ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 1
เพื่อนๆ ที่เป็นวิศวกรโยธา มีใครได้ตามเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่าบ้างมั้ยครับ?
เมื่อสักครู่ได้เห็นภาพข่าวจากรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ผู้มีอำนาจออกมาบอกว่าเป็นเทคนิคในการก่อสร้างสมัยใหม่
ผมดูยังไงก็ไม่น่าใช่นะ เลยอยากถามความเห็นหน่อยครับ (พอดีเคยทำแต่งานถนน และเคยเห็นแต่งาน concrete yard คลังสินค้า ยังไม่เคยเจองานสนามบินครับ)
เมื่อสักครู่ได้เห็นภาพข่าวจากรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ผู้มีอำนาจออกมาบอกว่าเป็นเทคนิคในการก่อสร้างสมัยใหม่
ผมดูยังไงก็ไม่น่าใช่นะ เลยอยากถามความเห็นหน่อยครับ (พอดีเคยทำแต่งานถนน และเคยเห็นแต่งาน concrete yard คลังสินค้า ยังไม่เคยเจองานสนามบินครับ)
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 2
เห็นว่าเป็นรอยแยกแบบ " ตั้งใจทําให้เกิด" ..............
แต่แปลกเหมือนกัน ...........
ถ้าตั้งใจทําให้เกิดเพื่อประโยชน์ด้านการใช้งาน ..................
ทําไมไม่เป็นแบบเรียบร้อยแบบตั้งใจทําให้เกิด ...............
แต่เป็นรอยแยกหยักๆ .............
แต่แปลกเหมือนกัน ...........
ถ้าตั้งใจทําให้เกิดเพื่อประโยชน์ด้านการใช้งาน ..................
ทําไมไม่เป็นแบบเรียบร้อยแบบตั้งใจทําให้เกิด ...............
แต่เป็นรอยแยกหยักๆ .............
-
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 3
ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องมาก เคยเห็นแต่ถนนคอนกรีต เมื่อปูนแข็งตัว ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก็มีการตัดแล้วหยดยางมะตอยลงไปเพื่อมีช่องให้ปูนขยายตัวต่อไปในอนาคตเพราะอากาศแปรปรวน(ทั้งแดด-ฝน) แต่นี่มันอะไรเนี่ย เห็นในข่าว ผมว่าเหตุผลมันแปลกๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 4
ทอท.พาสื่อพิสูจน์ยืนยันมาตรฐานรันเวย์สุวรรณภูมิ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 สิงหาคม 2548 18:46 น.
ผู้บริหารบริษัท ทอท. นำคณะสื่อมวลชนสำรวจผิวลู่วิ่งทางขับ หรือรันเวย์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังมีข่าวพบรอยแตกร้าวของผิวรันเวย์ พร้อมยืนยันรันเวย์ของท่าอากาศยานได้มาตรฐานรองรับเครื่องบินได้ทุกขนาดรวมถึงเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. นำคณะสื่อมวลชนสำรวจผิวรันเวย์ด้านตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลังมีวิศวกรอิสระให้ข่าวว่าเกิดรอยแตกร้าวขึ้น ทำให้การก่อสร้างอาจไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม ซึ่งนายสมชัย กล่าวว่า รอยแตกร้าวที่มีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นรอยแตกที่เจตนาทำให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามเทคนิคการก่อสร้าง ก่อนที่จะมีการสกัดผิวคอนกรีตหรือรอยแยกเหล่านี้ออก เพื่อเชื่อมต่อกับคอนกรีตไปในบริเวณก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 ซึ่งเป็นรันเวย์ใหม่ตามแผนงานที่จะมีการขยายการก่อสร้างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะสร้างรันเวย์ที่ 3 และ 4 รองรับเป้าหมายผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปีในอนาคต
นายสมชัย ยืนยันว่า การก่อสร้างรันเวย์ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อยู่ในความรับผิดชอบของกิจการร่วมค้าไอโอที (อิตาเลี่ยน ไทย,โอบายาชิ, ทาเกนากะ) และมีนายสกอต วิลสัน วิศวกรชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมงานและการเทพื้นรันเวย์จะเริ่มจากการอัดพื้นทรายความหนา 1 เมตรก่อนเทคอนกรีตมีความหนา 73 เซนติเมตรก่อนที่จะเทกลบด้วยวัสดุรับแรงกระแทกพิเศษหนาอีก 32 เซนติเมตร ผิวรันเวย์จึงมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 2 เมตร
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. ยืนยันว่ารันเวย์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแข็งแรงได้มาตรฐานเทียบเท่าท่าอากาศยานระดับโลก สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 770 ตัน แม้จะเป็นการนำเครื่องบินขนาดใหญ่ ได้แก่ แอร์บัส A 380 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดลงจอดก็ตาม
สำหรับการก่อสร้างรันเวย์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก จะมีความยาวด้านละ 3,700 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 7,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่มีการปรับลดวงเงินงบประมาณลง จากวงเงินงบประมาณเดิมประมาณ 2,000 ล้านบาท
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 สิงหาคม 2548 18:46 น.
ผู้บริหารบริษัท ทอท. นำคณะสื่อมวลชนสำรวจผิวลู่วิ่งทางขับ หรือรันเวย์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังมีข่าวพบรอยแตกร้าวของผิวรันเวย์ พร้อมยืนยันรันเวย์ของท่าอากาศยานได้มาตรฐานรองรับเครื่องบินได้ทุกขนาดรวมถึงเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. นำคณะสื่อมวลชนสำรวจผิวรันเวย์ด้านตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลังมีวิศวกรอิสระให้ข่าวว่าเกิดรอยแตกร้าวขึ้น ทำให้การก่อสร้างอาจไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม ซึ่งนายสมชัย กล่าวว่า รอยแตกร้าวที่มีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นรอยแตกที่เจตนาทำให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามเทคนิคการก่อสร้าง ก่อนที่จะมีการสกัดผิวคอนกรีตหรือรอยแยกเหล่านี้ออก เพื่อเชื่อมต่อกับคอนกรีตไปในบริเวณก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 ซึ่งเป็นรันเวย์ใหม่ตามแผนงานที่จะมีการขยายการก่อสร้างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะสร้างรันเวย์ที่ 3 และ 4 รองรับเป้าหมายผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปีในอนาคต
นายสมชัย ยืนยันว่า การก่อสร้างรันเวย์ทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อยู่ในความรับผิดชอบของกิจการร่วมค้าไอโอที (อิตาเลี่ยน ไทย,โอบายาชิ, ทาเกนากะ) และมีนายสกอต วิลสัน วิศวกรชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมงานและการเทพื้นรันเวย์จะเริ่มจากการอัดพื้นทรายความหนา 1 เมตรก่อนเทคอนกรีตมีความหนา 73 เซนติเมตรก่อนที่จะเทกลบด้วยวัสดุรับแรงกระแทกพิเศษหนาอีก 32 เซนติเมตร ผิวรันเวย์จึงมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 2 เมตร
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. ยืนยันว่ารันเวย์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแข็งแรงได้มาตรฐานเทียบเท่าท่าอากาศยานระดับโลก สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 770 ตัน แม้จะเป็นการนำเครื่องบินขนาดใหญ่ ได้แก่ แอร์บัส A 380 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดลงจอดก็ตาม
สำหรับการก่อสร้างรันเวย์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก จะมีความยาวด้านละ 3,700 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 7,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่มีการปรับลดวงเงินงบประมาณลง จากวงเงินงบประมาณเดิมประมาณ 2,000 ล้านบาท
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 5
อืมมม์ ลองไป search ใน Google ดู
เขาบอกว่า การลาดยางมะตอยทับลงไป เมื่อรันเวย์เกิดร้อนขึ้นมา จะปรากฎรอยแตก
แบบนี้
ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะถ้าเครื่องบินเกิดเบรกหรือเลี้ยวตรงรอยแตกพอดี
อาจจะทำให้เครื่องบินพลิกคว่ำได้ ต้องรีบซ่อมโดยด่วน เนื่องจากรอยแตก
จะนูนขึ้นมาเล็กน้อย
การปู GlasGrid ทับจะทำให้รันเวย์มีโอกาสแตกน้อยลง หรืออาจจะไม่แตกเลย
ข้อมูลอ้างอิง:
http://www.glasgrid.nl/engels/pagina/asfaltwapening.htm
และ
http://www.glasgrid.com/Articles/inyokern.html
ไม่ทราบเหมือนกันว่า รอยแตกที่สนามบินหนองงูเห่าเป็นแบบไหน
แต่ที่แน่ๆ GlasGrid เป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ คล้ายสนามหญ้า ไม่น่าจะ
เป็นรอยแตกนะครับ
เขาบอกว่า การลาดยางมะตอยทับลงไป เมื่อรันเวย์เกิดร้อนขึ้นมา จะปรากฎรอยแตก
แบบนี้
ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะถ้าเครื่องบินเกิดเบรกหรือเลี้ยวตรงรอยแตกพอดี
อาจจะทำให้เครื่องบินพลิกคว่ำได้ ต้องรีบซ่อมโดยด่วน เนื่องจากรอยแตก
จะนูนขึ้นมาเล็กน้อย
การปู GlasGrid ทับจะทำให้รันเวย์มีโอกาสแตกน้อยลง หรืออาจจะไม่แตกเลย
ข้อมูลอ้างอิง:
http://www.glasgrid.nl/engels/pagina/asfaltwapening.htm
และ
http://www.glasgrid.com/Articles/inyokern.html
ไม่ทราบเหมือนกันว่า รอยแตกที่สนามบินหนองงูเห่าเป็นแบบไหน
แต่ที่แน่ๆ GlasGrid เป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ คล้ายสนามหญ้า ไม่น่าจะ
เป็นรอยแตกนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 7
รอยแตกที่เกิดขึ้น เป็นช่วงไหล่ทาง ของรันเวย์ ที่มีการเปลี่ยนแบบ เพื่อจะมีการเชื่อมทางต่อกับรันเวย์เพิ่มขึ้น โดยไหล่ทางของรันเวย์ของเดิม มีการปูยาง ชั้น base course 1 ชั้น ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแบบ จึงต้องมีการทำ preload โดยการ preload นี้ ทำไปบนชั้นของยาง base course ( ซึ่งปูไปเพียงชั้นเดียว )เลย โดยต่อไป จะต้องมีการรื้อผิวยางออก เพื่อปูชั้น ctb ( cement treated base ) ใหม่เลย ตามด้วยการปูยาง ซึ่งถือเป็นงานเพิ่มเติมสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแบบ การที่ผิวยางบนไหล่ทาง เกิดการแตกนี้ ถือเป็นเรื่องปกติ สืบเนื่องจากการ preload อยู่แล้ว ( หากคิดในแง่วิศวกรรม การทำ preload โดยใช้น้ำหนักที่น้อยเกินไป ก็ไม่ส่งให้เกิดผลดีเช่นเดียวกัน คือจะไม่ทำให้ชั้นวัสดุข้างล่างเกิดการทรุดตัวเพียงพอ ก่อนที่จะทำการก่อสร้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการทรุดตัวได้มากในภายหลัง ) -2: CE82-
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 161
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 10
ผมไม่ทราบว่าเป็นรอยแยกแบบจงใจจริงหรือเปล่านะครับ
แต่ในทางโยธาแล้ว การก่อสร้างแผ่นพื้นที่มีขนาดใหญ่มากๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นอาคารสูง หรือ พื้นถนน มักมีการกำหนดให้มีรอยแยกไว้ เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัวของพื้นที่จะไม่เท่ากัน ซึ่งหากไม่ทำไว้แล้วเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันอาจเกิดการวิบัติของแผ่นพื้นทั้งแผ่นนั้นได้
แต่เท่าที่ดูจากโทรทัศน์ รู้สึกว่ารอยแยกนั้นดูแปลกๆอยู่เหมือนกันครับ เลยไม่แน่ใจว่าใช่รอยแยกโดยเจตนาหรือเปล่า
แต่ในทางโยธาแล้ว การก่อสร้างแผ่นพื้นที่มีขนาดใหญ่มากๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นอาคารสูง หรือ พื้นถนน มักมีการกำหนดให้มีรอยแยกไว้ เพื่อแก้ปัญหาการทรุดตัวของพื้นที่จะไม่เท่ากัน ซึ่งหากไม่ทำไว้แล้วเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันอาจเกิดการวิบัติของแผ่นพื้นทั้งแผ่นนั้นได้
แต่เท่าที่ดูจากโทรทัศน์ รู้สึกว่ารอยแยกนั้นดูแปลกๆอยู่เหมือนกันครับ เลยไม่แน่ใจว่าใช่รอยแยกโดยเจตนาหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 479
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 11
:D ขออนุญาติยืมโพสน่ะครับ รันเวย์เดิม 2 รัยเวย์ยังสร้างไม่เสร็จ วางแผนโกยต่อเลยเหรอเนี่ยๆๆ รวยเละเหมือนเดิม :twisted: :twisted:เพื่อเชื่อมต่อกับคอนกรีตไปในบริเวณก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 ซึ่งเป็นรันเวย์ใหม่ตามแผนงานที่จะมีการขยายการก่อสร้างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะสร้างรันเวย์ที่ 3 และ 4 รองรับเป้าหมายผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปีในอนาคต
*****
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเพื่อนๆ วิศวกรโยธาเรื่องรอยแยกที่รันเวย์สนามบินหนองงูเห่า
โพสต์ที่ 13
ผมเข้าใจว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่เทคนิคการก่อสร้างแน่ๆ แต่ว่าเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก็ต้องซ่อมแซมกันไป
ดูจากภาพแล้ว น่าจะเป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถมดินด้านข้างรันเวย์เพื่อเร่งการทรุดตัว ซึ่งหากต้องมีการถมดินเพื่อเร่งการทรุดตัวดังกล่าวจริง ควรจะรอให้งานดังกล่าวจบก่อนแล้วจึงเริ่มทำรันเวย์ ก็จะไม่เกิดรอยร้าวขึ้น เรื่องนี้อาจเกิดจากการเร่งงานให้จบทันเวลาของฝ่ายนโยบาย หรือผู้รับเหมาเร่งงานเพื่อให้รับการเบิกจ่ายเงินก่อน
ช่วงนี้หน้าฝน อย่ามัวแต่ชี้แจง....เลย ผมว่ายอมรับดีกว่าว่าดินแถวนั้นไม่ดี ย่อมมีการทรุดตัวบ้าง ผู้รับจ้างต้องซ่อมแซมให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่วิศวกรอิสระให้ความเห็น เดี๋ยวน้ำจะซึ่มลงไปทำลายชั้นทางที่อุตส่าห์ทำไว้เป็นอย่างดีเสียเปล่าครับ
ดูจากภาพแล้ว น่าจะเป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถมดินด้านข้างรันเวย์เพื่อเร่งการทรุดตัว ซึ่งหากต้องมีการถมดินเพื่อเร่งการทรุดตัวดังกล่าวจริง ควรจะรอให้งานดังกล่าวจบก่อนแล้วจึงเริ่มทำรันเวย์ ก็จะไม่เกิดรอยร้าวขึ้น เรื่องนี้อาจเกิดจากการเร่งงานให้จบทันเวลาของฝ่ายนโยบาย หรือผู้รับเหมาเร่งงานเพื่อให้รับการเบิกจ่ายเงินก่อน
ช่วงนี้หน้าฝน อย่ามัวแต่ชี้แจง....เลย ผมว่ายอมรับดีกว่าว่าดินแถวนั้นไม่ดี ย่อมมีการทรุดตัวบ้าง ผู้รับจ้างต้องซ่อมแซมให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่วิศวกรอิสระให้ความเห็น เดี๋ยวน้ำจะซึ่มลงไปทำลายชั้นทางที่อุตส่าห์ทำไว้เป็นอย่างดีเสียเปล่าครับ