หน้า 1 จากทั้งหมด 1

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:24 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
รายงานประเมินของไอเอ็มเอฟ มักถูกเก็บไว้ในธนาคารกลางและกระทรวงการคลัง นั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับการประเมินเศรษฐกิจไทยของไอเอ็มเอฟครั้งล่าสุด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แถลงผลการประเมินเศรษฐกิจไทยล่าสุด ตามธรรมดาในการประเมินเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ไอเอ็มเอฟมักมีทั้งคำชมและคำเตือนรัฐบาลของประเทศที่ถูกประเมินจะนำคำชมไปเป่าประกาศ แต่ไม่ค่อยเอ่ยถึงคำเตือน

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:24 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหรือสนใจในคำเตือนของไอเอ็มเอฟ ซึ่งอาจปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์แล้วถูกลืมอย่างรวดเร็ว รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายหรือทำอะไรที่ไอเอ็มเอฟเสนอ ยิ่งเป็นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว เงินเฟ้อต่ำ งบประมาณและการชำระเงินกับต่างประเทศอยู่ในภาวะใกล้สมดุลด้วยแล้ว โอกาสที่รัฐบาลจะฟังคำเตือนมีน้อย

รายงานประเมินของไอเอ็มเอฟมักถูกเก็บไว้ในธนาคารกลางและกระทรวงการคลัง นั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับการประเมินเศรษฐกิจไทยของไอเอ็มเอฟครั้งล่าสุด

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:24 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
กรณีที่นโยบายของรัฐบาลกำลังก่อให้เกิดปัญหา รัฐบาลมักไม่ทำอะไรจนกว่าปัญหาจะค่อยๆ พอกพูนจนเกือบถึงขั้นวิกฤติ เมื่อไอเอ็มเอฟอ่านเหตุการณ์ว่า จะเป็นเช่นนั้นแน่ ก็จะไม่แถลงออกมาให้สาธารณชนรู้ แต่จะส่งจดหมายลับถึงรัฐบาลหรือไม่ก็ส่งผู้บริหารชั้นสูงไปคุยโดยตรง เมื่อถึงจุดนี้บางทีรัฐบาลก็ฟังและยอมเปลี่ยนนโยบาย แต่บางทีก็ไม่ฟัง โดยที่รัฐบาลอาจมีเหตุผลหลายอย่างที่ไม่ยอมฟัง

เช่น อ่านเหตุการณ์ไม่ตรงกัน ถูกกดดันทางการเมืองและหลงผิดคิดว่านโยบายของตนเหนือกว่า ในกรณีที่รัฐบาลไม่ยอมเปลี่ยนนโยบาย ทำให้เกิดวิกฤติขึ้นจริงๆ และไปขอความช่วยเหลือ ไอเอ็มเอฟจะเข้าไปบงการด้านนโยบายทันที นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับไทยในปี 2540

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:25 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
การประเมินเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟ อาจเตือนและเสนอให้เปลี่ยนนโยบายตรงไปตรงมา หรือกล่าวถึงปัญหาและประเด็นต่างๆ ในรูปอื่นก็ได้ ในการประเมินเศรษฐกิจไทยล่าสุด คำเตือนที่ค่อนข้างตรงเห็นจะได้แก่การแสดง "ความเป็นห่วง" ต่อการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารของรัฐที่มีขนาดใหญ่

ไอเอ็มเอฟอาจเตือนด้วยการแสดง "ความเห็น" เช่น เขาเห็นว่าในภาวะปัจจุบันรัฐบาลควรหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการด้านการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ ความเห็นเช่นนี้ตรงข้ามกับการกระทำของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งยังคงอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจผ่านงบประมาณโดยตรง หรือผ่านหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นธนาคารเฉพาะกิจ ซึ่งทำธุรกรรมตามคำสั่งของรัฐที่เรียกว่า กิจกรรมกึ่งการคลัง (quasi-fiscal initiatives)

ในบางกรณีไอเอ็มเอฟอาจเตือนในรูปของการ "ตั้งข้อสังเกต" เช่น ในการกล่าวถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะเริ่มโครงการสร้างปัจจัยพื้นฐานขนาดใหญ่หรือ เมกะโปรเจ็ก เกี่ยวกับเรื่องนี้ไอเอ็มเอฟเตือนไว้ให้ระวังถึง 3 ด้านด้วยกันคือ โครงการเหล่านั้นจะต้องไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลทางการคลัง จะต้องได้รับการประเมินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะต้องได้รับการจัดลำดับความสำคัญลดหลั่นลงไป มิฉะนั้นมันจะสร้างปัญหามากกว่าผลตอบแทน

ในกรณีที่ไอเอ็มเอฟใช้คำว่า "สนับสนุน" ก็อาจเป็นการเตือนรัฐบาลว่า นโยบายนั้นกำลังสร้างปัญหา เช่น ไอเอ็มเอฟสนับสนุนให้รัฐบาลติดตามการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือน และหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิด สนับสนุนให้รัฐบาลดูแลธนาคารของรัฐให้ดำเนินธุรกรรมตามหลักการพาณิชย์ แทนที่จะเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายสินเชื่อของรัฐบาล และสนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในนโยบายการคลังต่อไป

พูดถึงความโปร่งใส ไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้มีความโปร่งใสในเรื่องการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐเพิ่มขึ้นด้วย

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:25 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
เนื่องจากในช่วงนี้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากภาวะเงินเฟ้อ พร้อมทั้งงบประมาณและการชำระเงินกับต่างประเทศอยู่ใกล้สมดุล คำเตือนของไอเอ็มเอฟจะไม่ได้รับความสนใจ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลคงคิดว่า ไอเอ็มเอฟล้าสมัย เพราะการประเมินนั้นวางอยู่บนฐานของตำราเศรษฐศาสตร์ ทั้งที่รัฐบาลนี้มีความภูมิใจในการ "คิดนอกกรอบ"

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้าราชการกระทรวงการคลัง เขียนบทความเรื่อง "คิดนอกกรอบตำราการคลัง" (กรุงเทพธุรกิจ ศุกร์ที่ 16 พ.ย.ในหน้า 14) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความกล้าหาญของรัฐบาลในการคิดนอกกรอบและสร้าง "นวัตกรรมนโยบายการคลัง" ขึ้นมา

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:26 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
บทความนั้นบ่งว่านวัตกรรมมี 3 ด้าน คือ ด้านแรกเป็นการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐ โดยเฉพาะที่ราชพัสดุ ไอเอ็มเอฟไม่ได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามบทความนั้นอ้างว่า นวัตกรรมนี้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจะช่วยแปลงโฉมเศรษฐกิจรากหญ้าเป็นรากแก้วในอนาคต แน่ละ นั่นเป็นการฝันลมๆ แล้งๆ เพราะแนวคิดการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนซึ่งมาจากการคิดนอกกรอบในหนังสือชื่อ The Mystery of Capital ของ เฮอนานโด เดอ โซโต ชาวเปรูนั้น ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ผิด ไม่เช่นนั้นรัฐบาลเปรูซึ่งนำไปใช้คงได้ผลจนประเทศนั้นร่ำรวยไปนานแล้ว

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:26 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
อีกสองด้านเป็นการจัดสรรงบประมาณแบบขนมชั้น ซึ่งจะกระจายเงินไปสู่องค์กรในท้องถิ่นโดยตรง และการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ไอเอ็มเอฟแยกความเห็นเป็น 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก เป็นความห่วงใยเรื่องความโปร่งใสในด้านการคลัง แม้ไอเอ็มเอฟจะอยู่ไกล แต่เขารู้ว่าเมืองไทยมีความฉ้อฉลสูง

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:26 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
ประเด็นที่สอง เขากลัวจะเกิดปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน เรื่องนี้รัฐบาลยืนยันเสมอว่า จะไม่เป็นปัญหาทั้งที่ระดับหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและลูกหนี้จำนวนมากแบกภาะไม่ไหวต้องไปขอผ่อนผัน การกระตุ้นให้สร้างหนี้ตรงข้ามกับความคิดของบรรพบุรุษไทยซึ่งสอนให้คนมัธยัสถ์

ประเด็นที่สาม เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวติดต่อกันหลายปี และศักยภาพที่มีอยู่ถูกใช้ไปในการผลิตหมดแล้ว ไอเอ็มเอฟจึงชี้ให้เห็นว่าไม่น่าจะต้องอัดฉีดเงินของรัฐต่อไป นั่นเป็นการประเมินตามตำราของจอห์น เมนาร์ด เคนส์ ซึ่งรัฐบาลคงคิดว่าล้าสมัยจึงไม่ยอมฟัง

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:27 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
ตามธรรมดาข้าราชการจะไม่ออกมาเชียร์รัฐบาลอย่างออกหน้าออกตา แต่ยุคนี้มีการคิดนอกกรอบ ทั้งที่น่าจะรู้ว่านั่นมันผิดจรรยา ในภาวะปัจจุบันที่ข้าราชการและรัฐบาลจะไม่ฟังคำเตือนของไอเอ็มเอฟ นั่นไม่ใช่ของใหม่



เพราะรัฐบาลไทยก็เหมือนสมาชิกอื่นอีกจำนวนมากของไอเอ็มเอฟ คือ "ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย"

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 08, 2005 9:27 pm
โดย คลื่นกระทบฝั่ง
ขอขอบคุณ ดร.ไสว บุญมา ด้วยครับ
ชักอยากอ่านฉบับเต็มๆล่าสุดที่IMF ประเมินประเทศไทยและเศรษฐกิจไทยซะแล้ว

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 09, 2005 7:58 am
โดย ch_army
การอัดฉีดลงไปในงานลอจิสติกส์ เนียผมว่าจำเป็นมากๆครับ ต้องเป็ล้านๆครับ เราต้องขายทุกอย่างให้ทัน ระบบอะไรก็ต้องดี โดยเฉพาะระบบราง ไม่งั้นประเทศเราจะไปแข่งขันในระยะยาวไม่ได้ครับ จริงๆแล้วคิดดูดิ อเมกามีรถไฟใต้ดินมากี่ปี แล้วเราเพิ่งมี นี่เราตามเค้าอยู่กี่ขุมกันครับ

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 09, 2005 9:38 am
โดย Jaturont
ผมว่านโยบายของ IMF เหมาะกับประเทศที่หมดทางเยียวยาจิงๆมากกว่า
อย่างบางประเทศที่ทำตาม ก็ได้ข่าวว่าเสียหายทางเศรษฐกิจเยอะนี่ครับ
อย่าง อาเจนติน่า เอ... ถ้าผมเข้าใจผิดฝากแก้ด้วยนะครับ เพราะไม่แน่ใจเท่าไหร่

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 09, 2005 1:04 pm
โดย Paul
...........
เพราะรัฐบาลไทยก็เหมือนสมาชิกอื่นอีกจำนวนมากของไอเอ็มเอฟ คือ "ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย"...........

แน่นอนที่สุด และก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องมากที่สุด ตราบใดที่ไม่เห็นศพ ก็ยังต้องค้นหาต่อไป

ไอเอ็มเอฟ เสียหน้ามาก เมื่อรัฐบาลนี้ และรัฐบาลของมาเลเซียในอดีต ที่ไม่เชื่อไอเอ็มเอฟ และสามารถนำประเทศชาติรอดพ้นภัยพิบัติ ไม่ต้องเป็นขี้ข้า ไอเอ็มเอฟ
( พวกผู้บริหารไอเอ็มเอฟ มานั่งชี้มือชี้ไม้ ทำหยิ่งยะโสในประเทศเรา )

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 09, 2005 4:24 pm
โดย เพื่อน
เรามักจะได้ยินชื่อเสียง IMF ในแง่ลบ จากสื่อฝ่ายที่ไปขอความช่วยเหลือจากเค้า โดยเฉพาะรัฐบาลเองมักจะแสดงให้ประชาชนเห็นว่าความผิดพลาดมาจาก IMF ทั้งๆที่ได้รับการเตือนและก็ได้รับการร้องขอให้เข้ามาช่วยเหลือเมื่อมันสายเกินไป พอเค้ามาช่วยก็ยังด่าเค้าอีกว่าเป็นต้นเหตุต่างๆนาๆ แถมกล่าวหาว่าพวกผู้บริหารมานั่งชี้มือชี้ไม้ทำท่าอวดหยิ่งยโส....มาได้ยังไงครับ เคยเห็นจริงๆรึปล่าวครับ

ก่อนจะเชื่อข่าวพวกนี้ สมควรจะได้รับข่าวสารที่มีเหตุผลมาจากทั้ง2ด้านก่อนที่จะตัดสินใจประนามใคร

ทำไมภาครัฐถึงเกียจ IMF ....ลองคิดดูดีๆจะเห็นชัดว่า นโยบายที่ชัดเจนของนักการเมืองในแง่คอรัปชั่นจะถูกลดทอนลง จะต้องโปร่งใสขึ้น และลดการผูกขาดทางธุรกิจของพวกพ้อง....เป็นสาเหตุที่เรามักจะได้ยินแง่ลบของ IMF จากฝ่ายนักการเมืองที่ต้องการให้เราเห็นคล้อยตาม

ผมรู้จักใครบางคนที่ทำงานอยู่กับ IMF เค้าให้ความเห็นว่า นี่เป็นเรื่องธรรมดาที่เค้าเจอมาเกือบจะทุกประเทศ ที่รัฐบาลพยายามเบี่ยงประเด็นความเสียหายไปลงที่ IMF ในทำนองว่าจะมาเอาเปรียบเค้า และประชาชนก็จะหันมาต่อต้าน IMF แทนที่จะมุ่งประเด็นความกดดันไปที่ฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด

ยังไงๆก็ฟังหูไว้หูนะครับ....มีทั้งแง่ดีและไม่ดีปนๆกันอยู่ แยกออกจากกันยากมากครับ

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 09, 2005 6:59 pm
โดย house
ขอเสนอให้ไปอ่านรายงานจาก tdri (อีกแล้วครับ) บรรยายเรื่องนี้ไว้ละเอียดมากและค่อนข้างเป็นกลาง โดนหมด ทุกรัฐบาล + IMF

รวมคอลัมล์ ของ ดร โกร่ง ชุดผู้ดีเดินตรอก ก็จะช่วยให้เห็นอีกมุมมองหนึ่งครับ

ฟังข่าวหลายๆด้วย จะได้เลือกถล่ม ไม่ผิดเป้า

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 09, 2005 10:53 pm
โดย Dexter
ผมเห็นด้วยกับคุณเพื่อนคับ

คนไทยมักจะมีอคติกับไอเอ็มเอฟ

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 10, 2005 8:08 am
โดย Viewtiful Investor
ลองอ่านหนังสือ Globalization and its Discontent สิครับ จะรู้ว่า IMF เนี่ยเค้าไม่ได้มีไว้เพื่อผลประโยชน์ประเทศเล็กๆหรอกนะ และรัฐบาลที่โง่พอจะตามก้นแบบไม่ต้องคิดอะไร ก็ไม่น่าเลือกกลับมาหรอกครับ

=="ต้องเห็นศพจึงจะเชื่อว่าตาย" ถอดรหัสไอเอ็มเอฟ ==

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 10, 2005 10:41 am
โดย Jaturont
จิม โรเจอร์ เค้ายังไม่ชอบ IMF เลยครับ ขนาดเค้าเป็นคน USA นะครับ