วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 1724
- ผู้ติดตาม: 1
วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
โพสต์ที่ 1
อยากแลกเปลี่ยนมุมมองครับ เป็นไปได้มั้ยครับว่าเศรษฐกิจถดถอยหรือวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคตแทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนเนื่องมาจาก
1. คนมีความรู้มากขึ้น ทำให้สามารถถัวหรือถือได้นาน ถ้ามองว่าวิกฤตินั้นไม่กระทบพื้นฐานหรือไม่กระทบประเทศ
2. ต่อจากข้อ 1 ถ้าคนในประเทศเข้าสู่ตลาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นแรงรองรับการตกของราคาหุ้น
3. กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนใหญ่มีนโยบายถือหุ้นในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ทำให้โอกาสเทขายหุ้นหมดพอร์ตยากมาก โดยเฉพาะกองที่ผู้ลงทุนขายคืนไม่ได้ เช่น RMF LTF
4. ธนาคารกลางอาจจะมีเครื่องมือใหม่ๆ ในการต่อต้านการถดถอยของเศรษฐกิจ
ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราอาจจะเจอแค่การปรับฐาน หรือ sideways ยาวๆ เท่านั้น อยากฟังมุมมองท่านอื่นครับ
1. คนมีความรู้มากขึ้น ทำให้สามารถถัวหรือถือได้นาน ถ้ามองว่าวิกฤตินั้นไม่กระทบพื้นฐานหรือไม่กระทบประเทศ
2. ต่อจากข้อ 1 ถ้าคนในประเทศเข้าสู่ตลาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นแรงรองรับการตกของราคาหุ้น
3. กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนใหญ่มีนโยบายถือหุ้นในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ทำให้โอกาสเทขายหุ้นหมดพอร์ตยากมาก โดยเฉพาะกองที่ผู้ลงทุนขายคืนไม่ได้ เช่น RMF LTF
4. ธนาคารกลางอาจจะมีเครื่องมือใหม่ๆ ในการต่อต้านการถดถอยของเศรษฐกิจ
ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราอาจจะเจอแค่การปรับฐาน หรือ sideways ยาวๆ เท่านั้น อยากฟังมุมมองท่านอื่นครับ
Re: วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
โพสต์ที่ 2
ขอลองตอบนะครับ
1. คนมีความรู้มากขึ้นเรื่อยๆครับ แต่สิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ยังขาดคือความสามารถพิจารณาเหตุผลให้อยู่เหนืออารมณ์ รวมถึงตัวผมด้วยในบางครั้งครับ
2&3. ความกลัวทำให้สภาพคล่องต่ำ และราคาซึมลงได้เรื่อยๆครับ คนรับก็ไม่กล้าถือนาน และรีบตัดขาดทุน ส่งไม้ขายต่อไปเรื่อยๆ ต่อให้กองทุนรวมไม่ร่วมขายแรงๆก็ตาม แน่นอนว่าจะมีหุ้นที่ลงน้อยหรือขึ้นสวนตลาดได้แต่ก็เป็นส่วนน้อยครับ
4. ก็เป็นไปได้ครับ ผมมองว่าวิกฤตที่คนพูดและตระหนักถึง จะไม่ใช่ต้นเหตุของวิกฤตครับ แต่จะเป็นสิ่งอื่นที่คนส่วนใหญ่ไม่ทันระวังมากกว่าซึ่งอาจจะเกิดเร็วๆนี้หรืออีกนานก็ได้ครับ
สรุปคือเราใช้เวลาไปกับการเลือกธุรกิจที่สามารถต้านทานต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้และซื้อเมื่อมันคุ้มค่าต่อเงินลงทุนของเราครับ
อย่าช้อนซื้อตอนหุ้นลงเพียงเพราะว่าเผื่อจะได้ขายตอน rebound เพราะมีโอกาสเจ็บตัวสูงครับ
1. คนมีความรู้มากขึ้นเรื่อยๆครับ แต่สิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ยังขาดคือความสามารถพิจารณาเหตุผลให้อยู่เหนืออารมณ์ รวมถึงตัวผมด้วยในบางครั้งครับ
2&3. ความกลัวทำให้สภาพคล่องต่ำ และราคาซึมลงได้เรื่อยๆครับ คนรับก็ไม่กล้าถือนาน และรีบตัดขาดทุน ส่งไม้ขายต่อไปเรื่อยๆ ต่อให้กองทุนรวมไม่ร่วมขายแรงๆก็ตาม แน่นอนว่าจะมีหุ้นที่ลงน้อยหรือขึ้นสวนตลาดได้แต่ก็เป็นส่วนน้อยครับ
4. ก็เป็นไปได้ครับ ผมมองว่าวิกฤตที่คนพูดและตระหนักถึง จะไม่ใช่ต้นเหตุของวิกฤตครับ แต่จะเป็นสิ่งอื่นที่คนส่วนใหญ่ไม่ทันระวังมากกว่าซึ่งอาจจะเกิดเร็วๆนี้หรืออีกนานก็ได้ครับ
สรุปคือเราใช้เวลาไปกับการเลือกธุรกิจที่สามารถต้านทานต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้และซื้อเมื่อมันคุ้มค่าต่อเงินลงทุนของเราครับ
อย่าช้อนซื้อตอนหุ้นลงเพียงเพราะว่าเผื่อจะได้ขายตอน rebound เพราะมีโอกาสเจ็บตัวสูงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 288
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
โพสต์ที่ 3
ขอแสดงความเห็นเท่าที่ผมมีนะครับ
วิกฤติส่วนใหญ่จะเกิดจากหนี้เท่านั้นจากที่ผมศึกษาประวัติ USA and Thai มา ที่ USA มีแต่ปี1929 ที่เกิดวิกฤติครั้งใหญ่เพราะคนแห่ถอนเงินจากแบงค์จนเกิดวิกฤติ เลยล่มแบบโดมิโน่ แต่ครั้งอื่นๆไม่ว่าจะกี่ครั้งมาจากหนี้สินล้วนๆไม่ว่าจะภาค บมจ. หรือเอกชนทั่วไป ส่วนวิกฤติประเภทสงครามผมว่าไม่หนักเท่าไหร่ผ่านมาแล้วก็ไปเช่น สงครามโลก1และ2 ผลกระทบไม่เท่ากับวิกฤติจากหนี้สิน
ฉะนั้น คหสต. หนี้เท่านั้นจะเกิดผลกระทบทั่วโลกได้ของจริง ถ้า บริษัทใหญ่ๆระดับโลกซุกหนี้สินจนมิดแล้วถ้าปี 2020 เกิดล้มขึ้นมา อันนี้หละของจริง จะล่ามไปถึงกองทุน Set Index ทั่วโลกที่ราคาขึ้นสูงด้วยเพราะ นลท. ระดับตำนานหลายท่านก็แนะนำถ้าไม่มีความรู้ให้ลงทุนใน Index มันเลยพากันขึ้นทั่วโลก
วิกฤติส่วนใหญ่จะเกิดจากหนี้เท่านั้นจากที่ผมศึกษาประวัติ USA and Thai มา ที่ USA มีแต่ปี1929 ที่เกิดวิกฤติครั้งใหญ่เพราะคนแห่ถอนเงินจากแบงค์จนเกิดวิกฤติ เลยล่มแบบโดมิโน่ แต่ครั้งอื่นๆไม่ว่าจะกี่ครั้งมาจากหนี้สินล้วนๆไม่ว่าจะภาค บมจ. หรือเอกชนทั่วไป ส่วนวิกฤติประเภทสงครามผมว่าไม่หนักเท่าไหร่ผ่านมาแล้วก็ไปเช่น สงครามโลก1และ2 ผลกระทบไม่เท่ากับวิกฤติจากหนี้สิน
ฉะนั้น คหสต. หนี้เท่านั้นจะเกิดผลกระทบทั่วโลกได้ของจริง ถ้า บริษัทใหญ่ๆระดับโลกซุกหนี้สินจนมิดแล้วถ้าปี 2020 เกิดล้มขึ้นมา อันนี้หละของจริง จะล่ามไปถึงกองทุน Set Index ทั่วโลกที่ราคาขึ้นสูงด้วยเพราะ นลท. ระดับตำนานหลายท่านก็แนะนำถ้าไม่มีความรู้ให้ลงทุนใน Index มันเลยพากันขึ้นทั่วโลก
Power Of Thinking
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 48
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
โพสต์ที่ 4
1. คนมีความรู้มากขึ้น ทำให้สามารถถัวหรือถือได้นาน ถ้ามองว่าวิกฤตินั้นไม่กระทบพื้นฐานหรือไม่กระทบประเทศ
ถ้ามองว่ากระทบพื้นฐานหรือไม่ น่าจะดูที่กำไรบริษัทจดทะเบียน
ประเทศไทย พึ่งเม็ดเงินกับ การส่งออก ถ้าสมมุติว่า ถือข้ามปี ก็อาจจะเสมือนว่า อยู่ในช่วงไม่มีโควิดได้
ก็ควรจะเปรียบเทียบพฤติกรรม ก่อน และหลังโควิด ว่า จะต่างกันเยอะไหม มีผลกระทบกับบริษัทที่เราสนใจยังไง / แล้วปัญหาโครงสร้างของไทยก็ยังมีอยู่ ในสภาพ โตช้า ค่าแรงแพงเทียบกับเพื่อนบ้าน เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หนี้ครัวเรือนสูง การมีความรู้ มีเงินทำให้ถือนาน ไม่น่าเกี่ยวกับพื้นฐานครับ
อาจจะเป็นไปได้ที่จะเป็นข้อ 4. ซึ่งเป็น sideway ยาวๆ ทางลงมากกว่า
2. ต่อจากข้อ 1 ถ้าคนในประเทศเข้าสู่ตลาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นแรงรองรับการตกของราคาหุ้น
ตอนนี้ผมว่าเป็นแบบนั้นครับ ตอนนี้สัดส่วนรายย่อยน้อยลง แถมด้วยไม่รวมนักลงทุนรายย่อยที่มีพอร์ตหลายหลัก แต่ยังนับเป็นรายย่อยและส่วนใหญ่ขาดทุนน้อย แปลว่ารายย่อยที่เป็นรายละเอียดขาดทุนมาก แต่คนในประเทศจะเข้าสู่ตลาดทุนเรื่อยๆได้หรือ ในเมื่อ คนรุ่นใหม่น้อยลงจากสัดส่วนประชากร
และคนเป็นหนี้มาก ขณะที่ทางเลือกตลาดต่างประเทศก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะรายย่อยที่พอร์ตใหญ่ เขาอาจจะเริ่ม money management ถือกองต่างประเทศเป็นสัดส่วนจำนวนหนึ่ง
3. กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนใหญ่มีนโยบายถือหุ้นในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ทำให้โอกาสเทขายหุ้นหมดพอร์ตยากมาก โดยเฉพาะกองที่ผู้ลงทุนขายคืนไม่ได้ เช่น RMF LTF
ผมคิดว่าเป็นเหตุที่กองทุนก็ยังถืออยู่และเป็นผู้ซื้อโดยส่วนใหญ่ครับ แต่ SSF 10 ปี ผมว่า เม็ดเงินกองทุนน่าจะน้อยลงนะ
4. ธนาคารกลางอาจจะมีเครื่องมือใหม่ๆ ในการต่อต้านการถดถอยของเศรษฐกิจ
ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราอาจจะเจอแค่การปรับฐาน หรือ sideways ยาวๆ เท่านั้น อยากฟังมุมมองท่านอื่นครับ
ผมคิดว่า ธนาคารกลาง หมดมุขแล้วครับ ส่วนใหญ่ก็ก๊อบๆกันมา ญี่ปุ่น อเมริกา
คนที่ใช้ที่หลังก็ดูผลกระทบ แค่ ธ.กลางมีแนวโน้มจะอัดฉีดน้อย นักลงทุนก็เริ่มระแวงแล้ว
ผมมองเป็น sideway ยาว นานๆ ในภาพรวม แต่รายบริษัท ก็คงมี บริษัทที่ได้ประโยชน์ หรือกำไรเพิ่ม
ถ้ามองว่ากระทบพื้นฐานหรือไม่ น่าจะดูที่กำไรบริษัทจดทะเบียน
ประเทศไทย พึ่งเม็ดเงินกับ การส่งออก ถ้าสมมุติว่า ถือข้ามปี ก็อาจจะเสมือนว่า อยู่ในช่วงไม่มีโควิดได้
ก็ควรจะเปรียบเทียบพฤติกรรม ก่อน และหลังโควิด ว่า จะต่างกันเยอะไหม มีผลกระทบกับบริษัทที่เราสนใจยังไง / แล้วปัญหาโครงสร้างของไทยก็ยังมีอยู่ ในสภาพ โตช้า ค่าแรงแพงเทียบกับเพื่อนบ้าน เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หนี้ครัวเรือนสูง การมีความรู้ มีเงินทำให้ถือนาน ไม่น่าเกี่ยวกับพื้นฐานครับ
อาจจะเป็นไปได้ที่จะเป็นข้อ 4. ซึ่งเป็น sideway ยาวๆ ทางลงมากกว่า
2. ต่อจากข้อ 1 ถ้าคนในประเทศเข้าสู่ตลาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นแรงรองรับการตกของราคาหุ้น
ตอนนี้ผมว่าเป็นแบบนั้นครับ ตอนนี้สัดส่วนรายย่อยน้อยลง แถมด้วยไม่รวมนักลงทุนรายย่อยที่มีพอร์ตหลายหลัก แต่ยังนับเป็นรายย่อยและส่วนใหญ่ขาดทุนน้อย แปลว่ารายย่อยที่เป็นรายละเอียดขาดทุนมาก แต่คนในประเทศจะเข้าสู่ตลาดทุนเรื่อยๆได้หรือ ในเมื่อ คนรุ่นใหม่น้อยลงจากสัดส่วนประชากร
และคนเป็นหนี้มาก ขณะที่ทางเลือกตลาดต่างประเทศก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะรายย่อยที่พอร์ตใหญ่ เขาอาจจะเริ่ม money management ถือกองต่างประเทศเป็นสัดส่วนจำนวนหนึ่ง
3. กองทุนรวมตราสารทุน ส่วนใหญ่มีนโยบายถือหุ้นในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ทำให้โอกาสเทขายหุ้นหมดพอร์ตยากมาก โดยเฉพาะกองที่ผู้ลงทุนขายคืนไม่ได้ เช่น RMF LTF
ผมคิดว่าเป็นเหตุที่กองทุนก็ยังถืออยู่และเป็นผู้ซื้อโดยส่วนใหญ่ครับ แต่ SSF 10 ปี ผมว่า เม็ดเงินกองทุนน่าจะน้อยลงนะ
4. ธนาคารกลางอาจจะมีเครื่องมือใหม่ๆ ในการต่อต้านการถดถอยของเศรษฐกิจ
ซึ่งถ้าเป็นตามนี้เราอาจจะเจอแค่การปรับฐาน หรือ sideways ยาวๆ เท่านั้น อยากฟังมุมมองท่านอื่นครับ
ผมคิดว่า ธนาคารกลาง หมดมุขแล้วครับ ส่วนใหญ่ก็ก๊อบๆกันมา ญี่ปุ่น อเมริกา
คนที่ใช้ที่หลังก็ดูผลกระทบ แค่ ธ.กลางมีแนวโน้มจะอัดฉีดน้อย นักลงทุนก็เริ่มระแวงแล้ว
ผมมองเป็น sideway ยาว นานๆ ในภาพรวม แต่รายบริษัท ก็คงมี บริษัทที่ได้ประโยชน์ หรือกำไรเพิ่ม