📶"หาหุ้นลงทุน ผ่านค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทย" : เราเสียเงินไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน?🔥
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 11, 2023 10:22 am
.................................................................................
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์อันโลดโผนมากนัก เมื่อศึกษาหลักการลงทุนในเชิงปัจจัยพื้นฐาน (หรือแบบเน้นคุณค่า) มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว เริ่มมีมุมมองต่อตลาดหุ้นอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความคาดหวังต่อผลตอบแทนและความมั่นคงของสินทรัพย์ในระยะยาว เชื่อมั่นว่าการลงทุนในหุ้นเป็น “เครื่องมือทางการเงิน” รูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันเป็นส่วนหนึ่งของ “การวางแผนการเงินส่วนบุคคล” แบบองค์รวม คำถามต่อมาสำหรับนักลงทุนมือใหม่ก็คือ “แล้วเราจะเลือกหุ้นเพื่อลงทุนอย่างไร? อุตสาหกรรมไหนดี? บริษัทไหนดี?”
...........................
ง่ายที่สุดหากตอบแบบกำปั้นทุบดิน “ย้อนคืนสู่สามัญธรรมดาและเรียบง่าย” ซึ่งเหมาะกับมือใหม่อย่างเราๆ ใครๆก็คิดได้ ไม่มีประสบการณ์ลงทุนมาก่อนเลยก็พอจะนึกภาพออกได้ง่ายๆ นั่นคือ “เราและคนส่วนใหญ่สูญเสียเงินจำนวนมากที่สุดไปกับสินค้าหรือกิจกรรมใดในแต่ละเดือน สิ่งเหล่านั้นก็น่าจะดี เพราะมีคนต้องการซื้อตลอดเวลา” ประมาณว่าหากคนส่วนใหญ่ยอมเสียเงินเป็นสัดส่วนจำนวนมากจากรายได้ซึ่งหามาอย่างยากเย็นในแต่ละเดือน ไปกับสินค้าหรือบริการใดๆแล้วนั้น สินค้าและบริการเหล่านั้นก็คงจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แทบขาดไม่ได้เลย “หากเรามีโอกาสได้ร่วมเป็นเจ้าของบริษัทคงจะดีไม่น้อย ต้องขายได้ ขายดี เจ๊งยากแน่ๆ” (ส่วนที่เหลือซึ่งต้องประเมินต่อไปก็คือเป็นบริษัทที่ดีจริงหรือเปล่า? ราคาหุ้นแพงไปหรือยัง?)
...........................
“หุ้นตัวไหนดี? ตอบง่ายที่สุดก็คือหุ้นของบริษัทซึ่งทำมาหากินในสิ่งที่คุณต้องซื้อสินค้าของเขาตลอดเวลานั่นแหล่ะ อนาคตจะเติบโตไปได้อีกแค่ไหนมันยากสำหรับมือใหม่อย่างเรา แต่ที่รู้ในตอนนี้คือถ้าบริษัทไม่เจ๊ง เราก็คงไม่เจ๊งเป็นหมูในตลาดหุ้นแน่ๆ” ก่อนคิดจะรวย คงต้องหาวิธีทำให้ไม่จนแน่ๆไว้ก่อน วันนี้เราจึงอยากชวนคุณผู้อ่านมาขุดคุ้ยหาหุ้นเพื่อลงทุน ผ่านการวิเคราะห์ชุดข้อมูล “ค่าใช้จ่ายครัวเรือนของคนไทย เราเสียเงินไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน?” กันครับ
...........................
ก่อนที่เราจะเลือกหุ้นรายตัว หรือเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อลงทุน ในช่วงจังหวะเวลาเช่นนี้ นักลงทุนมือใหม่มักเกิดคำถามผุดโผล่เข้ามาในสมองมากมาย จับต้นชนปลายไม่ถูก ก่อนอื่นเรามาศึกษาข้อมูลดูสักหน่อยครับว่า ในแต่ละเดือนคนส่วนใหญ่ใช้จ่ายเพื่อซื้ออะไรกันบ้าง? เราอาจจะได้กลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ จากนั้นค่อยมาเจาะลึกเป็นรายบริษัทอีกครั้งในภายหลัง น่าจะทำให้เราสามารถขมวดปมความคิดได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ...........................
“ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนชาวไทย”
......
ในปี 2019 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนชาวไทย ตกอยู่ที่ประมาณ 20,807 บาทต่อเดือน (บวกลบ 2- 3 ปีข้อมูลตัวเลขก็ไม่หนีไปจากกันมากนัก) ขนาดของครัวเรือนเฉลี่ยคือ 2.1 คน/ครัวเรือน ข้อมูลดังกล่าวมาจากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผ่าน 321,229 ครัวเรือน (676,007 คน) โดยผมจะเลือกหยิบนำค่าใช้จ่ายเฉพาะที่สำคัญซึ่งมีสัดส่วนสูงอันดับต้นๆมานำเสนอ และตัดข้อมูลยิบย่อยออกไปครับ
...
อาหารและเครื่องดื่ม 7,293 บาท (35.05%)
การเดินทางและการสื่อสาร 4,251 บาท (20.43%)
ที่อยู่อาศัย 4,042 บาท (19.43%)
ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค 3,395 บาท (16.32%)
ค่าบริการและของใช้ส่วนตัว 851 บาท (4.09%)
เครื่องแต่งกาย 485 บาท (2.33%)
บันเทิง การอ่าน กิจกรรมทางศาสนา 182 บาท (0.87%)
การศึกษา 122 บาท (0.59%)
เวชภัณฑ์ ค่าตรวจรักษาพยาบาล 115 บาท (0.55%)
.........
สังเกตได้ว่าคนส่วนใหญ่สูญเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร/เครื่องดื่ม การเดินทาง การสื่อสาร และที่อยู่อาศัยมากที่สุด ถึงกว่า 75% จากค่าใช้จ่ายต่อเดือน หากเราต้องการเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละค่าใช้จ่ายจะเป็นดังนี้
..........
1. อาหารสำเร็จรูป 3,148 บาท (15.13%)
2. ค่าเช่าบ้าน 2,677 บาท (12.87%)
3. ค่าเดินทาง 1,994 บาท (9.58%)
4. เงินและสิ่งของที่ให้ผู้อื่นนอกครัวเรือน 1,712 บาท (8.23%)
5. ประกันภัยต่างๆ ประกันสังคม ทำศพ 1,075 บาท (5.17%)
6. เชื้อเพลิง แสงสว่าง และน้ำ 931 บาท (4.47%)
7. เนื้อสัตว์ (บริโภค) 855 บาท (4.11%)
8. ค่าบริการและของใช้ส่วนตัว 851 บาท (4.09%)
9. การสื่อสาร 803 บาท (3.86%)
10. ปลา สัตว์น้ำ (บริโภค) 792 บาท (3.81%)
11. ซื้อยานพาหนะ 729 บาท (3.50%)
12. ผัก (บริโภค) 576 บาท (2.77%)
13. เครื่องแต่งกาย 485 บาท (2.33%)
14. ผลไม้ (บริโภค) 438 บาท (2.11%)
15. การเดินทางท่องเที่ยว 412 บาท (1.98%)
16. เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) 387 บาท (1.86%)
17. ข้าว อาหารประเภทแป้ง 382 บาท (1.84%)
18. เกี่ยวกับยานพาหนะ 314 บาท (1.51%)
19. ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 293 บาท (1.41%)
20. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 200 บาท (0.96%)
21. ดอกเบี้ยจ่าย 199 บาท (0.96%)
22. ทำบุญ การกุศล 148 บาท (0.71%)
23. หวย สลากกินแบ่ง การพนัน 134 บาท (0.64%)
24. ลัทธิความเชื่อ ศาสนา 126 บาท (0.61%)
25. การศึกษา 122 บาท (0.59%)
26. เวชภัณฑ์ ค่าตรวจรักษาพยาบาล 115 บาท (0.55%)
27. ภาษี ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม 104 บาท (0.50%)
..........
เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆแล้วนั้น คนส่วนใหญ่เสียเงินไปกับ อาหารสำเร็จรูป ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ประกันภัยต่างๆ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค และการสื่อสาร ถึงกว่า 50 - 60% จากค่าใช้จ่ายต่อเดือนเช่นกัน
...........................
เมื่อลองมามองดูในส่วนการเติบโตของรายได้ครัวเรือนและค่าใช้จ่ายครัวเรือน เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง ผลลัพธ์ออกมาเป็นดังนี้
...
การเติบโตของรายได้ครัวเรือนชาวไทย เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง
...
ประเทศไทย 1.77%
กรุงเทพฯ และปริมณฑล -0.62%
ภาคกลาง 3.53%
ภาคเหนือ 2.10%
ภาคอีสาน 1.85%
ภาคใต้ -0.26%
...........................
การเติบโตของค่าใช้จ่ายครัวเรือนชาวไทย เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง
...
ประเทศไทย 1.92%
กรุงเทพฯ และปริมณฑล -0.94%
ภาคกลาง 1.77%
ภาคเหนือ 2.65%
ภาคอีสาน 3.02%
ภาคใต้ 0.61%
.....
ณ จุดนี้อาจเป็นภาพรวมทางเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีนั้น ค่าใช้จ่ายครัวเรือนของคนไทยเติบโตสูงกว่ารายได้ครัวเรือนอยู่เล็กน้อย (1.92% : 1.77%) และมีการหดตัวลงของทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
........
การเติบโตของรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดคือ ภาคกลาง (3.53%) / ต่ำที่สุดคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล (-0.62%)
........
การเติบโตของค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดคือ ภาคอีสาน (3.02%) / ต่ำที่สุดคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล (-0.94%) ......................................................
เดินทางต่อไปยังข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกันดูบ้าง ปัจจุบัน ณ ปี 2023 มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทยทั้งสิ้น 798 บริษัท หากเราคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนชาวไทยดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เฉพาะประเภทกิจกรรมที่มีการใช้จ่ายสูงอันดับต้นๆต่อเดือน เราจัดประเภทมาได้ 6 กลุ่มอุตสาหกรรม และเรียงตามปริมาณมากน้อยของจำนวนหุ้นที่มีในตลาดให้เราเลือกลงทุนได้ ดังนี้ (เทียบ % จากหุ้นทั้งหมดในตลาด)
....
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 61 บริษัท (7.64%)
หมวดการเดินทาง ขนส่ง และการสื่อสาร 181 บริษัท (22.68%)
หมวดอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง พื้นที่ให้เช่า 197 บริษัท (24.69%)
หมวดประกันภัยต่างๆ และประกันชีวิต 53 บริษัท (6.64%)
หมวดบริการและสินค้าส่วนบุคคล 29 บริษัท (3.63%)
หมวดธนาคารและสินเชื่อผู้บริโภค 32 บริษัท (4.01%)
...........................
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ไทยข้างต้น เราก็มีหุ้นของบริษัทซึ่งอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และสอดคล้องไปกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนที่สูงสุดเป็นอันดับต้นๆ เข้าหลักเกณฑ์การเลือกหุ้นแบบ “โตรึเปล่าไม่รู้ แต่ต้องไม่ตาย” กันแล้ว (เกือบ 70% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในตลาด) คงเป็นไปตามข้อสันนิษฐานว่า “หุ้นที่สามารถเข้าไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้นั้นต้องเป็นหุ้นที่มีคุณภาพพอสมควร และอยู่ในหมวดธุรกิจสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีการซื้อสินค้าซ้ำสม่ำเสมอ พวกเขาจึงเติบโตมาได้ขนาดนี้ (หุ้นใหญ่)”
...........................
แต่เท่านี้ยังไม่เพียงพอหรอกครับ สำหรับผู้อ่านซึ่งต้องการเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เราย้อนกลับไปยังย่อหน้าแรกของบทความนี้ สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยคือ หุ้นที่เราจะเลือกลงทุนและอยู่กับมันไปได้นานๆจนผลตอบแทนผลิดอกออกผลนั้น ลองเจาะลึกข้อมูล วิเคราะห์ ค้นหาข้อสรุป และตอบคำถามตนเองให้ได้ว่าพวกเขาเป็น “บริษัทที่ดีจริงหรือเปล่า? ราคาหุ้นแพงไปหรือยัง?” และคุณอาจจะลองใช้วิธีการเช่นนี้ไปประยุกต์กับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หรือเปลี่ยนชุดข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อหาหุ้นที่น่าสนใจในประเด็นอื่นๆ เช่น ข้อมูลการส่งออก ข้อมูลการผลิต ข้อมูลการนำเข้า เป็นต้น
...........................
หากเป็นบริษัทที่ดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพง แถมยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อการดำรงชีวิต มีการซื้อสินค้าซ้ำอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มของรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต เมื่อเราขุดคุ้ยจนพบเจอหุ้นในฝันดังที่ว่า ก็ไม่จำเป็นต้องรีรอ หรือคอยเฝ้ามองหาความคิดเห็นจากใครเลย นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักมีความเชื่อมั่นในตนเอง แน่นอนว่าความเชื่อมั่นนั้นถูกกลั่นกรองผ่าน “ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์” สำหรับนักลงทุนมือใหม่เราลองมาเริ่มต้นกันแบบง่ายๆ ผ่านบทความนี้กันนะครับ ซึ่งใช้เพียง “ความพยายาม และความทุ่มเทเท่านั้นเอง”
......................................................
ขอให้มีความสุขกับการลงทุน ในทุกๆวันนะครับ
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์อันโลดโผนมากนัก เมื่อศึกษาหลักการลงทุนในเชิงปัจจัยพื้นฐาน (หรือแบบเน้นคุณค่า) มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว เริ่มมีมุมมองต่อตลาดหุ้นอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความคาดหวังต่อผลตอบแทนและความมั่นคงของสินทรัพย์ในระยะยาว เชื่อมั่นว่าการลงทุนในหุ้นเป็น “เครื่องมือทางการเงิน” รูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันเป็นส่วนหนึ่งของ “การวางแผนการเงินส่วนบุคคล” แบบองค์รวม คำถามต่อมาสำหรับนักลงทุนมือใหม่ก็คือ “แล้วเราจะเลือกหุ้นเพื่อลงทุนอย่างไร? อุตสาหกรรมไหนดี? บริษัทไหนดี?”
...........................
ง่ายที่สุดหากตอบแบบกำปั้นทุบดิน “ย้อนคืนสู่สามัญธรรมดาและเรียบง่าย” ซึ่งเหมาะกับมือใหม่อย่างเราๆ ใครๆก็คิดได้ ไม่มีประสบการณ์ลงทุนมาก่อนเลยก็พอจะนึกภาพออกได้ง่ายๆ นั่นคือ “เราและคนส่วนใหญ่สูญเสียเงินจำนวนมากที่สุดไปกับสินค้าหรือกิจกรรมใดในแต่ละเดือน สิ่งเหล่านั้นก็น่าจะดี เพราะมีคนต้องการซื้อตลอดเวลา” ประมาณว่าหากคนส่วนใหญ่ยอมเสียเงินเป็นสัดส่วนจำนวนมากจากรายได้ซึ่งหามาอย่างยากเย็นในแต่ละเดือน ไปกับสินค้าหรือบริการใดๆแล้วนั้น สินค้าและบริการเหล่านั้นก็คงจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แทบขาดไม่ได้เลย “หากเรามีโอกาสได้ร่วมเป็นเจ้าของบริษัทคงจะดีไม่น้อย ต้องขายได้ ขายดี เจ๊งยากแน่ๆ” (ส่วนที่เหลือซึ่งต้องประเมินต่อไปก็คือเป็นบริษัทที่ดีจริงหรือเปล่า? ราคาหุ้นแพงไปหรือยัง?)
...........................
“หุ้นตัวไหนดี? ตอบง่ายที่สุดก็คือหุ้นของบริษัทซึ่งทำมาหากินในสิ่งที่คุณต้องซื้อสินค้าของเขาตลอดเวลานั่นแหล่ะ อนาคตจะเติบโตไปได้อีกแค่ไหนมันยากสำหรับมือใหม่อย่างเรา แต่ที่รู้ในตอนนี้คือถ้าบริษัทไม่เจ๊ง เราก็คงไม่เจ๊งเป็นหมูในตลาดหุ้นแน่ๆ” ก่อนคิดจะรวย คงต้องหาวิธีทำให้ไม่จนแน่ๆไว้ก่อน วันนี้เราจึงอยากชวนคุณผู้อ่านมาขุดคุ้ยหาหุ้นเพื่อลงทุน ผ่านการวิเคราะห์ชุดข้อมูล “ค่าใช้จ่ายครัวเรือนของคนไทย เราเสียเงินไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน?” กันครับ
...........................
ก่อนที่เราจะเลือกหุ้นรายตัว หรือเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อลงทุน ในช่วงจังหวะเวลาเช่นนี้ นักลงทุนมือใหม่มักเกิดคำถามผุดโผล่เข้ามาในสมองมากมาย จับต้นชนปลายไม่ถูก ก่อนอื่นเรามาศึกษาข้อมูลดูสักหน่อยครับว่า ในแต่ละเดือนคนส่วนใหญ่ใช้จ่ายเพื่อซื้ออะไรกันบ้าง? เราอาจจะได้กลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ จากนั้นค่อยมาเจาะลึกเป็นรายบริษัทอีกครั้งในภายหลัง น่าจะทำให้เราสามารถขมวดปมความคิดได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ...........................
“ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนชาวไทย”
......
ในปี 2019 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนชาวไทย ตกอยู่ที่ประมาณ 20,807 บาทต่อเดือน (บวกลบ 2- 3 ปีข้อมูลตัวเลขก็ไม่หนีไปจากกันมากนัก) ขนาดของครัวเรือนเฉลี่ยคือ 2.1 คน/ครัวเรือน ข้อมูลดังกล่าวมาจากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผ่าน 321,229 ครัวเรือน (676,007 คน) โดยผมจะเลือกหยิบนำค่าใช้จ่ายเฉพาะที่สำคัญซึ่งมีสัดส่วนสูงอันดับต้นๆมานำเสนอ และตัดข้อมูลยิบย่อยออกไปครับ
...
อาหารและเครื่องดื่ม 7,293 บาท (35.05%)
การเดินทางและการสื่อสาร 4,251 บาท (20.43%)
ที่อยู่อาศัย 4,042 บาท (19.43%)
ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค 3,395 บาท (16.32%)
ค่าบริการและของใช้ส่วนตัว 851 บาท (4.09%)
เครื่องแต่งกาย 485 บาท (2.33%)
บันเทิง การอ่าน กิจกรรมทางศาสนา 182 บาท (0.87%)
การศึกษา 122 บาท (0.59%)
เวชภัณฑ์ ค่าตรวจรักษาพยาบาล 115 บาท (0.55%)
.........
สังเกตได้ว่าคนส่วนใหญ่สูญเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร/เครื่องดื่ม การเดินทาง การสื่อสาร และที่อยู่อาศัยมากที่สุด ถึงกว่า 75% จากค่าใช้จ่ายต่อเดือน หากเราต้องการเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละค่าใช้จ่ายจะเป็นดังนี้
..........
1. อาหารสำเร็จรูป 3,148 บาท (15.13%)
2. ค่าเช่าบ้าน 2,677 บาท (12.87%)
3. ค่าเดินทาง 1,994 บาท (9.58%)
4. เงินและสิ่งของที่ให้ผู้อื่นนอกครัวเรือน 1,712 บาท (8.23%)
5. ประกันภัยต่างๆ ประกันสังคม ทำศพ 1,075 บาท (5.17%)
6. เชื้อเพลิง แสงสว่าง และน้ำ 931 บาท (4.47%)
7. เนื้อสัตว์ (บริโภค) 855 บาท (4.11%)
8. ค่าบริการและของใช้ส่วนตัว 851 บาท (4.09%)
9. การสื่อสาร 803 บาท (3.86%)
10. ปลา สัตว์น้ำ (บริโภค) 792 บาท (3.81%)
11. ซื้อยานพาหนะ 729 บาท (3.50%)
12. ผัก (บริโภค) 576 บาท (2.77%)
13. เครื่องแต่งกาย 485 บาท (2.33%)
14. ผลไม้ (บริโภค) 438 บาท (2.11%)
15. การเดินทางท่องเที่ยว 412 บาท (1.98%)
16. เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) 387 บาท (1.86%)
17. ข้าว อาหารประเภทแป้ง 382 บาท (1.84%)
18. เกี่ยวกับยานพาหนะ 314 บาท (1.51%)
19. ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 293 บาท (1.41%)
20. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 200 บาท (0.96%)
21. ดอกเบี้ยจ่าย 199 บาท (0.96%)
22. ทำบุญ การกุศล 148 บาท (0.71%)
23. หวย สลากกินแบ่ง การพนัน 134 บาท (0.64%)
24. ลัทธิความเชื่อ ศาสนา 126 บาท (0.61%)
25. การศึกษา 122 บาท (0.59%)
26. เวชภัณฑ์ ค่าตรวจรักษาพยาบาล 115 บาท (0.55%)
27. ภาษี ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม 104 บาท (0.50%)
..........
เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆแล้วนั้น คนส่วนใหญ่เสียเงินไปกับ อาหารสำเร็จรูป ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ประกันภัยต่างๆ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค และการสื่อสาร ถึงกว่า 50 - 60% จากค่าใช้จ่ายต่อเดือนเช่นกัน
...........................
เมื่อลองมามองดูในส่วนการเติบโตของรายได้ครัวเรือนและค่าใช้จ่ายครัวเรือน เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง ผลลัพธ์ออกมาเป็นดังนี้
...
การเติบโตของรายได้ครัวเรือนชาวไทย เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง
...
ประเทศไทย 1.77%
กรุงเทพฯ และปริมณฑล -0.62%
ภาคกลาง 3.53%
ภาคเหนือ 2.10%
ภาคอีสาน 1.85%
ภาคใต้ -0.26%
...........................
การเติบโตของค่าใช้จ่ายครัวเรือนชาวไทย เฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง
...
ประเทศไทย 1.92%
กรุงเทพฯ และปริมณฑล -0.94%
ภาคกลาง 1.77%
ภาคเหนือ 2.65%
ภาคอีสาน 3.02%
ภาคใต้ 0.61%
.....
ณ จุดนี้อาจเป็นภาพรวมทางเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีนั้น ค่าใช้จ่ายครัวเรือนของคนไทยเติบโตสูงกว่ารายได้ครัวเรือนอยู่เล็กน้อย (1.92% : 1.77%) และมีการหดตัวลงของทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
........
การเติบโตของรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดคือ ภาคกลาง (3.53%) / ต่ำที่สุดคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล (-0.62%)
........
การเติบโตของค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดคือ ภาคอีสาน (3.02%) / ต่ำที่สุดคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล (-0.94%) ......................................................
เดินทางต่อไปยังข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกันดูบ้าง ปัจจุบัน ณ ปี 2023 มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทยทั้งสิ้น 798 บริษัท หากเราคัดเลือกเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนชาวไทยดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เฉพาะประเภทกิจกรรมที่มีการใช้จ่ายสูงอันดับต้นๆต่อเดือน เราจัดประเภทมาได้ 6 กลุ่มอุตสาหกรรม และเรียงตามปริมาณมากน้อยของจำนวนหุ้นที่มีในตลาดให้เราเลือกลงทุนได้ ดังนี้ (เทียบ % จากหุ้นทั้งหมดในตลาด)
....
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 61 บริษัท (7.64%)
หมวดการเดินทาง ขนส่ง และการสื่อสาร 181 บริษัท (22.68%)
หมวดอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง พื้นที่ให้เช่า 197 บริษัท (24.69%)
หมวดประกันภัยต่างๆ และประกันชีวิต 53 บริษัท (6.64%)
หมวดบริการและสินค้าส่วนบุคคล 29 บริษัท (3.63%)
หมวดธนาคารและสินเชื่อผู้บริโภค 32 บริษัท (4.01%)
...........................
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ไทยข้างต้น เราก็มีหุ้นของบริษัทซึ่งอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และสอดคล้องไปกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนที่สูงสุดเป็นอันดับต้นๆ เข้าหลักเกณฑ์การเลือกหุ้นแบบ “โตรึเปล่าไม่รู้ แต่ต้องไม่ตาย” กันแล้ว (เกือบ 70% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในตลาด) คงเป็นไปตามข้อสันนิษฐานว่า “หุ้นที่สามารถเข้าไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้นั้นต้องเป็นหุ้นที่มีคุณภาพพอสมควร และอยู่ในหมวดธุรกิจสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีการซื้อสินค้าซ้ำสม่ำเสมอ พวกเขาจึงเติบโตมาได้ขนาดนี้ (หุ้นใหญ่)”
...........................
แต่เท่านี้ยังไม่เพียงพอหรอกครับ สำหรับผู้อ่านซึ่งต้องการเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เราย้อนกลับไปยังย่อหน้าแรกของบทความนี้ สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยคือ หุ้นที่เราจะเลือกลงทุนและอยู่กับมันไปได้นานๆจนผลตอบแทนผลิดอกออกผลนั้น ลองเจาะลึกข้อมูล วิเคราะห์ ค้นหาข้อสรุป และตอบคำถามตนเองให้ได้ว่าพวกเขาเป็น “บริษัทที่ดีจริงหรือเปล่า? ราคาหุ้นแพงไปหรือยัง?” และคุณอาจจะลองใช้วิธีการเช่นนี้ไปประยุกต์กับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ หรือเปลี่ยนชุดข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อหาหุ้นที่น่าสนใจในประเด็นอื่นๆ เช่น ข้อมูลการส่งออก ข้อมูลการผลิต ข้อมูลการนำเข้า เป็นต้น
...........................
หากเป็นบริษัทที่ดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพง แถมยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อการดำรงชีวิต มีการซื้อสินค้าซ้ำอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มของรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต เมื่อเราขุดคุ้ยจนพบเจอหุ้นในฝันดังที่ว่า ก็ไม่จำเป็นต้องรีรอ หรือคอยเฝ้ามองหาความคิดเห็นจากใครเลย นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักมีความเชื่อมั่นในตนเอง แน่นอนว่าความเชื่อมั่นนั้นถูกกลั่นกรองผ่าน “ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์” สำหรับนักลงทุนมือใหม่เราลองมาเริ่มต้นกันแบบง่ายๆ ผ่านบทความนี้กันนะครับ ซึ่งใช้เพียง “ความพยายาม และความทุ่มเทเท่านั้นเอง”
......................................................
ขอให้มีความสุขกับการลงทุน ในทุกๆวันนะครับ