==Fooled by Randomness by Taleb ==
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 27, 2020 7:48 am
เล่มนี้อ่านไว้ปีที่แล้วจากต้นฉบับ (ไม่ได้อ่านจากเล่มแปลไทย) แต่ไม่ได้เอามาโพสในไทยวีไอค่ะ
เลยขออนุญาตโพสเก็บไว้ในนี้ด้วยค่ะ
ผู้ชายที่มีสไตล์ เป็นตัวของตัวเอง ไม่แคร์สื่อ ชอบปลีกตัวออกจากสังคม เพื่อทำให้ตัวเองไม่ถูกกลืนไปด้วยความคิดของสังคม ไม่รับสื่อ ไม่อ่านข่าว ไม่เข้ากลุ่ม ไม่ดูทีวีวิเคราะห์นู่น นี่ ..เป็น lone wolf เพราะไม่อยากไขว้เขว้..ขอเรียกเค้าว่าทาเลบ เค้าบอกว่าถ้า prop trade ทำเหมือนกันหมด ตัดสินใจเหมือนกันหมด อย่าเรียกตัวเองว่า trader เค้าค้นพบว่าการเสพสื่อมากๆ ไม่ได้แปรผันตรงกับการที่ช่วยให้ผลงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ถ้าข่าวไหนสำคัญมากๆ มันจะหาทางมาเข้าหูเค้าเอง
เป็นคนที่เขียนหนังสืออ่านยากมากๆคนนึงเพราะเค้ามักจะใช้ศัพท์ยากๆ ชอบเปรียบเทียบตัวละครกรีก โรมัน โบราณแบบที่เราไม่เคยรู้จัก ชอบแอบประชดจิกกัด หนังสือของเค้าเขียนอ่านยาก เพราะเค้าชอบใช้ adjective ขยายความทีครึ่งหน้า ต้องใช้สมาธิในการอ่านมากเป็นพิเศษ เคยมีคนเขียนจดหมายไป comments บอกช่วยเขียน โดยใช้ศัพท์ให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้เปล่า? เค้าบอกมันไม่เป็นตัวของตัวเอง ขอเขียนสไตล์ของเค้าเองต่อไป...จ้ะ เอาที่สบายใจ
เป็นหนังสือที่เขียนไม่เหมือนคนอื่นจริงๆ ไม่ตามกระแส อ่านแล้วร้อง เห้ย จริงดิ มีคนคิดแบบนี้ด้วยเหรอ สไตล์การเขียนจะกวนๆหน่อย
ทาเลบเป็น prop trader ที่มีแนวของตัวเอง เขาเชื่อว่าทุกทฤษฎีต้องถูกหักล้างได้ ถ้าไม่ได้แปลว่าไม่ใช่ทฤษฎี และไม่มีทฤษฎีใดที่จะคงทนอยู่ตลอดไปแนวความคิดนี้ทาเลบได้มาจาก โซลอน (Solon) ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ ของกรีกโบราณ (มีชีวิตอยู่ในสมัย 630-560 ปีก่อนคริสตกาล)
**ถ้าเราเคยเห็นหงส์ขาวมา ไม่ว่าจะกี่ล้านตัวก็ตาม เราจะไม่สามารถพูดได้ว่า หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว
แต่ถ้าเราเห็นหงส์ดำเพียงแค่ตัวเดียว มันกลับเพียงพอแล้วที่จะหักล้างทฤษฎีที่ว่า หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว**
ปัญหาของ Black Swan ก็คือ ปัญหาของการอุปนัย (Problem of Induction)
อุปนัย แปลว่า การอ้างเหตุผลโดยอาศัยหลักฐานจากประสบการณ์, หรือการทดลอง เเล้วหาข้อสรุปสำหรับทุกๆสิ่งจากกลุ่มตัวอย่างที่เราใช้ (ทึกทัก)
เค้าชอบ จอร์จ โซรอส ไม่ใช่เพราะ โซรอส เขียนหนังสือเก่ง หรือเพราะรวย ออกจะวิจารณ์โซรอสด้วยว่า เขียนอะไรไม่รู้เรื่อง เค้าไม่บูชาคนที่มีเงิน ไม่ว่าจะเป็นบัฟเฟต หรือ บิล เกตส์
เค้าไม่ชอบคลุกคลีกับคนที่มีรสนิยมสูง เพราะคนมีรสนิยมสูงจะมีต้นทุนค่าเสียเวลาในการไปช้อปปิ้ง เลือกไอเทมมาประดับบนร่างกาย เลือกชิมอาหารหรูๆ เลือกชิมไวน์แพงๆ เพื่อให้ "คนอื่น" รู้ว่าคนนั้นหรูหรา ไฮโซ เค้าบอกว่ามันเสียเวลา
เค้าชอบโซรอส เพราะโซรอสเข้าใจเรื่องของความสุ่ม เหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นด้วยความไร้แบบแผน และสามารถทำเงินจากความไร้แบบแผนได้ ถ้าเราช่างสังเกตพอ
**คนตายไม่ได้พูด**
คนที่เราเห็นว่าลงทุนเก่งๆ หรือเก่งเรื่องอะไรก็ตาม เป็นเพราะเรามีอคติ (bias) เพราะสมองเราจะรับรู้ จดจำ ประทับใจแค่คนที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น ส่วนคนที่ล้มตาย และหายหน้าไป ซึ่งมีจำนวนมากกว่า จะไม่เคยออกมาพูด มาโพส มาทำอะไรให้เราเห็น อีกประเด็นหนึ่งคือบางคนชนะมาตลอด เป็นสิบๆปี แต่เจอ transaction ที่ทำให้แพ้ได้ครั้งเดียว ถึงกับต้องออกจากเกมไปเลย เพราะจะเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง และที่ทำมานั้นถูกต้องแล้ว ดังนั้นถ้าทำแบบเดิมอีก ก็จะต้องชนะเหมือนเดิม..ในอนาคต..
ทาเลบบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลย ผลงานในอดีตไม่ว่าจะชนะสักร้อยครั้ง หรือพันครั้ง ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีว่า เราจะชนะในอนาคต
ถ้าเราจับลิงจำนวนนับไม่ถ้วนให้มานั่งอยู่หน้าเครื่องพิมพ์ดีด จะมีสักตัวนึงที่พิมพ์งานออกมาได้เหมือนบทกวี ที่นักกวีประพันธ์ และเราจะเชิดชูลิงตัวนั้นว่าเป็นกวีเอก.. มันเป็นสิ่งที่้เกิดขึ้นมาจากความสุ่ม .... เค้าไม่ได้พูดลอยๆ
มีงานประพันธ์เเนว exquisite cadavers เป็นเรื่องราวของกวีแขนงหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในยุคที่คนหมดอาลัยตายอยากจากภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อแก้เครียด พวกที่ตกในฐานะลำบากเค้าจะมารวมตัวกันจับฉลากว่าตัวเองจะได้คำประเภทไหนไปใช้แต่งบทกลอน ซึ่งทุกคนจะได้รู้ของคนก่อนหน้าและคนถัดไป ทำให้พอแต่ออกมาคนละคำ (เช่นคำนาม, คำกริยา, คำวิเศษณ์อะไรแบบนี้ค่ะ) มันถูกสร้างเป็นบทกวีได้ แต่แปลความหมายไม่ได้ บางครั้ง(บนโลกใบนี้) ด้วยความที่เราอ่านมันไม่เข้าใจมันอาจจะถูกสรรเสริญว่า "นี่แหละ คือ art แท้ๆ ^__^" หลักในการตัดสินใจ(เทรด)ก็เหมือนกัน
เหมือนความสำเร็จของบิล เกตส์ (เค้าไม่ได้อิจฉาว่าบิล เกตส์ร่ำรวยนะคะ)ก็ไม่ได้ร่ำรวยเพราะความเก่ง เค้าเปรียบเทียบเทียบเหมือนระบบพิมพ์ดีด ที่มันถูกกำหนดมาแบบมั่วๆ นานมากแล้วว่า ต้องวางแป้นแบบ ฟ-ห-ก-ด-เ-า-ส-ว (ฝรั่งเรียกแป้นแบบ QWERTY ถ้าลองดูมันจะเป็น ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์แถวแรก) เคยมีคนคิดจะเปลี่ยนมาหลายร้อยคน ให้มันใช้งานง่ายมากขึ้น แต่ด้วยความเคยชินของคนทั่วโลก ทำให้มันยากที่จะเปลี่ยนการเรียงของอักษรบนแป้นพิมพ์... Microsoft ก็เช่นกัน
เค้าจะเทรดไม่บ่อย แต่จะเทรดหนัก โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็น rare events
เรามักจะพูดถึง winner takes all แต่ในขณะเดียวกัน มันก็จะมีเหตุการณ์หรือ transaction ที่เป็น losser takes all ได้เช่นกัน เปรียบเสมือนเราก่อปราสาททรายมาอย่างดิบดี แต่พอเราหยอดทรายหยิบสุดท้ายลงไป ปราสาททรายกลับพังทลายลงมาหมดนั่นเอง
บทแรกของหนังสือเล่มนี้เปิดตัวเทรดเดอร์ที่ชื่อเนโร จบป ตรี สาขาวรรณคดีโบราณและคณิตศาสตร์จากเคมบริดจ์ แล้วไปเรียนต่อป เอก สาขาสถิติที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เรียนไปได้สักพักรู้สึกเปเปอร์เยอะ เขาเลยดร็อปแล้วไปเรียนสาขาปรัชญาแทน จบออกมาด้วย thesis ปรัญชาที่เขียนด้วยสมการสถิติ เข้ามาทำงานเทรดเดอร์ แล้วไปเป็นอาจารย์สอน probabilistic thinking (การคิดเชิงความน่าจะเป็น) ที่ NYU อ่านไปอ่านมาจนเราแอบสงวัยว่าในชีวิตจริงคนนี้คือใคร ลองไปกูเกิลดู ปรากฎฝรั่งก็เคยสงสัยมาก่อนเหมือนกัน ถึงขั้นตั้งกระทู้ถาม บางคนถึงกับสงสัยว่า เนโร คนเนี้ยคือตัวทาเลบเอง แต่แอบดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนไม่ให้เหมือนตัวเองเกินไป (ก็ว่ากันไป) ... ตัวละครตัวนี้ไม่มีเฉลย
** mild success can be explained by skill and labor.
Wild success is attributable to variance**
ความสำเร็จเล็กน้อยสามารถอธิบายได้ด้วยทักษะและการใช้แรงงาน
หากแต่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นั้นเนื่องมาจากความแปรปรวน
**ค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกอะไร**
ทุกอย่างมันมีความไม่สมมาตร หรือ อสมมาตร (Asymmetry) หมายถึง คนที่ตายในเกมก็จะตายเร็วมาก ส่วนคนที่รอดก็จะอยู่รอดได้นานกว่ามากเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นคนเป็นมะเร็ง คนที่ตายเร็วก็ตายเร็วมาก ส่วนคนที่รอดจากมะเร็งก็มีชีวิตอยู่ต่อได้อีกหลายสิบปี แต่หมอชอบเอาค่าเฉลี่ยของคนที่รอดชีวิตเป็นแนวทางในการวินิจฉัย บางครั้งเอามาใช้ในงานวิจัย แต่มันไม่ได้บอกลักษณะของการกระจายตัวของความน่าจะเป็น เมื่อไรก็ตามที่มีความอสมมาตรเข้ามาเกี่ยวข้องในผลลัพธ์ จะทำให้ “ค่าเฉลี่ย” ของผู้รอดชีวิตไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ “ค่ากลาง” ของผู้รอดชีวิตเลย {ตัวเลขคาดหวัง (หรือ ค่าเฉลี่ย) ของผู้ที่อยู่รอดนั้นมากกว่า ที่งานวิจัยมะเร็งระบุ}
ดังนั้นทาเลบจึงบอกว่าค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกอะไร
สิ่งทำให้พวกเราสับสนระหว่างความน่าจะเป็น กับ ความคาดหวัง? น่าจะเป็นเพราะ มนุษย์เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่กลุ่มตัวอย่างมันมีความสมมาตรนั่นเอง เช่นการโยนเหรียญ (ที่มันมีผลแค่หัวก้อย), ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็มีแต่การสอบผ่าน/สอบตก เมื่อเกรดที่สะสมเอาไว้ไม่ได้มีผลอะไร มีแต่เพียงความถี่เท่านั้นที่มีผล ทำให้ความแตกต่างของผลลัพธ์มันไม่ได้เป็นสาระของเรา ในความเป็นจริงแล้ว กราฟระฆังคว่ำนั้นเราจะเห็นว่ามีการใช้งานทั่วไปในสังคมที่เป็นแบบสมมาตรทั้งหมด
ทำให้คนชอบตัดข้อมูลที่มันสุดโต่งออกไป พวกค่าที่โดดขึ้นมาสูงสุด หรือค่าที่ติดลบต่ำสุด อย่างเช่น สภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์หลายๆคนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ตอนที่มันเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ เพราะเขาตัดตัวอย่างนั้นออก จากกลุ่มอุณหภูมิสูงๆที่โดดขึ้นมาจากกลุ่ม เพียงเพราะความเชื่อที่ว่ามันจะไม่เกิดซ้ำอีก จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้มีค่าของการสะสมตัว จนกระทั่งมันถึงจุดหนึ่งที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเลย
เช่นเดียวกับคำว่า “กระทิง” หรือ “หมี” เป็นเพียงเรื่องของคำที่ใช้โดยกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจเรื่องของความไม่แน่นอน เพราะมันไม่ใช่แค่การออกหัวหรือก็ย อย่างพวกที่คอยแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ (อย่าด่าเรา เค้าเขียนแบบนี้จริงๆ) หรือไม่ก็พวกที่ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการความเสี่ยง ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องของโอกาสที่เหตุการณ์ใดจะเกิดมากน้อยแค่ไหน แต่เราจะทำเงินจากมันได้เท่าไรเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดต่างหากที่เราควรจะคิด บ่อยแค่ไหนที่กำไรไม่ได้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ มันเป็นเรื่องของขนาดของผลลัทธ์มากกว่าที่เกี่ยวข้อง
บางเรื่องเราไม่สามารถจะเรียนรู้จากประวัติศาสตร์เพราะสมองเราไม่ได้ถูกดีไซน์มาแบบนั้น เหมือนตอนเด็กๆ ทั้งๆที่ทุกคนบอกว่าเตามันร้อน แต่เราก็ยังเอามือไปจับมัน ... เราถึงยอมเชื่อว่าเตามันร้อน เรามักจะคิดว่าเราสามารถเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ แต่จริงๆแล้วอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราไม่สามารถเรียนรู้ว่าอารมณ์ความรู้สึกที่เราตอบสนองไปกับประสบการณ์อะไรสักอย่างในอดีต (ไม่ว่าจะบวก หรือลบ) มันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว เช่นเราชอบคิดว่าการได้ shopping อะไรบางอย่างจะสร้างความสุขได้อย่างยาวนาน หรือถาวร หรือการแพ้ต่ออะไรบางสิ่งจะทำให้เราทุกข์ไปตลอดกาลนาน (ทั้งๆที่ในอดีตเราเคยแพ้ในแบบเดียวกัน จริงๆมันก็ไม่ได้กระทบเราได้นาน และความสุขจากการ shopping อะไรบางอย่างมันก็สั้นมาก)
การเทรดก็ทำงานแบบเดียวกัน พวกเทรดเดอร์ที่เสียหายหมดตัวออกจากตลาดมักจะคิดไปเองว่าพวกเขารู้จักโลกมากพอที่จะไม่เข้าไปเทรดเมื่อมีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จะเกิดขึ้น ทาเลบได้เห็นพวกที่เข้าใจตัวเองผิดหลายตัวอย่างที่ขาดทุนจากตลาด ...เช่นหุ้นตกในปี 1987, พวกที่เสียหายจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นล่มสลายในปี 1990, พวกที่เสียหายจากตลาดพันธบัตร débâcle ในปี 1994, พวกที่เสียหายจากตลาดรัสเซียในปี 1998, พวกที่เสียหายจากการไปช๊อตตลาด Nasdaq พวกเขาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อ้างว่าผลกระทบ “ครั้งนี้มันแตกต่าง”
ทาเลบชอบเขียนโมเดลขึ้นมาเอง เป็นโมเดลเพื่อที่จะทดสอบความคิด สมมติฐาน หรือทฤษฎีต่างๆเอง ในหนังสือเค้าจะเรียกโมเดลของเค้าว่าตัวก่อกำเนิด มอนติ คาร์โล
ตลอดชีวิตของทาเลบในตลาดคือ “การวางเดิมพันบนความเบ้ (skewness)” เค้าพยายามจะทำกำไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่เค้าบอกว่ามันจะให้ผลตอบแทนที่สูงมากเมื่อมันเกิดขึ้น เค้าพยายามจะไม่ทำเงินบ่อย ไม่บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เค้าเชื่อว่าในช่วงเหตุการณ์ที่เกิดยากมันจะเกิดการประเมินมูลค่าที่ผิดเพี้ยนไป และยิ่งเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเท่าไร มันจะยิ่งเกิดการต่ำกว่ามูลค่ามากยิ่งขึ้น ทำไมช่วงเหตุการณ์เหล่านี้ถึงทำให้เกิดการมูลค่าที่ผิดเพี้ยนไปได้? เพราะว่าเกิดจากอคติทางด้านจิตวิทยา
จิม โรเจอร์ นักลงทุน “ระดับตำนาน” เคยบอกว่า ผม(จิม)ไม่ซื้อออปชั่น เพราะการซื้อออปชั่นจะทำให้เราต้องย้ายไปอยู่ในกระต๊อบเร็วขึ้น บางคนได้ทำการศึกษาให้กับ กลต. และค้นพบว่า 90% ของออปชั่นจะหมดอายุแบบขาดทุน แต่ทาเลบมองว่าได้ว่าถ้า 90% ของออปชั่นในฝั่ง Long มันหมดอายุแบบขาดทุน นั่นแสดงว่ามี 90% ของออปชั่นในฝั่ง Short ที่จะทำเงินได้ ถ้าทาเลบจะใช้ออปชั่นในภาวะหมี ทาเลบก็จะขายฝั่ง Calls ทำนองนี้ (ปล. ทาเลบไม่ค่อยปลื้มจิม ถึงแม้ว่าเค้าจะปลื้มจอร์จ โซรอส เเละจิมเป็นเพื่อนโซรอส เค้าบอกว่าเป็นเพื่อนกันเข้าไปได้ยังไง... ปากจัดไปอี๊ก >//<)
**บางครั้งผู้ที่เหมาะสมน้อยที่สุด กลับเป็นผู้อยู่รอด**
เราต่างเคยเรียนทฤษฎี natural selection ของ “ดาร์วิน” ที่บอกว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุด จะเป็นผู้ที่อยู่รอด และการวิวัฒนาการเป็นแนวคิดที่ถูกเข้าใจผิดในสาขาที่นอกเหนือจากชีววิทยา หลายๆคนเชื่อว่าทั้งพืชและสัตว์ต่างสืบพันธุ์เพื่อทำให้สายพันธุ์ของตัวเองสมบูรณ์แบบ แต่คนมักจะนำแนวคิดแบยเดียวกันมาใช้ทางด้านสังคม และตลาดหุ้นด้วย
..กลายเป็นทุกคนเชื่อว่าบริษัททั้งหลายต่างมุ่งหน้าสู่การทำธุรกิจที่ดีกว่าโดยที่ผลประกอบการจะไม่มีทางแย่กว่าเดิม ด้วยภาวะการแข่งขัน ผู้ที่แข็งแรงที่สุดจะเป็นผู้ที่อยู่รอด คนที่อ่อนแอจะสูญพันธุ์ไป
.. เหล่านักลงทุนและเทรดเดอร์ก็เช่นกัน พวกเขาเชื่อว่าถ้าปล่อยให้ต่างคนต่างแข่งกันเอง คนที่ดีที่สุดจะยิ่งเจริญ ร่ำรวย ส่วนคนที่ห่วยจะต้องออกจากเกมไป
.. แต่จริงๆแล้วเค้าอาจจะเหมาะกับวัฎจักรนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 10 ปี โดยทาเลบยกตัวอย่าง ผู้ที่เคยทำกำไรได้อย่างจอห์น เทรดเดอร์ผลตอบแทนสูง ที่เทรดจนร่ำรวยมาสักพักนึ่ง (รายละเอียดไม่เล่า ในที่นี้เพราะว่ามันจะยาวมากๆๆ) แต่จอห์นกลับกลายเป็นผู้แพ้อย่างแท้จริงในระยะยาวและไม่เหมาะกับการเอาชีวิตรอดต่อไปในโลกของเทรดเดอร์
แต่จอห์นอาจจะได้รับสิทธิพิเศษขั้นสูงสุดไปแล้วในระยะสั้นและมีแนวโน้มที่ขยายแพร่พันธุ์ของเขาต่อไป (แบบสาวกรี๊ด ได้รับการชาบู ออกสื่อ นู่น นี่)
...เอวังค่ะ _/\_
เลยขออนุญาตโพสเก็บไว้ในนี้ด้วยค่ะ
ผู้ชายที่มีสไตล์ เป็นตัวของตัวเอง ไม่แคร์สื่อ ชอบปลีกตัวออกจากสังคม เพื่อทำให้ตัวเองไม่ถูกกลืนไปด้วยความคิดของสังคม ไม่รับสื่อ ไม่อ่านข่าว ไม่เข้ากลุ่ม ไม่ดูทีวีวิเคราะห์นู่น นี่ ..เป็น lone wolf เพราะไม่อยากไขว้เขว้..ขอเรียกเค้าว่าทาเลบ เค้าบอกว่าถ้า prop trade ทำเหมือนกันหมด ตัดสินใจเหมือนกันหมด อย่าเรียกตัวเองว่า trader เค้าค้นพบว่าการเสพสื่อมากๆ ไม่ได้แปรผันตรงกับการที่ช่วยให้ผลงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ถ้าข่าวไหนสำคัญมากๆ มันจะหาทางมาเข้าหูเค้าเอง
เป็นคนที่เขียนหนังสืออ่านยากมากๆคนนึงเพราะเค้ามักจะใช้ศัพท์ยากๆ ชอบเปรียบเทียบตัวละครกรีก โรมัน โบราณแบบที่เราไม่เคยรู้จัก ชอบแอบประชดจิกกัด หนังสือของเค้าเขียนอ่านยาก เพราะเค้าชอบใช้ adjective ขยายความทีครึ่งหน้า ต้องใช้สมาธิในการอ่านมากเป็นพิเศษ เคยมีคนเขียนจดหมายไป comments บอกช่วยเขียน โดยใช้ศัพท์ให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้เปล่า? เค้าบอกมันไม่เป็นตัวของตัวเอง ขอเขียนสไตล์ของเค้าเองต่อไป...จ้ะ เอาที่สบายใจ
เป็นหนังสือที่เขียนไม่เหมือนคนอื่นจริงๆ ไม่ตามกระแส อ่านแล้วร้อง เห้ย จริงดิ มีคนคิดแบบนี้ด้วยเหรอ สไตล์การเขียนจะกวนๆหน่อย
ทาเลบเป็น prop trader ที่มีแนวของตัวเอง เขาเชื่อว่าทุกทฤษฎีต้องถูกหักล้างได้ ถ้าไม่ได้แปลว่าไม่ใช่ทฤษฎี และไม่มีทฤษฎีใดที่จะคงทนอยู่ตลอดไปแนวความคิดนี้ทาเลบได้มาจาก โซลอน (Solon) ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ ของกรีกโบราณ (มีชีวิตอยู่ในสมัย 630-560 ปีก่อนคริสตกาล)
**ถ้าเราเคยเห็นหงส์ขาวมา ไม่ว่าจะกี่ล้านตัวก็ตาม เราจะไม่สามารถพูดได้ว่า หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว
แต่ถ้าเราเห็นหงส์ดำเพียงแค่ตัวเดียว มันกลับเพียงพอแล้วที่จะหักล้างทฤษฎีที่ว่า หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว**
ปัญหาของ Black Swan ก็คือ ปัญหาของการอุปนัย (Problem of Induction)
อุปนัย แปลว่า การอ้างเหตุผลโดยอาศัยหลักฐานจากประสบการณ์, หรือการทดลอง เเล้วหาข้อสรุปสำหรับทุกๆสิ่งจากกลุ่มตัวอย่างที่เราใช้ (ทึกทัก)
เค้าชอบ จอร์จ โซรอส ไม่ใช่เพราะ โซรอส เขียนหนังสือเก่ง หรือเพราะรวย ออกจะวิจารณ์โซรอสด้วยว่า เขียนอะไรไม่รู้เรื่อง เค้าไม่บูชาคนที่มีเงิน ไม่ว่าจะเป็นบัฟเฟต หรือ บิล เกตส์
เค้าไม่ชอบคลุกคลีกับคนที่มีรสนิยมสูง เพราะคนมีรสนิยมสูงจะมีต้นทุนค่าเสียเวลาในการไปช้อปปิ้ง เลือกไอเทมมาประดับบนร่างกาย เลือกชิมอาหารหรูๆ เลือกชิมไวน์แพงๆ เพื่อให้ "คนอื่น" รู้ว่าคนนั้นหรูหรา ไฮโซ เค้าบอกว่ามันเสียเวลา
เค้าชอบโซรอส เพราะโซรอสเข้าใจเรื่องของความสุ่ม เหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นด้วยความไร้แบบแผน และสามารถทำเงินจากความไร้แบบแผนได้ ถ้าเราช่างสังเกตพอ
**คนตายไม่ได้พูด**
คนที่เราเห็นว่าลงทุนเก่งๆ หรือเก่งเรื่องอะไรก็ตาม เป็นเพราะเรามีอคติ (bias) เพราะสมองเราจะรับรู้ จดจำ ประทับใจแค่คนที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น ส่วนคนที่ล้มตาย และหายหน้าไป ซึ่งมีจำนวนมากกว่า จะไม่เคยออกมาพูด มาโพส มาทำอะไรให้เราเห็น อีกประเด็นหนึ่งคือบางคนชนะมาตลอด เป็นสิบๆปี แต่เจอ transaction ที่ทำให้แพ้ได้ครั้งเดียว ถึงกับต้องออกจากเกมไปเลย เพราะจะเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง และที่ทำมานั้นถูกต้องแล้ว ดังนั้นถ้าทำแบบเดิมอีก ก็จะต้องชนะเหมือนเดิม..ในอนาคต..
ทาเลบบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลย ผลงานในอดีตไม่ว่าจะชนะสักร้อยครั้ง หรือพันครั้ง ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีว่า เราจะชนะในอนาคต
ถ้าเราจับลิงจำนวนนับไม่ถ้วนให้มานั่งอยู่หน้าเครื่องพิมพ์ดีด จะมีสักตัวนึงที่พิมพ์งานออกมาได้เหมือนบทกวี ที่นักกวีประพันธ์ และเราจะเชิดชูลิงตัวนั้นว่าเป็นกวีเอก.. มันเป็นสิ่งที่้เกิดขึ้นมาจากความสุ่ม .... เค้าไม่ได้พูดลอยๆ
มีงานประพันธ์เเนว exquisite cadavers เป็นเรื่องราวของกวีแขนงหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในยุคที่คนหมดอาลัยตายอยากจากภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อแก้เครียด พวกที่ตกในฐานะลำบากเค้าจะมารวมตัวกันจับฉลากว่าตัวเองจะได้คำประเภทไหนไปใช้แต่งบทกลอน ซึ่งทุกคนจะได้รู้ของคนก่อนหน้าและคนถัดไป ทำให้พอแต่ออกมาคนละคำ (เช่นคำนาม, คำกริยา, คำวิเศษณ์อะไรแบบนี้ค่ะ) มันถูกสร้างเป็นบทกวีได้ แต่แปลความหมายไม่ได้ บางครั้ง(บนโลกใบนี้) ด้วยความที่เราอ่านมันไม่เข้าใจมันอาจจะถูกสรรเสริญว่า "นี่แหละ คือ art แท้ๆ ^__^" หลักในการตัดสินใจ(เทรด)ก็เหมือนกัน
เหมือนความสำเร็จของบิล เกตส์ (เค้าไม่ได้อิจฉาว่าบิล เกตส์ร่ำรวยนะคะ)ก็ไม่ได้ร่ำรวยเพราะความเก่ง เค้าเปรียบเทียบเทียบเหมือนระบบพิมพ์ดีด ที่มันถูกกำหนดมาแบบมั่วๆ นานมากแล้วว่า ต้องวางแป้นแบบ ฟ-ห-ก-ด-เ-า-ส-ว (ฝรั่งเรียกแป้นแบบ QWERTY ถ้าลองดูมันจะเป็น ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์แถวแรก) เคยมีคนคิดจะเปลี่ยนมาหลายร้อยคน ให้มันใช้งานง่ายมากขึ้น แต่ด้วยความเคยชินของคนทั่วโลก ทำให้มันยากที่จะเปลี่ยนการเรียงของอักษรบนแป้นพิมพ์... Microsoft ก็เช่นกัน
เค้าจะเทรดไม่บ่อย แต่จะเทรดหนัก โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็น rare events
เรามักจะพูดถึง winner takes all แต่ในขณะเดียวกัน มันก็จะมีเหตุการณ์หรือ transaction ที่เป็น losser takes all ได้เช่นกัน เปรียบเสมือนเราก่อปราสาททรายมาอย่างดิบดี แต่พอเราหยอดทรายหยิบสุดท้ายลงไป ปราสาททรายกลับพังทลายลงมาหมดนั่นเอง
บทแรกของหนังสือเล่มนี้เปิดตัวเทรดเดอร์ที่ชื่อเนโร จบป ตรี สาขาวรรณคดีโบราณและคณิตศาสตร์จากเคมบริดจ์ แล้วไปเรียนต่อป เอก สาขาสถิติที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เรียนไปได้สักพักรู้สึกเปเปอร์เยอะ เขาเลยดร็อปแล้วไปเรียนสาขาปรัชญาแทน จบออกมาด้วย thesis ปรัญชาที่เขียนด้วยสมการสถิติ เข้ามาทำงานเทรดเดอร์ แล้วไปเป็นอาจารย์สอน probabilistic thinking (การคิดเชิงความน่าจะเป็น) ที่ NYU อ่านไปอ่านมาจนเราแอบสงวัยว่าในชีวิตจริงคนนี้คือใคร ลองไปกูเกิลดู ปรากฎฝรั่งก็เคยสงสัยมาก่อนเหมือนกัน ถึงขั้นตั้งกระทู้ถาม บางคนถึงกับสงสัยว่า เนโร คนเนี้ยคือตัวทาเลบเอง แต่แอบดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนไม่ให้เหมือนตัวเองเกินไป (ก็ว่ากันไป) ... ตัวละครตัวนี้ไม่มีเฉลย
** mild success can be explained by skill and labor.
Wild success is attributable to variance**
ความสำเร็จเล็กน้อยสามารถอธิบายได้ด้วยทักษะและการใช้แรงงาน
หากแต่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่นั้นเนื่องมาจากความแปรปรวน
**ค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกอะไร**
ทุกอย่างมันมีความไม่สมมาตร หรือ อสมมาตร (Asymmetry) หมายถึง คนที่ตายในเกมก็จะตายเร็วมาก ส่วนคนที่รอดก็จะอยู่รอดได้นานกว่ามากเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นคนเป็นมะเร็ง คนที่ตายเร็วก็ตายเร็วมาก ส่วนคนที่รอดจากมะเร็งก็มีชีวิตอยู่ต่อได้อีกหลายสิบปี แต่หมอชอบเอาค่าเฉลี่ยของคนที่รอดชีวิตเป็นแนวทางในการวินิจฉัย บางครั้งเอามาใช้ในงานวิจัย แต่มันไม่ได้บอกลักษณะของการกระจายตัวของความน่าจะเป็น เมื่อไรก็ตามที่มีความอสมมาตรเข้ามาเกี่ยวข้องในผลลัพธ์ จะทำให้ “ค่าเฉลี่ย” ของผู้รอดชีวิตไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ “ค่ากลาง” ของผู้รอดชีวิตเลย {ตัวเลขคาดหวัง (หรือ ค่าเฉลี่ย) ของผู้ที่อยู่รอดนั้นมากกว่า ที่งานวิจัยมะเร็งระบุ}
ดังนั้นทาเลบจึงบอกว่าค่าเฉลี่ยไม่ได้บอกอะไร
สิ่งทำให้พวกเราสับสนระหว่างความน่าจะเป็น กับ ความคาดหวัง? น่าจะเป็นเพราะ มนุษย์เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่กลุ่มตัวอย่างมันมีความสมมาตรนั่นเอง เช่นการโยนเหรียญ (ที่มันมีผลแค่หัวก้อย), ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็มีแต่การสอบผ่าน/สอบตก เมื่อเกรดที่สะสมเอาไว้ไม่ได้มีผลอะไร มีแต่เพียงความถี่เท่านั้นที่มีผล ทำให้ความแตกต่างของผลลัพธ์มันไม่ได้เป็นสาระของเรา ในความเป็นจริงแล้ว กราฟระฆังคว่ำนั้นเราจะเห็นว่ามีการใช้งานทั่วไปในสังคมที่เป็นแบบสมมาตรทั้งหมด
ทำให้คนชอบตัดข้อมูลที่มันสุดโต่งออกไป พวกค่าที่โดดขึ้นมาสูงสุด หรือค่าที่ติดลบต่ำสุด อย่างเช่น สภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์หลายๆคนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ตอนที่มันเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ เพราะเขาตัดตัวอย่างนั้นออก จากกลุ่มอุณหภูมิสูงๆที่โดดขึ้นมาจากกลุ่ม เพียงเพราะความเชื่อที่ว่ามันจะไม่เกิดซ้ำอีก จริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้มีค่าของการสะสมตัว จนกระทั่งมันถึงจุดหนึ่งที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเลย
เช่นเดียวกับคำว่า “กระทิง” หรือ “หมี” เป็นเพียงเรื่องของคำที่ใช้โดยกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจเรื่องของความไม่แน่นอน เพราะมันไม่ใช่แค่การออกหัวหรือก็ย อย่างพวกที่คอยแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ (อย่าด่าเรา เค้าเขียนแบบนี้จริงๆ) หรือไม่ก็พวกที่ไม่มีประสบการณ์ในการจัดการความเสี่ยง ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องของโอกาสที่เหตุการณ์ใดจะเกิดมากน้อยแค่ไหน แต่เราจะทำเงินจากมันได้เท่าไรเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดต่างหากที่เราควรจะคิด บ่อยแค่ไหนที่กำไรไม่ได้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ มันเป็นเรื่องของขนาดของผลลัทธ์มากกว่าที่เกี่ยวข้อง
บางเรื่องเราไม่สามารถจะเรียนรู้จากประวัติศาสตร์เพราะสมองเราไม่ได้ถูกดีไซน์มาแบบนั้น เหมือนตอนเด็กๆ ทั้งๆที่ทุกคนบอกว่าเตามันร้อน แต่เราก็ยังเอามือไปจับมัน ... เราถึงยอมเชื่อว่าเตามันร้อน เรามักจะคิดว่าเราสามารถเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ แต่จริงๆแล้วอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราไม่สามารถเรียนรู้ว่าอารมณ์ความรู้สึกที่เราตอบสนองไปกับประสบการณ์อะไรสักอย่างในอดีต (ไม่ว่าจะบวก หรือลบ) มันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว เช่นเราชอบคิดว่าการได้ shopping อะไรบางอย่างจะสร้างความสุขได้อย่างยาวนาน หรือถาวร หรือการแพ้ต่ออะไรบางสิ่งจะทำให้เราทุกข์ไปตลอดกาลนาน (ทั้งๆที่ในอดีตเราเคยแพ้ในแบบเดียวกัน จริงๆมันก็ไม่ได้กระทบเราได้นาน และความสุขจากการ shopping อะไรบางอย่างมันก็สั้นมาก)
การเทรดก็ทำงานแบบเดียวกัน พวกเทรดเดอร์ที่เสียหายหมดตัวออกจากตลาดมักจะคิดไปเองว่าพวกเขารู้จักโลกมากพอที่จะไม่เข้าไปเทรดเมื่อมีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จะเกิดขึ้น ทาเลบได้เห็นพวกที่เข้าใจตัวเองผิดหลายตัวอย่างที่ขาดทุนจากตลาด ...เช่นหุ้นตกในปี 1987, พวกที่เสียหายจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นล่มสลายในปี 1990, พวกที่เสียหายจากตลาดพันธบัตร débâcle ในปี 1994, พวกที่เสียหายจากตลาดรัสเซียในปี 1998, พวกที่เสียหายจากการไปช๊อตตลาด Nasdaq พวกเขาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อ้างว่าผลกระทบ “ครั้งนี้มันแตกต่าง”
ทาเลบชอบเขียนโมเดลขึ้นมาเอง เป็นโมเดลเพื่อที่จะทดสอบความคิด สมมติฐาน หรือทฤษฎีต่างๆเอง ในหนังสือเค้าจะเรียกโมเดลของเค้าว่าตัวก่อกำเนิด มอนติ คาร์โล
ตลอดชีวิตของทาเลบในตลาดคือ “การวางเดิมพันบนความเบ้ (skewness)” เค้าพยายามจะทำกำไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่เค้าบอกว่ามันจะให้ผลตอบแทนที่สูงมากเมื่อมันเกิดขึ้น เค้าพยายามจะไม่ทำเงินบ่อย ไม่บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เค้าเชื่อว่าในช่วงเหตุการณ์ที่เกิดยากมันจะเกิดการประเมินมูลค่าที่ผิดเพี้ยนไป และยิ่งเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเท่าไร มันจะยิ่งเกิดการต่ำกว่ามูลค่ามากยิ่งขึ้น ทำไมช่วงเหตุการณ์เหล่านี้ถึงทำให้เกิดการมูลค่าที่ผิดเพี้ยนไปได้? เพราะว่าเกิดจากอคติทางด้านจิตวิทยา
จิม โรเจอร์ นักลงทุน “ระดับตำนาน” เคยบอกว่า ผม(จิม)ไม่ซื้อออปชั่น เพราะการซื้อออปชั่นจะทำให้เราต้องย้ายไปอยู่ในกระต๊อบเร็วขึ้น บางคนได้ทำการศึกษาให้กับ กลต. และค้นพบว่า 90% ของออปชั่นจะหมดอายุแบบขาดทุน แต่ทาเลบมองว่าได้ว่าถ้า 90% ของออปชั่นในฝั่ง Long มันหมดอายุแบบขาดทุน นั่นแสดงว่ามี 90% ของออปชั่นในฝั่ง Short ที่จะทำเงินได้ ถ้าทาเลบจะใช้ออปชั่นในภาวะหมี ทาเลบก็จะขายฝั่ง Calls ทำนองนี้ (ปล. ทาเลบไม่ค่อยปลื้มจิม ถึงแม้ว่าเค้าจะปลื้มจอร์จ โซรอส เเละจิมเป็นเพื่อนโซรอส เค้าบอกว่าเป็นเพื่อนกันเข้าไปได้ยังไง... ปากจัดไปอี๊ก >//<)
**บางครั้งผู้ที่เหมาะสมน้อยที่สุด กลับเป็นผู้อยู่รอด**
เราต่างเคยเรียนทฤษฎี natural selection ของ “ดาร์วิน” ที่บอกว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุด จะเป็นผู้ที่อยู่รอด และการวิวัฒนาการเป็นแนวคิดที่ถูกเข้าใจผิดในสาขาที่นอกเหนือจากชีววิทยา หลายๆคนเชื่อว่าทั้งพืชและสัตว์ต่างสืบพันธุ์เพื่อทำให้สายพันธุ์ของตัวเองสมบูรณ์แบบ แต่คนมักจะนำแนวคิดแบยเดียวกันมาใช้ทางด้านสังคม และตลาดหุ้นด้วย
..กลายเป็นทุกคนเชื่อว่าบริษัททั้งหลายต่างมุ่งหน้าสู่การทำธุรกิจที่ดีกว่าโดยที่ผลประกอบการจะไม่มีทางแย่กว่าเดิม ด้วยภาวะการแข่งขัน ผู้ที่แข็งแรงที่สุดจะเป็นผู้ที่อยู่รอด คนที่อ่อนแอจะสูญพันธุ์ไป
.. เหล่านักลงทุนและเทรดเดอร์ก็เช่นกัน พวกเขาเชื่อว่าถ้าปล่อยให้ต่างคนต่างแข่งกันเอง คนที่ดีที่สุดจะยิ่งเจริญ ร่ำรวย ส่วนคนที่ห่วยจะต้องออกจากเกมไป
.. แต่จริงๆแล้วเค้าอาจจะเหมาะกับวัฎจักรนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 10 ปี โดยทาเลบยกตัวอย่าง ผู้ที่เคยทำกำไรได้อย่างจอห์น เทรดเดอร์ผลตอบแทนสูง ที่เทรดจนร่ำรวยมาสักพักนึ่ง (รายละเอียดไม่เล่า ในที่นี้เพราะว่ามันจะยาวมากๆๆ) แต่จอห์นกลับกลายเป็นผู้แพ้อย่างแท้จริงในระยะยาวและไม่เหมาะกับการเอาชีวิตรอดต่อไปในโลกของเทรดเดอร์
แต่จอห์นอาจจะได้รับสิทธิพิเศษขั้นสูงสุดไปแล้วในระยะสั้นและมีแนวโน้มที่ขยายแพร่พันธุ์ของเขาต่อไป (แบบสาวกรี๊ด ได้รับการชาบู ออกสื่อ นู่น นี่)
...เอวังค่ะ _/\_