ที่พึ่งทางใจของการลงทุนหุ้นเทคที่ขาดทุน
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 12, 2021 12:25 pm
พอดีผมพึ่งเรียนและสอบ Final หลักสูตร Advanced Valuation ของ NYU จบ เหลือแค่ทำ Project ส่ง แล้วพอดีเห็นหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนช่วงที่ผ่านมาตกลงอย่างหนัก เลยอยากแวะเข้ามาแชร์ความรู้ที่ได้จากการเรียนกับอาจารย์ Damodaran นิดนึง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังเครียด หรือต้องการที่พึ่งทางใจในจังหวะที่เหมือนจะคับขันในขณะนี้ (เอาไว้มีเวลาว่างๆ จะเข้ามารีวิวหลักสูตรอีกทีนะครับ)
1. การลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน ช่วงที่ Drawdown มันจะลงได้หนักขนาดนี้แหละครับ เป็นมาตั้งแต่ในอดีต และจะเป็นต่อไปในอนาคต ดังนั้น นี่ คือ สิ่งที่คุณต้องทำใจเอาไว้เลย ถึงแม้คุณจะถือหุ้นระดับเทพอย่าง Amazon คุณต้องทนการ Drawdown ในระดับที่เกินกว่า 40% มากกว่า 7 ครั้ง กว่าจะรวย https://theirrelevantinvestor.com/2017/ ... xt-amazon/ 2. ด้วยเหตุนี้ ตอนที่ผมตัดสินใจจะเริ่มต้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน ผมถึงวุ่นวายมากกับการที่จะหาที่พึ่งทางใจ ซึ่งหลังจากศึกษาอย่างหนัก ข้อสรุปที่อาจจะเป็นประโยชน์ คือ
2.1) ผมจะลงทุนในกิจการที่มันดี มันเจ๋งจริงๆ และพร้อมที่จะเจอกับการ Drawdown ในระดับ 50%
2.2) ผมเห็นกำไรที่ซ่อนอยู่ที่นักลงทุนคนอื่นมองไม่เห็น ไม่ว่าจะซ่อนอยู่จากความผิดพลาดของการบัญชีในปัจจุบัน หรือ กำไรที่ผมมั่นใจมากๆ ว่ามันจะมาแน่ๆ ในอนาคต (เดี๋ยวจะอธิบายต่อ)
2.3) ผมจะใช้ Intrinsic Valuation ไม่ใช่ Relative Valuation เพราะ ปัญหาของ Relative Valuation คือ เรามีสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาว่าตลาดโดยรวมถูก แต่อาจจะผิดในหุ้นรายตัว ซึ่งในสถานการณ์ที่เกิด Sector Rotation ขึ้นมาและมีการย้ายกลุ่มเล่น จะเกิดการ Downgrade Multiple ทั้ง Sector ขึ้น (อย่างในช่วงนี้) สุดท้ายมูลค่าที่ประเมินได้จาก Relative Valuation จะแกว่งมากกว่า Intrinsic Valuation และไม่มีจุดยึดเหนี่ยวที่จะเป็นสมอเรือที่ยึดเอาไว้ไม่ให้เรือโคลงเคลง การใช้ Relative Valuation กับหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนจะทำให้คุณหาที่พึ่งทางใจได้ยากมาก
2.4) ผมจะซื้อกิจการนั้นๆ ในราคาที่ถูกมากเพียงพอเมื่อเทียบกับ Intrinsic Value (ถ้าเป็นไปได้จะซื้อที่ราคาต่ำกว่า Percentile ที่ 20 จากการทำ Monte Carlo Simulation) ทั้งนี้แม้ว่า Intrinsic Value อาจจะไม่ได้เป็นสมอเรือที่แข็งแรงมาก หรือ เป๊ะนัก แต่ก็ดีกว่าการที่คุณเอาเรือของคุณไปผูกกับเรือลำอื่นๆ แล้วคิดว่าคุณเป็นกองทัพเรือที่แข็งแรง แต่อาจจะโดนพายุพัดคว่ำหมดได้ทั้งกอง
2.5) ผมจำเป็นต้องศึกษา พัฒนา สร้างความเชื่อและศรัทธาให้ได้ว่าสุดท้ายแล้ว ราคาจะเข้าสู่มูลค่าในระยะยาว (จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผมต้องไปลงเรียน Advanced Valuation กับ NYU) และผมมีระยะเวลาที่ยาวนานพอ ที่จะถือในระยะยาว
2.6) ผมจะกระจายการลงทุน ไปในหุ้นที่ Under Value หลายๆ ตัว ไม่ได้อัดหนักๆ เพียง 1-2 ตัว เพราะ ระหว่างการประเมินมูลค่า ผมรู้ว่ามันมีความไม่แน่นอนอะไรหลายๆ อย่าง ในสมมติฐาน (มากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่กิจการ) การกระจายการลงทุนออกไปสัก 5-10 ตัว จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการประเมินมูลค่าได้ อาจารย์สอนผมว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะได้กำไรมากๆ จากหุ้นบางตัว ในขณะที่อาจจะแพ้ตลาดจากหุ้นหลายๆ ตัว แต่โดยรวมแล้วเราควรจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด
3. หุ้นเทคที่ขาดทุน ลงทุนยาก เพราะ ในทางบัญชีมันโชว์ขาดทุนอยู่ แต่จริงๆ แล้วมันอาจจะมีกำไรซ่อนอยู่ หรืออาจจะมีกำไรมหาศาลโผล่มาในอนาคต คุณต้องหาตรงนี้ให้เจอในหุ้นที่คุณถือ ถ้าคุณเจอ มันจะเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญในการลงทุน กำไรที่คุณต้องลองขุด ลองหา คือ
3.1) กฎเกณฑ์ทางบัญชีในปัจจุบันเป็นกฎที่ถูกสร้างขึ้นมานานแล้ว ทำให้มาตรฐานการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แต่จะตีการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ อย่างการวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือ การลงทุนที่ใช้ในการสร้างฐานลูกค้า (CAC) เป็นค่าใช้จ่ายที่ตัดจ่ายในไตรมาสทั้งหมด ทั้งๆ ที่ประโยชน์ของการลงทุนเหล่านี้มีผลต่อกิจการไปหลายปี แต่ทางบัญชีกลับตัดจ่ายครั้งเดียวในไตรมาส จึงทำให้งบของหุ้นเหล่านี้ขาดทุน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว หากเราทำการ Capitalize งบเหล่านี้และตัดจ่ายอย่างถูกต้อง จริงๆ แล้วบริษัทเหล่านี้อาจจะกำไรอยู่ หรือกำไรมากๆ ก็ได้ (ลองอ่าน The End of Accounting and the Path Forward for Investors and Managers ดูนะครับ)
3.2) หากปรับ R&D และ CAC แล้ว ยังเห็นว่ายังขาดทุนอยู่ ให้พิจารณาต่อว่าหุ้นเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วง Scale Up อยู่หรือเปล่า หาก Scale ขึ้นไปแล้ว Operating Leverage ที่เกิดจาก Fixed Cost จะถูกเกลี่ยออกไปแล้ว โครงสร้างรายได้และกำไรต่อหน่วย (Unit Economic) ควรที่จะเป็นอย่างไร กิจการมีกำไรจริงๆ ที่น่าจะทำได้สักเท่าไร
3.3) ถ้าทำสองข้อก่อนหน้าแล้วยังหากำไรไม่เจอ ผมคิดว่ากิจการอาจจะอยู่ในช่วงหา Product Market Fit หรือหาวิธีการ Monetize ฐานลูกค้าอะไรสักอย่างอยู่ อันนี้คงจะเหนื่อยหน่อย เพราะ คุณต้องมีความเชื่อและศรัทธาในตัว Product และ Founder อย่างลึกซึ้ง อารมณ์ประมาณตอนที่ Elon Musk ทำโรงงานผลิต Model 3 แล้วมีปัญหาจำเป็นต้องล้มสายการผลิตหุ่นยนต์อัตโนมัติสร้างขึ้นมาทั้งหมด แล้วตั้งเต็นท์จ้างคนมาประกอบมือ แถมผู้บริหารตบเท้าลาออก ไปทะเลาะกับ SEC และสติแตกกับนักวิเคราะห์ (จนทำให้ Elon พยายามขายกิจการ หาผู้ร่วมทุนแทบตาย แต่ก็หาไม่ได้) นี่เป็นตัวอย่างของการต้องใช้ศรัทธาขั้นสุด ต้องใจมากๆ ที่จะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วกำไรจะมา (ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมทนไม่ไหวขายหมูหุ้น TSLA ให้กับอาจารย์ Damodaran ที่เชื่อและทำ Valuation ได้ดีกว่า ฮาฮา)
4. เมื่อคุณหากำไรที่ทางบัญชีซ่อนอยู่เจอ คุณจะเจอ Base Year ที่ดูดีงามมากขึ้น และถ้าคุณหา Unit Economic เจอ คุณจะพอเดาได้ว่า เมื่อกิจการโตแล้วมันจะทำกำไรได้ขนาดนั้น กำไรและกระแสเงินสดเท่านั้น ที่จะทำให้คุณพอจะหาที่ยึดเหนี่ยวได้ และถึงแม้ว่าคุณจะใช้ P/S หรือ EV/S จุดสำคัญของ Multiple นี้ คือ คุณต้องหา อัตราการทำกำไรให้เจอ ถ้าคุณหาอัตรากำไรไม่เจอ คุณจะงงมากว่าทำไมหุ้นตัวนี้ P/S ถึงสูง หุ้นตัวนี้ P/S ถึงต่ำ ซึ่งการจะหาอัตรากำไรเจอได้นั้น คุณต้องเข้าใจ Product เข้าใจ ขนาดตลาด และสภาพการแข่งขันของ Product นั้นในระดับหนึ่ง
5. ถ้าคุณหากำไรเจอแล้ว คุณลองทำ DCF เพื่อหา Intrinsic Value ดูเถอะครับ เอาจริงๆ มันไม่ได้ยากในการทำเลย ผมใช่ Base Year ของรายได้ กำไรเข้าไป ใส่สมมติฐานการเติบโต และเงินลงทุนที่ใช้ในการเติบโต ใส่อัตราดอกเบี้ยที่ใช้คิดลด ใส่แค่ 3 เรื่อง ค่าก็ออกมาแล้ว สิ่งที่ยาก คือ จะเอาอะไรใส่เข้าไปมากกว่า การจะทำความเข้าใจว่าจะดึงเอาตัวเลขไหนมาใส่ ต้องปรับค่าอะไรไหม ก่อนจะใช้เป็น Base Year การเติบโตในธุรกิจลักษณะนี้ควรเป็นอย่างไร ต้องใช้เงินลงทุนแบบไหน เท่าไรถึงจะโตได้ขนาดนี้ และจะโตไปได้ขนาดไหน ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยที่ใช้คิดลดจะใช้ตัวเลขไหน อันนี้ต่างหากที่อาจจะยากหน่อย ซึ่งตรงนี้ อาจารย์ Damodaran มีคำตอบให้คุณ มีทำข้อมูล Excel ทุกอย่างพร้อมให้คุณเอาไปใช้ ถ้าเรายิ่งศึกษา ยิ่งทำบ่อย จะยิ่งรู้สึกโอเค มั่นใจมากขึ้น เวลาเกิดเหตุการณ์หุ้นตกหนักๆ อย่างในช่วงนี้ คุณจะรู้สึกมั่นคงมากๆ ถ้าฐานของคุณแข็งแรงแล้ว
6. ถ้าคุณอ่านแล้วคุณรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวคุณ หรือยากเกินไปที่จะทำ บางทีการเปลี่ยนไปหาเงินวิธีการอื่น ที่สบายใจ สบายตัวมากกว่า อาจจะดีกว่ามาทนฝืนๆ ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนก็ได้นะครับ ถ้าคุณเป็น Trader คุณไม่ควรมาเสียเวลากับทางสายนี้ เอาเวลาไปเล่น Crypto ดีกว่า ถ้าคุณเป็น Relative Value Investor คุณหมุนไปเล่น Sector อื่นที่ Pricing ดู Attractive มากกว่าก็ได้ บางทีการถอย การหนี การเปลี่ยนแผน อาจจะได้ความสุขมากกว่าการมาหาที่พึ่งทางใจทนถือหุ้นยากๆ พรรค์นี้ก็ได้นะครับ (แต่ถ้าคนถอดใจกันเยอะๆ ก็ช่วยบอกผมหน่อยนะครับ ผมจะได้รู้ว่า Bottom ผ่านไปแล้วหรือยัง อิอิ)
อันนี้เป็นความคิดเห็นสั้นๆ เอาไว้มีโอกาสจะมารีวิวหลักสูตรที่ผมไปเรียนให้อ่านอีกทีนะครับ ตอนนี้ขอตัวไปทำ Project ส่งอาจารย์ก่อน
ปล. ใน Slide สุดท้ายที่อาจารย์สอนผม อาจารย์บอกว่า ในการเล่นหุ้นให้ได้กำไรเยอะๆ อาจารย์คิดว่า “โชค” มีความสำคัญมากกว่าความขยันและความสามารถ การที่คุณลงแรงศึกษา ทุ่มเท ใช้เวลากับการฝึกทำอะไรยากๆ แบบนี้ อาจเล่นหุ้นได้กำไรสู้คนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ขยันอะไร แต่โชคดีก็ได้ ซึ่งอาจารย์เห็นและเจอมาเยอะแล้ว ดังนั้นหากคุณจะมาเส้นทางนี้ สิ่งที่คุณควรจะคาดหวังต้องไม่ใช่การได้กำไรเยอะๆ แต่เป็นความสุขใจที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ควรคาดหวังแค่ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด แต่อย่าหวังรวยเร็ว รวยแรง
ผมเชื่อว่าหากคุณสามารถหาความเชื่อและศรัทธาในวิธีการลงทุนแบบนี้ได้ ผมเชื่อว่าคุณจะสามารถลงทุนได้อย่างมีความสุข นอนหลับ แม้จะเป็นวันที่หุ้นลงมากกว่า 50%
1. การลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน ช่วงที่ Drawdown มันจะลงได้หนักขนาดนี้แหละครับ เป็นมาตั้งแต่ในอดีต และจะเป็นต่อไปในอนาคต ดังนั้น นี่ คือ สิ่งที่คุณต้องทำใจเอาไว้เลย ถึงแม้คุณจะถือหุ้นระดับเทพอย่าง Amazon คุณต้องทนการ Drawdown ในระดับที่เกินกว่า 40% มากกว่า 7 ครั้ง กว่าจะรวย https://theirrelevantinvestor.com/2017/ ... xt-amazon/ 2. ด้วยเหตุนี้ ตอนที่ผมตัดสินใจจะเริ่มต้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน ผมถึงวุ่นวายมากกับการที่จะหาที่พึ่งทางใจ ซึ่งหลังจากศึกษาอย่างหนัก ข้อสรุปที่อาจจะเป็นประโยชน์ คือ
2.1) ผมจะลงทุนในกิจการที่มันดี มันเจ๋งจริงๆ และพร้อมที่จะเจอกับการ Drawdown ในระดับ 50%
2.2) ผมเห็นกำไรที่ซ่อนอยู่ที่นักลงทุนคนอื่นมองไม่เห็น ไม่ว่าจะซ่อนอยู่จากความผิดพลาดของการบัญชีในปัจจุบัน หรือ กำไรที่ผมมั่นใจมากๆ ว่ามันจะมาแน่ๆ ในอนาคต (เดี๋ยวจะอธิบายต่อ)
2.3) ผมจะใช้ Intrinsic Valuation ไม่ใช่ Relative Valuation เพราะ ปัญหาของ Relative Valuation คือ เรามีสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาว่าตลาดโดยรวมถูก แต่อาจจะผิดในหุ้นรายตัว ซึ่งในสถานการณ์ที่เกิด Sector Rotation ขึ้นมาและมีการย้ายกลุ่มเล่น จะเกิดการ Downgrade Multiple ทั้ง Sector ขึ้น (อย่างในช่วงนี้) สุดท้ายมูลค่าที่ประเมินได้จาก Relative Valuation จะแกว่งมากกว่า Intrinsic Valuation และไม่มีจุดยึดเหนี่ยวที่จะเป็นสมอเรือที่ยึดเอาไว้ไม่ให้เรือโคลงเคลง การใช้ Relative Valuation กับหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนจะทำให้คุณหาที่พึ่งทางใจได้ยากมาก
2.4) ผมจะซื้อกิจการนั้นๆ ในราคาที่ถูกมากเพียงพอเมื่อเทียบกับ Intrinsic Value (ถ้าเป็นไปได้จะซื้อที่ราคาต่ำกว่า Percentile ที่ 20 จากการทำ Monte Carlo Simulation) ทั้งนี้แม้ว่า Intrinsic Value อาจจะไม่ได้เป็นสมอเรือที่แข็งแรงมาก หรือ เป๊ะนัก แต่ก็ดีกว่าการที่คุณเอาเรือของคุณไปผูกกับเรือลำอื่นๆ แล้วคิดว่าคุณเป็นกองทัพเรือที่แข็งแรง แต่อาจจะโดนพายุพัดคว่ำหมดได้ทั้งกอง
2.5) ผมจำเป็นต้องศึกษา พัฒนา สร้างความเชื่อและศรัทธาให้ได้ว่าสุดท้ายแล้ว ราคาจะเข้าสู่มูลค่าในระยะยาว (จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผมต้องไปลงเรียน Advanced Valuation กับ NYU) และผมมีระยะเวลาที่ยาวนานพอ ที่จะถือในระยะยาว
2.6) ผมจะกระจายการลงทุน ไปในหุ้นที่ Under Value หลายๆ ตัว ไม่ได้อัดหนักๆ เพียง 1-2 ตัว เพราะ ระหว่างการประเมินมูลค่า ผมรู้ว่ามันมีความไม่แน่นอนอะไรหลายๆ อย่าง ในสมมติฐาน (มากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่กิจการ) การกระจายการลงทุนออกไปสัก 5-10 ตัว จะช่วยกระจายความเสี่ยงในการประเมินมูลค่าได้ อาจารย์สอนผมว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะได้กำไรมากๆ จากหุ้นบางตัว ในขณะที่อาจจะแพ้ตลาดจากหุ้นหลายๆ ตัว แต่โดยรวมแล้วเราควรจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด
3. หุ้นเทคที่ขาดทุน ลงทุนยาก เพราะ ในทางบัญชีมันโชว์ขาดทุนอยู่ แต่จริงๆ แล้วมันอาจจะมีกำไรซ่อนอยู่ หรืออาจจะมีกำไรมหาศาลโผล่มาในอนาคต คุณต้องหาตรงนี้ให้เจอในหุ้นที่คุณถือ ถ้าคุณเจอ มันจะเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญในการลงทุน กำไรที่คุณต้องลองขุด ลองหา คือ
3.1) กฎเกณฑ์ทางบัญชีในปัจจุบันเป็นกฎที่ถูกสร้างขึ้นมานานแล้ว ทำให้มาตรฐานการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แต่จะตีการลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ อย่างการวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือ การลงทุนที่ใช้ในการสร้างฐานลูกค้า (CAC) เป็นค่าใช้จ่ายที่ตัดจ่ายในไตรมาสทั้งหมด ทั้งๆ ที่ประโยชน์ของการลงทุนเหล่านี้มีผลต่อกิจการไปหลายปี แต่ทางบัญชีกลับตัดจ่ายครั้งเดียวในไตรมาส จึงทำให้งบของหุ้นเหล่านี้ขาดทุน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว หากเราทำการ Capitalize งบเหล่านี้และตัดจ่ายอย่างถูกต้อง จริงๆ แล้วบริษัทเหล่านี้อาจจะกำไรอยู่ หรือกำไรมากๆ ก็ได้ (ลองอ่าน The End of Accounting and the Path Forward for Investors and Managers ดูนะครับ)
3.2) หากปรับ R&D และ CAC แล้ว ยังเห็นว่ายังขาดทุนอยู่ ให้พิจารณาต่อว่าหุ้นเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วง Scale Up อยู่หรือเปล่า หาก Scale ขึ้นไปแล้ว Operating Leverage ที่เกิดจาก Fixed Cost จะถูกเกลี่ยออกไปแล้ว โครงสร้างรายได้และกำไรต่อหน่วย (Unit Economic) ควรที่จะเป็นอย่างไร กิจการมีกำไรจริงๆ ที่น่าจะทำได้สักเท่าไร
3.3) ถ้าทำสองข้อก่อนหน้าแล้วยังหากำไรไม่เจอ ผมคิดว่ากิจการอาจจะอยู่ในช่วงหา Product Market Fit หรือหาวิธีการ Monetize ฐานลูกค้าอะไรสักอย่างอยู่ อันนี้คงจะเหนื่อยหน่อย เพราะ คุณต้องมีความเชื่อและศรัทธาในตัว Product และ Founder อย่างลึกซึ้ง อารมณ์ประมาณตอนที่ Elon Musk ทำโรงงานผลิต Model 3 แล้วมีปัญหาจำเป็นต้องล้มสายการผลิตหุ่นยนต์อัตโนมัติสร้างขึ้นมาทั้งหมด แล้วตั้งเต็นท์จ้างคนมาประกอบมือ แถมผู้บริหารตบเท้าลาออก ไปทะเลาะกับ SEC และสติแตกกับนักวิเคราะห์ (จนทำให้ Elon พยายามขายกิจการ หาผู้ร่วมทุนแทบตาย แต่ก็หาไม่ได้) นี่เป็นตัวอย่างของการต้องใช้ศรัทธาขั้นสุด ต้องใจมากๆ ที่จะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วกำไรจะมา (ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมทนไม่ไหวขายหมูหุ้น TSLA ให้กับอาจารย์ Damodaran ที่เชื่อและทำ Valuation ได้ดีกว่า ฮาฮา)
4. เมื่อคุณหากำไรที่ทางบัญชีซ่อนอยู่เจอ คุณจะเจอ Base Year ที่ดูดีงามมากขึ้น และถ้าคุณหา Unit Economic เจอ คุณจะพอเดาได้ว่า เมื่อกิจการโตแล้วมันจะทำกำไรได้ขนาดนั้น กำไรและกระแสเงินสดเท่านั้น ที่จะทำให้คุณพอจะหาที่ยึดเหนี่ยวได้ และถึงแม้ว่าคุณจะใช้ P/S หรือ EV/S จุดสำคัญของ Multiple นี้ คือ คุณต้องหา อัตราการทำกำไรให้เจอ ถ้าคุณหาอัตรากำไรไม่เจอ คุณจะงงมากว่าทำไมหุ้นตัวนี้ P/S ถึงสูง หุ้นตัวนี้ P/S ถึงต่ำ ซึ่งการจะหาอัตรากำไรเจอได้นั้น คุณต้องเข้าใจ Product เข้าใจ ขนาดตลาด และสภาพการแข่งขันของ Product นั้นในระดับหนึ่ง
5. ถ้าคุณหากำไรเจอแล้ว คุณลองทำ DCF เพื่อหา Intrinsic Value ดูเถอะครับ เอาจริงๆ มันไม่ได้ยากในการทำเลย ผมใช่ Base Year ของรายได้ กำไรเข้าไป ใส่สมมติฐานการเติบโต และเงินลงทุนที่ใช้ในการเติบโต ใส่อัตราดอกเบี้ยที่ใช้คิดลด ใส่แค่ 3 เรื่อง ค่าก็ออกมาแล้ว สิ่งที่ยาก คือ จะเอาอะไรใส่เข้าไปมากกว่า การจะทำความเข้าใจว่าจะดึงเอาตัวเลขไหนมาใส่ ต้องปรับค่าอะไรไหม ก่อนจะใช้เป็น Base Year การเติบโตในธุรกิจลักษณะนี้ควรเป็นอย่างไร ต้องใช้เงินลงทุนแบบไหน เท่าไรถึงจะโตได้ขนาดนี้ และจะโตไปได้ขนาดไหน ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยที่ใช้คิดลดจะใช้ตัวเลขไหน อันนี้ต่างหากที่อาจจะยากหน่อย ซึ่งตรงนี้ อาจารย์ Damodaran มีคำตอบให้คุณ มีทำข้อมูล Excel ทุกอย่างพร้อมให้คุณเอาไปใช้ ถ้าเรายิ่งศึกษา ยิ่งทำบ่อย จะยิ่งรู้สึกโอเค มั่นใจมากขึ้น เวลาเกิดเหตุการณ์หุ้นตกหนักๆ อย่างในช่วงนี้ คุณจะรู้สึกมั่นคงมากๆ ถ้าฐานของคุณแข็งแรงแล้ว
6. ถ้าคุณอ่านแล้วคุณรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวคุณ หรือยากเกินไปที่จะทำ บางทีการเปลี่ยนไปหาเงินวิธีการอื่น ที่สบายใจ สบายตัวมากกว่า อาจจะดีกว่ามาทนฝืนๆ ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุนก็ได้นะครับ ถ้าคุณเป็น Trader คุณไม่ควรมาเสียเวลากับทางสายนี้ เอาเวลาไปเล่น Crypto ดีกว่า ถ้าคุณเป็น Relative Value Investor คุณหมุนไปเล่น Sector อื่นที่ Pricing ดู Attractive มากกว่าก็ได้ บางทีการถอย การหนี การเปลี่ยนแผน อาจจะได้ความสุขมากกว่าการมาหาที่พึ่งทางใจทนถือหุ้นยากๆ พรรค์นี้ก็ได้นะครับ (แต่ถ้าคนถอดใจกันเยอะๆ ก็ช่วยบอกผมหน่อยนะครับ ผมจะได้รู้ว่า Bottom ผ่านไปแล้วหรือยัง อิอิ)
อันนี้เป็นความคิดเห็นสั้นๆ เอาไว้มีโอกาสจะมารีวิวหลักสูตรที่ผมไปเรียนให้อ่านอีกทีนะครับ ตอนนี้ขอตัวไปทำ Project ส่งอาจารย์ก่อน
ปล. ใน Slide สุดท้ายที่อาจารย์สอนผม อาจารย์บอกว่า ในการเล่นหุ้นให้ได้กำไรเยอะๆ อาจารย์คิดว่า “โชค” มีความสำคัญมากกว่าความขยันและความสามารถ การที่คุณลงแรงศึกษา ทุ่มเท ใช้เวลากับการฝึกทำอะไรยากๆ แบบนี้ อาจเล่นหุ้นได้กำไรสู้คนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ขยันอะไร แต่โชคดีก็ได้ ซึ่งอาจารย์เห็นและเจอมาเยอะแล้ว ดังนั้นหากคุณจะมาเส้นทางนี้ สิ่งที่คุณควรจะคาดหวังต้องไม่ใช่การได้กำไรเยอะๆ แต่เป็นความสุขใจที่เกิดขึ้นในกระบวนการ ควรคาดหวังแค่ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด แต่อย่าหวังรวยเร็ว รวยแรง
ผมเชื่อว่าหากคุณสามารถหาความเชื่อและศรัทธาในวิธีการลงทุนแบบนี้ได้ ผมเชื่อว่าคุณจะสามารถลงทุนได้อย่างมีความสุข นอนหลับ แม้จะเป็นวันที่หุ้นลงมากกว่า 50%