ถ้าจะซ์้อหุ้นโรงไฟฟ้าต้องรู้อะไรบ้าง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 20, 2022 3:16 pm
ผมว่าจะตอบในกระทู้ viewtopic.php?p=1947916#p1947916 แต่ดูแล้วคห.ผมก็เป็นแค่ข้อมูลทั่วๆไปครับ ไม่ได้เจาะจง RATCH
การพิจารณาธุรกิจโรงไฟฟ้าตามความรู้ที่ผมพอจะมี
แหล่งกำเนิดของพลังงาน ประกอบด้วย
1.พลังงานจากดวงอาทิตย์ เช่น พลังงานฟอสซิล พลังงานโซล่าเซลล์ biomass, wind energy, solar, hydropower
2.พลังงานจากองค์ประกอบของโลกแร่ธาตุเช่นยูเรเนียม, พลังงานใต้พิภพจากการร้อนตัวของลาวา
3.พลังงานจากแรกโน้มถ่วง(น้ำขึ้นลง)
ต้นทุนเชื้อเพลิง แบ่งออกเป็น
มีการจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้ gross margin ผันผวนไปตามต้นทุน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซ มีค่าสึกหร่อของเครื่องจักรสูง, depreciation เป็นตัวต้องพิจารณา
ไม่มีการจัดหาวัตถุดิบเราจะพบว่า renewable energy ประเภท hydropower, wind, solar เป็นพลังงานที่เราไม่จัดหาเชื้อเพลิงแต่เอาแน่เอานอนไม่ได้ พวกนี้ gross margin สูงมาก มีต้นทุนในการก่อสร้างต่อ MW สูงกว่าแบบแรก
ต้นทุนไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อหน่วย แต่ละชนิดนั้นมีต่างกันมาก หากเราไม่พิจารณาเรื่องทำเลการก่อสร้าง ถึงวันนี้ solar cell หรือ PV มีต้นทุนต่อหน่วยตลอดอายุต่ำสุด(LCOE) แล้วโรงงานนิวเคลียร์มีต้นทุนต่ำจริงไหมลองไปหาข้อมูลดูครับในงบการเงินอ่านๆก็พอจะรู้ครับ ต้นทุนไม่ได้มีแค่ทางตรงมีทางอ้อมอีกนะ
การผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพวก non-renewable จำเป็นต้องมีเพราะเราจำเป็นต้องจ่ายไฟฟ้าอย่างเสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตอน peak hour
MW, kwh
MW คือกำลังการผลิตไฟฟ้า สมมติว่า โรงงานไฟฟ้ากำลังการผลิต 1 mw มีประสิทธิภาพในการผลิต 100% 1 ชั่วโมงจะผลิตไฟฟ้าได้ 1 MWh หรือ 1,000 kwh (1 kwh = 1 หน่วยไฟฟ้า) ประสิทธิภาพและ utilization hour จะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง wind power 1MW มี efficiencyเฉลี่ย 20% ทั้งปีมีลมผ่าน 1800 hrs ก็จะผลิตไฟฟ้าได้ 0.2*1800*1MW = 600 MWh/ปี
ดังนั้นในธุรกิจ renewable energy อย่าง wind, solar จะต้องดูทำเลว่ามี utilization hours(จำนวนแสแดด จำนวนลม ลมแรงมากไปก็ผลิตไฟฟ้าไม่่ได้นะครับ ต้อง shut down ) เท่าไหร่ใน 1 ปี และ ประสิทธิภาพในการผลิตประกอบกัน ซึ่งต่างจากโรงไฟฟ้าที่มีเชื้อเพลิงในการผลิตจะไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนชั่วโมงใช้งาน แต่จะมีปัญหาเรื่องเครื่องจักรสึกหรอและต้องการการซ่อมบำรุงที่ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและใช้เงินเป็นจำนวนมาก
สัญญาขายไฟฟ้า
จะเป็นการแปรผันกับต้นทุน หรือ FIT ที่กำหนดตายตัว หรือ Adder เป็นเงินอุดหนุนเพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยอ้างอิง การขายไฟฟ้าเป็นราคาที่ voltage ไหนและวัดไฟฟ้ากันตรงไหนต้องมีการเพิ่ม voltage หรือไม่
เราจะพบว่าโรงไฟฟ้าอย่างไบโอแมสมีปัญหาเรื่องการขาดทุนเนื่องจากสัญญาเป็น FIT ซึ่งได้รับคงที่แต่ต้นทุนการผลิตมีค่าแปรผันต้นทุนน้ำมันจากค่าขนส่ง หรือ ราคาเศษพืชเศษไม้เพิ่มสูงขึ้น
FIT จึงเหมาะสมกับโรงไฟฟ้าที่ไม่ต้องจัดหาวัตถุดิบ
ดอกเบี้ยและ IRR
ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำเช่น การออกหุ้นกู้ต้นทุนรายใหญ่ 3% การกำหนด IRR ก็จะอยู่ราวๆแค่ 8-11% หากต่อมาดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นก็จะทำให้ IRR ที่เคยคิดไว้ก่อนลดลง ส่งผลให้ ROE ต่ำลง EPS ต่ำ
แต่ถ้าตอนยื่นข้อเสนอเบี้ยอยู่ในระดับสูงเช่นในช่วงปี 2540 เมื่อดอกเบี้ยเป็นขาลงทำให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งในช่วงนั้นดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ราวๆ 8 เปอร์เซ็นต์ทำให้ irr ของโครงการอยู่ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ เช่น บางโครการของ EGCO ที่ให้ผลตอบแทนดีมากทำให้ ROE สูง เมื่อสัญญาหมดก็จะทำให้ ROE ตกต่ำอย่างมาก
โรงไฟฟ้าทั้งหมดในปัจจุบันจะมี ROE ที่ต่ำแถว 10% หรือ 12% อย่างมาก และถ้าเราเห็นโรงไฟฟ้าไหนสูงกว่านีผิดปกติ ถ้าไม่ได้adder ดีๆก็จากการวิ่งเต้น(สำหรับในไทย)
กำลังไฟฟ้าสำรอง
เนื่องจากการที่ฟ้าเผื่อช่วงการใช้งานสูงสุด ทำให้เราจำเป็นจะต้องมีกำลังไฟสำรอง 15% ( ยกเว้นประเทศไทยที่รวยมากเผื่อไว้> 40 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปมาหลายปีแล้วไม่ใช่แค่ช่วงโควิด เพราะช่วงโควิด >50% )
FIT สูงไม่ได้หมายความว่าจะได้ IRR ที่มากกว่า
การผลิตไฟฟ้าขายเช่น wind energy เราจะไม่ได้ดูว่าราคาสัญญาสูงจะได้ irr ดีเสมอไป เพราะต้องนึกถึงต้นทุนที่ต่างกันเช่น ค่าที่ดิน, การเข้าถึงและความยากในงานก่อสร้าง, utilization hours ผมเจอบ่อยๆว่าราคา FIT 2 บาทมี irr สูงกว่า FIT 4 บาท
ธรรมชาติของขยายธุรกิจ
ต้องใช้เงินจำนวนมาก capital intensive การที่บริษัทโม้ว่าจะขยายเท่านั้นเท่านี้ต้องดูเงินหน้าตัก และช่วงเวลาทำสัญญา เพราะผิดเวลาดอกเบี้ยก็ปรับเปลี่ยนได้ และโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีหนี้เพื่อขยายกิจการ และการขยายกำลังไฟฟ้า 1 เท่าตัว ก็ไม่ได้หมายความว่ากำไรเพิ่ม 1 เท่า ดูอย่าง BCPG บอกว่าขยายและเติบโตต่อเนื่งแต่เป้าของ EPS ต่ำเหลือเกิน มันก็ได้แค่นั้นแหละครับ ซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าต้องต่ำกว่า BV ให้มาก ไม่งั้นผลตอบแทนจะไม่ดี แต่พอประคองตัวได้ 6-8% ตามความสามารถของผบห.หรือตามแต่ภาวะตลาด(หุ้นและดอกเบี้ย)
โรงงานไฟฟ้าต้องมีค่าบริหารที่ต่ำ
ส่วนใหญ่แข่งขันกันรุนแรงดังนั้นต้องดูว่าค่าบริหารต้องต่ำ และระวังผบห.ไม่โม้เอาแต่โครงการเน้นปั่นหุ้นไม่เน้นผลกำไร หรือกลุ่มผบห.บางกลุ่มก็เน้นเงินจากการบริหารงานหวังได้เงินเดือนสูงๆ รถ สวัสดิการ หรือเลวร้ายมากก็เน้นค่าคอมมิชชั่น(โกง)จากการซื้อกิจการหรือหาผู้รับเหมา เช่น กลุ่มราดๆอะไรซักอย่างนี่ผมไม่ซื้อแน่ แต่ก็มีอีกหลายบริษัทที่ผมไม่สนใจเช่นกันกลัว
ดูงบให้เป็นอันนี้ basic ของนักลงทุน ก็ดูว่ากำไรที่มันแย่ มันแย่ชั่วคราวหรือเปล่า และเป็นโอกาสซื้อหรือไม่
ถ้า IRR ส่งผลต่อ EPS ROE ก็แปลได้ว่า ดอกเบี้ยก็มีผลมากต่อหุ้นเหล่านี้ รวมถึงค่าบริหาร ความฉลาดของผบห. รอดู SPCG ว่าหลังหมด adder แล้ว ROE จะเป็นเท่าไหร่ หรืออย่าง TPCH ที่ได้ FIT มาเขาจะทำอย่างไรหากต้นทุนวัตถุดิบสูงและสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดในโมเดลทางการเงินต้นเสนองานเกิดขึ้นไปทางลบ
นึกได้ก็เขียนเลย ใครมีอะไรเพิ่มก็เชิญครับ
การพิจารณาธุรกิจโรงไฟฟ้าตามความรู้ที่ผมพอจะมี
แหล่งกำเนิดของพลังงาน ประกอบด้วย
1.พลังงานจากดวงอาทิตย์ เช่น พลังงานฟอสซิล พลังงานโซล่าเซลล์ biomass, wind energy, solar, hydropower
2.พลังงานจากองค์ประกอบของโลกแร่ธาตุเช่นยูเรเนียม, พลังงานใต้พิภพจากการร้อนตัวของลาวา
3.พลังงานจากแรกโน้มถ่วง(น้ำขึ้นลง)
ต้นทุนเชื้อเพลิง แบ่งออกเป็น
มีการจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้ gross margin ผันผวนไปตามต้นทุน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซ มีค่าสึกหร่อของเครื่องจักรสูง, depreciation เป็นตัวต้องพิจารณา
ไม่มีการจัดหาวัตถุดิบเราจะพบว่า renewable energy ประเภท hydropower, wind, solar เป็นพลังงานที่เราไม่จัดหาเชื้อเพลิงแต่เอาแน่เอานอนไม่ได้ พวกนี้ gross margin สูงมาก มีต้นทุนในการก่อสร้างต่อ MW สูงกว่าแบบแรก
ต้นทุนไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อหน่วย แต่ละชนิดนั้นมีต่างกันมาก หากเราไม่พิจารณาเรื่องทำเลการก่อสร้าง ถึงวันนี้ solar cell หรือ PV มีต้นทุนต่อหน่วยตลอดอายุต่ำสุด(LCOE) แล้วโรงงานนิวเคลียร์มีต้นทุนต่ำจริงไหมลองไปหาข้อมูลดูครับในงบการเงินอ่านๆก็พอจะรู้ครับ ต้นทุนไม่ได้มีแค่ทางตรงมีทางอ้อมอีกนะ
การผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพวก non-renewable จำเป็นต้องมีเพราะเราจำเป็นต้องจ่ายไฟฟ้าอย่างเสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตอน peak hour
MW, kwh
MW คือกำลังการผลิตไฟฟ้า สมมติว่า โรงงานไฟฟ้ากำลังการผลิต 1 mw มีประสิทธิภาพในการผลิต 100% 1 ชั่วโมงจะผลิตไฟฟ้าได้ 1 MWh หรือ 1,000 kwh (1 kwh = 1 หน่วยไฟฟ้า) ประสิทธิภาพและ utilization hour จะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง wind power 1MW มี efficiencyเฉลี่ย 20% ทั้งปีมีลมผ่าน 1800 hrs ก็จะผลิตไฟฟ้าได้ 0.2*1800*1MW = 600 MWh/ปี
ดังนั้นในธุรกิจ renewable energy อย่าง wind, solar จะต้องดูทำเลว่ามี utilization hours(จำนวนแสแดด จำนวนลม ลมแรงมากไปก็ผลิตไฟฟ้าไม่่ได้นะครับ ต้อง shut down ) เท่าไหร่ใน 1 ปี และ ประสิทธิภาพในการผลิตประกอบกัน ซึ่งต่างจากโรงไฟฟ้าที่มีเชื้อเพลิงในการผลิตจะไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนชั่วโมงใช้งาน แต่จะมีปัญหาเรื่องเครื่องจักรสึกหรอและต้องการการซ่อมบำรุงที่ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและใช้เงินเป็นจำนวนมาก
สัญญาขายไฟฟ้า
จะเป็นการแปรผันกับต้นทุน หรือ FIT ที่กำหนดตายตัว หรือ Adder เป็นเงินอุดหนุนเพิ่มจากค่าไฟฟ้าต่อหน่วยอ้างอิง การขายไฟฟ้าเป็นราคาที่ voltage ไหนและวัดไฟฟ้ากันตรงไหนต้องมีการเพิ่ม voltage หรือไม่
เราจะพบว่าโรงไฟฟ้าอย่างไบโอแมสมีปัญหาเรื่องการขาดทุนเนื่องจากสัญญาเป็น FIT ซึ่งได้รับคงที่แต่ต้นทุนการผลิตมีค่าแปรผันต้นทุนน้ำมันจากค่าขนส่ง หรือ ราคาเศษพืชเศษไม้เพิ่มสูงขึ้น
FIT จึงเหมาะสมกับโรงไฟฟ้าที่ไม่ต้องจัดหาวัตถุดิบ
ดอกเบี้ยและ IRR
ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำเช่น การออกหุ้นกู้ต้นทุนรายใหญ่ 3% การกำหนด IRR ก็จะอยู่ราวๆแค่ 8-11% หากต่อมาดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นก็จะทำให้ IRR ที่เคยคิดไว้ก่อนลดลง ส่งผลให้ ROE ต่ำลง EPS ต่ำ
แต่ถ้าตอนยื่นข้อเสนอเบี้ยอยู่ในระดับสูงเช่นในช่วงปี 2540 เมื่อดอกเบี้ยเป็นขาลงทำให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งในช่วงนั้นดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ราวๆ 8 เปอร์เซ็นต์ทำให้ irr ของโครงการอยู่ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ เช่น บางโครการของ EGCO ที่ให้ผลตอบแทนดีมากทำให้ ROE สูง เมื่อสัญญาหมดก็จะทำให้ ROE ตกต่ำอย่างมาก
โรงไฟฟ้าทั้งหมดในปัจจุบันจะมี ROE ที่ต่ำแถว 10% หรือ 12% อย่างมาก และถ้าเราเห็นโรงไฟฟ้าไหนสูงกว่านีผิดปกติ ถ้าไม่ได้adder ดีๆก็จากการวิ่งเต้น(สำหรับในไทย)
กำลังไฟฟ้าสำรอง
เนื่องจากการที่ฟ้าเผื่อช่วงการใช้งานสูงสุด ทำให้เราจำเป็นจะต้องมีกำลังไฟสำรอง 15% ( ยกเว้นประเทศไทยที่รวยมากเผื่อไว้> 40 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปมาหลายปีแล้วไม่ใช่แค่ช่วงโควิด เพราะช่วงโควิด >50% )
FIT สูงไม่ได้หมายความว่าจะได้ IRR ที่มากกว่า
การผลิตไฟฟ้าขายเช่น wind energy เราจะไม่ได้ดูว่าราคาสัญญาสูงจะได้ irr ดีเสมอไป เพราะต้องนึกถึงต้นทุนที่ต่างกันเช่น ค่าที่ดิน, การเข้าถึงและความยากในงานก่อสร้าง, utilization hours ผมเจอบ่อยๆว่าราคา FIT 2 บาทมี irr สูงกว่า FIT 4 บาท
ธรรมชาติของขยายธุรกิจ
ต้องใช้เงินจำนวนมาก capital intensive การที่บริษัทโม้ว่าจะขยายเท่านั้นเท่านี้ต้องดูเงินหน้าตัก และช่วงเวลาทำสัญญา เพราะผิดเวลาดอกเบี้ยก็ปรับเปลี่ยนได้ และโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีหนี้เพื่อขยายกิจการ และการขยายกำลังไฟฟ้า 1 เท่าตัว ก็ไม่ได้หมายความว่ากำไรเพิ่ม 1 เท่า ดูอย่าง BCPG บอกว่าขยายและเติบโตต่อเนื่งแต่เป้าของ EPS ต่ำเหลือเกิน มันก็ได้แค่นั้นแหละครับ ซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าต้องต่ำกว่า BV ให้มาก ไม่งั้นผลตอบแทนจะไม่ดี แต่พอประคองตัวได้ 6-8% ตามความสามารถของผบห.หรือตามแต่ภาวะตลาด(หุ้นและดอกเบี้ย)
โรงงานไฟฟ้าต้องมีค่าบริหารที่ต่ำ
ส่วนใหญ่แข่งขันกันรุนแรงดังนั้นต้องดูว่าค่าบริหารต้องต่ำ และระวังผบห.ไม่โม้เอาแต่โครงการเน้นปั่นหุ้นไม่เน้นผลกำไร หรือกลุ่มผบห.บางกลุ่มก็เน้นเงินจากการบริหารงานหวังได้เงินเดือนสูงๆ รถ สวัสดิการ หรือเลวร้ายมากก็เน้นค่าคอมมิชชั่น(โกง)จากการซื้อกิจการหรือหาผู้รับเหมา เช่น กลุ่มราดๆอะไรซักอย่างนี่ผมไม่ซื้อแน่ แต่ก็มีอีกหลายบริษัทที่ผมไม่สนใจเช่นกันกลัว
ดูงบให้เป็นอันนี้ basic ของนักลงทุน ก็ดูว่ากำไรที่มันแย่ มันแย่ชั่วคราวหรือเปล่า และเป็นโอกาสซื้อหรือไม่
ถ้า IRR ส่งผลต่อ EPS ROE ก็แปลได้ว่า ดอกเบี้ยก็มีผลมากต่อหุ้นเหล่านี้ รวมถึงค่าบริหาร ความฉลาดของผบห. รอดู SPCG ว่าหลังหมด adder แล้ว ROE จะเป็นเท่าไหร่ หรืออย่าง TPCH ที่ได้ FIT มาเขาจะทำอย่างไรหากต้นทุนวัตถุดิบสูงและสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดในโมเดลทางการเงินต้นเสนองานเกิดขึ้นไปทางลบ
นึกได้ก็เขียนเลย ใครมีอะไรเพิ่มก็เชิญครับ