RuVi เขียน: ↑อาทิตย์ ก.ค. 31, 2022 10:25 am
สงสัยว่าการหาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง [E(Rx)]
ซึ่งต้องใช้อัตราผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่ i (Ri) และความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณที่ i โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1
หรือแปลงเป็น % โดยค่ารวมของทุกเหตุการณ์ต้องไม่เกิน 1 หรือ 100% ตามลำดับ
ทีนี้คำถามคือ ในสถานการณ์จริง (ตอนหาหุ้นที่ต้องการจะลงทุนเจอ) ผมจะสามารถหาค่าความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์ได้ยังไงครับ
เริ่มจาก ทำความเข้าใจว่า
"ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยE(R)" กับ "ผลตอบแทนที่จะได้จริง" มันจะแยกกัน มันไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
- เพราะสมมุติ: E(R) = 10% (เฉลี่ยมาจาก 3 เคสเท่าโอกาสเกิดเท่ากัน: 5%, 10%, 15%)
- แต่เหตุการณ์จริง ถ้าไพ่เปิดมาเป็นเคสแย่เราก็จะได้แค่ 5% (ไม่ใช่ได้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่10%)
- ** ดังนั้นตัวแปร์ที่สำคัญอีกตัวที่จะทำให้เราลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีอยู๋ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์แย่ๆ ก็คือ "ราคาซื้อ"
- ถ้าเราซื้อได้ราคาถูกลงมาอีก 20% >> เคสแย่เราก็ได้ผลตอบแทนเป็น 6% (5% x 1.2 คิดแบบเป็นไอเดียคร่าวๆ)
เท่าที่เข้าใจจากคุณRuVi ต้องการจะสื่อคือ
ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย Average Expected Return = (R1 x Prob.1) + (R2 x Prob.2) + (R3 x Prob.3) + ...
** โดยที่ Probability ทุกเคสรวมกันเท่ากับ 100% **
- โดยตามหลักการณ์ในโลกของวิชาการและในโลกของคณิตศาสตร์: นี่คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุดที่ตามหา เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตอนเราตัดสินใจซื้อขายลงทุนกับราคาตลาด
ในความคิดเห็น ในชีวิตการลงทุนจริงๆ
- เราคงไม่สามารถหาโมเดลทางคณิตศาสตร์ หรือ จะคั้นความเข้าใจในกิจการหรือความสามารถคาดการณ์อนาคต
เพื่อที่จะออกมาเป็นค่าความน่าจะเป็น ที่แยกออกมาเป็น 3เคส 5เคส 10เคสได้
- ถึงเราจะพยายามใส่ตัวเลข Probability จนออกมาครบทุกเคส ใส่สูตรในสมการจนได้มาเป็น E(R)ของเรา
ค่านี้ที่เราได้มา ก็มาจากตัวแปรที่เราเดาขึ้นมานั้นเอง (ว่ากันตรงๆ)
- บางครั้งเราอาจจะใส่ค่าตัวแปรถูกทั้งหมดก็ได้ แต่หลายๆครั้งเราก็คงจะใส่ผิดแน่นอน
แล้วเราจะเอาหลักการณ์คณิตศาสตร์นี้มาประยุกต์ใช้แบบ Practical จริงๆได้ยังไง?
= เราเลยต้องเอา Margin of Safety [MOS] เข้ามาใช้กับหลักการณ์นี้ เพื่อที่จะใช้ในการลงทุนจริงๆได้อย่างมั่นใจ (ตาม Warren Buffet และ เกรแฮม)
- ซึ่งการใช้ MOS ทำได้หลากหลายวิธีมาก แล้วแต่ความชอบแต่ละคน
เช่น
แบบ1: สมมุติ เราก็ใส่สูตรครบทุกเคสไปเลย คิด E(R) ออกมาได้ 10% - เราก็ซื้อราคาที่ทำให้เราได้ E(R)ที่สูงกว่านั้น เป้น 12% 13% 15% (เผื่อเหตุการณ์จริงมันแย่กว่าที่เราเดาเอาไว้)
แบบ2: เราไปใส่ส่วนเผื่อผิดพลาดในตัวแปรในสูตร E(R) ตั้งแต่แรกเลย เช่น
- คิดว่าเคสแย่จะได้ Return 5% - เราก็กดมันลงเผื่อไปไว้อีกเป้น 4% 3%
- จะใส่MOS 2 ชั้นเลยก็ได้ - ให้ Probability เคสแย่สูงขึ้นไปอีกในสมการ
- เราก็จะได้ E(R) ออกมาที่เป้นแบบ ตัวเลขเผื่อๆไว้แล้ว
- ซึ่งตอนเอา E(R) มาใช้จริง เราจะใส่ MOS ชั้นที่3ไปอีกก็ได้ - เราก็ต้องซื้อราคาที่ถูกลงไปอีก เพื่อให้ได้ E(R) สูงกว่าค่าที่เราคิดไว้จากสมการ
แบบ3: เราคิดแต่ Scenarioแย่ แล้วก็ใช้เคสแย่เป็นตัวตัดสินใจเลย - ต้องซื้อราคาที่ถ้าเกิดเหตุการณ์แย่ๆ เราก็ยังได้ผลตอบแทนที่เรารับได้อยู่
** ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัว วิธีที่ง่ายและก็ได้ผลลัพธ์ดีเหมือนกัน ก็คือวิธีที่3 (แต่วิธีอื่นๆก็อาจจะได้ผลลัพธ์ดีเหมือนกันก็ได้ครับ)
- แต่วิธีนี้ก็จะมีCostที่เราต้องยอมรับก็คือ เราก็จะต้องพลาดโอกาสไปหลายๆครั้ง แต่ก็แลกมาด้วยการได้ลดความเสี่ยงในการขาดทุนเงินต้น
การจะให้Mos เยอะหรือน้อย กับหุ้นแต่ละตัว ไม่มีกฏตายตัวว่าต้อง20% 30% - อยู่ที่ว่าเราเข้าใจกิจการมากแค่ไหน
- ถ้าเราเข้าใจมากซะจนเรามองตัวเลขสำคัญแต่ละตัวได้ขาด ก็make-sense ที่จะไม่ต้องให้ mos เยอะ
- แต่ถ้าเรามองกิจการยังไม่ขาด ก็อาจจะลองให้ mos เยอะหน่อยเผื่อความผิดพลาดตัวเองเอาไว้ครับ