Moneytalk@SET19/10/62หุ้นเด่นไตรมาสสี่และปีหน้า&รวยหุ้นพลังงานทางเลือก
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 19, 2019 9:30 pm
ช่วงที่ 2 “รวยด้วยหุ้น Mega Trend พลังงานทางเลือก”
วิทยากร
- ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนากุล / กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ – Trinity
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญหุ้นแนวเน้นคุณค่า
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
เกริ่นนำเมกะเทรนด์
อ.ไพบูลย์
1.โลกหมุนจะฝั่งตะวันตก มาเอเชีย จีนยิ่งใหญ่มาก ขนาดทรัมป์ยังต้องหาทางจำกัดการเติบโตของจีน
2.โลกคนแก่กำลังเกิดขึ้น เมืองไทยก็เป็นอันดับต้นๆรองจากญี่ปุ่น
3.โลกคนอพยพจากถิ่นไกลๆเข้ามาในเมืองเป็นหลัก ทำให้สร้างคอนโดจนเหลือเยอะมาก
4.ถ้าขุดน้ำมันในโลกมาใช้ทำให้เกิดมลภาวะ โลกร้อน รวมถึง ไมโครพลาสติค
ที่ไม่ย่อยสลายและเข้ามาอยู่ในตัวเรา
ซึ่งพลังงานทดแทนจะไม่เกิดผลกระทบเหล่านี้ เช่น เอาหญ้า,ขยะ
หรือความร้อนใต้พิภพมาทำเป็นพลังงานไฟฟ้า ก็ไม่เกิดมลภาวะ
รวยด้วยหุ้น Mega Trend พลังงานทางเลือก
อ.วิศิษฐ์
หุ้นโรงไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.conventional เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน,แก๊สเป็นเชื้อเพลิง หุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในปีนี้
โรงไฟฟ้า conventional มากกว่า SET 50% เช่น gulf, gpsc, bgrim, egco
2.renewable เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน มีทั้งโซลาร์,ชีวมวล
หุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า SET 20% เช่น ea,tpch,bcpg,spcg
ในทางทฤษฎี หุ้นกลุ่มนี้มักจะ perform ในช่วงปลายเศรษฐกิจขาขึ้น นักลงทุนมักเลือกหุ้นที่มีรายได้มั่นคง
ประกอบกับการที่มี trade war ทำให้กลุ่มธนาคาร,พลังงาน ไม่ perform เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง
รวมถึง FED ก็มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย ซึ่งปีนี้ลดลง 2 ครั้ง และมีโอกาสลดลงอีก 3-4 ครั้งข้างหน้า
ซึ่งส่งผลดีกับกลุ่มโรงไฟฟ้า
อ.ไพบูลย์เสริมว่า กลุ่มโรงไฟฟ้ามีความแน่นอนจากการ lock ความเสี่ยงคือทำสัญญาการไฟฟ้าไว้แล้ว
และ มี ปันผลที่แน่นอน ซึ่งตอนนี้สูงกว่าดอกเบี้ย และมีต้นทุนการกู้ลดลง
PDP ปัจจุบันโรงไฟฟ้า 43,000 MW 60% เป็นโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ 18% ถ่านหิน
ซึ่งภาพข้างหน้า 2 กลุ่มนี้จะลดลงเหลือ 78%-> 60% จะไปเพิ่มที่พลังงานหมุนเวียน 8% -> 18%
ใน 20 ปี กำลังไฟฟ้า 56,000 MW โดยโรงไฟฟ้าเก่าๆจะถูกปิดลง จะเพิ่มเป็น 72,000 MW
สมมติฐานใน PDP การใช้ไฟฟ้า โตปีละ 2-3% ซึ่งยังไม่รวมว่ามีการลดการใช้น้ำมันมาใช้ไฟฟ้าที่รถยนต์
ที่น่าสนใจจะมีการ disruption จะทำให้การใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมันเพิ่มอีก 40,000 MW
จึงต้องการไฟฟ้าอย่างน้อย 120,000 MW
สิ่งที่น่าสนใจคือ ไฟฟ้า 56,000 MW ที่เพิ่มขึ้น 37% เป็นพลังงานหมุนเวียน 10,000 MW เป็น Solar,
3500 MW เป็น ชีวมวล(ไม้ยูคาลิปตัส,ยางพารา) ทำให้อนาคตสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจะปรับเพิ่มขึ้น
ล่าสุดโรงไฟฟ้าขยะชุมชน fast track 400 MW จะถูกขายเข้าระบบใน 3 ปีข้างหน้า
เมกะเทรนด์แรกคือ disruption ของ demand แม้การใช้ไฟฟ้าโต 2-3% ต่อปี
แต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนได้เร็วขนาดไหน และแผนพัฒนาที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
อ.ไพบูลย์ นโยบายไฟฟ้ามีความไม่แน่นอนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล
เช่น แถวขอนก่อนปลูกหญ้าเนเปียร์ รัฐบาลไม่ซื้อก็ลำบาก แล้วนโยบายรอบนี้จะนิ่งไหม?
อ.วิศิษฐ์ การรับซื้อชีวมวล มักจะมีการเปิดให้แข่งขัน ซึ่งคนที่สามารถเข้าถึงวัตถุดิบราคาถูกจะเข้ามาประมวล
สำหรับหญ้าเนเปียร์อาจจะควบคุมต้นทุนสู้ไม้ยูคา หรือไม้ยางไม่ได้
มุมมองเรื่องนโยบายต้องสอดคล้องกันทั่วโลกด้วย
ตอนนี้เน้น circulated economy มี 88% ประเทศทั่วโลกทำสัญญา Paris agreement
ร่วมมือกันทำ Zero Carbon ในปี 2050 สังเกตว่า รถยนต์ใหม่ๆ ของยุโรปจะเป็นพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
เมกาเทรนด์ 2 ประเทศต่างๆ ทำ circulated economy มากขึ้น
นักลงทุนสถาบันทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับ theme ESG (environment social and governance)
มากขึ้น คือ บริษัทที่เน้นส่งเสริม สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
เมกะเทรนด์ 3 พลังงานไฟฟ้า มีการแก๊สธรรมชาติ 60% มาจาก 3 แหล่ง
1.อ่าวไทย(แหล่ง อาทิตย์,บงกช,ไพลิน,ยูโนแคล) 230-250 บาท/ล้านบีทียู
2.พม่า(แหล่งยาดานา,เยตากุน,ซอติก้า) 350 บาท/ล้านบีทียู
3. นำเข้า LNG มาผสม 400-500 บาท/ล้าน บีทียู
จะสังเกตว่าถูกนำผสมและขายให้โรงไฟฟ้าเฉลี่ย 287 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งราคาค่อนข้างถูก
เนื่องจากสัมพันธ์กับน้ำมันเตา ต้องอาศัยแก๊สธรรมชาติค่อนข้างมาก ใช้วันละ 5,000 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน
อนาคต 20 ปีข้างหน้าจะเหลือแค่ 1,000 ล้าน ลบ,ฟุต /วัน ขึ้นกับการสำรอง ราคาไฟฟ้าจะผันผวนมากขึ้น
ซึ่งต้องนำเข้าปิโตรเลียมเหลว(LNG) จากตะวันออกกลาง คาดการณ์ว่าจะต้องนำเข้าถึง 10-70 ล้านตันต่อปี
หลายบริษัทเริ่มที่จะสร้าง tank หรือ Joint venture นำเข้ามาก็จะได้ประโยชน์
อ.เสน่ห์เสริม เดิมโรงไฟฟ้าน้ำเป็น zero carbon อยู่แล้ว แต่เราสร้างเขื่อนไม่ได้
จึงทำถ่านหิน ลิกไนต์ จนกระทั่งหมดจึงไปเอาบิทูมินัสมาใช้ จึงเกิดคาร์บอนเยอะขึ้น
และก็ต่อมาสามารถใช้น้ำมันเตา น้ำมันดีเซลก็ผลิตไฟฟ้า
จนกระทั่งไทยเจอ แก๊สธรรมชาติ NG มี2 แบบ แก๊ส กับ ของเหลว LNG เพื่อให้ขนส่งได้
นอกจากนี้เรามีพลังงานบนดิน เช่น แสงอาทิตย์, ลม, ขยะ แม้กระทั่งต้นปาล์ม,อ้อย ก็มาทำไบโอดีเซล
เราก็เพิ่มเอามาผสมดีเซล 5% -> 10% -> 20% หรือ แก๊สโซฮอล์ที่ผสมจากอ้อย
จากนโยบายลดการสร้างคาร์บอน พวกสแกนดิเนเวีย ก็จะเลิกใช้พลังงานฟอสซิลก่อนเลย
เคยฟังนายก ภูฏาน แสดงวิสัยทัศน์ว่าประเทศเป็นเล็กๆ ที่ทำมากกว่า zero carbon คือ negative
คือเขาไม่สร้างคาร์บอน และยังช่วยลด มีป่าเขาต่างๆมาช่วยดูดคาร์บอน
รายได้อันดับ 1 ของประเทศ คือผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แหล่งน้ำจากหิมาลัย ขายไปยังประเทศรอบๆ
นอกจากนี้มีประเทศที่มีคล้ายๆกัน คือ ลาว เป็นแบตเตอรี่ของอาเซียน
ซึ่งมีแหล่งน้ำสำรองอันดับ 2 ของโลก รองจากแคนาดา
ตำแหน่งประเทศลาวมีน้ำจากจีนไหลลงมา รวมถึงฝนที่ตกจากประเทศต่างๆมารวมที่ลาว
รวมถึงพื้นที่ 2 ใน 3 ของลาวเป็นภูเขาเป็นแหล่งรับน้ำ
อ.นิเวศน์
มองพลังงานต่างกับคนอื่นตรงหุ้นพลังงานก็คือหุ้นพลังงาน
เพราะเศรษฐศาสตร์ข้างหลังเหมือนกัน อย่างการผลิตไฟฟ้าก็หารายได้ด้วยการประมูล
โดยใช้ IRR เป็นเงื่อนไข คือลงทุนเท่าไร ได้ผลตอบแทนเท่าไร
ถ้าประมูลได้ IRR สูง ก็กำไรสูง ขึ้นกับสถานการณ์,อัตราดอกเบี้ย
ก่อนหน้านี้พลังงานทดแทน IRR ดี พอภาครัฐรู้ว่าพวกนี้กำลังดี
ก็ค่อยๆลดการชดเชยลงมา สุดท้ายก็ IRR พอๆ กับ พลังงาน conventional
ธุรกิจที่เป็น mega trend ก็ไม่ได้แปลว่าดี ถ้าเป็น supplier มีคนผลิตได้ตลอดเวลา
พลังงานทางเลือกโตเอาๆ แต่คนผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า ใครก็ผลิตได้ ไปซื้อโซลาร์ได้
และทำสำเร็จด้วย เพราะไปซื้อกิจการมา ไปดีลได้ดี
เรื่องพลังงานทางเลือกที่เติบโตมันเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แค่ไทย
อย่างในเวียดนามที่ลงทุน หุ้นโรงไฟฟ้าไม่โต ทั้งๆที่ กำลังเติบโต ความต้องการไฟฟ้ามหาศาล
ทั้งที่กำไรดี PE 6-7 เท่า ปันผล 10% แต่ราคาไม่ได้ขึ้นอะไรมาก
แต่ที่หุ้นขึ้นตอนนี้ในไทยอย่างเดียว คือ ต้นทุนเงินทุนของไทยต่ำมากๆ
ประเทศไทยกู้ 3-4% กู้ง่าย สามารถแข่งได้ทั่วโลก ไปญี่ปุ่น ไปเวียดนามก็ได้
ดังนั้นก็ต้องระวังเหมือนกันว่าหุ้นโรงไฟฟ้า ถ้าขึ้นมากๆ ไปถึงจุดหนึ่งผลตอบแทนก็ไม่คุ้มก็อาจปรับตัวลงได้
อ.ไพบูลย์ อย่างที่อ.นิเวศน์บอกว่าพลังงานก็ไม่ได้ดีเด่นอะไรมากมาก
แต่รัฐบาลมีแผนความต้องการพลังงานชัดเจน รวมถึงต้องมีเทคโนโลยีมี knowhow
ในการทำพลังงานทดแทน มันจึงดีตรงนี้หรือเปล่า?
อ.วิศิษฐ์ อดีตพลังงานโซลาร์ได้ประโยชน์จาก adder 1 unit รัฐบาลรับซื้อราว 10 บาท
ดังนั้น 1 MW กำไร 14 ล้านบาท (adder 6.5-8 บาท) ปัจจุบันลดมารับซื้อราว 4 บาท เป็นเรื่องของนโยบาย
แก๊สในอ่าวไทยที่ลดลง สิ่งที่ทดแทน LNG ได้ คือ ชีวมวล ความต้องการ 3500 MW
จากการศึกษาวิทยาลัยพลังงาน 1 unit ของพลังงานชีวมวล จะให้เกิดความคุ้มทางชุมชน 22 บาท
ถือว่าสูง ขณะที่โซลาร์/ถ่านหิน/แก๊ส อยู่ที่ 3-5 บาท เท่านั้น
บริษัทที่เข้าถึง supply พืชพลังงาน และประมูลโรงไฟฟ้าชีวมวลได้จะได้เปรียบ
เป็นเมกะเทรนด์ที่ 4
เมกะเทรนด์ที่ 5 คือ fast track โรงไฟฟ้า ชุมชน 300-400 วึ่งจะช่วยลดขยะต่างๆในชุมชน
เมกะเทรนด์ 6 สมาร์ทกริด และ P2P ระหว่างชุมชนกับชุมชน
ขายไฟฟ้าระหว่างกัน ต้องใช้เทคโนโลยี block chain
อ.นิเวศน์
เมกะเทรนด์จริงๆ คิดว่าจะเป็นการหยุดผลิต หยุดส่ง ผลิตที่ไหนก็ขายที่นั่น
ไฟฟ้าเมื่อเดินทางไกลก็เสียพลังงานไป อย่างที่อเมริกาโรงไฟฟ้ามีปัญหาขายเฉพาะกลางคืน
กลางวันขายไม่ได้ เพราะกลางวันผลิตไฟฟ้าโซลาร์ ซึ่งเมืองไทยยังไม่ถึงจุดนั้น
หากวันหนึ่งคุ้มค่าและมีคนจัดการได้ ก็จะผลิตไฟฟ้ากันเอง และส่งขาย
อย่างที่สแกนดิเนเวียก็เหมือนกัน ต่อไปรถยนต์ไฟฟ้าก็ชาร์จตอนกลางวัน ก็จะไม่ได้ต้องการผลิตไฟฟ้ามาก
พวกโซลาร์เซล์ กังหัน เป็นพลังงานทดแทนที่ไม่เกิดปัญหาก็ไม่จริงหรอก
บิล เกตต์บอกว่าวิธีรักษาโลกไม่เกิดแก๊สขึ้นต้องใช้นิวเคลียร์
อย่างการทำโซลาร์เซลล์ ก็ต้องใช้พลังงานสร้าง และกำจัดอีก แต่ถ้านิวเคลียร์ไม่มี
ปัญหาคือการใช้ นิวเคลียร์เกิดยาก เพราะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้
อ.ไพบูลย์ เสริม นิวเคลียร์ถูกสุด แต่ถ้ารั่วทีเดียวก็หายหมด เหมือนการเลือกหุ้น
อ.นิเวศน์
ลองมองภาพใหญ่ แก๊สในประเทศที่ปล่อยรวมกันคนละหน่อย ตายผ่อนส่งกันหมด
เทียบกับนิวเคลียร์ทำคนตายไม่เท่าไร
ส่วนตัวคิดว่าเมืองไทย ต้องกระจายให้คนไปผลิตไฟฟ้ากันเอง
แทนที่รัฐบาลจะแจกเงิน มาแจกโซลาร์เซลล์ดีกว่า
อ.เสน่ห์เสริม
โอกาสที่จะทำให้เกิดได้จริงนโยบายภาครัฐ ที่ประกาศหรือเขียนในแผนยุทธศาสตร์
เมื่อก่อน OECD ดูการบริโภคของน้ำมัน ซึ่งประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันเยอะสุด
ถัดมาจีนมีการพัฒนาและบริโภคน้ำมันสูงสุดขึ้นมา ซึ่งตอนนี้จีนก็ใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดจากอเมริกา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดคาร์บอน เช่น มีการประกาศ 5G ก่อนคนอื่น
ซึ่ง สีจิ้นผิง มีการประกาศชัดเจนว่าจะยกระดับประเทศ เอาเทคโนโลยีเป็นตัวนำ
หุ้นพลังงานไฟฟ้า
ดร.วิศิษฐ์ หุ้น conventional ที่ outperform ขึ้นมา ต้องดูความเหมาะสมราคา
1. gulf ได้ ppa(สัญญาซื้อขายไฟฟ้า) ipp ราว 4,000 MW ทำให้เติบโตดี
2. gpsc หลังควบรวมทำให้ market cap เพิ่มขึ้น ทำให้ weigting ใน msci
มีโอกาสเพิ่มขึ้น ราว 1% ทำให้ fund flow ไหลเข้า
พลังงานหมุนเวียน บริษัทที่มีแหล่ง supply และพร้อมประมูลตามนโยบายภาครัฐ ประกาศซื้อโรงไฟฟ้าขยะชุมชน
หากบริษัทไหนมี track record สำหรับพลังงานแสดงอาทิตย์ irr จะสู้รอบแรกที่โปรโมตไม่ได้
ปิดท้าย
เอ.เสน่ห์ เล่านิทานการประกวดเมล็ดพันธ์มาแข่งขันกัน ซึ่งผู้ชนะทุกปีก็จะเอามล็ดพันธุ์ดีๆไปแจกให้คนอื่น
เป็นแง่คิดอีกมุมหนึ่งว่า เมื่อแจกของดีๆให้ คนอื่นเอาไปปลูกก็จะไม่มีเมล็ดพันธ์เสียๆมาอยู่ในพื้นที่เรา
และปีต่อไปเราก็ต้องทำพันธ์ให้ดีกว่าปีที่แล้ว ทุกไร่รอบๆก็จะดีขึ้นหมด
เปรียบดังคนที่มีความคิดดีๆหากเก็บเมล็ดพันธ์ดีๆไว้ไม่แจกไป ก็จะมีเมล็ดพันธ์แย่ๆเข้ามาอยู่รอบข้าง
ต้องเผยแพร่ความคิดดีๆ ออกไป แจกความรู้ดีๆ ออกไป เหมือนที่มาสัมมนากัน
อ.ไพบูลย์ เดือนหน้าเป็นเรื่องธรรมะเป็นประโยชน์กับการลงทุน
วิชาการลงทุนอยู่ในโลกของความโลภ ของกิเลส คนเจ๊งมากกว่าคนรวย ซึ่งธรรมะจะเป็นวิชาช่วยป้องกันตัวที่ดี
ครั้งหน้าจะมาฟังในแนวทางที่ลงทุนแล้วมีความสุขจะทำอย่างไร
ขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ พี่หมอเค ทีมงาน money talk ที่มาจัดรายการให้สิ่งดีๆเป็นประจำ
และขอบคุณวิทยากร ผู้บริหารทุกท่านที่มาให้ความรู้ ข้อมูลการลงทุนครับ
สำหรับช่วง 1 ทางพี่อมรจะมาโพสต์สรุปให้นะครับ
ขอบคุณพี่อมรด้วยครับ
วิทยากร
- ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนากุล / กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ – Trinity
- ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญหุ้นแนวเน้นคุณค่า
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
เกริ่นนำเมกะเทรนด์
อ.ไพบูลย์
1.โลกหมุนจะฝั่งตะวันตก มาเอเชีย จีนยิ่งใหญ่มาก ขนาดทรัมป์ยังต้องหาทางจำกัดการเติบโตของจีน
2.โลกคนแก่กำลังเกิดขึ้น เมืองไทยก็เป็นอันดับต้นๆรองจากญี่ปุ่น
3.โลกคนอพยพจากถิ่นไกลๆเข้ามาในเมืองเป็นหลัก ทำให้สร้างคอนโดจนเหลือเยอะมาก
4.ถ้าขุดน้ำมันในโลกมาใช้ทำให้เกิดมลภาวะ โลกร้อน รวมถึง ไมโครพลาสติค
ที่ไม่ย่อยสลายและเข้ามาอยู่ในตัวเรา
ซึ่งพลังงานทดแทนจะไม่เกิดผลกระทบเหล่านี้ เช่น เอาหญ้า,ขยะ
หรือความร้อนใต้พิภพมาทำเป็นพลังงานไฟฟ้า ก็ไม่เกิดมลภาวะ
รวยด้วยหุ้น Mega Trend พลังงานทางเลือก
อ.วิศิษฐ์
หุ้นโรงไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.conventional เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน,แก๊สเป็นเชื้อเพลิง หุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนโดดเด่นในปีนี้
โรงไฟฟ้า conventional มากกว่า SET 50% เช่น gulf, gpsc, bgrim, egco
2.renewable เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน มีทั้งโซลาร์,ชีวมวล
หุ้นกลุ่มนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า SET 20% เช่น ea,tpch,bcpg,spcg
ในทางทฤษฎี หุ้นกลุ่มนี้มักจะ perform ในช่วงปลายเศรษฐกิจขาขึ้น นักลงทุนมักเลือกหุ้นที่มีรายได้มั่นคง
ประกอบกับการที่มี trade war ทำให้กลุ่มธนาคาร,พลังงาน ไม่ perform เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง
รวมถึง FED ก็มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย ซึ่งปีนี้ลดลง 2 ครั้ง และมีโอกาสลดลงอีก 3-4 ครั้งข้างหน้า
ซึ่งส่งผลดีกับกลุ่มโรงไฟฟ้า
อ.ไพบูลย์เสริมว่า กลุ่มโรงไฟฟ้ามีความแน่นอนจากการ lock ความเสี่ยงคือทำสัญญาการไฟฟ้าไว้แล้ว
และ มี ปันผลที่แน่นอน ซึ่งตอนนี้สูงกว่าดอกเบี้ย และมีต้นทุนการกู้ลดลง
PDP ปัจจุบันโรงไฟฟ้า 43,000 MW 60% เป็นโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ 18% ถ่านหิน
ซึ่งภาพข้างหน้า 2 กลุ่มนี้จะลดลงเหลือ 78%-> 60% จะไปเพิ่มที่พลังงานหมุนเวียน 8% -> 18%
ใน 20 ปี กำลังไฟฟ้า 56,000 MW โดยโรงไฟฟ้าเก่าๆจะถูกปิดลง จะเพิ่มเป็น 72,000 MW
สมมติฐานใน PDP การใช้ไฟฟ้า โตปีละ 2-3% ซึ่งยังไม่รวมว่ามีการลดการใช้น้ำมันมาใช้ไฟฟ้าที่รถยนต์
ที่น่าสนใจจะมีการ disruption จะทำให้การใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมันเพิ่มอีก 40,000 MW
จึงต้องการไฟฟ้าอย่างน้อย 120,000 MW
สิ่งที่น่าสนใจคือ ไฟฟ้า 56,000 MW ที่เพิ่มขึ้น 37% เป็นพลังงานหมุนเวียน 10,000 MW เป็น Solar,
3500 MW เป็น ชีวมวล(ไม้ยูคาลิปตัส,ยางพารา) ทำให้อนาคตสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจะปรับเพิ่มขึ้น
ล่าสุดโรงไฟฟ้าขยะชุมชน fast track 400 MW จะถูกขายเข้าระบบใน 3 ปีข้างหน้า
เมกะเทรนด์แรกคือ disruption ของ demand แม้การใช้ไฟฟ้าโต 2-3% ต่อปี
แต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนได้เร็วขนาดไหน และแผนพัฒนาที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
อ.ไพบูลย์ นโยบายไฟฟ้ามีความไม่แน่นอนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล
เช่น แถวขอนก่อนปลูกหญ้าเนเปียร์ รัฐบาลไม่ซื้อก็ลำบาก แล้วนโยบายรอบนี้จะนิ่งไหม?
อ.วิศิษฐ์ การรับซื้อชีวมวล มักจะมีการเปิดให้แข่งขัน ซึ่งคนที่สามารถเข้าถึงวัตถุดิบราคาถูกจะเข้ามาประมวล
สำหรับหญ้าเนเปียร์อาจจะควบคุมต้นทุนสู้ไม้ยูคา หรือไม้ยางไม่ได้
มุมมองเรื่องนโยบายต้องสอดคล้องกันทั่วโลกด้วย
ตอนนี้เน้น circulated economy มี 88% ประเทศทั่วโลกทำสัญญา Paris agreement
ร่วมมือกันทำ Zero Carbon ในปี 2050 สังเกตว่า รถยนต์ใหม่ๆ ของยุโรปจะเป็นพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
เมกาเทรนด์ 2 ประเทศต่างๆ ทำ circulated economy มากขึ้น
นักลงทุนสถาบันทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับ theme ESG (environment social and governance)
มากขึ้น คือ บริษัทที่เน้นส่งเสริม สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
เมกะเทรนด์ 3 พลังงานไฟฟ้า มีการแก๊สธรรมชาติ 60% มาจาก 3 แหล่ง
1.อ่าวไทย(แหล่ง อาทิตย์,บงกช,ไพลิน,ยูโนแคล) 230-250 บาท/ล้านบีทียู
2.พม่า(แหล่งยาดานา,เยตากุน,ซอติก้า) 350 บาท/ล้านบีทียู
3. นำเข้า LNG มาผสม 400-500 บาท/ล้าน บีทียู
จะสังเกตว่าถูกนำผสมและขายให้โรงไฟฟ้าเฉลี่ย 287 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งราคาค่อนข้างถูก
เนื่องจากสัมพันธ์กับน้ำมันเตา ต้องอาศัยแก๊สธรรมชาติค่อนข้างมาก ใช้วันละ 5,000 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน
อนาคต 20 ปีข้างหน้าจะเหลือแค่ 1,000 ล้าน ลบ,ฟุต /วัน ขึ้นกับการสำรอง ราคาไฟฟ้าจะผันผวนมากขึ้น
ซึ่งต้องนำเข้าปิโตรเลียมเหลว(LNG) จากตะวันออกกลาง คาดการณ์ว่าจะต้องนำเข้าถึง 10-70 ล้านตันต่อปี
หลายบริษัทเริ่มที่จะสร้าง tank หรือ Joint venture นำเข้ามาก็จะได้ประโยชน์
อ.เสน่ห์เสริม เดิมโรงไฟฟ้าน้ำเป็น zero carbon อยู่แล้ว แต่เราสร้างเขื่อนไม่ได้
จึงทำถ่านหิน ลิกไนต์ จนกระทั่งหมดจึงไปเอาบิทูมินัสมาใช้ จึงเกิดคาร์บอนเยอะขึ้น
และก็ต่อมาสามารถใช้น้ำมันเตา น้ำมันดีเซลก็ผลิตไฟฟ้า
จนกระทั่งไทยเจอ แก๊สธรรมชาติ NG มี2 แบบ แก๊ส กับ ของเหลว LNG เพื่อให้ขนส่งได้
นอกจากนี้เรามีพลังงานบนดิน เช่น แสงอาทิตย์, ลม, ขยะ แม้กระทั่งต้นปาล์ม,อ้อย ก็มาทำไบโอดีเซล
เราก็เพิ่มเอามาผสมดีเซล 5% -> 10% -> 20% หรือ แก๊สโซฮอล์ที่ผสมจากอ้อย
จากนโยบายลดการสร้างคาร์บอน พวกสแกนดิเนเวีย ก็จะเลิกใช้พลังงานฟอสซิลก่อนเลย
เคยฟังนายก ภูฏาน แสดงวิสัยทัศน์ว่าประเทศเป็นเล็กๆ ที่ทำมากกว่า zero carbon คือ negative
คือเขาไม่สร้างคาร์บอน และยังช่วยลด มีป่าเขาต่างๆมาช่วยดูดคาร์บอน
รายได้อันดับ 1 ของประเทศ คือผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แหล่งน้ำจากหิมาลัย ขายไปยังประเทศรอบๆ
นอกจากนี้มีประเทศที่มีคล้ายๆกัน คือ ลาว เป็นแบตเตอรี่ของอาเซียน
ซึ่งมีแหล่งน้ำสำรองอันดับ 2 ของโลก รองจากแคนาดา
ตำแหน่งประเทศลาวมีน้ำจากจีนไหลลงมา รวมถึงฝนที่ตกจากประเทศต่างๆมารวมที่ลาว
รวมถึงพื้นที่ 2 ใน 3 ของลาวเป็นภูเขาเป็นแหล่งรับน้ำ
อ.นิเวศน์
มองพลังงานต่างกับคนอื่นตรงหุ้นพลังงานก็คือหุ้นพลังงาน
เพราะเศรษฐศาสตร์ข้างหลังเหมือนกัน อย่างการผลิตไฟฟ้าก็หารายได้ด้วยการประมูล
โดยใช้ IRR เป็นเงื่อนไข คือลงทุนเท่าไร ได้ผลตอบแทนเท่าไร
ถ้าประมูลได้ IRR สูง ก็กำไรสูง ขึ้นกับสถานการณ์,อัตราดอกเบี้ย
ก่อนหน้านี้พลังงานทดแทน IRR ดี พอภาครัฐรู้ว่าพวกนี้กำลังดี
ก็ค่อยๆลดการชดเชยลงมา สุดท้ายก็ IRR พอๆ กับ พลังงาน conventional
ธุรกิจที่เป็น mega trend ก็ไม่ได้แปลว่าดี ถ้าเป็น supplier มีคนผลิตได้ตลอดเวลา
พลังงานทางเลือกโตเอาๆ แต่คนผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า ใครก็ผลิตได้ ไปซื้อโซลาร์ได้
และทำสำเร็จด้วย เพราะไปซื้อกิจการมา ไปดีลได้ดี
เรื่องพลังงานทางเลือกที่เติบโตมันเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แค่ไทย
อย่างในเวียดนามที่ลงทุน หุ้นโรงไฟฟ้าไม่โต ทั้งๆที่ กำลังเติบโต ความต้องการไฟฟ้ามหาศาล
ทั้งที่กำไรดี PE 6-7 เท่า ปันผล 10% แต่ราคาไม่ได้ขึ้นอะไรมาก
แต่ที่หุ้นขึ้นตอนนี้ในไทยอย่างเดียว คือ ต้นทุนเงินทุนของไทยต่ำมากๆ
ประเทศไทยกู้ 3-4% กู้ง่าย สามารถแข่งได้ทั่วโลก ไปญี่ปุ่น ไปเวียดนามก็ได้
ดังนั้นก็ต้องระวังเหมือนกันว่าหุ้นโรงไฟฟ้า ถ้าขึ้นมากๆ ไปถึงจุดหนึ่งผลตอบแทนก็ไม่คุ้มก็อาจปรับตัวลงได้
อ.ไพบูลย์ อย่างที่อ.นิเวศน์บอกว่าพลังงานก็ไม่ได้ดีเด่นอะไรมากมาก
แต่รัฐบาลมีแผนความต้องการพลังงานชัดเจน รวมถึงต้องมีเทคโนโลยีมี knowhow
ในการทำพลังงานทดแทน มันจึงดีตรงนี้หรือเปล่า?
อ.วิศิษฐ์ อดีตพลังงานโซลาร์ได้ประโยชน์จาก adder 1 unit รัฐบาลรับซื้อราว 10 บาท
ดังนั้น 1 MW กำไร 14 ล้านบาท (adder 6.5-8 บาท) ปัจจุบันลดมารับซื้อราว 4 บาท เป็นเรื่องของนโยบาย
แก๊สในอ่าวไทยที่ลดลง สิ่งที่ทดแทน LNG ได้ คือ ชีวมวล ความต้องการ 3500 MW
จากการศึกษาวิทยาลัยพลังงาน 1 unit ของพลังงานชีวมวล จะให้เกิดความคุ้มทางชุมชน 22 บาท
ถือว่าสูง ขณะที่โซลาร์/ถ่านหิน/แก๊ส อยู่ที่ 3-5 บาท เท่านั้น
บริษัทที่เข้าถึง supply พืชพลังงาน และประมูลโรงไฟฟ้าชีวมวลได้จะได้เปรียบ
เป็นเมกะเทรนด์ที่ 4
เมกะเทรนด์ที่ 5 คือ fast track โรงไฟฟ้า ชุมชน 300-400 วึ่งจะช่วยลดขยะต่างๆในชุมชน
เมกะเทรนด์ 6 สมาร์ทกริด และ P2P ระหว่างชุมชนกับชุมชน
ขายไฟฟ้าระหว่างกัน ต้องใช้เทคโนโลยี block chain
อ.นิเวศน์
เมกะเทรนด์จริงๆ คิดว่าจะเป็นการหยุดผลิต หยุดส่ง ผลิตที่ไหนก็ขายที่นั่น
ไฟฟ้าเมื่อเดินทางไกลก็เสียพลังงานไป อย่างที่อเมริกาโรงไฟฟ้ามีปัญหาขายเฉพาะกลางคืน
กลางวันขายไม่ได้ เพราะกลางวันผลิตไฟฟ้าโซลาร์ ซึ่งเมืองไทยยังไม่ถึงจุดนั้น
หากวันหนึ่งคุ้มค่าและมีคนจัดการได้ ก็จะผลิตไฟฟ้ากันเอง และส่งขาย
อย่างที่สแกนดิเนเวียก็เหมือนกัน ต่อไปรถยนต์ไฟฟ้าก็ชาร์จตอนกลางวัน ก็จะไม่ได้ต้องการผลิตไฟฟ้ามาก
พวกโซลาร์เซล์ กังหัน เป็นพลังงานทดแทนที่ไม่เกิดปัญหาก็ไม่จริงหรอก
บิล เกตต์บอกว่าวิธีรักษาโลกไม่เกิดแก๊สขึ้นต้องใช้นิวเคลียร์
อย่างการทำโซลาร์เซลล์ ก็ต้องใช้พลังงานสร้าง และกำจัดอีก แต่ถ้านิวเคลียร์ไม่มี
ปัญหาคือการใช้ นิวเคลียร์เกิดยาก เพราะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้
อ.ไพบูลย์ เสริม นิวเคลียร์ถูกสุด แต่ถ้ารั่วทีเดียวก็หายหมด เหมือนการเลือกหุ้น
อ.นิเวศน์
ลองมองภาพใหญ่ แก๊สในประเทศที่ปล่อยรวมกันคนละหน่อย ตายผ่อนส่งกันหมด
เทียบกับนิวเคลียร์ทำคนตายไม่เท่าไร
ส่วนตัวคิดว่าเมืองไทย ต้องกระจายให้คนไปผลิตไฟฟ้ากันเอง
แทนที่รัฐบาลจะแจกเงิน มาแจกโซลาร์เซลล์ดีกว่า
อ.เสน่ห์เสริม
โอกาสที่จะทำให้เกิดได้จริงนโยบายภาครัฐ ที่ประกาศหรือเขียนในแผนยุทธศาสตร์
เมื่อก่อน OECD ดูการบริโภคของน้ำมัน ซึ่งประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันเยอะสุด
ถัดมาจีนมีการพัฒนาและบริโภคน้ำมันสูงสุดขึ้นมา ซึ่งตอนนี้จีนก็ใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดจากอเมริกา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดคาร์บอน เช่น มีการประกาศ 5G ก่อนคนอื่น
ซึ่ง สีจิ้นผิง มีการประกาศชัดเจนว่าจะยกระดับประเทศ เอาเทคโนโลยีเป็นตัวนำ
หุ้นพลังงานไฟฟ้า
ดร.วิศิษฐ์ หุ้น conventional ที่ outperform ขึ้นมา ต้องดูความเหมาะสมราคา
1. gulf ได้ ppa(สัญญาซื้อขายไฟฟ้า) ipp ราว 4,000 MW ทำให้เติบโตดี
2. gpsc หลังควบรวมทำให้ market cap เพิ่มขึ้น ทำให้ weigting ใน msci
มีโอกาสเพิ่มขึ้น ราว 1% ทำให้ fund flow ไหลเข้า
พลังงานหมุนเวียน บริษัทที่มีแหล่ง supply และพร้อมประมูลตามนโยบายภาครัฐ ประกาศซื้อโรงไฟฟ้าขยะชุมชน
หากบริษัทไหนมี track record สำหรับพลังงานแสดงอาทิตย์ irr จะสู้รอบแรกที่โปรโมตไม่ได้
ปิดท้าย
เอ.เสน่ห์ เล่านิทานการประกวดเมล็ดพันธ์มาแข่งขันกัน ซึ่งผู้ชนะทุกปีก็จะเอามล็ดพันธุ์ดีๆไปแจกให้คนอื่น
เป็นแง่คิดอีกมุมหนึ่งว่า เมื่อแจกของดีๆให้ คนอื่นเอาไปปลูกก็จะไม่มีเมล็ดพันธ์เสียๆมาอยู่ในพื้นที่เรา
และปีต่อไปเราก็ต้องทำพันธ์ให้ดีกว่าปีที่แล้ว ทุกไร่รอบๆก็จะดีขึ้นหมด
เปรียบดังคนที่มีความคิดดีๆหากเก็บเมล็ดพันธ์ดีๆไว้ไม่แจกไป ก็จะมีเมล็ดพันธ์แย่ๆเข้ามาอยู่รอบข้าง
ต้องเผยแพร่ความคิดดีๆ ออกไป แจกความรู้ดีๆ ออกไป เหมือนที่มาสัมมนากัน
อ.ไพบูลย์ เดือนหน้าเป็นเรื่องธรรมะเป็นประโยชน์กับการลงทุน
วิชาการลงทุนอยู่ในโลกของความโลภ ของกิเลส คนเจ๊งมากกว่าคนรวย ซึ่งธรรมะจะเป็นวิชาช่วยป้องกันตัวที่ดี
ครั้งหน้าจะมาฟังในแนวทางที่ลงทุนแล้วมีความสุขจะทำอย่างไร
ขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ พี่หมอเค ทีมงาน money talk ที่มาจัดรายการให้สิ่งดีๆเป็นประจำ
และขอบคุณวิทยากร ผู้บริหารทุกท่านที่มาให้ความรู้ ข้อมูลการลงทุนครับ
สำหรับช่วง 1 ทางพี่อมรจะมาโพสต์สรุปให้นะครับ
ขอบคุณพี่อมรด้วยครับ