-ที่ขึ้นใหม่เป็นภาคต่อเพราะ เพิ่งพบว่า สะกดคำว่า ”ประสบการณ์” ผิด จะเข้าไปแก้ก็ทำไม่ได้ เลยต้องทำการขึ้นภาคใหม่เป็นภาคต่อ พร้อมเปลี่ยนให้ถูกต้อง แต่จะยังเรียงลำดับตอนต่อจากของเดิมครับ
ตอนที่ เจ็ด ว่าด้วย ETF อิง Nikkei 225
-Nikkei 225 Exchange-Traded Fund เป็นกองทุนเปิดลักษณะ Tracking fund คือลงทุนในหุ้น 225 ตัวที่ประกอบขึ้นมาเป็นดัชนี Nikkei 225 และลงทุนมากน้อยตามน้ำหนักของหุ้นแต่ละตัว Nomura Asset Management เป็นผู้บริหารกองทุน Board lot อย่างน้อย 1 หน่วย ตอนที่นำหน่วยลงทุนนี้เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2001 เขาใช้วิธี ตั้งราคา par ของหน่วยลงทุนไว้ที่ 12,307 เยน ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขของดัชนี Nikkei 225 ขณะปิดตลาดวันก่อนหน้านั้น ดังนั้นเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดแล้วราคาซื้อขายของหน่วยลงทุนนี้ จึงล้อไปกับตัวเลขของดัชนี Nikkei 225 เพื่อทำให้ติดตามราคาซื้อขายและ NAV ได้ง่ายตลอดไป กำไรที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นทำกำไรหรือปรับน้ำหนักการลงทุนตามน้ำหนักของส่วนประกอบของ Nikkei 225และปันผลที่ได้จากการถือครองหุ้นของกองทุน เขาไม่ได้แบ่งปันเพิ่มเข้าไปใน NAVของแต่ละหน่วยลงทุน แต่ใช้วิธี Create Fund Unit ขึ้นมาเพิ่มเข้าไปให้ซื้อขายกันทำให้จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นด้วยตัวเองทุกปี และทำให้ขนาดกองทุนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และสำรองอีกส่วนของกำไรเอาไว้จ่ายเป็นปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งดูประวัติย้อนหลังแล้วจะได้ประมาณ 1.5%ของราคาปิดตอนสิ้นปีบัญชี ขนาดของกองทุนนี้ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 5.6 ล้านล้านเยน นอกจากนี้กองทุนแบบนี้ก็เป็นกองทุนที่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้เป็นที่ใส่เงิน QE เข้ามาให้เกิดเป็นเม็ดเงินเข้าไปในอุตสาหกรรมหลากหลายของประเทศ
-โดยที่เป็นกองทุนที่มีปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนข้ามปีบัญชีซึ่งนับวันที่ 8 กรกฎาคมเป็นวันเริ่มต้น ดังนั้นเมื่อดูภาพระยะ 5 ปีเทียบกับดัชนีตัวอ้างอิง จะพบว่าราคาซื้อขายหลังจากวันนั้น ก็ลดลงแบบหลังวัน XD ทั่วไป แต่ราคาจะค่อยๆมี Premium เมื่อเทียบกับตัวเลขดัชนี Nikkei225 คือเส้นราคาจะค่อยๆห่างออกไป แล้วกลับไปเท่าตัวเลขของ Nikkei 225 อีกครั้งหลังวัน XD
-ต่อไปนี้เป็นการแบ่งปันประสบการณ์จริง ซื้อขายจริง กำไร(ขาดทุน)จริง จะเล่ารายละเอียดในรูปตารางที่มีชื่อหุ้น รหัสในตลาดหุ้น วันที่ซื้อและขาย จำนวนวันทำการที่ถือครอง ราคาซื้อขายต่อหน่วยที่สุทธิจากค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่มของค่านายหน้านั้น กำไรทั้งในรูป Capital Gain และปันผล(ถ้ามี) และอัตราร้อยละของกำไรที่เกิดขึ้นบนฐานของเงินลงทุน โดยการตัดสินใจทำบนพื้นฐานความรู้ตามเนื้อหาที่แบ่งปันของแต่ละตัวหุ้น
-ประสบการณ์ที่ 1 ตามตารางที่แสดงด้านบนนี้ ทำการซื้อ ถือไว้ 44วันทำการ แล้วขาย หน่วยลงทุนนี้ เพื่อทดสอบว่าสามารถทำกำไรจากความผันผวนของ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่แสดงออกในรูปดัชนี Nikkei 225 ได้จริงหรือไม่ กะจะกันทุนส่วนหนึ่งขึ้นมาไว้ลงทุนใน หน่วยลงทุนนี้ “เป็นรอบๆ” ซึ่งตามสมมุติฐานน่าจะทำได้ แต่ไม่ได้ทำ
-ภาพราคาหน่วยลงทุนระยะ 1 ปี ย้อนหลัง จะเห็นความผันผวนในระดับไตรมาส เป็นการลงทุนครอบคลุมในกิจการหลากหลายในเกือบทุกอุตสาหกรรมรอบตัวเรา เกลี่ยความเสี่ยง แบบลงทุนซื้อความเป็นประเทศญี่ปุ่นครับ
ภาคต่อ แบ่งปันประสบการณ์ ลงทุนหุ้นตลาดญี่ปุ่น
-
- Verified User
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาคต่อ แบ่งปันประสบการณ์ ลงทุนหุ้นตลาดญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 2
ตอนที่ แปด ตัวบริษัทที่ดำเนินกิจการตลาดหลักทรัพย์โตเกียวเอง ก็เอาหุ้นตัวเองมาจดทะเบียนเพื่อให้นักลงทุนทั่วไปซื้อขายได้
-Japan Exchange Group หรือ JPX ใช้รหัสในระบบการซื้อขายหุ้นว่า TYO:8697 เกิดจากการรวมตัวกันของ ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว กับ ตลาดหลักทรัพย์โอซากา เข้าด้วยกัน เมื่อ 1 มกราคม 2013 แล้วนำหุ้นของตัวเองเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียว รายได้ก็มาจากส่วนแบ่งค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่านำหุ้นเข้าจดทะเบียนและค่ารายปี รายได้จาก Clearing House ค่าเข้าใช้แหล่งข้อมูลการซื้อขาย เป็นต้น
-Website ของ Japan Exchange Group ตาม link อันนี้ http://www.jpx.co.jp/english/ ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร หรือ Investor Relation กับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นของ JPX และก็ทำหน้าที่ของการเป็นตลาดหลักทรัพย์ คือเป็นช่องทางที่นักลงทุนเข้าไปหาข้อมูลของหุ้นอื่นๆทั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาดคล้ายเว็ปไซต์ตลาดหลักทรัพย์ไทย
-คือเวปไซต์เดียว ทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งข้อมูลของหุ้นทั้งตลาดโดยกรอกเลขรหัสของหุ้นเข้าไปที่ช่องในวงกลมสีน้ำเงิน แต่ก็เป็นแหล่งสื่อสารกับนักลงทุนที่สนใจเฉพาะในหุ้นของตัวตลาดหลักทรัพย์เองคือ JPX หรือ TYO:8697 โดยการเคาะเข้าที่คำว่า IR Information ในวงกลมสีแดง ดูแล้วก็แหม่งๆ ไม่เข้าใจวิธีคิดของเขาเหมือนกัน ดูราคาหุ้นตัวนี้ระยะ 5 ปีย้อนหลัง จะเห็นว่าราคาเติบโตขึ้นมากว่า 66% แต่มีความผันผวนค่อนข้างแรงขึ้นลงเป็น 10-15% ในระดับไตรมาส และเมื่อเทียบกับดัชนี Nikkei225 จะพบว่า outperform มากพอควรทีเดียว ทีนี้มาดูข้อมูลผลประกอบการย้อนหลัง 2 ปีกับ 1 ไตรมาสล่าสุด -เติบโตดี แบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ปันผลปีที่แล้ว สองงวดรวมกัน 67 เยน หักภาษี 15%เหลือ 57 เยน จากราคาปิดล่าสุด 1859 เยน คิดเป็น 3.07% ดีทีเดียวสำหรับเยนญี่ปุ่นที่ฝากธนาคารแล้วดอกเบี้ยเป็นลบ คือคิดค่าฝาก แต่นั่นเป็นปีที่มีปันผลพิเศษอยู่ในนั้น 10 เยนตอนปลายปี ตามที่เคยเล่าไว้แล้วในตอนก่อนๆ ว่า บริษัทญี่ปุ่น เขาสามารถออกประมาณการทั้งผลประกอบการและปันผล ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และผูกพันว่าจะให้ได้อย่างนั้น ถ้าเมื่อไรในระหว่างปี เห็นท่าจะไม่ได้ตามนั้นไม่ว่าทางมากหรือทางน้อยกว่านั้น เมื่อนั้นจะต้องออกเอกสารใหม่แก้ไขประมาณการทันที ดังนั้นหากคิดจากปันผลที่ เขาออก outlook ไปข้างหน้าว่าจะปันผลปี 2018นี้จำนวน 27+27 เยน ก็จะได้ 54 เยนหักภาษีเหลือ 46 เยน คิดจากราคาหุ้นล่าสุด 1859 เยน ก็จะได้ 2.47% ที่ปลายปีบัญชีหน้า คือสิ้นเดือนมีนาคม 2019 -ตัวเลขที่น่าทึ่งมากสำหรับหุ้นตัวนี้คือ อัตราส่วนของ operating income/operating revenue ตามตาราง อยู่ระหว่าง 53-61% ทุกไตรมาส ให้ฉงนฉงายว่ากิจการอะไร มันจะกำไรดีขนาดนี้ และสม่ำเสมอด้วย (เคยเห็นแต่ กำไรดีที่อาจไม่ดีขนาดนี้แต่ก็ไม่สม่ำเสมอ เพราะมีกำไรพิเศษชั่วครั้งชั่วคราว) คำตอบคือ -Takeaway key Idea
-Japan Exchange Group เป็นกิจการ Monopoly จริงๆ ที่ใครก็ไม่สามารถตั้งตลาดหุ้นมาแข่ง
ลงทุนหนักเพื่อจัดตั้งระบบครั้งแรกแล้วมีค่า upgrade และ maintenance เป็นระยะ แต่รายรับค่า trade transaction มากขึ้นเป็นเงาของ Trading Volume และ Clearing operation แล้วไหนจะค่า นำหุ้นเข้าตลาด ค่ารายปีที่เก็บจากบริษัทจดทะเบียนอีก ดูตาราง Revenue แยกตามส่วน -มีค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก เข้าใจง่าย และค่อนข้างคงที่ ไม่ผันแปรจากปัจจัยภายนอกใดๆ ไม่มีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้อง จะเกิดวิกฤติราคาหุ้นอย่างไร ก็ต้องมีการซื้อขายหุ้นอยู่ในระดับหนึ่ง ใช้บุคลากรก็ไม่มาก เพราะทุกอย่างเป็น Computerized ไปหมด ดูตารางแสดง Expense แยกตามส่วน -ประสบการณ์ที่ 2 ได้ซื้อ ถือไว้ แล้วขาย อย่างรวดเร็ว 2 ครั้ง ใช้การเก็งผลประกอบการ ปี 2015 ล้วนๆ ซึ่งสิ้นปีบัญชี ณ วันที่ 30/3/2015 ครั้งที่ 3 ซื้อแล้ว เจอ Stock split 1:2 เมื่อวันที่ 30/9/2015 และราคาหุ้นตกต่ำลง จึงจำเป็นต้องถือยาวข้ามปี ได้ปันผล 3 ครั้ง แต่สุดท้ายก็ขายขาดทุน 10.29% ถือไว้ 544 วันทำการ (ตารางข้างล่างนี้ ได้ปรับราคาซื้อให้สะท้อน Stock Split แล้ว คงมีคำถามว่า ราคาหุ้นลงช่วงนั้นเกิดจากอะไร คำตอบคือ ลงตาม Sentiment ของตลาด ดูตามรูปที่เปรียบเทียบกับ Nikkei 225 ครับ
-Japan Exchange Group หรือ JPX ใช้รหัสในระบบการซื้อขายหุ้นว่า TYO:8697 เกิดจากการรวมตัวกันของ ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว กับ ตลาดหลักทรัพย์โอซากา เข้าด้วยกัน เมื่อ 1 มกราคม 2013 แล้วนำหุ้นของตัวเองเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียว รายได้ก็มาจากส่วนแบ่งค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่านำหุ้นเข้าจดทะเบียนและค่ารายปี รายได้จาก Clearing House ค่าเข้าใช้แหล่งข้อมูลการซื้อขาย เป็นต้น
-Website ของ Japan Exchange Group ตาม link อันนี้ http://www.jpx.co.jp/english/ ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร หรือ Investor Relation กับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นของ JPX และก็ทำหน้าที่ของการเป็นตลาดหลักทรัพย์ คือเป็นช่องทางที่นักลงทุนเข้าไปหาข้อมูลของหุ้นอื่นๆทั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาดคล้ายเว็ปไซต์ตลาดหลักทรัพย์ไทย
-คือเวปไซต์เดียว ทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งข้อมูลของหุ้นทั้งตลาดโดยกรอกเลขรหัสของหุ้นเข้าไปที่ช่องในวงกลมสีน้ำเงิน แต่ก็เป็นแหล่งสื่อสารกับนักลงทุนที่สนใจเฉพาะในหุ้นของตัวตลาดหลักทรัพย์เองคือ JPX หรือ TYO:8697 โดยการเคาะเข้าที่คำว่า IR Information ในวงกลมสีแดง ดูแล้วก็แหม่งๆ ไม่เข้าใจวิธีคิดของเขาเหมือนกัน ดูราคาหุ้นตัวนี้ระยะ 5 ปีย้อนหลัง จะเห็นว่าราคาเติบโตขึ้นมากว่า 66% แต่มีความผันผวนค่อนข้างแรงขึ้นลงเป็น 10-15% ในระดับไตรมาส และเมื่อเทียบกับดัชนี Nikkei225 จะพบว่า outperform มากพอควรทีเดียว ทีนี้มาดูข้อมูลผลประกอบการย้อนหลัง 2 ปีกับ 1 ไตรมาสล่าสุด -เติบโตดี แบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ปันผลปีที่แล้ว สองงวดรวมกัน 67 เยน หักภาษี 15%เหลือ 57 เยน จากราคาปิดล่าสุด 1859 เยน คิดเป็น 3.07% ดีทีเดียวสำหรับเยนญี่ปุ่นที่ฝากธนาคารแล้วดอกเบี้ยเป็นลบ คือคิดค่าฝาก แต่นั่นเป็นปีที่มีปันผลพิเศษอยู่ในนั้น 10 เยนตอนปลายปี ตามที่เคยเล่าไว้แล้วในตอนก่อนๆ ว่า บริษัทญี่ปุ่น เขาสามารถออกประมาณการทั้งผลประกอบการและปันผล ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร และผูกพันว่าจะให้ได้อย่างนั้น ถ้าเมื่อไรในระหว่างปี เห็นท่าจะไม่ได้ตามนั้นไม่ว่าทางมากหรือทางน้อยกว่านั้น เมื่อนั้นจะต้องออกเอกสารใหม่แก้ไขประมาณการทันที ดังนั้นหากคิดจากปันผลที่ เขาออก outlook ไปข้างหน้าว่าจะปันผลปี 2018นี้จำนวน 27+27 เยน ก็จะได้ 54 เยนหักภาษีเหลือ 46 เยน คิดจากราคาหุ้นล่าสุด 1859 เยน ก็จะได้ 2.47% ที่ปลายปีบัญชีหน้า คือสิ้นเดือนมีนาคม 2019 -ตัวเลขที่น่าทึ่งมากสำหรับหุ้นตัวนี้คือ อัตราส่วนของ operating income/operating revenue ตามตาราง อยู่ระหว่าง 53-61% ทุกไตรมาส ให้ฉงนฉงายว่ากิจการอะไร มันจะกำไรดีขนาดนี้ และสม่ำเสมอด้วย (เคยเห็นแต่ กำไรดีที่อาจไม่ดีขนาดนี้แต่ก็ไม่สม่ำเสมอ เพราะมีกำไรพิเศษชั่วครั้งชั่วคราว) คำตอบคือ -Takeaway key Idea
-Japan Exchange Group เป็นกิจการ Monopoly จริงๆ ที่ใครก็ไม่สามารถตั้งตลาดหุ้นมาแข่ง
ลงทุนหนักเพื่อจัดตั้งระบบครั้งแรกแล้วมีค่า upgrade และ maintenance เป็นระยะ แต่รายรับค่า trade transaction มากขึ้นเป็นเงาของ Trading Volume และ Clearing operation แล้วไหนจะค่า นำหุ้นเข้าตลาด ค่ารายปีที่เก็บจากบริษัทจดทะเบียนอีก ดูตาราง Revenue แยกตามส่วน -มีค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก เข้าใจง่าย และค่อนข้างคงที่ ไม่ผันแปรจากปัจจัยภายนอกใดๆ ไม่มีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้อง จะเกิดวิกฤติราคาหุ้นอย่างไร ก็ต้องมีการซื้อขายหุ้นอยู่ในระดับหนึ่ง ใช้บุคลากรก็ไม่มาก เพราะทุกอย่างเป็น Computerized ไปหมด ดูตารางแสดง Expense แยกตามส่วน -ประสบการณ์ที่ 2 ได้ซื้อ ถือไว้ แล้วขาย อย่างรวดเร็ว 2 ครั้ง ใช้การเก็งผลประกอบการ ปี 2015 ล้วนๆ ซึ่งสิ้นปีบัญชี ณ วันที่ 30/3/2015 ครั้งที่ 3 ซื้อแล้ว เจอ Stock split 1:2 เมื่อวันที่ 30/9/2015 และราคาหุ้นตกต่ำลง จึงจำเป็นต้องถือยาวข้ามปี ได้ปันผล 3 ครั้ง แต่สุดท้ายก็ขายขาดทุน 10.29% ถือไว้ 544 วันทำการ (ตารางข้างล่างนี้ ได้ปรับราคาซื้อให้สะท้อน Stock Split แล้ว คงมีคำถามว่า ราคาหุ้นลงช่วงนั้นเกิดจากอะไร คำตอบคือ ลงตาม Sentiment ของตลาด ดูตามรูปที่เปรียบเทียบกับ Nikkei 225 ครับ