หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ยุคแห่งบล็อคเชนเขาระดมทุนกันด้วย ICO

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2017 10:58 am
โดย narongthb
IPO หลบไป ยุคแห่งบล็อคเชนเขาระดมทุนกันด้วย ICO
By
Isriya Paireepairit -
30/05/2017

คุณผู้อ่าน Brand Inside คงคุ้นเคยกับคำว่า IPO (Initial Public Offering) หรือการนำเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนมาตรฐานของบริษัทที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก

แต่ในโลกแห่งบิทคอยน์ บล็อคเชน และเงินตราดิจิทัล กำลังเกิดกระแสใหม่ที่เรียกว่า ICO (Initial Coin Offering) ขึ้นมาแทน เป็นวิธีการระดมทุนแบบใหม่ที่น่าจับตาเป็นอย่างมาก
ภาพประกอบจาก Pixabay
เงินตราดิจิทัลมีจำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย

ก่อนจะเข้าใจแนวคิด ICO เราจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติบางอย่างของเงินตราดิจิทัล (cryptocurrency) อย่างบิทคอยน์กันก่อน

เงินตราในโลกจริงสามารถมีเพิ่มได้เรื่อยๆ ตามที่ธนาคารแห่งชาติของแต่ละประเทศจะตัดสินใจพิมพ์ออกมา (ส่วนจะค้ำประกันด้วยทองคำหรือวิธีการอื่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) แต่สกุลเงินอย่างบิทคอยน์ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้นให้มีจำนวนจำกัด (Controlled Supply) ที่จำนวน 21 ล้านคอยน์ (ใช้หน่วย BTC) โดยมอบให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายบิทคอยน์ (หรือที่เราเรียกกันเล่นๆ ว่า “การทำเหมือง” หรือ mining) ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป

ไอเดียของบิทคอยน์คือ ในช่วงแรกที่บิทคอยน์ยังไม่ค่อยดัง (ราวปี 2009-2011) ผู้ที่ช่วยประมวลผลธุรกรรมบิทคอยน์จะได้รับเหรียญตอบแทนในอัตราสูง และเมื่อเครือข่ายมีคนเข้าร่วมแล้ว อัตราผลตอบแทนจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ และเมื่อเงินถูกแจกจ่ายจนครบโควต้า 21 ล้านคอยน์แล้วก็จะไม่มีเงินก้อนใหม่เกิดขึ้นอีก การได้มาซึ่งบิทคอยน์จะต้องมาจากการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเท่านั้น

นั่นแปลว่าในระยะยาวแล้ว มูลค่าของบิทคอยน์จะสูงขึ้นเพราะมันถูกจำกัดจำนวนมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง

มีการคำนวณกันว่าบิทคอยน์น่าจะหมดโลกในปี ค.ศ. 2140 โดยอยู่บนข้อสันนิษฐานว่าพลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะคงที่เท่ากับยุคปัจจุบัน (แปลว่ามันควรจะหมดเร็วกว่านั้นมาก เพราะพลังประมวลผลเพิ่มขึ้นตลอดเวลา) อย่างไรก็ตาม เงินคอยน์ก้อนท้ายๆ ที่ถูกจัดสรรจะมีปริมาณลดน้อยลงกว่าในปัจจุบันมาก

กราฟแสดงปริมาณ Bitcoin ที่ถูกจัดสรร (เส้นสีฟ้า) และอัตราผลตอบแทนที่ลดลงเรื่อยๆ (สีส้ม) – BashCo
โมเดล ICO ขายคอยน์เพื่อระดมทุนก้อนแรก

ด้วยแนวคิดเรื่องเงินตราดิจิทัลมีจำนวนจำกัด บวกกับความนิยมในบิทคอยน์ ส่งผลให้โครงการเงินตราดิจิทัลรายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลัง หันมาใช้วิธีขายเงินของตัวเองบางส่วนออกมาเป็นเงินจริงก่อน เพื่อนำเงินจริงไปจ้างบุคคลากรและไปลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองให้ได้ตามเป้า

โครงการที่ประสบความสำเร็จในการขายเงินต่อสาธารณะ (บ้างใช้คำว่า crowdsale หรือ crowdfunding) คือ Ethereum (ที่ปัจจุบันดังเป็นอันดับสองรองจากบิทคอยน์ไปแล้ว) โดยเริ่มขายเงินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2014 ด้วยจำนวนเงิน 60 ล้านเหรียญ ETC และขายออกไปได้เป็นเงินจริงมูลค่า 18.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [อ้างอิง]

ด้วยโมเดลการระดมทุนลักษณะนี้ ส่งผลให้โครงการเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆ หันมาทำ ICO ตามกัน ส่วนหนึ่งก็มาจากความคิดที่ว่าถ้าเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัลเอง ก็เหมือนจับเสือมือเปล่า สามารถขายเงินดิจิทัลเป็นเงินจริงมาใช้ได้ก่อนใคร (Ethereum สร้างความน่าเชื่อถือให้สกุลเงินของตน ด้วยการตั้งมูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไรมาเป็นองค์กรกลางคอยดูแล)

อย่างไรก็ตาม เมื่อเงินดิจิทัลเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากๆ ส่งผลให้เงินสกุลย่อยๆ ที่เกิดในภายหลังเริ่มไม่น่าสนใจและไม่มีมูลค่ามากนัก

ในปัจจุบันเราอาจพอสรุปได้ว่า มีเพียง Bitcoin ต้นฉบับ และ Ethereum เท่านั้นที่ถูกยอมรับในวงกว้างพอ ข้อมูลมูลค่าตลาด (market cap) ในขณะที่เขียนบทความนี้ (29 พ.ค. 2560) มูลค่าทั้งหมดของ Bitcoin อยู่ที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์ ตามด้วย Ethereum ที่ 17 พันล้านดอลลาร์ และอันดับสาม Ripple ที่ 9 พันล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก Coinmarketcap)

ยุคที่สองของ ICO – ขาย Token เสมือน

กระแสใหม่ของ ICO ที่เริ่มเห็นได้ชัดในปี 2017 คือแนวทางการสร้างสกุลเงินดิจิทัลแบบใหม่เริ่มหมดความนิยมลงไป และตลาดหันมาโฟกัสที่ Bitcoin และ Ethereum แทน

สิ่งที่เกิดขึ้นคือโครงการ cryptocurrency แบบใหม่ๆ เลือกใช้วิธี “ขี่” อยู่บน Bitcoin หรือ Ethereum อีกทีหนึ่ง เพราะเป็นเงินที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างอยู่แล้ว ทุกคนในวงการเชื่อมั่นในเงิน Bitcoin และ Ethereum ที่ถือครองอยู่ว่าจะมีมูลค่าต่อไปในอนาคต

ตัวอย่างที่น่าสนใจในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ Kik Messenger แอพแชทยอดนิยมอีกตัวหนึ่งจากแคนาดา ประกาศทำสกุลเงินของตัวเองชื่อว่า Kin โดยมันจะเป็นสกุลเงิน “เสมือน” ที่อยู่บนเครือข่าย Ethereum อีกทีหนึ่ง โดยสกุลเงิน Kin จะถูกนำไปใช้ในระบบของ Kik Messenger ที่มีผู้ใช้อยู่ 300 ล้านคน

เพื่อไม่ให้สับสน ในวงการเงินดิจิทัลจึงเรียกสกุลเงินแบบ Kin ว่าเป็น “Token” และมองว่าการขาย ICO คือการนำเสนอขาย Token เหล่านี้ต่อสาธารณะ ส่วนตัว Token จะพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Bitcoin/Ethereum ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ในสัปดาห์เดียวกัน ยังมีสกุลเงินดิจิทัลชื่อ Civic ประกาศขาย Token Sales ด้วยเช่นกัน โดยพัฒนาขึ้นบน Ethereum [รายละเอียด] แสดงให้เห็นการบูมอย่างมากของการขาย ICO ในปีนี้

ICO vs IPO ต่างกันอย่างไร

แนวคิดการขายทรัพย์สินบางอย่างเพื่อระดมเงินทุนมาใช้งาน เป็นจุดร่วมของทั้ง IPO และ ICO อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างสำคัญของ ICO คือไม่ได้เป็นการซื้อหุ้น (equity) เหมือนกับการขายหุ้น IPO

Balaji S. Srinivasan พาร์ทเนอร์ของบริษัทลงทุนชื่อดัง Andressen Horowitz เขียนอธิบายเรื่องนี้ในบล็อก เขาเปรียบเทียบการขายเหรียญ ICO ว่าเหมือนกับการซื้อสิทธิการใช้งาน API ของแอพทั่วไป หรือจะมองว่ามันเหมือนกับการระดมทุนเพื่อทำโครงการบน Kickstarter ก็ได้ (เพียงแต่ผู้ลงเงินไม่ได้ของกลับมาเหมือน Kickstarter แต่ได้เหรียญกลับมาแทน)

คุณสมบัติอีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ การระดมทุนซื้อ Token ต่างไปจากการซื้อหุ้นตรงที่ไม่สามารถลดสัดส่วนหุ้น (dilute) ลงได้ เพราะผู้ซื้อทราบเงื่อนไขการออก Token มาตั้งแต่แรกว่าจะมีจำนวนเท่าไร เปรียบได้กับการซื้อของไปล่วงหน้ามากกว่า

Balaji มองว่าวิธีการขาย Token แบบ ICO จะกลายเป็นวิธีการระดมทุนแบบใหม่ที่ได้รับความนิยม และช่วยเปิดตลาดใหม่ๆ ของการระดมทุนที่ไม่สามารถทำได้ด้วยเครื่องมือในปัจจุบัน
การลงทุนมีความเสี่ยง ICO ยังไม่มีกฎหมายรองรับ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก ICO ยังเป็นวิธีการระดมทุนที่ใหม่มาก มันย่อมไม่มีกฎหมายรองรับ และสถานภาพทางกฎหมายก็ยังคลุมเครือ (ทั้งในสหรัฐและประเทศอื่นๆ) ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนใน ICO ก็ต้องพิจารณาความเสี่ยงของตัวเอง ว่าโครงการ ICO แต่ละโครงการมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน

ปัจจุบัน ตลาดเงินดิจิทัลแบบ cryptocurrency กำลังบูม เนื่องจากราคาบิทคอยน์ที่แลกเป็นเงินจริงได้ มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมาก นักลงทุนและนักเก็งกำไรจึงเริ่มแห่กันมาสู่ตลาดนี้ แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่ประสงค์ดี หวังจะหลอกลวงฟันเงินจากการขาย ICO ด้วยเช่นกัน เราย่อมจะได้เห็นการโกงเงินจาก ICO ในอนาคตอีกไม่ไกลนัก และหวังว่าทุกท่านจะแคล้วคลาดปลอดภัย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Re: ยุคแห่งบล็อคเชนเขาระดมทุนกันด้วย ICO

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2017 4:20 pm
โดย narongthb

Re: ยุคแห่งบล็อคเชนเขาระดมทุนกันด้วย ICO

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 16, 2018 6:43 am
โดย narongthb
ก.ล.ต. กำกับ ...ICO เท่ากับยอมรับ Cryptocurrency ใช่หรือไม่?
358 Views
Update: 17.31 น. 15 ม.ค. 61
หมวด MoneyCoach
แบ่งปันข่าวนี้

เชื่อว่าการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เตรียมออกเกณฑ์กำกับดูแล การระดมทุนผ่านช่องทางที่เรียกว่า ICO (Initial Coin Offering) ทำให้หลายคนอาจจะเข้าใจไปว่า สำนักงาน ก.ล.ต. กำลังจะยอมรับ Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิตอล ที่เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนด้วยช่องทางนี้ด้วย

ล่าสุด มีโอกาสได้ฟังการอธิบายจากคุณ “ทิพยสุดา ถาวรามร” รองเลขาธิการ ก.ล.ต. ที่ย้ำว่า แม้ปัจจุบัน Cryptocurrency จะไม่ได้ถูกยอมรับธนาคารกลางหลายๆ แห่งของโลก รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เป็นสกุลเงินที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย แต่ในแง่ของกฏหมายเอง ก็ไม่ได้ระบุเช่นกันว่า Cryptocurrency โดยเฉพาะ “บิทคอยน์” ที่กำลังร้อนแรงในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย เมื่อกฏหมายระบุว่าไม่ผิด ก็คือ ไม่ผิด

อีกทั้ง Cryptocurrency แม้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย แต่ก็ไม่ได้แปลว่า แลกเปลี่ยนไม่ได้ เพราะปัจจุบัน เราก็เห็นการใช้พอยท์ แลกสิ่งของได้เช่นกัน ทั้งๆ ที่ พอยท์ก็ไม่ใช่สกุลเงินเช่นกัน

ดังนั้น การที่ ก.ล.ต. ยอมรับและสนับสนุน ICO จึงไม่ใช่การยอมรับว่า Cryptocurrency ถูกกฏหมาย เพียงแต่ ก.ล.ต. มองว่า “การห้าม” ไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ก็มีแต่จะทำให้ทุกอย่างมุดลงไปใต้ดิน ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไร ต่างจากการสนับสนุนที่จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า โดยเฉพาะอะไรที่มันเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ

อีกทั้งการที่ The Chicago Mercantile Exchange (CME) และ The CBOE Futures Exchange (CBOE) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Commodity Futures Trading Commission (US CFTC) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้การเคลื่อนไหวของราคา “บิทคอยน์” เป็นสินทรัพย์อ้างอิง หรือ Bitcoin Futures ได้ ก็แสดงว่ามันเป็น Asset Class ประเภทหนึ่ง

ดังนั้น ในมุมองของ ก.ล.ต. จึงมองว่า หากมีการกำกับดูแล ICO ที่มี Cryptocurrency เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงน่าจะเป็นสิ่งสะท้อนว่าการกำกับ มีความสำคัญเช่นกัน

รองเลขาธิการ ก.ล.ต. ท่านนี้ บอกด้วยว่าการทำ ICO ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนของ Start Up และเป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าไปเรียนรู้ ไม่ใช่ไปไล่คนรุ่นใหม่ออกจากตลาดทุน เพียงแต่ว่าต้องมีขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบ รวมถึงกำกับดูแล เพื่อไม่ให้มี ICO ปลอม หรือคนที่ตั้งใจมาหลอกเอาเงินนักลงทุน

ดังนั้น การที่ ก.ล.ต. จะเข้ามากำกับดูแล ก็จะเป็นการสนับสุนให้คนที่ตั้งใจดี กล้าทำ และย้ำว่า ถ้าเราไม่มีอะไรมากำกับ สิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะมุดลงดินได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย

อีกหนึ่งเสียงจากคุณรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. ที่ระบุว่า ในส่วนของเกณฑ์กำกับการทำ ICO คาดว่าน่าจะสรุปเป็นแนวทางได้ภายในไตรมาส 1 ของปีนี้ หลังจากได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว


อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ ก.ล.ต. ย้ำว่า การลงทุนผ่าน ICO เป็นอะไรที่นักลงทุนควรมีความระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งทาง ก.ล.ต. เอง จะไม่ได้เข้าไปดูแลเต็มที่เหมือนหลักทรัพย์ปกติ ดังนั้น ถ้าอยากจะเข้ามาสู่ตลาดนี้ จะต้องมีความเข้าใจถึงบริบทของมัน เพราะหากประสบความสำเร็จจริง ผลตอบแทนก็อาจจะทำได้หลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีโอกาสที่ประสบความล้มเหลวเช่นกัน

Re: ยุคแห่งบล็อคเชนเขาระดมทุนกันด้วย ICO

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 16, 2018 5:26 pm
โดย narongthb
มเติม) JMART เตรียมระดมทุนด้วยดิจิทัลโทเคน ` JFin` ประเดิมทำ ICO 100 ล้านโทเคน หลัง ก.ล.ต.-ตลท.ไฟเขียว มั่นใจนักลงทุนตอบรับดี

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -16 ม.ค. 61 15:29 น.
  บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART อยู่ระหว่างการเตรียมระดมทุนด้วยดิจิทัล โทเคน “JFin” Coin ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (Initial Coin Offering: ICO) หวังระดมทุนพัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี Blockchain แจง ก.ล.ต.-ตลท. ไฟเขียวให้ระดมทุน 'JFin”Coin ได้ เชื่อนักลงทุนให้การตอบรับที่ดี


  บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART แจ้งว่า ปัจจุบันบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ได้อยู่ระหว่างการเตรียมระดมทุนด้วยดิจิทัล โทเคน “JFin” Coin ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (Initial Coin Offering: ICO)


  ทั้งนี้ ดิจิทัล โทเคนดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการระดมทุนไปพัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิตัล (Digital Lending Platform) ของบริษัทย่อยด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นระบบสินเชื่อแบบดิจิตัลนี้จะเป็นของบริษัทย่อย มีรายละเอียดของการระดมทุนด้วยการเสนอขายดิจิทัล โทเคน “JFin” Coin ดังต่อไปนี้


  ชื่อดิจิทัลโทเคน (เหรียญ) JFin จำนวนดิจิทัล โทเคน (เหรียญ) ทั้งหมด 300,000,000 จุดทศนิยมสูงสุดของโทเคน 18 จุด เสนอขายรอบ Presale 14 - 28 กุมภาพันธ์ 2561 เสนอขายครั้งแรก 1 – 31 มีนาคม 2561


  จำนวนดิจิทัล โทเคนที่เสนอขายในรอบ ICO 100,000,000 ราคาเสนอขาย 0.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20 เซ็นต์) ต่อโทเคน หรือเหรียญ รวมมูลค่าระดมทุนในรอบ ICO 20,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 660,000,000 บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.66 ของมูลค่า สินทรัพย์รวมของบริษัทตามงบการเงินรวม ณ ไตรมาส


  บริษัทย่อยของบริษัท อยู่ระหว่างการร่างเอกสารรายละเอียด (White Paper) ของการทำ ICO ในครั้งนี้ ซึ่งจะนำขึ้นเว็บไซต์ www.jfincoin.io เพื่อให้นักลงทุนได้พิจารณารายละเอียดของ ICO JFin Coin ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 สำหรับเป็นข้อมูลการเสนอขายต่อไป


  ทั้งนี้ บริษัท และบริษัทย่อย ทราบดีว่าการระดมทุนด้วยดิจิทัล โทเคน เป็นสิ่งใหม่สำหรับการระดมทุน ซึ่งการระดมทุนดังกล่าวบริษัทมีความตั้งใจที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง ไม่ได้มีความตั้งใจในการสร้างดิจิทัล โทเคน ขึ้นมาเพื่อการเก็งกำไรแต่อย่างใด

 นอกจากนี้ บริษัททราบดีว่าหลักเกณฑ์การออกระดมทุนของหน่วยงานทางการอยู่ระหว่างการออกหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งหากหลักเกณฑ์ดังกล่าวออกมาอย่างเป็นทางการแล้วบริษัทจะนำเอาหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของหน่ว[งานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ศึกษาแนวทางของหลักเกณฑ์ดังกล่าว และมีทีมงาน และที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ผู้ลงทุนที่สนใจควรจะต้องศึกษาข้อมูล รายละเอียดของโครงการระดมทุนผ่านเอกสารรายละเอียดข้อมูลของโครงการ (White Paper) ก่อนจะลงทุน


  นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่า บริษัท เจ เวนเจอร์สจำกัด หรือ JVC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของJMART จะระดมทุน ผ่านดิจิทัล โทเคน (Initial Coin Offering : ICO) ในชื่อ “JFin” จำนวน 100 ล้านโทเคน ที่ราคา 0.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อโทคนเตรียมเปิดให้ประชาชนทั่วไป จองซื้อ( Presale )14 – 28 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ และเปิดขายครั้งแรก (ICO) ในวันที่ 1 – 31 มีนาคม 2561


  ทั้งนี้คาดระดมเงินได้ 660 ล้านบาท พื่อนำมาพัฒนาระบบซอฟท์แวร์ด้านการปล่อยสินเชื่อด้วยเทคโนโลยี Blockchain เพื่อสนับสนุนธุรกิจสินเชื่อของเจ ฟินเทค


  การเปิดขาย JFin Coin บริษัทได้มีการปรึกษากับ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเห็นชอบให้บริษัทมีการระดมทุนดังกล่าว แต่ต้องอยู่นกฎเกณฑ์ ของก.ล.ต.ที่ขณะนี้หลักเกณฑ์รองรับอยู่ระหว่างรับฟังความเห็นและบริษัทเชื่อว่าการดำเนินการระดมทุนดังกล่าวจะใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ก.ล.ต.จะประกาศใช้


  "JVC เปิดระดมทุนผ่านJFin” Coin เพราะต้องการเงินไปพัฒนาระบบDigital Lending Platform แต่จากที่ปัจจุบัน JVCยังไม่สามารถระดมทุนโดยการเข้าจดทะเบียนได้ และการระดมทุนด้วยวิธีดังกล่าวมีต้นทุนต่ำกว่าเข้าจดทะเบียนในตลท. ...ส่วนตัวเชื่อว่าจากเจ เวนเจอร์ส เป็นบริษัทย่อยของ JMART จะทำให้นักลงทุนมั่นใจและมีการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน " นายอดิศักดิ์ กล่าว


  นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (JVC) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำ White Paper หรือเอกสารแสดงข้อมูลสำหรับการระดมทุน โดยจะนำเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจผ่านเว็บไซต์ของ www.jfincoin.io ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเสนอขาย “JFin” Coin ต่อผู้ที่สนใจลงทุนทั่วโลก


  ทั้งนี้นักลงทุนซื้อ "JFin” Coin จะสามารถนำไปขุดโทเคนเพิ่ม และสามารถซื้อของในร้านค้าในกลุ่มของเจมาร์ท และสามารถซื้อขายได้ โดยในประเทศไทย มี 2 ตลาด คือ TDAX และ BX


  ทั้งนี้ การระดมทุนผ่านดิจิทัล โทเคน เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย บริษัทมีความตั้งใจที่จะสร้างให้เทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ได้จริงในอนาคต โดยได้ศึกษาหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง หารือกับหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันหลักเกณฑ์อยู่ระหว่างการพิจารณาของทางการ โดยบริษัทอยากให้ผู้ที่สนใจลงทุนได้ศึกษาข้อมูลที่อยู่ใน White Paper ก่อนตัดสินใจลงทุน


  บริษัทจะทำ JFin Coin ทั้งหมด 300 ล้านโทเคน แต่ะจะนำมาทำ Initial Coin Offering (ICO ) ก่อน จำนวน 100 ล้านโทเคน เพื่อนำไปพัฒนาระบบ Digital Lending Platform หรือระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลให้กับบริษัท เจ ฟินเทคทั้งนี้ ภายใต้ระบบสินเชื่อดังกล่าวบริษัทได้นำเอาเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้


  ส่วนJFin Coin ที่เหลืออีก 200 ล้านโทคน ใช้ระดมทุนในอนาคตหากบริษัทต้องการพัฒนาระบบใหม่ ๆหรือซื้อกิจการ

Re: ยุคแห่งบล็อคเชนเขาระดมทุนกันด้วย ICO

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2018 8:35 pm
โดย narongthb