FTA ไทย-ญี่ปุ่น
- tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
FTA ไทย-ญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 1
อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ FTA ที่ไทยทำกับญี่ปุ่นครับ ผมสามารถหาได้จากไหนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
FTA ไทย-ญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 2
ECO-NO-MISS : FTA ไทย-ญี่ปุ่น ใคร (หรือไทย)ได้... ใคร (หรือไทย) เสีย
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ศูนย์พยากรณเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่สุดในช่วงนี้ข่าวหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง "ข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น" ซึ่งได้มีการเจรจามาอย่างยาวนานและใกล้บรรลุข้อตกลงกันแล้ว
ทางคณะผู้เจรจาของไทยบอกว่าสาระสำคัญในข้อตกลงมีการเจรจาครบทุกอย่างแล้ว สิ่งที่ยังต้องดำเนินการต่อไปคือการปรับปรุงรายละเอียดและถ้อยคำบางประการอีกเพียงเล็กน้อย เพื่อนำไปเขียนบันทึกความเข้าใจให้ตรงกันทั้งสองประเทศแล้วนำบันทึกนั้นไปเขียนเป็นภาษากฎหมายต่อไป
ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกหลายเดือน และประเมินได้ว่าจะมีการลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้ในเดือนเมษายน 2549
ผลของการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งจะมีผลในปีหน้าหรืออนาคตอันใกล้ จะส่งผลกระทบในทางบวกหรือลบ และไทยหรือใครได้ใครเสียจากการเจรจาเอฟทีเอครั้งนี้กันแน่ เราจะมาดูกันครับ
ก่อนอื่นขอเริ่มต้นถึงที่มาและที่ไปของเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกันก่อนครับว่าเริ่มต้นกันเมื่อไร
ในเดือนเมษายน 2545 นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นได้หารือและเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทำความตกลงการค้าเสรี
ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 ผู้นำของทั้งสองประเทศได้พบหารือทวิภาคีและเห็นชอบให้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการโดยให้เริ่มการประชุมเจรจาครั้งแรกที่ประเทศไทยในต้นปี 2547 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่าการเจรจาได้ข้อยุติแล้วในระดับนโยบายแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีไทยจะเดินทางไปประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ ร่วมกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และจะมีการลงนามเอฟทีเอในเดือนเมษายน 2549 และจะมีผลบังคับใช้กันยายน 2549
โดยเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จะทำให้ไทยมีรายการสินค้าขายที่ญี่ปุ่นได้ถึง 5,000 รายการ ส่วนญี่ปุ่น มีรายการสินค้ามาไทยถึง 7,000 รายการหรือคิดเป็น 97% ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
โดยประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากสินค้าเกษตรมากกว่า 42,000 ล้านบาท
สำหรับสินค้าเกษตรที่ญี่ปุ่นลดภาษีให้ไทย ว่า มีหลายรายการ เช่น ไก่ต้มสุก ลดภาษีจาก 6% เหลือ 3% กุ้งแปรรูป 5% เหลือ 0% ผักผลไม้สดเกือบทุกรายการ ยกเว้นสับปะรดสดและกล้วย ที่ญี่ปุ่นกำหนดเป็นโควตานำเข้าจากไทย ผลไม้กระป๋อง และน้ำผลไม้กระป๋อง เฉพาะรายการสินค้าเกษตรที่อยู่ภายใต้ข้อเสนอลดภาษีของแต่ละฝ่าย ส่วนน้ำตาลไม่มีการเจรจาในครั้งนี้ และจะหารือกันอีกครั้ง
นอกจากนี้ญี่ปุ่นพร้อมลดภาษีนำเข้าสิ่งทอและเครื่องประดับเหลือ 0% ส่วนรองเท้า ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ละเอียดอ่อนของญี่ปุ่น ก็พร้อมจะยกเลิกโควตาภายในเวลา 7-10 ปี หลังจากนั้น ภาษีจะเป็น 0%
สำหรับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นนั้น ทางด้านภาษีรถยนต์ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นได้ข้อสรุปว่า รถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซี จะทยอยลดภาษีเป็นขั้นบันได ตั้งแต่ลงนามมีผลใช้บังคับ จนถึงปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) จากปัจจุบัน ภาษี 80% จะลดภาษีลงปีละ 5% เหลือ 75%, 70% และ 60% โดยจะคงภาษีที่ 60% ต่อไปจนถึงปี 2553 จะเหลือภาษีที่ 60% ก่อนจะมีการทบทวนอีกครั้ง
ส่วนรถยนต์ขนาดต่ำกว่า 3,000 ซีซี ไม่มีการลดภาษีใดๆ เพราะจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ และทางญี่ปุ่นก็เข้าใจข้อจำกัดดังกล่าวของไทย
ทางด้านภาษีนำเข้าเหล็ก ไทยจะเปิดเสรีสำหรับเหล็กที่ไทยผลิตไม่ได้ และมีความจำเป็นต้องใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยจะกำหนดโควตานำเข้าที่แน่นอน ซึ่งคณะเจรจาได้หารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการในประเทศก็มีท่าทีสนับสนุน
ขณะที่เหล็กที่ไทยผลิตเองได้และมีความละเอียดอ่อน จะคงภาษีไว้ที่เดิมเป็นเวลา 8-10 ปี เพื่อให้เอกชนไทยมีเวลาปรับตัว จากนั้น จึงจะค่อยๆ ปรับลดภาษีในภายหลัง
ที่กล่าวมาข้างต้นคือข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในการซึ่งเป็นข้อตกลงที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดครับ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับต้นๆ ของไทยของไทยทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก
ในปี 2547 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,442.870 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 541,757 ล้านบาทและการนำเข้ามูลค่า 901,112 ล้านบาท เป็นประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งและญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับสองของไทย
ปกติไทยจะขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่น โดยในปี 2547 ไทยขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นประมาณ 359,354 ล้านบาท
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่สำคัญคือ มูลค่าการค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าสินค้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นจะเพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดเสรีทางการค้า
ที่สำคัญการนำเข้าเหล็กและรถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซีจะมีการนำเข้ามากขึ้น ขณะที่ไทยจะสามารถส่งออกสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรไปยังญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาโครงสร้างการนำเข้าและการส่งออกสินค้าของไทยกับญี่ปุ่นจะสังเกตได้ว่าไทยพึ่งพิงสินค้าที่จำเป็นจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ไทยพึ่งพิงจากญี่ปุ่นสูงถึง 80% จากการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด
ยิ่งเมื่อรวมหมวดยานยนต์ก็จะมีสัดส่วนสูงถึง 90% ของการนำเข้าทั้งหมด
ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปญี่ปุ่นมีสัดส่วนไม่มากนัก
การที่ไทยคาดว่าจะส่งออกสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น 40,000 ล้านบาทนั้น (จากเดิมที่ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปญี่ปุ่นประมาณ 8 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็น 10% ของการส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นทั้งหมด) หากเกิดขึ้นจริงจะเป็นประโยชน์เกษตรกรและเศรษฐกิจไทย (หากญี่ปุ่นพร้อมเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้ไทยและไม่กีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่น)
เมื่อพิจารณาทั้งสองด้านแล้วประเมินได้ว่า ไทยจะนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยสามารถส่งสินค้าออกไปยังญี่ปุ่นได้น้อยกว่า ซึ่งจะทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นมากขึ้นเป็นลำดับ
สิ่งที่น่าจับตาและต้องเร่งให้ภาคธุรกิจของไทยปรับตัวอย่างมากคงหนีไม่พ้นเรื่อง การนำเข้าเหล็ก และรถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซี ซึ่งเมื่อเปิดเสรีแล้ว เชื่อว่าการไหลเข้ามาของสินค้าดังกล่าวคงมีจำนวนมากอย่างแน่นอน
และผมก็เชื่อว่าราคาก็น่าจะพอๆ กับราคาที่ทำการผลิตในบ้านเราเอง
ดังนั้นคนอาจที่จะหันไปทำการซื้อรถยนต์ 3,000 ซีซี เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ที่มีซีซีน้อยกว่า ต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะเข้ามาอย่างรุนแรงในปีหน้า
นอกจากนี้หากย้อนกลับไปดูเรื่องของเหล็ก ผมมองว่าเหล็กน่าจะได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยปกป้องไม่ให้เกิดการแข่งขัน แต่เมื่อเกิดการเปิดเสรีแล้วผมเชื่อว่าเหล็กน่าจะได้รับผลกระทบเพราะเหล็กที่นำเข้านั้นจะนำเข้ามาเพื่อทำการผลิตรถยนต์เป็นสำคัญ ทำให้โอกาสในการพัฒนาเหล็กของไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยอาจจะต้องสะดุดได้
ดังนั้นภาคธุรกิจคงต้องเร่งปรับตัวกันอย่างมาก หากยังไม่ปรับตัว ผมเชื่อว่าการเข้ามาของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของญี่ปุ่น คงเข้ามาทำร้ายธุรกิจในประเทศไทยอย่างแน่นอน
แต่หากธุรกิจไทยสามารถที่จะปรับตัวและเร่งหาแนวทางหรือช่องทางจากการที่ประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้ากับญี่ปุ่น รุกตลาดญี่ปุ่น ผมก็เชื่อว่าธุรกิจจะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล
แม้ว่าเราจะดูเสียเปรียบอยู่นิดๆ ก็ตาม
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ศูนย์พยากรณเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจที่สุดในช่วงนี้ข่าวหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง "ข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น" ซึ่งได้มีการเจรจามาอย่างยาวนานและใกล้บรรลุข้อตกลงกันแล้ว
ทางคณะผู้เจรจาของไทยบอกว่าสาระสำคัญในข้อตกลงมีการเจรจาครบทุกอย่างแล้ว สิ่งที่ยังต้องดำเนินการต่อไปคือการปรับปรุงรายละเอียดและถ้อยคำบางประการอีกเพียงเล็กน้อย เพื่อนำไปเขียนบันทึกความเข้าใจให้ตรงกันทั้งสองประเทศแล้วนำบันทึกนั้นไปเขียนเป็นภาษากฎหมายต่อไป
ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกหลายเดือน และประเมินได้ว่าจะมีการลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้ในเดือนเมษายน 2549
ผลของการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งจะมีผลในปีหน้าหรืออนาคตอันใกล้ จะส่งผลกระทบในทางบวกหรือลบ และไทยหรือใครได้ใครเสียจากการเจรจาเอฟทีเอครั้งนี้กันแน่ เราจะมาดูกันครับ
ก่อนอื่นขอเริ่มต้นถึงที่มาและที่ไปของเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกันก่อนครับว่าเริ่มต้นกันเมื่อไร
ในเดือนเมษายน 2545 นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นได้หารือและเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการจัดทำความตกลงการค้าเสรี
ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 ผู้นำของทั้งสองประเทศได้พบหารือทวิภาคีและเห็นชอบให้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการโดยให้เริ่มการประชุมเจรจาครั้งแรกที่ประเทศไทยในต้นปี 2547 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่าการเจรจาได้ข้อยุติแล้วในระดับนโยบายแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีไทยจะเดินทางไปประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ ร่วมกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และจะมีการลงนามเอฟทีเอในเดือนเมษายน 2549 และจะมีผลบังคับใช้กันยายน 2549
โดยเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จะทำให้ไทยมีรายการสินค้าขายที่ญี่ปุ่นได้ถึง 5,000 รายการ ส่วนญี่ปุ่น มีรายการสินค้ามาไทยถึง 7,000 รายการหรือคิดเป็น 97% ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
โดยประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากสินค้าเกษตรมากกว่า 42,000 ล้านบาท
สำหรับสินค้าเกษตรที่ญี่ปุ่นลดภาษีให้ไทย ว่า มีหลายรายการ เช่น ไก่ต้มสุก ลดภาษีจาก 6% เหลือ 3% กุ้งแปรรูป 5% เหลือ 0% ผักผลไม้สดเกือบทุกรายการ ยกเว้นสับปะรดสดและกล้วย ที่ญี่ปุ่นกำหนดเป็นโควตานำเข้าจากไทย ผลไม้กระป๋อง และน้ำผลไม้กระป๋อง เฉพาะรายการสินค้าเกษตรที่อยู่ภายใต้ข้อเสนอลดภาษีของแต่ละฝ่าย ส่วนน้ำตาลไม่มีการเจรจาในครั้งนี้ และจะหารือกันอีกครั้ง
นอกจากนี้ญี่ปุ่นพร้อมลดภาษีนำเข้าสิ่งทอและเครื่องประดับเหลือ 0% ส่วนรองเท้า ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ละเอียดอ่อนของญี่ปุ่น ก็พร้อมจะยกเลิกโควตาภายในเวลา 7-10 ปี หลังจากนั้น ภาษีจะเป็น 0%
สำหรับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นนั้น ทางด้านภาษีรถยนต์ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นได้ข้อสรุปว่า รถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซี จะทยอยลดภาษีเป็นขั้นบันได ตั้งแต่ลงนามมีผลใช้บังคับ จนถึงปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) จากปัจจุบัน ภาษี 80% จะลดภาษีลงปีละ 5% เหลือ 75%, 70% และ 60% โดยจะคงภาษีที่ 60% ต่อไปจนถึงปี 2553 จะเหลือภาษีที่ 60% ก่อนจะมีการทบทวนอีกครั้ง
ส่วนรถยนต์ขนาดต่ำกว่า 3,000 ซีซี ไม่มีการลดภาษีใดๆ เพราะจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ และทางญี่ปุ่นก็เข้าใจข้อจำกัดดังกล่าวของไทย
ทางด้านภาษีนำเข้าเหล็ก ไทยจะเปิดเสรีสำหรับเหล็กที่ไทยผลิตไม่ได้ และมีความจำเป็นต้องใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยจะกำหนดโควตานำเข้าที่แน่นอน ซึ่งคณะเจรจาได้หารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการในประเทศก็มีท่าทีสนับสนุน
ขณะที่เหล็กที่ไทยผลิตเองได้และมีความละเอียดอ่อน จะคงภาษีไว้ที่เดิมเป็นเวลา 8-10 ปี เพื่อให้เอกชนไทยมีเวลาปรับตัว จากนั้น จึงจะค่อยๆ ปรับลดภาษีในภายหลัง
ที่กล่าวมาข้างต้นคือข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในการซึ่งเป็นข้อตกลงที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดครับ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับต้นๆ ของไทยของไทยทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก
ในปี 2547 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,442.870 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 541,757 ล้านบาทและการนำเข้ามูลค่า 901,112 ล้านบาท เป็นประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งและญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับสองของไทย
ปกติไทยจะขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่น โดยในปี 2547 ไทยขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นประมาณ 359,354 ล้านบาท
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่สำคัญคือ มูลค่าการค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าสินค้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นจะเพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดเสรีทางการค้า
ที่สำคัญการนำเข้าเหล็กและรถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซีจะมีการนำเข้ามากขึ้น ขณะที่ไทยจะสามารถส่งออกสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรไปยังญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาโครงสร้างการนำเข้าและการส่งออกสินค้าของไทยกับญี่ปุ่นจะสังเกตได้ว่าไทยพึ่งพิงสินค้าที่จำเป็นจากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ไทยพึ่งพิงจากญี่ปุ่นสูงถึง 80% จากการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด
ยิ่งเมื่อรวมหมวดยานยนต์ก็จะมีสัดส่วนสูงถึง 90% ของการนำเข้าทั้งหมด
ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปญี่ปุ่นมีสัดส่วนไม่มากนัก
การที่ไทยคาดว่าจะส่งออกสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น 40,000 ล้านบาทนั้น (จากเดิมที่ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปญี่ปุ่นประมาณ 8 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็น 10% ของการส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นทั้งหมด) หากเกิดขึ้นจริงจะเป็นประโยชน์เกษตรกรและเศรษฐกิจไทย (หากญี่ปุ่นพร้อมเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้ไทยและไม่กีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่น)
เมื่อพิจารณาทั้งสองด้านแล้วประเมินได้ว่า ไทยจะนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยสามารถส่งสินค้าออกไปยังญี่ปุ่นได้น้อยกว่า ซึ่งจะทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นมากขึ้นเป็นลำดับ
สิ่งที่น่าจับตาและต้องเร่งให้ภาคธุรกิจของไทยปรับตัวอย่างมากคงหนีไม่พ้นเรื่อง การนำเข้าเหล็ก และรถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซี ซึ่งเมื่อเปิดเสรีแล้ว เชื่อว่าการไหลเข้ามาของสินค้าดังกล่าวคงมีจำนวนมากอย่างแน่นอน
และผมก็เชื่อว่าราคาก็น่าจะพอๆ กับราคาที่ทำการผลิตในบ้านเราเอง
ดังนั้นคนอาจที่จะหันไปทำการซื้อรถยนต์ 3,000 ซีซี เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้รถยนต์ที่มีซีซีน้อยกว่า ต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่จะเข้ามาอย่างรุนแรงในปีหน้า
นอกจากนี้หากย้อนกลับไปดูเรื่องของเหล็ก ผมมองว่าเหล็กน่าจะได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยปกป้องไม่ให้เกิดการแข่งขัน แต่เมื่อเกิดการเปิดเสรีแล้วผมเชื่อว่าเหล็กน่าจะได้รับผลกระทบเพราะเหล็กที่นำเข้านั้นจะนำเข้ามาเพื่อทำการผลิตรถยนต์เป็นสำคัญ ทำให้โอกาสในการพัฒนาเหล็กของไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยอาจจะต้องสะดุดได้
ดังนั้นภาคธุรกิจคงต้องเร่งปรับตัวกันอย่างมาก หากยังไม่ปรับตัว ผมเชื่อว่าการเข้ามาของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของญี่ปุ่น คงเข้ามาทำร้ายธุรกิจในประเทศไทยอย่างแน่นอน
แต่หากธุรกิจไทยสามารถที่จะปรับตัวและเร่งหาแนวทางหรือช่องทางจากการที่ประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้ากับญี่ปุ่น รุกตลาดญี่ปุ่น ผมก็เชื่อว่าธุรกิจจะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล
แม้ว่าเราจะดูเสียเปรียบอยู่นิดๆ ก็ตาม
Impossible is Nothing