อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การหา Intrinsic Value ที่ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด และมีจุดอ่อน (ที่เข้าใจว่าต้องมีอยู่แล้ว) น้อยที่สุด จะหาได้จากอะไร มีขั้นตอนยังไงบ้างครับ

หลายกระทู้ที่ผ่านมารู้สึกจะเป็นระดับ advance ซึ่งมือใหม่เข้าใจยากครับ

ขอรบกวนลองสรุปให้ฟังตามคุณสมบัติข้างต้นให้ทีนะครับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

โพสต์ที่ 2

โพสต์

การหา intrinsic value เป็นแค่ขั้นตอนที่สองของการซื้อหุ้นครับ

ปกติ ในการซื้อหุ้นผมจะทำดังนี้

1. เลือกหาธุรกิจที่มีแนวโน้มดี ศักยภาพดี ผู้บริหารดีมีคุณธรรม
2. ประเมินราคาที่น่าเข้าซื้อ (บางคนเรียก intrinsic value)
3. เข้าซื้อเมื่อได้เวลา (ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะราคามันไม่ลงมา)

ส่วนการประเมินราคา ทำได้หลายวิธีครับ ตามถนัด แต่ถ้าต้องการ
ประเมินราคาจากกิจการของบริษัท คืองบกำไรขาดทุน ต้องทำความ
เข้าใจในลักษณะธุรกิจขนาดสามารถเข้าไปนั่งบริหารได้น่ะครับ

คือคิดคล้ายๆ กับว่าเผอิญบริษัทที่ว่ามาจ้างเราไปเป็น MD น่ะครับ

หลังจากนั้นการประเมิน intrinsic value สามารถทำได้ไม่ยากเลย
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณคุณ CK มากครับ

อยากจะเรียนถามเพิ่มเติมว่า

การหา intrinsic value เพื่อหาราคาที่ควรจะเป็นจริง และเราจะเข้าซื้อหุ้น เมื่อราคาต่ำกว่า intrinsic value อันนี้ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับ

ถ้าเป็นดังนี้ดูเหมือนว่าการหา intrinsic value มันน่าจะมีสูตร หรือเกณฑ์การคำนวณเบื้องต้น ใช่หรือไม่ครับ แล้ววิธีเบื้องต้นเหล่านั้นที่ง่ายและสะดวก จุดอ่อนน้อย สำหรับ VI มือใหม่อย่างผมมีวิธีการยังไงบ้างครับ

เช่น มีคนพูดว่า ราคาหุ้น A ตอนนี้ 10 บาท ถือว่าต่ำกว่ามูลค่ามาก
คำถามคือ แล้วราคาที่เป็นมูลค่าจริงคือเท่าไหร่ล่ะครับ 20 บาท? 30บาท?
แล้วจะหาราคาเหล่านั้นได้ด้วยการคำนวณเป็นรูปธรรมอย่างไรครับ?

ขออภัยหากจะดูมือใหม่เกินไป
แต่ถือเป็นวิทยาทานละกันนะครับทุกท่าน ขอบคุณมากครับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่มีหรอกครับ สูตรสำเร็จ ไม่งั้นผมก็รวยไปแล้ว

แต่ละบริษัท สูตรอาจจะไม่เหมือนกันครับ แม้แต่ในธุรกิจเดียวกัน

โดยส่วนตัวผมไม่ใช้สูตรอะไรเลยครับ นอกจาก P/E แต่ E
เป็นแบบประมาณการณ์ครับ ตัดรายการที่ไม่ได้มาจาก operation
หลักและ E ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวออก
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

โพสต์ที่ 5

โพสต์

:lol: :lol: :lol: :lol:
ปกติ ในการซื้อหุ้นผมจะทำดังนี้

1. เลือกหาธุรกิจที่มีแนวโน้มดี ศักยภาพดี ผู้บริหารดีมีคุณธรรม
2. ประเมินราคาที่น่าเข้าซื้อ (บางคนเรียก intrinsic value)
3. เข้าซื้อเมื่อได้เวลา (ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะราคามันไม่ลงมา
คิดเหมือนกันเลยครับท่านพี่ CK

ทีนี้ถ้าทำตามนี้แล้วก็ยังไม่เจอตัวที่น่าซื้อ แต่เกิดอาการคันไม้คันมือ ทนถือเงินสดไม่ไหว ก็อาจจะสลับลำดับ ที่2.กับที่1. กัน ก็จะได้คำตอบคือ เจอหุ้นทีน่าซื้อที่ราคานี้ แม้แนวโน้มธุรกิจ หรือคุณภาพบริษัทอาจจะไม่ดีมาก

วิธีนี้ก็สามารถทำกำไรได้มหาศาล ต้นตำรับคือท่านเกรแฮมทีเดียวนะ


ส่วนวิธีหา intrinsic value ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ว่าต้องเป็นเท่าไหร่ๆ เพราะจริงๆแล้ว value ของทุกๆสิ่งมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอขึ้นกับอยู่ในมือใคร เห็นประโยชน์ของมันหรือไม่ ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ขึ้นกับกาลเวลา ขึ้นกับอีกสารพัด จึงไม่นิยมหา absolute value แต่ใช้การหา relative value แทน

relative value ของหุ้นจึงมักจะนำไปเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล ถ้าทำกำไรได้น้อยกว่า ก็ไม่เอา ถ้ามากกว่าถึงจะน่าสนใจ ถามว่าเท่าไหร่จึงจะน่าสนใจมาก คำตอบก็คือยิ่งมากยิ่งดีสิครับ อิอิ

ดังนั้นเครื่องมือที่จะวัดความถูกแพงก็ไม่หนีข้อมูลง่ายๆพวก p/e p/b roe roaพวกนี้แหละ ความยากอยู่ที่เราต้องประเมินอนาคตว่าค่าเหล่านี้จะเป็นเท่าไหร่ เพราะค่าที่เห็นคือค่าในปัจจุบัน

ถ้ามีคนบอกว่า หุ้น A ราคา 10 บาท ถูกมาก ซื้อแล้วทำกำไรได้ปีละ 20 % ( แปลว่า p/e =5 ) ปันผลครึ่งหนึ่ง เราก็จะได้ 10% ก็สูงกว่าดอกเบี้ยธนาคาร สูงกว่าพันธบัตร เป็นต้น นี่ก็เป็นการใช้ p/e มาช่วยอย่างง่ายๆ แต่ค่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาการพยากรณ์อนาคตพอสมควร

อีกค่าหนึ่งคือ p/b ( ไม่ค่อยพึ่งอนาคตมากนัก พึ่งปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ คือได้รับผลกระทบจากกำไรน้อยกว่าค่าp/eพอสมควร ) ค่า b ที่ได้เป็นการประเมินจากผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งก็จะเชื่อถือได้ค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกันในเรื่องการตีราคาทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเป็นราคาเก่า เช่นพวกที่ดิน หรือลูกหนี้ที่อาจไม่ได้ตั้งค่าเผื่อที่จะสูญ ถ้าเราไปเจอบริษัทที่มีค่า p/b = 0.5 ก็แปลว่า เราซื้อบริษัทนี้ในราคาเพียงครึ่งเดียวของมูลค่าทางบัญชี ราคาก็น่าจะถูกกว่าตัวที่ p/b = 2.0 ซึ่งเท่ากับเราซื้อแพงกว่ามูลค่าทางบัญชีหนึ่งเท่าตัวทีเดียว ค่านี้ก็เป็นการวัดความถูกแพงได้ดีในระดับหนึ่งเช่นเดียวกัน

:lol: :lol: :lol: :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tongue
Verified User
โพสต์: 725
ผู้ติดตาม: 0

อาจจะดูอ่อนหัด แต่ยังอยากจะถามว่า...

โพสต์ที่ 6

โพสต์

หลักๆ มี 2 อย่างครับ

1. ประเมิณ สินทรัพย์สุทธิ (ดูจากงบดุล)
2. ประเมิณศักยภาพการทำกำไร (งบกำไร ขาดทุน)

สมมติว่าจะซื้อ อพาร์ทเม้นท์
ข้อ 1 ก็คือ ราคาตึก ราคาที่ดิน รั้ว ตู้ เตียง โทรศัพท์ etc
สมมติ 10 บาท ขาย 5 บาทก็ถือว่าถูก

ข้อ 2 คือ ทำเลดีไหม คนอยู่เยอะไหม คิดราคาแพงได้ไหม ยังมีหนี้ต้องผ่อนแบงค์ไหม ปีๆ กำไรเท่าไหร่
ถ้าไม่ดีขาดทุนบ่อยๆ ขาย 5 บาทก็อาจจะแพง
ถ้ากำไรดี ขาย 20 ก็อาจจะน่าลงทุนกว่า

ปล.1 การคำนวณแต่ละคนไม่เท่ากัน
มันไม่จำเป็นต้องหาราคาเป๊ะๆหรอกครับ เอาเป็น range ดีกว่า
ถ้าอยู่ใน range ก็ค่อยๆเก็บไป ถูกมากซื้อมากหน่อย ถูกน้อยซื้อน้อยหน่อย

ถ้า advance ก็ต้องกระแสเงินสดครับ (งบกระแสเงินสด)
ประมาณว่า เอาตังค์มาจากไหน ใช้ทำอะไรบ้าง เหลือเท่าไหร่
ล็อคหัวข้อ