วิธีลดพอร์ตในช่วงตลาดขาลงของผม Part1/3 by Tatankuyso
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 19, 2022 7:20 pm
จากประสบการณ์การลงทุนแนวVi มา10กว่าปี ผมพอจะสรุปวิธีและแนวคิดที่ผมใช้แล้วรู้สึกว่าได้ผลดี ในการลดพอร์ตเพื่อหลบ หรือลดทอนผลกระทบจากตลาดขาลงรอบใหญ่
เนื้อหาในบทความได้มาจากอาจารย์หลายๆท่านที่ผมเคารพนับถือ นำมาปรับใช้ให้ตรงกับจริตของผมเอง อาจจะมีผิดๆถูกๆขออภัยพี่ๆน้องๆทุกท่านมาณ ที่นี้ด้วย
ก่อนอื่นผมขอแบ่งtiming zone ของหุ้นตัวนึงไว้เป็น3ช่วงก่อนครับคือ
1.Zone undervalue หมายถึงหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่ากิจการมากๆ ช่วงนี้หุ้นมักจะไม่ค่อยมีข่าว หรือstory หรือการถูกพูดถึงเท่าไร หรือถ้ามีก็ในระดับที่น้อยมากๆ
2.Zone fair value หมายถึงราคาหุ้นพอๆกับมูลค่ากิจการ + - นิดหน่อย
3.Zone Over value ผมขอเรียกZone นี้ว่าZoneเกร็งกำไรละกันครับ Zoneนี้ระดับการพูดถึงหุ้นตัวนี้จะสูงมาก และมักมาพร้อมกับstory ที่ดูน่าตื่นเต้น พร้อมกับราคาที่ขึ้นมาไกลแล้ว และกราฟที่มองย้อนกลับไปสวยเลยทีเดียว
หุ้นตัวเดียวกันมักจะเคยผ่านทั้ง3Zoneเมื่อเราดูมันในระยะเวลาที่กว้างและนานพอ ซึ่งวิธีที่ผมใช้มองหุ้นตัวเดียวกันนี้ ผมจะมองมันด้วยชุดความคิดที่แตกต่างกัน ในแต่ละ zone
ก่อนอื่นสิ่งที่ต้องระวังให้มากคือ มุมมองและวิธีที่ใช้ประเมิณ valuetionของหุ้น ว่า เราประเมิณ มันด้วยการมองอนาคตไกลแค่ไหน ซึ่งจะมีผลต่อวิธีและลำดับการลดหุ้นออกจากพอร์ตตอนตลาดขาลงมาก ซึ่งจะกล่าวถึงในช่วงต่อไปของบทความนี้ครับ
ก่อนอื่นเลย ผมขอยกตัวอย่างหุ้นตัวนึง แต่ผมขอไม่กล่าวถึงชื่อหุ้นนะครับ ผมขอเรียกว่าหุ้นD(ไม่ใช้หุ้นคลินิกทำฟันนะครับ55) ละกัน ผม เริ่มสนใจหุ้นตัวนี้ ตอนที่ราคาแถวๆ15-17บาท ผมจำได้ว่าช่วงนั้นแทบจะไม่มีคนพูดถึงหุ้นตัวนี้เลย ราคาหุ้นก็วิ่งsidewayนิ่งๆแถวๆนี้อยู่นานหลายเดือน หุ้นยังไม่ค่อยถูกลงในสื่อ หนังสือพิมพ์ social media ต่างๆยังไม่ค่อยถูกพูดถึง ผมเข้าไปประเมิณแล้วผมชอบในbusiness model มาก แถมราคาหุ้นก็ยังค่อยนข้างundervalue อยู่มาก เกาะMega trend ไปได้ด้วยอีกตังหาก ผมเลยจัดหุ้นตัวนี้ ไว้ในZone ที่1 คือZone undervalue ซึ่งตอนผมประเมิณมูลค่า ผมจะประเมิณ2มุมมอง คือ Aมุมมอง 1ปีข้างหน้า และBมุมมองอีก5ปีข้างหน้า
สาเหตุที่ผมประเมิณไว้2มุมมอง โดยมุมมองนึงมองสั้นหน่อย และอีกมุมมอง มองยาวหน่อย ก็เพราะว่า ผมเข้าใจว่า หุ้นบางตัว ปัจจุบันอาจจะเหมือนราคาแพง แต่ถ้าเรายิ่งมองไประยะเวลานานๆ มันก็อาจจะเหมือนไม่แพง ผมยกตัวอย่างเช่นหุ้นเทคโนโลยี แต่ว่าในช่วงที่ตลาดลงแรงๆ นักลงทุนจะหันกลับมามองตรงนี้ครับ คือ ระยะเวลาในการมองไปข้างหน้าของการประเมิณมูลค่าของหุ้นในพอร์ตตัวเอง โดยตัวไหนที่ตลาดมองว่ามันจะถูกแต่ใช้เวลาอีกนาน ก็จะถูกขายถล่มออกมาก่อนเสมอ หุ้นDที่ผมสนใจ ที่ราคา15-17บาท ทั้งในมุมมองA และB ต่างคิดออกมาแล้ว ราคาundervalueมาก ทั้งสองช่วงเวลา ผมจึงซื้อเข้าลงทุน ด้วยมุมมองของ นักลงทุนVi แบบ100% ไม่ได้ใช้กราฟ หรือจิตวิทยาใดๆ มาตัดสินใจในการซื้อเลยแม้แต่น้อย และผมจะมองหุ้นตัวนี้ในพอร์ต ในฐานะการลงทุนแบบVi100% แน่นอนครับ ผมจะต้องมีการคิดไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ราคาเหมาะสมหรือfair value ของหุ้นตัวนี้ อยู่ที่เท่าไร ใน1ปีข้างหน้า 3ปีข้างหน้า และ 5 ปีข้างหน้า ช่วงนั้นผมคิดไว้ว่าภายใน3ปี ราคาเหมาะสมหุ้นตัวนี้ควรอยู่แถวๆ30-35บาท ผมขอเลือกค่าเฉลี่ยนละกันนะครับ ที่32.5บาท จากนั้นด้วยความโชคดี สิ่งที่ประเมิณไว้ทั้งปัจจัยเชิงคุณภาพ และตัวเลข และstoryมันดันมาตามที่ผมคิดว่า หุ้นตัวนี้ก็ค่อยๆวิ่งจากแถวๆ15-17บาทขึ้นมาแถว30บาท(ระหว่างทางก็จะมีCorrectionหลายครั้ง ผมก็จะเข้าลงทุนเพิ่มเรื่อยๆ ถ้าupsideมันยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ) ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งมันก็เท่ากับFair value ใน3ข้างหน้าที่ผมคิดไว้ ผมประเมิณอีกที ผมคิดว่าmegatrenนี้ คงไม่อยู่ยาวนานถึง10ปี ผมก็เลยตัดสินใจมองว่าหุ้นตัวนี้จบ Zone under value ไปแล้ว และเข้าสู่Zone ที่2 คือ Zone Fair Value
เวลาหุ้นราคาวิ่งมาจนเข้าZoneที่2 คือราคาพอๆกับพื้นฐานธุรกิจ ที่เราคิดไว้ในอีกหลายปีข้างหน้ามากๆ แต่ใช้เวลาที่ราคาวิ่งมาถึง Fair value น้อยกว่านั้นมาก ผมจะปรับมุมมองหุ้นตัวเดียวกันนี้ใหม่ โดยเริ่มมองมันโดยใช้กราฟ และจิตวิทยา เข้ามาช่วยครับ(ไม่ได้มองแบบVi100%อีกต่อไป) ผมจะยังไม่รีบขายหุ้นตัวนั้นทันที (เพราะในอดีตเคยขายทันทีแล้วตกรถหนักมาก) กล่าวคือหากกราฟยังสวยอยู่ ไม่หลุดแท่งแดงง แนวรับไปไกลๆ ประกอบกับstroyที่มาแรงมาก ทั้งจากตัวธุรกิจเอง ที่ถูกพูดถึงในสื่อต่างๆมาก และมีนักลงทุนรายใหญ่เข้าซื้อ ก็จะยังถือต่อ แต่ถ้าราคาหุ้นอยู่ในzone2 และ3 เวลาหุ้นมีcorrection ไม่ว่าจะแรงแค่ไหน ถ้ามันไม่หลุดกลับไปZone 1 ผมก็จะไม่เข้าลงทุนเพิ่ม คือนั่งอยู่เฉยๆรอเวลาขายอย่างเดียว พร้อมกับเชคงบการเงิน พัฒนาการของพื้นฐานการการว่าเป็นไปตามที่ผมคิดไหม
แต่ความยากมันอยู่ตรงนี้ครับ ช่วงที่หุ้น อยู่ในZone2 โดยเฉพาะZone3 ราคาที่วิ่งมาไกลๆ มันมักจะมาพร้อม กับstory และบทวิเคราะห์ และการปรับPeขึ้นให้หุ้นตัวนั้นๆของตลาด และที่สำคัญคือ ตลาดจะมองหุ้นตัวนั้นไกลมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว ยิ่งหากเราเสพสื่อมากๆ อ่านหนังสือพิมพ์ คำสัมภาษณ์ต่างๆ เราจะยิ่งอินกับมัน และเผลอมองหุ้นตัวนั้น ไกลขึ้นตามตลาด และกลับไปมองมันเป็นหุ้นZone1อีกรอบ ผมแก้ปัญหาตรงนี้ของผมโดยการ ตอนที่หุ้นราคาแถวๆ15-17บาท ผมคิดยังไงกับหุ้นตัวนี้ มีมุมมองยังไง valuetionยังไง มองมันไกลแค่ไหน ผมจะอัดเสียงตัวเองไว้ครับ แล้วเอากลับมาฟังตอนที่หุ้นมันขึ้นมาในZone 2,3แล้ว เพื่อเตือนสติตัวเองว่า ผมเคยมองแบบนี้ไว้ตอนที่ซื้อมันในZone1 ปรากฏว่า ตอนที่หุ้นตัวนี้วิ่งขึ้นมาzone 2 3 พื้นฐานยังเท่าเดิมตอนที่ผมคิดไว้ตอนที่มันอยู่Zone1 แต่ตลาดแค่มองมันไกลขึ้น กึ่งๆกลายเป็นหุ้นเทคusaไปแล้ว ช่วงZone2 3 สรุปคือผมจะมองมันโดยใช้กราฟทางเทคนิคเข้ามาช่วย และขายที่จุด Trailing stop เพื่อลอคกำไร และไม่ซื้อเพิ่มเด็ดขาด และผมจะเตือนตัวเองตลอดว่าตอนนี้ หุ้น เล่นกันบนZone Over valueไปแล้ว หรือZoneที่ผมเรียกว่าเกร็งกำไร
มาถึงตรงนี้ ถ้าวันนึงที่ผมมีแนวคิดว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาลงรอบใหญ่ผมจะพิจารณา ขายหุ้นที่อยู่ในZone3ทันที เพื่อลดพอร์ตกลับมาถือเงินสดก่อนที่ตลาดมันจะลงไปแรงๆ หรือลงมาจนหลุดtrailing stopของผมโดยการพิจารณาคือ
-หากหุ้นตัวนั้นถูกปรับPEขึ้นไปด้วยการมองกำไร การเติบโตในอนาคตที่นานมากขึ้นผมจะพิจาณาขายหุ้นทันทีที่หลุดtrailing stop
-หากหุ้นตัวนั้นถูกปรับPE ขึ้นไป เพราะพื้นฐานกิจการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมากๆ ผมจะกลับมาดูราคาทุนผม ถ้าราคาทุนผมอยู่ในZone1 หรือต้นน้ำมากๆ ผมจะไปพิจาณาต่อถึงเรื่องของความaccuracyของประมาณการ ว่าปัจจัยต่างๆที่ผมคิด ประเมิณไว้มันมีโอกาสเกิดขึ้นสูงไหม และระยะเวลาของmega trend หรือstory ของบริษัทนั้นๆ เช่นหากผมคิดว่าตลาดขาลงยาวนานจะมาถึงอย่างน้อยๆ3-5ปี แต่หุ้นที่ผมถือstory หรือmegatred มันน่าจะคงอยู่แค่1-2ปี แบบนี้ผมก็ขาย แต่ถ้าไม่ ผมก็ถือต่อ
หากหุ้นในพอร์ตตัวไหนที่ยังอยู่ในZone1 และผมพิจารณาแล้วว่าวิฤตที่เกิดขึ้นไม่กระทบต่อพื้นฐานบริษัท ผมก็จะไม่ได้ขายออกมา
ุ ส่วนตัวผมช่วงเริ่มลงทุนใหม่ๆ ผมเคยเชื่อว่า การtiming ตลาดเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำได้ยาก และไม่มีสาระสำคัญกับการลงทุน แต่พอเวลาผ่านไป หลังจากเจ็บมาเยอะ ก็พอจะได้แนวคิดใหม่ว่า การtiming ตลาด ถี่ๆ พยายามทำนายตลาดขาลงทุกรอบ อันนั้นทำได้ยากมาก และไม่มีสาระสำคัญกับการลงทุนเลย แต่การtimingตลาด ขาลงรอบใหญ่ๆ ด้วยการศึกษาmacro economic และตามข่าวที่เพียงพอ(แต่ต้องไม่ละเลยการศึกษาพื้นฐานบริษัท ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่สุดในการลงทุน) หลายๆครั้งก็ทำให้สามารถคว้าโอกาส เมื่อตลาดตกลงรุนแรงแล้วมีเงินสด หรือช่วยเซฟผลตอบแทนไว้ได้(ไม่ต้องถูกทุกครั้งขอแค่ถูก70%ก็เพียงพอแล้ว)
part ต่อไปผมจะมาเขียนเล่าวิธีและแนวคิดการtiming ตลาด ของผมที่ไม่ทำบ่อยเกินไปจนเสียโอกาสในการลงทุน เผื่อจะพอเป็นประโยชน์กับหลายๆท่าน
เนื้อหาในบทความได้มาจากอาจารย์หลายๆท่านที่ผมเคารพนับถือ นำมาปรับใช้ให้ตรงกับจริตของผมเอง อาจจะมีผิดๆถูกๆขออภัยพี่ๆน้องๆทุกท่านมาณ ที่นี้ด้วย
ก่อนอื่นผมขอแบ่งtiming zone ของหุ้นตัวนึงไว้เป็น3ช่วงก่อนครับคือ
1.Zone undervalue หมายถึงหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่ากิจการมากๆ ช่วงนี้หุ้นมักจะไม่ค่อยมีข่าว หรือstory หรือการถูกพูดถึงเท่าไร หรือถ้ามีก็ในระดับที่น้อยมากๆ
2.Zone fair value หมายถึงราคาหุ้นพอๆกับมูลค่ากิจการ + - นิดหน่อย
3.Zone Over value ผมขอเรียกZone นี้ว่าZoneเกร็งกำไรละกันครับ Zoneนี้ระดับการพูดถึงหุ้นตัวนี้จะสูงมาก และมักมาพร้อมกับstory ที่ดูน่าตื่นเต้น พร้อมกับราคาที่ขึ้นมาไกลแล้ว และกราฟที่มองย้อนกลับไปสวยเลยทีเดียว
หุ้นตัวเดียวกันมักจะเคยผ่านทั้ง3Zoneเมื่อเราดูมันในระยะเวลาที่กว้างและนานพอ ซึ่งวิธีที่ผมใช้มองหุ้นตัวเดียวกันนี้ ผมจะมองมันด้วยชุดความคิดที่แตกต่างกัน ในแต่ละ zone
ก่อนอื่นสิ่งที่ต้องระวังให้มากคือ มุมมองและวิธีที่ใช้ประเมิณ valuetionของหุ้น ว่า เราประเมิณ มันด้วยการมองอนาคตไกลแค่ไหน ซึ่งจะมีผลต่อวิธีและลำดับการลดหุ้นออกจากพอร์ตตอนตลาดขาลงมาก ซึ่งจะกล่าวถึงในช่วงต่อไปของบทความนี้ครับ
ก่อนอื่นเลย ผมขอยกตัวอย่างหุ้นตัวนึง แต่ผมขอไม่กล่าวถึงชื่อหุ้นนะครับ ผมขอเรียกว่าหุ้นD(ไม่ใช้หุ้นคลินิกทำฟันนะครับ55) ละกัน ผม เริ่มสนใจหุ้นตัวนี้ ตอนที่ราคาแถวๆ15-17บาท ผมจำได้ว่าช่วงนั้นแทบจะไม่มีคนพูดถึงหุ้นตัวนี้เลย ราคาหุ้นก็วิ่งsidewayนิ่งๆแถวๆนี้อยู่นานหลายเดือน หุ้นยังไม่ค่อยถูกลงในสื่อ หนังสือพิมพ์ social media ต่างๆยังไม่ค่อยถูกพูดถึง ผมเข้าไปประเมิณแล้วผมชอบในbusiness model มาก แถมราคาหุ้นก็ยังค่อยนข้างundervalue อยู่มาก เกาะMega trend ไปได้ด้วยอีกตังหาก ผมเลยจัดหุ้นตัวนี้ ไว้ในZone ที่1 คือZone undervalue ซึ่งตอนผมประเมิณมูลค่า ผมจะประเมิณ2มุมมอง คือ Aมุมมอง 1ปีข้างหน้า และBมุมมองอีก5ปีข้างหน้า
สาเหตุที่ผมประเมิณไว้2มุมมอง โดยมุมมองนึงมองสั้นหน่อย และอีกมุมมอง มองยาวหน่อย ก็เพราะว่า ผมเข้าใจว่า หุ้นบางตัว ปัจจุบันอาจจะเหมือนราคาแพง แต่ถ้าเรายิ่งมองไประยะเวลานานๆ มันก็อาจจะเหมือนไม่แพง ผมยกตัวอย่างเช่นหุ้นเทคโนโลยี แต่ว่าในช่วงที่ตลาดลงแรงๆ นักลงทุนจะหันกลับมามองตรงนี้ครับ คือ ระยะเวลาในการมองไปข้างหน้าของการประเมิณมูลค่าของหุ้นในพอร์ตตัวเอง โดยตัวไหนที่ตลาดมองว่ามันจะถูกแต่ใช้เวลาอีกนาน ก็จะถูกขายถล่มออกมาก่อนเสมอ หุ้นDที่ผมสนใจ ที่ราคา15-17บาท ทั้งในมุมมองA และB ต่างคิดออกมาแล้ว ราคาundervalueมาก ทั้งสองช่วงเวลา ผมจึงซื้อเข้าลงทุน ด้วยมุมมองของ นักลงทุนVi แบบ100% ไม่ได้ใช้กราฟ หรือจิตวิทยาใดๆ มาตัดสินใจในการซื้อเลยแม้แต่น้อย และผมจะมองหุ้นตัวนี้ในพอร์ต ในฐานะการลงทุนแบบVi100% แน่นอนครับ ผมจะต้องมีการคิดไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ราคาเหมาะสมหรือfair value ของหุ้นตัวนี้ อยู่ที่เท่าไร ใน1ปีข้างหน้า 3ปีข้างหน้า และ 5 ปีข้างหน้า ช่วงนั้นผมคิดไว้ว่าภายใน3ปี ราคาเหมาะสมหุ้นตัวนี้ควรอยู่แถวๆ30-35บาท ผมขอเลือกค่าเฉลี่ยนละกันนะครับ ที่32.5บาท จากนั้นด้วยความโชคดี สิ่งที่ประเมิณไว้ทั้งปัจจัยเชิงคุณภาพ และตัวเลข และstoryมันดันมาตามที่ผมคิดว่า หุ้นตัวนี้ก็ค่อยๆวิ่งจากแถวๆ15-17บาทขึ้นมาแถว30บาท(ระหว่างทางก็จะมีCorrectionหลายครั้ง ผมก็จะเข้าลงทุนเพิ่มเรื่อยๆ ถ้าupsideมันยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ) ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งมันก็เท่ากับFair value ใน3ข้างหน้าที่ผมคิดไว้ ผมประเมิณอีกที ผมคิดว่าmegatrenนี้ คงไม่อยู่ยาวนานถึง10ปี ผมก็เลยตัดสินใจมองว่าหุ้นตัวนี้จบ Zone under value ไปแล้ว และเข้าสู่Zone ที่2 คือ Zone Fair Value
เวลาหุ้นราคาวิ่งมาจนเข้าZoneที่2 คือราคาพอๆกับพื้นฐานธุรกิจ ที่เราคิดไว้ในอีกหลายปีข้างหน้ามากๆ แต่ใช้เวลาที่ราคาวิ่งมาถึง Fair value น้อยกว่านั้นมาก ผมจะปรับมุมมองหุ้นตัวเดียวกันนี้ใหม่ โดยเริ่มมองมันโดยใช้กราฟ และจิตวิทยา เข้ามาช่วยครับ(ไม่ได้มองแบบVi100%อีกต่อไป) ผมจะยังไม่รีบขายหุ้นตัวนั้นทันที (เพราะในอดีตเคยขายทันทีแล้วตกรถหนักมาก) กล่าวคือหากกราฟยังสวยอยู่ ไม่หลุดแท่งแดงง แนวรับไปไกลๆ ประกอบกับstroyที่มาแรงมาก ทั้งจากตัวธุรกิจเอง ที่ถูกพูดถึงในสื่อต่างๆมาก และมีนักลงทุนรายใหญ่เข้าซื้อ ก็จะยังถือต่อ แต่ถ้าราคาหุ้นอยู่ในzone2 และ3 เวลาหุ้นมีcorrection ไม่ว่าจะแรงแค่ไหน ถ้ามันไม่หลุดกลับไปZone 1 ผมก็จะไม่เข้าลงทุนเพิ่ม คือนั่งอยู่เฉยๆรอเวลาขายอย่างเดียว พร้อมกับเชคงบการเงิน พัฒนาการของพื้นฐานการการว่าเป็นไปตามที่ผมคิดไหม
แต่ความยากมันอยู่ตรงนี้ครับ ช่วงที่หุ้น อยู่ในZone2 โดยเฉพาะZone3 ราคาที่วิ่งมาไกลๆ มันมักจะมาพร้อม กับstory และบทวิเคราะห์ และการปรับPeขึ้นให้หุ้นตัวนั้นๆของตลาด และที่สำคัญคือ ตลาดจะมองหุ้นตัวนั้นไกลมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว ยิ่งหากเราเสพสื่อมากๆ อ่านหนังสือพิมพ์ คำสัมภาษณ์ต่างๆ เราจะยิ่งอินกับมัน และเผลอมองหุ้นตัวนั้น ไกลขึ้นตามตลาด และกลับไปมองมันเป็นหุ้นZone1อีกรอบ ผมแก้ปัญหาตรงนี้ของผมโดยการ ตอนที่หุ้นราคาแถวๆ15-17บาท ผมคิดยังไงกับหุ้นตัวนี้ มีมุมมองยังไง valuetionยังไง มองมันไกลแค่ไหน ผมจะอัดเสียงตัวเองไว้ครับ แล้วเอากลับมาฟังตอนที่หุ้นมันขึ้นมาในZone 2,3แล้ว เพื่อเตือนสติตัวเองว่า ผมเคยมองแบบนี้ไว้ตอนที่ซื้อมันในZone1 ปรากฏว่า ตอนที่หุ้นตัวนี้วิ่งขึ้นมาzone 2 3 พื้นฐานยังเท่าเดิมตอนที่ผมคิดไว้ตอนที่มันอยู่Zone1 แต่ตลาดแค่มองมันไกลขึ้น กึ่งๆกลายเป็นหุ้นเทคusaไปแล้ว ช่วงZone2 3 สรุปคือผมจะมองมันโดยใช้กราฟทางเทคนิคเข้ามาช่วย และขายที่จุด Trailing stop เพื่อลอคกำไร และไม่ซื้อเพิ่มเด็ดขาด และผมจะเตือนตัวเองตลอดว่าตอนนี้ หุ้น เล่นกันบนZone Over valueไปแล้ว หรือZoneที่ผมเรียกว่าเกร็งกำไร
มาถึงตรงนี้ ถ้าวันนึงที่ผมมีแนวคิดว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาลงรอบใหญ่ผมจะพิจารณา ขายหุ้นที่อยู่ในZone3ทันที เพื่อลดพอร์ตกลับมาถือเงินสดก่อนที่ตลาดมันจะลงไปแรงๆ หรือลงมาจนหลุดtrailing stopของผมโดยการพิจารณาคือ
-หากหุ้นตัวนั้นถูกปรับPEขึ้นไปด้วยการมองกำไร การเติบโตในอนาคตที่นานมากขึ้นผมจะพิจาณาขายหุ้นทันทีที่หลุดtrailing stop
-หากหุ้นตัวนั้นถูกปรับPE ขึ้นไป เพราะพื้นฐานกิจการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมากๆ ผมจะกลับมาดูราคาทุนผม ถ้าราคาทุนผมอยู่ในZone1 หรือต้นน้ำมากๆ ผมจะไปพิจาณาต่อถึงเรื่องของความaccuracyของประมาณการ ว่าปัจจัยต่างๆที่ผมคิด ประเมิณไว้มันมีโอกาสเกิดขึ้นสูงไหม และระยะเวลาของmega trend หรือstory ของบริษัทนั้นๆ เช่นหากผมคิดว่าตลาดขาลงยาวนานจะมาถึงอย่างน้อยๆ3-5ปี แต่หุ้นที่ผมถือstory หรือmegatred มันน่าจะคงอยู่แค่1-2ปี แบบนี้ผมก็ขาย แต่ถ้าไม่ ผมก็ถือต่อ
หากหุ้นในพอร์ตตัวไหนที่ยังอยู่ในZone1 และผมพิจารณาแล้วว่าวิฤตที่เกิดขึ้นไม่กระทบต่อพื้นฐานบริษัท ผมก็จะไม่ได้ขายออกมา
ุ ส่วนตัวผมช่วงเริ่มลงทุนใหม่ๆ ผมเคยเชื่อว่า การtiming ตลาดเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำได้ยาก และไม่มีสาระสำคัญกับการลงทุน แต่พอเวลาผ่านไป หลังจากเจ็บมาเยอะ ก็พอจะได้แนวคิดใหม่ว่า การtiming ตลาด ถี่ๆ พยายามทำนายตลาดขาลงทุกรอบ อันนั้นทำได้ยากมาก และไม่มีสาระสำคัญกับการลงทุนเลย แต่การtimingตลาด ขาลงรอบใหญ่ๆ ด้วยการศึกษาmacro economic และตามข่าวที่เพียงพอ(แต่ต้องไม่ละเลยการศึกษาพื้นฐานบริษัท ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่สุดในการลงทุน) หลายๆครั้งก็ทำให้สามารถคว้าโอกาส เมื่อตลาดตกลงรุนแรงแล้วมีเงินสด หรือช่วยเซฟผลตอบแทนไว้ได้(ไม่ต้องถูกทุกครั้งขอแค่ถูก70%ก็เพียงพอแล้ว)
part ต่อไปผมจะมาเขียนเล่าวิธีและแนวคิดการtiming ตลาด ของผมที่ไม่ทำบ่อยเกินไปจนเสียโอกาสในการลงทุน เผื่อจะพอเป็นประโยชน์กับหลายๆท่าน