หุ้นสหรัฐ ความตาย และ Estate Tax
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 20, 2021 12:42 am
ผมกับภรรยาเป็นคนที่คิดถึงความตายบ่อยครับ เรามักจะพิจารณา และจำลองสถานการณ์กันว่าเมื่อคนใดคนหนึ่งตาย หรือ เกิดเหตุที่ตายพร้อมกันสองคนขึ้นมา มันมีภาระอะไรที่ต้องทำบ้าง ใครจะจัดการอะไรอย่างไรต่อบ้าง ผมกับภรรยาจึงมีการทำพินัยกรรมมาได้สัก 7 ปีแล้ว และพัฒนาวิธีการในการจัดการภาระหลังความตายมาเรื่อยๆ จนพอจะมีความรู้ระดับหนึ่งบ้าง หนึ่งในนั้นที่ผมอยากจะแชร์กับเพื่อนๆ ในวันนี้ คือ ภาระ Estate Tax หากลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่แปลกมา ที่สามารถบังคับให้เกือบทุกประเทศทั่วโลกส่งข้อมูลทางภาษีกลับไปให้ประเทศต้นทางเพื่อจะไล่เก็บภาษีประชาชนในชาติของเขาได้ เวลาเราเปิดบัญชีธนาคารในบ้านเรา เราจึงต้องมานั่งเซ็นเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ยืนยันว่าเราไม่ได้เป็นประชาชนของประเทศสหรัฐฯ ในขณะที่ถ้าเราเป็นคนสหรัฐฯ ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สรรพากรของเขา และการไม่จ่ายภาษีกับทางสรรพากรสหรัฐฯ นี่เค้าเล่นงานกันจริงๆ จังๆ ถึงคุกกันเลยทีเดียว ทำให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่ใหญ่มากสำหรับคนในชาติเขา
ทีนี้ สหรัฐฯ ดันมีภาษีตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า Estate Tax ซึ่งเป็นภาษีที่มีความพิเศษมากที่สรรพากรสหรัฐฯ บอกว่า หากเกิดการตายขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นประชาชนของสหรัฐฯ แต่ถ้าคุณมี อสังหาริมทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ของบริษัทในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าเกิน $60,000 คุณต้องเสียภาษีมรดกให้กับสหรัฐฯ โดยภาระภาษีที่เกิดขึ้นอาจจะสูงได้ถึง 40% ของมูลค่าหุ้นเลยก็ได้ (สุดยอดมาก สามารถเก็บภาษีมรดกจากประเทศที่ไม่มีภาษีมรดกได้)
ประเทศที่จะไม่โดนภาษีนี้ คือ ประเทศที่มี Estate/Gift Tax Treaty กับสหรัฐฯ ซึ่งจะไปจ่าย Estate Tax ของประเทศตัวเองแทน (ประเทศไทยไม่ได้เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น)
เท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่านข้อมูลจากโบรกที่สหรัฐฯ สมมติว่า เราตาย และเรามีเงินลงทุนอยู่กับโบรกเกอร์ ถ้าโบรกรู้ว่าเราตาย โบรกจะทำการ Freeze บัญชีของเราเอาไว้ จนกว่าเราจะแสดงเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม (Probate) และโชว์ Tax Return จากการชำระภาษีมรดกนี้ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะโอนทรัพย์สินเหล่านี้ไปให้ผู้รับมรดกตามศาลสั่ง
ถ้ามีอสังหาริมทรัพย์ที่สหรัฐฯ การพิสูจน์พินัยกรรมต้องทำที่ศาลสหรัฐฯด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก แต่ถ้ามีแค่หุ้น ผมเข้าใจว่าพิสูจน์พินัยกรรมในศาลไทยเรียบร้อยแล้ว ต้องเอาคำสั่งศาลไปแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง แล้วไปยื่นชำระภาษี ค่อยเอาเอกสารไปให้โบรกดำเนินการต่อก็น่าจะโอเค
ที่เขียนมา คือ จะเห็นว่ามันยุ่งยาก ปวดหัวพอสมควร ผลที่ตามมา คือ โบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ ในช่วงหลังๆ คือ จะไม่เปิดบัญชีให้กับทาง non-resident โดยตรง หรือคนที่มีบัญชี non-resident อยู่ในอดีต บางโบรกก็ทะยอยปิด ไล่ให้ไปกับสาขานอกสหรัฐฯ แทน หรือ Private Banking ที่ผมใช้บริการที่สิงคโปร์มีกฎว่า ผมจะไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรกับเค้าได้ ถ้าเค้ารู้ว่าผมอยู่ที่สหรัฐฯ ผมเข้าใจว่ามันคงจะเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างกับภาษี และข้อกำหนดอะไรบางอย่าง
IBKR หรือ TD Ameritrade ที่เราเปิดๆ กันอยู่ก็จะเป็นสาขาที่อยู่นอกสหรัฐฯ หมด
-------
คำถามที่สำคัญ คือ ภาษีนี้มีอยู่ แต่บังคับใช้ได้จริงไหม?
ผมคิดว่าบังคับใช้ไม่ค่อยได้ เพราะ เท่าที่ดูจากจำนวน Tax Return ของคนที่ยื่น Form 706-NA เข้ามามีน้อยมาก แถมจริงๆ แล้วถ้าไปดูยอดสินทรัพย์ขั้นต่ำที่จะเริ่มคิดภาษี Estate Tax ของ Non Resident จะค้างเติ่งอยู่ที่ $60,000 มาตั้งแต่ปี 1976 ในขณะที่ Estate Tax ของคนสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มขึ้นมาทุกปี จนล่าสุดยอดขั้นต่ำที่เริ่มคิดภาษีอยู่ที่ $11.7 ล้าน มันเลยเหมือนเป็นภาษีที่คนเค้าไม่ได้ยื่นกัน เพราะ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปบังคับคนนอกสหรัฐฯ ยังไงให้ยื่น และจ่ายภาษีตรงนี้ ตัวเลข $60,000 ของฝั่ง Non Resident เลยค้างอยู่อย่างนั้นมานานแสนนาน
แต่ก็ยังเห็นว่ามีการยื่นเข้ามาอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มาก ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจจะเป็นพวกคนที่มีอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ยื่นกัน หรือไม่ก็เป็นพวกที่พลาดไปโดน Broker Freeze Account จนถูกบังคับให้ยื่น
ผมเชื่อว่า โบรกเกอร์ไทย ที่เป็นตัวแทนเราไปลงทุนที่สหรัฐฯ ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้เท่าไร หรือถึงรู้ก็ไม่น่าจะบังคับใช้ภาษีนี้กับเรา เพราะ เงินลงทุนของเราผ่านโบรกไทย จะเป็น Omnibus Account คือ หุ้นที่เราถือจริงๆ แล้วถือผ่านชื่อของโบรกเกอร์ไทยที่ไปเปิดบัญชีสถาบันกับที่ต่างประเทศ ไม่ได้เป็นชื่อของเราจริงๆ ในการบังคับใช้ภาษีนี้ก็ไม่น่าจะทำได้ ดังนั้นถ้าเรามีพอร์ตกับโบรกไทย ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ยกเว้นว่าโบรกไทยเจ้านั้นจะโรคจิตบังคับให้เราไปยื่น Form 706-NA กับทาง IRS สหรัฐฯ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามถ้าเรามีบัญชีกับโบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ โดยตรงนี้ผมว่าเค้าเอาจริงแน่ ถ้าเราดุ่มๆ ไปบอกว่า เจ้าของบัญชีตาย ต้องการให้โอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดก เท่าที่สัมผัสกับประเทศนี้มา ผมว่าเค้าทำตามกฎแน่ๆ ไม่งั้นเค้าโดนเล่นงานติดคุกแน่นอน วิธีแก้ปัญหา คือ
1) เป็นไปได้ไหมที่ก่อนจะตาย เราทำการขายหุ้นสหรัฐฯ ทั้งหมด เปลี่ยนให้เป็นเงินสด เพราะ ถ้าหุ้นกลายเป็นเงินสด ปัญหาเรื่อง Estate Tax จะหมดไปในพริบตา หลังจากนั้นจะโอนเงินไปที่บัญชีอื่น หรือ ยื่นเอกสาร Probate เพื่อโอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดกก็ง่ายกว่า
2) ถ้าไม่บอกว่าเค้าว่าเราตาย เรายังสามารถจัดการอะไรได้ขนาดไหน สามารถเอาทรัพย์สินกลับมาไทย โดยไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อ Simplify การจัดการมรดกแค่ให้อยู่ในไทยได้ไหม
3) ปัญหานี้จะย้อนกลับไปที่โครงสร้างการจัดตั้งบัญชีว่า ถ้าเราถือหุ้นในนามของ Private Investment Company หรือ Trust แทนที่จะเป็นชื่อตัวบุคคล ปัญหาเรื่องนี้ก็จะหมดไป เพราะ การจัดการมรดกจะไปอยู่ที่ระดับผู้ถือหุ้นของ PIC หรือ ผู้รับผลประโยชน์ใน Trust ไม่ต้องปวดหัวไปกับขั้นตอนการส่งเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม แต่วิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการสำหรับลูกค้าที่เป็น High Net Worth ที่มีเงินลงทุนมากๆ ถึงจะทำกัน เพราะ มันมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำรง PIC หรือ Trust อยู่ (ซึ่ง Trust นี่ก็เป็นแหล่งทำมาหากินที่ Private Bank ชอบมาขาย เพื่อที่จะได้ Lock-in ลูกค้าไว้กับ Ecosystem ของเค้า)
สำหรับคนที่มีบัญชีที่สิงคโปร์นี่ ผมเคยถามกับ Private Banker ที่ Credit Suisse ว่าถ้าผมตายผมจะทำยังไง เค้าบอกว่า เค้าห้ามรู้เด็ดขาดว่าผมตาย บัญชีจะถูก Freeze ทันที สิ่งที่เค้าแนะนำแบบเทาๆ คือ แนะนำให้เปิดบัญชีเป็น Joint Account โดยคนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการไม่ต้องบอกว่าผมตาย แต่จัดการทรัพย์สินให้เรียบร้อยก่อนที่จะไป Trigger กระบวนการ Probate และ Estate Tax
สุดท้าย สำหรับคนที่กำลังเจอสถานการณ์ในช่วงนี้ ผมขอแนะนำว่า ให้ปรึกษาที่ปรึกษาทางภาษีที่มีความเชี่ยวชาญให้ดีก่อน ติดต่อ และ ดำเนินอะไรต่อไป แต่สำหรับคนที่กำลังลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ อยู่ หรือคิดจะลงทุน ควรศึกษาเรื่องนี้ วางแผนเรื่องนี้เอาไว้บ้าง
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่แปลกมา ที่สามารถบังคับให้เกือบทุกประเทศทั่วโลกส่งข้อมูลทางภาษีกลับไปให้ประเทศต้นทางเพื่อจะไล่เก็บภาษีประชาชนในชาติของเขาได้ เวลาเราเปิดบัญชีธนาคารในบ้านเรา เราจึงต้องมานั่งเซ็นเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ยืนยันว่าเราไม่ได้เป็นประชาชนของประเทศสหรัฐฯ ในขณะที่ถ้าเราเป็นคนสหรัฐฯ ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สรรพากรของเขา และการไม่จ่ายภาษีกับทางสรรพากรสหรัฐฯ นี่เค้าเล่นงานกันจริงๆ จังๆ ถึงคุกกันเลยทีเดียว ทำให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องที่ใหญ่มากสำหรับคนในชาติเขา
ทีนี้ สหรัฐฯ ดันมีภาษีตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า Estate Tax ซึ่งเป็นภาษีที่มีความพิเศษมากที่สรรพากรสหรัฐฯ บอกว่า หากเกิดการตายขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นประชาชนของสหรัฐฯ แต่ถ้าคุณมี อสังหาริมทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ของบริษัทในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าเกิน $60,000 คุณต้องเสียภาษีมรดกให้กับสหรัฐฯ โดยภาระภาษีที่เกิดขึ้นอาจจะสูงได้ถึง 40% ของมูลค่าหุ้นเลยก็ได้ (สุดยอดมาก สามารถเก็บภาษีมรดกจากประเทศที่ไม่มีภาษีมรดกได้)
ประเทศที่จะไม่โดนภาษีนี้ คือ ประเทศที่มี Estate/Gift Tax Treaty กับสหรัฐฯ ซึ่งจะไปจ่าย Estate Tax ของประเทศตัวเองแทน (ประเทศไทยไม่ได้เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น)
เท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่านข้อมูลจากโบรกที่สหรัฐฯ สมมติว่า เราตาย และเรามีเงินลงทุนอยู่กับโบรกเกอร์ ถ้าโบรกรู้ว่าเราตาย โบรกจะทำการ Freeze บัญชีของเราเอาไว้ จนกว่าเราจะแสดงเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม (Probate) และโชว์ Tax Return จากการชำระภาษีมรดกนี้ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะโอนทรัพย์สินเหล่านี้ไปให้ผู้รับมรดกตามศาลสั่ง
ถ้ามีอสังหาริมทรัพย์ที่สหรัฐฯ การพิสูจน์พินัยกรรมต้องทำที่ศาลสหรัฐฯด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก แต่ถ้ามีแค่หุ้น ผมเข้าใจว่าพิสูจน์พินัยกรรมในศาลไทยเรียบร้อยแล้ว ต้องเอาคำสั่งศาลไปแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง แล้วไปยื่นชำระภาษี ค่อยเอาเอกสารไปให้โบรกดำเนินการต่อก็น่าจะโอเค
ที่เขียนมา คือ จะเห็นว่ามันยุ่งยาก ปวดหัวพอสมควร ผลที่ตามมา คือ โบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ ในช่วงหลังๆ คือ จะไม่เปิดบัญชีให้กับทาง non-resident โดยตรง หรือคนที่มีบัญชี non-resident อยู่ในอดีต บางโบรกก็ทะยอยปิด ไล่ให้ไปกับสาขานอกสหรัฐฯ แทน หรือ Private Banking ที่ผมใช้บริการที่สิงคโปร์มีกฎว่า ผมจะไม่สามารถทำธุรกรรมอะไรกับเค้าได้ ถ้าเค้ารู้ว่าผมอยู่ที่สหรัฐฯ ผมเข้าใจว่ามันคงจะเกี่ยวข้องอะไรบางอย่างกับภาษี และข้อกำหนดอะไรบางอย่าง
IBKR หรือ TD Ameritrade ที่เราเปิดๆ กันอยู่ก็จะเป็นสาขาที่อยู่นอกสหรัฐฯ หมด
-------
คำถามที่สำคัญ คือ ภาษีนี้มีอยู่ แต่บังคับใช้ได้จริงไหม?
ผมคิดว่าบังคับใช้ไม่ค่อยได้ เพราะ เท่าที่ดูจากจำนวน Tax Return ของคนที่ยื่น Form 706-NA เข้ามามีน้อยมาก แถมจริงๆ แล้วถ้าไปดูยอดสินทรัพย์ขั้นต่ำที่จะเริ่มคิดภาษี Estate Tax ของ Non Resident จะค้างเติ่งอยู่ที่ $60,000 มาตั้งแต่ปี 1976 ในขณะที่ Estate Tax ของคนสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มขึ้นมาทุกปี จนล่าสุดยอดขั้นต่ำที่เริ่มคิดภาษีอยู่ที่ $11.7 ล้าน มันเลยเหมือนเป็นภาษีที่คนเค้าไม่ได้ยื่นกัน เพราะ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปบังคับคนนอกสหรัฐฯ ยังไงให้ยื่น และจ่ายภาษีตรงนี้ ตัวเลข $60,000 ของฝั่ง Non Resident เลยค้างอยู่อย่างนั้นมานานแสนนาน
แต่ก็ยังเห็นว่ามีการยื่นเข้ามาอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่มาก ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจจะเป็นพวกคนที่มีอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ยื่นกัน หรือไม่ก็เป็นพวกที่พลาดไปโดน Broker Freeze Account จนถูกบังคับให้ยื่น
ผมเชื่อว่า โบรกเกอร์ไทย ที่เป็นตัวแทนเราไปลงทุนที่สหรัฐฯ ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้เท่าไร หรือถึงรู้ก็ไม่น่าจะบังคับใช้ภาษีนี้กับเรา เพราะ เงินลงทุนของเราผ่านโบรกไทย จะเป็น Omnibus Account คือ หุ้นที่เราถือจริงๆ แล้วถือผ่านชื่อของโบรกเกอร์ไทยที่ไปเปิดบัญชีสถาบันกับที่ต่างประเทศ ไม่ได้เป็นชื่อของเราจริงๆ ในการบังคับใช้ภาษีนี้ก็ไม่น่าจะทำได้ ดังนั้นถ้าเรามีพอร์ตกับโบรกไทย ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ยกเว้นว่าโบรกไทยเจ้านั้นจะโรคจิตบังคับให้เราไปยื่น Form 706-NA กับทาง IRS สหรัฐฯ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามถ้าเรามีบัญชีกับโบรกเกอร์ที่สหรัฐฯ โดยตรงนี้ผมว่าเค้าเอาจริงแน่ ถ้าเราดุ่มๆ ไปบอกว่า เจ้าของบัญชีตาย ต้องการให้โอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดก เท่าที่สัมผัสกับประเทศนี้มา ผมว่าเค้าทำตามกฎแน่ๆ ไม่งั้นเค้าโดนเล่นงานติดคุกแน่นอน วิธีแก้ปัญหา คือ
1) เป็นไปได้ไหมที่ก่อนจะตาย เราทำการขายหุ้นสหรัฐฯ ทั้งหมด เปลี่ยนให้เป็นเงินสด เพราะ ถ้าหุ้นกลายเป็นเงินสด ปัญหาเรื่อง Estate Tax จะหมดไปในพริบตา หลังจากนั้นจะโอนเงินไปที่บัญชีอื่น หรือ ยื่นเอกสาร Probate เพื่อโอนทรัพย์สินไปที่ผู้รับมรดกก็ง่ายกว่า
2) ถ้าไม่บอกว่าเค้าว่าเราตาย เรายังสามารถจัดการอะไรได้ขนาดไหน สามารถเอาทรัพย์สินกลับมาไทย โดยไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อ Simplify การจัดการมรดกแค่ให้อยู่ในไทยได้ไหม
3) ปัญหานี้จะย้อนกลับไปที่โครงสร้างการจัดตั้งบัญชีว่า ถ้าเราถือหุ้นในนามของ Private Investment Company หรือ Trust แทนที่จะเป็นชื่อตัวบุคคล ปัญหาเรื่องนี้ก็จะหมดไป เพราะ การจัดการมรดกจะไปอยู่ที่ระดับผู้ถือหุ้นของ PIC หรือ ผู้รับผลประโยชน์ใน Trust ไม่ต้องปวดหัวไปกับขั้นตอนการส่งเอกสารการพิสูจน์พินัยกรรม แต่วิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการสำหรับลูกค้าที่เป็น High Net Worth ที่มีเงินลงทุนมากๆ ถึงจะทำกัน เพราะ มันมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งและดำรง PIC หรือ Trust อยู่ (ซึ่ง Trust นี่ก็เป็นแหล่งทำมาหากินที่ Private Bank ชอบมาขาย เพื่อที่จะได้ Lock-in ลูกค้าไว้กับ Ecosystem ของเค้า)
สำหรับคนที่มีบัญชีที่สิงคโปร์นี่ ผมเคยถามกับ Private Banker ที่ Credit Suisse ว่าถ้าผมตายผมจะทำยังไง เค้าบอกว่า เค้าห้ามรู้เด็ดขาดว่าผมตาย บัญชีจะถูก Freeze ทันที สิ่งที่เค้าแนะนำแบบเทาๆ คือ แนะนำให้เปิดบัญชีเป็น Joint Account โดยคนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการไม่ต้องบอกว่าผมตาย แต่จัดการทรัพย์สินให้เรียบร้อยก่อนที่จะไป Trigger กระบวนการ Probate และ Estate Tax
สุดท้าย สำหรับคนที่กำลังเจอสถานการณ์ในช่วงนี้ ผมขอแนะนำว่า ให้ปรึกษาที่ปรึกษาทางภาษีที่มีความเชี่ยวชาญให้ดีก่อน ติดต่อ และ ดำเนินอะไรต่อไป แต่สำหรับคนที่กำลังลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ อยู่ หรือคิดจะลงทุน ควรศึกษาเรื่องนี้ วางแผนเรื่องนี้เอาไว้บ้าง