หลังจากที่ผมนังคิดเรื่องพรีเมียมที่เหมาะสมกับหุ้นมาสักพัก(ทั้งไปลองอ่านลองฟังมากจากหลายผู้รู้) ผมก็พอจับประเด็นหลัก ๆ ได้ว่า PE ควรสัมพันธ์ไปกับความสามารถในการเติบโตของกำไรบริษัท โดยส่วนตัวผมชอบการใช้ PE/G ของ Peter Lynch มากและคิดว่ามันเหมาะกับการประยุกต์ใช้ดี
แต่ด้วยความสงสัยในบางประเด็นผมก็เลยเกิดคำถามขึ้นมา เช่น
1. หุ้นที่มี PEG สูงยังจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจได้ไหม
2. มันมีโอกาสไหมที่หุ้น PE สูงมากจนเกินความสามารถในการเติบโตของบริษัทจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้
ผมเลยไปลองสร้างแบบจำลองขึ้นมาแบบง่าย ๆ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ดูสมเหตุสมผลคือ ในระยะยาวตลาดจะให้ PE ที่เหมาะสมกับการเติบโต อ้างอิงจาก อ.เบนจามิน เกรแฮม ที่เคยพูดไว้ "ในระยะสั้นตลาดเป็นเหมือนเครื่องโหวดลงคะแนน แต่ในระยะยาวมันจะเป็นเหมือนเครื่องชั่งน้ำหนัก" หรือคือ คะแนนนิยมระยะสั้นอาจส่งผลให้ PE สูงมากเป็นพิเศษ แต่สุดท้ายตลาดก็จะหันมาชั่งน้ำหนักกำไรในระยะยาวเสมอ
***พิสูจน์ข้อสงสัยที่ 1. หุ้นที่มี PEG สูงยังจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจได้ไหม ?
ในตาราง 1.1 ผมได้กำหนดหุ้น 3 ตัว แต่ละตัวมี EPS ในปีแรกเท่ากัน 1 และกำหนดให้ทุกตัวมี EPS เติบโต +50% ทุกปี (
ที่ใช้ 50% เพราะจะได้คำนวณง่ายละเห็นความแตกต่างชัดเจนครับ) จะให้ PEG ในปีแรกต่างกันไป มีทั้ง PEG สูง และต่ำ แต่ในปีสุดท้านหุ้นทุกตัวจะได้รับ PEG เท่ากันที่ 1 เท่า (
โดยมโนว่า PEG 1 เท่าคือค่าที่ตลาดคิดว่าเหมาะสมในระยะยาวตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้) ผลลัพธ์ก็จะได้
(จะเห็นว่าปีแรกหุ้นจะได้รับ PEต่างกันไปตั้งแต่ PE 25-100 แต่หุ้นจะได้รับการปรับ PE อย่างสมเหตุผลตามหลักคณิตฯจนPE 50 เหมือนกันหมดในปีสุดท้าย)
พอนำมาคิดเป็นผลตอบแทนโดยรวมในปีนั้น ๆ ก็จะได้ว่า
***บทสรุปแรกที่ผมที่ได้ก็คือ แม้หุ้นจะได้รับ PE และ PEG สูงอย่างมากในปีแรก แต่หากบริษัทสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ก็ยังมีโอกาสที่หุ้นที่มี PE และ PEG สูงจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ ซึ่งหมายความว่าหุ้น PEG และ PE สูงก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีได้ ในอีกด้านหนึ่งหุ้นที่ได้รับ PE และ PEG ต่ำในปีแรกจะมีโอกาสได้รับ upside มากกว่าอย่างมาก(หากตลาดสามารถปรับ PE และ PEG อย่างสมเหตุผลในระยะยาว)
***พิสูจน์ข้อสงสัยที่ 2. มันมีโอกาสไหมที่หุ้น PE สูงมากจนเกินความสามารถในการเติบโตของบริษัทจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ?
ในตาราง 2.1 ผมได้กำหนดหุ้น 2 ตัวคือ
(1)หุ้นที่โตไม่ทันPE หรือก็คือ หุ้นที่มี PEG สูง และมีการถดถอยในการเติบโตของกำไร โดยกำหนดให้หุ้นโตได้แค่ 80% ของการเติบโตปีที่แล้ว และจะได้รับ PE ที่เอามาคำนวณลดลงตาม(%)การถดถอยของกำไรปีที่แล้ว พูดสั้น ๆ ก็คือ EPS จะโตน้อยลง(แต่ยังโตอยู่นะครับ) และ PE ที่เอามาคำนวณจะน้อยลงทุกปี โดยกำหนดให้หุ้นมี PE ในปีแรกที่ 62.5 เท่า และกำไรปีแรกโตจริง 50%
(2)หุ้นที่โตทันกำไร คือกำไรเติบโตต่อเนื่องสม่ำเสมอ (เพิ่ม 20% ทุกปี) และมี PE และ PEG คงที่ (มี PE 20 เท่า และ PEG 1 เท่า)
โดยหุ้นแต่ละตัวได้รับ EPS เท่ากันที่ 1 ในปี 0 เหมือนกัน ผลลัพธ์ก็จะได้
หากมาหาผลตอบแทนโดยรวมในปีนั้น ๆ ก็จะได้ว่า
(จะเห็นได้ว่าแม้ในปีแรกหุ้นโตไม่ทันจะโตสูงถึง 50% แต่กลับไม่ใช่การลงทุนที่ดีเมื่อกำไรบริษัทของมันโตอย่างถดถอย)
***บทสรุปข้อพิสูจน์ที่ 2 ที่ผมที่ได้ก็คือ แม้หุ้นที่ PE สูง จะสามารถสร้างการเติบโตของกำไรที่น่าประทับใจได้ แต่หากอัตราการเติบโตถดถอยลงและตลาดเริ่มมีการปรับ PE ให้น้อยลงตามก็จะส่งผลลบต่อราคาหุ้นในระยะยาวกลายเป็นว่าถึงกำไรจะโตแต่ราคาไม่ไปไหนแถมลดลงอีก ในทางกลับกันผลตอบแทนจากหุ้นที่เติบโตได้ทัน PE แม้จะมีการเติบโตที่ไม่มากแต่ดูจะเป็นอะไรที่หอมหวานกว่ามาก
ปล.หวังว่าแบบจำลองนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ หากมีประเด็นใดที่ผมผิดไปหรือมีจุดที่น่าวิพากษ์ก็ฝากชี้แนะด้วยนะครับ