ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
- Newbee
- Verified User
- โพสต์: 148
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 1
capital Insentive กับ labour Intensive คืออะไร ??? ได้ยินบ่อย ในช่วงหลังๆ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ถ้ารู้ช่วยให้เราเข้าใจเรื่อง วิธีโยกค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่...
รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 2
น่าจะหมายถึงการจำแนกธุรกิจว่าใช้แรงงานหรือเครื่องจักรเป็นส่วนประกอบมากกว่ากันครับ ธุรกิจที่เน้นหนักในการใช้แรงงานนั้นจะมี Variable Cost ในสัดส่วนที่สูงยกตัวอย่างอาทิเช่นอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า มิน่าในเมื่อประเทศไทยมีค่าแรงงานสูงขึ้นหลายๆ บริษัทจึงเริ่มออกไปหาหรือจัดตั้งโรงงานในประเทศอื่น มันก็เลยเป็นที่มาของ Made in China, Made in Vietnam อย่างที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำในขณะที่ Capital Intensive นั้นจะมีการใช้แรงงานต่ำแต่จะมี Fixed Cost สูง....ความแตกต่างในส่วนนี้จะมีผลต่อจำนวน Break Even หรือจำนวนขั้นต่ำที่จะทำให้คุ้มการผลิตในที่สุดเช่นกันครับ
Impossible is Nothing
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Inten
โพสต์ที่ 3
น่าจะเป็นคำมาจากวิชาเศษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัจจัยการผลิต ที่ประกอบด้วย ทุน(Capital) กับ แรงงาน(Labor)เป็นหลักNewbee เขียน:capital Insentive กับ labour Intensive คืออะไร ??? ได้ยินบ่อย ในช่วงหลังๆ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ถ้ารู้ช่วยให้เราเข้าใจเรื่อง วิธีโยกค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่...
ธุรกิจที่มีปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็น ทุน เรียกว่า Capital Intensive เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เคมี อิเล็คทรอนิคส์ ฯลฯ
ธุรกิจที่มีปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็น แรงงาน เรียกว่า Labor Intensive เช่น ???
รอนักเศษฐศาสตร์มาช่วยต่อครับ :lol:
"Price is what you pay. Value is what you get."
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Inten
โพสต์ที่ 4
8) เอาแบบง่ายขึ้นมาอีกหน่อยNewbee เขียน:capital Insentive กับ labour Intensive คืออะไร ??? ได้ยินบ่อย ในช่วงหลังๆ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ถ้ารู้ช่วยให้เราเข้าใจเรื่อง วิธีโยกค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่...
ที่ทำงานพี่ newbee ที่ไทยออยล์
ผมถือว่าเป็น capital intensive ครับ
คือเฉพาะถังความดันที่พี่ซื้อจากบริษัทของผม (ว่าเข้านั่น)
ลูกนึงก็เป็นร้อยๆล้านแล้วครับ
ไม่มีcapital จะทำได้ไง
ส่วน labour intensive
ชัดๆในอดีตก็ เสื้อผ้านี่แหละครับ
อย่างอีกบริษัทนึงของผม(ว่าไปนั่น)ที่ตอนแรกทำท่อทองแดงอยู่อย่างเดียว
ตอนนั้นก็ labour intensive เห็นๆเลย
เข้าไปดูโรงงานยืนกันหัวดำเลย
พวกนี้เหนื่อยครับ ตอนนี้ก็เลยพยายามหาเครื่องไม้เครื่องมือมาช่วยมากขึ้น
พูดไปพูดมานึกขึ้นได้
โรงงานที่ทำถังความดันให้โรงงานพี่นิวบี
ผมไปดูมาแล้ว ก็ labour intensive เหมือนกันครับ
แต่โรงงานนี้ยืนกันหัวขาวไปหมดเลย
ไม่ใช่แก่ผมหงอกนะครับ
โรงงานนี้ต้องใส่หมวกกันน๊อคทั้งโรงงานเลย
ม่ายงั้นชิ้นงานหล่นใส่ละก็ ....ดูไม่จืด ....แน่นอน...
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 5
เป็นแบบที่ทั้ง วู๊ดดี้และคุณเก๋า พูด
ประเด็นคือ
เราจะรู้ว่าต้นทุนหลักของธุรกิจมาจากอะไร
เพือที่จะรู้ว่า key success factors ของธุรกิจตัวนั้นคืออะไร
ถ้าเป็น labor
ถ้าค่าแรงยังถูกกว่าที่อื่นหรือชาติอื่นๆอยู่ บริษัทก็ยังแข็งแกร่งอยู่ เพราะเป็นจุดที่ได้เปรียบ
ต้นทุนต่อหน่วยเยอะ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานเย็บผ้ารุ่นเก่า โรงงานทำรองเท้า ที่ยังใช้คนเย็บ
พวกนี้ มีแค่จักรเย็บผ้าก็พอ แต่อาจต้องมีคนเป็น หลายร้อย หรือ หลายพันคน
ถ้าเป็น capital intensive
พวกนี้จะลงทุนในเครื่องจักรเยอะ ต้นทุนต่อหน่วยไม่มาก แต่ fix cost เยอะ
ยกตัวอย่างเช่น โรงงานไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี
คนทำงานไม่เยอะ แต่ ลงทุนเยอะ
ก่อน break even ( รายได้ = ต้นทุนทั้งหมด )
labor intensive จะ break even ได้เร็วกว่าเพราะต้นทุนคงที่น้อย
capital intensive จะ break even ช้ากว่าเพราะลงทุนเป็นเงินมากๆ แล้ว
หลัง break even
ถ้าเป็น labor intensive ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้นเยอะ กำไรจะเพิ่มขึ้นไม่เยอะ เพราะ กำไรต่อหน่วยจะน้อย
ถ้าเป็น capital intensive ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้นเยอะ กำไรจะเพิ่มขึ้นมาก เพราะกำไรต่อหน่วอยมากกว่า
ดังนั้นต้องดูว่าธุรกิจที่สนใจ เป็นธุรกิจประเภทไหน และอยู่ในช่วงใด
เพือเป็นหลักในการคิดว่าธุรกิจที่สนใจนั้น มีความเสี่ยงแบบไหนครับ
ประเด็นคือ
เราจะรู้ว่าต้นทุนหลักของธุรกิจมาจากอะไร
เพือที่จะรู้ว่า key success factors ของธุรกิจตัวนั้นคืออะไร
ถ้าเป็น labor
ถ้าค่าแรงยังถูกกว่าที่อื่นหรือชาติอื่นๆอยู่ บริษัทก็ยังแข็งแกร่งอยู่ เพราะเป็นจุดที่ได้เปรียบ
ต้นทุนต่อหน่วยเยอะ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานเย็บผ้ารุ่นเก่า โรงงานทำรองเท้า ที่ยังใช้คนเย็บ
พวกนี้ มีแค่จักรเย็บผ้าก็พอ แต่อาจต้องมีคนเป็น หลายร้อย หรือ หลายพันคน
ถ้าเป็น capital intensive
พวกนี้จะลงทุนในเครื่องจักรเยอะ ต้นทุนต่อหน่วยไม่มาก แต่ fix cost เยอะ
ยกตัวอย่างเช่น โรงงานไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี
คนทำงานไม่เยอะ แต่ ลงทุนเยอะ
ก่อน break even ( รายได้ = ต้นทุนทั้งหมด )
labor intensive จะ break even ได้เร็วกว่าเพราะต้นทุนคงที่น้อย
capital intensive จะ break even ช้ากว่าเพราะลงทุนเป็นเงินมากๆ แล้ว
หลัง break even
ถ้าเป็น labor intensive ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้นเยอะ กำไรจะเพิ่มขึ้นไม่เยอะ เพราะ กำไรต่อหน่วยจะน้อย
ถ้าเป็น capital intensive ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้นเยอะ กำไรจะเพิ่มขึ้นมาก เพราะกำไรต่อหน่วอยมากกว่า
ดังนั้นต้องดูว่าธุรกิจที่สนใจ เป็นธุรกิจประเภทไหน และอยู่ในช่วงใด
เพือเป็นหลักในการคิดว่าธุรกิจที่สนใจนั้น มีความเสี่ยงแบบไหนครับ
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
- Newbee
- Verified User
- โพสต์: 148
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณทุกท่าน ที่ช่วยให้ความรู้ครับ
ผมว่าเคล็ดหนุ่มเสนอดีกว่า ตัวหุ้นอีกครับ คาราวะอีกครั้ง
ขอบคุณ พี่เก๋า พี่ woody พี่ sunrise และทุกๆ ท่านด้วยครับ
เห็นภาพเลยครับพี่ ตอนเห็นหน้าพี่ นึกว่าประมาณ 35-40 พอทราบว่าลูกชายจะ 19 แล้ว ทำไมหน้าเด็กจังเลยพี่ ขอถามเคล็ดลับบ้างครับ :lol:พี่ por_jai
เอาแบบง่ายขึ้นมาอีกหน่อย
ที่ทำงานพี่ newbee ที่ไทยออยล์
ผมถือว่าเป็น capital intensive ครับ
คือเฉพาะถังความดันที่พี่ซื้อจากบริษัทของผม (ว่าเข้านั่น)
ลูกนึงก็เป็นร้อยๆล้านแล้วครับ
ไม่มีcapital จะทำได้ไง
ส่วน labour intensive
ชัดๆในอดีตก็ เสื้อผ้านี่แหละครับ
อย่างอีกบริษัทนึงของผม(ว่าไปนั่น)ที่ตอนแรกทำท่อทองแดงอยู่อย่างเดียว
ตอนนั้นก็ labour intensive เห็นๆเลย
ผมว่าเคล็ดหนุ่มเสนอดีกว่า ตัวหุ้นอีกครับ คาราวะอีกครั้ง
ขอบคุณ พี่เก๋า พี่ woody พี่ sunrise และทุกๆ ท่านด้วยครับ
รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 8
กำ ของผม ขอโทษพี่ขาวด้วยครับwoody เขียน:พี่ Sunrise ครับ พี่ Kao เค้าชื่อพี่ขาวครับ...
ตั้งชือให้ใหม่เลย :lol:
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
- NightDevil
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณ สำหรับความรู้ดีๆ ฮะ :P
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Intensive
โพสต์ที่ 12
ไม่แปลกหลอกครับ น้องโอ๊ตโอ@ เขียน:แต่ตอนแรกผมนึกว่าชื่อข้าวหน่ะ -_- ผิดแปลกแตกแยกจริงๆเรา
มีคนเรียกมาแล้วทั้ง เกา เก่า เก้า 9 ก้าว เก๋า ข้าว :lol:
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความหมาย กับ ความต่าง capital Insentive กับ labour Inten
โพสต์ที่ 14
รองเท้ากีฬาย้ายฐานหนีค่าจ้าง แบรนด์นอกแห่ซบเวียดนาม-จีน รีบอคเจาะฟิตเนสหลีกแข่งยักษ์ [ โพสต์ทูเดย์, 17 พ.ค. 55 ]
รองเท้ากีฬาแบรนด์ดังย้ายฐานผลิตซบจีน-เวียดนาม หนีค่าจ้างไทยพุ่งรีบอคลั่นยึดเก้าอี้ 3 ชู
นวัตกรรมหาช่องว่างตลาดหลบแข่งรายใหญ่
นายวิจักษ์ สิริสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยท็อป สปอร์ต ผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์
รีบอคในประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันรองเท้ากีฬาอินเตอร์แบรนด์ ต่างเข้าไปจัดตั้งฐานผลิตในประเทศ
เวียดนามและจีน เนื่องจากค่าจ้างและต้นทุนถูกกว่าประเทศไทย
รองเท้ากีฬาแบรนด์ดังย้ายฐานผลิตซบจีน-เวียดนาม หนีค่าจ้างไทยพุ่งรีบอคลั่นยึดเก้าอี้ 3 ชู
นวัตกรรมหาช่องว่างตลาดหลบแข่งรายใหญ่
นายวิจักษ์ สิริสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยท็อป สปอร์ต ผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์
รีบอคในประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันรองเท้ากีฬาอินเตอร์แบรนด์ ต่างเข้าไปจัดตั้งฐานผลิตในประเทศ
เวียดนามและจีน เนื่องจากค่าจ้างและต้นทุนถูกกว่าประเทศไทย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."