงานทดแทนคือหุ้นของอนาคต” “หุ้นพลังงานทดแทนยังไงก็มาแน่” “หุ้นพลังงานทดแทนจะก้าวกระโดดเพราะคนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเสียงของตลาดอาจจะส่งผลกดดันให้เราตัดสินใจผิดพลาด เชื่อไหมว่าหลายต่อหลายครั้งเราก็รู้ว่ามันไม่ได้ดีเท่าที่ตลาดให้ความหวัง แต่เราก็ยังตัดสินใจซื้อ เพราะส่วนหนึ่งเราไม่อยากตกรถ เราไม่อยากแตกต่างจากตลาด หรือที่เรียกว่าจิตใจเรากำลังเกิด Norm Conformity Bias นั่นเอง
ลงทุนศาสตร์
Norm Conformity อคติการลงทุนแบบเคลื่อนที่เข้าหาฝูงชน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
Norm Conformity อคติการลงทุนแบบเคลื่อนที่เข้าหาฝูงชน
โพสต์ที่ 1
แนบไฟล์
คำถามที่ใช้ใน Asch experiment
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ก็มีความฝันปะปนอยู่ด้วยเสมอ - ลงทุนศาสตร์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Norm Conformity อคติการลงทุนแบบเคลื่อนที่เข้าหาฝูงชน
โพสต์ที่ 3
ยินดีครับลูกพี่ อิอิnuthjira เขียน:ขอบคุณครับ ^^
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ก็มีความฝันปะปนอยู่ด้วยเสมอ - ลงทุนศาสตร์