MoneyTalk แผนเกษียณ รองรับโควิด
โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 11, 2021 2:05 pm
MoneyTalk ตอน พิษโควิด ปรับแผนให้เกษียณอย่างเกษม และ ตายตาหลับ
สรุปโดย Seminar Knowledge by Amorn
มันนี่ทอล์ค...ชวนคุย
.
.
มาเตรียมความพร้อมรับมือ การปรับแผนเกษียณ...กันครับ จะทำยังไงให้เรามีเงินเพียงพอใช้จ่ายในชีวิตวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันทุกสิ่งอย่างถูกเปลี่ยนไป เมื่อวิกฤตโควิดมาเยือน ฉะนั้น การวางแผนในวัยเกษียณ อาจต้องปรับแผนให้สอดคล้องรับกับทุกช่วงสถานการณ์ เพื่อให้บั้นปลายชีวิตเกษียณของเรานอนตายตาหลับ แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณายามเกษียณ เทปนี้...มีคำตอบ มาติดตามรับชมกันนะครับ^^
.
พบกับแขกรับเชิญ
คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ, CFP
ที่ปรึกษา สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
.
ดำเนินรายการโดย ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เกริ่นนำ โดย อาจารย์ วิวรรณ หรือ อาจารย์ ก้อย
เราอยู่กับไวรัส Covid-19มาตั้งแต่ต้นปี2563 ต่อเนื่องมาถึงตอนนี้ เจอไวรัสมาหลายระลอก
ประชาชนต้องเอาเงินออมออกมาใช้จ่าย เนื่องจากบางส่วนไม่สามารถทำงานได้ หรือ บริษัท
ก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจ ขาดรายได้ รวมถึงต้องช่วยเหลือพนักงานด้วย
ประกอบกับอัตราผลตอบแทนลดลงมากเป็นประวัติการณ์ เมื่อก่อน การวางแผนทางการเงิน
สามารถกำหนดอัตราผลตอบแทนได้ 6-8% แต่ตอนนี้แค่4%ก็ยังยากเลย
ทำให้เงินใหม่ไม่เข้ามาเวลาไม่ได้ทำงาน และ เงินเก่าก็งอกเงยช้า สำหรับคนที่เกษียณแล้ว
ปัจจัยที่มาพิจารณายามเกษียน แบ่งออกเป็นสามหัวข้อใหญ่ได้แก่
1.มาตราฐานความเป็นอยู่ของชีวิตในแต่ละคน
2.เตรียมพร้อมทางการเงิน
3.ข้อแนะนำในการใช้ชีวิต
ทำไมต้องมาคำนึงถึง
ปัจจัยแวดล้อมปัจจุบัน พบว่า
-การรักษาระยะห่าง ส่งผลต่อลูกหลานในการเข้าไปดูแล รวมถึง การช่วยเหลือยามฉุกเฉิน
-แรงงานขาดแคลน สังคมสูงวัย การหาคนมาดูแล ต้องใช้พี่เลี้ยงถึง2คน ซึ่งตอนนี้หายากมาก
ดังนั้นทางออก ก็อาจต้องใช้AIมาช่วยดูแลผู้สูงอายุ ไทยเราก็มีหุ่นยนต์ดินสอมาช่วยผู้สูงอายุ
-โรคระบาดทำให้กระบวนการทุกอย่างยุ่งยากมากขึ้น เช่น
อาหาร หาซื้อยากขึ้น เพราะมีการโอกาสติดเชื้อจากการไปซื้อของตลาดสด หรือ supermarket
การพบปะสังสรรค์ หรือ กิจกรรมทางสังคมก็ต้องงดเว้นไป เพราะป้องกันการติดเชื้อ
เรามาดูที่ปัจจัยแรกกันเรื่อง มาตรฐานความเป็นอยู่ของชีวิตของคนที่เกษียณแล้วกันครับ
- การลดขนาด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ขนาดเล็กลง มีชั้นเดียว หรือ ถ้ามีหลายชั้นก็ต้องมีLift ส่วนรถยนต์
ขนาดก็เล็กลง ของใช้ เช่นกระเป๋าถือ ต้องมีน้ำหนักเบา
- ความปลอดภัย วัสดุปูพื้น ต้องนิ่ม ล้มไปไม่เจ็บ คำนึงถึงการสร้างบ้านใหม่ก็ต้องเผื่อติดอุปกรณ์เหล่านี้
- ความสะดวกในการใช้งาน หาง่าย หยิบสะดวก
สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงิน เพื่อตอบสนองความต้องการในยามเกษียณ ดังนั้นเราต้องมาดูความพร้อมทางการเงินด้วย
ซึ่งแบ่งเงินออกเป็นสามส่วน ได้แก่
- เงินสำหรับความเป็นอยู่ของตนเองและคู่สมรส คาดการณ์ว่าอายุน่าจะยืนยาวไปถึง 90ปี เราต้องคำนวณค่าใช้จ่ายตามระดับความต้องการ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นทุกปี ปีละ7%
อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง หลังหักเงินเฟ้อ ซึ่งนำมาคำนวณ เพื่อจะได้ตัวเลขที่ต้องใช้ยามเกษียณ
ถ้าคำนวณแล้วไม่พอ ทางแก้ ก็คือ ยืดเวลาทำงานออกไป หรือ ถ้าไม่สามารถยืดได้ก็ออกมาหางานอิสระทำ
เพื่อจะได้เพิ่มสินทรัพย์มากขึ้น ให้พอกับการเกษียณ
- เงินสำหรับดูแลผู้มีอุปการคุณ
พิจารณาตามกำลังทรัพย์ของบุตรหลาน อย่าทุ่มเทให้กับผู้สูงวัยจนหมด เพราะจะไม่มีเงินดูแลตนเอง
ทำตามความเหมาะสม แนะนำทางสายกลาง
- เงินสำหรับส่งต่อให้ลูกหลาน
กรณีมีเงินจำกัด อย่าทุ่มเทให้ลูกหลานมากเกินไป ไม่ควรกู้เงินนอกระบบมาให้ลูกหลาน
ต้องมีอุเบกขา ช่วยเต็มที่ก็พอ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้เกิด
ข้อที่สาม คือ การแนะนำในการใช้ชีวิต
จัดทำพินัยกรรมชีวิต ระบุการดูแลรักษาตนเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตเพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้อยู่เบื้องหลัง
ใช้ชีวิตด้วยการมีสิ่งที่ให้หวังและรอคอย ทำกิจกรรมที่ชอบและสบายใจ มีงานอดิเรกที่ทำให้เพลิดเพลิน
สุดท้ายขอขอบคุณ อาจารย์ วิวรรณ ที่มาให้ความรู้
ขอขอบคุณผู้ดำเนินรายการ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์ มากๆครับ
สรุปโดย Seminar Knowledge by Amorn
มันนี่ทอล์ค...ชวนคุย
.
.
มาเตรียมความพร้อมรับมือ การปรับแผนเกษียณ...กันครับ จะทำยังไงให้เรามีเงินเพียงพอใช้จ่ายในชีวิตวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันทุกสิ่งอย่างถูกเปลี่ยนไป เมื่อวิกฤตโควิดมาเยือน ฉะนั้น การวางแผนในวัยเกษียณ อาจต้องปรับแผนให้สอดคล้องรับกับทุกช่วงสถานการณ์ เพื่อให้บั้นปลายชีวิตเกษียณของเรานอนตายตาหลับ แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณายามเกษียณ เทปนี้...มีคำตอบ มาติดตามรับชมกันนะครับ^^
.
พบกับแขกรับเชิญ
คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ, CFP
ที่ปรึกษา สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
.
ดำเนินรายการโดย ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เกริ่นนำ โดย อาจารย์ วิวรรณ หรือ อาจารย์ ก้อย
เราอยู่กับไวรัส Covid-19มาตั้งแต่ต้นปี2563 ต่อเนื่องมาถึงตอนนี้ เจอไวรัสมาหลายระลอก
ประชาชนต้องเอาเงินออมออกมาใช้จ่าย เนื่องจากบางส่วนไม่สามารถทำงานได้ หรือ บริษัท
ก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจ ขาดรายได้ รวมถึงต้องช่วยเหลือพนักงานด้วย
ประกอบกับอัตราผลตอบแทนลดลงมากเป็นประวัติการณ์ เมื่อก่อน การวางแผนทางการเงิน
สามารถกำหนดอัตราผลตอบแทนได้ 6-8% แต่ตอนนี้แค่4%ก็ยังยากเลย
ทำให้เงินใหม่ไม่เข้ามาเวลาไม่ได้ทำงาน และ เงินเก่าก็งอกเงยช้า สำหรับคนที่เกษียณแล้ว
ปัจจัยที่มาพิจารณายามเกษียน แบ่งออกเป็นสามหัวข้อใหญ่ได้แก่
1.มาตราฐานความเป็นอยู่ของชีวิตในแต่ละคน
2.เตรียมพร้อมทางการเงิน
3.ข้อแนะนำในการใช้ชีวิต
ทำไมต้องมาคำนึงถึง
ปัจจัยแวดล้อมปัจจุบัน พบว่า
-การรักษาระยะห่าง ส่งผลต่อลูกหลานในการเข้าไปดูแล รวมถึง การช่วยเหลือยามฉุกเฉิน
-แรงงานขาดแคลน สังคมสูงวัย การหาคนมาดูแล ต้องใช้พี่เลี้ยงถึง2คน ซึ่งตอนนี้หายากมาก
ดังนั้นทางออก ก็อาจต้องใช้AIมาช่วยดูแลผู้สูงอายุ ไทยเราก็มีหุ่นยนต์ดินสอมาช่วยผู้สูงอายุ
-โรคระบาดทำให้กระบวนการทุกอย่างยุ่งยากมากขึ้น เช่น
อาหาร หาซื้อยากขึ้น เพราะมีการโอกาสติดเชื้อจากการไปซื้อของตลาดสด หรือ supermarket
การพบปะสังสรรค์ หรือ กิจกรรมทางสังคมก็ต้องงดเว้นไป เพราะป้องกันการติดเชื้อ
เรามาดูที่ปัจจัยแรกกันเรื่อง มาตรฐานความเป็นอยู่ของชีวิตของคนที่เกษียณแล้วกันครับ
- การลดขนาด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ขนาดเล็กลง มีชั้นเดียว หรือ ถ้ามีหลายชั้นก็ต้องมีLift ส่วนรถยนต์
ขนาดก็เล็กลง ของใช้ เช่นกระเป๋าถือ ต้องมีน้ำหนักเบา
- ความปลอดภัย วัสดุปูพื้น ต้องนิ่ม ล้มไปไม่เจ็บ คำนึงถึงการสร้างบ้านใหม่ก็ต้องเผื่อติดอุปกรณ์เหล่านี้
- ความสะดวกในการใช้งาน หาง่าย หยิบสะดวก
สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงิน เพื่อตอบสนองความต้องการในยามเกษียณ ดังนั้นเราต้องมาดูความพร้อมทางการเงินด้วย
ซึ่งแบ่งเงินออกเป็นสามส่วน ได้แก่
- เงินสำหรับความเป็นอยู่ของตนเองและคู่สมรส คาดการณ์ว่าอายุน่าจะยืนยาวไปถึง 90ปี เราต้องคำนวณค่าใช้จ่ายตามระดับความต้องการ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นทุกปี ปีละ7%
อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง หลังหักเงินเฟ้อ ซึ่งนำมาคำนวณ เพื่อจะได้ตัวเลขที่ต้องใช้ยามเกษียณ
ถ้าคำนวณแล้วไม่พอ ทางแก้ ก็คือ ยืดเวลาทำงานออกไป หรือ ถ้าไม่สามารถยืดได้ก็ออกมาหางานอิสระทำ
เพื่อจะได้เพิ่มสินทรัพย์มากขึ้น ให้พอกับการเกษียณ
- เงินสำหรับดูแลผู้มีอุปการคุณ
พิจารณาตามกำลังทรัพย์ของบุตรหลาน อย่าทุ่มเทให้กับผู้สูงวัยจนหมด เพราะจะไม่มีเงินดูแลตนเอง
ทำตามความเหมาะสม แนะนำทางสายกลาง
- เงินสำหรับส่งต่อให้ลูกหลาน
กรณีมีเงินจำกัด อย่าทุ่มเทให้ลูกหลานมากเกินไป ไม่ควรกู้เงินนอกระบบมาให้ลูกหลาน
ต้องมีอุเบกขา ช่วยเต็มที่ก็พอ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้เกิด
ข้อที่สาม คือ การแนะนำในการใช้ชีวิต
จัดทำพินัยกรรมชีวิต ระบุการดูแลรักษาตนเองในช่วงสุดท้ายของชีวิตเพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้อยู่เบื้องหลัง
ใช้ชีวิตด้วยการมีสิ่งที่ให้หวังและรอคอย ทำกิจกรรมที่ชอบและสบายใจ มีงานอดิเรกที่ทำให้เพลิดเพลิน
สุดท้ายขอขอบคุณ อาจารย์ วิวรรณ ที่มาให้ความรู้
ขอขอบคุณผู้ดำเนินรายการ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์ มากๆครับ