หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ขอความเห็นพี่ๆชาวTVI ด้วยครับเกี่ยวกับอนาคตของ TOP

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 26, 2005 7:11 pm
โดย Chinapol
ได้อ่านบทสัมภาษณ์คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์จากกรุงเทพธุรกิจความตอนหนึ่งเกี่ยวกับแผนการในอนาคตของ TOP โดยPTT จะขาย RRC+SPRC ให้ พี่ๆชาวTVIมีความคิดเห็นเป็นประการใดครับถ้าหากผมจะซื้อ TOP ซัก 3 ปีขึ้นไปอนาคตราคามีสิทธิไปได้ไกลไหมครับหากคุณประเสริฐ สามารถทำสำเร็จได้ตามที่พูดไว้หรือมีอุปสรรคใดๆหรือไม่ที่จะทำให้การควบรวมนั้นไม่สำเร็จ ขอบคุณมากครับ


***สำหรับการปรับทัพในกลุ่มธุรกิจ "โรงกลั่น" ก็เช่นกัน ตลอดปี 2547 ที่ผ่านมา ทาง ปตท. พยายามสร้างฐานในกลุ่มนี้ให้แกร่ง เริ่มตั้งแต่การปรับโครงสร้างหนี้ให้กับ ไทยออยล์- TOP ก่อนส่งเข้าไประดมทุนในตลาดฯ

และก่อนหน้านั้น PTT ได้ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX) และบริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (TLB) ทั้งหมดที่ PTT ถือไว้ ไปให้กับ TOP ...เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามโครงสร้างโมเดลใหม่

จากนั้นจึง "นำเงิน" ที่ได้จากการขายบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งไปซื้อหุ้น TOP ในราคาไอพีโอ เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ไม่เกิน 49.99%

และยังส่งผลให้กระบวนการควบรวม TPX เข้ากับ TOP คล้ายเป็นการควบรวมทั้งคู่เข้าหากันโดยปริยาย เพราะถึงขณะนี้ TOP ได้เข้าไปถือหุ้นอยู่ใน TPX เต็มสัดส่วน 100% จึงไม่จำเป็นต้องยุบเลิก TPX ด้วยเหตุผลปัญหาขาดทุนสะสมที่คาราคาซังมานาน

ถือเป็นอีก "กลธุรกิจ" ที่ "ประเสริฐ" ประเมินผลที่ได้อีกทางว่า TOP ยังจะสามารถนำเอา...ส่วนขาดทุนสะสมของ TPX มาใช้สอยเพื่อการ "ลดหย่อนภาษี" ได้

"เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เลือกที่จะยุบ TPX"

ประเสริฐ อธิบายแผนจัดทัพในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นต่อไปว่า เนื่องจากภาวะความต้องการใช้น้ำมันขยับสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่โตขึ้น จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมโรงกลั่น (แบบ Complex) จะอยู่ในภาวะขาขึ้นไปจนถึงปี 2550

ดังนั้นเอง ภายในปี 2548 ทาง ปตท. จะเร่งดำเนินการ "จับรวม" โรงกลั่นระยองสตาร์ (RRC) และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) เข้ามาไว้ด้วยกัน...เป็นลำดับแรก โดยจะพยายามขยายงานเท่าที่จำเป็น และใช้เงินให้น้อยแต่ต้องมีประสิทธิภาพ

...ถัดจากนั้น จึงจะนำโรงกลั่นแห่งนี้ เดินหน้าสู่แผนระดมทุนในตลาดหุ้นต่อไป

"ถึงตอนนั้น ปตท.ก็คงจะลดสัดส่วนหุ้นในโรงกลั่นที่จับรวมกัน เพื่อผันเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง...ก่อนเก็บเข้ากระเป๋าบริษัทไป" ประเสริฐอธิบาย

หลังจากนั้นจึงนำเอาหุ้นทั้งหมดที่ปตท.ถืออยู่ในโรงกลั่น (RRC+SPRC) ขายไปให้กับโรงกลั่นไทยออยล์ (TOP) ก่อนที่เราจะตัดขายหุ้น "บางจาก ดี.อาร์." ออกไป หลังจากหมด "ล็อดอัพ พีเรียด" ซึ่งขณะนี้ปตท. ถือหุ้นอยู่ไม่ถึง 10%

เมื่อจบกระบวนการ โครงสร้างการถือหุ้นของ ปตท. จะลดความรุงรังในเซกเตอร์โรงกลั่นทันที

"ภาพที่ออกมาจะเป็นว่า TOP ก็ลิสต์อยู่ในตลาดฯ แล้วยังถือหุ้นโรงกลั่นอีกตัวที่ลิสต์อยู่ในตลาดฯเช่นกัน ก็จะเหมือนเป็นบริษัทย่อยของ TOP ไป เพียงแต่ว่าจะยังมีคาลเท็กซ์ถือหุ้นร่วมอยู่ในโรงกลั่นแห่งนี้ (RRC+SPRC)ด้วย"

อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่ม ปตท. ก็ยังคงมองต่อไปอีกแนวทางว่า ประมาณปี 2549 อาจจะสามารถนำโรงกลั่น RRC+SPRC มารวมเข้ากับ TOP ได้หรือไม่และอย่างไร

"ปัจจุบันกำลังการกลั่นของ RRC กับ SPRC จะรวมกันได้ประมาณ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน จาก Capacity ทั้งสิ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วน TOP หลังขยายแล้วจะมีกำลังผลิตประมาณ 2.7 แสนบาร์เรล

ถ้าเราสามารถจับทั้งสามโรงกลั่นมารวมกันได้จริง ก็จะได้กำลังกลั่นต่อวันเกินระดับ 6 แสนบาร์เรล เพราะ RRC กับ SPRC ยังสามารถขยายกำลังกลั่นได้อีกมาก

"หากได้บทสรุปตามแนวทางนี้ เราก็จะมีโรงกลั่นที่มีขนาด "แอสเซท" ที่ใหญ่มาก"

และเซกเตอร์โรงกลั่นของ ปตท. ก็จะเหลือ "ตัวหลัก" เพียงรายเดียว ตามแผนธุรกิจที่ถูกปูไว้***