จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bangkokwu
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมซื้อหนังสือวันปีใหม่พอดีที่ร้านซีเอ็ดสาขาเทสโก้สระบุรี ตั้งอยู่ตรงหนังสือแนะนำและเหลืออยู่เล่มเดียวด้วย (กลับมากรุงเทพฯไปแวะดูที่ซีเอ็ดแถวบ้านกลับหาไม่เจอ สงสัยขายดีมาก)

ผมคิดว่าเป็นหนังสือที่คุ้มค่ามาก นักลงทุนท่านใดยังไม่มีน่าลงทุนซื้อนะครับ ผมจำได้ว่าเคยเห็นหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาอังกฤษที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯเมื่อสัปปีกว่ามาแล้ว เล่มละเกือบแปดร้อยจึงทำใจซื้อไม่ได้ ต้องขอบคุณคุณ WEB ที่ทำให้มีหนังสือดีๆอ่านในราคาย่อมเยา

หลายๆคนที่ได้อ่านจนจบแล้วและไม่เคยรู้จักตลาดหุ้นอเมริกาคงจับความได้นะครับว่าในอเมริกามีการเก็บภาษีจากำไรจากการขายหุ้น (capital gain) ซึ่งตรงนี้บ้านเราไม่มี ตรงนี้เองทำให้คำแนะนำหลายๆอย่างในหนังสือ (ซึ่งเขียนโดยคนอเมริกัน) อาจไม่ตรงนักกับวิธีคิดภาษีในบ้านเราซึ่งไม่มีภาษีเก็บcapital gain

เลยนึกสงสัยขึ้นมาว่าภาษี capital gain นี้มันสมเหตุสมผลหรือไม่ แล้วทำไมบ้านเราไม่เก็บ เหตุผลที่พอนึกออกก็คือถือว่าเป็นตลาดใหม่ รัฐอยากสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาในตลาดมากๆ จึงยกเว้น ซึ่งก็หมายความว่าสักวันหนึ่งก็คงจะมีการเก็บภาษี capital gain จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

ในหนังสือตอนหนึ่งกล่าวถึงว่า มันไม่สมเหตุผลที่บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเพราะผู้ถือหุ้นสามรถทำเงินปันผลเทียมได้โดยขายหุ้นบางส่วนออกและไม่ต้องเสียภาษีสองเด้ง ข้อนี้ถือว่าไม่เกี่ยวกับบ้านเราถูกหรือไม่ครับ เพราะเราไม่ถูกภาษี capital gain อยู่แล้ว

อยากทราบความเห็นครับว่า ในฐานะนักลงทุนอย่างเรา ซึ่งอยู่ในตลาดที่ได้รับการยกเว้นภาษี capital gain เราจะ take advantage จากข้อสนับสนุนของรัฐนี้อย่างไรเพื่อผลตอบแทนสูงสุดครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
house
Verified User
โพสต์: 683
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ลองอ่านรายงานการวิจัยจาก tdri ดูครับมี การวิจัยเกี่ยวกับภาษีจากการลงทุนแบบต่างๆอยู่ มีการพูดถึงข้อดีข้อเสียของ capital gain ด้วย เอ้อ แต่ผมยังอ่านไม่จบนะ

ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกับบ้านเราครับ เพราะของเราเงินปันผลก็เครดิตภาษีได้ แต่ของเขาไม่ได้ ก็เลยกลายเป็น 2 ต่อ
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
ภาพประจำตัวสมาชิก
bangkokwu
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คุณ house
ผมเข้าไปที่ tdri เจอแต่สารบัญของรายงานชุดนั้น (2544)
คุณ house มี รายงานเต็มพอส่งให้ได้ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
house
Verified User
โพสต์: 683
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จากสารบัญแหละครับ พอคลิ้ก ไปที่บทไหน ก็จะโหลด บทนั้นมาให้ครับ
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
ภาพประจำตัวสมาชิก
bangkokwu
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับคุณ House

ผมลองเข้าไปอ่านส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว

อันนี้มาจากบทสรุปนะครับ

10.1 สรุปผลการศึกษาการออมการลงทุน
โครงสร้างภาษีเงินได้ของไทย มีลักษณะที่มีความไม่เป็นกลางในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากกว่านิติบุคคล โดยภาระภาษีในรายได้ประเภทต่างๆ จากการลงทุนทางการเงินของนิติบุคคลจะเท่ากันเป็นส่วนใหญ่
ความแตกต่างสํ าคัญของภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ บริษัทจํ ากัดที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนํ ารายได้จากเงินปันผลมาคํ านวณเป็นรายได้ ทํ าให้มีภาระภาษีของเงินปันผลสูงกว่าบริษัทจดทะเบียน
ส่วนบุคคลธรรมดามีภาระภาษีที่แตกต่างกันในรายได้จากการลงทุนหลายประเภท เนื่องจากมีข้อยกเว้นในการเสียภาษีหลายประการ
กรณีภาระภาษีเงินได้จากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกํ าไรเปรียบเทียบกับเงินได้กํ าไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การจ่ายเงินปันผลมีภาระภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาระหว่างร้อยละ 5-37 ในขณะที่เงินได้กํ าไร
จากการขายหลักทรัพย์จดทะเบียนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสภาพความไม่เท่ากันของภาระภาษีเช่นนี้อาจทํ าให้เกิดการบิดเบือนเพื่อไม่เสียภาษีเงินได้ โดยการขายหลักทรัพย์ก่อนการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกําไร ซึ่งปกติราคาหลักทรัพย์จะสูงขึ้นในช่วงก่อนการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกํ าไร เพื่อได้ประโยชน์จากกําไรจากการขาย โดยไดร้ ับการยกเว้นภาษีเงินได ้ และซื้อคืนกลับมาเมื่อมีการจ่ายปันผลแล้ว ในราคาที่ต่ำ กว่าราคาที่ขายไปในตอนแรก (โดยปกติราคาหลักทรัพย์จะลดลงเมื่อมีการจ่ายปันผลแล้ว) ซึ่งธุรกรรมเช่นนี้จะทํ าให้ไม่มีภาระภาษีเงิน ได้จากการลงทุนเลยโครงสร้า้งภาษีเงินได้ลักษณะนี้ ผลู้ งทนุ จะไดป้ ระโยชนน์ อ้ ยลงหากกองทนุ ใหผ้ ลตอบแทนเปน็ สว่ นแบง่ ก าํ ไรเพราะผู้รับมีภาระภาษีสูงกว่ากรณีที่ได้กํ าไรจากการขายหน่วยลงทุน กองทุนให้ผลตอบแทนในรูปเป็นกํ าไรจากการขายหนว่ ยลงทนุ จะเป็นประโยชนแ์ กผ่ ลู้ งทนุ มากกวา่ โดยการที่กองทุนไม่จ่ายส่วนแบ่งกํ าไรแต่น าํ เงนิ ไปลงทนุ ใหผลตอบแทนทดี่ จี ะท าํ ให  NAV สงู ขนึ้ นักลงทุนมีก าํ ไรจากการขายหน่วยลงทุน
การศึกษาพบว่าโครงสร้างภาษีไม่มีความแตกต่างของกลุ่มตราสารการเงินประเภทเดียวกัน (ตราสารหุ้น ตราสารหนี้ตราสารการเงิน) ความแตกต่างเป็นไปตามประเภทของรายได้จากตราสารต่างๆ ที่มีภาระต่อผู้ออมผู้ลงทุนต่างกัน
โครงสรา้ งภาษเี งินได้เอื้อต่อการลงทุนในรูปของดอกเบี้ยในตลาดเงิน มากกว่าการลงทุนเพื่อให้ได้เงินปันผลในตลาดหุ้น โดยภาระภาษีตราสารหนี้และเงินฝาก คือร้อยละ 5-15 สํ าหรับบุคคลธรรมดา ในขณะที่รายได้ประเภท
เงินปันผลต้องเสียภาษีร้อยละ 5-37 เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านอื่นๆ เช่นการคํ้ าประกันเงินฝากของรัฐบาล ความเสยี่ งและปัญหาด้านความไม่สมมาตรของข่าวสารข้อมูล (Asymmetric Information) จากการลงทนุ ในตลาดหนุ้ จึงไม่น่าแปลกใจที่การลงทุนในรูปเงินฝากจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นมาก


ผมลองมานั่งนึกดูแล้วผมว่าบทสรุปนี้ไม่ค่อยถูกต้องนักนะครับ

ยกตัวอย่างนะครับ

ผมในฐานะนักลงทุน มีหุ้นอยู่หนึ่งตัวราคา 110 บาท ซึ่งประกาศจ่ายเงินปันผลแล้ว 10 บาท สมมติว่าพรุ่งนี้จะ XD วันนี้ผมมีทางเลือกสองทางนะครับ (สมมติว่าผมตัดสินใจแล้วว่าผมต้องการเป็นผู้ถือหุ้นนี้ในระยะยาว) คือ
1. ขายหุ้นไปที่ 110 แล้ว วันพรุ่งนี้ซื้อคืนที่ 100 บาท
กรณีนี้ เหมือนผมได้ปันผลเสมือน 10 บาททันที ไม่ต้องจ่ายภาษีใดๆ

2. ผมถือต่อไป ไม่ขาย
กรณีนี้ เมื่อถึงวันรับเงิน ผมจะได้เงินปันผล ซึ่งถูกหักไว้ 1 บาท จึงได้รับเงินสดมา 9 บาท
อย่างไรก็ดี ผมจะต้อง (1)จ่ายภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับ และ (2)ได้รับเครดิตภาษีคืนดังนี้
[ขอสมมติว่า marginal tax rate ของผมเป็น 20% และบริษัทจ่ายภาษีนิติบุคคลในอัตรา 30%]

(1)จ่ายภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับ 10บาท x 20% = 2 บาท
(2) ได้รับเครดิตภาษีคืน10บาท x 30%/70% ~ 4.28 บาท

สรุปในกรณีที่สองแล้ว ผมจะได้เงินปันผล หักภาษี บวกกลับผลประโยชน์จากเครดิตภาษีเท่ากับ 10 -2 + 4.28 = 12.48 บาท

ซึ่งมากกว่ากรณีที่หนึ่ง เป็นจำนวน 2.48 บาท (ถึงแม้ผมจะเสียภาษีในอัตรสูงสุด อัตรา 37% ก็ยังได้มากกว่า 10 บาท (ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเป็นเงินปันผลเสมือน) ตราบใดที่บริษัทจ่ายภาษีในอัตราปรกติที่ 30%)


ขอความรู้หน่อยครับว่าผมคิดผิดตรงไหนหรือเปล่า? ความรู้เรื่องการคำนวณเครดิตภาษีผมก็อ่านมาจากใน TVI ห้อง Value Account นี่แหละครับ ในการลงทุนของผมผมมองผลประโยชน์ตรงนี้มาตลอด พอมาอ่านเจอรายงานของ TDRI ชิ้นนี้เข้าเลยชักไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจผิดมาตลอดหรือเปล่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
house
Verified User
โพสต์: 683
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมเชื่อว่าผลสรุปนี้ถูกต้องครับ เพราะโครงสร้างภาษีนี้ ก่อให้เกิดการบิดเบือนอย่างเห็นได้ชัดเจนในการลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ กองทุนวรรณ ต้องออกกองทุนรวมแบบขายคืนอัติโนมัติ เพื่อให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษี ต้องอ่านแบบเต็มๆ ในหลายๆบทครับ อ่านแค่บทสรุปอาจเข้าใจผิดได้ ความหมายคือ หากเป็นบุคคลประเภทเดียวกัน มีเงินได้ทางเดียวกัน(จากการลงทุน) ต้องเสียภาษีเท่ากัน(กองทุนรวมเครดิตภาษีไม่ได้)

ที่ผมถูกใจที่สุดคือ จะมีตอนหนึ่งบอกว่า รัฐบาลนึกจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ให้ โดยไม่เคยคำนึงถึงผลกระทบรวมเลย ทำให้โครงสร้างภาษีผิดเพี้ยนมาก จริงๆเขาเสนอวิธีแก้ไขไว้ด้วยแต่ผมว่าไม่กล้าทำหรอก
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
ภาพประจำตัวสมาชิก
bangkokwu
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณคุณ house อีกทีครับที่เข้ามาตอบ
ผมยังไม่ค่อยกระจ่างเท่าไหร่

ตามความเข้าใจผมนี่ กองทุนรวมนั้นหากมีการจ่ายปันผลจะนำมาเครดิตภาษีไม่ได้ แต่ในทางกลับกันรายได้จากปันผลตรงนี้ต้องถูกคิดภาษีด้วย ตรงนี้ทำให้สรุปได้ไหมว่าหากลงทุนในกองทุนรวม ไม่ควรเลือกกองทุนที่จ่ายปันผล หากอยากได้ปันผลควรใช้วิธีขายกองทุนออกไปบางส่วนเอง (เข้าใจว่า บลจ.วรรณทำอย่างนี้ คือขายกองทุนบางส่วนคืนให้ผู้ถือโดยอัตโนมัติ แต่ไม่จ่ายปันผล ใช่ไหมครับ)

รายงานของทาง TDRI อยู่ที่นี่ครับ เผื่อท่านอื่นๆสนใจ

http://www.info.tdri.or.th/reports/publ ... ontent.pdf
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 8

โพสต์

การเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น Capital Gain Tax ถ้ามีเรื่องนี้เมื่อไรตลาดตกวายปวงครับ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทนายหน้า และนักเก็งกำไรรายนาที รายชั่วโมง รายวัน คงไม่ชอบแน่ๆครับ และสำหรับ DSMer ก็คงไม่ชอบครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
house
Verified User
โพสต์: 683
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 9

โพสต์

จริงๆแล้วผมอยากให้เก็บนะ เสถียรภาพของตลาดจะมาทันทีเลย และเงินนอกก็จะปั่นขึ้นลงตามใจไม่ได้แล้ว ถือน้อยกว่าปี เก็บซัก 20% นี่ก็เดี้ยงแล้ว รายย่อยอาจเซ็งหน่อยช่วงแรกๆ แต่เจ้ามือน่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า

ตลาดตกก็ช่วงแรกๆแหละครับ นายตลาดลืมง่าย ส่วนพวกเราไม่เกี่ยวอยู่แล้ว เราซื้อธุรกิจนี่ครับ ไม่ได้ซื้อหุ้น

จริงๆถ้าใช้ร่วมกับมาตรการที่ รู้สึกจะคุณอยากเชือกโพสต์ไว้ที่พันทิปนี่ จะชะงัดมากครับ คือห้ามยกเลิกรายการซื้อขายที่เท่ากับราคาจับคู่ การตั้งหลอก เป็นล้านหุ้นแล้วยกเลิกไม่ได้นี่ ผมว่าเจ้ามือหนาวล่ะ

เฮ้อ แต่ก็รู้ๆกันว่าทำไมทำกันไม่ได้
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 10

โพสต์

(ถึงแม้ผมจะเสียภาษีในอัตรสูงสุด อัตรา 37% ก็ยังได้มากกว่า 10 บาท (ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเป็นเงินปันผลเสมือน) ตราบใดที่บริษัทจ่ายภาษีในอัตราปรกติที่ 30%
อันนี้ไม่ถูกต้องแน่นอนครับ
เครคิตภาษีเงินปันผลถือเป็นรายได้ต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย
ถ้า ฐานภาษีก่อนรวมปันผล 37% ไปแล้ว ยื่นหรือไม่ยื่นมีค่าเท่ากัน
ยิ่งถ้าเป็นปันผลที่จ่ายจากกิจการที่เสียภาษีน้อยกว่า 30%
จะทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นด้วย
อันที่จริงรู้สึกว่าเงินได้พึงประเมินประเภท 4 ประเภทดอกเบี้ย และ เงินปันผล
ถ้านำมารวมคำนวณภาษีต้องรวมทุกรายการครับ จะเลือกเฉพาะบางอันไม่ได้
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แต่เหมือนเคยได้ยินมาว่า เราสามารถเลือกรายการได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องรวมทุกรายการ (ไม่แน่ใจนะ)
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ล็อคหัวข้อ