Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 1
แชร์กันครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 5
มี มอสกันยังครับ ถ้ามีก้นอนเฉยๆๆ ดูมันไปครับ เด๋วมันก้จะผ่านไป
ถ้าไม่มี ทำใจได้ไหม
ถ้ามีน้อย เอาอยู่ไหม
หลายท่านไม่เอะใจเรื่อง mos mosser mosset
รอบนี้ ใครไม่มีก้อย่าฝืนครับ พี่มอสจะอยู่กับคนที่ลงทุน
ถ้าไม่มี ทำใจได้ไหม
ถ้ามีน้อย เอาอยู่ไหม
หลายท่านไม่เอะใจเรื่อง mos mosser mosset
รอบนี้ ใครไม่มีก้อย่าฝืนครับ พี่มอสจะอยู่กับคนที่ลงทุน
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 6
รู้แต่ว่าครั้งที่แล้วช่วงกะทำsap ปรากฏว่าทำเงินหล่นไปเหยียบ2ล้านเข็ดแล้วจร้า จะเป็นยังไงก็let it beละกัน ไว้ลงลึกแบบซับไพร์มจริงๆค่อยขอเงินที่บ้านเพิ่มเอาละกัน แต่ตอนนี้ขออยู่นิ่งเพราะยังพอเอาอยู่
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 7
คนที่เอาเท้าไปวัดรอยฝรั่ง ก้เหมือนเป็นการเอาตัวเองไปเล่นในเกมเค้า
เต่าต้องเล่นในเกมที่เต่าได้เปรียบและมีกติกาของเต่า
เต่าไปเล่นในเกมฝรั่ง(ต่อยข้ามรุ่น)
เท้าวัดกันได้หรือครับ แค่กองทุนเดียวเค้าก้มีเป็นแสนล้านแล้ว
เต่าต้องเล่นในเกมที่เต่าได้เปรียบและมีกติกาของเต่า
เต่าไปเล่นในเกมฝรั่ง(ต่อยข้ามรุ่น)
เท้าวัดกันได้หรือครับ แค่กองทุนเดียวเค้าก้มีเป็นแสนล้านแล้ว
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 191
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 8
ผมคิดว่าเป็นเกมต่อรองราคา และบริษัทหลายบริษัทกำลังลดราคาลงมาหลาย % เหมือนผมกำลังเข้าไปเดินห้างที่เพิ่งเริ่ม Sale วันแรกๆ พนักงานขายอยากที่จะขายของอย่างมาก แต่ผมจะรอวันหลังๆ ที่พนักงานขายเริ่มเบื่อหน่าย และอยากจะขายให้หมดๆไปสักที ซึ่งผมอาจจะได้ของดี ราคาถูกกว่า ไว้ครอบครอง
อย่าเชื่อสิ่งที่พระเจ้าบอก แต่จงคิดและเลือกที่จะเชื่อด้วยตัวท่านเอง !!
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 9
ปัจจัยการเมืองครับ
ขณะนี้กรีซนั้นมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการกู้เงินจากประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งดูแลโดย Troika ที่ประกอบไปด้วยสามหน่วยงาน คือ European Commision (EC), European Central Bank (ECB), และ International Monetary Fund (IMF)
ในฐานะเจ้าหนี้ Troika ได้กำหนดแผนเศรษฐกิจให้รัฐบาลกรีซทำ หากไม่ทำตามก็จะไม่อนุมัติวงเงินก้อนถัดไป
รัฐบาลกรีซที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลผสมระหว่าง ND และ Pasok ซึ่งทั้งสองนั้นสนับสนุนแนวคิดของ Troika และการพัฒนาตัวเลขทางเศรษฐกิจก็เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ นานาประเทศจึงผ่อนคลายความเครียดในฐานะการเงินของกรีซได้ในหลายเดือนที่ผ่านมา
ทว่าการที่ ND และ Pasok ทำตามแผนของ Troika นั้นทำให้ถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีว่าเหมือนเป็นการ "ทุจริต" และ "ขายชาติ" เพราะรัฐบาลขาดอิสระที่จะทำเพื่อประชาชน ทำให้มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก
เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ เสียงสนับสนุนพรรค ND และ Pasok นั้นลดลง เนื่องจากนักธุรกิจขนาดย่อม พนักงานเงินเดือน พนักงานราชการ และหลายๆอาชีพที่ได้รับผลกระทจากนโยบายรัฐบาล ได้เปลี่ยนไปสนับสนุนพรรค Syriza ซึ่งเป็นพรรคที่ประกาศตัวว่าจะไม่ดำเนินตามแผนของ Troika ซึ่งนั่นก็จะส่งผลให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจาก ECB และ IMF ในอนาคต
นโยบายของ Syriza นั้นมุ่งเน้นไปที่การ **หยุดชำระหนี้** เพิ่มการฟื้นตัวของภาคการผลิต เพิ่มการกระจายตัวของรายได้ ปรับระบบธนาคารให้กลับมาเป็นของรัฐ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Syriza นั้นเชื่อว่าจะสามารถให้ประเทศเดินไปในทางนี้ได้พร้อมๆกับการที่อยู่ในกลุ่ม Eurozone
ซึ่งแผนการนี้เป็นที่ถกเถียงกันว่ามันไม่น่าจะดำเนินไปด้วยกันได้!
การจัดตั้งรัฐบาลครั้งใหม่นั้นพรคคต่างๆมีจำนวนสมาชิกสภาสรุปคือ
- ND มี 58 ที่นั่ง และพรรคที่ได้เสียงอันดับหนึ่งจะได้ที่นั่งเพิ่มอีก 50 ที่เพื่อความเสถียรของรัฐบาล รวมเป็น 108
- Syriza มี 52 ที่นั่ง
- Pasok มี 41 ที่นั่ง
พรรค ND และ Pasok มีที่นั่งรวมกันในสภาที่ 149 จาก 300 ที่นั่ง ทำให้ไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ขณะที่ Syriza ซึ่งได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับที่สองนั้นปฎิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลอย่างชัดเจน
เมื่อไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ กรีซอาจต้องมีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้หากพรรค Syriza ได้รับเลือกเป็นอันดับหนึ่ง ก็จะได้ที่นั่งในสภาเพิ่ม 50 ที่นั่ง ทำให้มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลที่มีแนวคิดไม่สอดคล้องกับ Troika ได้
นี่จึงเป็นความเสี่ยงรอล่าสุดที่ทำให้เกิดความผันผวนทางการเงินของ Eurozone
ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละพรรคไม่ได้มีความคิดที่จะออกจาก Eurozone **โดยสมัครใจ**
ขณะนี้กรีซนั้นมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการกู้เงินจากประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งดูแลโดย Troika ที่ประกอบไปด้วยสามหน่วยงาน คือ European Commision (EC), European Central Bank (ECB), และ International Monetary Fund (IMF)
ในฐานะเจ้าหนี้ Troika ได้กำหนดแผนเศรษฐกิจให้รัฐบาลกรีซทำ หากไม่ทำตามก็จะไม่อนุมัติวงเงินก้อนถัดไป
รัฐบาลกรีซที่ผ่านมาเป็นรัฐบาลผสมระหว่าง ND และ Pasok ซึ่งทั้งสองนั้นสนับสนุนแนวคิดของ Troika และการพัฒนาตัวเลขทางเศรษฐกิจก็เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ นานาประเทศจึงผ่อนคลายความเครียดในฐานะการเงินของกรีซได้ในหลายเดือนที่ผ่านมา
ทว่าการที่ ND และ Pasok ทำตามแผนของ Troika นั้นทำให้ถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีว่าเหมือนเป็นการ "ทุจริต" และ "ขายชาติ" เพราะรัฐบาลขาดอิสระที่จะทำเพื่อประชาชน ทำให้มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก
เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ เสียงสนับสนุนพรรค ND และ Pasok นั้นลดลง เนื่องจากนักธุรกิจขนาดย่อม พนักงานเงินเดือน พนักงานราชการ และหลายๆอาชีพที่ได้รับผลกระทจากนโยบายรัฐบาล ได้เปลี่ยนไปสนับสนุนพรรค Syriza ซึ่งเป็นพรรคที่ประกาศตัวว่าจะไม่ดำเนินตามแผนของ Troika ซึ่งนั่นก็จะส่งผลให้กรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจาก ECB และ IMF ในอนาคต
นโยบายของ Syriza นั้นมุ่งเน้นไปที่การ **หยุดชำระหนี้** เพิ่มการฟื้นตัวของภาคการผลิต เพิ่มการกระจายตัวของรายได้ ปรับระบบธนาคารให้กลับมาเป็นของรัฐ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Syriza นั้นเชื่อว่าจะสามารถให้ประเทศเดินไปในทางนี้ได้พร้อมๆกับการที่อยู่ในกลุ่ม Eurozone
ซึ่งแผนการนี้เป็นที่ถกเถียงกันว่ามันไม่น่าจะดำเนินไปด้วยกันได้!
การจัดตั้งรัฐบาลครั้งใหม่นั้นพรคคต่างๆมีจำนวนสมาชิกสภาสรุปคือ
- ND มี 58 ที่นั่ง และพรรคที่ได้เสียงอันดับหนึ่งจะได้ที่นั่งเพิ่มอีก 50 ที่เพื่อความเสถียรของรัฐบาล รวมเป็น 108
- Syriza มี 52 ที่นั่ง
- Pasok มี 41 ที่นั่ง
พรรค ND และ Pasok มีที่นั่งรวมกันในสภาที่ 149 จาก 300 ที่นั่ง ทำให้ไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ขณะที่ Syriza ซึ่งได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับที่สองนั้นปฎิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลอย่างชัดเจน
เมื่อไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ กรีซอาจต้องมีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้หากพรรค Syriza ได้รับเลือกเป็นอันดับหนึ่ง ก็จะได้ที่นั่งในสภาเพิ่ม 50 ที่นั่ง ทำให้มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลที่มีแนวคิดไม่สอดคล้องกับ Troika ได้
นี่จึงเป็นความเสี่ยงรอล่าสุดที่ทำให้เกิดความผันผวนทางการเงินของ Eurozone
ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละพรรคไม่ได้มีความคิดที่จะออกจาก Eurozone **โดยสมัครใจ**
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 480
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 10
กรีซมีเวลาประมาณ 1 เดือนในการเล่นการเมือง (รอเลือกตั้งรอบ 2) แต่สุดท้ายแล้วด้วยความที่เศรษฐกิจของตัวเองย่ำแย่อย่างมาก ไม่อยู่ในฐานะที่พึ่งพาตัวเองได้พอที่จะสร้างการเติบโตเพื่อการจ้างงานที่ดีขี้น การออกจาก Eurozone คงไม่ใช่ทางออกที่ดี ในขณะที่เงินเฟ้อก็พุ่งขี้นสูง ยังไงคงต้องขอเงินจาก Troika ในที่สุด และการออกจาก Eurozone เพื่อให้ค่าเงินอ่อนค่าก็คงไม่สามารถชดเชยเงินเฟ้อได้
การเมือง สุดท้ายรัฐบาลใหม่รับปากอะไรไปก็สามารถบิดพลิ้วได้
เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำตามกระแสทุนนิยม ฝืนยาก 1 เดือนนี้ก็คงรอดูวาทกรรมเพื่อประชาชนไปพลางๆ
การเมือง สุดท้ายรัฐบาลใหม่รับปากอะไรไปก็สามารถบิดพลิ้วได้
เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำตามกระแสทุนนิยม ฝืนยาก 1 เดือนนี้ก็คงรอดูวาทกรรมเพื่อประชาชนไปพลางๆ
The miracle of compounding,
- ปลาตัวเล็ก
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 11
ยืมความมั่งคั่งในอนาคตมาใช้เยอะ ถึงเวลาก็ต้องจ่ายคืนเยอะ
นโยบายประชานิยมที่ทำให้ประชาชนถูกใจ ณ เวลานั้น มันได้ส่งผลกระทบกลับคืนมาแล้ว อยู่ที่ว่าจะต่อเวลาหายใจได้อีกเท่าไหร่
นโยบายประชานิยมที่ทำให้ประชาชนถูกใจ ณ เวลานั้น มันได้ส่งผลกระทบกลับคืนมาแล้ว อยู่ที่ว่าจะต่อเวลาหายใจได้อีกเท่าไหร่
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 12
เล่นกับข่าวร้ายมานานแต่ก็ราคาไม่ลง...
พอเราเริ่มชินกับมัน
เราก็จะอคติ คิดว่ามันไม่ได้เลวร้ายอะไร
อย่างไรก็ตาม MOS สำคัญที่สุด
พอเราเริ่มชินกับมัน
เราก็จะอคติ คิดว่ามันไม่ได้เลวร้ายอะไร
อย่างไรก็ตาม MOS สำคัญที่สุด
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 430
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 15
ไม่น่าลึกมานะ ตามความคิดผม
1 มันเคยเกิดมาก่อน ไม่นานมานี้
ผมเชื่อว่า วิกฤตจะเกิด มันต้องคาดไม่ถึง
2 มันรู้เร็วไป
ผมเชื่อว่า กว่าจะรู้ว่าเกิดวิกฤต ก็สายไปแล้ว
ณ วันนี้ หลายคนรีบขายทิ้ง ขายหนี แต่ผมก็ยังนิ่ง (ที่จริงช็อคอยู่ ติดดอยเลย)
1 มันเคยเกิดมาก่อน ไม่นานมานี้
ผมเชื่อว่า วิกฤตจะเกิด มันต้องคาดไม่ถึง
2 มันรู้เร็วไป
ผมเชื่อว่า กว่าจะรู้ว่าเกิดวิกฤต ก็สายไปแล้ว
ณ วันนี้ หลายคนรีบขายทิ้ง ขายหนี แต่ผมก็ยังนิ่ง (ที่จริงช็อคอยู่ ติดดอยเลย)
ปล ความเห็นส่วนตัว
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 17
ถ้าจะให้เดาจริงๆ(เน้นว่าเดา)ผมว่าคงไม่ถึงระดับsubprimeหรอกแต่วิกฤติหนี้ยุโรปคงหลอกหลอนตลาดหุ้นทั่วโลกอีกหลายรอบหรือแม้แต่หนี้ของอเมกาเองที่ช่วงนี้ไม่เห็นพูดถึงซึ่งไม่รู้วันดีคืนดีจะขุดขึ้นมาอีกเมื่อไหร่
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 18
เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ รอบนี้เเค่ออร์เดิฟ เดี๋ยวจะมีการฉีดยายื้อไข้...จากนั้นก็จะมีเเบบนี้อีกหลายรอบharikung เขียน:ถ้าจะให้เดาจริงๆ(เน้นว่าเดา)ผมว่าคงไม่ถึงระดับsubprimeหรอกแต่วิกฤติหนี้ยุโรปคงหลอกหลอนตลาดหุ้นทั่วโลกอีกหลายรอบหรือแม้แต่หนี้ของอเมกาเองที่ช่วงนี้ไม่เห็นพูดถึงซึ่งไม่รู้วันดีคืนดีจะขุดขึ้นมาอีกเมื่อไหร่
พอกรีซล้ม(ถอดท่อช่วยหายใจ) จะมีSeriesเเบบนี้กับSpainเป็นประเทศต่อไป อารมณ์จะยื้อสุดชีวิตเหมือนกรีซ พอSpainล้ม จะตามมาด้วยItaly เรียงตามลำดับหนี้สาธารณะ...ถึงเเม้Spainจะรัดเข็มขัดทำได้ดีขึ้นเเต่หนี้ภาคเอกชนยังคุมได้ไม่ดี
ดังนั้นเรื่องนี้เป็นมหากาพย์ครับ...สวนทางกับผลประกอบการของ บมจ.ในSETที่จะเติบโตขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนผ่านดัชนีที่เพิ่มขึ้น โดยมีมหากาพย์ยุโรปถ่วงเป็นพักๆ
เน้นว่าเดาเช่นกันครับ สนุกๆเฉยๆ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 19
ที่ปรึกษาทางการซุกหนี้ของกรีซครับgetkung เขียน:อันนี้ไม่เก็ท ขอคำอธิบายเพิ่มหน่อยครับmiracle เขียน:จริงๆไม่ใช่ Greece หรอกครับ
งานนี้คือ Goldman Sac ต่างหากตัวต้นเหตุ
เรื่องมาแดงตอนเปลี่ยนรัฐบาล
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 20
Wow ผมเพิ่งทราบเหมือนกัน ซับซ้อนดราม่าจัง...งง เลยอะleaderinshadow เขียน:ที่ปรึกษาทางการซุกหนี้ของกรีซครับgetkung เขียน:อันนี้ไม่เก็ท ขอคำอธิบายเพิ่มหน่อยครับmiracle เขียน:จริงๆไม่ใช่ Greece หรอกครับ
งานนี้คือ Goldman Sac ต่างหากตัวต้นเหตุ
เรื่องมาแดงตอนเปลี่ยนรัฐบาล
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 21
ปัญหาก็คือว่า เมื่อไหร่คือวันหลังๆ ที่ว่าchavanakorn เขียน:ผมคิดว่าเป็นเกมต่อรองราคา และบริษัทหลายบริษัทกำลังลดราคาลงมาหลาย % เหมือนผมกำลังเข้าไปเดินห้างที่เพิ่งเริ่ม Sale วันแรกๆ พนักงานขายอยากที่จะขายของอย่างมาก แต่ผมจะรอวันหลังๆ ที่พนักงานขายเริ่มเบื่อหน่าย และอยากจะขายให้หมดๆไปสักที ซึ่งผมอาจจะได้ของดี ราคาถูกกว่า ไว้ครอบครอง
- uthai.l
- Verified User
- โพสต์: 177
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 22
ตามความคิดผม ถ้ากรีซออกจากอียู กลับจะเป็นข่าวดีต่ออียู วิกฤติหนี้กรีซก็กลายเป็นหนี้ของประเทศหนึ่งๆที่ไม่กระทบต่อวงกว้าง ประเทศในอียูไม่ต้องช่วยให้กระทบฐานะการเงินตัวเองเปล่าๆphar314 เขียน:ถ้ากรีซเบี้ยวหนี้ และต้องออกจากอียู
คิดว่าผลจะเป็นยังไงครับ
ถ้าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ให้ความเลวร้ายที่ 10
วิกฤตกรีซควรให้คะแนนที่เท่าไหร่ดี
อันนี้เดาล้วนๆนะครับ
ทุกปัญหามีทางออก ถ้าไม่มีทางออก...ให้ออกทางเข้า!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 23
ตอนหุ้นขึ้นรายย่อยไม่กลัวพวกเจ้าเค้าก็ออกข่าวดีตามน้ำเหมือนกับชาตินี้จะไม่มีหุ้นให้ซื้ออีกแล้ว ลากตัวนั้นตัวนี้ พีอี30ยังว่าไม่แพงต้องรีบเก็บ ราคายังพุ่งไปได้อีก แต่ตัวเจ้าแอบ SHOT ทีเฟค
พอหุ้นลงพวกรายย่อยกลัวขายหุ้นทิ้งหนีตาย พวกเจ้าเค้าก็ออกข่าวร้ายยังกะโลกเราจะเจ๊งกันทั้งโลก ปันผลดี พีอีไม่ถึง 10 ก็สั่งโบรคออกรีเสิทแนะนำให้ขาย อ้างว่าถูกแล้วยังมีถูกกว่าชักจูงให้คนไปรอรับราคาต่ำ แต่ลับหลังเค้าก็แอบ LONG ทีเฟค
วิธีเอาชนะก็คือเลิกเล่นครับ เคยฟังหมอยง(ตอนน้ำท่วมปีที่แล้ว) ท่านแนะนำว่าตลาดไซด์เวย์ไม่เล่น รอหุ้นตกคนแห่ขายค่อยช้อนเล่นเป็นรอบๆ เดี๋ยวมีเด้งก็กำไร เป็นแบบนี้ทุกรอบสำหรับหุ้นไทย เพราะมันมีแต่พวกหากำไรสั้นๆเยอะมาก
พอหุ้นลงพวกรายย่อยกลัวขายหุ้นทิ้งหนีตาย พวกเจ้าเค้าก็ออกข่าวร้ายยังกะโลกเราจะเจ๊งกันทั้งโลก ปันผลดี พีอีไม่ถึง 10 ก็สั่งโบรคออกรีเสิทแนะนำให้ขาย อ้างว่าถูกแล้วยังมีถูกกว่าชักจูงให้คนไปรอรับราคาต่ำ แต่ลับหลังเค้าก็แอบ LONG ทีเฟค
วิธีเอาชนะก็คือเลิกเล่นครับ เคยฟังหมอยง(ตอนน้ำท่วมปีที่แล้ว) ท่านแนะนำว่าตลาดไซด์เวย์ไม่เล่น รอหุ้นตกคนแห่ขายค่อยช้อนเล่นเป็นรอบๆ เดี๋ยวมีเด้งก็กำไร เป็นแบบนี้ทุกรอบสำหรับหุ้นไทย เพราะมันมีแต่พวกหากำไรสั้นๆเยอะมาก
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 25
ทำให้ย้อนนึกกลับไปถึงตอนสหรัฐจะขอขยายเพดานหนี้ ตอนนั้น 2 พรรคก็เล่นเกมกันไป พอเดดไลน์ก็ต้องตามความจริงzz99 เขียน:กรีซมีเวลาประมาณ 1 เดือนในการเล่นการเมือง (รอเลือกตั้งรอบ 2) แต่สุดท้ายแล้วด้วยความที่เศรษฐกิจของตัวเองย่ำแย่อย่างมาก ไม่อยู่ในฐานะที่พึ่งพาตัวเองได้พอที่จะสร้างการเติบโตเพื่อการจ้างงานที่ดีขี้น การออกจาก Eurozone คงไม่ใช่ทางออกที่ดี ในขณะที่เงินเฟ้อก็พุ่งขี้นสูง ยังไงคงต้องขอเงินจาก Troika ในที่สุด และการออกจาก Eurozone เพื่อให้ค่าเงินอ่อนค่าก็คงไม่สามารถชดเชยเงินเฟ้อได้
การเมือง สุดท้ายรัฐบาลใหม่รับปากอะไรไปก็สามารถบิดพลิ้วได้
เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำตามกระแสทุนนิยม ฝืนยาก 1 เดือนนี้ก็คงรอดูวาทกรรมเพื่อประชาชนไปพลางๆ
การเมืองเค้ามืออาชีพพอที่จะรู้ว่าตอนไหนควรแสดงออกอย่างไร แล้วบทบาทของแต่ละคนจะจบตรงไหน ไม่มีใครทุบหม้อข้าวตัวเองหรอกครับ
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 26
ไม่เหมือนบางประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ใช่ไหมครับดำ เขียน:ทำให้ย้อนนึกกลับไปถึงตอนสหรัฐจะขอขยายเพดานหนี้ ตอนนั้น 2 พรรคก็เล่นเกมกันไป พอเดดไลน์ก็ต้องตามความจริงzz99 เขียน:กรีซมีเวลาประมาณ 1 เดือนในการเล่นการเมือง (รอเลือกตั้งรอบ 2) แต่สุดท้ายแล้วด้วยความที่เศรษฐกิจของตัวเองย่ำแย่อย่างมาก ไม่อยู่ในฐานะที่พึ่งพาตัวเองได้พอที่จะสร้างการเติบโตเพื่อการจ้างงานที่ดีขี้น การออกจาก Eurozone คงไม่ใช่ทางออกที่ดี ในขณะที่เงินเฟ้อก็พุ่งขี้นสูง ยังไงคงต้องขอเงินจาก Troika ในที่สุด และการออกจาก Eurozone เพื่อให้ค่าเงินอ่อนค่าก็คงไม่สามารถชดเชยเงินเฟ้อได้
การเมือง สุดท้ายรัฐบาลใหม่รับปากอะไรไปก็สามารถบิดพลิ้วได้
เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำตามกระแสทุนนิยม ฝืนยาก 1 เดือนนี้ก็คงรอดูวาทกรรมเพื่อประชาชนไปพลางๆ
การเมืองเค้ามืออาชีพพอที่จะรู้ว่าตอนไหนควรแสดงออกอย่างไร แล้วบทบาทของแต่ละคนจะจบตรงไหน ไม่มีใครทุบหม้อข้าวตัวเองหรอกครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 27
ผมว่า เรื่องประเทศจะล้มละลาย สมัยนี้มันยากอะครับ เพีียงแต่ว่า แลกเปลี่ยนความมั่งคั่งไปหาพวกที่เงินเค้าพร้อมแล้วอยากได้ของถูกมากกว่า สุดท้าย ก็แก้ปัญหาได้อยู่ดี เหมือนตอนปี40 เมืองไทยว่าแย่ๆ จริงๆ มันก็มีคนได้ประโยชน์มากมาย มีคนเก็บของถูกแล้วขายทำกำไรในเวลาต่อได้เยอะแยะครับ
- Zhou_Enlai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 28
ขออนุญาตร่วมเเสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ
ตอนนี้ถ้าจะมองเหตุการณ์ภาพรวม ผมเลือกที่จะมองเป็น 2 scenarios ใหญ่ๆครับ คือ;
1) กรณีกรีซออกจากยูโรจริงๆ เร็วๆนี้ หากเลือกตั้งเเละ form รัฐบาลใหม่ไม่ได้
2) กรณี EU+IMF ยังคงให้ความช่วยเหลือกรีซ ภายหลังจากที่กรีซเลือกตั้งได้ เเต่ต้องมีการประนีประนอมกันเรื่องเงื่อนไขการรัดเข็มขัด
สรุปก็คือลากยาวปัญหาต่อไปเรื่อยๆได้อีก
ซึ่งถ้าอิงจากข่าวล่าสุดประชาชนกรีซราว 70% ยังคงอยากให้ประเทศตนอยู่ในยูโรต่อไป รวมถึงพรรคที่ไม่สนับสนุนนโยบาย austerity ก็ยังคงเเสดงความต้องการที่จะอยู่ในสหภาพ EU ต่อไป อีกทั้งประเทศหลักๆก็ยังคงอยากให้กรีซเป็นสมาชิกยูโรต่อไปอีกตามเดิม ซึ่งจากตรงนี้ ผมเองมีความคิดเห็นว่า สุดท้ายเเล้วทั้งฝ่าย กรีซ เเละ EU เองน่าที่จะสามารถเจรจาประนีประนอมกันได้ โดยที่อาจจะมีการปรับเงื่อนไขเงินช่วยเหลือบางประการ (เช่น ผ่อนคลายการตัดลดงบประมาณลงบ้าง)
เพราะกรีซเองก็จะต้องลำบากมากๆหากออกจากยูโรไป เพราะการออกจาก EU จะทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงมากๆในประเทศทันทีเนื่องจากการกลับมาใช้ค่าเงินของตนเอง เเละ อาจทำให้สถาบันการเงินล้มครืนได้ทันทีเนื่องจากการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกไม่ได้ ส่วนทางยูโรเองก็คงไม่อยากให้การออกจากสหภาพของกรีซนั้นไปทำให้เกิดเครื่องหมายคำถามเเก่ประเทศที่มีหนี้สูงๆประเทศอื่นๆเช่น โปรตุเกสกับอิตาลี ซึ่งก็จะไปผลักดัน yield ของประเทศเหล่านั้นให้สูงขึ้นมาก (จาก premium ที่สูงมากขึ้น) จนส่งผลร้ายโดยทันทีต่อสถานะทางการเงินของธนาคารทั่วยุโรป รวมถึงไปทำให้ interbank lending หรือ foreign lending ชะงักงันไป โดยที่ผลร้ายในท้ายที่สุดนั้นยากที่จะคาดเดาครับ (ยิ่งหากมีอนุพันธ์ทางการเงินต่างๆเช่น CDS เข้ามาเกี่ยวข้องเเล้วด้วย)
เเต่อย่างไรก็ตาม อะไรจะเกิดขึ้น กรีซจะยังอยู่ใน EU หรือไม่? ก็ยังเป็นอะไรที่ยากที่จะฟันธงลงไปอย่างมั่นใจจริงๆได้อยู่ดีครับ เพราะอะไรๆก็สามารถพลิกผันกันได้ตลอดเวลา ทีนี้พวกเราก็ยังคงจะมีคำถามสำคัญอีกว่า ถ้ากรีซเกิดออกจากยูโรไปวันนี้พรุ่งนี้จริงๆขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น??
ตรงนี้หากกรีซเกิดต้องออกจากสหภาพไปจริงๆ ตัวผมเองมองว่าการออกไปของกรีซ ณ ตอนนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบทาง physical กับประเทศอื่นๆมากนักเนื่องด้วยเศรษฐกิจที่เล็กบวกกับการไม่ได้เป็นเเหล่งนำเข้าส่งออกที่สำคัญของโลก (เล็กกว่าประเทศไทยเสียอีกในเเง่ nominal GDP) ในเเง่ของภาคธนาคารยุโรปอื่นๆก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากนัก เพราะธนาคารยุโรปเหล่านั้นก็ได้ hair cut พันธบัตรกรีซไปกว่า 50% รวมถึงยังได้กันสำรองเเละรับรู้ขาดทุนกันไปมากอยู่เเล้ว (ส่วนผลกระทบกับกรีซเองไม่ต้องพูดถึงครับ เพราะค่าเงินจะตกรุนเเรงมากๆ ส่งผลต่อเงินเฟ้อที่สูงมากๆตามมา รวมถึงการที่ประชาชนพยายามจะถอนเงินออกจากธนาคารในกรีซเพื่อเอาเงินไปไว้ที่อื่นเพราะกลัวเงินเฟ้อ+การลดลงของค่าเงินมาก ภาคธนาคารน่าที่จะหยุดชะงักเเละต้องใช้เวลาฟื้นตัวกันใหม่จนกว่าจะปล่อยกู้กันได้เเบบปกติ ศก. จะต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลจนกว่าความสามารถของประเทศจะเเข่งขันได้มีประสิทธิภาพอีกครั้ง)
เเต่จริงๆเเล้วปัญหาที่ทุกคนกลัวกันหลักๆน่าจะคือ "ปัญหาความมั่นใจในตลาดการเงิน" ครับ เพราะการที่กรีซออกจากยูโร ย่อมที่จะเกิดเป็น case ต้นเเบบความคิดที่ว่า "หากมีประเทศหนึ่งออกไปเเล้ว ประเทศอื่นๆก็น่าจะออกไปได้ด้วยเหมือนกัน" ดังนั้น จุดของความไม่มั่นใจนี้ ก็จะไปกดดัน yield ของประเทศที่มีหนี้สูงหรือมีปัญหาเศรษฐกิจอยู่เเล้ว ให้สูงกว่าเดิม (เพราะ ตลาดกลัวว่าประเทศเหล่านี้จะออกไปใช้ค่าเงินตัวเอง ทำให้ค่าเงินตกลงมากๆ ทำให้ bond ของประเทศเหล่านั้นที่ถือไว้ได้คืนไม่เท่า face value เพราะประเทศเหล่านี้จะใช้คืนหนี้ด้วยค่าเงินของตน ดังนั้นจึงขายเพื่อลดความเสี่ยง + ไม่กล้าซื้อเพิ่มมากเพราะกลัวความเสี่ยง) ทีนี้ประเทศที่มีหนี้สูงๆเเต่มีเศรษฐกิจใหญ่เหล่านั้นจะยิ่งมี ภาระ refinance หนี้ตัวเองที่ทำได้ยากกว่าเดิมมากๆ เเละ สุดท้ายก็จะหมดเงิน เเละ ต้องขอความช่วยเหลือเหมือนกับกรีซ (เพราะ อัตรากู้ยืม สูงกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก ทำให้ไม่ sustainable ในระยะยาว) รวมถึงเหล่าธนาคารก็อาจปล่อยกู้กันเองภายในยุโรปลดลงเพราะกังวลกันเองว่าใครจะออกไปใช้ค่าเงินตนเองเป้นรายต่อไป ทำให้สภาพคล่องหายไปจากความกังวลของภาคธนาคาร (คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008) ซึ่งสุดท้ายก็จะไปทำให้ประชาชนชักไม่เเน่ใจว่าเงินที่ตนฝากอยู่ในธนาคารนั้น จะยังอยู่ดีหรือไม่ (เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของ balance sheet ธนาคารเหล่านั้นที่ถือ bond ของประเทศที่มีหนี้สูงๆเช่น Italy, Spain etc.) เเละอาจเกิด bank-run กันได้
ถ้ามาถึงจุดนี้ key สำคัญคงจะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้นโยบายการเงินของ ECB เเล้วครับว่าจะใช้นโยบายการเงินเช่น การออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เเก่ธนาคาร, การพิมพ์เงินเพิ่มอีก, การเพิ่มเงินกองทุน EFSF เพื่อสร้างความมั่นใจ เเละการเข้าไปซื้อพันธบัตรโดยตรงเอง ว่าจะมีประสิทธิภาพในการสร้างความ"มั่นใจเเละลดความกังวล" ให้เเก่ตลาดได้เเค่ไหน (เพราะเหลือนโยบายการเงินเป็น option สุดท้ายเนื่องจาก เเต่ละประเทศมีนโยบายการคลังเเยกเด็ดขาดจากกัน โดยประเทศที่มีหนี้สูงไม่สามารถจะใช้นโยบายการคลังมากระตุ้นได้ เพราะกลัวว่าการเพิ่ม deficit จะไปเพิ่มความเสี่ยงเเละ yield การกู้ยืมให้เเย่กว่าเดิม) ซึ่งผลก็จะเเยกได้เป็นอีก 2 scenarios ก็คือ;
1) กรีซออกจาก EU, ECB เข้ามาเเทรกเเซงตลาด เเละช่วยให้ความมั่นใจของตลาดยังคงอยู่ได้ สรุปคือปัญหายังลากยาวกันต่อไป (เเละจ
ยิ่งเเย่กว่าเดิม)
2) ECB ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ตลาดได้ ตลาดการเงินกังวลกันเอง bond yield เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดปัญหาสภาพคล่องในระบบ
การเงิน รวมถึงปัญหา solvency ของธนาคารหลายเเห่งในยุโรป ---> ตรงนี้คงต้องตัวใครตัวมันครับ
ในทางศก.เเล้ว ผมเองมองว่า หากเราเลือกทางไปผิด เราจะไม่สามารถหาทางลัดกลับเข้าสูงเส้นทางที่ถูกต้องได้ มีเเต่จะต้องถอยหลังกลับไปเริ่มต้นปรับสมดุลกันใหม่เท่านั้นเองครับ (เหมือนกับที่ประเทศเราเจอกันมาเเล้วข่วงวิกฤติต้มยำกุ้งนั่นเองครับ)
ต้องขอโทษที่พิมพ์มาซะยาวเลยนะครับ เเต่สุดท้ายเเล้วอะไรจะเกิดขึ้นนั้นยากต่อการคาดเดามากๆครับ เหมือนกับที่ Peter Lynch ได้เคยสอนเราไว้ว่า "จงอย่าเสียเวลาคาดการณ์ศก. เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ความเป็นไปทางศก.ได้อย่างเเม่นยำเลย" ซึ่งผมเองเชื่อเหลือเกินครับว่าหากพวกเรานักลงทุน ทำการบ้าน ศึกษาธุรกิจของบริษัทที่เราลงทุน รวมถึง ลงทุนในบริษัทที่เเข็งเเกร่งเเละมีความมั่นใจในการวิเคราะห์ของตนเองตามหลักการ VI เเล้ว สุดท้ายเเล้วไม่ว่าอะไระเกิดขึ้น พวกเราจะยังคงผ่านพ้นมันไปได้ครับ
ตอนนี้ถ้าจะมองเหตุการณ์ภาพรวม ผมเลือกที่จะมองเป็น 2 scenarios ใหญ่ๆครับ คือ;
1) กรณีกรีซออกจากยูโรจริงๆ เร็วๆนี้ หากเลือกตั้งเเละ form รัฐบาลใหม่ไม่ได้
2) กรณี EU+IMF ยังคงให้ความช่วยเหลือกรีซ ภายหลังจากที่กรีซเลือกตั้งได้ เเต่ต้องมีการประนีประนอมกันเรื่องเงื่อนไขการรัดเข็มขัด
สรุปก็คือลากยาวปัญหาต่อไปเรื่อยๆได้อีก
ซึ่งถ้าอิงจากข่าวล่าสุดประชาชนกรีซราว 70% ยังคงอยากให้ประเทศตนอยู่ในยูโรต่อไป รวมถึงพรรคที่ไม่สนับสนุนนโยบาย austerity ก็ยังคงเเสดงความต้องการที่จะอยู่ในสหภาพ EU ต่อไป อีกทั้งประเทศหลักๆก็ยังคงอยากให้กรีซเป็นสมาชิกยูโรต่อไปอีกตามเดิม ซึ่งจากตรงนี้ ผมเองมีความคิดเห็นว่า สุดท้ายเเล้วทั้งฝ่าย กรีซ เเละ EU เองน่าที่จะสามารถเจรจาประนีประนอมกันได้ โดยที่อาจจะมีการปรับเงื่อนไขเงินช่วยเหลือบางประการ (เช่น ผ่อนคลายการตัดลดงบประมาณลงบ้าง)
เพราะกรีซเองก็จะต้องลำบากมากๆหากออกจากยูโรไป เพราะการออกจาก EU จะทำให้เกิดเงินเฟ้อสูงมากๆในประเทศทันทีเนื่องจากการกลับมาใช้ค่าเงินของตนเอง เเละ อาจทำให้สถาบันการเงินล้มครืนได้ทันทีเนื่องจากการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกไม่ได้ ส่วนทางยูโรเองก็คงไม่อยากให้การออกจากสหภาพของกรีซนั้นไปทำให้เกิดเครื่องหมายคำถามเเก่ประเทศที่มีหนี้สูงๆประเทศอื่นๆเช่น โปรตุเกสกับอิตาลี ซึ่งก็จะไปผลักดัน yield ของประเทศเหล่านั้นให้สูงขึ้นมาก (จาก premium ที่สูงมากขึ้น) จนส่งผลร้ายโดยทันทีต่อสถานะทางการเงินของธนาคารทั่วยุโรป รวมถึงไปทำให้ interbank lending หรือ foreign lending ชะงักงันไป โดยที่ผลร้ายในท้ายที่สุดนั้นยากที่จะคาดเดาครับ (ยิ่งหากมีอนุพันธ์ทางการเงินต่างๆเช่น CDS เข้ามาเกี่ยวข้องเเล้วด้วย)
เเต่อย่างไรก็ตาม อะไรจะเกิดขึ้น กรีซจะยังอยู่ใน EU หรือไม่? ก็ยังเป็นอะไรที่ยากที่จะฟันธงลงไปอย่างมั่นใจจริงๆได้อยู่ดีครับ เพราะอะไรๆก็สามารถพลิกผันกันได้ตลอดเวลา ทีนี้พวกเราก็ยังคงจะมีคำถามสำคัญอีกว่า ถ้ากรีซเกิดออกจากยูโรไปวันนี้พรุ่งนี้จริงๆขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น??
ตรงนี้หากกรีซเกิดต้องออกจากสหภาพไปจริงๆ ตัวผมเองมองว่าการออกไปของกรีซ ณ ตอนนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบทาง physical กับประเทศอื่นๆมากนักเนื่องด้วยเศรษฐกิจที่เล็กบวกกับการไม่ได้เป็นเเหล่งนำเข้าส่งออกที่สำคัญของโลก (เล็กกว่าประเทศไทยเสียอีกในเเง่ nominal GDP) ในเเง่ของภาคธนาคารยุโรปอื่นๆก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากนัก เพราะธนาคารยุโรปเหล่านั้นก็ได้ hair cut พันธบัตรกรีซไปกว่า 50% รวมถึงยังได้กันสำรองเเละรับรู้ขาดทุนกันไปมากอยู่เเล้ว (ส่วนผลกระทบกับกรีซเองไม่ต้องพูดถึงครับ เพราะค่าเงินจะตกรุนเเรงมากๆ ส่งผลต่อเงินเฟ้อที่สูงมากๆตามมา รวมถึงการที่ประชาชนพยายามจะถอนเงินออกจากธนาคารในกรีซเพื่อเอาเงินไปไว้ที่อื่นเพราะกลัวเงินเฟ้อ+การลดลงของค่าเงินมาก ภาคธนาคารน่าที่จะหยุดชะงักเเละต้องใช้เวลาฟื้นตัวกันใหม่จนกว่าจะปล่อยกู้กันได้เเบบปกติ ศก. จะต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลจนกว่าความสามารถของประเทศจะเเข่งขันได้มีประสิทธิภาพอีกครั้ง)
เเต่จริงๆเเล้วปัญหาที่ทุกคนกลัวกันหลักๆน่าจะคือ "ปัญหาความมั่นใจในตลาดการเงิน" ครับ เพราะการที่กรีซออกจากยูโร ย่อมที่จะเกิดเป็น case ต้นเเบบความคิดที่ว่า "หากมีประเทศหนึ่งออกไปเเล้ว ประเทศอื่นๆก็น่าจะออกไปได้ด้วยเหมือนกัน" ดังนั้น จุดของความไม่มั่นใจนี้ ก็จะไปกดดัน yield ของประเทศที่มีหนี้สูงหรือมีปัญหาเศรษฐกิจอยู่เเล้ว ให้สูงกว่าเดิม (เพราะ ตลาดกลัวว่าประเทศเหล่านี้จะออกไปใช้ค่าเงินตัวเอง ทำให้ค่าเงินตกลงมากๆ ทำให้ bond ของประเทศเหล่านั้นที่ถือไว้ได้คืนไม่เท่า face value เพราะประเทศเหล่านี้จะใช้คืนหนี้ด้วยค่าเงินของตน ดังนั้นจึงขายเพื่อลดความเสี่ยง + ไม่กล้าซื้อเพิ่มมากเพราะกลัวความเสี่ยง) ทีนี้ประเทศที่มีหนี้สูงๆเเต่มีเศรษฐกิจใหญ่เหล่านั้นจะยิ่งมี ภาระ refinance หนี้ตัวเองที่ทำได้ยากกว่าเดิมมากๆ เเละ สุดท้ายก็จะหมดเงิน เเละ ต้องขอความช่วยเหลือเหมือนกับกรีซ (เพราะ อัตรากู้ยืม สูงกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก ทำให้ไม่ sustainable ในระยะยาว) รวมถึงเหล่าธนาคารก็อาจปล่อยกู้กันเองภายในยุโรปลดลงเพราะกังวลกันเองว่าใครจะออกไปใช้ค่าเงินตนเองเป้นรายต่อไป ทำให้สภาพคล่องหายไปจากความกังวลของภาคธนาคาร (คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008) ซึ่งสุดท้ายก็จะไปทำให้ประชาชนชักไม่เเน่ใจว่าเงินที่ตนฝากอยู่ในธนาคารนั้น จะยังอยู่ดีหรือไม่ (เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของ balance sheet ธนาคารเหล่านั้นที่ถือ bond ของประเทศที่มีหนี้สูงๆเช่น Italy, Spain etc.) เเละอาจเกิด bank-run กันได้
ถ้ามาถึงจุดนี้ key สำคัญคงจะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้นโยบายการเงินของ ECB เเล้วครับว่าจะใช้นโยบายการเงินเช่น การออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เเก่ธนาคาร, การพิมพ์เงินเพิ่มอีก, การเพิ่มเงินกองทุน EFSF เพื่อสร้างความมั่นใจ เเละการเข้าไปซื้อพันธบัตรโดยตรงเอง ว่าจะมีประสิทธิภาพในการสร้างความ"มั่นใจเเละลดความกังวล" ให้เเก่ตลาดได้เเค่ไหน (เพราะเหลือนโยบายการเงินเป็น option สุดท้ายเนื่องจาก เเต่ละประเทศมีนโยบายการคลังเเยกเด็ดขาดจากกัน โดยประเทศที่มีหนี้สูงไม่สามารถจะใช้นโยบายการคลังมากระตุ้นได้ เพราะกลัวว่าการเพิ่ม deficit จะไปเพิ่มความเสี่ยงเเละ yield การกู้ยืมให้เเย่กว่าเดิม) ซึ่งผลก็จะเเยกได้เป็นอีก 2 scenarios ก็คือ;
1) กรีซออกจาก EU, ECB เข้ามาเเทรกเเซงตลาด เเละช่วยให้ความมั่นใจของตลาดยังคงอยู่ได้ สรุปคือปัญหายังลากยาวกันต่อไป (เเละจ
ยิ่งเเย่กว่าเดิม)
2) ECB ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ตลาดได้ ตลาดการเงินกังวลกันเอง bond yield เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดปัญหาสภาพคล่องในระบบ
การเงิน รวมถึงปัญหา solvency ของธนาคารหลายเเห่งในยุโรป ---> ตรงนี้คงต้องตัวใครตัวมันครับ
ในทางศก.เเล้ว ผมเองมองว่า หากเราเลือกทางไปผิด เราจะไม่สามารถหาทางลัดกลับเข้าสูงเส้นทางที่ถูกต้องได้ มีเเต่จะต้องถอยหลังกลับไปเริ่มต้นปรับสมดุลกันใหม่เท่านั้นเองครับ (เหมือนกับที่ประเทศเราเจอกันมาเเล้วข่วงวิกฤติต้มยำกุ้งนั่นเองครับ)
ต้องขอโทษที่พิมพ์มาซะยาวเลยนะครับ เเต่สุดท้ายเเล้วอะไรจะเกิดขึ้นนั้นยากต่อการคาดเดามากๆครับ เหมือนกับที่ Peter Lynch ได้เคยสอนเราไว้ว่า "จงอย่าเสียเวลาคาดการณ์ศก. เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ความเป็นไปทางศก.ได้อย่างเเม่นยำเลย" ซึ่งผมเองเชื่อเหลือเกินครับว่าหากพวกเรานักลงทุน ทำการบ้าน ศึกษาธุรกิจของบริษัทที่เราลงทุน รวมถึง ลงทุนในบริษัทที่เเข็งเเกร่งเเละมีความมั่นใจในการวิเคราะห์ของตนเองตามหลักการ VI เเล้ว สุดท้ายเเล้วไม่ว่าอะไระเกิดขึ้น พวกเราจะยังคงผ่านพ้นมันไปได้ครับ
"ใช้ชีวิตจนแก่เฒ่า ศึกษาจนแก่เฒ่า ดัดแปลงจนแก่เฒ่า" (活到老、学到老、改造到老)
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 29
เห็นบางความเห็นคุยเรื่อง Mos
ผมเห็นด้วยครับว่าต้องคำนึงเรื่อง Mos ตอนเข้าซื้อ
แต่พอซื้อไปแล้ว Mos ของแต่ละคนจะเท่าไร ก็ควรตัดสินใจเหมือนกัน
เช่นหุ้นบางตัว สมมติราคา 37 บาท
คนที่ซื้อมาที่ราคา 6 บาท หรือ 40
ก็ไม่ควรจะตัดสินใจต่างกัน
หลังจากซื้อไปแล้วควรลืมต้นทุน ถ้าจะคิดราคาทุน ก็ควรยึดเอาราคา ณ ปัจจุบันเป็นจุดตัดสินใจ
ผมเห็นด้วยครับว่าต้องคำนึงเรื่อง Mos ตอนเข้าซื้อ
แต่พอซื้อไปแล้ว Mos ของแต่ละคนจะเท่าไร ก็ควรตัดสินใจเหมือนกัน
เช่นหุ้นบางตัว สมมติราคา 37 บาท
คนที่ซื้อมาที่ราคา 6 บาท หรือ 40
ก็ไม่ควรจะตัดสินใจต่างกัน
หลังจากซื้อไปแล้วควรลืมต้นทุน ถ้าจะคิดราคาทุน ก็ควรยึดเอาราคา ณ ปัจจุบันเป็นจุดตัดสินใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์ที่ 30
เพียงแต่ค่าเงินมันไม่สะท้อนความเป็นจริงสุดท้ายWorriedInvestor เขียน:ผมว่า เรื่องประเทศจะล้มละลาย สมัยนี้มันยากอะครับ เพีียงแต่ว่า แลกเปลี่ยนความมั่งคั่งไปหาพวกที่เงินเค้าพร้อมแล้วอยากได้ของถูกมากกว่า สุดท้าย ก็แก้ปัญหาได้อยู่ดี เหมือนตอนปี40 เมืองไทยว่าแย่ๆ จริงๆ มันก็มีคนได้ประโยชน์มากมาย มีคนเก็บของถูกแล้วขายทำกำไรในเวลาต่อได้เยอะแยะครับ
จะเกิดการลดค่าเงินแบบบ้าๆ (รัสเซีย) หรือหนักๆเข้าก็เปลี่ยนค่าเงิน (พม่า)
ความมั่งคั่งประชนชน หายไปกับตา
แต่จริงๆมันก็ไม่เกี่ยวกับ ตลาดเก็งกำไร ตรงๆ แหะๆๆ
แค่คิดว่าสุดท้าย กรีซ มันจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีการ rebalance ค่าเงินตัวเองอะคับ
(เหมือน เวียดนาม)
ส่วนเรื่องตลาดเก็งกำไร ส่วนตัวผมกังวล jp morgan มากกว่า กรีซอีก
ปีที่แล้วหลายคนมองว่ากรีซ ทำหุ้นตก
แต่ผมกลับมองว่า เกิดจาก ลดเรตติ้งเมกา ทำให้ สภาพคล่องหาย
และต้นทุนเงินเพิ่ม (เห็ดฟัน) เป็นตัว trigger ดึงเงินออกจากระบบ
แล้ว เรื่องกรีซ ถึงเหมือนเข้ามาทำให้แย่ไปกว่าเดิม พร้อม confirm สถานะการณ์ให้ดูแย่จริง
แต่พอ operation twist unlocked liquidity ออกมาได้ เงินเข้าสู่เห็ดฟัน
และ real sector ของเมกา ก็ดันตลาดเก็งกำไร กลับมา โดยที่ กรีซ พื้นฐาน
ใครก็รู้ว่า มันรื้อรังอยู่
รอบนี้ ส่วนตัวจึงเชื่อว่า ถ้า jp morgan ดึงเงินกลับ อาจจะทำให้เกิด
liquidity ตลาดเก็งกำไร เหือดอีก เลยกลัวตรงนี้มากกว่า
ส่วนกรีซ ก็คงเล่นข่าวกันไป ยังไง ยุโรป ก็เป็นแค่เมืองท่าของทุนนิยม
คงมีผลบ้าง แต่คงไม่เท่า เมืองหลวง อย่างเมกา
ซึ่งภายในไม่กี่ปี shale gas น่าจะช่วยทำให้เมกา กลับมาได้แน่นอน
show me money.