โอกาสในการลงทุนหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 24, 2021 7:29 am
เมื่อต้นปี ผมได้เขียนกระทู้การประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีที่ขาดทุน เพื่อเชิญชวนเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่สนใจลงทุนในหุ้นโลกใหม่ ที่อยู่ในช่วง Young Growth ไปเรียนวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นลักษณะแบบนี้กับอ. Aswath Damodaran กัน
ผมคิดว่า ถ้าเพื่อนๆ ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ Damodaran และได้ทดลองทำ Valuation ตามวิธีที่อาจารย์แนะนำดู ก็จะพบว่าในช่วงต้นปีที่ผมชวนเพื่อนๆ มาเรียนนั้น ราคาการซื้อขายของหุ้นหลายๆ บริษัทในช่วงนั้น สะท้อนถึงสมมติฐานการเติบโตของรายได้และกำไรที่สูงเกินกว่าที่บริษัททำได้ ซึ่งในเวลาต่อมาความจริงหลายๆ อย่างก็ปรากฎ การเติบโตไม่ได้ดีอย่างที่คิด ราคาหุ้น Tech ในกลุ่ม Young Growth ในปีที่ผ่านมาจึงปรับตัวลดลงมาอย่างรุนแรง
ความเป็นจริงในการลงทุน คือ ในระยะสั้นตลาดมักจะมีพฤติกรรมที่เหมารวม เวลาเทขายก็จะเทขายทั้งกลุ่ม เวลาเห็นเงินฝืดก็จะเหมารวมว่าเงินฝืดมีแต่เงินฝืดในทางลบ เวลาเงินเฟ้อก็จะเหมารวมว่าเป็นเงินเฟ้อในทางลบ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว เงินฝืดกับเงินเฟ้อก็มีบางสถานการณ์ที่เป็นเงินฝืดเงินเฟ้อที่ดี
อย่างหุ้น Young Growth Tech บางตัวมีคุณภาพที่สูงมาก มีความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริงดี มี Moat และความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ในขณะที่หลายๆ ตัวก็เป็นอย่างที่ตลาดคิดจริงๆ คือ ได้ประโยชน์จาก COVID แค่ชั่วคราว COVID เป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น การเติบโต หรือ กำไรที่เห็นนั้น สุดท้ายก็ต้องคืนเขาไป
แต่พฤติกรรมการเหมารวมของตลาด ที่เทขายทิ้งทั้งหมด กดให้ Multiple โดยรวมของหุ้นกลุ่มนี้ลดลงมา สร้างโอกาสในการลงทุนที่น่าสนใจที่พวกเราควรที่จะพยายามเอาชนะความกลัวของตัวเอง มองวิกฤตเป็นโอกาส ปลุกปลอบขวัญกำลังใจเข้ามาศึกษาเจาะเป็นรายตัว
ในการกรองหาโอกาสในการลงทุน ผมเชื่อว่าโอกาสน่าจะอยู่กิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) กิจการที่ชะลอตัวลงชั่วคราว ก่อนที่จะโตต่ออย่างรุนแรง เพราะ COVID ทำให้เกิด Structural Shift จริงๆ จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
2) กิจการที่มี DCA จริงๆ แม้ว่าการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจะดูเหมือนน่ากลัว แต่เรามั่นใจว่ากิจการนี้จะชนะในที่สุด ล่าสุดมีข่าวว่า AT&T จะขาย Xandr ให้กับ Microsoft จะเห็นได้ว่าในโลกธุรกิจ เจ้าที่เดิมที่ตอบโต้ Disruptor ส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถฝืนความจริงที่เปลี่ยนไปได้ (แต่ต้องเป็นธุรกิจที่มี DCA จริงๆ นะ)
3) กิจการที่ถ้าถอดเงินลงทุนใน Intangible Asset แล้ว สร้างกระแสเงินสดที่ดีให้กับกิจการ ซึ่งเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ดู Ratio ผ่านๆ จากงบการเงินที่ยังไม่ได้ทำการ Normalize โอกาสจึงอยู่ที่การที่เราทำการ Convert ตัวเลขให้ถูกต้อง โดยการบวกกลับงบลงทุนใน R&D กับ S&M ในส่วนที่เป็น Growth CAPEX
จริงๆ แล้วกิจการหลายๆ ตัวที่เราเห็นว่ามันขาดทุนอยู่ แต่ถ้าเราปรับงบให้ถูกต้อง จริงๆ แล้วปัจจุบันมันกำไรอยู่ มันมี P/E ที่ใช้ดูได้
4) กิจการที่จริงๆ แล้วกระแสเงินสดปัจจุบันเป็นบวก และ Adjusted Operating Margin ที่แท้จริงในปัจจุบันสูงกว่า 20% พวกนี้ไม่ค่อย Sensitive กับดอกเบี้ยขาขึ้นเท่าไรหรอก ผมเคยทำ Sensitivity Analysis ดู พวกที่น่าจะเป็นห่วงจะเป็นพวกที่ FCFF เป็นลบ แล้วกว่าจะเป็นบวกต้องใช้เวลาอีกหลายๆ ปี พวกนี้ต่างหากที่ Sensitive กับ ดอกเบี้ยขาขึ้นมากๆ ซึ่งตลาดน่าจะ Misprice กับหุ้นในกลุ่มนี้ เพราะ ดูกำไรทางบัญชี ซึ่งไม่สะท้อนความเป็นจริงของกิจการ
5) COVID มันทำให้การใช้ชีวิตและการทำงานของคนหลายๆ อย่างเปลี่ยนโฉมไปอย่างสมบูรณ์ และมันก็มีธุรกิจที่เกิดใหม่ที่จะเป็น Winner Take Most อยู่จริงๆ ที่หลังจากเราศึกษามันดีๆ แล้ว เราต้องใช้ความเชื่อและศรัทธาในตัว Product และผู้บริหารอยู่พอสมควร ในการเข้าลงทุนในช่วงนี้ และถือผ่านมรสุมในช่วงนี้ไปให้ได้
6) ในบรรดาหุ้นกลุ่มนี้ที่ลงมา ผมเชื่อว่ามีบางกิจการที่ไม่ว่าจะดอกเบี้ยขึ้น ฟองสบู่แตก เกิดสงครามระหว่างประเทศ กิจการก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นทุกๆ ปี ขี่ Mega Trend ลูกใหญ่ๆ ที่เกิดจาก COVID ไปได้อีกเป็นสิบๆ ปี ดังนั้นผมบอกตัวเองว่า จงเชื่อใน Valuation ที่ตัวเองคำนวณได้ เพราะ เราเชื่อว่ายอดขายและกำไรจะโตได้จริงๆ
ึ7) ซื้อในราคาที่ต่อให้ใส่สมมติฐานที่ Conservative แล้ว ก็ยัง Undervalue อยู่ ราคาที่กำลังซื้อขายอยู่ในขณะนี้ อยู่ภายใต้สมมติฐานที่บริษัทสามารถทำได้ง่ายๆ สบายๆ
8) ในกรณีที่ราคาไม่ได้ Undervalue อะไรมากมาย แถมไม่ได้มั่นใจอะไรมากในผู้บริหาร ผมจะใช้ กราฟ ช่วยในการหาจังหวะเข้านะ
ผมคิดว่าช่วงปี 2020-2021 ได้สร้างให้เกิดตัวเลือกในการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จากจำนวน IPO, Direct Listing หรือ SPAC ที่มากเป็นประวัติการณ์ ตัวเลือกที่เยอะแยะมากมายเหล่านี้ ถ้าเรามีเครื่องมือดีๆ ในการกรอง การวิเคราะห์ เราควรที่จะดีใจที่ได้โอกาสหาหุ้นสุดยอดซื้อในราคาดีๆ
ขอให้เพื่อนๆ สนุกกับการลงทุนนะครับ
ผมคิดว่า ถ้าเพื่อนๆ ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ Damodaran และได้ทดลองทำ Valuation ตามวิธีที่อาจารย์แนะนำดู ก็จะพบว่าในช่วงต้นปีที่ผมชวนเพื่อนๆ มาเรียนนั้น ราคาการซื้อขายของหุ้นหลายๆ บริษัทในช่วงนั้น สะท้อนถึงสมมติฐานการเติบโตของรายได้และกำไรที่สูงเกินกว่าที่บริษัททำได้ ซึ่งในเวลาต่อมาความจริงหลายๆ อย่างก็ปรากฎ การเติบโตไม่ได้ดีอย่างที่คิด ราคาหุ้น Tech ในกลุ่ม Young Growth ในปีที่ผ่านมาจึงปรับตัวลดลงมาอย่างรุนแรง
ความเป็นจริงในการลงทุน คือ ในระยะสั้นตลาดมักจะมีพฤติกรรมที่เหมารวม เวลาเทขายก็จะเทขายทั้งกลุ่ม เวลาเห็นเงินฝืดก็จะเหมารวมว่าเงินฝืดมีแต่เงินฝืดในทางลบ เวลาเงินเฟ้อก็จะเหมารวมว่าเป็นเงินเฟ้อในทางลบ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว เงินฝืดกับเงินเฟ้อก็มีบางสถานการณ์ที่เป็นเงินฝืดเงินเฟ้อที่ดี
อย่างหุ้น Young Growth Tech บางตัวมีคุณภาพที่สูงมาก มีความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริงดี มี Moat และความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ในขณะที่หลายๆ ตัวก็เป็นอย่างที่ตลาดคิดจริงๆ คือ ได้ประโยชน์จาก COVID แค่ชั่วคราว COVID เป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น การเติบโต หรือ กำไรที่เห็นนั้น สุดท้ายก็ต้องคืนเขาไป
แต่พฤติกรรมการเหมารวมของตลาด ที่เทขายทิ้งทั้งหมด กดให้ Multiple โดยรวมของหุ้นกลุ่มนี้ลดลงมา สร้างโอกาสในการลงทุนที่น่าสนใจที่พวกเราควรที่จะพยายามเอาชนะความกลัวของตัวเอง มองวิกฤตเป็นโอกาส ปลุกปลอบขวัญกำลังใจเข้ามาศึกษาเจาะเป็นรายตัว
ในการกรองหาโอกาสในการลงทุน ผมเชื่อว่าโอกาสน่าจะอยู่กิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) กิจการที่ชะลอตัวลงชั่วคราว ก่อนที่จะโตต่ออย่างรุนแรง เพราะ COVID ทำให้เกิด Structural Shift จริงๆ จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
2) กิจการที่มี DCA จริงๆ แม้ว่าการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจะดูเหมือนน่ากลัว แต่เรามั่นใจว่ากิจการนี้จะชนะในที่สุด ล่าสุดมีข่าวว่า AT&T จะขาย Xandr ให้กับ Microsoft จะเห็นได้ว่าในโลกธุรกิจ เจ้าที่เดิมที่ตอบโต้ Disruptor ส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถฝืนความจริงที่เปลี่ยนไปได้ (แต่ต้องเป็นธุรกิจที่มี DCA จริงๆ นะ)
3) กิจการที่ถ้าถอดเงินลงทุนใน Intangible Asset แล้ว สร้างกระแสเงินสดที่ดีให้กับกิจการ ซึ่งเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ดู Ratio ผ่านๆ จากงบการเงินที่ยังไม่ได้ทำการ Normalize โอกาสจึงอยู่ที่การที่เราทำการ Convert ตัวเลขให้ถูกต้อง โดยการบวกกลับงบลงทุนใน R&D กับ S&M ในส่วนที่เป็น Growth CAPEX
จริงๆ แล้วกิจการหลายๆ ตัวที่เราเห็นว่ามันขาดทุนอยู่ แต่ถ้าเราปรับงบให้ถูกต้อง จริงๆ แล้วปัจจุบันมันกำไรอยู่ มันมี P/E ที่ใช้ดูได้
4) กิจการที่จริงๆ แล้วกระแสเงินสดปัจจุบันเป็นบวก และ Adjusted Operating Margin ที่แท้จริงในปัจจุบันสูงกว่า 20% พวกนี้ไม่ค่อย Sensitive กับดอกเบี้ยขาขึ้นเท่าไรหรอก ผมเคยทำ Sensitivity Analysis ดู พวกที่น่าจะเป็นห่วงจะเป็นพวกที่ FCFF เป็นลบ แล้วกว่าจะเป็นบวกต้องใช้เวลาอีกหลายๆ ปี พวกนี้ต่างหากที่ Sensitive กับ ดอกเบี้ยขาขึ้นมากๆ ซึ่งตลาดน่าจะ Misprice กับหุ้นในกลุ่มนี้ เพราะ ดูกำไรทางบัญชี ซึ่งไม่สะท้อนความเป็นจริงของกิจการ
5) COVID มันทำให้การใช้ชีวิตและการทำงานของคนหลายๆ อย่างเปลี่ยนโฉมไปอย่างสมบูรณ์ และมันก็มีธุรกิจที่เกิดใหม่ที่จะเป็น Winner Take Most อยู่จริงๆ ที่หลังจากเราศึกษามันดีๆ แล้ว เราต้องใช้ความเชื่อและศรัทธาในตัว Product และผู้บริหารอยู่พอสมควร ในการเข้าลงทุนในช่วงนี้ และถือผ่านมรสุมในช่วงนี้ไปให้ได้
6) ในบรรดาหุ้นกลุ่มนี้ที่ลงมา ผมเชื่อว่ามีบางกิจการที่ไม่ว่าจะดอกเบี้ยขึ้น ฟองสบู่แตก เกิดสงครามระหว่างประเทศ กิจการก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นทุกๆ ปี ขี่ Mega Trend ลูกใหญ่ๆ ที่เกิดจาก COVID ไปได้อีกเป็นสิบๆ ปี ดังนั้นผมบอกตัวเองว่า จงเชื่อใน Valuation ที่ตัวเองคำนวณได้ เพราะ เราเชื่อว่ายอดขายและกำไรจะโตได้จริงๆ
ึ7) ซื้อในราคาที่ต่อให้ใส่สมมติฐานที่ Conservative แล้ว ก็ยัง Undervalue อยู่ ราคาที่กำลังซื้อขายอยู่ในขณะนี้ อยู่ภายใต้สมมติฐานที่บริษัทสามารถทำได้ง่ายๆ สบายๆ
8) ในกรณีที่ราคาไม่ได้ Undervalue อะไรมากมาย แถมไม่ได้มั่นใจอะไรมากในผู้บริหาร ผมจะใช้ กราฟ ช่วยในการหาจังหวะเข้านะ
ผมคิดว่าช่วงปี 2020-2021 ได้สร้างให้เกิดตัวเลือกในการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จากจำนวน IPO, Direct Listing หรือ SPAC ที่มากเป็นประวัติการณ์ ตัวเลือกที่เยอะแยะมากมายเหล่านี้ ถ้าเรามีเครื่องมือดีๆ ในการกรอง การวิเคราะห์ เราควรที่จะดีใจที่ได้โอกาสหาหุ้นสุดยอดซื้อในราคาดีๆ
ขอให้เพื่อนๆ สนุกกับการลงทุนนะครับ