ทำงาน ทำงาน ทำงาน/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 04, 2023 3:31 pm
หัวเรื่องในวันนี้เลียนแบบวลีของท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครค่ะ ด้วยความที่อยากเรียนให้ท่านผู้อ่านตระหนักว่าอย่าเพิ่งรีบตัดสินใจที่จะเกษียณในเร็ววัน เพราะประเทศชาติยังต้องการแรงงาน ต้องการพลัง ต้องการความคิด และต้องการคำแนะนำจากท่านอยู่ค่ะ
ข้อมูลจาก Global Retirement Index 2022 ซึ่งจัดทำโดย Natixis บริษัทจัดการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุนสัญชาติฝรั่งเศส ระบุว่า ในปี 2022 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดปีหนึ่งสำหรับผู้เกษียณอายุงาน เพราะนอกจากความมั่งคั่งจะหดหายจากการที่สินทรัพย์ทางการเงินมีมูลค่าลดลงแล้ว ยังเกิดมีเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพสูงผิดปกติอีกด้วย จึงเป็นปัญหาของการที่มีเงินหลังเกษียณไม่พอใช้
ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2012 ถึง 2021) จำนวนประชากรวัย 65 ปีขึ้นไป ของประเทศในกลุ่ม OECD ได้เพิ่มจำนวนอย่างมาก ดังนี้ ญี่ปุ่น จาก 24% เป็น 27% อิตาลี จาก 21% เป็น 24% เยอรมนี จาก 21% เป็น 22% สเปน จาก 17.5% เป็น 20% ฝรั่งเศส จาก 17% เป็น 21% สหราชอาณาจักร จาก 17% เป็น 19% สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เพิ่มจาก 14% เป็น 17% ชิลี เพิ่มจาก 10% เป็น 12.5% จีน เพิ่มจาก 8.5% เป็น 12% และเม็กซิโก เพิ่มจาก 6% เป็น 8%
เวลาพูดถึงประชากรสูงวัย สถิติตัวหนึ่งที่ต้องดูคือ “อัตราการพึ่งพิง (Dependency Ratio)” ซึ่งหมายถึง อัตราส่วนผู้เกษียณอายุงาน (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ต่อจำนวนผู้อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 16-64 ปี) 100 คน ซึ่งหากตัวเลขยิ่งน้อยก็หมายถึงว่า ผู้อยู่ในวัยทำงานสามารถทำงานเพื่อเสียภาษีไปดูแลผู้เกษียณอายุงานแล้วได้สบายๆ แต่หากอัตราการพึ่งพิงสูง หมายความว่า คนในวัยหนุ่มสาวมีภาระหนักมากในการทำงานเพื่อหาเงิน และภาษีที่รัฐเก็บจากผู้ทำงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะนำมาดูแลผู้สูงวัย
OECD ได้ประมาณว่าใน 27 ปีข้างหน้า คือในปี ค.ศ.2050 อัตราการพึ่งพิงจะสูงขึ้นเป็นประมาณสองเท่าของปัจจุบันเลยทีเดียว ดังนี้ อัตราการพึ่งพิงของประเทศญี่ปุ่น จะเพิ่มจาก 52% ในปี 2020 เป็น 80.7% ในปี 2050 (หมายถึงในคนทำงาน 100 คน ต้องแบกรับผู้เกษียณ 80.7 คน) สเปน จาก 32.8% เป็น 78.4% อิตาลี จาก 39.5% เป็น 74.4% เยอรมนี จาก 36.5% เป็น 58.1% ฝรั่งเศส จาก 37.3% เป็น 54.5% สวิสเซอร์แลนด์ จาก 31.3% เป็น 54.4% จีน จาก 18.5% เป็น 47.5% สหราชอาณาจักร จาก 32% เป็น 47.1% ไอซ์แลนด์ เพิ่มจาก 26.6% เป็น 46.2% แคนาดา จาก 29.8% เป็น 44.9% ชิลี จาก 19.7% เป็น 44.6% นอร์เวย์ จาก 29.6% เป็น 43.4% ออสเตรเลีย จาก 27.7% เป็น 41.6% สหรัฐอเมริกา จาก 28.4% เป็น 40.4% และเม็กซิโก จาก 13.2% เป็น 28.9%
แนวโน้มใหญ่ที่เริ่มเห็นการเตรียมรับมือกันแล้วในหลายประเทศคือ การยืดอายุเกษียณของคนทำงาน ลดสวัสดิการต่างๆที่รัฐให้กับผู้เกษียณ และบางประเทศก็เริ่มขยับขึ้นอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (เพื่อเอาไว้ดูแลประชาชนเหล่านี้ยามเกษียณ แต่ในความเป็นจริง เอาไว้ดูแลคนที่เกษียณก่อนเราต่างหาก)
ข้อมูลจาก Eurostat ระบุว่า คนอายุ 55 ปีขึ้นไปที่ยังทำงานเต็มเวลาอยู่มีสัดส่วนถึง 20% และคนอายุ 65 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้ชาย ยังทำงานพาร์มไทม์อยู่ 48% และที่เป็นผู้หญิงยังทำงานพาร์มไทม์อยู่ถึง 60%
ข้อมูลของ OECD แสดงให้เห็นว่า แม้จะอยู่ในวัยเกษียณ แต่คนจำนวนไม่น้อยเลย ก็ยังทำงานอยู่ โดยคนอายุ 65 ปีขึ้นไปในประเทศญี่ปุ่น ยังทำงานอยู่ 25.6% ในนิวซีแลนด์ 25.1% ในเม็กซิโก 23.9% ในโคลอมเบีย 23.3% ในสหรัฐ 18.9% ชิลี 18.2% ออสเตรเลีย 15% สหราชอาณาจักร 10.5% เยอรมนี 7.5% และในฝรั่งเศส 3.5% จึงเป็นเรื่องปกติที่จะยังคงทำงานหลังจากเกษียณ จะทำเต็มเวลา หรือพาร์ทไทม์ก็แล้วแต่ ดิฉันมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยที่ทำให้ตนเองมีกิจกรรม จะได้แก่ช้าลง อารมณ์แจ่มใส เพราะฉะนั้นเราควร ทำงาน ทำงาน ทำงาน
งานวิจัยของ Natixis ได้รวบรวมข้อผิดพลาด 10 ข้อในการวางแผนเกษียณที่ผู้เกษียณเป็นผู้ระบุคือ
1. คาดการณ์เงินเฟ้อต่ำเกินไป 49%
2. คาดการณ์อายุขัยต่ำเกินไป 46%
3. คาดการณ์รายได้จากการลงทุนสูงเกินไป 42%
4. ลงทุนแบบอนุรักษนิยมเกินไป 41%
5. คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่เหมาะสม 40%
6. ไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมาคำนวณ 39%
7. ไม่ได้ทำความเข้าใจกับแหล่งรายได้ 35%
8. หวังพึ่งพารัฐสวัสดิการมากเกินไป 33%
9. คาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัยต่ำเกินไป 23%
10. ลงทุนแบบเสี่ยงเกินไป 21%
ข้อแนะนำสำหรับผู้วางแผนเพื่อการเกษียณอายุที่ดิฉันอยากนำเสนอคือ เริ่มวางแผนแต่เนิ่นๆ ออมได้น้อยบ้างมากบ้างไม่เป็นไร แต่เงินออมนั้นต้องนำไปลงทุน การลงทุนก็ไม่ควรอนุรักษนิยมเกินไป และไม่ควรเสี่ยงจนเกินไป ดูแลพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ลงทุนด้วย เช่น หากอายุ 30 ปี การลงทุนก็จะเป็นระยะยาว 25-30 ปี สามารถรับความเสี่ยงที่สูงได้ แต่ต้องดูสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วยนะคะ หากสถานการณ์ไม่ดี ก็ไม่ใช่ช่วงที่ควรจะเสี่ยงมาก และต้องลงทุนอย่างมีหลักการ มีพื้นฐาน เราลงทุนระยะยาว เราไม่เก็งกำไร การจับจังหวะที่จะเข้าลงทุนก็มีความสำคัญค่ะ
แต่หากอายุ 55 ปี ระยะเวลาการลงทุน ประมาณ 5 ปี ความสามารถในการรับความเสี่ยงก็จะลดลง ควรเลือกพอร์ตการลงทุนแบบเสี่ยงปานกลาง เพื่อรักษาเงินลงทุนเบื้องต้นให้คงอยู่ และให้มีโอกาสเติบโต ดูจังหวะการเข้าลงทุนและการถอนเงินลงทุนออกด้วยค่ะ
ท่านที่สนใจหาข้อมูลเรื่องการเตรียมตัวเพื่อการเกษียณ ดิฉันขอแนะนำ บทความ “วางแผนเกษียณ เรื่องสำคัญไม่ทำไม่ได้” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถ อ่านได้จาก https://www.set.or.th/th/education-rese ... retirement มีบทความสำหรับการวางแผนเกษียณ และลิ้งก์ไปยังบทความที่น่าสนใจมากมาย หรือสามารถติดต่อนักวางแผนการเงิน เพื่อช่วยท่านวางแผนเกษียณได้ค่ะ ค้นหาชื่อนักวางแผนการเงินที่รับให้บริการได้จากเว็ปของสมาคมนักวางแผนการเงินไทยที่ www.tfpa.or.th
ข้อมูลจาก Global Retirement Index 2022 ซึ่งจัดทำโดย Natixis บริษัทจัดการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุนสัญชาติฝรั่งเศส ระบุว่า ในปี 2022 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดปีหนึ่งสำหรับผู้เกษียณอายุงาน เพราะนอกจากความมั่งคั่งจะหดหายจากการที่สินทรัพย์ทางการเงินมีมูลค่าลดลงแล้ว ยังเกิดมีเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพสูงผิดปกติอีกด้วย จึงเป็นปัญหาของการที่มีเงินหลังเกษียณไม่พอใช้
ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2012 ถึง 2021) จำนวนประชากรวัย 65 ปีขึ้นไป ของประเทศในกลุ่ม OECD ได้เพิ่มจำนวนอย่างมาก ดังนี้ ญี่ปุ่น จาก 24% เป็น 27% อิตาลี จาก 21% เป็น 24% เยอรมนี จาก 21% เป็น 22% สเปน จาก 17.5% เป็น 20% ฝรั่งเศส จาก 17% เป็น 21% สหราชอาณาจักร จาก 17% เป็น 19% สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เพิ่มจาก 14% เป็น 17% ชิลี เพิ่มจาก 10% เป็น 12.5% จีน เพิ่มจาก 8.5% เป็น 12% และเม็กซิโก เพิ่มจาก 6% เป็น 8%
เวลาพูดถึงประชากรสูงวัย สถิติตัวหนึ่งที่ต้องดูคือ “อัตราการพึ่งพิง (Dependency Ratio)” ซึ่งหมายถึง อัตราส่วนผู้เกษียณอายุงาน (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ต่อจำนวนผู้อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 16-64 ปี) 100 คน ซึ่งหากตัวเลขยิ่งน้อยก็หมายถึงว่า ผู้อยู่ในวัยทำงานสามารถทำงานเพื่อเสียภาษีไปดูแลผู้เกษียณอายุงานแล้วได้สบายๆ แต่หากอัตราการพึ่งพิงสูง หมายความว่า คนในวัยหนุ่มสาวมีภาระหนักมากในการทำงานเพื่อหาเงิน และภาษีที่รัฐเก็บจากผู้ทำงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะนำมาดูแลผู้สูงวัย
OECD ได้ประมาณว่าใน 27 ปีข้างหน้า คือในปี ค.ศ.2050 อัตราการพึ่งพิงจะสูงขึ้นเป็นประมาณสองเท่าของปัจจุบันเลยทีเดียว ดังนี้ อัตราการพึ่งพิงของประเทศญี่ปุ่น จะเพิ่มจาก 52% ในปี 2020 เป็น 80.7% ในปี 2050 (หมายถึงในคนทำงาน 100 คน ต้องแบกรับผู้เกษียณ 80.7 คน) สเปน จาก 32.8% เป็น 78.4% อิตาลี จาก 39.5% เป็น 74.4% เยอรมนี จาก 36.5% เป็น 58.1% ฝรั่งเศส จาก 37.3% เป็น 54.5% สวิสเซอร์แลนด์ จาก 31.3% เป็น 54.4% จีน จาก 18.5% เป็น 47.5% สหราชอาณาจักร จาก 32% เป็น 47.1% ไอซ์แลนด์ เพิ่มจาก 26.6% เป็น 46.2% แคนาดา จาก 29.8% เป็น 44.9% ชิลี จาก 19.7% เป็น 44.6% นอร์เวย์ จาก 29.6% เป็น 43.4% ออสเตรเลีย จาก 27.7% เป็น 41.6% สหรัฐอเมริกา จาก 28.4% เป็น 40.4% และเม็กซิโก จาก 13.2% เป็น 28.9%
แนวโน้มใหญ่ที่เริ่มเห็นการเตรียมรับมือกันแล้วในหลายประเทศคือ การยืดอายุเกษียณของคนทำงาน ลดสวัสดิการต่างๆที่รัฐให้กับผู้เกษียณ และบางประเทศก็เริ่มขยับขึ้นอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (เพื่อเอาไว้ดูแลประชาชนเหล่านี้ยามเกษียณ แต่ในความเป็นจริง เอาไว้ดูแลคนที่เกษียณก่อนเราต่างหาก)
ข้อมูลจาก Eurostat ระบุว่า คนอายุ 55 ปีขึ้นไปที่ยังทำงานเต็มเวลาอยู่มีสัดส่วนถึง 20% และคนอายุ 65 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้ชาย ยังทำงานพาร์มไทม์อยู่ 48% และที่เป็นผู้หญิงยังทำงานพาร์มไทม์อยู่ถึง 60%
ข้อมูลของ OECD แสดงให้เห็นว่า แม้จะอยู่ในวัยเกษียณ แต่คนจำนวนไม่น้อยเลย ก็ยังทำงานอยู่ โดยคนอายุ 65 ปีขึ้นไปในประเทศญี่ปุ่น ยังทำงานอยู่ 25.6% ในนิวซีแลนด์ 25.1% ในเม็กซิโก 23.9% ในโคลอมเบีย 23.3% ในสหรัฐ 18.9% ชิลี 18.2% ออสเตรเลีย 15% สหราชอาณาจักร 10.5% เยอรมนี 7.5% และในฝรั่งเศส 3.5% จึงเป็นเรื่องปกติที่จะยังคงทำงานหลังจากเกษียณ จะทำเต็มเวลา หรือพาร์ทไทม์ก็แล้วแต่ ดิฉันมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยที่ทำให้ตนเองมีกิจกรรม จะได้แก่ช้าลง อารมณ์แจ่มใส เพราะฉะนั้นเราควร ทำงาน ทำงาน ทำงาน
งานวิจัยของ Natixis ได้รวบรวมข้อผิดพลาด 10 ข้อในการวางแผนเกษียณที่ผู้เกษียณเป็นผู้ระบุคือ
1. คาดการณ์เงินเฟ้อต่ำเกินไป 49%
2. คาดการณ์อายุขัยต่ำเกินไป 46%
3. คาดการณ์รายได้จากการลงทุนสูงเกินไป 42%
4. ลงทุนแบบอนุรักษนิยมเกินไป 41%
5. คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่เหมาะสม 40%
6. ไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมาคำนวณ 39%
7. ไม่ได้ทำความเข้าใจกับแหล่งรายได้ 35%
8. หวังพึ่งพารัฐสวัสดิการมากเกินไป 33%
9. คาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัยต่ำเกินไป 23%
10. ลงทุนแบบเสี่ยงเกินไป 21%
ข้อแนะนำสำหรับผู้วางแผนเพื่อการเกษียณอายุที่ดิฉันอยากนำเสนอคือ เริ่มวางแผนแต่เนิ่นๆ ออมได้น้อยบ้างมากบ้างไม่เป็นไร แต่เงินออมนั้นต้องนำไปลงทุน การลงทุนก็ไม่ควรอนุรักษนิยมเกินไป และไม่ควรเสี่ยงจนเกินไป ดูแลพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ลงทุนด้วย เช่น หากอายุ 30 ปี การลงทุนก็จะเป็นระยะยาว 25-30 ปี สามารถรับความเสี่ยงที่สูงได้ แต่ต้องดูสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วยนะคะ หากสถานการณ์ไม่ดี ก็ไม่ใช่ช่วงที่ควรจะเสี่ยงมาก และต้องลงทุนอย่างมีหลักการ มีพื้นฐาน เราลงทุนระยะยาว เราไม่เก็งกำไร การจับจังหวะที่จะเข้าลงทุนก็มีความสำคัญค่ะ
แต่หากอายุ 55 ปี ระยะเวลาการลงทุน ประมาณ 5 ปี ความสามารถในการรับความเสี่ยงก็จะลดลง ควรเลือกพอร์ตการลงทุนแบบเสี่ยงปานกลาง เพื่อรักษาเงินลงทุนเบื้องต้นให้คงอยู่ และให้มีโอกาสเติบโต ดูจังหวะการเข้าลงทุนและการถอนเงินลงทุนออกด้วยค่ะ
ท่านที่สนใจหาข้อมูลเรื่องการเตรียมตัวเพื่อการเกษียณ ดิฉันขอแนะนำ บทความ “วางแผนเกษียณ เรื่องสำคัญไม่ทำไม่ได้” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถ อ่านได้จาก https://www.set.or.th/th/education-rese ... retirement มีบทความสำหรับการวางแผนเกษียณ และลิ้งก์ไปยังบทความที่น่าสนใจมากมาย หรือสามารถติดต่อนักวางแผนการเงิน เพื่อช่วยท่านวางแผนเกษียณได้ค่ะ ค้นหาชื่อนักวางแผนการเงินที่รับให้บริการได้จากเว็ปของสมาคมนักวางแผนการเงินไทยที่ www.tfpa.or.th