IDCREIT
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 29, 2020 12:21 pm
INET ธุรกรรมเงินต่อเงิน
สำนักข่าวรัชดา
น่าสนใจ..!! เมื่อบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET เตรียมตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ (IDCREIT) พร้อมสินทรัพย์ประเภทอาคารของโครงการ Internet Data Center แห่งที่ 3 (โครงการ INET-IDC3) เฟส 1 เข้ากองทรัสต์ มูลค่าไม่เกิน 4,800 ล้านบาท คาดจะเกิดขึ้นต้นปีหน้า
ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวของ INET ครั้งแรกในรอบหลายปี…หลังจากเงียบหายไปนาน
นักลงทุนขานรับข่าวนี้ ด้วยการเข้ามาเก็งกำไรหุ้น INET กันคึกคัก ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งแรลลี่ 2 วันติด โดยวันพฤหัสบดีที่ 25 มิ.ย.63 ปิดตลาดที่ระดับ 2.42 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 12.04% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 52 ล้านบาท ส่วนวันศุกร์ที่ 26 มิ.ย.63 ก็ยังแรงไม่ตก ราคาวิ่งชนซิลลิ่งที่ 14.88% โดยปิดตลาดที่ระดับ 2.78 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 62 ล้านบาท
INET เป็นหุ้นกลุ่มไอซีทีที่ก่อร่างสร้างตัวมาด้วยบริการอินเทอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ของประเทศไทย ด้วยเสื้อสูทของ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ), กสท (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT) และทีโอที (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน))
แต่เนื่องจากทั้ง 3 องค์กรเป็นรัฐวิสาหกิจ โดย สวทช. เน้นการวิจัยและพัฒนา ขณะที่ กสท เน้นงานด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียม ส่วนทีโอทีให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ทำให้ไม่มีความคล่องตัว ก็เลยจัดตั้งบริษัทลูก INET ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์
หลังจากนั้น INET ก็มีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง…ซึ่งหลังจากยุคอินเทอเน็ตเฟื่องฟู การใช้ดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น INET เลยผันตัวเองมาเป็นดาต้าเซ็นเตอร์รายใหญ่ของประเทศ มีลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน
ผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมาก็ทำได้ดี…ปี 2559 มีรายได้รวม 1,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 84 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้รวม 1,546 ล้านบาท กำไรสุทธิ 374 ล้านบาท ปี 2561 มีรายได้รวม 1,694 ล้านบาท กำไรสุทธิ 172 ล้านบาท ปี 2562 มีรายได้รวม 2,017 ล้านบาท กำไรสุทธิ 169 ล้านบาท
แต่น่าเสียดาย…หุ้นมีสภาพคล่องน้อยไปหน่อย ทำให้มูลค่าการซื้อขายไม่คึกคักเท่าที่ควร…
การตั้งกองรีทครั้งนี้จึงทำให้หุ้น INET กลับมาอยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนอีกครั้ง..!!
เพราะเบื้องต้น INET จะได้กำไรจากการขายสินทรัพย์ก่อน…มีเงินไปชำระหนี้ รวมทั้งขยายการลงทุนโครงการอื่น ๆ ในอนาคต
สเต็ปถัดมา INET ก็เช่ากลับสินทรัพย์ดังกล่าว เป็นระยะเวลา 25 ปี เสียค่าเช่าให้กับกองรีท เพื่อให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ต่อไป…INET สามารถทำธุรกิจได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพคล่อง ที่สำคัญไม่ต้องรบกวนเงินในกระเป๋าผู้ถือหุ้น
ส่วนในมุมของกองรีทก็มั่นใจได้ว่ามีคนเช่าแน่ ๆ อย่างน้อย ๆ 25 ปี…
ขณะเดียวกัน INET ก็จะซื้อหน่วยลงทุนไม่เกิน 50% ของทั้งหมด มูลค่าไม่เกิน 2,400 ล้านบาท เท่ากับว่า INET จะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุนในกองรีทไปอีกขา
โมเดลนี้ก็ไม่ต่างกับกรณีบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ที่ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ที่ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF…ได้เงินเข้ากระเป๋าไปชำระหนี้และขยายธุรกิจ
จากนั้นก็มีการเช่าสินทรัพย์กลับ เพื่อทำธุรกิจต่อ และนอนรอกินเงินปันผลงาม ๆ ไป…
ก็เป็นวิศวกรรมการเงินเชิงสร้างสรรค์ที่หลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำกัน…
อ้อ…เงินที่ใช้ซื้อสินทรัพย์เข้ากองรีท ก็ไม่ใช่เงินของบริษัทนะ
แต่…เป็นเงินที่มาจากการระดมทุนของผู้ถือหน่วยนั่นแหละ…
เท่ากับว่า นอกจากบริษัทไม่ต้องควักเงินซักบาทแล้ว ยังมีรายได้กลับเข้ากระเป๋าอีกด้วย
ถือเป็นธุรกรรมเงินต่อเงินนั่นเอง…
…อิ อิ อิ…
สำนักข่าวรัชดา
น่าสนใจ..!! เมื่อบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET เตรียมตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ (IDCREIT) พร้อมสินทรัพย์ประเภทอาคารของโครงการ Internet Data Center แห่งที่ 3 (โครงการ INET-IDC3) เฟส 1 เข้ากองทรัสต์ มูลค่าไม่เกิน 4,800 ล้านบาท คาดจะเกิดขึ้นต้นปีหน้า
ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวของ INET ครั้งแรกในรอบหลายปี…หลังจากเงียบหายไปนาน
นักลงทุนขานรับข่าวนี้ ด้วยการเข้ามาเก็งกำไรหุ้น INET กันคึกคัก ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งแรลลี่ 2 วันติด โดยวันพฤหัสบดีที่ 25 มิ.ย.63 ปิดตลาดที่ระดับ 2.42 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 12.04% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 52 ล้านบาท ส่วนวันศุกร์ที่ 26 มิ.ย.63 ก็ยังแรงไม่ตก ราคาวิ่งชนซิลลิ่งที่ 14.88% โดยปิดตลาดที่ระดับ 2.78 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 62 ล้านบาท
INET เป็นหุ้นกลุ่มไอซีทีที่ก่อร่างสร้างตัวมาด้วยบริการอินเทอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ของประเทศไทย ด้วยเสื้อสูทของ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ), กสท (บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT) และทีโอที (บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน))
แต่เนื่องจากทั้ง 3 องค์กรเป็นรัฐวิสาหกิจ โดย สวทช. เน้นการวิจัยและพัฒนา ขณะที่ กสท เน้นงานด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียม ส่วนทีโอทีให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ทำให้ไม่มีความคล่องตัว ก็เลยจัดตั้งบริษัทลูก INET ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์
หลังจากนั้น INET ก็มีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง…ซึ่งหลังจากยุคอินเทอเน็ตเฟื่องฟู การใช้ดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น INET เลยผันตัวเองมาเป็นดาต้าเซ็นเตอร์รายใหญ่ของประเทศ มีลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน
ผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมาก็ทำได้ดี…ปี 2559 มีรายได้รวม 1,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 84 ล้านบาท ปี 2560 มีรายได้รวม 1,546 ล้านบาท กำไรสุทธิ 374 ล้านบาท ปี 2561 มีรายได้รวม 1,694 ล้านบาท กำไรสุทธิ 172 ล้านบาท ปี 2562 มีรายได้รวม 2,017 ล้านบาท กำไรสุทธิ 169 ล้านบาท
แต่น่าเสียดาย…หุ้นมีสภาพคล่องน้อยไปหน่อย ทำให้มูลค่าการซื้อขายไม่คึกคักเท่าที่ควร…
การตั้งกองรีทครั้งนี้จึงทำให้หุ้น INET กลับมาอยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนอีกครั้ง..!!
เพราะเบื้องต้น INET จะได้กำไรจากการขายสินทรัพย์ก่อน…มีเงินไปชำระหนี้ รวมทั้งขยายการลงทุนโครงการอื่น ๆ ในอนาคต
สเต็ปถัดมา INET ก็เช่ากลับสินทรัพย์ดังกล่าว เป็นระยะเวลา 25 ปี เสียค่าเช่าให้กับกองรีท เพื่อให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ต่อไป…INET สามารถทำธุรกิจได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพคล่อง ที่สำคัญไม่ต้องรบกวนเงินในกระเป๋าผู้ถือหุ้น
ส่วนในมุมของกองรีทก็มั่นใจได้ว่ามีคนเช่าแน่ ๆ อย่างน้อย ๆ 25 ปี…
ขณะเดียวกัน INET ก็จะซื้อหน่วยลงทุนไม่เกิน 50% ของทั้งหมด มูลค่าไม่เกิน 2,400 ล้านบาท เท่ากับว่า INET จะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุนในกองรีทไปอีกขา
โมเดลนี้ก็ไม่ต่างกับกรณีบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS ที่ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ที่ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล หรือ DIF…ได้เงินเข้ากระเป๋าไปชำระหนี้และขยายธุรกิจ
จากนั้นก็มีการเช่าสินทรัพย์กลับ เพื่อทำธุรกิจต่อ และนอนรอกินเงินปันผลงาม ๆ ไป…
ก็เป็นวิศวกรรมการเงินเชิงสร้างสรรค์ที่หลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำกัน…
อ้อ…เงินที่ใช้ซื้อสินทรัพย์เข้ากองรีท ก็ไม่ใช่เงินของบริษัทนะ
แต่…เป็นเงินที่มาจากการระดมทุนของผู้ถือหน่วยนั่นแหละ…
เท่ากับว่า นอกจากบริษัทไม่ต้องควักเงินซักบาทแล้ว ยังมีรายได้กลับเข้ากระเป๋าอีกด้วย
ถือเป็นธุรกรรมเงินต่อเงินนั่นเอง…
…อิ อิ อิ…