MoneyTalk@SET18/1/63กลยุทธ์VIปี 63 และวิธีกรองหุ้นเด่นเน้นคุณค่า
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 18, 2020 10:39 pm
ช่วงที่ 2 “กลยุทธ์วีไอในปี 63 และวิธีกรองหุ้นเด่นเน้นคุณค่า”
1) คุณ พีรนาถ โชควัฒนา / นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
2) นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี / นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
3) คุณ ประชา ดำรงค์สุทธิพงศ์ / นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
กลอนเปิด
หุ้น VI ยังมีไหม ในยุคนี้ หรือเคยมี แล้วห่างหาย ไร้หวนกลับ
หากยังมี หาอย่างไร ใช้เคล็ดลับ กรองหุ้นเด่น เน้นค่าคับ จับแนวทาง
ฟัง 3 p วีไอ พอร์ตใหญ่แท้ ฝีมือแน่ ทำให้เห็น เป็นอย่างอย่าง
ต่างสไตล์ ต่างถนัด จับเจนวาง ลึกหนาบาง ฟังให้ดี วิธีกรอง
พีที่ หนึ่ง พีรนาถ โชควัฒนา เซียนคุณค่า อาวุโส เตรียมโชว์ของ
ประสบการณ์ สุขุม พร้อมมุมมอง ไม่เป็นสอง เรื่องกรองหุ้น ลุ้นกำไร
พีที่สอง พีพงษ์ศักดิ์ รักเรื่องหุ้น คือคุณหมอ นักลงทุน หุ้นพอร์ตใหญ่
รักษาหุ่น ใส่เสื้อหนัง ปังกว่าใคร ต้องเฟ้นหุ้น แบบไหน ได้ฟังกัน
พีที่สาม พี ประชา นามว่าไลท์ อาวุโส วีไอ ไลท์ลือลั่น
พอร์ตโตไว กำไรงาม เรื่องสำคัญ กลยุทธ์ อย่างไรนั้น แบ่งปันแชร์
พีที่สี่ มันนี่ทอล์ค ไม่หลอกสูญ พีไพบูลย์ นิด้า พาสุขแท้
ยึดหลักธรรม นำชีวิต คิดดูแล ซี้แหงแก๋ ก็จบกัน แค่นั้นเอง
มุมมองหุ้นไทยปี 63 ?
คุณพีรนาถ
ส่วนตัวผลตอบแทนปี 62 รวมปันผลได้สูสูสีหรือน้อยกว่าผลตอบแทนตลาดนิดหน่อย
แต่ลำบากหน่อย เพราะลงทุนในอสังหาฯเยอะ ต้นปีทำท่าดูดี ปลายปีลงตลอด
เป็นสาเหตุที่ไม่ค่อยดี แต่คอนโดที่ลงทุนไม่เป็นไรไม่มี mark to market
ถ้าถัวพอร์ตคอนโดกับหุ้นอสังหาฯ น่าจะกลายเป็นตัวบวก เป็นลงทุนใน asset ที่ดี
ปกติเป็นคนมองโลกแง่บวก เคยบอกจะไปสามพันจุด ปีนี้ขอบอกใหม่ ว่า ตลาดหุ้นไม่ขึ้นก็ลง
ส่วนตัวยังเชื่อว่าดัชนีจะไป 3,000 จุดได้ในช่วงชีวิตนี้
ซึ่งตอนนั้นดัชนีเวียดนามอาจขึ้นจาก 900 ไป 9,000 จุดก็ได้
ยังเชื่อว่าไทยยังมีความหวังยังมี ไม่ได้ออกไปลงทุนต่างประเทศด้วย เพราะคุ้นเคยในไทยที่สุด
ปีนี้หุ้นจะขึ้นหรือลงไม่ได้สำคัญในระยะยาว ก่อนที่จะวิ่งยาวๆ ต้องมีการย่อ หรืออยู่นิ่งๆก่อน
แต่คิดว่าควรเห็น 1750 ถ้าไปไม่ถึงน่าจะย่อแรง อาจจะลงไปถึง 1200 ได้
ถ้าแบบที่คุณโจพูดว่าประเทศเหมือนหุ้น เราจะซื้อหุ้นประเทศไทยไหมก็น่าคิด
เพราะมันไม่น่าซื้อ ประชากรน้อย สังคมแก่ตัว ไม่มีลงทุนในเทคโนโลยี รัฐบาลก็ทำอะไรอยู่ไม่รู้
ถึงจะมีความยากลำบาก แต่มีความเข้าใจหุ้นประเทศไทยมากสุด
แม้จะมี upside แค่ 1 เท่าตัว แต่ส่วนตัวไม่ได้ต้องการ upside 10 เท่าตัว
ถ้าให้ไปบริหารประเทศเองก็หนักใจ แต่ถ้าเป็นคนดูและวิจารณ์ก็คงง่ายกว่า
หลายคนที่ห่วงว่าประเทศจะไม่ดีมีเยอะ อยากขอลองมองต่างมุม
อย่างแรกทำเลที่ตั้งเราดี อากาศไม่หนาว ไปเที่ยวอังกฤษมา ขนาดยามยังจองไปเที่ยวกรุงเทพ ภูเก็ต
สำหรับเขาดีมาก อยากมาอยู่ยาวๆ เราจะทำอย่างไรให้ทุกๆจังหวัดน่าอยู่ รวมถึงปรับปรุงการบริการ
วันก่อนไปดู youtube อาชีพที่จะหายไปใน 20 ปี เช่น คนขับรถ, ชาวนา ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ได้,
Military กับ Soilder ใช้โดรนได้, Broker, Manufacturer โรงงานในอนาคตจะมี 1 คน และ 1 สุนัข
1 คนมีไว้เลี้ยงสุนัข ส่วน 1 สุนัขมีไว้ให้ human ไม่ให้ไปแตะเครื่องจักร (เป็น joke ว่าไม่ได้ต้องการแรงงาน)
, Cashier ไปอังกฤษไม่มีจ่ายกับเครื่องตลอด , พนักงานธนาคาร ทำออนไลน์หมด
รวมถึงไม่มี Superstar เพราะ ค่าตัวแพง เช่น ไลออนคิงส์ เวอร์ชั่นใหม่ก็ทำเหมือนจริงมาก
ส่วน อาชีพที่จะรุ่งเรือง เช่น e-sport ที่ไปแข่งขันกัน
ลองนึกดู ทีมบ้านเราจะไปมีโอกาสบาสเกตบอลไหม ? แต่ถ้า e-sport เราติดอันดับได้
ดังนั้น competitive บ้านเรามันมีได้ มันมีหลายๆอย่าง
สิ่งที่ไม่หายไปไหน high end service สำหรับคนที่มีฐานะร่ำรวยมากขึ้น สิ่งเหล่านี้คนไทยทำได้
ถ้าแปลงคนที่เราเหลือน้อยลง มาทำ เด็กรุ่นใหม่หลายคนโตมาพูดภาษาอังกฤษได้พร้อมภาษาไทย
เด็กรุ่นใหม่สำเนียงดีกว่าเดิมเยอะ ต่ถ้าอไปรัฐบาลส่งเสริมแจก ipad ให้ดูแต่คลิปภาษาอังกฤษ
เด็กรุ่นใหม่ก็พูดภาษาได้ ไม่จำเป็นต้องมีคนเยอะ
ปีนี้งบประมาณก็ผ่านแล้ว เรายืนอยู่นิ่งๆหลายปีแล้ว ก็คงมีโอกาสให้เห็นไปเห็น 1700-1750 ได้
อย่างปีที่แล้วไม่ดี ถ้าใครจับจังหวะถูก ก็ยังมีโอกาสทำกำไรได้
ในช่วงลงเจอบริษัทดีๆ ที่ไม่ถูก disrupt มีโอกาสเก็บบริษัทถือยาวได้
ถ้าบางบริษัทลงต่ำเกินไป ก็ไปขายที่สูงหน่อยได้
คิดว่า ปี 63 น่าจะดีกว่าปี 62
หมอพงษ์ศักดิ์
ผลตอบแทนปี 62 พอใช้ได้ ได้ 2 digit
ส่วนตัวไม่ค่อยมองผลตอบแทนรายปี คิดว่าไม่มีประโยชน์นัก
การประเมินตัวเองจากปีที่ผ่านมาไม่ได้ดูผลตอบแทน
แต่ดูว่า "เราทำอะไรถูกด้วยเหตุผลถูก" เป็นสัดส่วนเท่าไร
ถ้าเราทำกำไรบนเหตุผลที่ผิด เราไม่ควรดีใจ
เพราะเรากำลังทำผิดพลาด แต่คิดว่าเราทำถูกจะอันตรายในปีถัดไป
เราต้องแยกให้ได้
ถ้าหากเราผิด(ราคาหุ้นลง) แต่เหตุผลที่เราถูก คนยังไม่เห็น ถ้าแบบนั้นยังดี
ถ้าหากทำผิดบนเหตุผลที่ผิด อันนั้นยิ่งแย่
การประเมินทำถูกบนเหตุผลที่ถูก เป็นการพัฒนาตัวเอง
และเป็นกระบวนการให้ผลตอบแทนในปีถัดไปดีขึ้น
ผลตอบแทนในการลงทุนมีการสุ่ม มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนถึง คือ fool by randomness
เอาลิงมาจับสลาก มันจะมีลิงตัวหนึ่งชนะ คนที่เก่ง อาจไม่ได้ผลตอบแทนดีที่สุดก็ได้
การไปเพ่งที่ผลตอบแทนสูงอย่างเดียว เป็นการประเมินอะไรที่ง่ายเกินไป มีความสุ่ม มีโชคในการลงทุน
จึงไม่สามารถวัดจากตรงนี้ได้ ยกเว้นว่าผลงานหลายปีมาก
นั่นทำให้การสุ่มน้อยลง แต่ถ้าเป็นปีต่อปีการสุ่มมีผลมาก
มี 2 อย่าง ที่นักลงทุนไม่ควรเชื่อมั่น คือ ราคา และเวลา
เราไม่รู้ว่าราคาที่คาดจะมาเท่าไร มาเวลาไหน
ดังนั้นเหตุผลเราถูก หุ้นอาจจะไม่ขึ้นก็ได้
ถ้าเวลาพูดว่าเราได้ผลตอบแทนเท่าไร
มันอาจไม่ได้สำคัญเท่ากับหาเหตุผลในการกระทำหรือตัดสินใจแต่ละครั้งของเรา
ถ้าทุกอย่างไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดัชนีต้องไปตาม GDP ประเทศ
ช่วง 2-3 ปีหลัง GDP โตต่ำ ดังนั้น Slope ตลาดหุ้นควรช้าลง
บางครั้งราคาดัชนีเหวี่ยงออกจากเส้นนี้ ก็เป็นโอกาสในการลงทุน
ตอนนี้มองว่า ตลาดหุ้นอยู่ต่ำกว่าเส้น slope นี้นิดหน่อย โอกาสลงทุนปี 63 ไม่แย่
แต่ผลประกอบการ บริษัทจดทะเบียนคิดว่าไม่ดี
สิ่งที่ทำให้ตลาดดีคือ bond yieldอายุ10ปี เหลือ 1.45% จาก 2.5% ปีก่อน
ซึ่งเป็นตัวกำหนดสำคัญให้ตลาดหุ้นดี
ในการลงทุนต้องตัดสินใจจากสิ่งสำคัญ และสิ่งนั้นต้องรู้ได้
ดอกเบี้ยเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่มีทางรู้ได้ จึงไม่มีประโยชน์ในการลงทุน
ถ้าดอกเบี้ยขึ้นไปตลาดหุ้นก็จะมีความเสี่ยง
แต่เรื่องดอกเบี้ยประมาทไม่ได้ นอกจากสิ่งมหัศจรรย์อับดับ 7 คือดอกเบี้ยทบต้น
เรากำลังเจอกับสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 คือ ดอกเบี้ย ติดลบ อย่าง สวิตเซอร์แลนด์,ยุโรป
โลกการเงินปั่นป่วนผิดปกติ นโยบายการเงินของโลกเราไม่ได้คิดยาว เน้นเอาปัจจุบันให้รอด
เงินอยู่ในโลกเศรษฐกิจเยอะ ดอกเบี้ยเยอะ หนี้เยอะ
ถ้าวันหนึ่งขึ้น ดอกเบี้ยขึ้นนิดเดียว กลัวว่าจะลงหนัก
เป็นสิ่งที่กังวลอยู่เสมอว่า จุดนี้จะเกิดเมื่อไร เพราะโลกนี้ถือหนี้มหึมาไว้ตั้งแต่วิกฤติ 2008 เยอะมาก
ถ้าไปอ่านเรื่อง debt cycle เราไม่สามารถก่อหนี้ไปเรื่อยๆ เหมือนฉีดอดรีนาลีนให้คนป่วย
ตอนนี้มันไม่ได้ฟื้นจากเศรษฐกิจแข็งแรง มันต้องมี correction แต่ไม่รู้จะเกิดเป็น soft หรือ hard landing
ต้องเฝ้าระวังปัจจัยที่จะเกิดขึ้น และต้องหาทางหนีทีไล่ คิดชั้นที่2 จะทำอย่างไร ถึงเวลาเกิดจะได้หนีทัน
ส่วนตัวลงทุนในตลาดหุ้นสิ่งสำคัญคือดูว่าราคาที่ซื้อคุ้มค่ามากหรือไม่?
ถ้าคุ้มค่ามากจะไม่กลัว ต้องประเมินทำปัจจุบัน และอนาคต
ถ้าซื้อต่ำกว่ามากๆ 20-30% จะไม่กลัว crisis
ถ้าไม่เจอหุ้นที่มี ราคา discount มากๆ ไม่ว่าเศรษฐกิจดีอย่างไรก็ไม่กล้าลงทุน
สัดส่วนลงทุนหุ้นปัจจุบันใกล้เคียงเดิม มีเงินสดเพิ่มนิดหน่อย คิดว่าเห็นโอกาสพอลงทุนได้
เรื่องการตัดสินใจถือเงินสด อาจจะถือเงินสด 20% เลยในวันพรุ่งนี้ก็ได้
ถ้าหากบริษัทที่ลงทุนอยู่ขึ้นมาแพงไปแล้ว และไม่รู้จะซื้อบริษัทไหนได้
คุณประชา
ไม่เคยคาดการณ์ถูกเลยว่ามีปัจจัยอะไรจะกระทบบ้าง
เช่น trade war, สงคราม, การเมือง, ดอกเบี้ย,disruption ถ้ามาดูสิ่งเหล่านี้เป็นภาพใหญ่
มันขัดกับหลักการจากบัฟเฟตต์คือ โฟกัสรายบริษัท กับมองระยะยาว
ถ้าจะให้ใครฟันธงว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผ่านไป 3 เดือนก็อาจผิดได้เสมอ
เช่น trade war จะจบไม่จบ พลิกกลับมาได้ตลอด
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์ แต่อยู่ที่ประธานธิบดีคนเดียว,
การเมืองในประเทศก็อยู่ที่ตัดสินใจไม่กี่คน หรือแม้แต่อัตราดอกเบี้ย Fed
ที่ให้แนวโน้มมาจะมองไป 2-3 ปีข้างหน้า แต่ก็เป็นตามที่หมอพงษ์ศักดิ์บอกว่าคาดการณ์ไม่ได้
เพราะเมื่อ 2 ปีก่อน อัตราดอกเบี้ยบอกว่าจะอยู่ในขาขึ้น ตลาดหุ้นลงเยอะมาก
ปรากฏปีที่แล้ว ดอกเบี้ยกลายเป็นขาลงอีกครั้ง หลังจากที่ US เศรษฐกิจไม่ดี
ก็มีการปรับเป็นลดดอกเบี้ย และทำให้ตลาดหุ้นอเมริกาขึ้นหมด
ไม่ว่าเราจะอ่านขนาดไหน หรือนักวิเคราะห์เก่งขนาดไหนก็คาดการณ์ไม่ได้
อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดรุนแรงขึ้นคือ disruption
คนใช้ออนไลน์มากขึ้น ใช้มือถือมากขึ้น สิ่งดั้งเดิมเปลี่ยนก็ต้องมาดู
ซึ่งเป็นภาพใหญ่ของภาพรวม ที่ต้องระมัดระวัง
แต่จะเกิดผลกระทบกับบริษัทที่ลงทุนไหม เป็นอีกเรื่อง อยากให้แยกจากกัน
ถ้าวิเคราะห์ disruption มันไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดมา 30-40 ปีแล้ว
มีญาติผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า มีเพื่อนทำธุรกิจมุ้งผ้า จากที่ขายดี
แล้วก็มีธุรกิจใหม่ทำให้ยอดขายตกลงมาก
เขาถามว่าคืออะไร ? ก็ตอบว่ามุ้งลวด ซึ่งเฉลยคือ ผิด
คำตอบคือ ก.ย. 15
ฟังแล้วตกใจมาก ถ้ามีคนเขียนบทความยุคนั้นคงบอกให้ คนทำมุ้งผ้าต้องรีบเปลี่ยนเป็นมุ้งลวด
disruption ไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เห็นชัดๆ หรือสิ่งที่คนพูดกันเยอะๆ แต่เป็นอีกสิ่งที่เราคาดไม่ถึง
อีกเรื่องหนึ่งร้านเช่า VDO block buster ช่วงปี 1990 ธุรกิจนี้รุ่งเรืองมาก
เป็นธุรกิจที่โตเร็วมากในอเมริกา ในไทยก็มีหลายยี่ห้อ ที่เติบโต
คนยุคนั้นพูดว่า VDO เป็น trend ที่จะทำลายให้คนไม่ออกไปดูหนัง เสียเวลา
เช่ามาอันเดียวแล้วดูในบ้าน ดังนั้นโรงหนังจะต้องตาย block buster ต้องเกิด
พอมาถึงทุกวันนี้กลายเป็น โรงหนังยังอยู่ได้ แต่ VDO ต่างหากที่หายไป
โดย block buster ล้มละลาย เมื่อปี 2010 หลังเกิดขึ้นมา 25 ปี
และโดน takeover เหลืออยู่สาขาเดียวในโอเรกอน
ธุรกิจเปลี่ยนถ่ายจาก VDO -> VCD->DVD->Streaming
Netflix ก่อตั้งปี 1997 เริ่มจากขาย DVD และส่งผ่านทางเมล์(ไปรษณีย์)
ถัดมาเปลี่ยนเป็นให้เช่า และค่อยๆเปลี่ยนตัวเองไปสตรีมมิ่งทางออนไลน์มากขึ้น
ปัจจุบันผลิต content ตัวเองให้เช่าไปทั่วโลก
ตอนนี้ market cap โต รายได้ก็โตดีมาก แต่โรงหนังก็ยังอยู่ได้
ถ้าอ่านบทความเมื่อ 30 ปีก่อนว่าโรงหนังจะตาย คนที่เขียนบทความไม่รู้หายไปไหนแล้ว
ทุกวันนี้โรงหนังก็ยังอยู่ และขยายสาขาได้
ดังนั้นการวิเคราะห์ แค่ภาพใหญ่อย่างเดียวไม่พอ
สิ่งที่ควรดูเพิ่ม ตามที่บัฟเฟตต์เคยบอกไว้คือ Management’s Quality
เคยอ่านของ blockbuster บอกว่าผู้บริหารปรับตัวไม่ทัน
ขณะที่ Netflix ก็เริ่มจากให้เช่า DVD เหมือนกัน
เวลาฟังภาพใหญ่ว่าอะไรจะถูก disrupt อย่าเพิ่งให้ความสำคัญ และตัดออกไป
ต้องดู factor อื่น เช่น Management’s Quality เป็นต้น
ต่อจากนี้กลุ่มไหนน่าสนใจหรือควรหลีกเลี่ยง?
คุณพีรนาถ
ตอบสำหรับตัวเอง กลุ่มที่น่าสนใจคือกลุ่มที่เข้าใจ
กลุ่มไม่น่าสนใจคือกลุ่มที่ไม่เข้าใจ และคิดว่าไม่เข้าไปทำความเข้าใจด้วย
บางกลุ่มคือเลือกที่จะไม่ลำบากไปทำความเข้าใจ
ช่วงหลังอ่านหนังสือ ดูอะไรที่ไม่เกี่ยวกับตลาดหุ้นพอสมควร
กลุ่มที่สนใจคือ บริษัทที่ให้ความสำคัญกับคน กับพนักงานมาก่อน
แนะนำให้อ่านหนังสือเรื่องริเน็น
โดยสรุปคือ ใน stakeholder มีลูกค้า ผู้ถือหุ้น supplier พนักงาน
ตามหนังสือเล่มนี้บอกพนักงานสำคัญสุด
อีกเล่ม อ.ซากาโต้ หนังสือชื่อ เริ่มต้นด้วยหัวใจธุรกิจก็ไปได้ไกลกว่า
ธุรกิจในอนาคตอยู่ที่คน ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ หรือ การ represent brand อยู่ที่พนักงาน
google ไม่ได้โตมาจากผู้ก่อตั้งอย่างเดียว มาจากการให้ความสำคัญของคน
เป็นสิ่งสำคัญว่าบริษัทไหนให้ความสำคัญกับบุคลากร
โดยเฉพาะในไทย การศึกษาที่ปูฟื้นไม่ได้สอนให้เราคิด แต่บริษัทสามารถทำได้ถึง front end
หนังสือ DHL design to win เริ่มจากพนักงานที่ส่งของ คนเราทุกคนเป็น CEO ของตัวเราเอง
ประเด็นที 2 AI ,Data science, big data ของเราขาด
หลายบริษัทพูดสวยหรูสิ่งที่จะทำ แต่พอไปถามว่าใครเป็นคนทำ อาจจะเชื่อไม่ได้
อนาคตตรงนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ศึกษา และไปลงทุน
คือเรื่องคน พนักงาน รวมถึงวัฒนธรรมองค์กร
ถ้าไปลงทุนบริษัทไหนก็จะพยายามผลักดันในเรื่องเหล่านี้
อ.เสน่ห์เสริม หนังสือ Like a virgin ของริชาร์ด แบรนสัน ก็ใช้ concept นี้ เป็น employee first
ถ้าทำ ให้ employee มีความสุขก็จะทำให้ customer มีความสุข
อ.ไพบูลย์ ถ้ามองสำหรับคนทั่วๆ ไปจะเลือกหุ้นแบบไหนดี
คุณพีรนาถ เหมือนคุณประชาพูด management สำคัญ เวลาเลือกหุ้นจะดูวิธีการพูด วิธีการคิดของผู้บริหาร
หลายบริษัทดู 5 ปีอาจจะไม่ได้ลงทุน เวลาไม่เหมาะสม ก็ศึกษาสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ
จุดเหมาะสมคือราคาลงมาเยอะ และยังไม่ค่อยมีคนสนใจ
ถ้าเราสนใจ และเพื่อนยังไม่มีคนสนใจก็ยิ่งน่าสนใจ แสดงว่าขายกันหมดแล้ว
แต่ถ้าคนสนใจพูดกันเยอะๆก็เข้ากันไปเยอะแล้ว
วันนี้คือมีมุมมองเพิ่มดู corporate culture เป็นอย่างไร เขาคิดอย่างไร
หมอพงษ์ศักดิ์
ส่วนตัวมองกลุ่มที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจ
ปกติราคาทรัพย์สินมีราคาแพงเมื่อคนสนใจ เวลาคนไม่สนใจจะเจอราคาถูกผิดปกติ
ถ้าพูดเป็นกลุ่มจะเลือกบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจไว้ก่อน
เราดูที่กลุ่มส่วนใหญ่ไม่พอทำผลตอบแทนในตลาดทุน
ในกลุ่มที่ไม่น่าสนใจอาจมีโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า
ในกลุ่มที่น่าสนใจก็อาจไม่มีโอกาสลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้
ดังนั้นมันไม่ช่วยให้เราได้ผลตอบแทนในการลงทุน ถ้าจะมุ่งไปเฉพาะในการลงทุน
กลุ่มที่ไม่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่พึ่งพิงกำลังซื้อรากหญ้าและ sme เยอะ
ปีนี้จะถูกกระทบมาก ต้องวิเคราะห์ว่าไปขายของให้กลุ่มต่างๆมี สัดส่วนแค่ไหน
เช่น ถ้ามี 2 บริษัทธุรกิจคล้ายกัน บริษัทหนึ่งขายให้กลุ่มรากหญ้า
แต่ถ้าอีกบริษัทขายให้ชนชั้นกลางเป็นหลักก็จะกระทบน้อยกว่า
กลุ่มที่กระทบจากค่าเงินบาทแข็ง อาจทำให้ผลประกอบการไม่ดี
รวมถึงองค์ประกอบในบางอุตสาหกรรมที่แข่งขันรุนแรงและ oversupply
เช่น สายการบิน โรงแรม อย่างกิจการที่เคยพึ่งนักท่องเที่ยวกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง
กลุ่มที่น่าเป็นห่วงอีกคือที่ปล่อยกู้ อัตราผิดนัดชำระหนี้อาจต้องระวัง
บางบริษัทเกิดก่อน พอเศรษฐกิจถดถอยก็จะเกิดผลกระทบช้ากว่านั้น
ถ้าภาวะเศรษฐกิจเริ่มถดถอย บริษัทที่มีลูกค้าเป็นรากหญ้าจะโดนก่อน
ถ้ามันยาวไปบริษัทที่มีลูกค้าเป็น sme หนี้เสียจะมา
ถ้าถือหุ้นอยู่ต้องคิดว่ากลุ่มต่อไปที่จะโดนจะทำอะไรก่อนผลประกอบการออก
ไม่ควรรอจนกว่าตลาดรู้แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องคาดการณ์
แต่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงถ้าราคามากเกินไปถึงจุดหนึ่งอาจเป็นการลงทุนที่ดีก็ได้
นักลงทุนต้องคิดอีกชั้นหนึ่ง ถ้ามีการขายออกมาจนราคาต่ำมาก ก็เป็นจุดน่าสนใจในการลงทุน
ต้องคิด 2 ชั้น ถ้าอยากได้กำไรดีกว่าตลาด คิดชั้นเดียวก็เหมือนกับตลาด
ความเข้าใจตลาดสามารถผิดได้เสมอ
สมมติมูลค่ากิจการแกว่งอยู่ประมาณหนึ่ง แต่ราคากิจการจะแกว่งมากกว่า
มันมี emotional factor เป็น gap ที่มีการซื้อหรือขายมากไป
เราไม่ควรคิดตามตลาด ต้องคิดไปอีกชั้นว่าตลาดคิดผิดหรือคิดถูก
อย่างสิ่งที่ทรัมป์ทำ ต้องดูว่ากระทบผลประกอบการจะเป็นอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต
ถ้าสิ่งนั้นทุกคนกลัวมาก แต่ไม่กระทบก็เป็นโอกาส
การรู้ที่มีประโยชน์คือรู้ถึงจุดที่ว่ารู้แล้วตัดสินใจลงทุนได้
ถ้ารู้มากไปแล้วไม่เกิดประโยชน์คือการเมาข้อมูล
ผมรู้ให้น้อย รู้ให้แม่น รู้ให้ลึก น่าจะมีประโยชน์มากกว่า
คุณประชา
ควรลงทุนในกลุ่มที่แนวโน้มผลประกอบการดี
และหลีกเลี่ยงกลุ่มที่แนวโน้มผลประกอบการไม่ดี
เวลาคุยกลุ่มไหน VI จะตอบยาก เวลาหนังสือพิมพ์จัดกลุ่ม แบงค์ พลังงาน สื่อสาร เราไม่ได้ลงทุนแบบนั้น
เพราะแต่ละบริษัทจะมีคาแรคเตอร์ที่ต่างกัน แม้แต่พลังงานมีโรงกลั่น ขุดเจาะ ถ่านหิน
แม้แต่แบงค์ก็มีพอร์ตฟอลิโอลูกค้า, สัดส่วนเงินฝาก หรือ management มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน
บางบริษัทมุ่งเป้า digital มากกว่า หรือ conservative มากกว่า
อยากจัดกลุ่มขึ้นมาใหม่ ตามแนวโน้มผลประกอบการ
ถ้าเรามี mindset แบบนี้ทุกปี จะเลือกหุ้นแล้วเฝ้าติดตาม ราคาสมเหตุผลก็น่าลงทุนเสมอ
2-3 ปีมานี้ มีกลุ่มที่ติดตามลงทุนอยู่เรื่อย หุ้นที่ขึ้นมามากกว่า 50% หรือลดลงมากกว่า 50% ก็มี
GDP ของไทย ดูชะลอลง จาก 4-5% เหลือ 2-3%
กลุ่มบริษัทขนาดใหญ๋จะโตในประเทศไม่ได้แล้ว ต้องหารายได้จากต่างประเทศ กลุ่มนี้น่าสนใจ
มีหลายธุรกิจ เช่น consumer product หรือ โรงไฟฟ้ายังต้องไปหาจากต่างประเทศ
เพราะ GDP ประเทศอื่นเติบโตดีกว่า สำรองต่ำกว่า
หรือกลุ่มที่เปิดร้านอาหาร , ขนมหวาน ที่มีสาขาและจะไปต่างประเทศก็น่าติดตาม
ถ้าธุรกิจเขาใหญ่เต็มในไทยแล้ว จะไปต่อต้องไปต่างประเทศ จะมีทั้งโอกาสและความเสี่ยงเสมอ
บางคนก็ comment ว่าไปต่างประเทศแล้วเจ๊งทุกราย
อยากให้ทุกคนมองที่จุดสมดุล ไม่มองบวกหรือลบมากเกินไป
พอไปต่างประเทศจะสำเร็จ หรือล้มเหลว
ถ้าล้มเหลวมันเป็นระยะสั้นหรือถาวร สิ่งเหล่านี้ต้องติดตามใกล้ชิด
อย่าให้คำพูดบวก ไปต่างประเทศแล้วดี ก็เฮลงทุน หรือบอกไม่ดี ก็หลีกเลี่ยง
กลุ่มบริษัทเล็กที่ Management’s quality ที่ยอดเยี่ยม
ถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็ก นำพาตัวเองไปขยายใน segment ตัวเอง
แม้ industry จะโตน้อยหรือไม่โตก็ตาม เขาจะขยายบริการ หรือ segment ใหม่ๆได้
บริษัทใหญ่ๆในไทยขนาดอาจนจะ 5-6 แสนล้าน แต่ถ้าบริษัทไม่กี่หมื่นล้าน
ยังไม่ใหญ่มากก็มีโอกาสให้ใหญ่ขึ้นได้ แล้วจะมี bargaining power เพิ่ม margin เพิ่มกำไรโตเร็ว
คนที่พอร์ตเล็กกว่าโอกาสลงทุนก็มากกว่าสามารถลงทุนได้ทั้งบริษัทใหญ่ และเล็ก
ถ้าหาหุ้นที่เข้าข่าย VI ดีๆ ก็มีโอกาสมากกว่า VI ที่พอร์ตใหญ่ๆ ด้วยซ้ำไป
พวกเราควรไปลงทุนต่างประเทศไหม?
คุณประชา
คิดว่าควรเปิดโอกาสให้ตัวเองเรียนรู้ และศึกษาว่าน่าไปไหม ใครสามารถเข้าใจได้ ก็ควรไป
ถ้าใครจะไปอยากให้ไปง่ายๆก่อนไปยากๆ
เช่น ลงทุนในดัชนีประเทศนั้น ในประเทศพัฒนา หรือประเทศกำลังพัฒนา
สามารถซื้อผ่าน ETF หรือ กองทุนรวมในประเทศ ซึ่งมีการ hedging ค่าเงินบาทแล้ว
เลือกที่ค่าบริหารกองทุนต่ำสุด พอทุกคนหันไปลงทุนกองนั้นก็จะทำให้กองอื่นลดราคาลงมา
หมอพงษ์ศักดิ์
timing ตอนนี้ ถ้าดูเป็นประเทศไม่อยากไปอเมริกา เป็นเวลา11 ปีแล้วที่ขึ้นมาถึงจุดนี้
ทุกอย่างมี cycle แต่เราไม่รู้จะเกิดเมื่อไร
อาจจะอีกนานก็ได้ อย่างออสเตรเลียใช้เวลา 26 ปีถึงเกิด recession ในปีนี้
แต่ไม่มีใครรู้จริงๆจะเกิดเมื่อไร เวลาลงทุนถ้าเป็นแบบนี้ก็จะลังเล
ว่าเป็น timing ที่ดีหน่อย ไม่อยากเลือกประเทศที่วิ่งขึ้นยาวแบบนี้
คุณพีรนาถ
สนใจบริษัทในอเมริกาหลายแห่ง แต่ยังรู้เรื่องไม่พอ
ถ้าไม่มีความรู้ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ต้องให้เข้าใจอะไรมากกว่านี้ก่อน
คนที่ไม่มีข้อจำกัดก็น่าจะไป หรือไปซื้อกองทุนดัชนี ก็บังคับให้เราสนใจมากขึ้น
ให้คะแนนตลาดหุ้น
คุณพีรนาถ
ให้ 7.5
หมอพงษ์ศักดิ์
การทำนายมีคำพูดเสมอ นักทำนายส่วนใหญ่มี 2 ประเภท
คือนักทำนายที่ไม่รู้อนาคต และไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อนาคต
ส่วนตัวเอง เป็นประเภทที่ 3 คือนักทำนายที่ไม่มั่นใจในคำทำนายตัวเอง
ให้ 5.5
ดู Earning yield gap ค่อนข้างดีกว่าปีก่อน 4.5%
ถ้าดอกเบี้ยยังต่ำอยู่พอได้ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นคำทำนายก็ผิด
คุณประชา
ปีนี้คิดว่าให้ 6 เหมือนเดิม แม้จะมีความเสี่ยงอะไรเข้ามาบ้าง แต่สไตล์ VI ก็น่าจะยังทำผลตอบแทนได้
มีความกล่าวหนึ่ง บอกว่าโอกาสก็เหมือนอากาศที่เราหายใจ มีอยู่ทุกที่แต่เราไม่มองไม่เห็น
ช่วงที่ 1 ทางพี่อมรจะมาสรุปให้ครับ
ขอขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ ทีมงาน moneytalk ทุกท่านที่มาจัดรายการ
และขอบคุณแขกรับเชิญทั้งสองช่วง พี่โจ อ.นิเวศน์ คุณพีรนาถ หมอพงษ์ศักดิ์ พี่ไลท์
ที่ได้ให้มุมมองการลงทุนปีหน้า และให้ความรู้ในการพัฒนาการลงทุนให้ดีขึ้น
Moneytalk@SETครั้งต่อไป จัดงานวันอาทิตย์ 16 กพ. เปิดจองเสาร์ 8 กพ.63
หัวข้อ 1 จัดพอร์ตรับปีใหม่
ดร.สมจินต์ กจก.ทหารไทยอีสต์สปริง, คุณเจษฏา สุขทิศ ผู้ก่อตั้ง Finnomena
หัวข้อ 2 VI รุ่นกลาง-ใหญ่
คุณชาย มโนภาส, คุณณัฐชาต คำศิริตระกูล, คุณทิวา ชินทาดาพงศ์, นายแพทย์ ศุภศักดิ์ หล่อธนพาณิชย์
อ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ ดำเนินรายการ
1) คุณ พีรนาถ โชควัฒนา / นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
2) นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี / นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
3) คุณ ประชา ดำรงค์สุทธิพงศ์ / นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
กลอนเปิด
หุ้น VI ยังมีไหม ในยุคนี้ หรือเคยมี แล้วห่างหาย ไร้หวนกลับ
หากยังมี หาอย่างไร ใช้เคล็ดลับ กรองหุ้นเด่น เน้นค่าคับ จับแนวทาง
ฟัง 3 p วีไอ พอร์ตใหญ่แท้ ฝีมือแน่ ทำให้เห็น เป็นอย่างอย่าง
ต่างสไตล์ ต่างถนัด จับเจนวาง ลึกหนาบาง ฟังให้ดี วิธีกรอง
พีที่ หนึ่ง พีรนาถ โชควัฒนา เซียนคุณค่า อาวุโส เตรียมโชว์ของ
ประสบการณ์ สุขุม พร้อมมุมมอง ไม่เป็นสอง เรื่องกรองหุ้น ลุ้นกำไร
พีที่สอง พีพงษ์ศักดิ์ รักเรื่องหุ้น คือคุณหมอ นักลงทุน หุ้นพอร์ตใหญ่
รักษาหุ่น ใส่เสื้อหนัง ปังกว่าใคร ต้องเฟ้นหุ้น แบบไหน ได้ฟังกัน
พีที่สาม พี ประชา นามว่าไลท์ อาวุโส วีไอ ไลท์ลือลั่น
พอร์ตโตไว กำไรงาม เรื่องสำคัญ กลยุทธ์ อย่างไรนั้น แบ่งปันแชร์
พีที่สี่ มันนี่ทอล์ค ไม่หลอกสูญ พีไพบูลย์ นิด้า พาสุขแท้
ยึดหลักธรรม นำชีวิต คิดดูแล ซี้แหงแก๋ ก็จบกัน แค่นั้นเอง
มุมมองหุ้นไทยปี 63 ?
คุณพีรนาถ
ส่วนตัวผลตอบแทนปี 62 รวมปันผลได้สูสูสีหรือน้อยกว่าผลตอบแทนตลาดนิดหน่อย
แต่ลำบากหน่อย เพราะลงทุนในอสังหาฯเยอะ ต้นปีทำท่าดูดี ปลายปีลงตลอด
เป็นสาเหตุที่ไม่ค่อยดี แต่คอนโดที่ลงทุนไม่เป็นไรไม่มี mark to market
ถ้าถัวพอร์ตคอนโดกับหุ้นอสังหาฯ น่าจะกลายเป็นตัวบวก เป็นลงทุนใน asset ที่ดี
ปกติเป็นคนมองโลกแง่บวก เคยบอกจะไปสามพันจุด ปีนี้ขอบอกใหม่ ว่า ตลาดหุ้นไม่ขึ้นก็ลง
ส่วนตัวยังเชื่อว่าดัชนีจะไป 3,000 จุดได้ในช่วงชีวิตนี้
ซึ่งตอนนั้นดัชนีเวียดนามอาจขึ้นจาก 900 ไป 9,000 จุดก็ได้
ยังเชื่อว่าไทยยังมีความหวังยังมี ไม่ได้ออกไปลงทุนต่างประเทศด้วย เพราะคุ้นเคยในไทยที่สุด
ปีนี้หุ้นจะขึ้นหรือลงไม่ได้สำคัญในระยะยาว ก่อนที่จะวิ่งยาวๆ ต้องมีการย่อ หรืออยู่นิ่งๆก่อน
แต่คิดว่าควรเห็น 1750 ถ้าไปไม่ถึงน่าจะย่อแรง อาจจะลงไปถึง 1200 ได้
ถ้าแบบที่คุณโจพูดว่าประเทศเหมือนหุ้น เราจะซื้อหุ้นประเทศไทยไหมก็น่าคิด
เพราะมันไม่น่าซื้อ ประชากรน้อย สังคมแก่ตัว ไม่มีลงทุนในเทคโนโลยี รัฐบาลก็ทำอะไรอยู่ไม่รู้
ถึงจะมีความยากลำบาก แต่มีความเข้าใจหุ้นประเทศไทยมากสุด
แม้จะมี upside แค่ 1 เท่าตัว แต่ส่วนตัวไม่ได้ต้องการ upside 10 เท่าตัว
ถ้าให้ไปบริหารประเทศเองก็หนักใจ แต่ถ้าเป็นคนดูและวิจารณ์ก็คงง่ายกว่า
หลายคนที่ห่วงว่าประเทศจะไม่ดีมีเยอะ อยากขอลองมองต่างมุม
อย่างแรกทำเลที่ตั้งเราดี อากาศไม่หนาว ไปเที่ยวอังกฤษมา ขนาดยามยังจองไปเที่ยวกรุงเทพ ภูเก็ต
สำหรับเขาดีมาก อยากมาอยู่ยาวๆ เราจะทำอย่างไรให้ทุกๆจังหวัดน่าอยู่ รวมถึงปรับปรุงการบริการ
วันก่อนไปดู youtube อาชีพที่จะหายไปใน 20 ปี เช่น คนขับรถ, ชาวนา ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ได้,
Military กับ Soilder ใช้โดรนได้, Broker, Manufacturer โรงงานในอนาคตจะมี 1 คน และ 1 สุนัข
1 คนมีไว้เลี้ยงสุนัข ส่วน 1 สุนัขมีไว้ให้ human ไม่ให้ไปแตะเครื่องจักร (เป็น joke ว่าไม่ได้ต้องการแรงงาน)
, Cashier ไปอังกฤษไม่มีจ่ายกับเครื่องตลอด , พนักงานธนาคาร ทำออนไลน์หมด
รวมถึงไม่มี Superstar เพราะ ค่าตัวแพง เช่น ไลออนคิงส์ เวอร์ชั่นใหม่ก็ทำเหมือนจริงมาก
ส่วน อาชีพที่จะรุ่งเรือง เช่น e-sport ที่ไปแข่งขันกัน
ลองนึกดู ทีมบ้านเราจะไปมีโอกาสบาสเกตบอลไหม ? แต่ถ้า e-sport เราติดอันดับได้
ดังนั้น competitive บ้านเรามันมีได้ มันมีหลายๆอย่าง
สิ่งที่ไม่หายไปไหน high end service สำหรับคนที่มีฐานะร่ำรวยมากขึ้น สิ่งเหล่านี้คนไทยทำได้
ถ้าแปลงคนที่เราเหลือน้อยลง มาทำ เด็กรุ่นใหม่หลายคนโตมาพูดภาษาอังกฤษได้พร้อมภาษาไทย
เด็กรุ่นใหม่สำเนียงดีกว่าเดิมเยอะ ต่ถ้าอไปรัฐบาลส่งเสริมแจก ipad ให้ดูแต่คลิปภาษาอังกฤษ
เด็กรุ่นใหม่ก็พูดภาษาได้ ไม่จำเป็นต้องมีคนเยอะ
ปีนี้งบประมาณก็ผ่านแล้ว เรายืนอยู่นิ่งๆหลายปีแล้ว ก็คงมีโอกาสให้เห็นไปเห็น 1700-1750 ได้
อย่างปีที่แล้วไม่ดี ถ้าใครจับจังหวะถูก ก็ยังมีโอกาสทำกำไรได้
ในช่วงลงเจอบริษัทดีๆ ที่ไม่ถูก disrupt มีโอกาสเก็บบริษัทถือยาวได้
ถ้าบางบริษัทลงต่ำเกินไป ก็ไปขายที่สูงหน่อยได้
คิดว่า ปี 63 น่าจะดีกว่าปี 62
หมอพงษ์ศักดิ์
ผลตอบแทนปี 62 พอใช้ได้ ได้ 2 digit
ส่วนตัวไม่ค่อยมองผลตอบแทนรายปี คิดว่าไม่มีประโยชน์นัก
การประเมินตัวเองจากปีที่ผ่านมาไม่ได้ดูผลตอบแทน
แต่ดูว่า "เราทำอะไรถูกด้วยเหตุผลถูก" เป็นสัดส่วนเท่าไร
ถ้าเราทำกำไรบนเหตุผลที่ผิด เราไม่ควรดีใจ
เพราะเรากำลังทำผิดพลาด แต่คิดว่าเราทำถูกจะอันตรายในปีถัดไป
เราต้องแยกให้ได้
ถ้าหากเราผิด(ราคาหุ้นลง) แต่เหตุผลที่เราถูก คนยังไม่เห็น ถ้าแบบนั้นยังดี
ถ้าหากทำผิดบนเหตุผลที่ผิด อันนั้นยิ่งแย่
การประเมินทำถูกบนเหตุผลที่ถูก เป็นการพัฒนาตัวเอง
และเป็นกระบวนการให้ผลตอบแทนในปีถัดไปดีขึ้น
ผลตอบแทนในการลงทุนมีการสุ่ม มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนถึง คือ fool by randomness
เอาลิงมาจับสลาก มันจะมีลิงตัวหนึ่งชนะ คนที่เก่ง อาจไม่ได้ผลตอบแทนดีที่สุดก็ได้
การไปเพ่งที่ผลตอบแทนสูงอย่างเดียว เป็นการประเมินอะไรที่ง่ายเกินไป มีความสุ่ม มีโชคในการลงทุน
จึงไม่สามารถวัดจากตรงนี้ได้ ยกเว้นว่าผลงานหลายปีมาก
นั่นทำให้การสุ่มน้อยลง แต่ถ้าเป็นปีต่อปีการสุ่มมีผลมาก
มี 2 อย่าง ที่นักลงทุนไม่ควรเชื่อมั่น คือ ราคา และเวลา
เราไม่รู้ว่าราคาที่คาดจะมาเท่าไร มาเวลาไหน
ดังนั้นเหตุผลเราถูก หุ้นอาจจะไม่ขึ้นก็ได้
ถ้าเวลาพูดว่าเราได้ผลตอบแทนเท่าไร
มันอาจไม่ได้สำคัญเท่ากับหาเหตุผลในการกระทำหรือตัดสินใจแต่ละครั้งของเรา
ถ้าทุกอย่างไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ดัชนีต้องไปตาม GDP ประเทศ
ช่วง 2-3 ปีหลัง GDP โตต่ำ ดังนั้น Slope ตลาดหุ้นควรช้าลง
บางครั้งราคาดัชนีเหวี่ยงออกจากเส้นนี้ ก็เป็นโอกาสในการลงทุน
ตอนนี้มองว่า ตลาดหุ้นอยู่ต่ำกว่าเส้น slope นี้นิดหน่อย โอกาสลงทุนปี 63 ไม่แย่
แต่ผลประกอบการ บริษัทจดทะเบียนคิดว่าไม่ดี
สิ่งที่ทำให้ตลาดดีคือ bond yieldอายุ10ปี เหลือ 1.45% จาก 2.5% ปีก่อน
ซึ่งเป็นตัวกำหนดสำคัญให้ตลาดหุ้นดี
ในการลงทุนต้องตัดสินใจจากสิ่งสำคัญ และสิ่งนั้นต้องรู้ได้
ดอกเบี้ยเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่มีทางรู้ได้ จึงไม่มีประโยชน์ในการลงทุน
ถ้าดอกเบี้ยขึ้นไปตลาดหุ้นก็จะมีความเสี่ยง
แต่เรื่องดอกเบี้ยประมาทไม่ได้ นอกจากสิ่งมหัศจรรย์อับดับ 7 คือดอกเบี้ยทบต้น
เรากำลังเจอกับสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 คือ ดอกเบี้ย ติดลบ อย่าง สวิตเซอร์แลนด์,ยุโรป
โลกการเงินปั่นป่วนผิดปกติ นโยบายการเงินของโลกเราไม่ได้คิดยาว เน้นเอาปัจจุบันให้รอด
เงินอยู่ในโลกเศรษฐกิจเยอะ ดอกเบี้ยเยอะ หนี้เยอะ
ถ้าวันหนึ่งขึ้น ดอกเบี้ยขึ้นนิดเดียว กลัวว่าจะลงหนัก
เป็นสิ่งที่กังวลอยู่เสมอว่า จุดนี้จะเกิดเมื่อไร เพราะโลกนี้ถือหนี้มหึมาไว้ตั้งแต่วิกฤติ 2008 เยอะมาก
ถ้าไปอ่านเรื่อง debt cycle เราไม่สามารถก่อหนี้ไปเรื่อยๆ เหมือนฉีดอดรีนาลีนให้คนป่วย
ตอนนี้มันไม่ได้ฟื้นจากเศรษฐกิจแข็งแรง มันต้องมี correction แต่ไม่รู้จะเกิดเป็น soft หรือ hard landing
ต้องเฝ้าระวังปัจจัยที่จะเกิดขึ้น และต้องหาทางหนีทีไล่ คิดชั้นที่2 จะทำอย่างไร ถึงเวลาเกิดจะได้หนีทัน
ส่วนตัวลงทุนในตลาดหุ้นสิ่งสำคัญคือดูว่าราคาที่ซื้อคุ้มค่ามากหรือไม่?
ถ้าคุ้มค่ามากจะไม่กลัว ต้องประเมินทำปัจจุบัน และอนาคต
ถ้าซื้อต่ำกว่ามากๆ 20-30% จะไม่กลัว crisis
ถ้าไม่เจอหุ้นที่มี ราคา discount มากๆ ไม่ว่าเศรษฐกิจดีอย่างไรก็ไม่กล้าลงทุน
สัดส่วนลงทุนหุ้นปัจจุบันใกล้เคียงเดิม มีเงินสดเพิ่มนิดหน่อย คิดว่าเห็นโอกาสพอลงทุนได้
เรื่องการตัดสินใจถือเงินสด อาจจะถือเงินสด 20% เลยในวันพรุ่งนี้ก็ได้
ถ้าหากบริษัทที่ลงทุนอยู่ขึ้นมาแพงไปแล้ว และไม่รู้จะซื้อบริษัทไหนได้
คุณประชา
ไม่เคยคาดการณ์ถูกเลยว่ามีปัจจัยอะไรจะกระทบบ้าง
เช่น trade war, สงคราม, การเมือง, ดอกเบี้ย,disruption ถ้ามาดูสิ่งเหล่านี้เป็นภาพใหญ่
มันขัดกับหลักการจากบัฟเฟตต์คือ โฟกัสรายบริษัท กับมองระยะยาว
ถ้าจะให้ใครฟันธงว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผ่านไป 3 เดือนก็อาจผิดได้เสมอ
เช่น trade war จะจบไม่จบ พลิกกลับมาได้ตลอด
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์ แต่อยู่ที่ประธานธิบดีคนเดียว,
การเมืองในประเทศก็อยู่ที่ตัดสินใจไม่กี่คน หรือแม้แต่อัตราดอกเบี้ย Fed
ที่ให้แนวโน้มมาจะมองไป 2-3 ปีข้างหน้า แต่ก็เป็นตามที่หมอพงษ์ศักดิ์บอกว่าคาดการณ์ไม่ได้
เพราะเมื่อ 2 ปีก่อน อัตราดอกเบี้ยบอกว่าจะอยู่ในขาขึ้น ตลาดหุ้นลงเยอะมาก
ปรากฏปีที่แล้ว ดอกเบี้ยกลายเป็นขาลงอีกครั้ง หลังจากที่ US เศรษฐกิจไม่ดี
ก็มีการปรับเป็นลดดอกเบี้ย และทำให้ตลาดหุ้นอเมริกาขึ้นหมด
ไม่ว่าเราจะอ่านขนาดไหน หรือนักวิเคราะห์เก่งขนาดไหนก็คาดการณ์ไม่ได้
อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดรุนแรงขึ้นคือ disruption
คนใช้ออนไลน์มากขึ้น ใช้มือถือมากขึ้น สิ่งดั้งเดิมเปลี่ยนก็ต้องมาดู
ซึ่งเป็นภาพใหญ่ของภาพรวม ที่ต้องระมัดระวัง
แต่จะเกิดผลกระทบกับบริษัทที่ลงทุนไหม เป็นอีกเรื่อง อยากให้แยกจากกัน
ถ้าวิเคราะห์ disruption มันไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดมา 30-40 ปีแล้ว
มีญาติผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า มีเพื่อนทำธุรกิจมุ้งผ้า จากที่ขายดี
แล้วก็มีธุรกิจใหม่ทำให้ยอดขายตกลงมาก
เขาถามว่าคืออะไร ? ก็ตอบว่ามุ้งลวด ซึ่งเฉลยคือ ผิด
คำตอบคือ ก.ย. 15
ฟังแล้วตกใจมาก ถ้ามีคนเขียนบทความยุคนั้นคงบอกให้ คนทำมุ้งผ้าต้องรีบเปลี่ยนเป็นมุ้งลวด
disruption ไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เห็นชัดๆ หรือสิ่งที่คนพูดกันเยอะๆ แต่เป็นอีกสิ่งที่เราคาดไม่ถึง
อีกเรื่องหนึ่งร้านเช่า VDO block buster ช่วงปี 1990 ธุรกิจนี้รุ่งเรืองมาก
เป็นธุรกิจที่โตเร็วมากในอเมริกา ในไทยก็มีหลายยี่ห้อ ที่เติบโต
คนยุคนั้นพูดว่า VDO เป็น trend ที่จะทำลายให้คนไม่ออกไปดูหนัง เสียเวลา
เช่ามาอันเดียวแล้วดูในบ้าน ดังนั้นโรงหนังจะต้องตาย block buster ต้องเกิด
พอมาถึงทุกวันนี้กลายเป็น โรงหนังยังอยู่ได้ แต่ VDO ต่างหากที่หายไป
โดย block buster ล้มละลาย เมื่อปี 2010 หลังเกิดขึ้นมา 25 ปี
และโดน takeover เหลืออยู่สาขาเดียวในโอเรกอน
ธุรกิจเปลี่ยนถ่ายจาก VDO -> VCD->DVD->Streaming
Netflix ก่อตั้งปี 1997 เริ่มจากขาย DVD และส่งผ่านทางเมล์(ไปรษณีย์)
ถัดมาเปลี่ยนเป็นให้เช่า และค่อยๆเปลี่ยนตัวเองไปสตรีมมิ่งทางออนไลน์มากขึ้น
ปัจจุบันผลิต content ตัวเองให้เช่าไปทั่วโลก
ตอนนี้ market cap โต รายได้ก็โตดีมาก แต่โรงหนังก็ยังอยู่ได้
ถ้าอ่านบทความเมื่อ 30 ปีก่อนว่าโรงหนังจะตาย คนที่เขียนบทความไม่รู้หายไปไหนแล้ว
ทุกวันนี้โรงหนังก็ยังอยู่ และขยายสาขาได้
ดังนั้นการวิเคราะห์ แค่ภาพใหญ่อย่างเดียวไม่พอ
สิ่งที่ควรดูเพิ่ม ตามที่บัฟเฟตต์เคยบอกไว้คือ Management’s Quality
เคยอ่านของ blockbuster บอกว่าผู้บริหารปรับตัวไม่ทัน
ขณะที่ Netflix ก็เริ่มจากให้เช่า DVD เหมือนกัน
เวลาฟังภาพใหญ่ว่าอะไรจะถูก disrupt อย่าเพิ่งให้ความสำคัญ และตัดออกไป
ต้องดู factor อื่น เช่น Management’s Quality เป็นต้น
ต่อจากนี้กลุ่มไหนน่าสนใจหรือควรหลีกเลี่ยง?
คุณพีรนาถ
ตอบสำหรับตัวเอง กลุ่มที่น่าสนใจคือกลุ่มที่เข้าใจ
กลุ่มไม่น่าสนใจคือกลุ่มที่ไม่เข้าใจ และคิดว่าไม่เข้าไปทำความเข้าใจด้วย
บางกลุ่มคือเลือกที่จะไม่ลำบากไปทำความเข้าใจ
ช่วงหลังอ่านหนังสือ ดูอะไรที่ไม่เกี่ยวกับตลาดหุ้นพอสมควร
กลุ่มที่สนใจคือ บริษัทที่ให้ความสำคัญกับคน กับพนักงานมาก่อน
แนะนำให้อ่านหนังสือเรื่องริเน็น
โดยสรุปคือ ใน stakeholder มีลูกค้า ผู้ถือหุ้น supplier พนักงาน
ตามหนังสือเล่มนี้บอกพนักงานสำคัญสุด
อีกเล่ม อ.ซากาโต้ หนังสือชื่อ เริ่มต้นด้วยหัวใจธุรกิจก็ไปได้ไกลกว่า
ธุรกิจในอนาคตอยู่ที่คน ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ หรือ การ represent brand อยู่ที่พนักงาน
google ไม่ได้โตมาจากผู้ก่อตั้งอย่างเดียว มาจากการให้ความสำคัญของคน
เป็นสิ่งสำคัญว่าบริษัทไหนให้ความสำคัญกับบุคลากร
โดยเฉพาะในไทย การศึกษาที่ปูฟื้นไม่ได้สอนให้เราคิด แต่บริษัทสามารถทำได้ถึง front end
หนังสือ DHL design to win เริ่มจากพนักงานที่ส่งของ คนเราทุกคนเป็น CEO ของตัวเราเอง
ประเด็นที 2 AI ,Data science, big data ของเราขาด
หลายบริษัทพูดสวยหรูสิ่งที่จะทำ แต่พอไปถามว่าใครเป็นคนทำ อาจจะเชื่อไม่ได้
อนาคตตรงนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ศึกษา และไปลงทุน
คือเรื่องคน พนักงาน รวมถึงวัฒนธรรมองค์กร
ถ้าไปลงทุนบริษัทไหนก็จะพยายามผลักดันในเรื่องเหล่านี้
อ.เสน่ห์เสริม หนังสือ Like a virgin ของริชาร์ด แบรนสัน ก็ใช้ concept นี้ เป็น employee first
ถ้าทำ ให้ employee มีความสุขก็จะทำให้ customer มีความสุข
อ.ไพบูลย์ ถ้ามองสำหรับคนทั่วๆ ไปจะเลือกหุ้นแบบไหนดี
คุณพีรนาถ เหมือนคุณประชาพูด management สำคัญ เวลาเลือกหุ้นจะดูวิธีการพูด วิธีการคิดของผู้บริหาร
หลายบริษัทดู 5 ปีอาจจะไม่ได้ลงทุน เวลาไม่เหมาะสม ก็ศึกษาสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ
จุดเหมาะสมคือราคาลงมาเยอะ และยังไม่ค่อยมีคนสนใจ
ถ้าเราสนใจ และเพื่อนยังไม่มีคนสนใจก็ยิ่งน่าสนใจ แสดงว่าขายกันหมดแล้ว
แต่ถ้าคนสนใจพูดกันเยอะๆก็เข้ากันไปเยอะแล้ว
วันนี้คือมีมุมมองเพิ่มดู corporate culture เป็นอย่างไร เขาคิดอย่างไร
หมอพงษ์ศักดิ์
ส่วนตัวมองกลุ่มที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจ
ปกติราคาทรัพย์สินมีราคาแพงเมื่อคนสนใจ เวลาคนไม่สนใจจะเจอราคาถูกผิดปกติ
ถ้าพูดเป็นกลุ่มจะเลือกบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจไว้ก่อน
เราดูที่กลุ่มส่วนใหญ่ไม่พอทำผลตอบแทนในตลาดทุน
ในกลุ่มที่ไม่น่าสนใจอาจมีโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า
ในกลุ่มที่น่าสนใจก็อาจไม่มีโอกาสลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้
ดังนั้นมันไม่ช่วยให้เราได้ผลตอบแทนในการลงทุน ถ้าจะมุ่งไปเฉพาะในการลงทุน
กลุ่มที่ไม่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่พึ่งพิงกำลังซื้อรากหญ้าและ sme เยอะ
ปีนี้จะถูกกระทบมาก ต้องวิเคราะห์ว่าไปขายของให้กลุ่มต่างๆมี สัดส่วนแค่ไหน
เช่น ถ้ามี 2 บริษัทธุรกิจคล้ายกัน บริษัทหนึ่งขายให้กลุ่มรากหญ้า
แต่ถ้าอีกบริษัทขายให้ชนชั้นกลางเป็นหลักก็จะกระทบน้อยกว่า
กลุ่มที่กระทบจากค่าเงินบาทแข็ง อาจทำให้ผลประกอบการไม่ดี
รวมถึงองค์ประกอบในบางอุตสาหกรรมที่แข่งขันรุนแรงและ oversupply
เช่น สายการบิน โรงแรม อย่างกิจการที่เคยพึ่งนักท่องเที่ยวกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง
กลุ่มที่น่าเป็นห่วงอีกคือที่ปล่อยกู้ อัตราผิดนัดชำระหนี้อาจต้องระวัง
บางบริษัทเกิดก่อน พอเศรษฐกิจถดถอยก็จะเกิดผลกระทบช้ากว่านั้น
ถ้าภาวะเศรษฐกิจเริ่มถดถอย บริษัทที่มีลูกค้าเป็นรากหญ้าจะโดนก่อน
ถ้ามันยาวไปบริษัทที่มีลูกค้าเป็น sme หนี้เสียจะมา
ถ้าถือหุ้นอยู่ต้องคิดว่ากลุ่มต่อไปที่จะโดนจะทำอะไรก่อนผลประกอบการออก
ไม่ควรรอจนกว่าตลาดรู้แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องคาดการณ์
แต่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงถ้าราคามากเกินไปถึงจุดหนึ่งอาจเป็นการลงทุนที่ดีก็ได้
นักลงทุนต้องคิดอีกชั้นหนึ่ง ถ้ามีการขายออกมาจนราคาต่ำมาก ก็เป็นจุดน่าสนใจในการลงทุน
ต้องคิด 2 ชั้น ถ้าอยากได้กำไรดีกว่าตลาด คิดชั้นเดียวก็เหมือนกับตลาด
ความเข้าใจตลาดสามารถผิดได้เสมอ
สมมติมูลค่ากิจการแกว่งอยู่ประมาณหนึ่ง แต่ราคากิจการจะแกว่งมากกว่า
มันมี emotional factor เป็น gap ที่มีการซื้อหรือขายมากไป
เราไม่ควรคิดตามตลาด ต้องคิดไปอีกชั้นว่าตลาดคิดผิดหรือคิดถูก
อย่างสิ่งที่ทรัมป์ทำ ต้องดูว่ากระทบผลประกอบการจะเป็นอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต
ถ้าสิ่งนั้นทุกคนกลัวมาก แต่ไม่กระทบก็เป็นโอกาส
การรู้ที่มีประโยชน์คือรู้ถึงจุดที่ว่ารู้แล้วตัดสินใจลงทุนได้
ถ้ารู้มากไปแล้วไม่เกิดประโยชน์คือการเมาข้อมูล
ผมรู้ให้น้อย รู้ให้แม่น รู้ให้ลึก น่าจะมีประโยชน์มากกว่า
คุณประชา
ควรลงทุนในกลุ่มที่แนวโน้มผลประกอบการดี
และหลีกเลี่ยงกลุ่มที่แนวโน้มผลประกอบการไม่ดี
เวลาคุยกลุ่มไหน VI จะตอบยาก เวลาหนังสือพิมพ์จัดกลุ่ม แบงค์ พลังงาน สื่อสาร เราไม่ได้ลงทุนแบบนั้น
เพราะแต่ละบริษัทจะมีคาแรคเตอร์ที่ต่างกัน แม้แต่พลังงานมีโรงกลั่น ขุดเจาะ ถ่านหิน
แม้แต่แบงค์ก็มีพอร์ตฟอลิโอลูกค้า, สัดส่วนเงินฝาก หรือ management มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน
บางบริษัทมุ่งเป้า digital มากกว่า หรือ conservative มากกว่า
อยากจัดกลุ่มขึ้นมาใหม่ ตามแนวโน้มผลประกอบการ
ถ้าเรามี mindset แบบนี้ทุกปี จะเลือกหุ้นแล้วเฝ้าติดตาม ราคาสมเหตุผลก็น่าลงทุนเสมอ
2-3 ปีมานี้ มีกลุ่มที่ติดตามลงทุนอยู่เรื่อย หุ้นที่ขึ้นมามากกว่า 50% หรือลดลงมากกว่า 50% ก็มี
GDP ของไทย ดูชะลอลง จาก 4-5% เหลือ 2-3%
กลุ่มบริษัทขนาดใหญ๋จะโตในประเทศไม่ได้แล้ว ต้องหารายได้จากต่างประเทศ กลุ่มนี้น่าสนใจ
มีหลายธุรกิจ เช่น consumer product หรือ โรงไฟฟ้ายังต้องไปหาจากต่างประเทศ
เพราะ GDP ประเทศอื่นเติบโตดีกว่า สำรองต่ำกว่า
หรือกลุ่มที่เปิดร้านอาหาร , ขนมหวาน ที่มีสาขาและจะไปต่างประเทศก็น่าติดตาม
ถ้าธุรกิจเขาใหญ่เต็มในไทยแล้ว จะไปต่อต้องไปต่างประเทศ จะมีทั้งโอกาสและความเสี่ยงเสมอ
บางคนก็ comment ว่าไปต่างประเทศแล้วเจ๊งทุกราย
อยากให้ทุกคนมองที่จุดสมดุล ไม่มองบวกหรือลบมากเกินไป
พอไปต่างประเทศจะสำเร็จ หรือล้มเหลว
ถ้าล้มเหลวมันเป็นระยะสั้นหรือถาวร สิ่งเหล่านี้ต้องติดตามใกล้ชิด
อย่าให้คำพูดบวก ไปต่างประเทศแล้วดี ก็เฮลงทุน หรือบอกไม่ดี ก็หลีกเลี่ยง
กลุ่มบริษัทเล็กที่ Management’s quality ที่ยอดเยี่ยม
ถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็ก นำพาตัวเองไปขยายใน segment ตัวเอง
แม้ industry จะโตน้อยหรือไม่โตก็ตาม เขาจะขยายบริการ หรือ segment ใหม่ๆได้
บริษัทใหญ่ๆในไทยขนาดอาจนจะ 5-6 แสนล้าน แต่ถ้าบริษัทไม่กี่หมื่นล้าน
ยังไม่ใหญ่มากก็มีโอกาสให้ใหญ่ขึ้นได้ แล้วจะมี bargaining power เพิ่ม margin เพิ่มกำไรโตเร็ว
คนที่พอร์ตเล็กกว่าโอกาสลงทุนก็มากกว่าสามารถลงทุนได้ทั้งบริษัทใหญ่ และเล็ก
ถ้าหาหุ้นที่เข้าข่าย VI ดีๆ ก็มีโอกาสมากกว่า VI ที่พอร์ตใหญ่ๆ ด้วยซ้ำไป
พวกเราควรไปลงทุนต่างประเทศไหม?
คุณประชา
คิดว่าควรเปิดโอกาสให้ตัวเองเรียนรู้ และศึกษาว่าน่าไปไหม ใครสามารถเข้าใจได้ ก็ควรไป
ถ้าใครจะไปอยากให้ไปง่ายๆก่อนไปยากๆ
เช่น ลงทุนในดัชนีประเทศนั้น ในประเทศพัฒนา หรือประเทศกำลังพัฒนา
สามารถซื้อผ่าน ETF หรือ กองทุนรวมในประเทศ ซึ่งมีการ hedging ค่าเงินบาทแล้ว
เลือกที่ค่าบริหารกองทุนต่ำสุด พอทุกคนหันไปลงทุนกองนั้นก็จะทำให้กองอื่นลดราคาลงมา
หมอพงษ์ศักดิ์
timing ตอนนี้ ถ้าดูเป็นประเทศไม่อยากไปอเมริกา เป็นเวลา11 ปีแล้วที่ขึ้นมาถึงจุดนี้
ทุกอย่างมี cycle แต่เราไม่รู้จะเกิดเมื่อไร
อาจจะอีกนานก็ได้ อย่างออสเตรเลียใช้เวลา 26 ปีถึงเกิด recession ในปีนี้
แต่ไม่มีใครรู้จริงๆจะเกิดเมื่อไร เวลาลงทุนถ้าเป็นแบบนี้ก็จะลังเล
ว่าเป็น timing ที่ดีหน่อย ไม่อยากเลือกประเทศที่วิ่งขึ้นยาวแบบนี้
คุณพีรนาถ
สนใจบริษัทในอเมริกาหลายแห่ง แต่ยังรู้เรื่องไม่พอ
ถ้าไม่มีความรู้ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ต้องให้เข้าใจอะไรมากกว่านี้ก่อน
คนที่ไม่มีข้อจำกัดก็น่าจะไป หรือไปซื้อกองทุนดัชนี ก็บังคับให้เราสนใจมากขึ้น
ให้คะแนนตลาดหุ้น
คุณพีรนาถ
ให้ 7.5
หมอพงษ์ศักดิ์
การทำนายมีคำพูดเสมอ นักทำนายส่วนใหญ่มี 2 ประเภท
คือนักทำนายที่ไม่รู้อนาคต และไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อนาคต
ส่วนตัวเอง เป็นประเภทที่ 3 คือนักทำนายที่ไม่มั่นใจในคำทำนายตัวเอง
ให้ 5.5
ดู Earning yield gap ค่อนข้างดีกว่าปีก่อน 4.5%
ถ้าดอกเบี้ยยังต่ำอยู่พอได้ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นคำทำนายก็ผิด
คุณประชา
ปีนี้คิดว่าให้ 6 เหมือนเดิม แม้จะมีความเสี่ยงอะไรเข้ามาบ้าง แต่สไตล์ VI ก็น่าจะยังทำผลตอบแทนได้
มีความกล่าวหนึ่ง บอกว่าโอกาสก็เหมือนอากาศที่เราหายใจ มีอยู่ทุกที่แต่เราไม่มองไม่เห็น
ช่วงที่ 1 ทางพี่อมรจะมาสรุปให้ครับ
ขอขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ ทีมงาน moneytalk ทุกท่านที่มาจัดรายการ
และขอบคุณแขกรับเชิญทั้งสองช่วง พี่โจ อ.นิเวศน์ คุณพีรนาถ หมอพงษ์ศักดิ์ พี่ไลท์
ที่ได้ให้มุมมองการลงทุนปีหน้า และให้ความรู้ในการพัฒนาการลงทุนให้ดีขึ้น
Moneytalk@SETครั้งต่อไป จัดงานวันอาทิตย์ 16 กพ. เปิดจองเสาร์ 8 กพ.63
หัวข้อ 1 จัดพอร์ตรับปีใหม่
ดร.สมจินต์ กจก.ทหารไทยอีสต์สปริง, คุณเจษฏา สุขทิศ ผู้ก่อตั้ง Finnomena
หัวข้อ 2 VI รุ่นกลาง-ใหญ่
คุณชาย มโนภาส, คุณณัฐชาต คำศิริตระกูล, คุณทิวา ชินทาดาพงศ์, นายแพทย์ ศุภศักดิ์ หล่อธนพาณิชย์
อ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ ดำเนินรายการ