วันนี้คุณซื้อหุ้น ที่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยแล้วยังคะ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 15, 2020 8:56 am
เบนจามิน เกรแฮม ให้ความสำคัญมากกับเรื่อง
ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย ถ้าเราซื้อสินทรัพย์ในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ ความเสี่ยงของเราก็จะอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน
ยิ่งราคาตลาด มีส่วนลดจากมูลค่าที่แท้จริง มากขึ้นเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งลดต่ำลงไปมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งราคาตลาดมีส่วนลดจากมูลค่าที่แท้จริงมากขึ้นเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
การกำจัดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด และการขยายผลตอบแทน ให้อยู่ในระดับสูงสุด ทำให้บัฟเฟตต์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ ในเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าเป็นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้วสินทรัพย์จะซื้อขายที่ราคาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับมูลค่าที่แท้จริง หรือราคาสูงกว่าหัวใจที่สำคัญที่สุดก็คือ *การรอคอยอย่างอดทน*
ในปี 1973 บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้น Washington post ราคาราวๆ 6.15 ดอลลาร์ ตอนนั้นเขารู้ว่า มูลค่าที่แท้จริงของมันอยู่ที่ประมาณ 25 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ตลอดช่วง 33 ปี บัฟเฟตต์ไม่ได้ขายหุ้น Washington post เลยแม้แต่หุ้นเดียว ตอนนี้การลงทุนที่มีต้นทุน 10.6 ล้านดอลลาร์ มีมูลค่าสูงกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์
ซึ่งคิดเป็น 124 เท่า ของเงินลงทุนเริ่มต้น
นอกจากนี้ Washington post ยังจ่ายเงินปันผล ให้แก่ Berkshire ทุกปี ซึ่งมันยังไม่ได้ถูกรวม ในตัวเลข 124 เท่าที่ว่า จะว่าไปเงินปันผลในแต่ละปียังสูงกว่าจำนวนเงินลงทุนเริ่มแรกด้วยซ้ำ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวว่า
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 เวลาจะกำหนดราคาซื้อขายหุ้น นักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยให้น้ำหนักกับมูลค่าของธุรกิจ
ตอนนี้มันอาจฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ช่วงนั้นนักลงทุนสถาบันพวกนี้ กำลังต้องมนต์สะกด เรื่องตลาดมีประสิทธิภาพของเหล่านักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยเลื่องชื่อ
ทฤษฎีนี้บอกว่า ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพเต็มร้อย ดังนั้นการคำนวณมูลค่าของธุรกิจ หรือกระทั่งตัวมูลค่าธุรกิจเองต่างก็ไม่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน
เราเป็นหนี้บุญคุณ นักวิชาการกลุ่มนี้อย่างล้นเหลือ ในการประชันขันแข่งทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไพ่บริดจ์ การเล่นหมากรุก หรือการลงทุน อะไรจะดีไป การมีคู่ต่อสู้คิดว่า การใช้ความคิดเป็นเรื่องไร้สาระ?
ชาร์ลี มังเกอร์กล่าว
"มีคนเอาแนวทางของเราไปใช้น้อยมาก อาจจะแค่ 2% อีก 98% ที่เหลือจะเชื่อในสิ่งที่พวกเขาถูกบอกมา" (เช่นตลาดมีประสิทธิภาพเต็มร้อย)
บทความดีๆมีที่มาจากหนังสือเรื่อง นักลงทุนดันโด (The Dhandho Investor) แปลและเรียบเรียงโดย พี่เวบ พรชัย รัตนนนทชัยสุข
ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย ถ้าเราซื้อสินทรัพย์ในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ ความเสี่ยงของเราก็จะอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน
ยิ่งราคาตลาด มีส่วนลดจากมูลค่าที่แท้จริง มากขึ้นเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งลดต่ำลงไปมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งราคาตลาดมีส่วนลดจากมูลค่าที่แท้จริงมากขึ้นเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
การกำจัดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด และการขยายผลตอบแทน ให้อยู่ในระดับสูงสุด ทำให้บัฟเฟตต์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ ในเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าเป็นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้วสินทรัพย์จะซื้อขายที่ราคาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับมูลค่าที่แท้จริง หรือราคาสูงกว่าหัวใจที่สำคัญที่สุดก็คือ *การรอคอยอย่างอดทน*
ในปี 1973 บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้น Washington post ราคาราวๆ 6.15 ดอลลาร์ ตอนนั้นเขารู้ว่า มูลค่าที่แท้จริงของมันอยู่ที่ประมาณ 25 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ตลอดช่วง 33 ปี บัฟเฟตต์ไม่ได้ขายหุ้น Washington post เลยแม้แต่หุ้นเดียว ตอนนี้การลงทุนที่มีต้นทุน 10.6 ล้านดอลลาร์ มีมูลค่าสูงกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์
ซึ่งคิดเป็น 124 เท่า ของเงินลงทุนเริ่มต้น
นอกจากนี้ Washington post ยังจ่ายเงินปันผล ให้แก่ Berkshire ทุกปี ซึ่งมันยังไม่ได้ถูกรวม ในตัวเลข 124 เท่าที่ว่า จะว่าไปเงินปันผลในแต่ละปียังสูงกว่าจำนวนเงินลงทุนเริ่มแรกด้วยซ้ำ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวว่า
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 เวลาจะกำหนดราคาซื้อขายหุ้น นักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยให้น้ำหนักกับมูลค่าของธุรกิจ
ตอนนี้มันอาจฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ช่วงนั้นนักลงทุนสถาบันพวกนี้ กำลังต้องมนต์สะกด เรื่องตลาดมีประสิทธิภาพของเหล่านักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยเลื่องชื่อ
ทฤษฎีนี้บอกว่า ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพเต็มร้อย ดังนั้นการคำนวณมูลค่าของธุรกิจ หรือกระทั่งตัวมูลค่าธุรกิจเองต่างก็ไม่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน
เราเป็นหนี้บุญคุณ นักวิชาการกลุ่มนี้อย่างล้นเหลือ ในการประชันขันแข่งทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไพ่บริดจ์ การเล่นหมากรุก หรือการลงทุน อะไรจะดีไป การมีคู่ต่อสู้คิดว่า การใช้ความคิดเป็นเรื่องไร้สาระ?
ชาร์ลี มังเกอร์กล่าว
"มีคนเอาแนวทางของเราไปใช้น้อยมาก อาจจะแค่ 2% อีก 98% ที่เหลือจะเชื่อในสิ่งที่พวกเขาถูกบอกมา" (เช่นตลาดมีประสิทธิภาพเต็มร้อย)
บทความดีๆมีที่มาจากหนังสือเรื่อง นักลงทุนดันโด (The Dhandho Investor) แปลและเรียบเรียงโดย พี่เวบ พรชัย รัตนนนทชัยสุข