หน้า 1 จากทั้งหมด 1

สอบถามเกี่ยวกับงบธนาคาร

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 03, 2021 8:48 pm
โดย kornvi
สวัสดีครับผมเป็นมือใหม่อยากสอบถามว่า 1. วิธีดูความแข็งแกร็งของงบดุลหุ้นกลุ่มธนาคารยังไงครับเพราะว่า D/E มันไม่เหมือนกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ จะต้องเทียบกับ NPL รึเปล่าครับว่า NPL เป็นกี่เปอร์เซ็นของ D/E? 2. อยากดูว่าประสิทธิภาพกำไรจากการปล่อยกู้เทียบปล่อยกู้นี่ดู NIM เทียบ NPL ใช่ไหมครับ?

Re: สอบถามเกี่ยวกับงบธนาคาร

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 20, 2022 2:55 am
โดย sugusyogus
kornvi เขียน:
อาทิตย์ ต.ค. 03, 2021 8:48 pm
สวัสดีครับผมเป็นมือใหม่อยากสอบถามว่า 1. วิธีดูความแข็งแกร็งของงบดุลหุ้นกลุ่มธนาคารยังไงครับเพราะว่า D/E มันไม่เหมือนกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ จะต้องเทียบกับ NPL รึเปล่าครับว่า NPL เป็นกี่เปอร์เซ็นของ D/E? 2. อยากดูว่าประสิทธิภาพกำไรจากการปล่อยกู้เทียบปล่อยกู้นี่ดู NIM เทียบ NPL ใช่ไหมครับ?
แบบดูเบื้องต้นไม่กี่ตัวนะครับ

ข้อ1 ความแข็งแกร่งของฐานะการเงินของBank
ดูจากหลักๆ 2 ตัว
1.1 NPL Coverage ratio = Provisionเงินตั้งสำรองสะสม / NPLสะสม
- ดูว่าธนาคารตั้งขาดทุนรับหนี้เสียNPLที่อยู่ในพอร์ต coverไปแล้วขนาดไหน
- อย่างน้อยควรเกิน 100%ถึงจะเริ่มดูเซฟๆ
- แต่ก็แล้วแต่business model แต่ละธนาคาร(หรือ Non-Bank อื่นๆ)
- ใครมีลูกค้าเสี่ยงเยอะก็อาจจะเกิน100%ไปเยอะ, ใครเอาชัวกันเหนียวไว้ก่อนก็อาจจจะเกิน100%เยอะ
- ใครคิดว่าพอร์ตสินเชื่อมันเซฤอยู๋แล้ว ปล่อยเงินน้อยกว่าของค้ำประกันเยอะ ก็อาจจะไม่ต้องตั้งเยอะ 100%ก็พอก็มี
- ธนาคารไทยตั้งNPL Coverage สูงเกิน 140-150% ทุกคนครับ

1.2 BIS Ratio (หรือ CAR ratio) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
= เงินกองทุน / Risky assets
>> เงินกองทุนโดยคร่าวๆก็คือEquityครับ แต่มันจะมีรายละเอียดมากกว่านั้นครับ
(เช่น Bankกู้เงินผ่าน Perpetual bond หรือ ตราสารหนี้basel3 อะไรประมาณนี้ ก็นับเป็นเงินกองทุนได้เหมือนกันครับ)
>> Risky assets ก็คือทรัพย์สินหลัก 3 อย่างของธนาคารครับ: เงินปล่อยกู้, ปล่อยกู้Inter-bank, เงินลงทุนตราสารการเงิน
- ตัวนี้เอาไว้ดูแบบคร่าวๆ ว่าเงินทุนของธนาคารเองรับNPLที่จะเพิ่มขึ้นมาใหม่ได้อีกกี่%
- ขั้นต่ำที่ ธปท. ตั้งไว้ของBankไทย คือ 12%
- ถ้าใครมีNPLเยอะจนEquityลดลงจน BIS Ratio ต่ำกว่า 12% - ผู้ถือหุ้นจะต้องเพิ่มทุนเข้ามา
- Bank ไทยทั้งหมดก็มีค่านี้สูงเกินไว้อยู่แล้ว 16-18% ครับ


ข้อ 2. อยากดูว่าประสิทธิภาพกำไรจากการปล่อยกู้เทียบหนี้เสีย
ก็จะดู 2 ตัวเทียบกันครับ
1. %NIM = ดอกเบี้ยสุทธิในงวดนั้น / พอร์ตสินเชื่อ
2. %Credit Cost = ยอดตั้งสำรองECLในงวดนั้น / พอร์ตสินเชื่อ
- ดูเทียบ %NIM กับ %Credit Cost ในแต่ละปี
- ตามปกติ ยังไง%NIM ก็จะต้องมากกว่า %Credit Cost อยู่แล้วครับ
- แต่ละ Bank ก็จะมีค่าปกติของ %NIM และ %Credit Cost ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู๋กับBusiness Model แต่ละคน
(เช่น Kbank ปล่อยสินเชื่อกลุ่มรายย่อยมากหน่อย %NIMก็อาจจะกลางๆ 3.2-3.3% ซึ่งความเสี่ยงก็จากมากขึ้นมา %Credit Costก็จะสูงตามกลุ่มลูกค้า อยู่ที่ประมาณ2%)
(แต่ BBL จะปล่อยสินเชื่อกลุ่มบริษทใหญ่เยอะ %NIMก็จะต่ำ 2.1-2.2% แต่ความเสี่ยงก็จะต่ำลงมาด้วย %Credit Cost ก็เลยต่ำอยู่ที่ 1.3-1.4%)
- ถ้าจะดูว่าทำได้ดีขึ้นหรือแย่ลงก็เทียบกับตัวของมันเองย้อนหลังไปครับ ถ้าเทียบข้ามBank ก็อาจจะเทียบกับคนที่มีพอร์ตสินเชื่อกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกันครับ
(แต่ว่าก็จะเทียบกัน100%ไม่ได้ เพราะแต่ละbankก็มีพิจารณาการตั้งบัญชีต่างกันไปครับ)