ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ในช่วงประมาณ 10-15 ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นนักลงทุนและ/หรือนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จสูงมากจำนวนไม่น้อยกลายเป็น “ดาว” ในตลาดหุ้นไทย สถิติผลงานการลงทุนของพวกเขานั้นสูงลิ่วจนไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับผลงานการลงทุนของ “เซียน” ในระดับโลก และแม้ว่าสถิตินี้ยังไม่ได้ยาวพอที่จะนำมาคิดเป็นจริงเป็นจังแต่ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นผลงานที่เกิดขึ้นได้ยากในที่อื่นหรือส่วนอื่นของโลกอยู่ดี ผมคงไม่ต้องพูดซ้ำอีกว่ามันเป็นไปไม่ได้สำหรับ “ดาว” จำนวนมากที่จะทำผลงานได้เท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิม เหตุผลก็เพราะว่าสภาพของตลาดหุ้นไทยในช่วงประมาณ 10 กว่าปีมานี้เป็นสถานการณ์พิเศษที่เอื้ออำนวยให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น “VI” หรือนักเก็งกำไรที่ “เกาะกระแส VI” สามารถทำเงินได้อย่างง่ายและเร็วด้วยวิธีการที่ไม่ยาก แต่สถานการณ์แบบนั้นผมคิดว่ามันกำลังหมดไป การลงทุนในตลาดหุ้นไทยในอนาคตน่าจะกำลังกลับเข้าสู่ “ภาวะปกติ” ที่จะมีแต่คนที่แน่จริง ๆ และมีหลักการที่ถูกต้องในระยะยาวจริง ๆ เท่านั้นที่จะเป็น “ดารา” ซึ่งก็แน่นอนว่าน่าจะรวมถึง “ดาว” หลายคนในปัจจุบันด้วย
“ดาว” ที่มีอยู่จำนวนไม่น้อยในปัจจุบันนั้น ผมคิดว่าจะค่อย ๆ ลดความ “สุกสว่าง” ลงจนอาจจะไม่เป็นดาวอีกต่อไปเมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปีข้างหน้าแต่พวกเขาก็น่าจะยังมีชีวิตที่ดีอยู่เนื่องจากความมั่งคั่งที่สะสมเอาไว้มากจาก “ช่วงทอง” ที่ผ่านมา หน้าที่ของเขาก็คือ พยายามรักษา “ปาฏิหาริย์”ของตนเองไว้ให้ได้ แต่ก็น่าจะยังมี “ดาว” บางดวงที่ต้อง “อับแสง” หรือ “ดับแสง” ลงเนื่องจากไม่ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของตลาดและการลงทุน พวกเขายังใช้เทคนิคและวิธีการเดิมที่เคยทำเงินมากแต่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในระยะยาวและในทุกสถานการณ์ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน กำไรที่เคยได้มหาศาลก็กลายเป็นขาดทุนมหาศาลจนอาจจะกลายเป็นหายนะ และนี่ก็คือสิ่งที่ผมจะพูดถึงในบทความนี้
ถ้าพูดถึงนักลงทุนระดับโลกที่เคยเป็น “ดาว” ในช่วงเวลาหนึ่งเช่น 10-20 ปีหรือมากกว่านั้นแต่สุดท้ายกลายเป็น “ดาวดับแสง” เราก็มีรายชื่ออยู่ไม่น้อยและอยู่ในทุกกลุ่มของนักลงทุน เริ่มตั้งแต่ Jesse Livermore นักเก็งกำไร “บันลือโลก” ที่เล่นหุ้นตั้งแต่อายุ 14 ปี ถึงอายุประมาณ 50 ปีเขาก็กลายเป็นมหาเศรษฐีมีเงินคิดเป็นหลายหมื่นล้านบาทไทยถ้าคิดเป็นเงินในวันนี้ แต่ตลอดชีวิตการลงทุนของเขานั้น เขาผ่านช่วงสูงสุดและตกต่ำหลายครั้งตามสภาพตลาดหลักทรัพย์จนถึงช่วงปลายชีวิตที่เขาอยู่ในสภาพล้มละลายและฆ่าตัวตายในปี 1940 ด้วยวัย 63 ปี
บิล มิลเลอร์ นักลงทุนหุ้น Growth ที่บอกว่าตนเองเป็น VI นั้น ครั้งหนึ่งน่าจะประมาณกว่า 10 ปีมาแล้วเขาเคยเป็น “ดาว” ที่สามารถสร้างผลงานการลงทุนที่ยอดเยี่ยมเอาชนะตลาดติดต่อกันมา 15 ปี โดยการเน้นลงทุนในหุ้นไฮเท็ค แต่สุดท้ายเมื่อ “ฟองสบู่แตก” ผลงานของกองทุนก็คว่ำไม่เป็นท่าและทำให้ชื่อเขาตกลงมาจนคนรุ่นหลังแทบไม่รู้จักในปัจจุบันแม้ว่าเขาก็ยังทำงานเป็นผู้บริหารกองทุนรวมอยู่
“ดาวดับแสง” ที่น่าสนใจมากคนหนึ่งก็คือ Julian Robertson อดีตผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ กลุ่ม “Tiger Fund” ที่เน้นการลงทุนแนว Value เป็นหลัก เขาทำผลงานได้ดีมากมาตลอดแม้ว่าจะมีปีดีและร้าย อย่างไรก็ตาม ในปีประมาณ 2000 ที่หุ้น Growth กำลังมาแรง เขาก็ต้อง “ปิดกองทุน” เนื่องจากผลขาดทุนอย่างหนักโดยเฉพาะจากการลงทุนในหุ้นสายการบิน เขาสารภาพว่าเขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นที่ทำให้หุ้น Value หรือแนวการลงทุนแบบ VI “ใช้ไม่ได้” อีกต่อไป บางทีเขาอาจจะคิดว่าความคิดและแนวทางของเขา “ตกยุค” แล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ลูกน้องของเขาหลายคนก็ออกมาตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ “Tiger Cubs” หรือ “ลูกเสือ” หลายสิบกองทุนโดยมีเขาเป็นคนช่วยลงเงินสนับสนุนและประสบความสำเร็จต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ดาวดับแสงสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ นักกลยุทธ์ลงทุนของกองทุน Long-Term Capital ที่เป็นนักวิชาการการเงินชื่อดังสองคนที่ได้รับรางวัลโนเบิลทั้งคู่และทฤษฎีของพวกเขานั้นนักการเงินระดับปริญญาโทและเอกทุกคนต้องเรียนก็คือ Myron Scholes กับ Robert Merton ทั้งสองคนใช้ทฤษฎีและการพิสูจน์ทางสถิติการเงินมาออกแบบการลงทุนที่อาศัยการกู้เงินมหาศาลมาลงทุนในสิ่งที่เขาคำนวณดูแล้วว่า “ไม่มีความเสี่ยง” โอกาสที่จะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์นั้นน้อยจนแทบเป็นศูนย์ กองทุนตั้งขึ้นในปี 1994 ผลตอบแทนใน 3 ปีแรกนั้น “มหัศจรรย์” ที่ 21% 43% และ 41% ตามลำดับ ด้วยเม็ดเงินลงทุนมหาศาลจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ถูกนำเข้ามาลงทุนเพราะเชื่อมั่นใน “โมเดล” ของคนที่คิดหาทฤษฎีมูลค่าของ Option ที่เรียกว่า “Black and Scholes” แต่แล้ว เหตุการณ์ “ไม่คาดฝัน” ก็เกิดขึ้น เริ่มแรกก็คือวิกฤติต้มยำกุ้งและต่อมาที่สำคัญก็คือการ “ล่มสลาย” ของเงินรัสเซียในปี 1998 ที่ทำให้กองทุน “เจ๊ง” ความเสียหายเกิดขึ้นมหาศาลขนาดที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องเข้ามาช่วยกู้ไม่ให้สถาบันการเงินที่เข้าไปเกี่ยวข้องต้องล้มละลาย เหตุการณ์ครั้งนี้ให้บทเรียนว่า “วิกฤติ” นั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทยและ “ดาว” ที่ “ดับแสง” หรืออาจจะกำลังดับ ผมเองคงไม่กล่าวถึงตัวบุคคล แต่สิ่งที่ผมจะพูดก็คือสาเหตุที่ทำให้การลงทุนของพวกเขาเสียหายอย่างหนักจนบางครั้งเป็นหายนะนั่นก็คือเรื่องของการบริหารความเสี่ยงที่ดูเหมือนจะถูกละเลยไปมากในยามที่ทุกอย่างกำลังดูดีไปหมด ตลาดหุ้นสดใส ธุรกิจสดใส เส้นทางแห่งอนาคตมีแต่ความแน่นอน
“ดาว” ที่ดำรงอยู่ในทุกวันนี้นั้น ผมคิดว่าส่วนใหญ่นั้นน่าจะเป็นคนหนุ่มที่มีความมั่นใจเต็มเปี่ยม เป็นคนที่กล้าได้กล้าเสียและหลายคนอาจจะ “บ้าบิ่น” ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะประสบความสำเร็จอย่างสูงมาหลายปี หลายคนมีความคิดที่จะ “รวยมาก” เป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีในวันหนึ่ง พวกเขาไม่อยากจะแค่ลงทุนให้มีผลตอบแทนที่ดีมีฐานะการเงินที่ใช้ได้ เขาคิดว่าถ้าไม่รวยก็ “เจ๊ง” ไปเลยก็ได้ ไม่อยากจะมีชีวิต “ธรรมดา ๆ” ดังนั้น ในบางครั้งพวกเขาสามารถ “จำนองบ้านมาลงทุน” พวกเขาพร้อมกู้เงินแบบ “ไฮไฟแน้นซ์” ใช้เงินของทางบ้านหรือเงิน “นอกระบบ” คือกู้เงินหลายเท่าของเงินที่ตนเองมีมาลงทุนแบบใช้มาร์จิน ซึ่งทำให้ความเสี่ยงสูงมหาศาลแต่ก็สามารถทำให้รวยได้ในชั่วข้ามคืน โชคดีที่ว่าเขาประสบความสำเร็จ กำไรหลายล้านหรือหลายสิบหรือร้อยล้านบาทเนื่องจากภาวะตลาดหุ้นเป็นใจ ตัวหุ้นเป็นใจ เขากลายเป็น “ดาวสว่างแสง” พวกเขาไม่หยุดและยังทำต่อเพราะอยากรวยขึ้นไปอีก
“ดาวดับแสง” มักจะเกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและการที่ “ดาว” ปล่อยให้การลงทุนอยู่ในความเสี่ยงมหาศาล เฉพาะอย่างยิ่งก็คือการลงทุนแบบไม่กระจายความเสี่ยงถือหุ้นเพียงตัวสองตัวที่มีขนาดใหญ่มากโดยที่หุ้นตัวนั้นเองมีความเสี่ยงสูงมากเช่น มีหนี้มหาศาล มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นโภคภัณฑ์น้อยชนิด มีลูกค้าน้อยรายหรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือลูกค้าใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ หรือเป็นสถาบันการเงินที่อาจจะล่มสลายได้ง่ายจากปัญหาหนี้เสีย และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ บริษัทนั้นมีการโกงของผู้บริหารที่อาจจะรุนแรงจนทำให้บริษัทล้มละลายได้
ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ การที่จะเป็น “ดาวค้างฟ้า” ได้นั้น การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ไม่กู้เงินมาลงทุนเกิน 20% ของพอร์ต ไม่ถือหุ้นตัวเดียวสูงกว่า 50% ของพอร์ตไม่ว่ากรณีใด และถ้าถือหุ้นแบบนั้นก็ต้องมั่นใจว่าเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนั้นก็คือ อย่ามั่นใจในตัวเองจนคิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามที่เราคาด ต้องคิดเสมอว่าอะไรคือ “จุดตาย” ของหุ้นและของเรา และโอกาสเกิดมีมากน้อยแค่ไหน
“ดาว” ที่มีอยู่จำนวนไม่น้อยในปัจจุบันนั้น ผมคิดว่าจะค่อย ๆ ลดความ “สุกสว่าง” ลงจนอาจจะไม่เป็นดาวอีกต่อไปเมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปีข้างหน้าแต่พวกเขาก็น่าจะยังมีชีวิตที่ดีอยู่เนื่องจากความมั่งคั่งที่สะสมเอาไว้มากจาก “ช่วงทอง” ที่ผ่านมา หน้าที่ของเขาก็คือ พยายามรักษา “ปาฏิหาริย์”ของตนเองไว้ให้ได้ แต่ก็น่าจะยังมี “ดาว” บางดวงที่ต้อง “อับแสง” หรือ “ดับแสง” ลงเนื่องจากไม่ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของตลาดและการลงทุน พวกเขายังใช้เทคนิคและวิธีการเดิมที่เคยทำเงินมากแต่ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในระยะยาวและในทุกสถานการณ์ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน กำไรที่เคยได้มหาศาลก็กลายเป็นขาดทุนมหาศาลจนอาจจะกลายเป็นหายนะ และนี่ก็คือสิ่งที่ผมจะพูดถึงในบทความนี้
ถ้าพูดถึงนักลงทุนระดับโลกที่เคยเป็น “ดาว” ในช่วงเวลาหนึ่งเช่น 10-20 ปีหรือมากกว่านั้นแต่สุดท้ายกลายเป็น “ดาวดับแสง” เราก็มีรายชื่ออยู่ไม่น้อยและอยู่ในทุกกลุ่มของนักลงทุน เริ่มตั้งแต่ Jesse Livermore นักเก็งกำไร “บันลือโลก” ที่เล่นหุ้นตั้งแต่อายุ 14 ปี ถึงอายุประมาณ 50 ปีเขาก็กลายเป็นมหาเศรษฐีมีเงินคิดเป็นหลายหมื่นล้านบาทไทยถ้าคิดเป็นเงินในวันนี้ แต่ตลอดชีวิตการลงทุนของเขานั้น เขาผ่านช่วงสูงสุดและตกต่ำหลายครั้งตามสภาพตลาดหลักทรัพย์จนถึงช่วงปลายชีวิตที่เขาอยู่ในสภาพล้มละลายและฆ่าตัวตายในปี 1940 ด้วยวัย 63 ปี
บิล มิลเลอร์ นักลงทุนหุ้น Growth ที่บอกว่าตนเองเป็น VI นั้น ครั้งหนึ่งน่าจะประมาณกว่า 10 ปีมาแล้วเขาเคยเป็น “ดาว” ที่สามารถสร้างผลงานการลงทุนที่ยอดเยี่ยมเอาชนะตลาดติดต่อกันมา 15 ปี โดยการเน้นลงทุนในหุ้นไฮเท็ค แต่สุดท้ายเมื่อ “ฟองสบู่แตก” ผลงานของกองทุนก็คว่ำไม่เป็นท่าและทำให้ชื่อเขาตกลงมาจนคนรุ่นหลังแทบไม่รู้จักในปัจจุบันแม้ว่าเขาก็ยังทำงานเป็นผู้บริหารกองทุนรวมอยู่
“ดาวดับแสง” ที่น่าสนใจมากคนหนึ่งก็คือ Julian Robertson อดีตผู้จัดการเฮดจ์ฟันด์ กลุ่ม “Tiger Fund” ที่เน้นการลงทุนแนว Value เป็นหลัก เขาทำผลงานได้ดีมากมาตลอดแม้ว่าจะมีปีดีและร้าย อย่างไรก็ตาม ในปีประมาณ 2000 ที่หุ้น Growth กำลังมาแรง เขาก็ต้อง “ปิดกองทุน” เนื่องจากผลขาดทุนอย่างหนักโดยเฉพาะจากการลงทุนในหุ้นสายการบิน เขาสารภาพว่าเขาไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตลาดหุ้นที่ทำให้หุ้น Value หรือแนวการลงทุนแบบ VI “ใช้ไม่ได้” อีกต่อไป บางทีเขาอาจจะคิดว่าความคิดและแนวทางของเขา “ตกยุค” แล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ลูกน้องของเขาหลายคนก็ออกมาตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ “Tiger Cubs” หรือ “ลูกเสือ” หลายสิบกองทุนโดยมีเขาเป็นคนช่วยลงเงินสนับสนุนและประสบความสำเร็จต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ดาวดับแสงสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ นักกลยุทธ์ลงทุนของกองทุน Long-Term Capital ที่เป็นนักวิชาการการเงินชื่อดังสองคนที่ได้รับรางวัลโนเบิลทั้งคู่และทฤษฎีของพวกเขานั้นนักการเงินระดับปริญญาโทและเอกทุกคนต้องเรียนก็คือ Myron Scholes กับ Robert Merton ทั้งสองคนใช้ทฤษฎีและการพิสูจน์ทางสถิติการเงินมาออกแบบการลงทุนที่อาศัยการกู้เงินมหาศาลมาลงทุนในสิ่งที่เขาคำนวณดูแล้วว่า “ไม่มีความเสี่ยง” โอกาสที่จะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์นั้นน้อยจนแทบเป็นศูนย์ กองทุนตั้งขึ้นในปี 1994 ผลตอบแทนใน 3 ปีแรกนั้น “มหัศจรรย์” ที่ 21% 43% และ 41% ตามลำดับ ด้วยเม็ดเงินลงทุนมหาศาลจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ถูกนำเข้ามาลงทุนเพราะเชื่อมั่นใน “โมเดล” ของคนที่คิดหาทฤษฎีมูลค่าของ Option ที่เรียกว่า “Black and Scholes” แต่แล้ว เหตุการณ์ “ไม่คาดฝัน” ก็เกิดขึ้น เริ่มแรกก็คือวิกฤติต้มยำกุ้งและต่อมาที่สำคัญก็คือการ “ล่มสลาย” ของเงินรัสเซียในปี 1998 ที่ทำให้กองทุน “เจ๊ง” ความเสียหายเกิดขึ้นมหาศาลขนาดที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องเข้ามาช่วยกู้ไม่ให้สถาบันการเงินที่เข้าไปเกี่ยวข้องต้องล้มละลาย เหตุการณ์ครั้งนี้ให้บทเรียนว่า “วิกฤติ” นั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทยและ “ดาว” ที่ “ดับแสง” หรืออาจจะกำลังดับ ผมเองคงไม่กล่าวถึงตัวบุคคล แต่สิ่งที่ผมจะพูดก็คือสาเหตุที่ทำให้การลงทุนของพวกเขาเสียหายอย่างหนักจนบางครั้งเป็นหายนะนั่นก็คือเรื่องของการบริหารความเสี่ยงที่ดูเหมือนจะถูกละเลยไปมากในยามที่ทุกอย่างกำลังดูดีไปหมด ตลาดหุ้นสดใส ธุรกิจสดใส เส้นทางแห่งอนาคตมีแต่ความแน่นอน
“ดาว” ที่ดำรงอยู่ในทุกวันนี้นั้น ผมคิดว่าส่วนใหญ่นั้นน่าจะเป็นคนหนุ่มที่มีความมั่นใจเต็มเปี่ยม เป็นคนที่กล้าได้กล้าเสียและหลายคนอาจจะ “บ้าบิ่น” ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะประสบความสำเร็จอย่างสูงมาหลายปี หลายคนมีความคิดที่จะ “รวยมาก” เป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีในวันหนึ่ง พวกเขาไม่อยากจะแค่ลงทุนให้มีผลตอบแทนที่ดีมีฐานะการเงินที่ใช้ได้ เขาคิดว่าถ้าไม่รวยก็ “เจ๊ง” ไปเลยก็ได้ ไม่อยากจะมีชีวิต “ธรรมดา ๆ” ดังนั้น ในบางครั้งพวกเขาสามารถ “จำนองบ้านมาลงทุน” พวกเขาพร้อมกู้เงินแบบ “ไฮไฟแน้นซ์” ใช้เงินของทางบ้านหรือเงิน “นอกระบบ” คือกู้เงินหลายเท่าของเงินที่ตนเองมีมาลงทุนแบบใช้มาร์จิน ซึ่งทำให้ความเสี่ยงสูงมหาศาลแต่ก็สามารถทำให้รวยได้ในชั่วข้ามคืน โชคดีที่ว่าเขาประสบความสำเร็จ กำไรหลายล้านหรือหลายสิบหรือร้อยล้านบาทเนื่องจากภาวะตลาดหุ้นเป็นใจ ตัวหุ้นเป็นใจ เขากลายเป็น “ดาวสว่างแสง” พวกเขาไม่หยุดและยังทำต่อเพราะอยากรวยขึ้นไปอีก
“ดาวดับแสง” มักจะเกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและการที่ “ดาว” ปล่อยให้การลงทุนอยู่ในความเสี่ยงมหาศาล เฉพาะอย่างยิ่งก็คือการลงทุนแบบไม่กระจายความเสี่ยงถือหุ้นเพียงตัวสองตัวที่มีขนาดใหญ่มากโดยที่หุ้นตัวนั้นเองมีความเสี่ยงสูงมากเช่น มีหนี้มหาศาล มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นโภคภัณฑ์น้อยชนิด มีลูกค้าน้อยรายหรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือลูกค้าใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ หรือเป็นสถาบันการเงินที่อาจจะล่มสลายได้ง่ายจากปัญหาหนี้เสีย และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ บริษัทนั้นมีการโกงของผู้บริหารที่อาจจะรุนแรงจนทำให้บริษัทล้มละลายได้
ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ การที่จะเป็น “ดาวค้างฟ้า” ได้นั้น การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ไม่กู้เงินมาลงทุนเกิน 20% ของพอร์ต ไม่ถือหุ้นตัวเดียวสูงกว่า 50% ของพอร์ตไม่ว่ากรณีใด และถ้าถือหุ้นแบบนั้นก็ต้องมั่นใจว่าเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนั้นก็คือ อย่ามั่นใจในตัวเองจนคิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามที่เราคาด ต้องคิดเสมอว่าอะไรคือ “จุดตาย” ของหุ้นและของเรา และโอกาสเกิดมีมากน้อยแค่ไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
อาจารย์เขียนเน้นจนรู้เลยว่าดาวไหน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 257
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ตอนนั้นดอกเตอร์ถือ cpall มีการใช้มาร์จิน กับถือเยอะพอสมควรในพอร์ตเลยนี่ครับ
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ผมไม่แน่ใจว่าดร.ท่านเคยใช้มาร์จินสูงสุดกี่ % และถือ cpall ในพอร์ตสูงสุดกี่ % อาจจะเคยเสี่ยงมากกว่าที่ท่านเตือนไว้ในย่อหน้าสุดท้ายก็ได้ แต่ด้วยสถานการณ์ของตลาด และ valuation ของ cpall ในตอนที่ท่านซื้อต่างจากปัจจุบันนี้มาก (ระดับความเสี่ยงต่างจาก polar มากด้วยเช่นกัน) และเจตนาของบทความต้องการจะ "เตือน" นักลงทุนให้ลงทุนด้วยความระมัดระวัง และอย่าเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ครับstorywriter เขียน:ตอนนั้นดอกเตอร์ถือ cpall มีการใช้มาร์จิน กับถือเยอะพอสมควรในพอร์ตเลยนี่ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 315
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากๆครับ
-----------------------------------------
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ช่วงที่อ. นิเวศน์ใช้ margin คือช่วง subprime ครับ
จำได้ว่า อ. กู้ margin มาซื้อ aot แถว 10 บาท แล้วปล่อยไปเกือบๆ 20 แล้วก็ไปเข้า thai อีกทีแถว 10 บาท ปล่อยไปเกือบ 20 เหมือนกัน
กำไร 3 เด้งในเวลาไม่ถึงปีแล้วก็ล้าง margin ไป แล้วเงินก้อนนั้นแหละ ที่ทำให้มีชื่อ ดร นิเวศน์เองติดผู้ถือหุ้นใหญ่ในบางตัว (ปกติ port จะชื่อเมีย แต่ตอนกู้ ใช้ชื่อตัวเองกู้)
จำได้ว่า อ. กู้ margin มาซื้อ aot แถว 10 บาท แล้วปล่อยไปเกือบๆ 20 แล้วก็ไปเข้า thai อีกทีแถว 10 บาท ปล่อยไปเกือบ 20 เหมือนกัน
กำไร 3 เด้งในเวลาไม่ถึงปีแล้วก็ล้าง margin ไป แล้วเงินก้อนนั้นแหละ ที่ทำให้มีชื่อ ดร นิเวศน์เองติดผู้ถือหุ้นใหญ่ในบางตัว (ปกติ port จะชื่อเมีย แต่ตอนกู้ ใช้ชื่อตัวเองกู้)
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
สมัยที่ผมเข้ามาที่นี่ใหม่ ๆ มีเพื่อนร่วมรุ่นเยอะนะครับ
ช่วงนั้นที่นี่ชุกชุมมากครับ ไม่เหมือนตอนนี้ บรรยากาศต่างกันมาก
หลายคน พึ่งจะเข้าตลาดมาได้ไม่นานก็วาง Position ตัวเองเป็นยอดเซียนแล้ว
เรียกว่ามองไปทางไหนก็มีแต่เซียน
หลักการก็ดูไม่ค่อย VI ซักเท่าไหร่ จะเน้น "ไว" (ภาษาไทย) กันมากกว่า
ตอนนี้หายจากกันไปเยอะมากครับ เหลือ ๆ อยู่ก็แค่เท่าที่เห็นนี่แหละครับ
ช่วงนั้นที่นี่ชุกชุมมากครับ ไม่เหมือนตอนนี้ บรรยากาศต่างกันมาก
หลายคน พึ่งจะเข้าตลาดมาได้ไม่นานก็วาง Position ตัวเองเป็นยอดเซียนแล้ว
เรียกว่ามองไปทางไหนก็มีแต่เซียน
หลักการก็ดูไม่ค่อย VI ซักเท่าไหร่ จะเน้น "ไว" (ภาษาไทย) กันมากกว่า
ตอนนี้หายจากกันไปเยอะมากครับ เหลือ ๆ อยู่ก็แค่เท่าที่เห็นนี่แหละครับ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
ผมไม่ค่อยได้ตามเลยครับ ช่วยบอกใบ้อีกหน่อยได้ไหมครับ
อยากเผือก อิอิ
อยากเผือก อิอิ
pakapong_u เขียน:อาจารย์เขียนเน้นจนรู้เลยว่าดาวไหน
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 258
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
จริงๆ แล้ว ผมคิดว่าพูดยากนะครับ
ที่อ.นิเวศ กล่าวมา ความเสี่ยงทั้งหลาย เค้าน่าจะรู้อยู่แล้วครับ
เพียงแต่ว่า มันมีปัจจัยที่ "นักลงทุนไม่รู้ว่าเค้าไม่รู้"
ถ้ามันมีปัจจัยอะไร ที่เค้ารู้ว่าเค้าไม่รู้ ส่วนใหญ่จะใช้ margin of safety
ส่วนที่ เค้ารู้ว่ารู้ นี่ง่ายใหญ่ ประเมินไปตามสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ผู้อยู่รอด ถูกเสมอ ครับ
ที่อ.นิเวศ กล่าวมา ความเสี่ยงทั้งหลาย เค้าน่าจะรู้อยู่แล้วครับ
เพียงแต่ว่า มันมีปัจจัยที่ "นักลงทุนไม่รู้ว่าเค้าไม่รู้"
ถ้ามันมีปัจจัยอะไร ที่เค้ารู้ว่าเค้าไม่รู้ ส่วนใหญ่จะใช้ margin of safety
ส่วนที่ เค้ารู้ว่ารู้ นี่ง่ายใหญ่ ประเมินไปตามสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ผู้อยู่รอด ถูกเสมอ ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ดาวดับแสง/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
อย่างหนึ่งที่ผมจำได้ และ ติดหูมาจนถึงทุกวันนี้ จากการที่ได้เข้าไปเรียน คอร์สของ Thaivi คือ สิ่งที่ ดร ท่านพูดใน class วันแรกว่า ต้องรู้จักบริหารความเสี่ยง
ถ้าคุณกล้าลงทุนหุ้นแค่ตัวเดียว แล้วมาบอกว่า นี้แหละ ผมเลือกลงทุนแบบ VI ท่าน ดร บอกว่า อย่ามาพูดเลยว่าเป็นนักลงทุน มันเป็นการเก็งกำไร ซะมากกว่า
ถ้าเรารักจะลงทุนทั้งชีวิตแล้ว ระยะเวลา อาจจะยาวนานถึง 50-60 ปี แล้ว จงอย่าทำอะไร ที่เปิดโอกาสที่ทำให้เรา ตาย ได้ง่ายๆ ผมว่าการบริหารความเสี่ยงน่าจะสำคัญที่สุดด้วยซ้ำ ในการลงทุนเพื่อชีวิต
ถ้าคุณกล้าลงทุนหุ้นแค่ตัวเดียว แล้วมาบอกว่า นี้แหละ ผมเลือกลงทุนแบบ VI ท่าน ดร บอกว่า อย่ามาพูดเลยว่าเป็นนักลงทุน มันเป็นการเก็งกำไร ซะมากกว่า
ถ้าเรารักจะลงทุนทั้งชีวิตแล้ว ระยะเวลา อาจจะยาวนานถึง 50-60 ปี แล้ว จงอย่าทำอะไร ที่เปิดโอกาสที่ทำให้เรา ตาย ได้ง่ายๆ ผมว่าการบริหารความเสี่ยงน่าจะสำคัญที่สุดด้วยซ้ำ ในการลงทุนเพื่อชีวิต
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting