#อยู่ให้รอดแล้วจึงเติบโต (ตอนที่ 2) #การบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 12, 2021 4:13 pm
#อยู่ให้รอดแล้วจึงเติบโต (ตอนที่ 2)
#การบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
12 มิย. 2564
.
กล่าวโดยสรุป สิ่งที่ผมต้องการบอกในตอนที่แล้วก็คือ
ในขณะที่พยายามทำกำไร ก็ให้บริหารความเสี่ยงไปด้วย
มาก-น้อย ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและสไตล์การลงทุนของเรา
.
สำหรับการที่จะ “ทำกำไรไปด้วย+บริหารความเสี่ยงไปด้วย” นั้น
ผมคิดว่ามีสิ่งสำคัญที่ต้องทำอยู่สองข้อ คือ
.
1) การเลือกเฉพาะโอกาสการลงทุนที่มี “กำไรคาดหวัง” เป็นบวก
กล่าวคือ Upside x probability - Downside x probability > 0
ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี (เรียกว่ามี Margin of Safety สูง)
หรือพูดให้ง่ายก็คือ คิดว่าน่าจะกำไรมากกว่าขาดทุนนั่นแหละครับ
.
2) การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
เพราะถึงแม้ว่าเราจะวิเคราะห์และทำทุกอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม
ก็มีโอกาสที่ผลลัพธ์อาจคลาดเคลื่อนไปจากที่มันควรจะเป็น
แต่หากมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอ
ก็จะช่วยลดผลกระทบต่อพอร์ตโดยรวมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
และอย่าลืมว่าบางครั้งเราก็ตัดสินใจผิดพลาดไปจริงๆ
.
สังเกตว่าเราจะคิดถึงโอกาสขาดทุนด้วย ไม่ใช่คิดแต่ด้านกำไร
และไม่พยายามทำนายในลักษณะว่าอะไรจะเกิด/ไม่เกิด ใช่/ไม่ใช่
แต่จะคิดในลักษณะของความน่าจะเป็น
และคิดเผื่อสำหรับความผิดพลาด/คลาดเคลื่อน
ทั้งที่อาจจะเกิดจากตัวเราเองหรือจากปัจจัยอื่นๆ ด้วยเสมอ
.
บทความชุดนี้ผมจะกล่าวถึงความเสี่ยงในสองระดับ คือ
1) ความเสี่ยงของตลาดหุ้นโดยรวม
2) ความเสี่ยงของหุ้นรายตัว
.
โดยตอนนี้จะเป็นเรื่องของการลดความเสี่ยงของตลาดหุ้นโดยรวม
แล้วตอนต่อไปก็จะเล่าถึงการลดความเสี่ยงในระดับของหุ้นรายตัว
.
สำหรับการลดความเสี่ยงในระดับของ “ตลาดหุ้นโดยรวม” นั้น
สามารถทำได้โดยการ “กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทอื่น”
ซึ่งขอนำเสนอเป็นสี่ขั้นตอน เพื่อเป็นไอเดียสำหรับการนำไปใช้ ดังนี้
.
ขั้นตอนที่ 1
สำรวจดูว่าเรามีความรู้-เข้าใจ-คุ้นเคย กับสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง
.
ขั้นตอนที่ 2
วิเคราะห์ข้อดี/ด้อย ของสินทรัพย์ข้างต้น
แล้ววิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันว่า
เป็นโอกาสหรือความเสี่ยงต่อสินทรัพย์แต่ละประเภทอย่างไร
กำไรคาดหวังเป็นบวก (น่าจะกำไร > ขาดทุน) หรือไม่
เปรียบเทียบกันแล้ว อันไหนน่าลงทุนมากหรือน้อยกว่ากัน
.
เลือกเฉพาะสินทรัพย์ที่เข้าใจ จากขั้นตอนที่ 1
ซึ่งคิดว่ากำไรคาดหวังเป็นบวก จากขั้นตอนที่ 2
ตัวอย่าง สมมติว่าได้เป็น เงินสด, ทอง, หุ้น, ที่ดิน
แล้วนำไปวางแผนหรือจัดพอร์ตการลงทุน ตามขั้นตอนที่ 3
.
ขั้นตอนที่ 3
ประเมินตนเองว่ามอง “อัตราต่อรอง/กำไรคาดหวัง” ออกหรือไม่
.
3.1) ถ้ามองไม่ออกหรือไม่แน่ใจ
.
3.1.1) แบ่งเงินลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภท เท่าๆ กัน
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 25% เท่ากันทั้งหมด
.
3.1.2) มองไม่ออก/ไม่แน่ใจ แต่มีความชอบ-คุ้นเคย-เชี่ยวชาญ
หรือมีความกังวลต่อสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นพิเศษ
ก็อาจปรับเพิ่มหรือลดสัดส่วนลง จนรู้สึกว่าเหมาะสม/ลงตัว
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 30 : 30 : 10 : 30
เพราะว่าเพิ่งเริ่มลงทุนในหุ้น รู้ตัวว่ายังไม่มีความรู้มากพอ
.
3.2) ถ้ามองออก/แน่ใจ
.
3.2.1) จัดสัดส่วนเงินลงทุนตามผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 2
กล่าวคือ จัดส่วนเงินลงทุนมาก-น้อย ตามระดับความน่าสนใจ
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 20 : 20 : 40 : 20
.
3.2.2) ติดตามประเมิน/วิเคราะห์สภาวะแวดล้อมเป็นระยะ
แล้วปรับสัดส่วนเมื่อปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยน กำไรคาดหวังเปลี่ยน
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 30 : 25 : 25 : 20
ลดสัดส่วนหุ้นลง 15%, ไปเพิ่มให้เงินสด 10% และทอง 5%
เนื่องจากประเมินว่า FED กำลังจะขึ้นดอกเบี้ย เป็นต้น
.
ขั้นตอนที่ 4
หากปัจจัยแวดล้อมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แต่สัดส่วนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 3
เนื่องจากราคาสินทรัพย์บางตัวมีการปรับขึ้น/ลงมาก
ก็ให้ขายอันที่ขึ้น/ซื้อที่ลง จนสัดส่วนกลับมาเท่าเดิม
เรียกว่าการทำ Portfolio Rebalance
ซึ่งมีแนวคิดในการทำได้สองแบบ คือ
.
4.1) Rebalance ตามช่วงเวลา เช่น ปีละครั้ง/ไตรมาสละครั้ง
.
4.2) Rebalance เมื่อถึง Trigger point
เช่น เมื่อสัดส่วนสินทรัพย์ใดเพิ่ม/ลดลงจากเดิม 5 หรือ 10%
ก็ขายหรือซื้อเพิ่มจนกลับมาที่สัดส่วนตั้งต้น
.
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงหลักการ/แนวคิดเท่านั้น
การนำไปใช้จริงจำเป็นต้องมีการประยุกต์/ปรับใช้ให้เหมาะสม
กับเงื่อนไขหรือแนวทางการลงทุนของแต่ละท่าน
หากท่านใดมีประสบการณ์หรือแนวคิดที่จะต่อยอดจากนี้
ช่วยกันแชร์ในคอมเม้นท์นะครับ
.
ในตอนต่อไป จะมาเล่าถึงแนวคิด/หลักการลดความเสี่ยง
ของการลงทุนในหุ้นรายตัวครับ
.
ติดตามบทความอื่นๆ ได้ในเพจหมอวิ
https://www.facebook.com/Dr.Vichian
.
#การบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
12 มิย. 2564
.
กล่าวโดยสรุป สิ่งที่ผมต้องการบอกในตอนที่แล้วก็คือ
ในขณะที่พยายามทำกำไร ก็ให้บริหารความเสี่ยงไปด้วย
มาก-น้อย ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและสไตล์การลงทุนของเรา
.
สำหรับการที่จะ “ทำกำไรไปด้วย+บริหารความเสี่ยงไปด้วย” นั้น
ผมคิดว่ามีสิ่งสำคัญที่ต้องทำอยู่สองข้อ คือ
.
1) การเลือกเฉพาะโอกาสการลงทุนที่มี “กำไรคาดหวัง” เป็นบวก
กล่าวคือ Upside x probability - Downside x probability > 0
ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี (เรียกว่ามี Margin of Safety สูง)
หรือพูดให้ง่ายก็คือ คิดว่าน่าจะกำไรมากกว่าขาดทุนนั่นแหละครับ
.
2) การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
เพราะถึงแม้ว่าเราจะวิเคราะห์และทำทุกอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม
ก็มีโอกาสที่ผลลัพธ์อาจคลาดเคลื่อนไปจากที่มันควรจะเป็น
แต่หากมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอ
ก็จะช่วยลดผลกระทบต่อพอร์ตโดยรวมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
และอย่าลืมว่าบางครั้งเราก็ตัดสินใจผิดพลาดไปจริงๆ
.
สังเกตว่าเราจะคิดถึงโอกาสขาดทุนด้วย ไม่ใช่คิดแต่ด้านกำไร
และไม่พยายามทำนายในลักษณะว่าอะไรจะเกิด/ไม่เกิด ใช่/ไม่ใช่
แต่จะคิดในลักษณะของความน่าจะเป็น
และคิดเผื่อสำหรับความผิดพลาด/คลาดเคลื่อน
ทั้งที่อาจจะเกิดจากตัวเราเองหรือจากปัจจัยอื่นๆ ด้วยเสมอ
.
บทความชุดนี้ผมจะกล่าวถึงความเสี่ยงในสองระดับ คือ
1) ความเสี่ยงของตลาดหุ้นโดยรวม
2) ความเสี่ยงของหุ้นรายตัว
.
โดยตอนนี้จะเป็นเรื่องของการลดความเสี่ยงของตลาดหุ้นโดยรวม
แล้วตอนต่อไปก็จะเล่าถึงการลดความเสี่ยงในระดับของหุ้นรายตัว
.
สำหรับการลดความเสี่ยงในระดับของ “ตลาดหุ้นโดยรวม” นั้น
สามารถทำได้โดยการ “กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทอื่น”
ซึ่งขอนำเสนอเป็นสี่ขั้นตอน เพื่อเป็นไอเดียสำหรับการนำไปใช้ ดังนี้
.
ขั้นตอนที่ 1
สำรวจดูว่าเรามีความรู้-เข้าใจ-คุ้นเคย กับสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง
.
ขั้นตอนที่ 2
วิเคราะห์ข้อดี/ด้อย ของสินทรัพย์ข้างต้น
แล้ววิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันว่า
เป็นโอกาสหรือความเสี่ยงต่อสินทรัพย์แต่ละประเภทอย่างไร
กำไรคาดหวังเป็นบวก (น่าจะกำไร > ขาดทุน) หรือไม่
เปรียบเทียบกันแล้ว อันไหนน่าลงทุนมากหรือน้อยกว่ากัน
.
เลือกเฉพาะสินทรัพย์ที่เข้าใจ จากขั้นตอนที่ 1
ซึ่งคิดว่ากำไรคาดหวังเป็นบวก จากขั้นตอนที่ 2
ตัวอย่าง สมมติว่าได้เป็น เงินสด, ทอง, หุ้น, ที่ดิน
แล้วนำไปวางแผนหรือจัดพอร์ตการลงทุน ตามขั้นตอนที่ 3
.
ขั้นตอนที่ 3
ประเมินตนเองว่ามอง “อัตราต่อรอง/กำไรคาดหวัง” ออกหรือไม่
.
3.1) ถ้ามองไม่ออกหรือไม่แน่ใจ
.
3.1.1) แบ่งเงินลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภท เท่าๆ กัน
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 25% เท่ากันทั้งหมด
.
3.1.2) มองไม่ออก/ไม่แน่ใจ แต่มีความชอบ-คุ้นเคย-เชี่ยวชาญ
หรือมีความกังวลต่อสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นพิเศษ
ก็อาจปรับเพิ่มหรือลดสัดส่วนลง จนรู้สึกว่าเหมาะสม/ลงตัว
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 30 : 30 : 10 : 30
เพราะว่าเพิ่งเริ่มลงทุนในหุ้น รู้ตัวว่ายังไม่มีความรู้มากพอ
.
3.2) ถ้ามองออก/แน่ใจ
.
3.2.1) จัดสัดส่วนเงินลงทุนตามผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 2
กล่าวคือ จัดส่วนเงินลงทุนมาก-น้อย ตามระดับความน่าสนใจ
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 20 : 20 : 40 : 20
.
3.2.2) ติดตามประเมิน/วิเคราะห์สภาวะแวดล้อมเป็นระยะ
แล้วปรับสัดส่วนเมื่อปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยน กำไรคาดหวังเปลี่ยน
ตัวอย่าง เงินสด : ทอง : หุ้น : ที่ดิน = 30 : 25 : 25 : 20
ลดสัดส่วนหุ้นลง 15%, ไปเพิ่มให้เงินสด 10% และทอง 5%
เนื่องจากประเมินว่า FED กำลังจะขึ้นดอกเบี้ย เป็นต้น
.
ขั้นตอนที่ 4
หากปัจจัยแวดล้อมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แต่สัดส่วนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 3
เนื่องจากราคาสินทรัพย์บางตัวมีการปรับขึ้น/ลงมาก
ก็ให้ขายอันที่ขึ้น/ซื้อที่ลง จนสัดส่วนกลับมาเท่าเดิม
เรียกว่าการทำ Portfolio Rebalance
ซึ่งมีแนวคิดในการทำได้สองแบบ คือ
.
4.1) Rebalance ตามช่วงเวลา เช่น ปีละครั้ง/ไตรมาสละครั้ง
.
4.2) Rebalance เมื่อถึง Trigger point
เช่น เมื่อสัดส่วนสินทรัพย์ใดเพิ่ม/ลดลงจากเดิม 5 หรือ 10%
ก็ขายหรือซื้อเพิ่มจนกลับมาที่สัดส่วนตั้งต้น
.
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงหลักการ/แนวคิดเท่านั้น
การนำไปใช้จริงจำเป็นต้องมีการประยุกต์/ปรับใช้ให้เหมาะสม
กับเงื่อนไขหรือแนวทางการลงทุนของแต่ละท่าน
หากท่านใดมีประสบการณ์หรือแนวคิดที่จะต่อยอดจากนี้
ช่วยกันแชร์ในคอมเม้นท์นะครับ
.
ในตอนต่อไป จะมาเล่าถึงแนวคิด/หลักการลดความเสี่ยง
ของการลงทุนในหุ้นรายตัวครับ
.
ติดตามบทความอื่นๆ ได้ในเพจหมอวิ
https://www.facebook.com/Dr.Vichian
.