หน้า 1 จากทั้งหมด 1

IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 04, 2017 11:34 pm
โดย ดำ
เพื่อนๆ ได้เริ่มศึกษาผลกระทบจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ ที่เรียกกันว่า IFRS 9 กันบ้างรึยังครับ?

ผมขอลองยกตัวอย่าง 2 บทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาเป็นบทเกริ่นนำให้พอเห็นภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับหุ้นในตลาด โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มการเงิน

PwC ชี้มาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 กระทบสถาบันการเงินมากสุด เหตุมีเครื่องมือทางการเงินจำนวนมาก
http://www.efinancethai.com/LastestNews ... h=9&lang=T

"ทริส" จับตาน็อนแบงก์-ลีสซิ่งแบกต้นทุนการเงินฉุดกำไร
http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1482307329

เท่าที่ดู บางบริษัทก็เตรียมตัวกันไปบ้างแล้ว ก็ถือว่า conservative พอสมควร แต่อาจมีบางธุรกิจที่เน้นการเติบโตในเชิงปริมาณในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งก็อาจได้รับผลกระทบจากคุณภาพของการเติบโตที่อาจย้อนกลับมากลายเป็นอันตรายในอนาคตข้างหน้าได้

ประเด็นนี้น่าจะกระทบกับหุ้นในวงกว้างทีเดียว หุ้นตัวไหนเกี่ยวข้องบ้างทั้งด้านบวกหรือลบ มาลองแชร์กันครับ

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 04, 2017 11:51 pm
โดย chaitorn
มาขอ share ความรู้
อยากให้ลองศึกษาดูนะครับ
http://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/uplo ... thawut.pdf

ในเอกสารชุดนี้จะบอกถึงแนวทางการตั้งสำรองหนี้สินเชื่อเงินกู้โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวิธีการสำรองในอดีต
ที่ใช้แนวทางการจัดชั้นหนี้ที่เป็นข้อมูลในอดีตถึงปัจจุบัน

แต่แนวทางใหม่ตามมาตรฐานบัญชี ifrs9 ที่ประเทศไทยจะนำมาใช้ในปี 2562
จะต้องมีการคำนวนกระแสเงินสดในอนาคตของลูกหนี้เงินกู้โดยใช้ข้อมูลโอกาสความน่าจะเป็นของหนี้ที่จะมีโอกาสเสียและมูลค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย

โดยต้องมีข้อมูลการคำนวนเพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางการตั้งสำรองหนี้โดยคิดนับตั้งแต่วันที่ปล่อยสินเชื่อเลยวันแรกเป็นต้นทุนเครดิตปล่อยกู้ไม่ต้องรอการจัดชั้นหนี้และต้องมีการทบทวน
คำนวนทุกปีด้วย

ในหน้า5ของเอกสารจะบอกถึงผลกระทบการตั้งสำรองที่เกิดขึ้นเทียบกับปัจจุบัน

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 04, 2017 11:52 pm
โดย ดำ
ที่จริงผมมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจการเงินน้อยมากๆ แต่ผมลองนึกภาพว่า ด้วยมาตรฐานแบบเก่า กว่านักลงทุนจะเห็นหนี้สงสัยจะสูญ หรือ NPL ก็ต้องรอจนกว่าหนี้ที่ปล่อยออกไปแล้วลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้นานหลายเดือนตามเกณฑ์ที่แต่ละบริษัทกำหนด จากนั้นจึงจะปรากฏเป็นตัวเลขแสดงให้เห็น

แต่มาตรฐานใหม่ จะต้องเผื่อความเสี่ยงนี้ทันทีตั้งแต่ปล่อยกู้ออกไป ทำให้นักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงได้ตรงตามจริงและเป็นปัจจุบันมากขึ้น

ปัญหาที่ผมคาดว่าอาจเกิดขึ้น อย่างน้อยก็ในระยะเวลาหนึ่ง ก็คงจะเป็นในหุ้นที่มีนโยบายปล่อยกู้แบบ Aggressive มากๆ โดยที่การควบคุมความเสี่ยงอาจค่อนข้างหละหลวม ในอนาคตหลังจากที่ประกาศใช้มาตรฐานใหม่นี้ อาจต้องทำการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องกระทบกับ bottom line ในที่สุด

หุ้นที่ผมว่าควรต้องลองทบทวนอย่างยิ่งคือ หุ้นการเงินที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะมีการตั้งสำรองน้อยกว่ากลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลฯ

เพื่อนๆ มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ? ลองมาแชร์ไอเดียกัน

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 05, 2017 12:08 am
โดย leky
ความเห็นส่วนตัวนะ จากที่เคยตามหุ้นกลุ่มนี้แล้วถือหุ้นกลุ่มนี้มาบ้าง

หุ้นกลุ่มนอนแบงค์นี่ จะว่าไปชะตากรรมของงบการเงินที่จะออกมาดีหรือไม่ดี โตมากโตน้อย มันก็ขึ้นอยู่กับวิธีการตั้งสำรองด้วยครับ

ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ ในกรณีของ KTC ที่ตอนที่ตั้งสำรองมาก ๆ งบดูไม่ดีอยู่หลายปี ราคาหุ้นย่ำอยู่ตรง 10-20 บาท แต่พอเปลี่ยนผบห. เปลี่ยนวิธีการตั้งสำรองเหล่านี้ กำไรดีขึ้นมาก ราคาหุ้นวิ่งเป็นเด้ง ๆ

เท่าที่ทราบอีกตัวหนึ่งก็น่าจะเป็น AEONTS

ตรงนี้ผมไม่แน่ใจอีกเรื่องหนึ่งนะครับ ว่าหุ้นที่จะไปขยายธุรกิจในต่างประเทศ จะโดนกระทบมากน้อยแค่ไหน เพราะกฎหมายของแต่ละประเทศก็น่าจะมีการควบคุมกันอยู่

ผมว่าถ้ามีการควบคุมให้มีมาตรฐานเดียวกันก็คงเป็นเรื่องที่ดี ไม่ใช่ว่าผบห.อยากกำหนดเท่าไหร่ก็ทำ

แต่ก็ต้องยอมรับว่า ในอนาคตกำไรของหุ้นกลุ่มนี้อาจจะลดลง ถ้าไม่สามารถโตด้วยวิธีการอื่น

คนที่ลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ คงจะต้องระวังน่ะครับ เพราะเราเองก็ไม่ทราบว่าบ.เองจะมีนโยบายจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร จะค่อยเป็นค่อยไป จะเล่นแรง ๆ ทีเดียว หรือจะต้องถึงขนาดมีการเพิ่มทุนสำรองไว้หรือเปล่า

และผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า ถ้าเป็นแบบในสองกรณีหลัง คือ จัดหนักทีเดียว หรือต้องเพิ่มทุนเพื่อรองรับ เรื่องพวกนี้ทางผบห.คงไม่แจ้งให้เราทราบก่อนแน่ครับ เราต้องต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะลุ้นกันเอาเอง

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 05, 2017 7:46 am
โดย chaitorn
ผมคิดว่ามาตรฐานตัวใหม่ น่าจะกระทบ 2 ส่วนในกรณีของสินเชื่อหรือเช่าซื้อ

1. ในอดีตเวลาปล่อยสินเชื่อเยอะในปีแรกๆ ส่วนใหญ่ Npl จะน้อยมากทำให้ผู้บริหารที่เน้นเชิงรุกจะขยาย Port สินเชื่อใหม่เชิงรุกมากๆเช่นเป็น 100% เป็นต้น

แต่มาตรฐานใหม่ ถ้าทำแบบเดิมไม่ได้ถนัดนัก เพราะมันต้องตั้งสำรองทันที ดีไม่ดีในอดีตที่เคยทำกำไรได้ทันที อาจขาดทุนจาก credit cost ในปีแรกๆด้วยซ้ำครับ อันนี้หละครับใครทำเชิงรุกอาจต้องอาศัยทุนที่เพิ่มลองรับการขยายตัวมากขึ้นเพราะต้องใช้ทุน2ส่วนคือ 1.ทุนรองรับสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ Basel ตามน้ำหนักความเสี่ยงประเภทสินเชื่อคล้ายๆเกณฑ์ De ratio ของอุตสาหกรรมทั่วไปและ2ตัวใหม่คือสำรองรองรับความเสี่ยงในอนาคตในวันแรกที่ปล่อยเลยไม่ต้องรอตั้งสำรองการจัดชั้นหนี้ในอนาคต

ตรงนี้จะกระทบพวกที่เร่งขยาย port เยอะๆครับโดยเฉพาะพวกเล็กๆหรือพวกเน้นปล่อยเชิงรุกสูงกว่าอุตสาหกรรมมากๆทั้งในและต่างประเทศซึ่งอาจต้องเพิ่มทุนมากขึ้นแลกกับการเติบโตสูง

2. สินเชื่อเดิม หากคุณภาพแย่ลงเมื่อเทียบกับสมมุติฐานข้อมูลในอดีตซึ่งเกณฑ์กำหนดให้ทบทวนปีละครั้ง ส่วนนี้ต้องตั้งสำรองเพิ่มหรือลดตามคุณภาพหนี้ โดยสำรองเพิ่มล่วงหน้าไป 1 ปีเช่นกันโดยไม่ต้องดูการจัดชั้นแบบเดิม

ทำให้ธุรกิจที่ให้สินเชื่อทุกประเภทจะต้องสำรอง 2 ส่วนเพิ่มขึ้นคือ การสำรองเพื่อขยายงานเชิงรุกและสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของสินเชื่อใหม่และเก่าล่วงหน้าครับ

มีโอกาสที่พวกเร่งให้สินเชื่อโตมากๆในปีแรกๆจึงต้องมีการเพิ่มทุนมารองรับที่สูงขึ้นครับ

ตอนนี้ผมเห็นพวก ลิสซิ่งบางแห่งมีการเขียนไว้ในหมายเหตุคำอธิบายของฝ่ายบริหารว่าได้มีการพิจารณาตั้งสำรองเพิ่มเติมโดยทะยอยตั้งไปก่อนที่จะมีการapply มาตรฐานใหม่นี้ในปี 2562ครับเช่นราขธานีลิซซิ่งซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากที่ผู้บริหารระมัดระวังตั้งแต่ตอนนี้ก่อนใช้จริง

และที่ผมได้อ่านข้อมูลมาในหลายประเทศมีการใช้มาตรฐานนี้ปีหน้าตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ไปก่อนประเทศไทย 1 ปีแล้วด้วยตามที่ Pwc ให้ข้อมูลไว้

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 05, 2017 8:28 am
โดย chaitorn
http://market.sec.or.th/public/ipos/IPO ... FileSeq=22

ในหน้า 3 นี้ ใน part หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญของบริษัท ราชธานีลิซซิ่งหรือ Thani
มีคำอธิบายการตั้งสำรองล่วงหน้าตามเกณฑ์ ifrs9 ซึ่งบริษัทมีการทะยอยตั้งเพิ่มทุกไตรมาสแล้วครับ

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 05, 2017 8:34 am
โดย harikung
Ktc เค้าก้อสำรองเยอะตามปกตินะ(และก้อยังเยอะขึ้นเรื่อยๆ) ที่ก่อนเปลี่ยนผบห.แล้วลุ่มๆดอนๆน่าจะมาจากปัญหาภายในกับผบห.ชุดเก่ามากกว่า ส่วนaeontsก้อจริงๆตามที่ว่า สำรองน้อยลงชัดเจนจนกำไรโดดขึ้นมา1ปีจากนั้นกำไรก้อนิ่งๆจนถึงวันนี้

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 05, 2017 10:00 am
โดย ลูกหิน
ขอบคุณกระทู้นี้มากครับ ที่ออกมาเตือนเพื่อนๆนักลงทุนนะครับ จริงๆข้อมูลนี้มีมาซักพักใหญ่แล้ว แต่ที่สงสัยคือไม่มีใครพูดถึงในห้องต่างๆของกลุ่มลิสซิ่งเลย ผมก็ไม่อยากเข้าไปเตือนมาก เพราะผมดูออกถึงวิธีทำเกมของกลุ่มเค้าอยู่แล้ว จะเห็นใจก็แต่รายย่อยที่ฝันหวานตามลมปากและข้อมูลด้านเดียว นักลงทุนที่ดีต้องอย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ต้องพิสูจน์หาหลักฐาน ข้อโต้แย้ง ไม่งั้นจะกลายเป็นคนที่ยืนอยู่ในสวนดอกไม้ที่กำลังไฟไหม้ ไม่ต้องถามนะครับว่าคนเริ่มเรื่องเค้าจะทำยังไง คงหายตัวไปเรียบร้อยพร้อมกับทิ้งความเสียหายไว้ให้เรา :wall:

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 06, 2017 12:25 am
โดย nu
ผมว่าต้องไปรอดูพวกที่่ขยายพอร์ตเร็วๆ อย่าง MTLS SAWAD จะโดนผลกระทบแค่ไหน

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 09, 2017 9:08 am
โดย sak007
ผมมองว่า มาตรฐานบัญชี มันก็ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นั่นแหละ
เพื่อให้นักบัญชีมีงานทำ

ฝรั่งมันก็คิดโน้น คิดนี่ไปเรื่อย ๆ ตั้งกฎเกณฑ์กันเอง

เช่นในอดีต มีมาตรฐานแบบนี้ก็ว่าดีแล้ว
พอเวลาผ่านไป ก็ว่าไม่ดี ต้องปรับเปลี่ยน
ตีความกันใหม่ ตรงนั้นไม่ดี ตรงนี้ดี

Re: IFRS9 รหัสนี้ที่มาพร้อมกับวิกฤตหรือโอกาส คุณพร้อมรึยัง?

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 11, 2017 7:29 pm
โดย wj
ผมคิดว่าเป็นเรื่องดีมากที่จะเตรียมตัวก่อน
แต่ผมว่า แม้ว่าจะกระทบกำไร จะกระทบในระยะสั้นเท่านั้น
เพราะ กำไร=ดอกเบี้ยสุทธิ......... - สำรอง + กลับสำรอง
ยิ่งสำรองมากไว้ก่อนก็ไปกลับรายการภายหลัง

แม้ว่าการสำรองแบบใหม่ๆจะเปลี่ยนเป็นแบบไหน กำไรสุทธิภายหลังการปรับเปลี่ยนได้ระยะหนึ่ง กำไรก็จะกลับมาดังเดิม

ลูกเล่นสำหรับธุรกิจนี่มันเยอะไปหมด แต่ผมว่าหลักการเดิมๆก็ยังใช้ได้ครับ

หากกฎเกณฑ์ใหม่ให้สำรองมากขึ้นและทันทีที่ปล่อยกู้มันจะทำให้อัตรากำไรสุทธิลดลงพักหนึ่ง ซึ่งผิดจากปัจจุบันที่มีกำไรเพิ่มทันที แต่ระยะยาวแล้วการสำรองเพิ่มหรือกลับรายการหนี้สูญรับคืนก็จะเป็นรายการสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าการสำรองตามเกณฑ์ใหม่จะสะท้อนคุณภาพสินเชื่อหรือไม่