หน้า 1 จากทั้งหมด 1
CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2022 6:41 pm
โดย pakapong_u
"เชฎฐ์ เอเชีย" จะเข้าระดมทุนใน SET ขาย IPO ไม่เกิน 562 ล้านหุ้น
บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 562 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 28.3% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด โดยมีบล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย ได้ยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้น IPO ดังกล่าว แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 417 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด จำนวนไม่เกิน 145 ล้านหุ้น โดยเงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปใช้ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ทั้งนี้บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย ทำธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และธุรกิจให้สินเชื่อ ปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจ 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. ธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน 2. ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และ 3. ธุรกิจให้สินเชื่อ
สำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 2563 และ 2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินและบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเป็นหลัก โดยในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินคิดเป็นร้อยละ 57.13 ร้อยละ 47.73 และร้อยละ 35.37 ของรวมรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าบริการและค่าวิชาชีพของบริษัทฯ ตามลำดับ และมีรายได้จากการบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 37.94 ร้อยละ 44.64 และร้อยละ 48.04 ของรวมรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าบริการและค่าวิชาชีพของบริษัทฯ ตามลำดับ
โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จะมีนายประชา ชัยสุวรรณ ถือหุ้น 64.8% ภายหลัง IPO สัดส่วนจะลดลงมาอยู่ที่ 51.2% รองลงมาได้แก่ บริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด ถือหุ้น 35% ภายหลัง IPO สัดส่วนจะลดลงมาที่ 20.3%
CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2022 10:19 pm
โดย pakapong_u
เชฎฐ์ เอเชีย ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 562 ล้านหุ้น-เข้า SET ใช้ซื้อหนี้-เป็นทุนหมุนเวียน
ข่าวหุ้น-การเงิน Friday August 19, 2022 18:03 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
บมจ.เชฎฐ์ เอเชีย ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมไม่เกิน 562,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 28.3% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมี บล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
สำหรับหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ แบ่งเป็น (ก) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 417,000,000 หุ้น และ (ข) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด จำนวนไม่เกิน 145,000,000 หุ้น
เชฎฐ์ เอเชีย ประกอบธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และธุรกิจให้สินเชื่อ มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้เพื่อนำไปใช้ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในอนาคต และ นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2022 10:22 pm
โดย pakapong_u
(เพิ่มเติม) เชฎฐ์ เอเชีย ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 562 ล้านหุ้น-เข้า SET ใช้ซื้อหนี้-เป็นทุนหมุนเวียน
ข่าวหุ้น-การเงิน Friday August 19, 2022 18:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
บมจ.เชฎฐ์ เอเชีย (CHASE) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมไม่เกิน 562,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 28.3% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมี บล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
สำหรับหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ แบ่งเป็น (ก) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 417,000,000 หุ้น และ (ข) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด จำนวนไม่เกิน 145,000,000 หุ้น
CHASE ประกอบธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และธุรกิจให้สินเชื่อ มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้เพื่อนำไปใช้ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในอนาคต และ นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ณ วันที่ 30 มิ.ย.65 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสำนักงานใหญ่และสาขาย่อยจำนวน 16 สำนักงาน
กลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัทฯ (ก) ขยายพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะเข้าซื้อพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทภายในปี 67 โดยมุ่งเน้นพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกันเป็นหลัก และอาจพิจารณาเข้าซื้อพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกัน
(ข) ขยายทีมติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินเพื่อรองรับอุปสงค์ของงานด้านการติดตามทวงถามหนี้ที่มีเพิ่มมากขึ้น
(ค) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงพอร์ตลงทุนในระยะยาวโดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้านอกจากนี้ บริษัทฯ มองหาโอกาสในการเข้าร่วมทุนกับสถาบันการเงินหรือหาพันธมิตรทางธุรกิจใด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และโอกาสในการให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินในระยะยาว และลดความเสี่ยงจากการสามารถจัดหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้อย่างเพียงพอในราคาที่เหมาะสม
(ง) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและเพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านช่องทาง Online โดยมีแผนจะเพิ่มช่องทางการชำระเงินและขายทรัพย์สินรอการขายผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และติดตั้งระบบ Mobile Application ของบริษัทฯ ภายในปี 66
โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 9 ส.ค.65 มีนายประชา ชัยสุวรรณ ถือหุ้น 1,017,087,200 หุ้น คิดเป็น 64.8%ภายหลังเสนอขายหุ้น IPO จะลดสัดส่วนเหลือ 51.2% บริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.อาร์เอส (RS) ถือหุ้น 548,954,600 หุ้น คิดเป็น 35% จะลดเหลือ 403,954,600 หุ้น หรือคิดเป็น 20.3%
ผลประกอบการช่วงปี 62-64 บริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยและรายได้จากค่าบริการและค่าวิชาชีพรวมทั้งสิ้น 635.69 ล้านบาท 730.20 ล้านบาท และ 781.07 ล้านบาท ตามลำดับ โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจาก การเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจบริหารสินทรัพย์จากเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และ การเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจให้สินเชื่อ
ขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิ 161.95 ล้านบาท 171.38 ล้านบาท และ 270.88 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 25.45% , 23.40% และ 34.50% ตามลำดับ
สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.65 บริษัทฯ มีรายได้ดอกเบี้ยและรายได้จากค่าบริการและค่าวิชาชีพรวมทั้งสิ้น 360.33 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65 ที่ 351.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.06 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.58% กำไรสุทธิ 102.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 97.77 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 28.37%
ณ วันที่ 30 มิ.ย.65 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 2,511.61 ล้านบาท หนี้สินรวม 491.47 ล้านบาท และ ส่วนของเจ้าของ 2,020.14 ล้านบาท โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีวงเงินกู้ยืมระยะสั้นกับธนาคารกสิกรไทยจำนวน 900 ล้านบาท โดยมียอดคงค้างจำนวน 60 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจัดสรรทุนสำรองตามกฎหมายและข้อบังคับ
CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2022 10:31 pm
โดย pakapong_u
CHASE : บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ให้บริการทางการเงิน ได้แก่ (1) บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPLs) (2) ติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน และ (3) ให้สินเชื่อกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ภายใต้ชื่อ “สินเชื่อเพื่อความหวัง” (Hope loan)
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ ธุรกิจการเงิน / เงินทุนและหลักทรัพย์
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
ไม่เกิน 562,000,000 หุ้น คิดเป็น 28.30% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO แบ่งเป็น
- หุ้นสามัญเพิ่มทุน ไม่เกิน 417,000,000 หุ้น
- หุ้นเดิมของบริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด ไม่เกิน 145,000,000 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
0.50 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
https://www.chase.co.th/
CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2022 10:33 pm
โดย pakapong_u
https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... 46&lang=th
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : -
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท หลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / N.A.
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2022 12:33 pm
โดย pakapong_u
อาร์เอส กรุ๊ป ยื่นไฟลิ่ง เชฎฐ์ เอเชีย เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เสนอขายหุ้น IPO จำนวน 562 ล้านหุ้น
บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป (“บริษัทฯ”) เตรียมแผนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ เชฎฐ์ ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 562 ล้านหุ้น เพื่อการระดมทุน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สร้างโอกาสและการเติบโตทางธุรกิจของเชฎฐ์อย่างก้าวกระโดด
คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อาร์เอส นำ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) ยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและรองรับแผนการเติบโตในอนาคต โดยจะเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) จำนวน 562 ล้านหุ้น โดยแผนการ Spin-Off ในครั้งนี้ ดำเนินการผ่านทาง บริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของอาร์เอสที่ปัจจุบันถือหุ้นในเชฏฐ์อยู่ 35% โดยส่วนหนึ่งของหุ้น IPO ที่จะขายในครั้งนี้มาจากการเสนอขายหุ้นสามัญเดิมที่บริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ ถือในเชฎฐ์และเตรียมให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นของ อาร์เอส กรุ๊ป จองซื้อหุ้น IPO ของเชฎฐ์ได้ ซึ่งหลังการเสนอขายหุ้น IPO ของเชฎฐ์ บริษัทฯ จะมีสัดส่วนการถือหุ้นในเชฎฐ์ ลดลงจากเดิม 35% เป็น 20.35% อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงเป็น Strategic shareholder ของกลุ่มบริษัทเชฎฐ์และรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในเชฎฐ์ให้เป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ เพื่อสร้าง Synergy ต่างๆ ร่วมกัน ดังนั้น การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยให้กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากเงินทุนใหม่ที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้”
คุณประชา ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การระดมทุนจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้จะนำไปใช้ขยายธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามหนี้แบบครบวงจร พร้อมทั้งลงทุนขยายฐานสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเพื่อนำมาบริหารจัดการให้ดีขึ้นผ่านการเข้าร่วมประมูลซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างๆ ทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรฐานของเชฎฐ์เข้าสู่มาตรฐานสากล เพิ่มความน่าเชื่อถือในด้านภาพลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการแข่งขัน”
กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ ประกอบไปด้วยธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามหนี้แบบครบวงจร ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และธุรกิจให้สินเชื่อเพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย โดยเชฎฐ์ดำเนินธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามหนี้แบบครบวงจร และมีบริษัทย่อย 3 บริษัท ได้แก่
-บริษัท บริหารสินทรัพย์ ซีเอฟ เอเชีย จำกัด ประกอบธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพการจากรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
-บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากผู้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินและที่มิใช่สถาบันการเงิน
-บริษัท คอร์ทส์ เม็กก้าสโตร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ด้าน คุณพงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่ากลุ่มบริษัทเชฎฐ์เป็นบริษัทที่มีจุดเด่นด้วยบริการที่ครบวงจร มีศักยภาพและดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้มาอย่างยาวนาน อีกทั้งมีผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งให้กับเชฎฐ์มากยิ่งขึ้นในระยะยาว”
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวต่างๆ ของ อาร์เอส กรุ๊ป ได้ทาง
www.rs.co.th และ
https://www.facebook.com/RSGROUPOFFICIAL
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 04, 2023 11:50 am
โดย RnD-VI
ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
อาร์เอส ปลื้ม บ.เชฎฐ์ เอเชีย ติดปีกเติบโตก้าวกระโดด สถาบันการเงินมั่นใจสนับสนุนเต็มที่ พร้อม IPO ปี 65
29 ก.ย. 2564
ด้วยสถานะธุรกิจที่แข็งแกร่งและเติบโตอย่างต่อเนื่องของ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด หลังจากที่ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป ได้เข้าไปร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% มูลค่า 920 ล้านบาทแล้วนั้น ในปีนี้ กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ ยังได้รับวงเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่ง นับเป็นเงินทุนรวมกว่า 2,600 ล้านบาท เพื่อใช้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สร้างโอกาสและการเติบโตทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดด บริษัทฯ จึงตั้งเป้ารายได้ปี 2564 ที่ 800 ล้านบาท และเตรียมพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส 4/2565
นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ เป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจติดตามและบริหารหนี้ NPL ที่มีจุดแข็งและศักยภาพในการเติบโตสูง และการได้รับแรงสนับสนุนจากอาร์เอส และสถาบันการเงินหลายแห่ง ยิ่งเป็นตัวเร่งให้กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ พร้อมที่จะก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้นำในธุรกิจนี้อย่างเต็มตัว สำหรับธุรกิจของกลุ่มบริษัทเชฎฐ์ นั้นมีศักยภาพการเติบโตที่สูงจากผลของโควิด-19 ที่ผ่านมา จากทั้งตลาด B2B และ B2C สำหรับตลาด B2B ก็มีโอกาสจากหนี้เสีย NPL ของสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งมีนโยบายขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในปริมาณที่สูง จึงเป็นโอกาสของกลุ่มบริษัทเชฎฐ์ในการเข้าประมูลสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเพื่อทำมาบริหารจัดการต่อ และจากบริการติดตามทวงถามหนี้ ซึ่งมีความต้องการจากสถาบันการเงินต่างๆ ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบริการติดตามทวงถามหนี้เติบโต ในขณะที่ตลาด B2C นั้น ผู้บริโภคมีความต้องการแหล่งเงินเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องและใช้จ่ายในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ รวมถึงเพื่อจัดการปัญหาหนี้สินในครัวเรือน โดย 6 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ สร้างรายได้กว่า 400 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ ณ ตอนที่ อาร์เอส กรุ๊ป ทำแผนก่อนเข้าลงทุน และคาดว่ากลุ่มบริษัทเชฎฐ์ จะสามารถสร้างสถิติรายได้ถึง 800 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2564 และกำลังวางแผน synergy ต่อยอดทางธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของทั้งสองบริษัทร่วมกัน”
นายประชา ชัยสุวรรณ ประธานกลุ่มบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า “ในปี 2564 เป็นปีที่เราเน้นวางรากฐานองค์กรให้เติบโตในระยะยาว ปัจจุบันมีพัฒนาการในทุกด้านและเห็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ด้วยปณิธานในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทเชฎฐ์ ที่เป็นมากกว่าบริษัทฯ ติดตามทวงถาม แต่กลุ่มบริษัทยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก้ปัญหาหนี้ ให้ความรู้คู่วินัยในการบริหารหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้กลับคืนสู่สถานะที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินได้ จึงทำให้กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ยังคงมีฐานลูกค้าในทุกด้านเพิ่มยิ่งขึ้น เสริมความพร้อมทางด้านการเงินจากพาร์ทเนอร์ และสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนด้วยดีมาโดยตลอด จึงทำให้เชื่อมั่นว่าจะเห็นการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการได้มาซึ่งสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และส่วนธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านแก้ไขปัญหาหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกค้ามีปัญหาหนี้เสียที่ยังโตต่อเนื่อง ในขณะที่ธุรกิจติดตามหนี้ก็ยังสร้างรายได้ให้กับกลุ่มได้ดีอย่างเสมอมา และด้วยสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของ อาร์เอส กรุ๊ป ที่ได้สนับสนุนแผนการระดมทุน จำนวน 920 ล้านบาทนั้น ส่งผลให้บริษัทได้รับการสนับสนุนจากจากสถาบันการเงินต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม เสริมทัพให้กลุ่มบริษัทเชฎฐ์แข่งขันได้อย่างเต็มศักยภาพในอุตสาหกรรมนี้ สะท้อนโอกาสในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจค่อนข้างมาก ในปัจจุบันจึงมีหนี้ภายใต้การบริหารกว่า 23,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตไม่ต่ำกว่า 25% จากปลายปี 2563 นอกจากนี้ หลังจากที่ทางบริษัทได้แต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีนี้ กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ กำลังดำเนินการเตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆ ภายในองค์กร สำหรับการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมเอกสาร Filing เพื่อยื่นต่อสำนักงานกลต. ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ปี 2565 โดยมีกำหนดการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 4 ปี 2565”
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวต่างๆ ของ อาร์เอส กรุ๊ป ได้ทาง
www.rs.co.th และ
https://www.facebook.com/RSGROUPOFFICIAL
https://ir.rs.co.th/th/updates/press-re ... 0%B8%B5-65
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 27, 2023 9:11 am
โดย Toro149
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 30, 2023 1:21 pm
โดย RnD-VI
สถ่นะเปลี่ยนจาก
Submitted เป็น
Approved แล้วครับ
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 02, 2023 10:30 am
โดย RnD-VI
CHASE ธุรกิจบริหารหนี้ เข้าเทรดวันแรกภายใน ก.พ.นี้ ลุยโรดโชว์สถาบัน
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 - 07:00 น.
เชฎฐ์ เอเชีย หรือหุ้น CHASE พาร์ตเนอร์ RS พร้อมเข้าเทรดวันแรกภายในเดือน ก.พ.นี้ ลุยนำเงินระดมทุนซื้อหนี้-ทุนหมุนเวียน ตั้งเป้าปี 2566-2567 ซื้อหนี้ไม่มีหลักประกันเข้ามาบริหาร 2,550 ล้านบาท ย้ำหนี้สินต่อทุนต่ำ
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 นายพงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นของ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ CHASE เปิดเผยว่า ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย(ก.ล.ต) ได้อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นไอพีโอ CHASE ไปแล้วจำนวน 562 ล้านหุ้นแล้ว คิดเป็น 28.3% ของจำนวนหุ้นที่ออกแล้วเรียกชำระแล้ว เป็นหุ้นใหม่ 417 ล้านหุ้น และหุ้นเดิมของบริษัท อาร์เอส มอลล์ จำกัด อีกจำนวน 145 ล้านหุ้น โดยสัปดาห์หน้าจะเป็นการโรดโชว์กับนักลงทุนสถาบัน และกระบวนการจองซื้อหุ้นจะเกิดขึ้นภายในเดือน ก.พ.นี้ รวมถึงคาดว่าจะเข้าซื้อขายเป็นวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ได้ช่วงเดือน ก.พ.เช่นกัน อยู่ในหมวดเซ็กเตอร์ธุรกิจการเงิน “เงินทุน/หลักทรัพย์”
สำหรับ CHASE เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและมีประสบการณ์ในธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาอย่างยาวนาน ผลจากจัดเก็บหนี้เสียที่ซื้อมาบริหารในอดีตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ให้ความเชื่อถือในการติดตามทวงถามหนี้ ซึ่งสามารถบริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ ทั้งยังช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเต็มที่ และมีความสามารถในการจัดเก็บหนี้ที่ต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย ดูได้จากอัตราค่าคอมมิชชั่นที่สูงกว่า 20% เนื่องจากบริษัทมีความสามารถในการตามเก็บหนี้สินที่ตามเก็บยาก ทำให้ธนาคารส่งหนี้ในลักษณะดังกล่าวให้มากกว่าบริษัทอื่น ๆ และส่งผลให้มีโอกาสในการเติบโตสูง
โดยเงินที่ได้จากการระดมทุน บริษัทจะใช้ในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน และเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของบริษัท โดยภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 66 น่าจะดีขึ้นจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจยิ่งขึ้นไปอีก
นายประชา ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CHASE กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดช่วงที่ผ่านมา และการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในปี 2564 มีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์มากถึง 531,000 ล้านบาท และคาดว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องทยอยขายหนี้เสียออกมาหลังหมดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบโควิดในช่วงสิ้นปี 65 ทำให้เป็นโอกาสในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
ขณะที่ด้านเศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัว จากการเปิดประเทศ โดย GDP ในปี 2565-2566 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นเป็น 3.3% และ 3.7% ตามลำดับ จากการเปิดประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การชำระของลูกหนี้ดีขึ้น ในฐานะที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพครบวงจร มองว่าปีนี้น่าจะเป็นปีที่ดีของธุรกิจ เนื่องจากน่าจะมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกมาในตลาดมาก ขณะที่การจ่ายชำระของลูกหนี้ดีขึ้น
ทั้งนี้ CHASE มีธุรกิจหลักคือ บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน พร้อมให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน และมีบริการดำเนินคดีแบบครบวงจร
โดยมีทีมบริหารที่แข็งแกร่ง มากประสบการณ์และทีมงานติดตามทวงถามพร้อมทั้งทีมกฎหมายที่ทำหน้าที่ติดตามและบริหารหนี้อย่างครบวงจรรวมกันมากกว่า 400 คน จึงทำให้คุมการบริหารจัดการและต้นทุนได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ภายใต้กลยุทธ์หลักทางธุรกิจที่ใช้สร้างการเติบโตให้แก่บริษัทอย่างยั่งยืน ได้แก่ขยายพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามหนี้ผ่านระบบอัตโนมัติ พัฒนาและขยายทีมติดตามทวงหนี้และเร่งรัดหนี้สิน สร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและเพิ่มช่องทางการสื่อสาร
นางสาววรลักษณ์ ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน CHASE กล่าวว่า โดยงบการเงินของบริษัทงวด 9 เดือนปี 2565 มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 121.9 ล้านบาท มีอัตรากำไรสุทธิ 23.5% โดยมีรายได้หลักมาจากธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพสัดส่วน 60% และบริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน อีก 34.3% ที่เหลืออื่น ๆ จนถึง 30 ก.ย.65 มียอดคงค้างหนี้ในพอร์ต 15,622 ล้านบาท โดยมากกว่า 90% เป็นหนี้ไม่มีหลักประกัน
ทั้งนี้ตามแผนในช่วงปี 2566-2567 บริษัทตั้งเป้าซื้อหนี้ไม่มีหลักประกันเสียมาบริหารไม่ต่ำกว่า 2,550 ล้านบาท หรือเฉลี่ยซื้อหนี้เข้ามาบริหารปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
และสำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานที่ผ่านมา CHASE เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2562-2564 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) กว่า 10.8% รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจบริหารสินทรัพย์จากการรับซื้อหรือโอน NPL ประมาณ 60% และธุรกิจติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินอีกประมาณ 34%
ในขณะเดียวกันกลุ่มบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีการเติบโตของรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเติบโตของต้นทุนการให้บริการและค่าวิชาชีพ
อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาส 3/2565 อัตรากำไรสุทธิปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า จากการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่เพิ่มขึ้น โดยฐานะทางการเงินของกลุ่มบริษัทฯ มีสินทรัพย์ 2,875.5 ล้านบาท มีมูลค่าหนี้คงค้างประมาณ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) เท่ากับ 0.4 เท่า ซึ่งรองรับโอกาสในการเข้าซื้อหนี้ของกลุ่มบริษัทในอนาคตได้
อนึ่ง CHASE หนึ่งในผู้นำการให้บริการจัดการหนี้สินอย่างครบวงจร มีศักยภาพความเป็นผู้นำในวงการบริหารหนี้ จากประสบการณ์กว่า 25 ปี เสริมทัพด้วยทีมผู้บริหารมากประสบการณ์ และบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการเงินและกฎหมาย
ทำให้ CHASE เติบโตเป็นบริษัทบริหารหนี้สินอย่างครบวงจรที่โดดเด่นที่สุดในอุตสาหกรรม และได้รับความไว้วางใจทั้งจากสถาบันการเงินชั้นนำ รวมถึงพันธมิตรสำคัญ อาร์เอส กรุ๊ป ซึ่งเข้าร่วมลงทุนผ่านบริษัทย่อยในสัดส่วน 35% ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสการเติบโตของบริษัท
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 02, 2023 2:24 pm
โดย RnD-VI
เป็นหนี้ ระงับโดยจ่ายหนี้! ผ่า 'ลูกหนี้' จากมุมมอง 'ประชา' แม่ทัพ เชฎฐ์ เอเชีย
By สาวิตรี รินวงษ์01 ก.พ. 2566 เวลา 18:38 น.178
"ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" นิยามลูกหนี้ ฉบับซีอีโอ "เชฎฐ์ เอเชีย" ผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจบริหารจัดการหนี้ ติดตามทวงหนี้มากว่า 30 ปี สร้าบริษัททำเงินจากการทวงหนี้ได้ถึงหลัก "ร้อยล้าน" จนเตรียมระดมทุน ขายหุ้นไอพีโอ ยืนยันเมื่อเป็นหนี้ หนทางเดียวต้องระงับด้วยการจ่ายหนี้!
“เชฎฐ์ เอเชีย” เป็นบริษัทที่รุกธุรกิจบริหารจัดการ ติดตามทวงหนี้กว่า 25 ปี เพิ่งเข้ามาอยู่ร่วมชายคา “อาร์เอส” หลังจาก “เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เข้าไปถือหุ้น เป็นพันธมิตร
ขณะที่แม่ทัพคนสำคัญคือ “ประชา ชัยสุวรรณ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ CHASE คร่ำหวอดในวงการบริหารจัดการหนี้ ติดตามทวงหนี้มากว่า 30 ปี แต่ก่อตั้งบริษัทกว่า 2 ทศรรษ
ก่อนจะทำความรู้จัก “ลูกหนี้” และ “พฤติกรรม” ของบุคคลที่เป็นหนี้ มารู้จักเรื่องราวของ “ประชา” ผู้ปลุกปั้นองค์กร สร้างธุรกิจจนเติบโตเสียก่อน
จากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การทำงานในสถาบันการเงิน มีองค์ความรู้ ทำให้มองหา “โอกาส” สร้างการเติบโตให้ตนเอง ด้วยการมอง “วิกฤติ” ให้เป็นขุมทอง ภายใต้ห้วงเวลาปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ทำให้แวดวงธุรกิจการเงิน มี “หนี้เสีย” หรือเอ็นพีแอลมหาศาล
วิกฤติคือขุมทองแห่งโอกาส
“หากไม่กระโจนออกมาทำธุรกิจตอนนั้น โอกาสอาจไม่มีอีกหรือมีก็น้อยมาก” นั่นกลายเป็นเหตุผลให้ “ประชา” ลาออก มาก่อร่างสร้างธุรกิจ เริ่มจากมีทีมงาน 5-6 คน ในสำนักงานกฎหมายของตนเอง เพื่อรับติดตามทวงหนี้ให้กับธนาคารพาณิชย์
“เกิดจากมองเห็นวิกฤติเป็นโอกาส จึงสร้างความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา”
วิกฤติสร้างโอกาสมากแค่ไหน หากย้อนไป ไม่ได้มีแค่ต้มยำกุ้งปี 2540 แต่สงครามอิรัก ยังส่งผลกระทบข้ามโลก มาทำให้ธุรกิจ ผู้คนก่อหนี้เสีย
เป็นหนี้ ระงับโดยจ่ายหนี้! ผ่า 'ลูกหนี้' จากมุมมอง 'ประชา' แม่ทัพ เชฎฐ์ เอเชีย“ตอนนั้นงงว่าทำไมจ่ายหนี้ไม่ได้ เราก็ทวงปกติ พอหันกลับไปมอง ถ้าผมมีเงิน 50,000 วันนั้น น่าจะสร้างเงินล้านภายในไม่กี่ปี” เขาเล่า และขยายความว่า เมื่อก้าวสู่สังเวียนธุรกิจบริหารจัดการ ติดตามทวงหนี้ ในหมวดหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า หนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคล ฯ ที่ใช้เงินทุนตั้งต้น 20 ล้านบาท ทำให้เก็บเงินคืนได้ถึง 600%
“สะท้อนโอกาสมีจริงและเจริญเติบโตจริงๆ”
ขณะที่การก่อตั้ง “เชฎฐ์” ไม่ใช่แค่อาศัยเก่ง แต่ยังพึ่ง “สายมู” เมื่อ “ประชา” เกิดวันอาทิตย์ ไม่ต้องการใช้ “ส-เสือ” เพราะเป็นกาลกิณี เลยหาอักษรที่พ้องเสียงจึงสะกดด้วย “ฎ” และมี “ฐ” สร้างความมั่นคง ส่วนภาษาอังกฤษใช้ CHASE เพราสอดคล้องกับ Goal แต่ต้นของตนเอง ในการ “ไล่ล่า” ความฝัน
เดือนกุมภาพันธ์ CHASE กำลังจะเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนครั้งแรก(ไอพีโอ)จำนวน 562 ล้านหุ้น เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจ รุกสู่การบริการจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือ AMC มากขึ้น จากปัจจุบันพอร์ตโฟลิโอยังเล็ก
ธุรกิจทวงหนี้ก็มีเสน่ห์ได้
ทั้งนี้ แนวโน้มหนี้เสียในระบบยังมีสูง โดยเฉพาะวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ก่ออุบัติเหตุเอ็นพีแอลมหาศาล ที่ถูกชะลอ หรือมีการพักหนี้ หลังจากนี้จะเห็นการ “ทะลัก” อีกมาก สิ่งที่สะท้อนภาพดังกล่าวคือบรรดาธนาคารพาณิชย์ตั้งสำรองเงินไว้ระดับสูง
เป็นหนี้ ระงับโดยจ่ายหนี้! ผ่า 'ลูกหนี้' จากมุมมอง 'ประชา' แม่ทัพ เชฎฐ์ เอเชียนอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ “โต” หรือ “ถดถอย” ธุรกิจการทวงหนี้ยังมีมนต์ขลัง สร้างการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ ธุรกิจดี คนมีหนี้น้อย ทวงหนี้ได้ไม่ยาก เมื่อทิศทางเศรษฐกิจไม่ดี การเกิดหนี้เสียจำนวนมาก แม้จะเก็บเงินลูกหนี้ยาก แต่บริษัทมีโอกาสรับหนี้เข้ามาบริหารจัดการมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ประสบการณ์ “ติดตามทวงหนี้” มานานกว่า 30 ปี การจะได้เงินทบต้นทบดอกจากลูกหนี้ ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ อย่างการโทร.ติดตามลูกหนี้ ฟังแค่ “น้ำเสียง” ทางโทรศัพท์ ในฐานะคนทำงานจะรู้ทันที ว่าลูกหนี้จะใช้หนี้หรือบ่ายเบี่ยง
เป็นหนี้! ต้องระงับด้วยการจ่ายหนี้
สำหรับพฤติกรรมของ “ลูกหนี้” ที่ “ประชา” ตกผลึกได้จากเส้นทางการทำธุรกิจ พบว่ามี 2-3 ประเภท ได้แก่ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ดื้อ ไม่ยอมจ่าย ฯ พร้อมตบประโยคยาหอมว่า “ลูกหนี้ทุกคนเป็นคนดี น้อยมากที่จะไม่ดี เบี้ยวหนี้” พร้อมให้เหตุผลว่า คนเป็นหนี้ ไม่จ่ายเงินคืนด้วยเหตุผลอะไร ซึ่งหากเจอลูกหนี้ดื้อ ยืนกรานไม่จ่ายเงินคืน จะใช้กระบวนการทางกฎหมายต่อไป
ในการทวงหนี้ บางรายบริษัทใช้ระยะเวลานานนับ “สิบปี” จึงจะได้เงินคืนทบต้นทบดอก
เป็นหนี้ ระงับโดยจ่ายหนี้! ผ่า 'ลูกหนี้' จากมุมมอง 'ประชา' แม่ทัพ เชฎฐ์ เอเชียขณะที่กรณีศึกษา ซึ่ง “ประชา” เสียดาย ที่ไม่ได้จดบันทึกไว้ คือ ลูกหนี้ที่จังหวัดภูเก็ต ไม่จ่ายหนี้จนนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง วงเงิน 8-9 หมื่นบาทที่ลูกหนี้ไม่ยอมจ่าย เมื่อเจอที่ศาล กลับเป็นผู้พิการ นั่งรถเข็นมา ซึ่งเห็นแล้ว ตนต้องการถอนฟ้อง แล้วให้ลูกหนี้กลับบ้าน พร้อมเงินค่ารถ แต่กลับกลายเป็นลูกหนี้ไม่รับความช่วยเหลือดังกล่าว ขอ “ผ่อนต่ำ” โดยไม่มีดอกเบี้ยแทน ถือเป็นเรื่องราวที่จดจำจนถึงทุกวันนี้
“หนี้..ยอมระงับด้วยการชำระหนี้ คุณไม่จ่ายวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องจ่าย ไม่จ่ายเดือนนี้ ก็เดือนหน้า ไม่จ่ายปีนี้ก็ปีนี้ หรือไม่จ่ายชาตินี้ ก็ชาติหน้า ซึ่งไม่รู้ว่ากรรมมีจริงไหม แต่เมื่อเป็นลูกหนี้ ยืนยันว่าต้องจ่าย และผมมีวิธีการทำให้คนจ่ายด้วย”
นอกจากทวงหนี้ “ประชา” เล่าภารกิจของเชฎฐ์ฯ อีกมิติ ต้องเป็นที่ปรึกษาทางการเงินด้วย เพราะคนเป็นหนี้..น่าเห็นใจ หากไม่มีความรู้หมดตัวได้ บางรานพยายามกู้เงินนอกระบบมาชำระหนี้
“ผมห้ามทุกราย เตือนตลอด คิดก่อนกู้รู้ก่อนค้ำ อย่าทำเด็ดขาด”
อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์การ “ทวงหนี้” ยอมรับว่าเป็นมุม “ลบ” สำหรับประชาชนทั่วไป แต่การทำงานจะย้ำพนักงานเสมอว่านี่เป็นอาชีพที่ทำบุญกุศล เพราะ “หนี้” เป็นสิ่งที่ “ลูกค้าก่อ” เราไม่ได้เป็นคนก่อ และการตามหนี้ได้ถือว่าช่วยทั้งประเทศ สถาบันการเงินที่ได้เงินกลับคืน อาจเอื้อให้ต้นทุนทางการเงิน “ต่ำลง” และลดอัตราดอกเบี้ยได้
หลัง “เชฎฐ์ฯ” เป็นพันธมิตรกับ “เฮียฮ้อ” แห่งอาร์เอส จะเสริมแกร่งให้บริษัท และเป็นสปริงบอร์ดเติบโตอีกขั้น
“ผมมองหาพันธมิตร และการตัดสินใจเลือกเฮียฮ้อ เพราะชีวิตการทำธุรกิจคล้ายๆกัน โดยเริ่มต้นจากห้องแถว”
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 09, 2023 10:54 am
โดย RnD-VI
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 09, 2023 10:56 am
โดย RnD-VI
BUSINESS / BUSINESS
ทำความรู้จัก ‘เชฎฐ์ เอเชีย’ ธุรกิจบริหารหนี้ที่ดึงดูด ‘เฮียฮ้อ’ ให้ส่งอาร์เอสเข้ามาร่วมลงทุน
โดย THE STANDARD TEAM
06.02.2023
1.3K
เชฎฐ์ เอเชีย
‘อาร์เอส (RS)’ อาจเคยเป็นที่รู้จักในฐานะค่ายเพลง แต่ตอนนี้อาณาจักรธุรกิจของอาร์เอสขยายขอบเขตไปไกลกว่านั้นมาก และครอบคลุมไปถึงธุรกิจอย่าง ‘การบริหารหนี้สินครบวงจร’
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2564 RS ได้ส่งบริษัทย่อยคือบริษัท อาร์ อัลไลแอนซ์ จำกัด เข้าลงทุนในบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 35% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทำให้ เชฎฐ์ เอเชีย มีฐานะเป็นบริษัทร่วมของ RS
‘เฮียฮ้อ’ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ RS เคยกล่าวถึงเหตุผลในการเข้าลงทุนไว้ว่า เชฎฐ์ เอเชีย เป็นบริษัทบริหารหนี้ครบวงจรชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย มีทีมบริหารและทีมงานที่มีความชำนาญในธุรกิจสูง และด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้จำนวนหนี้ด้อยคุณภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในปี 2564 มูลค่าพอร์ตสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามสิทธิเรียกร้องของ เชฎฐ์ เอเชีย มีมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีหนี้ที่ให้บริการติดตามทวงถาม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 มากกว่า 19,000 ล้านบาท
ลูกค้าหลักของบริษัทคือกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ ด้วยกลยุทธ์และโมเดลธุรกิจที่แข็งแกร่ง ประกอบกับการทำงานอย่างทุ่มเทในการช่วยลูกหนี้บริหารจัดการและปลดภาระหนี้สินอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ เชฎฐ์ เอเชีย เติบโตได้อีกมาก
ปัจจุบันหัวเรือใหญ่ในการบริหารงานของ เชฎฐ์ เอเชีย คือ ประชา ชัยสุวรรณ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ในสัดส่วน 64.8% ซึ่งมีประสบการณ์ในวงการบริหารหนี้กว่า 30 ปี นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้สถาบันการเงินอีกด้วย
ปัจจุบันธุรกิจหลักของ เชฎฐ์ เอเชีย แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน
ให้บริการติดตามทวงถามเร่งรัดหนี้สินและยังให้บริการดำเนินคดีแบบครบวงจร
ทั้งนี้ บริษัทมีกลยุทธ์สำคัญที่จะใช้สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่
ขยายพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยตั้งเป้าหมายที่จะเข้าซื้อพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ปีละ 1,000 ล้านบาท
ขยายทีมติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน เพื่อรองรับอุปสงค์ของงานด้านการติดตามทวงถามหนี้ที่มีเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีพนักงานประมาณ 400 คน
เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงพอร์ตลงทุนในระยะยาว
เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและเพิ่มช่องทางการสื่อสารผ่านช่องทาง Online และพัฒนา Mobile Application เพื่อให้ลูกหนี้สามารถติดตามการจัดการหนี้สินได้เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพของพนักงานติดตามทวงถามหนี้ เพื่อรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
มากไปกว่านั้น เชฎฐ์ เอเชีย ยังมีจุดเด่นและข้อได้เปรียบสำคัญ คือการให้บริการอย่างครบวงจร ไล่ตั้งแต่รับติดตามหนี้ที่ยังไม่ถูกจัดชั้นด้อยคุณภาพ ช่วยลดภาระการดำเนินงานให้แก่คู่ค้า
ในกรณีที่ลูกหนี้ดังกล่าวเปลี่ยนสถานะเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) และธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) บริษัทก็สามารถซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ดังกล่าวมาบริหารจัดการต่อ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนกระบวนการตามหา และ/หรือทำความรู้จักลูกหนี้
ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเร่งรัดหนี้สินยาวนานกว่า 20 ปี ทำให้บริษัทมีพนักงานที่มีความชำนาญในขั้นตอนและวิธีการติดตามทวงถามหนี้ รวมไปถึงงานฟ้องและบังคับคดีเป็นอย่างดี ความสามารถดังกล่าวทำให้สามารถรับงานติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินได้หลากหลายขึ้น เนื่องจากสามารถตามเก็บหนี้ได้ทุกสถานะ
นอกจากนี้ความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินอย่างยาวนาน และเข้าใจลักษณะพอร์ตเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่สถาบันการเงินแต่ละรายนำออกมาจำหน่าย ช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดราคาซื้อและเลือกซื้อพอร์ตมาบริหารได้อย่างเหมาะสม
ความสามารถในการบริหารจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพของ เชฎฐ์ เอเชีย สะท้อนให้เห็นผ่านผลการดำเนินงานและความสามารถในการทำกำไรที่อยู่ในระดับแถวหน้าของอุตสาหกรรม
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเหมือนจะเอื้ออำนวยให้กับธุรกิจบริหารหนี้เนื่องจากวิกฤติโควิด ซึ่งทำให้เกิดหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินเป็นจำนวนมากจะทำให้บริษัทมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวจากการเปิดประเทศก็จะทำให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ดีขึ้น
ระหว่างปี 2562-2564 บริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าบริการและค่าวิชาชีพรวม 635.7 ล้านบาท, 730.2 ล้านบาท และ 781.1 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) อยู่ที่ 10.8% โดยมีอัตรากำไรสุทธิ 25.4%, 23.4% และ 34.5% ตามลำดับ
นอกจากนี้บริษัทยังมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่ลดลงต่อเนื่องจาก 1 เท่า มาเหลือ 0.31 เท่า ในปี 2564 ทำให้บริษัทมีโอกาสในการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อนำมาขยายธุรกิจ
ล่าสุด เชฎฐ์ เอเชีย มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) จำนวน 562 ล้านหุ้น ภายในไตรมาส 1 ปี 2566 เพื่อระดมทุนรองรับการขยายธุรกิจ และสร้างโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 09, 2023 3:07 pm
โดย pookii
ทำความรู้จัก CHASE ผ่าน Corporate VDO ก่อน IPO Retail Roadshow
ครั้งแรกในเวลา 14.00 น. 10 ก.พ. 66
บนช่องทาง FB Live ของ CHASE , KSecurities และ RS group Investor Relations
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 12, 2023 9:23 pm
โดย mezzo
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 15, 2023 9:42 pm
โดย Toro149
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 15, 2023 10:51 pm
โดย shooter
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 20, 2023 8:33 am
โดย IndyVI
สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ประจำปี (F45) (ตรวจสอบแล้ว)
หลักทรัพย์ CHASE
แหล่งข่าว CHASE
รายละเอียดแบบเต็ม
แบบสรุปผลการดำเนินงาน (F45)
บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
12 เดือน
ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
ปี 2564 2563
กำไร (ขาดทุน) 270,858 71,266
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 36.6469 408.50
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไข
หมายเหตุ
*สำหรับงบการเงินรวม
โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสินใจลงทุน
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( วรลักษณ์ ชัยสุวรรณ )
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 20, 2023 12:16 pm
โดย IndyVI
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 20, 2023 5:33 pm
โดย IndyVI
CHASE (บมจ.เชฎฐ์ เอเชีย) หุ้น AMC น้องใหม่ป้ายแดงกวาดยอดจอง IPO ล้น พร้อมเทรดพรุ่งนี้ (21 ก.พ.)
นายประชา ชัยสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เชฎฐ์ เอเชีย เปิดเผยว่า
บริษัทขายหุ้น IPO จำนวน 562 ล้านหุ้นครบทั้งหมด หลังจากนักลงทุนสนใจจองเข้ามาเกินจำนวนที่จัดสรรไว้ สะท้อนความเชื่อมั่นในการเป็นบริษัทบริหารหนี้สินอย่างครบวงจรที่โดดเด่นในอุตสาหกรรม
พร้อมนำเงินจากการระดมทุนเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่ง และต่อยอดการเติบโตของบริษัท ทันที
.
นายพงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า CHASE เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีผลประกอบการแข็งแกร่ง มีศักยภาพในการเติบโตสูง
CHASE เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีจุดแข็งที่โดดเด่นในหลายๆ ด้าน
ความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการพอร์ต NPLs
ทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจมาอย่างยาวนาน
มี Strategic Partner ที่แข็งแกร่งอย่าง RS GROUP
ผลประกอบการของ CHASE ในช่วงปี 62-64 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) กว่า 10.8% รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจบริหารสินทรัพย์จากการรับซื้อหรือโอน NPL ประมาณ 60% และธุรกิจติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สินอีกประมาณ 34%
มีมูลหนี้ ที่บริหารอยู่รวมกันกว่า 23,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้ CHASE ยังสามารถทำรายได้เติบโตได้อีกมาก
.
สัดส่วนการเสนอขายหลักทรัพย์
1⃣ บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ » จำนวน 307,300,000 หุ้น (54.7%)
2⃣ นักลงทุนสถาบัน และ/หรือ นิติบุคคลที่สามารถเข้าร่วมการสำรวจความต้องการซื้อ » จำนวน 231,000,000 หุ้น (41.1%)
3⃣ ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ » จำนวน 32,000 หุ้น (0.0%)
4⃣ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ของบริษัทฯ » จำนวน 20,000,000 หุ้น (3.6%)
5⃣ พนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย » จำนวน 3,700,000 หุ้น (0.7%)
.
วัตถุประสงค์การใช้เงิน
1⃣ ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในอนาคต » จำนวน 1,000.0 – 1,120.0 ลบ. (ภายในปี 2568)
2⃣ เงินทุนหมุนเวียน » จำนวน 53.5 – 173.5 ลบ. (ภายในปี 2568)
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 21, 2023 10:18 am
โดย RnD-VI
ข้อมูลผู้ถือหุ้น
ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 17 ก.พ. 2566 ประเภท : IPO
ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 17 ก.พ. 2566
จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
0
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float)
2,341
%การถือหุ้นแบบไร้ใบหุ้น
0.00
%การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (%Free Float)
27.14
ผู้ถือหุ้น 10 รายแรก
ลำดับ ผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น (หุ้น) %หุ้น
1 นาย ประชา ชัยสุวรรณ 1,017,087,200 51.23
2 บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ จำกัด 240,000,000 12.09
3 บริษัท อาร์เอส มอลล์ จำกัด 163,954,600 8.26
4 BNP MELLON NOMINEES LIMITED 70,000,000 3.53
5 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด 50,000,000 2.52
6 นาย สุขสันต์ ยศะสินธุ์ 31,260,000 1.57
7 นาย สุระ คณิตทวีกุล 20,093,000 1.01
8 นาย โชติ เชษฐโชติศักดิ์ 20,000,000 1.01
9 นาย อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา 20,000,000 1.01
10 นาย ชาญยุทธิ์ เหล่ารัดเดชา 20,000,000 1.01
11 นางสาว อรุณรุ่ง ศรีวัฒนประภา 20,000,000 1.01
Re: CHASE
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 24, 2023 12:02 pm
โดย yamajung