ทำไมต้องประเมินมูลค่าหุ้น ก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ? / Pocket investor
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 26, 2020 10:46 am
Investor's practice: สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้ผมจะชวนทุกท่านกลับไปคิดทบทวนมุมมองเกี่ยวกับหลักการ VI ว่าทำไมถึงจำเป็นต้องประเมินมูลค่าหุ้นนะ? จะเป็นอย่างไร ลองมาดูกันเลยครับ
.
"ทำไมเราต้องประเมินมูลค่าหุ้น มันดูทำยากอ่ะ ไม่ประเมินได้มั้ย?"
.
นี่เป็นคำถามที่ผมเคยได้ยินเมื่อนานมาแล้ว จากน้องคนหนึ่งที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้น ในตอนนั้นเขาขอให้ผมช่วยแนะนำวิธีการลงทุนแบบ VI
.
เมื่อได้ยินคำถาม ผมก็อึ้งไปสักพัก...ณ เวลานั้น สมองผมยังไม่สามารถประมวลคำตอบดีๆและถูกต้องออกมาได้ทันที (ตอนนั้นกลับไปคิด แล้วค่อยตอบน้องเค้าไปทีหลัง) คิดว่าเป็นคำถามที่ดีมากๆ เลยชวนมาคิดกันครับ
.
นั่นสินะ ทำไมต้องประเมินมูลค่า?
.
นักลงทุน VI อย่างเราๆ มีความเชื่อในหลักการลงทุนว่า
การลงทุนในหุ้น = การลงทุนในธุรกิจ
หุ้นทุกตัวมี "มูลค่าที่แท้จริง" จากพื้นฐานธุรกิจของบริษัทนั้นๆ และในระยะยาวแล้วราคาจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงเสมอ เราจึงต้องประเมินมูลค่าหุ้น ตัดสินใจซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า และขายเมื่อราคาสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงไปแล้ว
.
เราเชื่อ!...จนลืมคิดถึงเหตุผลไปว่า ทำแบบนี้ไปทำไม? ซึ่งมันมาพร้อมกับคำถามอีกมากมายให้ชวนคิด เช่น
.
- ในเมื่อราคาหุ้นมันขึ้นอยู่กับความคาดหวังของคนในตลาด (ซึ่งส่วนมากอาจจะไม่ได้ประเมินมูลค่า) แบบนี้ราคามันจะสะท้อนมูลค่าได้อย่างไร?
.
- เอาเข้าจริงๆเราก็ไม่ได้แน่ใจด้วยว่ามูลค่าที่ประเมินได้มันจะถูกต้องแค่ไหน? มี Model ประเมินมูลค่าตั้งหลายแบบ เช่น P/E, P/BV, DCF แต่ละวิธีก็ประเมินได้ค่าไม่เท่ากัน แล้วควรเลือกวิธีไหนดี? แถมบางครั้งก็คำนวณมาได้ค่าแปลกๆ เช่น "ติดลบ" แบบนี้จะเชื่อได้อย่างไร?
.
หลายๆท่านจึงมักจะคิดว่า การประเมินมูลค่ามัน "ยาก" เกินไป และละเลยเรื่องนี้...และ
.
- ในเมื่อราคาในระยะสั้นมันมักจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงอยู่แล้ว แบบนี้การประเมินมูลค่าก็ไม่มีความจำเป็นใช่มั้ย ถ้าเราเน้นเก็งกำไรระยะสั้น?
.
วันนี้ผมลองมาตอบคำถามเหล่านี้ดูครับ และก็หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจแก่นของการประเมินมูลค่ามากขึ้นอีกนิดหนึ่ง โดย ผมจะแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ลองมาดูกันเลยครับ
.
1. ราคาหุ้นจะสะท้อนความคาดหวังของคนในตลาด?
ใช่ครับ ซึ่งโดยส่วนมากความคาดหวังนี้ถูกสะท้อนด้วย "ผลตอบแทน" ของคนในตลาดนั่นแหละ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
.
(1) ส่วนต่างราคาหุ้น (Capital gain)
(2) เงินปันผล (Dividend)
.
เชื่อว่า คนส่วนมากในตลาดจะคาดหวังเรื่อง "ส่วนต่างราคา" มากกว่า "เงินปันผล" ดังนั้น เราจึงซื้อหุ้นเมื่อคิดว่า ราคาหุ้นในอนาคตมันจะขึ้นไปอีก และขายหุ้นเมื่อคิดว่าราคาหุ้นในอนาคตจะลดต่ำลง การผันผวนของราคาระยะสั้นนั้น จึงมักมาจาก "การเก็งกำไร" ว่าราคาหุ้นจะขึ้น/ลง ในเร็วๆนี้ ตามอารมณ์ของคนในตลาด
.
ส่วนราคาในระยะยาวนั้นมักจะขึ้นอยู่กับ "ผลประกอบการของบริษัท"
.
ในอีกขาหนึ่ง คือ "เงินปันผล" ที่คนส่วนมากอาจจะให้ความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งบริษัทจะจ่ายปันผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท ยิ่งบริษัทกำไรมากก็มีโอกาสจ่ายปันผลได้มาก ดังนั้น ถ้าบริษัทกำไรเพิ่มขึ้น จ่ายปันผลได้มากขึ้น "อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนได้ก็จะยิ่งสูงขึ้น" ราคาในระยะยาวก็มีแนวโน้มจะปรับตัวสะท้อนกับผลกำไรของบริษัทครับ ดังนั้น ส่วนต่างราคาและเงินปันผลที่ได้ มักจะไปในทิศทางเดียวกัน
.
ในทางกลับกัน ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันสูงมาก จนทำให้ได้อัตราผลตอบแทนจากปันผล น้อยจนไม่คุ้มค่าแล้ว ราคาก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดลง
.
ดังนั้น ในระยะยาวแล้ว คนในตลาดก็จะเห็นสิ่งนี้ และราคาหุ้นก็จะปรับตัวเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงเสมอ และแม้ว่าคุณจะรอมาสักพักแล้ว แต่ราคายังไม่สะท้อนสิ่งที่ควรเป็น แต่ถ้าคุณซื้อหุ้นในราคาที่เหมาะสม คุณก็จะยังได้ "ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่คุ้มค่า" อยู่ดีครับ แค่รอต่อไปจนราคาปรับตัวจนสะท้อนผลประกอบการ
.
"เจ้ามือที่แท้จริงของหุ้นคือผลประกอบการ"
-พี่โจ ลูกอีสาน
.
2. จะแน่ใจได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าถูก?
ไม่ต้องห่วงครับ คุณไม่มีทางประเมินมูลค่าได้ถูกต้อง 100% แน่นอน! 555+
เพราะการประเมินมูลค่ามันอาศัยการคาดการณ์ในอนาคต เป็นหลัก ซึ่งไม่มีใครทำนายได้แม่นยำ มันจึงเป็นทั้ง "ศาสตร์และศิลป์" ที่แต่ละปัจเจกบุคคลประเมินค่าออกมาได้ไม่เท่ากัน
.
อย่างไรก็ตามนั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะไม่ประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะแม้ว่าคุณจะประเมินได้ไม่ถูกต้อง แต่การประเมินได้ใกล้เคียง มีแนวโน้มที่ถูกทาง ผ่านสมมติฐานที่พอจะเป็นไปได้ นั่นก็อาจจะเพียงพอแล้ว ในการใช้เป็นเข็มทิศในการตัดสินใจลงทุน และยิ่งคุณเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ก็จะยิ่งทำให้คุณสามารถคาดการณ์บริษัทได้ดีมากขึ้นครับ
.
ส่วนตัวผมไม่ได้ประเมินมูลค่าออกมาเป็นค่าคงที่เป๊ะๆครับ แค่ประเมินเป็นกรอบราคาว่า ช่วงระดับราคานี้ "ถูก" / ระดับราคานี้ "เหมาะสม" / ระดับราคานี้ "แพง" เป็นต้น
.
ในด้าน Model ในการประเมินที่หลากหลาย ควรจะเลือกใช้ตัวไหน ส่วนตัวผมคิดว่าอยู่ที่คุณคาดหวังอะไรจากหุ้นตัวนั้น เช่น คาดหวังกำไรก็ใช้ P/E คาดหวังเงินปันผลก็ใช้ Dividend yield หรือคาดหวังผลตอบแทนจากการขายสินทรัพย์ก็ใช้ NAV เป็นต้น
.
ส่วนตัวผมก็มักจะใช้ Model ง่ายๆบ้านๆแบบ P/E หรือ PEG นี่แหละ ตรงไปตรงมาดี ส่วนถ้าใครถนัดวิธีอื่นๆ ศึกษามาดีแล้วและเข้าใจมากกว่าก็สามารถทำได้เลยครับ ไม่ต้องกลัวผิด เพราะมันเป็นเรื่องของ "ศิลปะ"
.
3. ถ้าเล่นเก็งกำไรระยะสั้น จำเป็นต้องประเมินมูลค่ามั้ย?
ก่อนจะตอบคำถามนี้ ผมขอให้คุณลองถามตัวเองอีกครั้งว่า มั่นใจแค่ไหนว่าคุณจะถือหุ้น "ระยะสั้น" ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณเป็น Trader มืออาชีพจริงๆ คุณ "ไม่จำเป็นต้องประเมินมูลค่า" ครับ เพราะในระยะสั้นราคามักจะไม่สะท้อนผลประกอบการของบริษัทหรอก เสียเวลาประเมินเปล่าๆ
.
อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญสำหรับ Trader ตัวจริง คือ คุณต้องมีวินัยและการตัดสินใจที่รวดเร็วใน การซื้อเมื่อถึงจุดที่มีสัญญาณซื้อ และขายเมื่อมีสัญญาณขาย พร้อมที่จะ Cut loss เสมอ หากตัดสินใจผิด ตามวิถีของนัก Technical
.
ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า "การประเมินมูลค่า" ไม่ได้ทำให้คุณได้ผลตอบแทนมากมายในเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณเจอหุ้น D (ชื่อสมมติ) ที่มีผลประกอบการที่ดีมากในปีนี้ แต่คุณอาจจะประเมินแล้วว่าราคาสูงกว่ามูลค่าพื้นฐาน คุณก็จะไม่ซื้อ...ซึ่งในระยะสั้นราคามันอาจจะสูงขึ้นไปได้อีกมากเป็นหลายๆเด้งในเวลาอันสั้นจากการเก็งกำไร จนคนที่ซื้อไปก่อนได้กำไรมหาศาล! ... แต่นั่นก็ไม่ใช่การทำกำไรในวิถี VI
.
ในทางกลับกัน ถ้าคุณเข้าซื้อหุ้น D (ชื่อสมมติ) ด้วยการเก็งกำไร แล้วจู่ๆราคาหุ้นก็ตกลงมา Trader ตัวจริงจะ Cut loss ทันที เมื่อมีสัญญาณขาย แต่ถ้าคุณไม่ใช่ Trader ตัวจริงล่ะ...
.
เรื่องน่ากลัวอย่างหนึ่งของตลาดหุ้น คือ หลายๆคน เวลาซื้อหุ้น แล้วราคาขึ้น เรามักจะเป็นนักเก็งกำไร...แต่เวลาซื้อแล้วราคาตก กลับจะเปลี่ยนตัวเองเป็น VI (ถือยาว ไม่ขายไม่ขาดทุน ว้าว!)
.
ถ้าเจอหุ้นตกแล้ว คุณคิดจะถือหุ้นยาว อย่างเชื่อมั่นว่าราคามันจะกลับมาได้ ทั้งๆที่คุณอาจจะไม่เคยประเมินมูลค่ามันเลย...นี่เป็นเรื่องอันตรายมากๆครับ!
.
ดังนั้น สำหรับนักลงทุน VI แล้วการประเมินมูลค่าจำเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องทำเสมอก่อนตัดสินใจลงทุนครับ เพราะ การประเมินมูลค่าหุ้น จะทำให้คุณตัดสินใจได้ถูกต้องตามเหตุและผล โดย ยังคงถือหุ้นเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า และขายหุ้นเมื่อราคาสูงกว่ามูลค่าหรือขายเมื่อคุณประเมินมูลค่าผิด ซึ่งมักจะ "ไม่ทำให้คุณเจ็บตัวมาก"
.
"Price is what you pay; Value is what you get"
-Warren Buffett
.
ทั้งหมดเป็นแค่มุมมองของผมเพียงคนเดียว อาจจะถูกบ้างผิดบ้างนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ comment มาคุยกันได้เลยนะครับ : )
Writer: Pocket investor
.
"ทำไมเราต้องประเมินมูลค่าหุ้น มันดูทำยากอ่ะ ไม่ประเมินได้มั้ย?"
.
นี่เป็นคำถามที่ผมเคยได้ยินเมื่อนานมาแล้ว จากน้องคนหนึ่งที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้น ในตอนนั้นเขาขอให้ผมช่วยแนะนำวิธีการลงทุนแบบ VI
.
เมื่อได้ยินคำถาม ผมก็อึ้งไปสักพัก...ณ เวลานั้น สมองผมยังไม่สามารถประมวลคำตอบดีๆและถูกต้องออกมาได้ทันที (ตอนนั้นกลับไปคิด แล้วค่อยตอบน้องเค้าไปทีหลัง) คิดว่าเป็นคำถามที่ดีมากๆ เลยชวนมาคิดกันครับ
.
นั่นสินะ ทำไมต้องประเมินมูลค่า?
.
นักลงทุน VI อย่างเราๆ มีความเชื่อในหลักการลงทุนว่า
การลงทุนในหุ้น = การลงทุนในธุรกิจ
หุ้นทุกตัวมี "มูลค่าที่แท้จริง" จากพื้นฐานธุรกิจของบริษัทนั้นๆ และในระยะยาวแล้วราคาจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงเสมอ เราจึงต้องประเมินมูลค่าหุ้น ตัดสินใจซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า และขายเมื่อราคาสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงไปแล้ว
.
เราเชื่อ!...จนลืมคิดถึงเหตุผลไปว่า ทำแบบนี้ไปทำไม? ซึ่งมันมาพร้อมกับคำถามอีกมากมายให้ชวนคิด เช่น
.
- ในเมื่อราคาหุ้นมันขึ้นอยู่กับความคาดหวังของคนในตลาด (ซึ่งส่วนมากอาจจะไม่ได้ประเมินมูลค่า) แบบนี้ราคามันจะสะท้อนมูลค่าได้อย่างไร?
.
- เอาเข้าจริงๆเราก็ไม่ได้แน่ใจด้วยว่ามูลค่าที่ประเมินได้มันจะถูกต้องแค่ไหน? มี Model ประเมินมูลค่าตั้งหลายแบบ เช่น P/E, P/BV, DCF แต่ละวิธีก็ประเมินได้ค่าไม่เท่ากัน แล้วควรเลือกวิธีไหนดี? แถมบางครั้งก็คำนวณมาได้ค่าแปลกๆ เช่น "ติดลบ" แบบนี้จะเชื่อได้อย่างไร?
.
หลายๆท่านจึงมักจะคิดว่า การประเมินมูลค่ามัน "ยาก" เกินไป และละเลยเรื่องนี้...และ
.
- ในเมื่อราคาในระยะสั้นมันมักจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงอยู่แล้ว แบบนี้การประเมินมูลค่าก็ไม่มีความจำเป็นใช่มั้ย ถ้าเราเน้นเก็งกำไรระยะสั้น?
.
วันนี้ผมลองมาตอบคำถามเหล่านี้ดูครับ และก็หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจแก่นของการประเมินมูลค่ามากขึ้นอีกนิดหนึ่ง โดย ผมจะแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ลองมาดูกันเลยครับ
.
1. ราคาหุ้นจะสะท้อนความคาดหวังของคนในตลาด?
ใช่ครับ ซึ่งโดยส่วนมากความคาดหวังนี้ถูกสะท้อนด้วย "ผลตอบแทน" ของคนในตลาดนั่นแหละ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
.
(1) ส่วนต่างราคาหุ้น (Capital gain)
(2) เงินปันผล (Dividend)
.
เชื่อว่า คนส่วนมากในตลาดจะคาดหวังเรื่อง "ส่วนต่างราคา" มากกว่า "เงินปันผล" ดังนั้น เราจึงซื้อหุ้นเมื่อคิดว่า ราคาหุ้นในอนาคตมันจะขึ้นไปอีก และขายหุ้นเมื่อคิดว่าราคาหุ้นในอนาคตจะลดต่ำลง การผันผวนของราคาระยะสั้นนั้น จึงมักมาจาก "การเก็งกำไร" ว่าราคาหุ้นจะขึ้น/ลง ในเร็วๆนี้ ตามอารมณ์ของคนในตลาด
.
ส่วนราคาในระยะยาวนั้นมักจะขึ้นอยู่กับ "ผลประกอบการของบริษัท"
.
ในอีกขาหนึ่ง คือ "เงินปันผล" ที่คนส่วนมากอาจจะให้ความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งบริษัทจะจ่ายปันผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท ยิ่งบริษัทกำไรมากก็มีโอกาสจ่ายปันผลได้มาก ดังนั้น ถ้าบริษัทกำไรเพิ่มขึ้น จ่ายปันผลได้มากขึ้น "อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนได้ก็จะยิ่งสูงขึ้น" ราคาในระยะยาวก็มีแนวโน้มจะปรับตัวสะท้อนกับผลกำไรของบริษัทครับ ดังนั้น ส่วนต่างราคาและเงินปันผลที่ได้ มักจะไปในทิศทางเดียวกัน
.
ในทางกลับกัน ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันสูงมาก จนทำให้ได้อัตราผลตอบแทนจากปันผล น้อยจนไม่คุ้มค่าแล้ว ราคาก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดลง
.
ดังนั้น ในระยะยาวแล้ว คนในตลาดก็จะเห็นสิ่งนี้ และราคาหุ้นก็จะปรับตัวเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงเสมอ และแม้ว่าคุณจะรอมาสักพักแล้ว แต่ราคายังไม่สะท้อนสิ่งที่ควรเป็น แต่ถ้าคุณซื้อหุ้นในราคาที่เหมาะสม คุณก็จะยังได้ "ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่คุ้มค่า" อยู่ดีครับ แค่รอต่อไปจนราคาปรับตัวจนสะท้อนผลประกอบการ
.
"เจ้ามือที่แท้จริงของหุ้นคือผลประกอบการ"
-พี่โจ ลูกอีสาน
.
2. จะแน่ใจได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าถูก?
ไม่ต้องห่วงครับ คุณไม่มีทางประเมินมูลค่าได้ถูกต้อง 100% แน่นอน! 555+
เพราะการประเมินมูลค่ามันอาศัยการคาดการณ์ในอนาคต เป็นหลัก ซึ่งไม่มีใครทำนายได้แม่นยำ มันจึงเป็นทั้ง "ศาสตร์และศิลป์" ที่แต่ละปัจเจกบุคคลประเมินค่าออกมาได้ไม่เท่ากัน
.
อย่างไรก็ตามนั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะไม่ประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะแม้ว่าคุณจะประเมินได้ไม่ถูกต้อง แต่การประเมินได้ใกล้เคียง มีแนวโน้มที่ถูกทาง ผ่านสมมติฐานที่พอจะเป็นไปได้ นั่นก็อาจจะเพียงพอแล้ว ในการใช้เป็นเข็มทิศในการตัดสินใจลงทุน และยิ่งคุณเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ก็จะยิ่งทำให้คุณสามารถคาดการณ์บริษัทได้ดีมากขึ้นครับ
.
ส่วนตัวผมไม่ได้ประเมินมูลค่าออกมาเป็นค่าคงที่เป๊ะๆครับ แค่ประเมินเป็นกรอบราคาว่า ช่วงระดับราคานี้ "ถูก" / ระดับราคานี้ "เหมาะสม" / ระดับราคานี้ "แพง" เป็นต้น
.
ในด้าน Model ในการประเมินที่หลากหลาย ควรจะเลือกใช้ตัวไหน ส่วนตัวผมคิดว่าอยู่ที่คุณคาดหวังอะไรจากหุ้นตัวนั้น เช่น คาดหวังกำไรก็ใช้ P/E คาดหวังเงินปันผลก็ใช้ Dividend yield หรือคาดหวังผลตอบแทนจากการขายสินทรัพย์ก็ใช้ NAV เป็นต้น
.
ส่วนตัวผมก็มักจะใช้ Model ง่ายๆบ้านๆแบบ P/E หรือ PEG นี่แหละ ตรงไปตรงมาดี ส่วนถ้าใครถนัดวิธีอื่นๆ ศึกษามาดีแล้วและเข้าใจมากกว่าก็สามารถทำได้เลยครับ ไม่ต้องกลัวผิด เพราะมันเป็นเรื่องของ "ศิลปะ"
.
3. ถ้าเล่นเก็งกำไรระยะสั้น จำเป็นต้องประเมินมูลค่ามั้ย?
ก่อนจะตอบคำถามนี้ ผมขอให้คุณลองถามตัวเองอีกครั้งว่า มั่นใจแค่ไหนว่าคุณจะถือหุ้น "ระยะสั้น" ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณเป็น Trader มืออาชีพจริงๆ คุณ "ไม่จำเป็นต้องประเมินมูลค่า" ครับ เพราะในระยะสั้นราคามักจะไม่สะท้อนผลประกอบการของบริษัทหรอก เสียเวลาประเมินเปล่าๆ
.
อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญสำหรับ Trader ตัวจริง คือ คุณต้องมีวินัยและการตัดสินใจที่รวดเร็วใน การซื้อเมื่อถึงจุดที่มีสัญญาณซื้อ และขายเมื่อมีสัญญาณขาย พร้อมที่จะ Cut loss เสมอ หากตัดสินใจผิด ตามวิถีของนัก Technical
.
ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า "การประเมินมูลค่า" ไม่ได้ทำให้คุณได้ผลตอบแทนมากมายในเวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณเจอหุ้น D (ชื่อสมมติ) ที่มีผลประกอบการที่ดีมากในปีนี้ แต่คุณอาจจะประเมินแล้วว่าราคาสูงกว่ามูลค่าพื้นฐาน คุณก็จะไม่ซื้อ...ซึ่งในระยะสั้นราคามันอาจจะสูงขึ้นไปได้อีกมากเป็นหลายๆเด้งในเวลาอันสั้นจากการเก็งกำไร จนคนที่ซื้อไปก่อนได้กำไรมหาศาล! ... แต่นั่นก็ไม่ใช่การทำกำไรในวิถี VI
.
ในทางกลับกัน ถ้าคุณเข้าซื้อหุ้น D (ชื่อสมมติ) ด้วยการเก็งกำไร แล้วจู่ๆราคาหุ้นก็ตกลงมา Trader ตัวจริงจะ Cut loss ทันที เมื่อมีสัญญาณขาย แต่ถ้าคุณไม่ใช่ Trader ตัวจริงล่ะ...
.
เรื่องน่ากลัวอย่างหนึ่งของตลาดหุ้น คือ หลายๆคน เวลาซื้อหุ้น แล้วราคาขึ้น เรามักจะเป็นนักเก็งกำไร...แต่เวลาซื้อแล้วราคาตก กลับจะเปลี่ยนตัวเองเป็น VI (ถือยาว ไม่ขายไม่ขาดทุน ว้าว!)
.
ถ้าเจอหุ้นตกแล้ว คุณคิดจะถือหุ้นยาว อย่างเชื่อมั่นว่าราคามันจะกลับมาได้ ทั้งๆที่คุณอาจจะไม่เคยประเมินมูลค่ามันเลย...นี่เป็นเรื่องอันตรายมากๆครับ!
.
ดังนั้น สำหรับนักลงทุน VI แล้วการประเมินมูลค่าจำเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องทำเสมอก่อนตัดสินใจลงทุนครับ เพราะ การประเมินมูลค่าหุ้น จะทำให้คุณตัดสินใจได้ถูกต้องตามเหตุและผล โดย ยังคงถือหุ้นเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า และขายหุ้นเมื่อราคาสูงกว่ามูลค่าหรือขายเมื่อคุณประเมินมูลค่าผิด ซึ่งมักจะ "ไม่ทำให้คุณเจ็บตัวมาก"
.
"Price is what you pay; Value is what you get"
-Warren Buffett
.
ทั้งหมดเป็นแค่มุมมองของผมเพียงคนเดียว อาจจะถูกบ้างผิดบ้างนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ comment มาคุยกันได้เลยนะครับ : )
Writer: Pocket investor