“เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป” รุกธุรกิจทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service เต็มรูปแบบในปี 2565
Forbes Thailand
FORBES THAILAND / ADMIN
IT | NEWS #
15 MAR 2022 | 4:28 PM 107
‘เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป’ บุกตลาดเวียดนามภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ‘DKSH’ ชูศักยภาพแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและข้อมูลอีคอมเมิร์ซที่ได้พัฒนามาแล้วกว่า 9 ปีด้วยเงินลงทุนกว่า 800 ล้านบาท เตรียมรุกธุรกิจทั่วอาเซียนด้วยซอฟต์แวร์ as-a-service อย่างเต็มรูปแบบในปี 2565
วีระพงษ์ ศรีวรกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 16.5 เมื่อพิจารณาจากยอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value หรือ GMV) ปี 2563 อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor ปัจจุบันได้ให้บริการแก่ลูกค้าใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ปี 2565 Euromonitor ได้คาดว่ามูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler จะมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อยให้เท่ากับอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 16.5 ทั้งนี้ มูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการโดย ecommerce enabler ในปี 2565 เพียงร้อยละ 8.3 จากมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซใน 6 ประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตไปถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาท และบริษัทฯ ได้เคยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าแบรนด์ 10 อันดับแรกของบริษัทฯ ให้เติบโตถัวเฉลี่ยกว่าร้อยละ 71.7 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ข้อมูลสำคัญ
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมในปี 2568 ที่ 10,740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2564 มีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563
Euromonitor คาดปี 2563–2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญในปี 2568
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี ได้รับความเชื่อถือจากแบรนด์ระดับโลกและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น 3M และ Unilever โดยบางแบรนด์ยังคงใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปีแรก ผ่านมีจุดแข็งในด้านประสบการณ์ที่ยาวนานในการบริหารจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับแบรนด์ระดับโลกและประเทศ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้กลยุทธการขาย โปรโมชั่น ช่องทางการโฆษณา และราคาขายที่เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์ที่ทำให้แบรนด์สามารถรักษาภาพลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจออฟไลน์ของแบรนด์ได้ด้วย
และเมื่อประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ (EcommerceIQ) ที่สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่อย่างครบวงจรให้กับแบรนด์ และการมีความสัมพันธ์และระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์กว่า 30 รายใน 5 ประเทศทำให้บริษัทฯ สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างตรงเวลาภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
รวมถึงข้อมูลที่ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทฯ จะได้รับการจัดเก็บวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อนำเสนอกลยุทธการขายในครั้งต่อไปให้กับแบรนด์ จุดแข็งทั้งหมดเหล่านี้ทำให้บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกับแบรนด์ผู้ใช้บริการ และทำให้มียอดขายสินค้าแบบที่บริษัทฯ ให้บริการครบวงจร (End-to-End Merchandise Value) เติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 51.65 ต่อปีตั้งแต่ปี 2562
ชู e-commerce IQ SaaS
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ as-a-service (SaaS) ซึ่งปัจจุบันให้บริการ Market Insights และ Client Analytic ที่บริษัทฯ ได้รับค่าธรรมเนียมแบบสมัครสมาชิก โดยบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Ecommerce IQ SaaS นี้ เพิ่มเติมให้เป็น Full-suite โดยการนำ function ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ที่ให้กับแบรนด์ผู้ใช้บริการแบบ end-to-end solution อยู่แล้วของบริษัทฯ เพื่อให้แบรนด์ SME หรือแบรนด์ขนาดใหญ่ สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง (self-service) เป็นการขยายฐานลูกค้า และเพิ่มอัตราการทำกำไร เนื่องจาก SaaS นั้นพัฒนาบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยี Ecommerce IQ ของบริษัทฯ ที่ได้รับการพัฒนามากว่า 9 ปีแล้ว ภายใต้งบที่ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท
การให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรของบริษัทฯ ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเทคโนโลยี “EcommerceIQ” ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือต่างๆ ของบริษัท 2) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ‘EcommerceIQ SaaS’ ซึ่งติดตั้งภายใต้แพลตฟอร์ม EcommerceIQ โดยให้บริการในรูปแบบสัญญาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคและคู่แข่ง กำหนดราคาสินค้า วางตำแหน่งการตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง พัฒนากลยุทธ์ด้านอีคอมเมิร์ซและความสัมพันธ์กับผู้บริโภคในทุกช่องทาง
นอกจากนี้คาดว่าระหว่างปี 2565–2566 จะนำเสนอบริการเพิ่มเติม ได้แก่ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ การบริหารจัดการช่องทางการขายและคำสั่งซื้ออีคอมเมิร์ซ การเปิดตัวและบริหารร้านค้าออนไลน์ และการขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (DTC) และ 3) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง (Value Added Services) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การพัฒนาเว็บสโตร์, บริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมากว่า 9 ปี โดยเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ช่องทางการเชื่อมต่อ (Application Programing Interfaces หรือ APIs) ของบริษัทมีจำนวนกว่า 300 การเชื่อมต่อไปยังแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการรับชำระเงิน แพลตฟอร์มสินค้าคงคลัง ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์การขายสินค้าออนไลน์ จึงทำให้แบรนด์สินค้าไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเองเพื่อรองรับการใช้บริการอีคอมเมิร์ซ
จับมือกับ DKSH
นับจากเริ่มดำเนินธุรกิจปี 2556 บริษัทฯ เชื่อมต่อแบรนด์กับผู้บริโภคปลายทางแล้วกว่า 12 ล้านราย โดย ณ สิ้นปี 2564 บริษัทฯ มีแบรนด์สินค้าในไทยและระดับโลกที่ใช้บริการถึง 168 ราย ซึ่งมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ 3เอ็ม, ยูนิลีเวอร์, ควิกซิลเวอร์, นารายา ฯลฯ บริหารจัดการสินค้ากว่า 39,221 รายการ และบริหารจัดการคำสั่งสั่งซื้อถึง 8.02 ล้านรายการ
ขณะที่มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าเฉลี่ยใน 5 ประเทศที่ให้บริการ ณ ไตรมาส 4/2564 อยู่ที่ 1,331.2 บาทต่อออเดอร์ เทียบกับไตรมาส 1/2563 อยู่ที่ 1,059 บาทต่อออเดอร์ และเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ เริ่มมีกำไรสุทธิอยู่ที่กว่า 45.9 ล้านบาท
“นอกจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ DKSH ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย และ DKSH ยังเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เชิงกลยุทธ์ของเรามาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยข้อตกลงใหม่นี้ DKSH จะร่วมมือเป็นพาร์ตเนอร์กับ aCommerce เพียงรายเดียว สำหรับการให้บริการธุรกิจ online แบบ B2C ทั้งหมดในประเทศที่ aCommerce ดำเนินการได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม
โดย DKSH จะโอนและแนะนำแบรนด์ที่ต้องการขยายธุรกิจ online B2C ในประเทศดังกล่าวมาให้กับ aCommerce ทั้งหมด ในไตรมาสที่ 4/ 2564 แบรนด์ที่ใช้บริการของเราแบบ end-to-end เพิ่มขึ้นจาก 120 แบรนด์ เป็น 168 แบรนด์ ส่วนใหญ่รับโอนมาจาก DKSH โดยเฉพาะลูกค้าในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เรามีโอกาสได้ให้บริการแก่แบรนด์ใหม่ๆ หลายรายจาก DKSH และเราวางแผนที่จะเร่งขยายธุรกิจไปยังเวียดนามหลังจากที่เสนอขายหุ้น IPO เพื่อสนับสนุน DKSH และแบรนด์ในระดับโลกและภูมิภาคที่เป็นลูกค้าของเราในปัจจุบัน ที่ต้องการให้เราให้บริการในประเทศเวียดนาม” วีระพงษ์ กล่าว
อาเซียน ภูมิภาคแห่งศักยภาพ
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ Euromonitor คาดการณ์ว่าภาพรวมการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) จะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 52,302 ล้านเหรียญในปี 2563 เป็น 129,152 ล้านเหรียญในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 19.8 ต่อปี
จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับภาพรวมตลาดผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 2,331 ล้านเหรียญในปี 2563 เป็น 10,740 ล้านเหรียญในปี 2568 จากการปรับตัวของแบรนด์สินค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าแบบหลากหลายช่องทาง (Omnichannel)
บริษัทฯ จึงวางกลยุทธ์ขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องใน 6 ด้าน การมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรกับกลุ่มผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรระดับโลกของบริษัทฯ การลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ การขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศเวียดนามและยกระดับการดำเนินธุรกิจในมาเลเซีย
การขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรรายใหม่และกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ EcommerceIQ SaaS ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งานและความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น และส่วนสุดท้ายคือพิจารณาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดในประเทศใหม่ๆ
ทั้งนี้ โอกาสในการควบรวมกิจการมีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด ecommerce enabler ที่มีความ fragmented ตัวอย่างเช่น ผู้เล่นอันดับ 1-5 ในประเทศเวียดนามมีมูลค่าสินค้าที่บริหารจัดการรวมกันทั้งหมดน้อยกว่า GMV ของ aCommerce ในปี 2563 ทำให้ aCommerce มีโอกาสเข้าซื้อกิจการหรือเข้าร่วมทุนและพัฒนาศักยภาพของของกิจการร่วมทุนในอนาคตให้เติบโต
อีคอมเมิร์ซไทยเติบโตควบคู่ภูมิภาคอาเซียน
ด้าน เพ็ญสิริ เสถียรวงศ์นุษา ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทย บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,705 ล้านเหรียญในปี 2559 เป็น 8,520 ล้านเหรียญในปี 2563 หรืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 49.5 จากข้อมูลของ Euromonitor
นอกจากนี้ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2563 – 2568 ภาพรวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 20.6 โดยจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นจาก 10,140 ล้านเหรียญในปี 2564 เป็น 21,712 ล้านเหรียญในปี 2568
เนื่องจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบจัดส่งสินค้าและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอนาคตจะคลี่คลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทย
ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 39.1 ของส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดขายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง (EMV) ในประเทศไทยที่ 192.8 ล้านเหรียญ จากข้อมูลของ Euromonitor
“บริษัทฯ วางแผนขยายฐานลูกค้าผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ใช้บริการรายใหม่และผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังประเทศใหม่ๆ และขยายฐานผู้ใช้บริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโต สามารถสร้างอัตรากำไรและกระแสเงินสดสูง เช่น กลุ่มของเล่น สินค้าตกแต่งบ้านและสวน”เพ็ญสิริ กล่าว
https://forbesthailand.com/news/it/%e0% ... b9%80.html