การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 22, 2018 7:11 pm
ผมเคยคิดว่าอาจจะไม่โพสความคิดเห็นในเว็บบอร์ด Thai VI อีก แต่ผมรู้สึกว่าตัวเอง contribute อะไรให้กับสังคมน้อยมาก เลยอยากขอแวะมาตั้งกระทู้นี้ ซึ่งนำมาจากสเตตัสของผมอีกทีหนึ่งครับ
การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร
คำถามเดียวกันนี้ผมเคยถามกับตัวเองเมื่อราว 4 ปีก่อน..
เริ่มมาจากความสงสัยว่าทำไมนักลงทุนระดับเซียนอย่างพี่ชาย มโนภาส หรือพี่ Picatos ถึงปฏิบัติสมาธิกันเป็นกิจวัตร
ทำไมยอดนักคิดแห่งยุคอย่าง Ray Dalio (ผู้เขียน Principles) หรือ Yuval Noah Harari (ผู้เขียน Sapiens) ถึงให้สัมภาษณ์อย่างหนักแน่นว่าการปฏิบัติสมาธิมีส่วนอย่างมากสำหรับความสำเร็จของพวกเขา
ทำไมยอดคนแห่งยุคอย่าง Steve Jobs ถึงนับถือศาสนาพุทธนิกายเซ็น
ทั้งหมดเป็นแค่เรื่องบังเอิญ? หรือการปฏิบัติสมาธิตามแบบของพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่ออัจฉริยภาพของพวกเขาจริงๆ
...
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมเป็นคนไร้ศาสนา
ในตอนนั้น ผมเชื่อว่าชีวิตของคนเราเหมือนสวิทช์ ปิด-เปิด
เกิดก็คือเปิด ตายก็คือปิด แค่นั้น
การตายก็คือภาวะล้มเหลวของระบบอวัยวะในร่างกาย
เรื่องอย่างจิตวิญญาณ หรือสังสารวัฏ ก็แค่เรื่องที่ถูกแต่งขึ้นมาอีกที
ผมเชื่อในแบบที่ Yuval Noah Harari เรียกมันว่าศาสนาแบบมนุษยนิยม แนวเสรีนิยม
เชื่อว่าเราก็แค่บังเอิญเกิดมา..
เชื่อในสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของปัจเจกบุคคล
ผมไม่ไหว้พระ และไม่เข้าใจว่าการไหว้รูปปั้นหรือศาลเจ้าของมนุษย์ชาวไทยมีประโยชน์อย่างไร
ผมไม่ถือศีล เพราะเห็นว่า 2 ใน 3 ตระกูลที่รวยที่สุดในประเทศไทยก็ไม่น่าจะถือเหมือนกัน
ผมไม่เข้าวัด เพราะไม่เชื่อว่าการทำบุญจะช่วยให้ชาติหน้าดีขึ้น
ก็ถ้าชีวิตเราเป็นแค่สวิทช์ ปิด-เปิด แล้วจะมีชาติหน้าอยู่ที่ไหนกัน
ผมไม่ได้เชื่อในพระพุทธศาสนาเลย ยกเว้นแต่ที่เขียนอยู่ในบัตรประชาชน
ความเชื่อหลักของผมที่ตรงกับแนวคิดของพระพุทธศาสนาก็คือเรื่องกาลามสูตร (ความอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ 10 ประการ)
ผมเป็นคนเชื่ออะไรยาก ขี้สงสัย และชอบตั้งคำถาม
เมื่อผมได้มีโอกาสพบกับพี่ชาย มโนภาส และพี่ Picatos บ่อยครั้งขึ้น ผมก็เริ่มตั้งคำถาม
ทำไมคนที่มีโลจิกขั้นเทพในด้านการลงทุนแบบพี่ๆ เขา ถึงเชื่อเรื่องแฟนตาซี เหนือธรรมชาติแบบนี้นะ?
หรือเป็นไปได้มั้ยที่โลจิกของคนเราจะดีในเรื่องหนึ่ง แล้วบกพร่องในเรื่องอื่นๆ เหมือนกับที่ผู้บริหารบริษัทเทพๆ บางคน ลงทุนไม่เอาไหนเลย
ยังมีคำถามแปลกๆ อีกเยอะที่ทำให้ผมคิดว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องแต่ง (Fiction) มากกว่าจะเป็นความจริง (Fact)
เช่นว่า..
ถ้าวิญญาณหรือชาติภพมีจริง แล้วก่อนเกิด Big Bang วิญญาณเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน?
ถ้าอิทธิฤทธิ์ในสมัยพุทธกาลมีจริง ทำไมเราถึงไม่เห็นมันหลงเหลืออยู่เลยในปัจจุบัน?
ในกระทู้นี้ผมคงจะไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้ ด้วยระดับปัญญาของผมในปัจจุบันคงยังไม่สามารถจะให้คำตอบที่สมบูรณ์ได้
แต่ในกระทู้นี้ผมอยากจะเล่าให้ฟังว่าทำไมผมจึงเห็นว่ามนุษย์ทุกๆ คน โดยเฉพาะนักลงทุนจึงควรศึกษาเรื่องการปฏิบัติสมาธิครับ
...
การลงทุนกับอคติ
จริงๆ แล้ว หลักของการลงทุนให้รวยนั้น มีความเรียบง่ายที่ปะปนกับเรื่องซับซ้อน
เรื่องเรียบง่ายคือ ซื้อถูกขายแพง ทำกำไรจากส่วนต่างราคา
เรื่องซับซ้อนคือ ไม่รู้ตอนไหนคือถูก ตอนไหนคือแพง
จะรู้ว่าตอนไหนถูกแพง ก็ต้องเอาราคาหุ้นในกระดานไปเทียบกับมูลค่าพื้นฐาน (Intrinsic value)
ซึ่งมูลค่าพื้นฐานที่ว่านี้ ไม่มีค่าตายตัว เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์
ถ้าเราต้มน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสน้ำจะเดือด (ณ ระดับน้ำทะเล) >> เรื่องตายตัว (Objective)
ที่ดินในสุขุมวิท 1 ไร่ จะมีราคาเท่าไหร่ในอีก 2 ปีข้างหน้า >> ขึ้นกับความคิดเห็นของมนุษย์ (Subjective หรือ Intersubjective)
ไม่ว่าเราจะประเมินมูลค่าพื้นฐานด้วยวิธีใดๆ มันจะมีตัวแปรที่ทำให้ค่าของมันไม่ตายตัว เช่น ผลตอบแทนคาดหวัง (Expected return) หรือระดับของความเสี่ยง เป็นต้น
และปัญหาที่ทำให้ราคาหุ้นผันผวนมาก ก็มาจากความคาดหวังที่ต่างกัน และมาจากผลสุทธิของความโลภ ความกลัวของทุกๆ คนในตลาด
กล่าวโดยสรุปคือแบบง่ายๆ คือเราทุกคนล้วนมีอคติ และอคติของแต่ละคนก็มีลักษณะปัจเจก มีความเฉพาะตัวแตกต่างกันไป
ส่วนที่ยากของการลงทุนจึงไม่ใช่สูตรคณิตศาสตร์ แต่เป็นการกำจัดอคติของตัวเราเอง
...
อคติตามตำราต่างประเทศนั้น ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น Overconfidence (มั่นใจในตัวเองเกินไป) หรือ Herding (พฤติกรรมการแห่ตามฝูง)
แต่หลังจากที่ผมได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่สอนผมทั้งในด้านการลงทุน และการปฏิบัติธรรม ทำให้ผมเข้าใจว่าแท้จริงแล้วการแบ่ง อคติ นี้สามารถที่จะ classify ได้ง่ายๆ ออกมาเหลือแค่ 2 ประเภท
1. อคติ จาก ความไม่รู้ (Cognitive Bias)
2. อคติ จาก อัตตา (Emotional Bias)
อคติจากความไม่รู้
(ตัวอย่างของอคติประเภทนี้เช่น Expertise Bias, Anchoring effect, Herding เป็นต้น)
ในชีวิตมนุษย์มีเรื่องมากมายที่เราไม่รู้
ณ วันนี้มนุษย์ยังไม่รู้ว่า “สมอง” ของพวกเรามีกระบวนการทำงานทั้งหมดยังไง
มนุษย์ในยุคเริ่มแรก ไม่รู้กระทั่งว่าถ้าต้มน้ำด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสน้ำจะเดือด
ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ เช่น เราไม่รู้จะซื้อหุ้นตัวไหนดี หรือเราไม่รู้ว่าเซียนคนไหนลงทุนเก่งจริงๆ หรือคนไหนเก่งแต่พูด
แม้เราจะยังไม่รู้ว่าสมองของมนุษย์ทำงานยังไง แต่ที่เราพอจะรู้คร่าวๆ ก็คือสมองของเรา ออกแบบให้เราขี้เกียจ
เราชอบเดินทางด้วยรถยนต์มากกว่าการเดินเท้า
เราชอบกินเนื้อหมูที่สุกแล้วมากกว่าเนื้อหมูดิบๆ
สาเหตุเพราะสมองพยายามจะหา shortcut ที่สั้นที่สุด และใช้พลังงานน้อยที่สุดเพื่อทำให้เราถึงจุดหมาย
การประหยัดพลังงาน (ไม่ว่าจะเป็นภายนอกอย่างการเดิน หรือภายในร่างกายอย่างการย่อยอาหาร) เป็นสิ่งที่สมองเชื่อว่าทำให้เรามีโอกาสอยู่รอดสูงกว่า
กับการลงทุนก็เหมือนกัน ธรรมชาติของสมองจะทำให้เราไม่อยากอ่านหนังสือหุ้น 10 เล่ม และอ่านหุ้นอีก 10 ตัว เพื่อเลือกหุ้นที่น่าลงทุนเพียง 1 ตัว
สมองชอบที่จะหา shortcut นั่นทำให้เราเลือกทำกลับกันคือขอหุ้น 10 ตัวจากเซียน 1 คน (อคตินี้คือ Expertise Bias หรือ Authority Bias คืออคติจากการเชื่อผู้เชี่ยวชาญ)
ปัญหาของนักลงทุนที่ติดอคติข้อนี้คือเราหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยไม่ได้ประเมินว่าตัวเราเองมีความรู้ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยด้วยรึเปล่า
เมื่ออคติของความไม่รู้ เกิดจากความขี้เกียจ วิธีที่จะแก้ปัญหานี้คือเราต้องขยัน และรู้จักประเมินตัวเอง
ทำการบ้านให้หนักขึ้น เรียนรู้ให้มากขึ้น และเลือกลงทุนในสิ่งที่เรารู้ หลีกเลี่ยงในสิ่งที่เราไม่รู้
หรืออาจพูดสรุปได้ว่าอคติจากความไม่รู้ หรือ Cognitive Bias นี้ สามารถแก้ด้วยการมี Growth mindset นั่นเอง
แต่คนมี Growth mindset ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตด้านอื่นๆ แต่ไม่ถูกจริตกับการลงทุนมีอยู่มากมาย สาเหตุมาจากอะไร?
...
สาเหตุนั้นมาจาก อคติประเภทที่ 2 คือ อคติจากอัตตา หรือ Emotional Bias
(ตัวอย่างของอคติประเภทนี้ เช่น Overconfidence, Confirmation Bias, Cognitive Dissonance เป็นต้น)
ต้องขอเกริ่นก่อนว่าเมื่อเราพูดถึง อัตตา เรามักจะมองเรื่องนี้เป็นด้านลบ
แต่เราอาจจะลืมคิดไปว่าหลากหลายอาชีพนั้น การสะท้อนตัวตนของเราลงไปในผลงานเป็นสิ่งที่สำคัญ
ศิลปินที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลกคนหนึ่งอย่าง Taylor Swift เป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลง
คุณเมย์ After You ประสบความสำเร็จ เพราะความรัก (Passion) ในการทำขนม
Steve Jobs อาจจะเชื่อแนวคิดที่ว่า “เรียบง่ายที่สุดคือ ดีที่สวยและสวยที่สุด” ตามแบบอย่างของพระพุทธศาสนานิกายเซ็น และนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่ในอีกมุมหนึ่ง Steve Jobs เป็นคนที่เต็มไปด้วยอัตตา และมีความเชื่อมั่นในตัวเองแบบสุดโต่ง (Overconfidence Bias)
เมื่อเราพูดถึงอัตตา เรามักคิดถึงแต่ในทางลบ ทั้งที่จริงอัตตาหรือความเป็นปัจเจกนั้นก็คือสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคมเท่านั้นเอง
อัตตากับความเป็นปัจเจกนั้นมีความหมายคล้ายกันมาก
มีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายกัน แต่เรามักนิยมใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน
พิเศษ (Special) ก็มีความหมายคล้ายกับคำว่าแปลก (Weird) และคล้ายกับคำว่าแตกต่าง (Different)
แต่เรามักใช้คำว่าพิเศษในสถานการณ์ที่เป็นเชิงบวก ใช้คำว่าแปลกในเชิงลบ และใช้คำว่าแตกต่างในเชิงที่เป็นกลาง
คำว่า ตัณหา กับ Passion เองก็มีความหมายที่คล้ายกันในลักษณะนี้
สำหรับอาชีพศิลปินแล้ว อัตตา ปัจเจก และ Passion นั้นล้วนแล้วแต่เป็นเหตุของอัจฉริยภาพ
แม้ว่าความเชื่อมั่นในตัวเองแบบสุดโต่ง (Overconfidence) จะเป็นอคติสำหรับนักลงทุน แต่มันก็ทำให้ศิลปินอย่าง Steve Jobs สามารถเปลี่ยนโลกได้จริงๆ
แต่สำหรับอาชีพนักลงทุนแล้ว การมีอคติและอัตตากลับเป็นอุปสรรคสำคัญ
...
เซอร์ ไอแซค นิวตัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ฉลาดที่สุดคนหนึ่งแห่งยุค แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการลงทุนเลย
นิวตันกล่าวว่าเขาสามารถเขาสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของมนุษย์ได้
นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า Growth mindset อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้นักลงทุนประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้
ถ้าแบ่งกิจกรรมหลักของนักลงทุนแนว VI ออกเป็น 2 กิจกรรมคือ 1. ปฏิบัติ (เทรดหุ้น) 2. สังเกตการณ์ (อ่านหุ้น) เราจะพบว่านักลงทุนควรใช้เวลาอย่างน้อย 90% ไปกับเรื่องที่สอง
คล้ายกับการเล่นหมากรุก มันไม่สำคัญว่าเราจะเดินหมากด้วยเท้าหรือจมูกได้ มันสำคัญแค่ว่าเราคาดการณ์อนาคตได้เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามหรือไม่
อย่างที่ดร.นิเวศน์มักจะบอกว่า นักลงทุน VI เป็นนักเลือก มากกว่านักปฏิบัติ
สิ่งที่นักลงทุน VI ควรจะทำจึงเป็นการศึกษาอดีต และปัจจุบัน เพื่อที่จะทำนายอนาคตให้ออกมาแม่นยำที่สุด
การนำอัตตาเข้ามาใช้กับการวิเคราะห์ จะทำให้เราได้ภาพของอนาคตที่บิดเบี้ยว มีโอกาสผิดพลาดไปจากความเป็นจริงได้มาก
คำถามก็คือ เราจะลดอัตตาของเราให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร
เราจะลบความโลภ ความกลัว ให้หายไปได้อย่างไร เมื่อสิ่งเหล่านี้ Built in อยู่ในความเป็นมนุษย์ อยู่ในรหัสพันธุกรรมหรือ DNA ของเรา
คำตอบตรงนี้เองที่มาเชื่อมโยงกับคำถามตั้งต้นของกระทู้นี้นั่นคือการปฏิบัติสมาธิ
...
ในหนังสือเรื่อง Sapiens คุณ Harari เล่าว่าพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความสุข-ทุกข์มากกว่าศาสตร์ใดๆ
ตามความเข้าใจของผม (ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้าครับ) สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นสิ่งที่ทั้งเรียบง่าย และซับซ้อน
ในความเรียบง่ายนั้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ธรรมะ
ธรรมะ = ธรรมชาติของสรรพสิ่ง = ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นผู้สร้างโลกใบนี้ และไม่ได้เป็นผู้บัญญัติกฎแห่งกรรม หรือสังสารวัฏขึ้นมาใหม่ ท่านเพียงค้นพบความจริงที่ว่าสังสารวัฏนี้มันมีอยู่จริงๆ
และหากเรายังมีอคติ (ในทางพุทธจะเรียกอคตินี้ว่าอวิชชา = ความไม่รู้) เราก็จะไม่เข้าใจว่าเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสังสารวัฏจะเป็นความจริงได้อย่างไร
…
(ตรงนี้ผมจะขอแทรกเกร็ดเนื้อหาที่น่าสนใจ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวโยงกับเนื้อหาของกระทู้นี้โดยตรง
เราอาจเชื่อว่า ข้อเท็จจริง (Fact) = เรื่องที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
แต่เราก็อาจจะลืมคิดว่าเมื่อ 100 ปีก่อน เรายังไม่รู้เลยว่าร่างกายของเรามีรหัสพันธุกรรม ที่เรียกว่า DNA อยู่ และย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีก่อนมนุษย์ก็ยังไม่รู้กระทั่งว่าร่างกายเรามีอนุภาคขนาดเล็กที่เรียกว่าเซลล์เป็นองค์ประกอบ
Jeff Lichtman ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านสมอง ถามนักเรียนในห้อง โดยให้เดาว่าด้วยการแพทย์วันนี้เราเข้าใจการทำงานของสมองได้ดีแค่ไหน โดยสมมติว่าเส้นชัยของสมองคือ 1 กม. แล้ว ณ วันนี้เราเดินทางมาถึงจุดไหนแล้ว
เด็กตอบว่า 0.5 กม.บ้าง 250 เมตรบ้าง แต่ Jeff Lichtman เฉลยว่าเราเพิ่งมาถึงแค่ 5 เซนติเมตรเท่านั้น
ข้อจำกัดของร่างกาย สมอง และปัญญาของมนุษย์ ทำเราไม่สามารถที่จะเห็นความจริงว่าสังสารวัฏนี้มันมีอยู่นะ
แสงเป็นคลื่นที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ (ความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร) เราสามารถมองเห็นรุ้ง 7 สีได้ แต่เราไม่สามารถเห็นคลื่นอินฟราเรด (มากกว่า 700 นาโนเมตร) หรือคลื่นอัลตราไวโอเลต (ต่ำกว่า 400 นาโนเมตร) ได้
เหมือนกับที่หูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยินเสียงแบบที่สุนัขหรือค้างคาวได้ยิน
เราไม่อาจใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เพื่อบอกได้ว่าสังสารวัฏนี้มีอยู่จริงหรือไม่ เราบอกได้เพียงแต่ว่า ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ณ วันนี้ เรายังไม่สามารถพิสูจน์การมีอยู่ของสังสารวัฏได้
แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์สามารถพัฒนาทักษะทางร่างกาย สมอง และปัญญาจนเราสามารถเห็นคลื่นอินฟราเรด และฟังเสียงได้เหมือนค้างคาว มนุษย์อาจจะค้นพบความจริงของสังสารวัฏนี้ก็เป็นได้
ขอจบประเด็นแทรกตรงนี้ครับ)
…
พระพุทธเจ้าสอนเราว่า อคติหรืออวิชชาจะทำให้เรามองไม่เห็นข้อเท็จจริงว่าสังสารวัฏนี้มีอยู่จริง
เราอาจจะสุขบ้าง ทุกข์บ้าง แต่สุดท้ายเราจะยังคงเกิด แก่ เจ็บ ตาย และกลับมาเกิดใหม่ วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนี้ต่อไป
สังสารวัฏนี้มันก็แค่ดำรงมาก่อนเราจะเกิด ยังคงดำรงมาจน ณ ขณะที่ผมตั้งกระทู้นี้ และจะดำรงอยู่ต่อไปแม้เราจะตายจากโลกนี้ และไปเกิดในภพภูมิใหม่
เราอาจจะไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นมนุษย์จะสามารถพัฒนาทักษะทางร่างกายและปัญญาจนสามารถเห็นในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจได้อย่างไร
ผมเห็นด้วยกับข้อเท็จจริงนี้ และเป็นสาเหตุที่ผมให้ความเห็นว่า การตรัสรู้ธรรมของพระองค์ เป็นเรื่องที่เรียบง่ายและซับซ้อน
เรื่องเรียบง่ายคือพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทางธรรมชาติของโลกใบนี้
เรื่องซับซ้อนคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่า กฎที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนี้เป็น Fact ไม่ใช่ Fiction แบบแนวคิดสังคมนิยมของมาร์กซิส หรือแนวคิดแบบวิวัฒนาการนิยมแบบฮิตเลอร์?
และต่อให้สังสารวัฏจะเป็น Fact โลกนี้ก็มี Fact อยู่มากมาย เราจำเป็นต้องมีระดับปัญญา หรือมีอิทธิฤทธิ์แบบที่พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมีหรือไม่
ผมเชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้เพียงเป็นเลิศในด้านปัญญา แต่ท่านยังเป็นเลิศในการโปรดสอนสรรพสัตว์อีกด้วย
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราต้องรู้ความจริงทั้งมวลบนโลกใบนี้ เพื่อที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
ความจริงทั้งมวลอาจเปรียบได้กับใบไม้ในป่าใหญ่ แต่ความจริงอันประเสริฐที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์นั้นเปรียบได้กับใบไม้เพียงหยิบมือ
ความจริงที่เราต้องรู้เริ่มต้นง่ายๆ นั่นคือการมีสติรู้ปัจจุบันขณะ
รู้ว่า ณ วินาทีที่คุณกำลังอ่านกระทู้นี้ คุณกำลังหายใจเข้า หรือหายใจออก?
อ่านมาถึงบรรทัดนี้คุณอาจแยกแยะออกว่าตอนนี้กำลังเข้าหรือกำลังออก แต่ก่อนหน้านี้สัก 2-3 นาทีคุณอาจไม่รู้ตัวเลยว่า ณ ปัจจุบันขณะ ลมหายใจของเราเป็นอย่างไร
และหากแค่ลมหายใจ ซึ่งเป็นของที่เรียบง่ายที่สุดนี้ เรายังไม่รู้ตัว เราจะสามารถรู้ความโลภ หรือความกลัวที่เกิดขึ้นระหว่างที่เรากำลังดูแอพ Streaming หรือแม้กระทั่งตอนที่มีคนขับรถปาดหน้าเราได้อย่างไร
กระทู้นี้คงไม่ได้มุ่งหมายเพื่อที่จะบอกเล่าถึงวิธีการปฏิบัติธรรมโดยละเอียด สาเหตุเพราะ
1. ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติธรรมในระดับที่จะสอนใครๆ ได้ และ
2. มีผู้ที่เชี่ยวชาญกว่า ซึ่งสามารถถ่ายทอดเรื่องปฏิบัติธรรมได้ดีกว่าอยู่มากมาย (อย่างน้อยๆ ก็ในเพจของคุณ ดังตฤณ ซึ่งเป็นเพจที่แนะแนววิธีการปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาสโดยเฉพาะ)
สิ่งที่กระทู้นี้มุ่งหมายคือเพื่อชี้ประเด็นว่าการปฏิบัติสมาธิ หรือปฏิบัติธรรมนี้ สามารถที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต หรือในด้านการลงทุนได้อย่างไร
เมื่อเราเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ อย่างลมหายใจ ณ ปัจจุบันขณะ เราจะเกิด สติ
และสตินี้เองจะช่วยบรรเทาผลของความโลภ ความกลัว และความไม่รู้ (โลภ โกรธ หลง) ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ของเรา
การปฏิบัติสมาธิจึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาในเรื่องอคติ ในระดับของแก่น หรือรากของปัญหา
เมื่อเราเข้าใจความโลภ ความกลัว และความไม่รู้ของเราแล้ว อคติเฉพาะที่ตำราฝรั่งตั้งชื่อไว้มากมายก็คงไม่ยากเกินกว่าที่เราจะเข้าใจ
เราจะสามารถเห็นได้ว่าอันไหนคือข้อเท็จจริง อันไหนคือความคิดเห็น
ความคิดเห็นไหนเป็นความคิดเห็นด้วยที่มีข้อเท็จจริงมาสนับสนุน ความคิดเห็นไหนเป็นความคิดเห็นที่เจือไปด้วยอคติ
เมื่อเรามีสติรู้ เราจะสามารถแยกตัวเองจาก ผู้เล่น มาเป็น ผู้สังเกตการณ์
เมื่อเราปฏิบัติธรรมจน มีสติ และปัญญาที่เข้มแข็งขึ้น เราจะสามารถคาดการณ์อนาคตของเหตุการณ์ หรือบริษัทแต่ละแห่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และด้วยอคติที่เจือจางลง
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้ผมศรัทธาอย่างแท้จริงว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุน รวมถึงมนุษย์ทุกๆ คน
และหวังว่าผู้ที่อ่านกระทู้มาถึงตรงนี้ จะได้คำตอบของคำถามที่ว่า “การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร”
ไม่มากก็น้อยครับ
อนึ่ง กระทู้นี้เขียนด้วยความเข้าใจส่วนตัวของผมเอง หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยครับ
การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร
คำถามเดียวกันนี้ผมเคยถามกับตัวเองเมื่อราว 4 ปีก่อน..
เริ่มมาจากความสงสัยว่าทำไมนักลงทุนระดับเซียนอย่างพี่ชาย มโนภาส หรือพี่ Picatos ถึงปฏิบัติสมาธิกันเป็นกิจวัตร
ทำไมยอดนักคิดแห่งยุคอย่าง Ray Dalio (ผู้เขียน Principles) หรือ Yuval Noah Harari (ผู้เขียน Sapiens) ถึงให้สัมภาษณ์อย่างหนักแน่นว่าการปฏิบัติสมาธิมีส่วนอย่างมากสำหรับความสำเร็จของพวกเขา
ทำไมยอดคนแห่งยุคอย่าง Steve Jobs ถึงนับถือศาสนาพุทธนิกายเซ็น
ทั้งหมดเป็นแค่เรื่องบังเอิญ? หรือการปฏิบัติสมาธิตามแบบของพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่ออัจฉริยภาพของพวกเขาจริงๆ
...
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมเป็นคนไร้ศาสนา
ในตอนนั้น ผมเชื่อว่าชีวิตของคนเราเหมือนสวิทช์ ปิด-เปิด
เกิดก็คือเปิด ตายก็คือปิด แค่นั้น
การตายก็คือภาวะล้มเหลวของระบบอวัยวะในร่างกาย
เรื่องอย่างจิตวิญญาณ หรือสังสารวัฏ ก็แค่เรื่องที่ถูกแต่งขึ้นมาอีกที
ผมเชื่อในแบบที่ Yuval Noah Harari เรียกมันว่าศาสนาแบบมนุษยนิยม แนวเสรีนิยม
เชื่อว่าเราก็แค่บังเอิญเกิดมา..
เชื่อในสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของปัจเจกบุคคล
ผมไม่ไหว้พระ และไม่เข้าใจว่าการไหว้รูปปั้นหรือศาลเจ้าของมนุษย์ชาวไทยมีประโยชน์อย่างไร
ผมไม่ถือศีล เพราะเห็นว่า 2 ใน 3 ตระกูลที่รวยที่สุดในประเทศไทยก็ไม่น่าจะถือเหมือนกัน
ผมไม่เข้าวัด เพราะไม่เชื่อว่าการทำบุญจะช่วยให้ชาติหน้าดีขึ้น
ก็ถ้าชีวิตเราเป็นแค่สวิทช์ ปิด-เปิด แล้วจะมีชาติหน้าอยู่ที่ไหนกัน
ผมไม่ได้เชื่อในพระพุทธศาสนาเลย ยกเว้นแต่ที่เขียนอยู่ในบัตรประชาชน
ความเชื่อหลักของผมที่ตรงกับแนวคิดของพระพุทธศาสนาก็คือเรื่องกาลามสูตร (ความอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ 10 ประการ)
ผมเป็นคนเชื่ออะไรยาก ขี้สงสัย และชอบตั้งคำถาม
เมื่อผมได้มีโอกาสพบกับพี่ชาย มโนภาส และพี่ Picatos บ่อยครั้งขึ้น ผมก็เริ่มตั้งคำถาม
ทำไมคนที่มีโลจิกขั้นเทพในด้านการลงทุนแบบพี่ๆ เขา ถึงเชื่อเรื่องแฟนตาซี เหนือธรรมชาติแบบนี้นะ?
หรือเป็นไปได้มั้ยที่โลจิกของคนเราจะดีในเรื่องหนึ่ง แล้วบกพร่องในเรื่องอื่นๆ เหมือนกับที่ผู้บริหารบริษัทเทพๆ บางคน ลงทุนไม่เอาไหนเลย
ยังมีคำถามแปลกๆ อีกเยอะที่ทำให้ผมคิดว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องแต่ง (Fiction) มากกว่าจะเป็นความจริง (Fact)
เช่นว่า..
ถ้าวิญญาณหรือชาติภพมีจริง แล้วก่อนเกิด Big Bang วิญญาณเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน?
ถ้าอิทธิฤทธิ์ในสมัยพุทธกาลมีจริง ทำไมเราถึงไม่เห็นมันหลงเหลืออยู่เลยในปัจจุบัน?
ในกระทู้นี้ผมคงจะไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้ ด้วยระดับปัญญาของผมในปัจจุบันคงยังไม่สามารถจะให้คำตอบที่สมบูรณ์ได้
แต่ในกระทู้นี้ผมอยากจะเล่าให้ฟังว่าทำไมผมจึงเห็นว่ามนุษย์ทุกๆ คน โดยเฉพาะนักลงทุนจึงควรศึกษาเรื่องการปฏิบัติสมาธิครับ
...
การลงทุนกับอคติ
จริงๆ แล้ว หลักของการลงทุนให้รวยนั้น มีความเรียบง่ายที่ปะปนกับเรื่องซับซ้อน
เรื่องเรียบง่ายคือ ซื้อถูกขายแพง ทำกำไรจากส่วนต่างราคา
เรื่องซับซ้อนคือ ไม่รู้ตอนไหนคือถูก ตอนไหนคือแพง
จะรู้ว่าตอนไหนถูกแพง ก็ต้องเอาราคาหุ้นในกระดานไปเทียบกับมูลค่าพื้นฐาน (Intrinsic value)
ซึ่งมูลค่าพื้นฐานที่ว่านี้ ไม่มีค่าตายตัว เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์
ถ้าเราต้มน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสน้ำจะเดือด (ณ ระดับน้ำทะเล) >> เรื่องตายตัว (Objective)
ที่ดินในสุขุมวิท 1 ไร่ จะมีราคาเท่าไหร่ในอีก 2 ปีข้างหน้า >> ขึ้นกับความคิดเห็นของมนุษย์ (Subjective หรือ Intersubjective)
ไม่ว่าเราจะประเมินมูลค่าพื้นฐานด้วยวิธีใดๆ มันจะมีตัวแปรที่ทำให้ค่าของมันไม่ตายตัว เช่น ผลตอบแทนคาดหวัง (Expected return) หรือระดับของความเสี่ยง เป็นต้น
และปัญหาที่ทำให้ราคาหุ้นผันผวนมาก ก็มาจากความคาดหวังที่ต่างกัน และมาจากผลสุทธิของความโลภ ความกลัวของทุกๆ คนในตลาด
กล่าวโดยสรุปคือแบบง่ายๆ คือเราทุกคนล้วนมีอคติ และอคติของแต่ละคนก็มีลักษณะปัจเจก มีความเฉพาะตัวแตกต่างกันไป
ส่วนที่ยากของการลงทุนจึงไม่ใช่สูตรคณิตศาสตร์ แต่เป็นการกำจัดอคติของตัวเราเอง
...
อคติตามตำราต่างประเทศนั้น ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น Overconfidence (มั่นใจในตัวเองเกินไป) หรือ Herding (พฤติกรรมการแห่ตามฝูง)
แต่หลังจากที่ผมได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่สอนผมทั้งในด้านการลงทุน และการปฏิบัติธรรม ทำให้ผมเข้าใจว่าแท้จริงแล้วการแบ่ง อคติ นี้สามารถที่จะ classify ได้ง่ายๆ ออกมาเหลือแค่ 2 ประเภท
1. อคติ จาก ความไม่รู้ (Cognitive Bias)
2. อคติ จาก อัตตา (Emotional Bias)
อคติจากความไม่รู้
(ตัวอย่างของอคติประเภทนี้เช่น Expertise Bias, Anchoring effect, Herding เป็นต้น)
ในชีวิตมนุษย์มีเรื่องมากมายที่เราไม่รู้
ณ วันนี้มนุษย์ยังไม่รู้ว่า “สมอง” ของพวกเรามีกระบวนการทำงานทั้งหมดยังไง
มนุษย์ในยุคเริ่มแรก ไม่รู้กระทั่งว่าถ้าต้มน้ำด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสน้ำจะเดือด
ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ เช่น เราไม่รู้จะซื้อหุ้นตัวไหนดี หรือเราไม่รู้ว่าเซียนคนไหนลงทุนเก่งจริงๆ หรือคนไหนเก่งแต่พูด
แม้เราจะยังไม่รู้ว่าสมองของมนุษย์ทำงานยังไง แต่ที่เราพอจะรู้คร่าวๆ ก็คือสมองของเรา ออกแบบให้เราขี้เกียจ
เราชอบเดินทางด้วยรถยนต์มากกว่าการเดินเท้า
เราชอบกินเนื้อหมูที่สุกแล้วมากกว่าเนื้อหมูดิบๆ
สาเหตุเพราะสมองพยายามจะหา shortcut ที่สั้นที่สุด และใช้พลังงานน้อยที่สุดเพื่อทำให้เราถึงจุดหมาย
การประหยัดพลังงาน (ไม่ว่าจะเป็นภายนอกอย่างการเดิน หรือภายในร่างกายอย่างการย่อยอาหาร) เป็นสิ่งที่สมองเชื่อว่าทำให้เรามีโอกาสอยู่รอดสูงกว่า
กับการลงทุนก็เหมือนกัน ธรรมชาติของสมองจะทำให้เราไม่อยากอ่านหนังสือหุ้น 10 เล่ม และอ่านหุ้นอีก 10 ตัว เพื่อเลือกหุ้นที่น่าลงทุนเพียง 1 ตัว
สมองชอบที่จะหา shortcut นั่นทำให้เราเลือกทำกลับกันคือขอหุ้น 10 ตัวจากเซียน 1 คน (อคตินี้คือ Expertise Bias หรือ Authority Bias คืออคติจากการเชื่อผู้เชี่ยวชาญ)
ปัญหาของนักลงทุนที่ติดอคติข้อนี้คือเราหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยไม่ได้ประเมินว่าตัวเราเองมีความรู้ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยด้วยรึเปล่า
เมื่ออคติของความไม่รู้ เกิดจากความขี้เกียจ วิธีที่จะแก้ปัญหานี้คือเราต้องขยัน และรู้จักประเมินตัวเอง
ทำการบ้านให้หนักขึ้น เรียนรู้ให้มากขึ้น และเลือกลงทุนในสิ่งที่เรารู้ หลีกเลี่ยงในสิ่งที่เราไม่รู้
หรืออาจพูดสรุปได้ว่าอคติจากความไม่รู้ หรือ Cognitive Bias นี้ สามารถแก้ด้วยการมี Growth mindset นั่นเอง
แต่คนมี Growth mindset ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตด้านอื่นๆ แต่ไม่ถูกจริตกับการลงทุนมีอยู่มากมาย สาเหตุมาจากอะไร?
...
สาเหตุนั้นมาจาก อคติประเภทที่ 2 คือ อคติจากอัตตา หรือ Emotional Bias
(ตัวอย่างของอคติประเภทนี้ เช่น Overconfidence, Confirmation Bias, Cognitive Dissonance เป็นต้น)
ต้องขอเกริ่นก่อนว่าเมื่อเราพูดถึง อัตตา เรามักจะมองเรื่องนี้เป็นด้านลบ
แต่เราอาจจะลืมคิดไปว่าหลากหลายอาชีพนั้น การสะท้อนตัวตนของเราลงไปในผลงานเป็นสิ่งที่สำคัญ
ศิลปินที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลกคนหนึ่งอย่าง Taylor Swift เป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลง
คุณเมย์ After You ประสบความสำเร็จ เพราะความรัก (Passion) ในการทำขนม
Steve Jobs อาจจะเชื่อแนวคิดที่ว่า “เรียบง่ายที่สุดคือ ดีที่สวยและสวยที่สุด” ตามแบบอย่างของพระพุทธศาสนานิกายเซ็น และนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่ในอีกมุมหนึ่ง Steve Jobs เป็นคนที่เต็มไปด้วยอัตตา และมีความเชื่อมั่นในตัวเองแบบสุดโต่ง (Overconfidence Bias)
เมื่อเราพูดถึงอัตตา เรามักคิดถึงแต่ในทางลบ ทั้งที่จริงอัตตาหรือความเป็นปัจเจกนั้นก็คือสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคมเท่านั้นเอง
อัตตากับความเป็นปัจเจกนั้นมีความหมายคล้ายกันมาก
มีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายกัน แต่เรามักนิยมใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน
พิเศษ (Special) ก็มีความหมายคล้ายกับคำว่าแปลก (Weird) และคล้ายกับคำว่าแตกต่าง (Different)
แต่เรามักใช้คำว่าพิเศษในสถานการณ์ที่เป็นเชิงบวก ใช้คำว่าแปลกในเชิงลบ และใช้คำว่าแตกต่างในเชิงที่เป็นกลาง
คำว่า ตัณหา กับ Passion เองก็มีความหมายที่คล้ายกันในลักษณะนี้
สำหรับอาชีพศิลปินแล้ว อัตตา ปัจเจก และ Passion นั้นล้วนแล้วแต่เป็นเหตุของอัจฉริยภาพ
แม้ว่าความเชื่อมั่นในตัวเองแบบสุดโต่ง (Overconfidence) จะเป็นอคติสำหรับนักลงทุน แต่มันก็ทำให้ศิลปินอย่าง Steve Jobs สามารถเปลี่ยนโลกได้จริงๆ
แต่สำหรับอาชีพนักลงทุนแล้ว การมีอคติและอัตตากลับเป็นอุปสรรคสำคัญ
...
เซอร์ ไอแซค นิวตัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ฉลาดที่สุดคนหนึ่งแห่งยุค แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการลงทุนเลย
นิวตันกล่าวว่าเขาสามารถเขาสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงดาวได้ แต่ไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของมนุษย์ได้
นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า Growth mindset อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้นักลงทุนประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้
ถ้าแบ่งกิจกรรมหลักของนักลงทุนแนว VI ออกเป็น 2 กิจกรรมคือ 1. ปฏิบัติ (เทรดหุ้น) 2. สังเกตการณ์ (อ่านหุ้น) เราจะพบว่านักลงทุนควรใช้เวลาอย่างน้อย 90% ไปกับเรื่องที่สอง
คล้ายกับการเล่นหมากรุก มันไม่สำคัญว่าเราจะเดินหมากด้วยเท้าหรือจมูกได้ มันสำคัญแค่ว่าเราคาดการณ์อนาคตได้เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามหรือไม่
อย่างที่ดร.นิเวศน์มักจะบอกว่า นักลงทุน VI เป็นนักเลือก มากกว่านักปฏิบัติ
สิ่งที่นักลงทุน VI ควรจะทำจึงเป็นการศึกษาอดีต และปัจจุบัน เพื่อที่จะทำนายอนาคตให้ออกมาแม่นยำที่สุด
การนำอัตตาเข้ามาใช้กับการวิเคราะห์ จะทำให้เราได้ภาพของอนาคตที่บิดเบี้ยว มีโอกาสผิดพลาดไปจากความเป็นจริงได้มาก
คำถามก็คือ เราจะลดอัตตาของเราให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร
เราจะลบความโลภ ความกลัว ให้หายไปได้อย่างไร เมื่อสิ่งเหล่านี้ Built in อยู่ในความเป็นมนุษย์ อยู่ในรหัสพันธุกรรมหรือ DNA ของเรา
คำตอบตรงนี้เองที่มาเชื่อมโยงกับคำถามตั้งต้นของกระทู้นี้นั่นคือการปฏิบัติสมาธิ
...
ในหนังสือเรื่อง Sapiens คุณ Harari เล่าว่าพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความสุข-ทุกข์มากกว่าศาสตร์ใดๆ
ตามความเข้าใจของผม (ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้าครับ) สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นสิ่งที่ทั้งเรียบง่าย และซับซ้อน
ในความเรียบง่ายนั้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ธรรมะ
ธรรมะ = ธรรมชาติของสรรพสิ่ง = ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นผู้สร้างโลกใบนี้ และไม่ได้เป็นผู้บัญญัติกฎแห่งกรรม หรือสังสารวัฏขึ้นมาใหม่ ท่านเพียงค้นพบความจริงที่ว่าสังสารวัฏนี้มันมีอยู่จริงๆ
และหากเรายังมีอคติ (ในทางพุทธจะเรียกอคตินี้ว่าอวิชชา = ความไม่รู้) เราก็จะไม่เข้าใจว่าเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสังสารวัฏจะเป็นความจริงได้อย่างไร
…
(ตรงนี้ผมจะขอแทรกเกร็ดเนื้อหาที่น่าสนใจ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวโยงกับเนื้อหาของกระทู้นี้โดยตรง
เราอาจเชื่อว่า ข้อเท็จจริง (Fact) = เรื่องที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
แต่เราก็อาจจะลืมคิดว่าเมื่อ 100 ปีก่อน เรายังไม่รู้เลยว่าร่างกายของเรามีรหัสพันธุกรรม ที่เรียกว่า DNA อยู่ และย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีก่อนมนุษย์ก็ยังไม่รู้กระทั่งว่าร่างกายเรามีอนุภาคขนาดเล็กที่เรียกว่าเซลล์เป็นองค์ประกอบ
Jeff Lichtman ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านสมอง ถามนักเรียนในห้อง โดยให้เดาว่าด้วยการแพทย์วันนี้เราเข้าใจการทำงานของสมองได้ดีแค่ไหน โดยสมมติว่าเส้นชัยของสมองคือ 1 กม. แล้ว ณ วันนี้เราเดินทางมาถึงจุดไหนแล้ว
เด็กตอบว่า 0.5 กม.บ้าง 250 เมตรบ้าง แต่ Jeff Lichtman เฉลยว่าเราเพิ่งมาถึงแค่ 5 เซนติเมตรเท่านั้น
ข้อจำกัดของร่างกาย สมอง และปัญญาของมนุษย์ ทำเราไม่สามารถที่จะเห็นความจริงว่าสังสารวัฏนี้มันมีอยู่นะ
แสงเป็นคลื่นที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ (ความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร) เราสามารถมองเห็นรุ้ง 7 สีได้ แต่เราไม่สามารถเห็นคลื่นอินฟราเรด (มากกว่า 700 นาโนเมตร) หรือคลื่นอัลตราไวโอเลต (ต่ำกว่า 400 นาโนเมตร) ได้
เหมือนกับที่หูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยินเสียงแบบที่สุนัขหรือค้างคาวได้ยิน
เราไม่อาจใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เพื่อบอกได้ว่าสังสารวัฏนี้มีอยู่จริงหรือไม่ เราบอกได้เพียงแต่ว่า ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ณ วันนี้ เรายังไม่สามารถพิสูจน์การมีอยู่ของสังสารวัฏได้
แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์สามารถพัฒนาทักษะทางร่างกาย สมอง และปัญญาจนเราสามารถเห็นคลื่นอินฟราเรด และฟังเสียงได้เหมือนค้างคาว มนุษย์อาจจะค้นพบความจริงของสังสารวัฏนี้ก็เป็นได้
ขอจบประเด็นแทรกตรงนี้ครับ)
…
พระพุทธเจ้าสอนเราว่า อคติหรืออวิชชาจะทำให้เรามองไม่เห็นข้อเท็จจริงว่าสังสารวัฏนี้มีอยู่จริง
เราอาจจะสุขบ้าง ทุกข์บ้าง แต่สุดท้ายเราจะยังคงเกิด แก่ เจ็บ ตาย และกลับมาเกิดใหม่ วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏนี้ต่อไป
สังสารวัฏนี้มันก็แค่ดำรงมาก่อนเราจะเกิด ยังคงดำรงมาจน ณ ขณะที่ผมตั้งกระทู้นี้ และจะดำรงอยู่ต่อไปแม้เราจะตายจากโลกนี้ และไปเกิดในภพภูมิใหม่
เราอาจจะไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นมนุษย์จะสามารถพัฒนาทักษะทางร่างกายและปัญญาจนสามารถเห็นในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจได้อย่างไร
ผมเห็นด้วยกับข้อเท็จจริงนี้ และเป็นสาเหตุที่ผมให้ความเห็นว่า การตรัสรู้ธรรมของพระองค์ เป็นเรื่องที่เรียบง่ายและซับซ้อน
เรื่องเรียบง่ายคือพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทางธรรมชาติของโลกใบนี้
เรื่องซับซ้อนคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่า กฎที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนี้เป็น Fact ไม่ใช่ Fiction แบบแนวคิดสังคมนิยมของมาร์กซิส หรือแนวคิดแบบวิวัฒนาการนิยมแบบฮิตเลอร์?
และต่อให้สังสารวัฏจะเป็น Fact โลกนี้ก็มี Fact อยู่มากมาย เราจำเป็นต้องมีระดับปัญญา หรือมีอิทธิฤทธิ์แบบที่พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมีหรือไม่
ผมเชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้เพียงเป็นเลิศในด้านปัญญา แต่ท่านยังเป็นเลิศในการโปรดสอนสรรพสัตว์อีกด้วย
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราต้องรู้ความจริงทั้งมวลบนโลกใบนี้ เพื่อที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
ความจริงทั้งมวลอาจเปรียบได้กับใบไม้ในป่าใหญ่ แต่ความจริงอันประเสริฐที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์นั้นเปรียบได้กับใบไม้เพียงหยิบมือ
ความจริงที่เราต้องรู้เริ่มต้นง่ายๆ นั่นคือการมีสติรู้ปัจจุบันขณะ
รู้ว่า ณ วินาทีที่คุณกำลังอ่านกระทู้นี้ คุณกำลังหายใจเข้า หรือหายใจออก?
อ่านมาถึงบรรทัดนี้คุณอาจแยกแยะออกว่าตอนนี้กำลังเข้าหรือกำลังออก แต่ก่อนหน้านี้สัก 2-3 นาทีคุณอาจไม่รู้ตัวเลยว่า ณ ปัจจุบันขณะ ลมหายใจของเราเป็นอย่างไร
และหากแค่ลมหายใจ ซึ่งเป็นของที่เรียบง่ายที่สุดนี้ เรายังไม่รู้ตัว เราจะสามารถรู้ความโลภ หรือความกลัวที่เกิดขึ้นระหว่างที่เรากำลังดูแอพ Streaming หรือแม้กระทั่งตอนที่มีคนขับรถปาดหน้าเราได้อย่างไร
กระทู้นี้คงไม่ได้มุ่งหมายเพื่อที่จะบอกเล่าถึงวิธีการปฏิบัติธรรมโดยละเอียด สาเหตุเพราะ
1. ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติธรรมในระดับที่จะสอนใครๆ ได้ และ
2. มีผู้ที่เชี่ยวชาญกว่า ซึ่งสามารถถ่ายทอดเรื่องปฏิบัติธรรมได้ดีกว่าอยู่มากมาย (อย่างน้อยๆ ก็ในเพจของคุณ ดังตฤณ ซึ่งเป็นเพจที่แนะแนววิธีการปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาสโดยเฉพาะ)
สิ่งที่กระทู้นี้มุ่งหมายคือเพื่อชี้ประเด็นว่าการปฏิบัติสมาธิ หรือปฏิบัติธรรมนี้ สามารถที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต หรือในด้านการลงทุนได้อย่างไร
เมื่อเราเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ อย่างลมหายใจ ณ ปัจจุบันขณะ เราจะเกิด สติ
และสตินี้เองจะช่วยบรรเทาผลของความโลภ ความกลัว และความไม่รู้ (โลภ โกรธ หลง) ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ของเรา
การปฏิบัติสมาธิจึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาในเรื่องอคติ ในระดับของแก่น หรือรากของปัญหา
เมื่อเราเข้าใจความโลภ ความกลัว และความไม่รู้ของเราแล้ว อคติเฉพาะที่ตำราฝรั่งตั้งชื่อไว้มากมายก็คงไม่ยากเกินกว่าที่เราจะเข้าใจ
เราจะสามารถเห็นได้ว่าอันไหนคือข้อเท็จจริง อันไหนคือความคิดเห็น
ความคิดเห็นไหนเป็นความคิดเห็นด้วยที่มีข้อเท็จจริงมาสนับสนุน ความคิดเห็นไหนเป็นความคิดเห็นที่เจือไปด้วยอคติ
เมื่อเรามีสติรู้ เราจะสามารถแยกตัวเองจาก ผู้เล่น มาเป็น ผู้สังเกตการณ์
เมื่อเราปฏิบัติธรรมจน มีสติ และปัญญาที่เข้มแข็งขึ้น เราจะสามารถคาดการณ์อนาคตของเหตุการณ์ หรือบริษัทแต่ละแห่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และด้วยอคติที่เจือจางลง
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้ผมศรัทธาอย่างแท้จริงว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุน รวมถึงมนุษย์ทุกๆ คน
และหวังว่าผู้ที่อ่านกระทู้มาถึงตรงนี้ จะได้คำตอบของคำถามที่ว่า “การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร”
ไม่มากก็น้อยครับ
อนึ่ง กระทู้นี้เขียนด้วยความเข้าใจส่วนตัวของผมเอง หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยครับ