วันนี้ไม่ได้ไปไหน มาช่วยวิจารณ์ละกัน
ถูกผิดยังไง ไปค้นหาเพิ่ม
ผมเชื่อผลการลงทุนที่ออกมา แต่จะบอกว่าผู้วิจัย ไม่ได้ทำครบตามต้นตำรับ ผลก็ออกมาอย่างที่วิจัย
key สำคัญ อยู่ตรงส่วนข้างล่างนี้ครับ
คำถามหลักสำหรับงานวิจัยนี้จึงมีอยู่ว่าการลงทุนในหุ้นคุณค่านั้นสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่นได้หรือไม่ โดยหุ้นกลุ่มอื่นที่ใช้ในงานวิจัยคือหุ้นกลุ่มเติบโตและหุ้นที่คัดเลือกมาโดยการสุ่ม การทดสอบเพื่อตอบคำถามของการวิจัยดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ จะคัดเลือกหุ้นคุณค่าได้อย่างไร และจะวัดผลตอบแทนที่แตกต่างกันได้อย่างไร ประเด็นแรกนั้นในทางปฏิบัติแล้วเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกความเป็นหุ้นคุณค่ามีหลากหลายและแตกต่างกัน แต่จะพบว่าเกณฑ์หลักที่ได้รับความนิยมมากในการคัดเลือกว่าหุ้นใดเป็นหุ้นคุณค่านั้นมีสามเกณฑ์ คือ ราคาต่อกำ ไร ราคาต่อมูลค่าตามราคาบัญชี และผลตอบแทนเงินปันผล (Graham, 2009; Chan and Lakonishok, 2004; Yen, Sun, and Yan, 2004; Greenblatt, 2006; Sareewiwathana, 2011)
และตัวเลขที่ถูกใช้ในการคัดเลือกหุ้นคุณค่าคือ การมีค่าอัตราส่วนราคาต่อกำ ไรต่ากว่า 15 อัตราส่วน ํราคาต่อมูลค่าตามราคาบัญชีต่าว่า 1.5% และผลตอบแทนเงินปันผลสูงกว่า 5% (Graham, 2009) ํ เกณฑ์ทั้งสามนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น Magic Number สำ หรับการคัดเลือกหุ้นคุณค่าในทางปฏิบัติ ถึงแม้ตัวเลขตามเกณฑ์ทั้งสามจะแตกต่างกันสำ หรับผู้วิจัยและนักลงทุนแต่ละคน งานวิจัยนี้จะใช้
ตัวเลขที่ระบุไว้ในการคัดเลือกหุ้นคุณค่าเพราะเป็นเกณฑ์เดิมตามนิยามของหุ้นคุณค่า Graham (2009)
แยกการวิจารณ์ออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
จริงๆ ผลออกมามีส่วนถูก ตรงที่โดยทั่วไป การลงทุน pure value แบบราคารต่ำ ที่เรียกว่า "หุ้นก้นบุหรี่" ก็ยอมรับกันแล้วว่า ใช้ได้ดีเฉพาะบางสภาพตลาด ผลงานของอาจารย์เบนถึงแม้ถือว่ารวยเทียบกับอาชีพอาจารย์ทั่วไปด้วยกัน แต่สู้ศิษย์เอกแบบแบบบัฟเฟต์ไม่ได้
ตรงนี้ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
ในสภาวะที่ตลาดทุนซบเซา ภาวะที่ตลาดเติบโตสูง และภาวะที่ตลาดทรงตัว พบว่ากลุ่มหุ้นคุณค่าได้รับผลตอบแทนเกินปกติเป็นค่าบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ในภาวะที่ตลาดเติบโต
ส่วนที่ไม่ได้ผิด แต่อาจทำให้คนที่ยังไม่คุ้นชินกับการลงทุน ตีความผิดไป
เช่น จะทำให้แบบว่า... เลิกสนใจเถอะ แนว VI ใช้ไม่ได้แล้ว ไปเล่นหึ้นแบบเสี่ยงดวงเดิมๆ ดีกว่า
- VI โดยทั่วไป ไม่ได้ใช้การประเมินมูลค่า/คุณค่า แค่นี้
การประเมินมูลค่ากิจการ ไมได้เอามารวมในนี้เลย ดูแค่ผิวเผินมาก ผลที่ได้ย่อมผิวเผิน เพราะบอกไว้แล้วว่า จะทำแบบง่ายๆ
การประเมินถ้าจะว่ากันแล้วยาว แต่สั้นๆ คือผลออกมาแล้ว การดูมูลค่าที่ได้รับ เทียบกับเงินที่จ่าย
เหมือนเราไปกับเพื่อนหลายคน เลือกครีมล้างหน้าบนหิ้งในห้าง วางมองตาลายเลยสารพัดยี่ห้อ
ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อ นอกจากราคาต่อปริมาณแล้ว เราเปรียบเทียบกับคุณค่าที่เราได้รับด้วย ซึ่งแต่ละคนประเมินไม่เหมือนกัน ทำให้คน 2 คน ไปซื้อสินค้าพร้อมกัน เลือกมายี่ห้อต่างกัน
ในโลกความเป็นจริง "คุณค่า" ที่จะสะท้อนออกเป็น "มูลค่า" ประเมินเป็นตัวเลขตรงๆ ได้เรียกว่าเป็นแง่ Quantitative เชิงปริมาณเชิงตัวเลขตามที่เห็นเป็นรายงานการเงิน
แต่ที่เป็นในแง่ Qualitative คือในแง่คุณภาพ ไม่มีในรายงาน (มีบ้างใน 56-1 แต่ก็อาจไม่ครบ แต่ที่แน่ๆ บทวิจัยนี้ก็ไม่ได้ไปถึงจุดนั้น เพราะบอกว่าจะประเมินอย่างง่ายๆ)
การประเมินมูลค่า โดยทั่วไป จะใช้หลายวิธีพร้อมๆ กัน
ขนาดที่ว่าเชิงตัวเลข แค่ใช้อัตราการเติบโตต่างกันนิดเดียว ใช้อัตราส่วนคิดลดต่างกันแค่นั้น
มูลค่าที่ประเมินออกมาก็ต่างกันแล้ว ไม่ใช่ว่าประเมินผิดนะครับ แต่หมายถึงมนุษย์แต่ละคน ย่อมคาดการอะไรออกมาไม่เหมือนกัน ในเรื่องเดียวกันก็ตาม .... ขนาดว่าได้ข้อมูลเท่ากัน ยังประเมินออกมาไม่เหมือนกัน
แต่จะได้ข้อมูลเท่ากันได้ไง ต่อให้เป็นคู่แฝดกัน แต่ละคนรับข้อมูลข่าวสารมาไม่พร้อมกัน ต่างกรรมต่างวาระกัน แล้วแต่ละคน สนใจและขุดข้อมูลเพิ่มเติมตื้นลึกหนาบางไม่เท่ากัน (พี่ชายผม ก็คู่แฝดแท้ ยังประเมินคุณค่าสาวไม่ตรงกันเลย)
แถมตัวเลขในรายงาน อาจมีซ่อนข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการจริงไว้โดยคนภายนอกไม่รู้อีก
อันนี้แหละ ที่ทำให้ผลการประเมินคุณค่าและมูลค่าออกมาต่างกันได้มาก
แล้วก็... ธรรมชาติของกิจการต่างกัน
กิจการรับเหมาก่อสร้าง ใช้วิธีประเมินต่างกับกับกิจการธนาคาร ย่อมต่างกับค้าปลีก ต่างกับกิจการโรงพยาบาล ไม่เหมือนกับกิจการประกันแน่นอน
- VI ที่เราเห็นทั่วไป มักใช้วิธีผสมกับวิธีการอื่น โดยเฉพาะหุ้นเติบโต ที่เจ้าของบทวิจัย แยกประเภทหุ้นไว้เปรียบเทียบต่างหากอีกอัน จึงทำให้ได้เห็นผลเฉลี่ยลดลงไปอีก (บวกกับความผิดพลาด ที่จะพูดถึงตอนท้าย)
อย่าง Buffet ก็บอกตัวเองว่า ตัวเองเป็น Ben Graham 60% + Philip Fisher 40%
คือ Value + Growth
เคยเห็นในบทความ Fortune บอกว่าคนที่มีอิทธิพลอีกคน ที่ทำให้ Buffet ออกมาจากกรอบเดิมของอาจารย์ เริ่มกล้าซื้อหุ้นแพงแต่เติบโตสูงอย่างโค้กก็คือคู่หูทนาย Charile Munger
(การซื้อหุ้น Coca-cola ถึงแม้จังหวะดีหลังตลาดดิ่งนรกเรียกว่า Black Monday ที่ราคายังอยู่ในช่วงตกลดต้นทุนได้พอควร แต่ถือว่าตกน้อย ยังเป็นหุ้น PE สูงตอนนั้น แล้วยังมาซื้อเพิ่ม ตอนสูงซ้ำไปอีก เป็นหน่วยล้านๆ หุ้น ในปีถัดๆ มา อีกหลายรอบ จาก 14 ล้านเพิ่มเรื่อยๆ จนเป็น 200 ล้านหุ้น ทั้งที่ราคาแพงเพิ่มไปอีก ก็ซื้อซ้ำเมื่อมีเงินสด)
ข้อนี้ไม่ได้บอกว่าการวิจัยผิด เพราะตำราหรือบทความทางการลงทุนทั่วไปก็แยกประเภทไว้แบบนี้ เพื่อให้รู้จักประเภทกิจการในการเลือกลงทุน แล้วเอาไปจัดพอร์ตเอา
จะเห็นผลว่าแย่ เพราะตีวงจำกัดผลการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในวงแคบกว่าที่ VI ทั่วไป นำมาประยุกต์ใช้ สำหรับ port ตัวเองจริง