หน้า 1 จากทั้งหมด 1
คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการจดทะเบียนกรณีการจัดประชุมโดยผู้ถือห
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 22, 2017 9:31 am
โดย syj
คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการจดทะเบียนกรณีการจัดประชุมโดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้เรียกประชุมตามมาตรา 100 แห่ง พรบ บริษัทมหาชนจำกัด
ที่มา :
https://www.dbd.go.th/ewt_dl_link.php?n ... name=index
อ่านเพิ่มเติม
https://www.dbd.go.th/download/article/ ... 114628.pdf
(เอามาโพสจะไม่ชัด ไปดูฉบับจริงชัดกว่าครับ)
Re: คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการจดทะเบียนกรณีการจัดประชุมโดยผู้
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 22, 2017 10:33 am
โดย syj
สรุปสั้นๆ (Executive Summary)
ผู้ถือหุ้นรายย่อย สามารถเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของ บ.มจ.ได้
แต่มีเงื่อนไข คือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 10% ส่งหนังสือแจ้ง บ.มจ.
ถ้า บ.มจ. ไม่จัดประชุมให้ ใน 45 วัน (ช้ามากๆ ความจริงผมว่าด่วนๆ
ควรจะเป็น 30 วันก็มากพอแล้ว) ผถห.รายย่อย สามารถจัดประชุมฯ ได้
ภายใน 45 วันหลังจาก 45 วันที่ผ่านไปนั้น โดย บ.มจ.ต้องออกค่าใช้จ่ายให้
ภายใต้เงื่อนไข อาทิเช่น มีผู้ถือหุ้นมาประชุมไม่น้อยกว่า 25 คนหรือไม่น้อย
กว่ากึงหนึ่งของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ที่สำคัญคือต้องมีจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสาม (33.333%) ถ้าหากผิดเงื่อนไข ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เรียกประชุม
ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดคืน และไม่สามารถเปิดประชุมได้
ความเห็นส่วนตัว
ที่จริงดูเหมือน ม.100 จะดีีต่อรายย่อย แต่ถ้า ผถห.รายย่อย รวมตัวกันได้
ถึง หนึ่งในสาม นี่คงไม่ใช่กลุ่มรายย่อยแล้วครับ ผมว่าแค่ หนึ่งในห้า นี่ก็
ค่อนข้างยากมากๆ แล้ว
ดูๆ ไปก็เป็น กม. ที่เกือบหรือแทบจะไร้ประโยชน์ ถ้าหาก เจ้าของหรือ
ผถห.รายใหญ่ ของ บ.มจ. พอจะนับจำนวนหุ้นฝ่ายตัวเองได้เกินกว่า
สองในสาม ก็แค่เอาหูทวนลมไม่จัดการประชุม เพราะรู้ว่า รายย่อยรวม
กันแค่ 10% มันไม่พอ และไม่กล้าเรียกประชุมเองแน่นอน และยังสามารถ
ใช้ แทคติก ในการดัดหลังสั่งสอน เชือดลิงให้ไก่ดู ถ้าหากมีจำนวนหุ้น
ใกล้ๆ จะถึง สองในสาม คือหลังจากผู้ถือหุ้นรายย่อยเรียกประชุมเพราะมั่น
ใจว่ามีเสียงเกินหนึ่งในสาม เจ้าของ/ผู้ถือใหญ่ ก็แค่ให้คนของตัวเอง
ไปเสนอซื้อหุ้นมาส่วนหนึ่ง เพื่อไม่ให้จำนวนเสียงของรายย่อยถึงหนึ่งในสาม
แค่นี้พวกรายย่อยที่เรียกประชุม ก็เจอค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม เข้าไปแล้ว