คำแนะนำเรื่องลงทุน จาก อจ ชาย มโนภาส
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 26, 2021 1:52 pm
คำถามที่ผมมักได้รับเป็นประจำเวลาพบปะเพื่อนๆนักลงทุนคือ “โอกาสในการลงทุน ยังมีอยู่ไหม หรือว่าอยู่ในอุตสาหกรรมใด” ผมเลยอยากจะขอตอบแบบสรุป โดยไม่ขอทำการชี้เฉพาะเจาะจง แต่ขอตอบแบบแนวคิดกว้างๆว่าเราจะเจอโอกาสในการลงทุนได้อย่างไร
1) ตามกระแสคนส่วนใหญ่ หรือที่เรียกว่า เฮโลตามไปกับฝูงชน แต่ไม่ใช่เฮโลไปแบบไม่ยั้งคิด แบบนี้เป็นแบบแรกที่ผมคิดว่าง่ายที่สุด แต่เราต้องเลือกเฉพาะกระแสที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน ไม่ใช่แบบเงินบาทอ่อนลงมา 0.25 ในหนึ่งวันแล้วเข้าซื้อหุ้นส่งออก แบบนี้มันตื้นเขินเกินไป และ ต้องเฮแบบมีกึ๋น คือต้องเห็นการเฮโลของฝูงชน ตั้งแต่ก่อตัวขึ้นใหม่ๆ แต่ขอย้ำว่ากระแสนั้นเราต้อง verify แล้วว่า จะเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานจริง เช่น commodity boom ช่วง 2000-2007 หรือ Tech boom ในช่วง 1995-2000
2) หาหุ้นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ ... แน่นอนครับ ว่าไม่ใช่แค่เพียง “คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ” เพราะ หลายกรณี หุ้นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจนั้น กิจการก็แย่จริงๆ ไม่ควรเข้าไปลงทุน แต่เราต้องหา หุ้นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ แต่เริ่มมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ หุ้นพวกนี้บางที ในอดีตเคยมี market cap ใหญ่พอสมควร แต่เพราะปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไป ทำให้ กำไรลดลงมหาศาล ทำให้ market cap ลดลงไปมาก เหลือเพียง 10-30% ของตอน peak ทำให้กองทุนไม่สนใจ รายใหญ่ไม่อยากเข้า ข่าวพัฒนาการที่ดีขึ้นของบริษัท มักไม่มีในหนังสือพิมพ์ บางทีส่งข่าวมาทางตลาดหลักทรัพย์อย่างเงียบๆ ไม่มีใครเอาไปขยายความต่อ แต่หนทางนี้นักลงทุนจะรู้สึกโดดเดียวมากตอนซื้อ มันวังเวงเหมือนเดินในซอยเปลี่ยวตอนดึก แต่ไม่ต้องห่วง ถ้ากิจการพลิกฟื้นจริง อีกไม่นานคุณจะมีเพื่อนฝูงเต็มไปหมด
3) อันนี้น่าจะโหดสุด คือยากที่สุด คือเราหาว่าคนส่วนใหญ่กำลังเชื่อในเรื่องอะไร แล้วเราเข้าไปหาจุดอ่อนในความเชื่อนั้น จนเจอว่า คนส่วนใหญ่กำลังเชื่อในสิ่งที่ผิด หรือ จริงๆแล้วมันไม่ได้แย่ขนาดนั้น เรียกว่าการลงทุนแบบนี้ สวนกระแสเต็มๆ ซึ่ง concept การลงทุนแบบนี้ เป็นพื้นฐานของผู้ที่ต้องการเป็น short sellers ทั้งหลาย เช่น การซื้อหุ้น Oil & Gas ตอนกลางปีที่แล้ว ในขณะที่กระแส EV กำลังกระหึ่มทุกหย่อมหญ้า มาพร้อมกับเรื่อง pandemic ที่ทำให้การใช้น้ำมันลดลงชั่วคราว
4) ศึกษาเจาะลึกในหุ้นที่ดูเหมือนแพงแต่มีคุณค่ามหาศาลซ่อนอยู่ หุ้นบางตัว ถ้าเราพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียว เราจะไม่กล้าลงทุน แต่หุ้นพวกนี้ บางตัว ดูแพงเนื่องจากมาตรฐารบัญชี ทำให้ตัวเลขออกมาดูแพง บริษัทยุคใหม่ หลายๆบริษัท สินทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจเป็น intangible assets ซะส่วนมาก แต่สิ่งเหล่านี้ กลับไม่สะท้อนใน balance sheet หรือบริษัทที่มีรายได้จากการบอกรับสมาชิก ก็ไม่สามารถนำค่าสมาชิกระยะยาวมาลงเป็นรายได้ได้ทันที แต่ต้องตั้งไว้ในฝั่งหนี้สินว่าเป็น deferred revenue อีกทั้งบริษัทที่ brands มีมูลค่าสูงคนสามารถขาย license หรือ franchise ได้ ก็เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ไม่ได้แสดงในงบการเงินใดๆ
ผมเชื่อว่านักลงทุนผู้มุ่งมั่นและขยันหาความรู้ จะสามารถหาโอกาสในการลงทุนได้อยู่เสมอ ไม่ต้องกลัวตกลง ไม่ต้อง FOMO (fear of missing out) เมื่อความรู้ถึง โอกาสก็จะมาปรากฎให้เห็นอยู่เสมอ
1) ตามกระแสคนส่วนใหญ่ หรือที่เรียกว่า เฮโลตามไปกับฝูงชน แต่ไม่ใช่เฮโลไปแบบไม่ยั้งคิด แบบนี้เป็นแบบแรกที่ผมคิดว่าง่ายที่สุด แต่เราต้องเลือกเฉพาะกระแสที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนาน ไม่ใช่แบบเงินบาทอ่อนลงมา 0.25 ในหนึ่งวันแล้วเข้าซื้อหุ้นส่งออก แบบนี้มันตื้นเขินเกินไป และ ต้องเฮแบบมีกึ๋น คือต้องเห็นการเฮโลของฝูงชน ตั้งแต่ก่อตัวขึ้นใหม่ๆ แต่ขอย้ำว่ากระแสนั้นเราต้อง verify แล้วว่า จะเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานจริง เช่น commodity boom ช่วง 2000-2007 หรือ Tech boom ในช่วง 1995-2000
2) หาหุ้นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ ... แน่นอนครับ ว่าไม่ใช่แค่เพียง “คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ” เพราะ หลายกรณี หุ้นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจนั้น กิจการก็แย่จริงๆ ไม่ควรเข้าไปลงทุน แต่เราต้องหา หุ้นที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ แต่เริ่มมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ หุ้นพวกนี้บางที ในอดีตเคยมี market cap ใหญ่พอสมควร แต่เพราะปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนไป ทำให้ กำไรลดลงมหาศาล ทำให้ market cap ลดลงไปมาก เหลือเพียง 10-30% ของตอน peak ทำให้กองทุนไม่สนใจ รายใหญ่ไม่อยากเข้า ข่าวพัฒนาการที่ดีขึ้นของบริษัท มักไม่มีในหนังสือพิมพ์ บางทีส่งข่าวมาทางตลาดหลักทรัพย์อย่างเงียบๆ ไม่มีใครเอาไปขยายความต่อ แต่หนทางนี้นักลงทุนจะรู้สึกโดดเดียวมากตอนซื้อ มันวังเวงเหมือนเดินในซอยเปลี่ยวตอนดึก แต่ไม่ต้องห่วง ถ้ากิจการพลิกฟื้นจริง อีกไม่นานคุณจะมีเพื่อนฝูงเต็มไปหมด
3) อันนี้น่าจะโหดสุด คือยากที่สุด คือเราหาว่าคนส่วนใหญ่กำลังเชื่อในเรื่องอะไร แล้วเราเข้าไปหาจุดอ่อนในความเชื่อนั้น จนเจอว่า คนส่วนใหญ่กำลังเชื่อในสิ่งที่ผิด หรือ จริงๆแล้วมันไม่ได้แย่ขนาดนั้น เรียกว่าการลงทุนแบบนี้ สวนกระแสเต็มๆ ซึ่ง concept การลงทุนแบบนี้ เป็นพื้นฐานของผู้ที่ต้องการเป็น short sellers ทั้งหลาย เช่น การซื้อหุ้น Oil & Gas ตอนกลางปีที่แล้ว ในขณะที่กระแส EV กำลังกระหึ่มทุกหย่อมหญ้า มาพร้อมกับเรื่อง pandemic ที่ทำให้การใช้น้ำมันลดลงชั่วคราว
4) ศึกษาเจาะลึกในหุ้นที่ดูเหมือนแพงแต่มีคุณค่ามหาศาลซ่อนอยู่ หุ้นบางตัว ถ้าเราพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียว เราจะไม่กล้าลงทุน แต่หุ้นพวกนี้ บางตัว ดูแพงเนื่องจากมาตรฐารบัญชี ทำให้ตัวเลขออกมาดูแพง บริษัทยุคใหม่ หลายๆบริษัท สินทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจเป็น intangible assets ซะส่วนมาก แต่สิ่งเหล่านี้ กลับไม่สะท้อนใน balance sheet หรือบริษัทที่มีรายได้จากการบอกรับสมาชิก ก็ไม่สามารถนำค่าสมาชิกระยะยาวมาลงเป็นรายได้ได้ทันที แต่ต้องตั้งไว้ในฝั่งหนี้สินว่าเป็น deferred revenue อีกทั้งบริษัทที่ brands มีมูลค่าสูงคนสามารถขาย license หรือ franchise ได้ ก็เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ ไม่ได้แสดงในงบการเงินใดๆ
ผมเชื่อว่านักลงทุนผู้มุ่งมั่นและขยันหาความรู้ จะสามารถหาโอกาสในการลงทุนได้อยู่เสมอ ไม่ต้องกลัวตกลง ไม่ต้อง FOMO (fear of missing out) เมื่อความรู้ถึง โอกาสก็จะมาปรากฎให้เห็นอยู่เสมอ