มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 32
การเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นการซื้อหุ้นจากนักลงทุนต่างประเทศซึ่งถือมานานแล้ว
และเป็นการซื้อที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง
อยากให้นักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ พิจารณาให้ดีก่อนขาย เพราะส่วนตัวผมเชื่อว่าจะมีการแทรกแซงสื่อจากการเมือง
ส่วนตัวผม เห็นใจผู้บริหารและกองบก. อยากให้มีสื่อที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า การถูกแทรกแซง
การถือไว้ก่อน รอดูสถานการณ์ ไม่ใช่สิ่งเสียหายอะไรครับ
และเป็นการซื้อที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง
อยากให้นักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ พิจารณาให้ดีก่อนขาย เพราะส่วนตัวผมเชื่อว่าจะมีการแทรกแซงสื่อจากการเมือง
ส่วนตัวผม เห็นใจผู้บริหารและกองบก. อยากให้มีสื่อที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า การถูกแทรกแซง
การถือไว้ก่อน รอดูสถานการณ์ ไม่ใช่สิ่งเสียหายอะไรครับ
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 33
เห็นด้วยนะครับที่ว่าให้ถือไว้ก่อน อย่างน้อยก็ช่วยเข้าร่วมเป็นฝ่ายเดียวกับผู้บริหารเดิม รวมกันแล้ว น่าจะเกิน 35% ของผู้ถือหุ้นนะครับ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 35
ส่วนตัวผม เชื่อว่า ผู้บริหารกลุ่มคุณขรรค์ชัย บุนปานไม่ขายแน่นอน
อย่าเพิ่งขายครับ ส่วนตัวผมถืออยู่จำนวนมากก็ไม่ขายแน่นอนครับ
การถือหุ้นมติชนไว้ นอกจากไม่เสียหายอะไร ยังเป็นการช่วยชาติทางอ้อมด้วยครับ
:lol: :lol: :lol:
อย่าเพิ่งขายครับ ส่วนตัวผมถืออยู่จำนวนมากก็ไม่ขายแน่นอนครับ
การถือหุ้นมติชนไว้ นอกจากไม่เสียหายอะไร ยังเป็นการช่วยชาติทางอ้อมด้วยครับ
:lol: :lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 37
สมมติว่า TO ไม่สำเร็จ ราคาจะตกไปอยู่ที่เดิมไหมครับ ดูผลประกอบการแล้วราคาปัจจุบันค่อนข้างแพงนะครับ หรือว่าผลประกอบการในอนาคตจะดีขึ้นได้อีกมาก ???
ในแง่คุณค่าของ MATI ผมเห็นด้วยที่ว่า การจะตั้งหนังสือพิมพ์ใหม่ เหมือนกับการเอาแบงค์มาพิมพ์(อย่างที่ดร.นิเวศน์เคยพูดไว้) ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ
แต่ในฐานะลงทุน ถ้ามีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดีในอนาคตก็จะช่วยการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นหนะครับ
ในแง่คุณค่าของ MATI ผมเห็นด้วยที่ว่า การจะตั้งหนังสือพิมพ์ใหม่ เหมือนกับการเอาแบงค์มาพิมพ์(อย่างที่ดร.นิเวศน์เคยพูดไว้) ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ
แต่ในฐานะลงทุน ถ้ามีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดีในอนาคตก็จะช่วยการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นหนะครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 39
ผมเชื่อว่า การ take over ครั้งนี้เป็นแบบไม่เป็นมิตร เพราะยังไม่มีคำชี้แจงใดๆจากมติชน
และเชื่อว่าจะได้หุ้นไม่ถึงตามที่ต้องการ ตามที่วงเงินที่ตั้งไว้
สาเหตุที่ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งขาย เพราะยังเวลาในการดูสถานการณ์ ยังไงก็ขายได้ราคา 11.10 บาทแน่นอน
เรื่องมูลค่าหุ้นที่มองว่าแพงเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงาน คงต้องรอดูคำชี้แจงของกลุ่มมติชน และ GMMM ก่อน
และเชื่อว่าจะได้หุ้นไม่ถึงตามที่ต้องการ ตามที่วงเงินที่ตั้งไว้
สาเหตุที่ผมแนะนำว่าอย่าเพิ่งขาย เพราะยังเวลาในการดูสถานการณ์ ยังไงก็ขายได้ราคา 11.10 บาทแน่นอน
เรื่องมูลค่าหุ้นที่มองว่าแพงเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงาน คงต้องรอดูคำชี้แจงของกลุ่มมติชน และ GMMM ก่อน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 42
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น ร้อยละ
นาย ขรรค์ชัย บุนปาน 4,991,700 24.35%
INVESTORS BANK AND TRUST COMPANY 2,174,500 10.61%
SOMERS (U.K.) LIMITED 1,936,663 9.45%
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,470,267 7.17%
THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 1,284,000 6.26%
N.C.B.TRUST LIMITED-RBS AS DEP FOR FS 1,000,000 4.88%
นาย ไพโรจน์ สายทุ้ม 739,068 3.61%
CHASE NOMINEES LIMITED 1 601,100 2.93%
BOSTON SAFE DEPOSIT AND TRUST COMPANY 592,300 2.89%
HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 452,700 2.21%
CREDIT SUISSE FIRST BOSTON (EUROPE) LTD 438,400 2.14%
น.ส. ปานบัว บุนปาน 382,875 1.87%
นาย ปราปต์ บุนปาน 382,800 1.87%
DBS VICKERS SECURITIES (SINGAPORE) PTE L 258,200 1.26%
นาง กมลทิพ พยัฆวิเชียร 233,866 1.14%
DEUTSCHE BANK INTERNATIONAL LTD. 200,000 0.98%
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 188,900 0.92%
NORTRUST NOMINEES LTD. 168,000 0.82%
นาย วิชัย มิตรสันติสุข 132,400 0.65%
นาย พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร 130,666 0.64%
THE BANK OF NEW YORK NOMINEES LTD A/C BA 127,700 0.62%
นาง เพาพิลาส เหมวชิรวรากร 110,000 0.54%
รายชื่อเมื่อปิดสมุคครั้งที่ผ่านมา กลุ่มคุณ ขรรค์ชัย มีหุ้นรวมกันประมาณ 30% นิดๆเอง
นาย ขรรค์ชัย บุนปาน 4,991,700 24.35%
INVESTORS BANK AND TRUST COMPANY 2,174,500 10.61%
SOMERS (U.K.) LIMITED 1,936,663 9.45%
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,470,267 7.17%
THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 1,284,000 6.26%
N.C.B.TRUST LIMITED-RBS AS DEP FOR FS 1,000,000 4.88%
นาย ไพโรจน์ สายทุ้ม 739,068 3.61%
CHASE NOMINEES LIMITED 1 601,100 2.93%
BOSTON SAFE DEPOSIT AND TRUST COMPANY 592,300 2.89%
HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 452,700 2.21%
CREDIT SUISSE FIRST BOSTON (EUROPE) LTD 438,400 2.14%
น.ส. ปานบัว บุนปาน 382,875 1.87%
นาย ปราปต์ บุนปาน 382,800 1.87%
DBS VICKERS SECURITIES (SINGAPORE) PTE L 258,200 1.26%
นาง กมลทิพ พยัฆวิเชียร 233,866 1.14%
DEUTSCHE BANK INTERNATIONAL LTD. 200,000 0.98%
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 188,900 0.92%
NORTRUST NOMINEES LTD. 168,000 0.82%
นาย วิชัย มิตรสันติสุข 132,400 0.65%
นาย พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร 130,666 0.64%
THE BANK OF NEW YORK NOMINEES LTD A/C BA 127,700 0.62%
นาง เพาพิลาส เหมวชิรวรากร 110,000 0.54%
รายชื่อเมื่อปิดสมุคครั้งที่ผ่านมา กลุ่มคุณ ขรรค์ชัย มีหุ้นรวมกันประมาณ 30% นิดๆเอง
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 43
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ มติชน มีดังนี้
กลุ่มต่างชาติหลายกลุ่มถือหุ้นมติชนในสัดส่วน 51% มาตั้งนานแล้ว เป็นผุ้ถือหุ้นอย่างเดียว ไม่เคยขายออก ไม่แทรกแซงการดำเนินงาน
กลุ่มต่างชาติที่ขายหุ้นออกให้ GMMM ครั้งนี้เป็นแค่บางกลุ่มประมาณ 32% ดังนั้นจึงมีต่างชาติอีกประมาณ 19% ไม่ได้ขายออกมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆจากมติชน ผมเชื่อว่า ผุ้บริหารคาดไม่ถึงว่ากลุ่มต่างชาติกลุ่มนี้ซึ่งถือหุ้นมานานมากจะขายหุ้นออก ดังนั้น การ Take over ครั้งนี้จึงเป็นการ Take overที่ไม่เป็นมิตร และผมเชื่อว่า จะไม่ได้หุ้นตามที่ต้องการ
นักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ น่าจะถือหุ้นอยู่เพื่อรอดูสถานการณ์ รอคำชี้แจงจากผู้บริหารมติชน เพราะยังไงขั้นต่ำก็ขายได้ราคา 11.10 บาทแน่นอน ซึ่งผู้ถือหุ้นมติชนล้วนมีกำไรพอสมควร หากจะขาดทุนก็จะขาดทุนกำไรนิดหน่อย นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยชาติทางอ้อม ไม่ให้สื่อถือครอบงำอย่างสมบูรณ์จากนักการเมือง
เป็นความเห็นส่วนตัวของผมเกี่ยวกับหุ้นมติชน ซึ่งผมติดตามมานานและถืออยู่มากพอสมควร และจะไม่ขายออกจนกว่าจะได้รับรู้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
อยากให้ผุ้ถือหุ้นมติชนทุกท่าน อย่าเพิ่งขายครับ
ถือเสียว่า เป็นการถือหุ้นเพื่อชาติครับ
กลุ่มต่างชาติหลายกลุ่มถือหุ้นมติชนในสัดส่วน 51% มาตั้งนานแล้ว เป็นผุ้ถือหุ้นอย่างเดียว ไม่เคยขายออก ไม่แทรกแซงการดำเนินงาน
กลุ่มต่างชาติที่ขายหุ้นออกให้ GMMM ครั้งนี้เป็นแค่บางกลุ่มประมาณ 32% ดังนั้นจึงมีต่างชาติอีกประมาณ 19% ไม่ได้ขายออกมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆจากมติชน ผมเชื่อว่า ผุ้บริหารคาดไม่ถึงว่ากลุ่มต่างชาติกลุ่มนี้ซึ่งถือหุ้นมานานมากจะขายหุ้นออก ดังนั้น การ Take over ครั้งนี้จึงเป็นการ Take overที่ไม่เป็นมิตร และผมเชื่อว่า จะไม่ได้หุ้นตามที่ต้องการ
นักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ น่าจะถือหุ้นอยู่เพื่อรอดูสถานการณ์ รอคำชี้แจงจากผู้บริหารมติชน เพราะยังไงขั้นต่ำก็ขายได้ราคา 11.10 บาทแน่นอน ซึ่งผู้ถือหุ้นมติชนล้วนมีกำไรพอสมควร หากจะขาดทุนก็จะขาดทุนกำไรนิดหน่อย นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยชาติทางอ้อม ไม่ให้สื่อถือครอบงำอย่างสมบูรณ์จากนักการเมือง
เป็นความเห็นส่วนตัวของผมเกี่ยวกับหุ้นมติชน ซึ่งผมติดตามมานานและถืออยู่มากพอสมควร และจะไม่ขายออกจนกว่าจะได้รับรู้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
อยากให้ผุ้ถือหุ้นมติชนทุกท่าน อย่าเพิ่งขายครับ
ถือเสียว่า เป็นการถือหุ้นเพื่อชาติครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 45
http://www.manager.co.th/Politics/ViewN ... 0000125046
นักข่าวมติชน-โพสต์ช็อก อากู๋ เทกโอเวอร์- เจ๊ยุ ชี้มีเบื้องหลัง
นักข่าว มติชน-บางกอกโพสต์ ช็อกข่าวแกรมมี่ซื้อหุ้นเทกโอเวอร์ ยันซื้อได้แค่ตึกที่ทำการ แต่ไม่ยอมขายวิญญาณเด็ดขาด ประชดต่อไปคงต้องหันมาจับไมค์ออกเทปกันบ้าง เจ๊ยุ ตั้งข้อสังเกตผู้ซื้ออยากเป็นผู้ทรงอิทธิพลในสังคมและอาจมีเบื้องหลัง สมาคมนักข่าวตื่นเตรียมจัดเสวนา จับตาแกรมมี่ฮุบมติชน-โพสต์ ธุรกิจการเมือง-เสรีภาพสื่อมวลชน พฤหัสฯนี้
วันนี้ (13 ก.ย.) หลังจากมีข่าวการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นด้านสื่อสารมวลชนครั้งยิ่งใหญ่ โดยบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2548 เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าได้ซื้อหุ้นบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ล่าสุดได้มีปฏิกิริยาจากผู้สื่อข่าวบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าวประจำทำเนียบรัฐบาลระบุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยรู้มาก่อน แม้กระทั่งผู้บริหารหนังสือพิมพ์เหล่านั้น
หลายคนยังตั้งตัวไม่ติด และไม่รู้ว่าจะต้องปรับตัวเองอย่างไร ผู้สื่อข่าวอาวุโสหลายคนในเครือของหนังสือพิมพ์มติชน และบางกอกโพสต์ระบุเป็นเสียงเดียวกัน และยังย้ำว่าการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวผู้สื่อข่าวได้ เพราะการซื้อหุ้นก็ซื้อได้แค่เพียงบริษัท ตึก โต๊ะ หรือเก้าอี้เท่านั้น แต่ไม่สามารถซื้อตัวผู้สื่อข่าวได้
เมื่อแกรมมี่มาถือหุ้นบริษัทฯ แล้วคงต้องไปหัดร้องเพลงบ้าง เพราะอีกหน่อยอาจจะต้องเปลี่ยนไปออกเทปแทน หรือหากสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์ในเครือโพสต์วันนี้ โหลดริงโทน(เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ) ในเครือแกรมมี่ฟรี 2 ปี นักข่าวบางคนกล่าวประชดประชัน
ตามการแถลงของตัวแทนบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่มี นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรือที่รู้จักกันในนาม อากู๋ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงการลงทุนซื้อหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์มติชน จำนวน 32.23 เปอร์เซ็นต์ และซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จำนวน 23.60 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เงินลงทุนเพื่อการนี้กว่า 2,000 ล้านบาท
นางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า การที่มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ด้วยการลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาลเป็นประวัติการณ์ของสื่อไทย มองได้หลายแง่ แง่หนึ่งถือเป็นการลงทุนตามธรรมดา หุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ถ้ามีคนขายเขาก็สามารถที่จะซื้อได้ แต่อีกแง่หนึ่งเป็นเรื่องของการอยากเข้ามามีธุรกิจทางด้านนี้เพื่อที่ทรงอิทธิพล ต้องยอมรับว่าสื่อมีอิทธิพลสูง ใครได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของธุรกิจทางด้านนี้ก็จะกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลดังจะเห็นตัวอย่างนักธุรกิจในต่างประเทศที่เป็นเจ้าของสื่ออย่างครบวงจร ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
นายทุนที่เข้ามาซื้อหุ้นจะมีแนวนโยบายอย่างไร หากมีความเข้าใจในวิชาชีพสื่อมวลชนก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหวังที่จะครอบงำคงทำไม่ได้ เพราะว่าสื่อเองมีความเป็นอิสระ มีความเป็นวิชาชีพ ถ้าไม่เข้าใจคิดว่าสื่อสามารถสั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ คงจะคิดผิด คงซื้อได้แค่ อสังหาริมทรัพย์ จิตวิญญาณคงซื้อไม่ได้ คนที่ทำอาชีพนี้เป็นผู้มีความละเอียดอ่อน เพราะทุกคนทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในการเป็นกระจกเงาสะท้อน และตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา เราไม่ได้เป็นเครื่องมือเพื่อไว้ปกป้องผลประโยชน์หรือไว้เชียร์ใคร ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าว
นางยุวดี ยังตั้งข้อสังเกตว่า การลงทุนกว่า 2 พันล้านเพื่อซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และหนังสือพิมพ์มติชนในครั้งนี้ เป็นการฉีกแนวจากธุรกิจที่มีอยู่เดิมไม่ทราบว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่ คงต้องดูกันต่อไป ของอย่างนี้คงปิดบังกันได้ไม่ง่าย
ด้าน นายภัทระ คำพิทักษ์ อุปนายกด้านสิทธิเสรีภาพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ใน 2-3 วันนี้ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะมีการหารือกันในเรื่องนี้เพื่อหาหนทางในการทำความเข้าใจต่อสาธารณชน เนื่องจากกรณีนี้มีการซื้อหุ้นของสื่อมวลชนมากกว่าปกติย่อมก่อให้เกิดผลกระทบกับการบริหารและนโยบายของสื่อมวลชนอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าคนที่เข้ามาใหม่จะเข้าใจและแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ของสาธารณะ กับผลประโยชน์ของบริษัทออกจากกันได้อย่างไร เพราะผู้ที่เข้ามาใหม่เป็นนักธุรกิจที่ยากจะเข้าใจในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์จะถือเอาการรักษาผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลประโยชน์ของบริษัท อุปนายกด้านสิทธิมนุษยชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าว
นายภัทระกล่าวยกตัวอย่างกรณีของหนังสือพิมพ์มติชนว่า ยังมีคนที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งคือผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่ถึงแม้จะเป็นรายย่อยก็มีผลมาก เพราะเป็นผู้ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยเหล่านี้จึงต้องเข้าใจว่าหุ้นที่ตนเองเหลืออยู่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ และขอให้คิดว่าการถือหุ้นตรงนี้เป็นการถือหุ้นเพื่อชาติก็ได้ และประชาชนก็ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา จับตากรณีนี้ให้ดี เพราะเคยมีบทเรียนเกี่ยวกับการเข้ามาถือหุ้นของสื่อมวลชนโดยกลุ่มทุนของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีมาแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะจัดการเสวนาเรื่อง จับตาแกรมมี่ฮุบมติชน-โพสต์ ธุรกิจการเมือง-เสรีภาพสื่อมวลชน ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน นี้ เวลา 10.00 น.ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยอีกด้วย
นักข่าวมติชน-โพสต์ช็อก อากู๋ เทกโอเวอร์- เจ๊ยุ ชี้มีเบื้องหลัง
นักข่าว มติชน-บางกอกโพสต์ ช็อกข่าวแกรมมี่ซื้อหุ้นเทกโอเวอร์ ยันซื้อได้แค่ตึกที่ทำการ แต่ไม่ยอมขายวิญญาณเด็ดขาด ประชดต่อไปคงต้องหันมาจับไมค์ออกเทปกันบ้าง เจ๊ยุ ตั้งข้อสังเกตผู้ซื้ออยากเป็นผู้ทรงอิทธิพลในสังคมและอาจมีเบื้องหลัง สมาคมนักข่าวตื่นเตรียมจัดเสวนา จับตาแกรมมี่ฮุบมติชน-โพสต์ ธุรกิจการเมือง-เสรีภาพสื่อมวลชน พฤหัสฯนี้
วันนี้ (13 ก.ย.) หลังจากมีข่าวการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นด้านสื่อสารมวลชนครั้งยิ่งใหญ่ โดยบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2548 เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าได้ซื้อหุ้นบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ล่าสุดได้มีปฏิกิริยาจากผู้สื่อข่าวบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าวประจำทำเนียบรัฐบาลระบุว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยรู้มาก่อน แม้กระทั่งผู้บริหารหนังสือพิมพ์เหล่านั้น
หลายคนยังตั้งตัวไม่ติด และไม่รู้ว่าจะต้องปรับตัวเองอย่างไร ผู้สื่อข่าวอาวุโสหลายคนในเครือของหนังสือพิมพ์มติชน และบางกอกโพสต์ระบุเป็นเสียงเดียวกัน และยังย้ำว่าการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวผู้สื่อข่าวได้ เพราะการซื้อหุ้นก็ซื้อได้แค่เพียงบริษัท ตึก โต๊ะ หรือเก้าอี้เท่านั้น แต่ไม่สามารถซื้อตัวผู้สื่อข่าวได้
เมื่อแกรมมี่มาถือหุ้นบริษัทฯ แล้วคงต้องไปหัดร้องเพลงบ้าง เพราะอีกหน่อยอาจจะต้องเปลี่ยนไปออกเทปแทน หรือหากสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์ในเครือโพสต์วันนี้ โหลดริงโทน(เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ) ในเครือแกรมมี่ฟรี 2 ปี นักข่าวบางคนกล่าวประชดประชัน
ตามการแถลงของตัวแทนบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่มี นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรือที่รู้จักกันในนาม อากู๋ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงการลงทุนซื้อหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์มติชน จำนวน 32.23 เปอร์เซ็นต์ และซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จำนวน 23.60 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เงินลงทุนเพื่อการนี้กว่า 2,000 ล้านบาท
นางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า การที่มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ด้วยการลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาลเป็นประวัติการณ์ของสื่อไทย มองได้หลายแง่ แง่หนึ่งถือเป็นการลงทุนตามธรรมดา หุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ถ้ามีคนขายเขาก็สามารถที่จะซื้อได้ แต่อีกแง่หนึ่งเป็นเรื่องของการอยากเข้ามามีธุรกิจทางด้านนี้เพื่อที่ทรงอิทธิพล ต้องยอมรับว่าสื่อมีอิทธิพลสูง ใครได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของธุรกิจทางด้านนี้ก็จะกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลดังจะเห็นตัวอย่างนักธุรกิจในต่างประเทศที่เป็นเจ้าของสื่ออย่างครบวงจร ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
นายทุนที่เข้ามาซื้อหุ้นจะมีแนวนโยบายอย่างไร หากมีความเข้าใจในวิชาชีพสื่อมวลชนก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหวังที่จะครอบงำคงทำไม่ได้ เพราะว่าสื่อเองมีความเป็นอิสระ มีความเป็นวิชาชีพ ถ้าไม่เข้าใจคิดว่าสื่อสามารถสั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ คงจะคิดผิด คงซื้อได้แค่ อสังหาริมทรัพย์ จิตวิญญาณคงซื้อไม่ได้ คนที่ทำอาชีพนี้เป็นผู้มีความละเอียดอ่อน เพราะทุกคนทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในการเป็นกระจกเงาสะท้อน และตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา เราไม่ได้เป็นเครื่องมือเพื่อไว้ปกป้องผลประโยชน์หรือไว้เชียร์ใคร ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าว
นางยุวดี ยังตั้งข้อสังเกตว่า การลงทุนกว่า 2 พันล้านเพื่อซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และหนังสือพิมพ์มติชนในครั้งนี้ เป็นการฉีกแนวจากธุรกิจที่มีอยู่เดิมไม่ทราบว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่ คงต้องดูกันต่อไป ของอย่างนี้คงปิดบังกันได้ไม่ง่าย
ด้าน นายภัทระ คำพิทักษ์ อุปนายกด้านสิทธิเสรีภาพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ใน 2-3 วันนี้ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะมีการหารือกันในเรื่องนี้เพื่อหาหนทางในการทำความเข้าใจต่อสาธารณชน เนื่องจากกรณีนี้มีการซื้อหุ้นของสื่อมวลชนมากกว่าปกติย่อมก่อให้เกิดผลกระทบกับการบริหารและนโยบายของสื่อมวลชนอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่าคนที่เข้ามาใหม่จะเข้าใจและแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ของสาธารณะ กับผลประโยชน์ของบริษัทออกจากกันได้อย่างไร เพราะผู้ที่เข้ามาใหม่เป็นนักธุรกิจที่ยากจะเข้าใจในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์จะถือเอาการรักษาผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลประโยชน์ของบริษัท อุปนายกด้านสิทธิมนุษยชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าว
นายภัทระกล่าวยกตัวอย่างกรณีของหนังสือพิมพ์มติชนว่า ยังมีคนที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งคือผู้ถือหุ้นรายย่อย แต่ถึงแม้จะเป็นรายย่อยก็มีผลมาก เพราะเป็นผู้ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายย่อยเหล่านี้จึงต้องเข้าใจว่าหุ้นที่ตนเองเหลืออยู่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ และขอให้คิดว่าการถือหุ้นตรงนี้เป็นการถือหุ้นเพื่อชาติก็ได้ และประชาชนก็ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา จับตากรณีนี้ให้ดี เพราะเคยมีบทเรียนเกี่ยวกับการเข้ามาถือหุ้นของสื่อมวลชนโดยกลุ่มทุนของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีมาแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จะจัดการเสวนาเรื่อง จับตาแกรมมี่ฮุบมติชน-โพสต์ ธุรกิจการเมือง-เสรีภาพสื่อมวลชน ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน นี้ เวลา 10.00 น.ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยอีกด้วย
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 46
:lol:
You-Know-Who ค้านสุดตัว
ก็เห็นด้วยครับว่ามันแปลก ๆ
ยึด se-ed เอาไว้ขายแต่มติชน,โพสต์ และเทปแกรมมี่เหรอ? พังทั้งแถบแน่ ๆ เหมือน Parmalat ที่เพิ่งมีคนโพสไป
ว่าแต่ GMMM ซื้อ MATI-F นี่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารไม่ใช่หรือครับ ? :roll:
You-Know-Who ค้านสุดตัว
ก็เห็นด้วยครับว่ามันแปลก ๆ
ยึด se-ed เอาไว้ขายแต่มติชน,โพสต์ และเทปแกรมมี่เหรอ? พังทั้งแถบแน่ ๆ เหมือน Parmalat ที่เพิ่งมีคนโพสไป
ว่าแต่ GMMM ซื้อ MATI-F นี่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารไม่ใช่หรือครับ ? :roll:
มนุษย์เห่อลูก :lol:
http://tyakon.multiply.com
http://tyakon.multiply.com
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 48
เรียน คุณ Chatchai
ในโลกแห่งความจริงมักแตกแต่งจากความฝันเสมอ
เราไม่คิดจะเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่การเมืองก็มาเกี่ยวข้องกับเราเสมอ
น้ำมันไม่ขึ้นราคาก็เพราะการเมือง เพราะใกล้เลือกตั้ง
น้ำมันขึ้นราคาก็เกี่ยวกับการเมือง เพราะรัฐอุ้มราคาต่อไม่ไหว
ชีวิตเราจึงหลีกหนีการเมืองไม่พ้น
สำหรับที่คุณ Chatchai แนะนำให้พนักงานลาออกให้หมด
ชีวิตจริงมันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด
ไม่เช่นนั้น ทุกคนคงลาออกจากงานมาเล่นหุ้นเหมือนคุณ Chatchai แล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคนมติชนมีศักดิศรี
ผมถือหุ้นมติชน ไม่ใช่เพราะเป็นหุ้นพื้นฐานดีอย่างเดียว แต่เป็นเพราะผู้บริหารมีคุณธรรม ในปีที่ผ่านมาก็ได้ทำสิ่งที่ดีต่อผู้ถือหุ้น (ขออนุญาตไม่กล่าวถึงเพราะต้องพาดพิงถึงผุ้อื่น) ซึ่งยิ่งทำให้ผมเชื่อมั่นมาก
คงต้องดูกันต่อไป ว่า คนมติชนจะแสดงออกถึงศักดิ์ศรีอย่างไร
ในฐานะนักลงทุน ผมเชื่อว่า นักลงทุนที่ดี ไม่ใช่คิดถึงแต่กำไรสูงสุด แต่ต้องมีคุณธรรมด้วย
ต้องขออภัย หากความเห็นผมอาจจะแตกต่างไปบ้าง
ช่วงนี้เลือดรักชาติ รักความถูกต้องของผมมันรุนแรง
มันพุ่งกระฉูดเหมือนราคาหุ้นมติชน
ในโลกแห่งความจริงมักแตกแต่งจากความฝันเสมอ
เราไม่คิดจะเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่การเมืองก็มาเกี่ยวข้องกับเราเสมอ
น้ำมันไม่ขึ้นราคาก็เพราะการเมือง เพราะใกล้เลือกตั้ง
น้ำมันขึ้นราคาก็เกี่ยวกับการเมือง เพราะรัฐอุ้มราคาต่อไม่ไหว
ชีวิตเราจึงหลีกหนีการเมืองไม่พ้น
สำหรับที่คุณ Chatchai แนะนำให้พนักงานลาออกให้หมด
ชีวิตจริงมันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด
ไม่เช่นนั้น ทุกคนคงลาออกจากงานมาเล่นหุ้นเหมือนคุณ Chatchai แล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคนมติชนมีศักดิศรี
ผมถือหุ้นมติชน ไม่ใช่เพราะเป็นหุ้นพื้นฐานดีอย่างเดียว แต่เป็นเพราะผู้บริหารมีคุณธรรม ในปีที่ผ่านมาก็ได้ทำสิ่งที่ดีต่อผู้ถือหุ้น (ขออนุญาตไม่กล่าวถึงเพราะต้องพาดพิงถึงผุ้อื่น) ซึ่งยิ่งทำให้ผมเชื่อมั่นมาก
คงต้องดูกันต่อไป ว่า คนมติชนจะแสดงออกถึงศักดิ์ศรีอย่างไร
ในฐานะนักลงทุน ผมเชื่อว่า นักลงทุนที่ดี ไม่ใช่คิดถึงแต่กำไรสูงสุด แต่ต้องมีคุณธรรมด้วย
ต้องขออภัย หากความเห็นผมอาจจะแตกต่างไปบ้าง
ช่วงนี้เลือดรักชาติ รักความถูกต้องของผมมันรุนแรง
มันพุ่งกระฉูดเหมือนราคาหุ้นมติชน
- tummeng
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 49
รายงานพิเศษ..."มติชน" จะถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้งจริงหรือ?
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 กันยายน 2548 16:36 น.
การเข้าถือหุ้นในบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) หรือ MATI และบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) หรือ POST สองยักษ์ใหญ่ วงการสื่อสิ่งพิมพ์เมืองไทย ของ บริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) และ"อากู๋-นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ในสัดส่วน 32% และ 23.60% ในวันนี้กล่าวได้ว่า ยังคงเต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์และคำถามที่ว่า...
แท้จริงแล้ว"อากู๋" หวังผลในเชิงการเมือง หรือ หวังผลในเชิงธุรกิจกันแน่ !
และที่น่าสนใจอีกก็คือ การเข้าเทคโอเวอร์บริษัทมติชน ครั้งนี้ เป็นไปในลักษณะเป็นมิตร หรือไม่เป็นมิตรกันแน่ ?
นายกิตติพงศ์ อุระพีพัฒนพงศ์ กรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ กล่าวว่า การที่บริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย เข้าซื้อหุ้นมติชน และโพสต์ พับลิชชิง ถือเป็นการเทคโอเวอร์อย่างหนึ่ง เพียงแต่ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นข้างมากเท่านั้น แต่ก็เชื่อว่าผู้บริหารของทั้ง 3 ฝ่าย น่าจะมีการหารือในรายละเอียดกันมาแล้วก่อนหน้านี้
เพราะการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนสูงถึง 32.23% และ 26% ตามลำดับ คงเป็นไปได้ที่ผู้ถือหุ้นจะไม่ทราบเรื่องมาก่อน
อย่างไรก็ตาม หากผู้บริหารของมติชน และโพสต์ ไม่ทราบเรื่อง ก็จะกลายเป็นการเทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาตามมาเหมือนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นในหลายกรณี
การขยายขอบเขตธุรกิจของแกรมมี่ไปสู่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ หากเปรียบเทียบกับในต่างประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะจะทำให้แกรมมี่มีเครือข่ายธุรกิจครบวงจร คือ มีหนังสือพิมพ์ในสังกัดถึง 5 ฉบับ โดยการใช้เงินเพียง 2,600 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะเดียวกันสามารถใช้สื่อสิ่งพิมพ์ทำการประชาสัมพันธ์
และโฆษณากิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทได้ โดยสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี ถ้าดูผลประกอบการของแกรมมี่ย้อนหลัง 6 เดือน จะพบว่าดีกว่าทั้งโพสต์และมติชน ซึ่งการเทคโอเวอร์ในครั้งนี้ น่าจะทำให้ผลประกอบการของแกรมมี่ดีขึ้น เพราะไม่ต้องเสียงบประมาณด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สามารถใช้พื้นที่สื่อหนังสือพิมพ์รายวันที่มีชื่อเสียงทั้งสองฉบับทำการโฆษณาได้
ส่วนการขอซื้อหุ้นมติชนคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้น นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยต้องศึกษาข้อมูลและตัดสินใจว่าจะขายหุ้นให้กับฝ่ายแกรมมี่หรือไม่ โดยหากเห็นว่าผลประกอบการของมติชนจะดีขึ้น ก็สามารถตัดสินใจถือหุ้นต่อไปได้
*รอการชี้แจงจากมติชน
สำหรับการเข้าถือหุ้นในสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่เมืองไทย 2 แห่งพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะใน MATI ที่"อากู๋" เข้าถือหุ้นเกินกว่า 32% ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ฮือฮากว่า การเข้าไปถือหุ้นใน POST ที่ยังครองหุ้นได้แค่ 23% ซึ่งก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวส่งสัญญาณออกมาแล้ว ประเด็นความน่าสนหลังการเข้ามาถือหุ้น MATI ของ"อากู๋" จึงอยู่ที่ผู้บริหารและเจ้าของบริษัทมติชน เป็นอันดับแรก
ตลาดหลักทรัพย์แห่งะเทศไทย (ตลท.) จึงได้ขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) หลักทรัพย์ของ MATI ตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป เพื่อรอการชี้แจงหลังจากที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) (GMMM) ได้แจ้งมติคณะกรรมการวันที่ 12 กันยายน 2548 เกี่ยวกับการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) (MATI) จำนวน 66,077,100 หุ้นหรือคิดเป็น 32.23% ของทุนชำระแล้วของ MATI และ GMMMจะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดของ MATI จากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป (Tender Offer) ร่วมกับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการถือหุ้นของ MATI ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ระหว่างการรอคำชี้แจงจาก MATI
*โพสต์แจงได้แค่ 23%
วันนี้(13ก.ย.)นายโจฮานเนส เบอร์นาร์ดุ๊ส ฟันเดอร์ลินเดน กรรมการบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) (POST) แจ้งว่า ตามที่บริษัท จี เอ็ม เอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2548 ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)
โดยได้เข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นบางรายในกลุ่มจิราธิวัฒน์ และกรรณสูต และอื่น ๆ
ทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือครองมากกว่า 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยเป็นดังนี้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ถือครอง 23.60%, กลุ่มจิราธิวัฒน์ ถือครอง 24.40% และเซ้าท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ 20.28%
ทั้งนี้หากบริษัททราบรายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบอีกครั้ง และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าวข้างต้นนี้ บริษัทคาดว่าน่าจะทำให้เกิดความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่สามารถใช้ทรัพยากร และจุดแข็งของผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
*จากประชาชาติสู่มติชน
หากพูดถึงสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สื่อในกลุ่ม"มติชนรายวัน"ย่อมถูกจัดให้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์แนวธุรกิจฉบับหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งคีย์แมนคนสำคัญของเครือมติชน ก็คือ
นายขรรค์ชัย บุนปาน, นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร, สุจิตต์ วงศ์เทศ, ซึ่งถือว่าเป็นผู้ร่วมคิดค้นและบุกเบิก เพื่อให้เกิดหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ หนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน "ประชาชาติรายสัปดาห์" ออกสู่สายตาประชาชน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2516
ต่อมาก็เกิด หนังสือพิมพ์รายวัน อีกฉบับหนึ่ง คือ "ประชาชาติ" ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2517
สนนราคาขายของหนังสือพิมพ์ ประชาชาติรายวันครั้งแรกเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับบ่ายมีจำนวน 12 หน้า ในราคา 2 บาท มีบางช่วงได้ลดราคาลงเป็น 1.50 บาทและพิมพ์ออกจำหน่ายในภาคเช้าในช่วงแรกดำเนินไปด้วยดี มีบุคคลในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐบาลหรือเอกชนสนใจ
ปี 2518 เข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลง "เดอะเนชั่น" โดยคณะกรรมการบริหาร ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อหนังสือพิมพ์ได้ประกาศหยุดกิจการหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ด้วยเหตุผลว่าขาดทุน
ทีมหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวันเดิม จึงพร้อมใจกันมาเปิดกิจการใหม่ต่อเนื่องกัน แกนนำในขณะนั้นระบุว่ามี นายขรรค์ชัย บุนปาน, นายสุจิตต์ วงษ์เทศ, พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงาน อพยพย้ายสถานที่จากอาคารพญาไท ถนนศรีอยุธยา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ หนังสือพิมพ์เป็น "รวมประชาชาติ" ดำเนินงานโดยบริษัท ประชาชาติ จำกัด
หนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติรายวันดำเนินการเรื่อยมากระทั่งปี 2519 เมื่อมีความปั่นป่วนทางการเมือง แล้วหนังสือพิมพ์ก็ถูกปิดเพื่อหยุดยั้งการเสนอข่าวและภาพที่ปรากฎขึ้นเพื่อยุติ และขจัดความขัดแย้งรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ชั่วคราว
ว่ากันว่ามีหนังสือพิมพ์ที่ถูกปิดทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น 13 ฉบับ ในจำนวนนี้หนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติ ก็เป็นหนึ่งในจำนวน นั้นที่คณะ
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่อนุญาตให้หนังสือพิมพ์ที่ถูกปิดได้ออกใหม่ นอกจากนี้ยังมีคำสั่งห้ามในทางลับ มิให้คณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์รวมประชาชาติรายวัน ทำหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างเด็ดขาด
แต่แล้วคณะบริหารชุดเดิมที่เหลืออยู่ก็ได้คิดออกหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ-ธุรกิจ รายสัปดาห์แทน ชื่อว่า"เข็มทิศธุรกิจ" เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยเสนอ ข่าวธุรกิจทั้งด้านรัฐ และด้านเอกชน ตลอดจน ความเคลื่อนไหวการลงทุน และตลาดหลักทรัพย์
ปี 2521 ได้ผลิตหนังสือพิมพ์แนวเดียวกับ "รวมประชาชาติ" ในชื่อใหม่ว่า "มติชน" จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน1 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อ ประกอบธุรกิจการพิมพ์ โดยเป็นผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ ในระยะเริ่มแรก จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันชื่อ มติชน เป็นหนังสือ พิมพ์รายวันทั่วไป ที่เสนอข่าวเน้นหนักไปทาง ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยออกควบคู่ไปกับ หนังสือพิมพ์เข็มทิศธุรกิจ ราย 3 วัน
ต่อมาจึงกำเนิด "มติชนสุดสัปดาห์" รายสัปดาห์ และ นิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม"รายเดือน จัดตั้ง บริษัท งานดี จำกัด ขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ของบริษัท และรับจำหน่ายหนังสือพิมพ์ ของสำนักพิมพ์อื่นๆ ด้วย และ ออกนิตยสาร "เทคโนโลยีชาวบ้าน" รายปักษ์
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2532 มติชน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และในปีนี้เอง ได้ออกหนังสือพิมพ์ "สปอร์ตนิวส์" รายวันเสนอข่าวกีฬา ปีได้เข้าซื้อกิจการ บริษัทข่าวสด จำกัด ซึ่งผลิตหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" รายวัน
ล่าสุดบริษัทได้มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 205 ล้านบาท
*การเมืองหรือธุรกิจ
จนถึงขณะนี้ผู้คนไม่น้อยยังคงตั้งข้อสังเกตุการเข้าซื้อหุ้นของ"อากู๋"ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากภาพของ"อากู๋" ที่ผ่านมามีความใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อย่างปฏิเสธไม่ได้
ประจวบกับก่อนหน้านี้กลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ได้เข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG เกือบ 25% ด้วยแล้วยิ่งตอกย้ำความสังสัยของผู้คน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตั้งข้อสังเกตุจากการติดตามอ่านหนังสือพิมพ์ของมติชนว่า มีหลายคอลัมน์ที่เขียนข่าวในลักษณะที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลในปัจจุบัน
ทำให้การเข้าซื้อหุ้นของอากู๋วันนี้แม้จะมีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้คนเชื่อสนิทใจได้
ขณะเดียวกันนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุน กล่าวถึงการที่บริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้น มติชน และโพสต์จากผู้ถือหุ้นเดิม มองว่า ถือเป็นการต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการประเมินว่า การเข้าเทคโอเวอร์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จหรือไม่
เพราะที่ผ่านมาเคยมีการเทคโอเวอร์ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่เข้าข่ายว่าจะถูกเทคโอเวอร์
เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ และยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่มีอัตราการเติบโตสูง และราคาหุ้นยังถูก
"ดังนั้น การเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทที่มีศักยภาพทั้งทางด้านบุคลากรและการบริหาร จึงเป็นวิธีที่ต่างประเทศนิยมทำ และคาดว่าจะเห็นมากขึ้นในประเทศต่อจากนี้" นายก้องเกียรต์ กล่าว
สุดท้ายไม่ว่า"อากู๋"จะทำเพื่อการเมือง หรือ เพื่อธุรกิจของกลุ่มแกรมมี่ แต่สิ่งที่เชื่อว่าหนีไม่พ้น ก็คือ มติชนซึ่งเติบโตผ่านวิกฤตทั้งการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง กำลังจะถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้ง
ส่วนวงการสื่อสิ่งพิมพ์จะถึงยุคเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือไม่นั้นยังต้องติดตามการเข้ามาของกลุ่มทุนการเมือง และกลุ่มทุนใกล้ชิดการเมืองจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของสื่อมวลชนแค่ไหน ?
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 กันยายน 2548 16:36 น.
การเข้าถือหุ้นในบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) หรือ MATI และบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) หรือ POST สองยักษ์ใหญ่ วงการสื่อสิ่งพิมพ์เมืองไทย ของ บริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) และ"อากู๋-นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ในสัดส่วน 32% และ 23.60% ในวันนี้กล่าวได้ว่า ยังคงเต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์และคำถามที่ว่า...
แท้จริงแล้ว"อากู๋" หวังผลในเชิงการเมือง หรือ หวังผลในเชิงธุรกิจกันแน่ !
และที่น่าสนใจอีกก็คือ การเข้าเทคโอเวอร์บริษัทมติชน ครั้งนี้ เป็นไปในลักษณะเป็นมิตร หรือไม่เป็นมิตรกันแน่ ?
นายกิตติพงศ์ อุระพีพัฒนพงศ์ กรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ กล่าวว่า การที่บริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย เข้าซื้อหุ้นมติชน และโพสต์ พับลิชชิง ถือเป็นการเทคโอเวอร์อย่างหนึ่ง เพียงแต่ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นข้างมากเท่านั้น แต่ก็เชื่อว่าผู้บริหารของทั้ง 3 ฝ่าย น่าจะมีการหารือในรายละเอียดกันมาแล้วก่อนหน้านี้
เพราะการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนสูงถึง 32.23% และ 26% ตามลำดับ คงเป็นไปได้ที่ผู้ถือหุ้นจะไม่ทราบเรื่องมาก่อน
อย่างไรก็ตาม หากผู้บริหารของมติชน และโพสต์ ไม่ทราบเรื่อง ก็จะกลายเป็นการเทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาตามมาเหมือนในอดีตที่เคยเกิดขึ้นในหลายกรณี
การขยายขอบเขตธุรกิจของแกรมมี่ไปสู่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ หากเปรียบเทียบกับในต่างประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะจะทำให้แกรมมี่มีเครือข่ายธุรกิจครบวงจร คือ มีหนังสือพิมพ์ในสังกัดถึง 5 ฉบับ โดยการใช้เงินเพียง 2,600 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะเดียวกันสามารถใช้สื่อสิ่งพิมพ์ทำการประชาสัมพันธ์
และโฆษณากิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทได้ โดยสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี ถ้าดูผลประกอบการของแกรมมี่ย้อนหลัง 6 เดือน จะพบว่าดีกว่าทั้งโพสต์และมติชน ซึ่งการเทคโอเวอร์ในครั้งนี้ น่าจะทำให้ผลประกอบการของแกรมมี่ดีขึ้น เพราะไม่ต้องเสียงบประมาณด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สามารถใช้พื้นที่สื่อหนังสือพิมพ์รายวันที่มีชื่อเสียงทั้งสองฉบับทำการโฆษณาได้
ส่วนการขอซื้อหุ้นมติชนคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้น นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยต้องศึกษาข้อมูลและตัดสินใจว่าจะขายหุ้นให้กับฝ่ายแกรมมี่หรือไม่ โดยหากเห็นว่าผลประกอบการของมติชนจะดีขึ้น ก็สามารถตัดสินใจถือหุ้นต่อไปได้
*รอการชี้แจงจากมติชน
สำหรับการเข้าถือหุ้นในสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่เมืองไทย 2 แห่งพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะใน MATI ที่"อากู๋" เข้าถือหุ้นเกินกว่า 32% ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ฮือฮากว่า การเข้าไปถือหุ้นใน POST ที่ยังครองหุ้นได้แค่ 23% ซึ่งก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวส่งสัญญาณออกมาแล้ว ประเด็นความน่าสนหลังการเข้ามาถือหุ้น MATI ของ"อากู๋" จึงอยู่ที่ผู้บริหารและเจ้าของบริษัทมติชน เป็นอันดับแรก
ตลาดหลักทรัพย์แห่งะเทศไทย (ตลท.) จึงได้ขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) หลักทรัพย์ของ MATI ตั้งแต่การซื้อขายรอบเช้าของวันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป เพื่อรอการชี้แจงหลังจากที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) (GMMM) ได้แจ้งมติคณะกรรมการวันที่ 12 กันยายน 2548 เกี่ยวกับการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) (MATI) จำนวน 66,077,100 หุ้นหรือคิดเป็น 32.23% ของทุนชำระแล้วของ MATI และ GMMMจะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดของ MATI จากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป (Tender Offer) ร่วมกับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการถือหุ้นของ MATI ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ระหว่างการรอคำชี้แจงจาก MATI
*โพสต์แจงได้แค่ 23%
วันนี้(13ก.ย.)นายโจฮานเนส เบอร์นาร์ดุ๊ส ฟันเดอร์ลินเดน กรรมการบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) (POST) แจ้งว่า ตามที่บริษัท จี เอ็ม เอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2548 ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)
โดยได้เข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นบางรายในกลุ่มจิราธิวัฒน์ และกรรณสูต และอื่น ๆ
ทำให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือครองมากกว่า 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยเป็นดังนี้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ถือครอง 23.60%, กลุ่มจิราธิวัฒน์ ถือครอง 24.40% และเซ้าท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ 20.28%
ทั้งนี้หากบริษัททราบรายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบอีกครั้ง และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าวข้างต้นนี้ บริษัทคาดว่าน่าจะทำให้เกิดความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่สามารถใช้ทรัพยากร และจุดแข็งของผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
*จากประชาชาติสู่มติชน
หากพูดถึงสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สื่อในกลุ่ม"มติชนรายวัน"ย่อมถูกจัดให้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์แนวธุรกิจฉบับหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งคีย์แมนคนสำคัญของเครือมติชน ก็คือ
นายขรรค์ชัย บุนปาน, นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร, สุจิตต์ วงศ์เทศ, ซึ่งถือว่าเป็นผู้ร่วมคิดค้นและบุกเบิก เพื่อให้เกิดหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ หนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน "ประชาชาติรายสัปดาห์" ออกสู่สายตาประชาชน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2516
ต่อมาก็เกิด หนังสือพิมพ์รายวัน อีกฉบับหนึ่ง คือ "ประชาชาติ" ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2517
สนนราคาขายของหนังสือพิมพ์ ประชาชาติรายวันครั้งแรกเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับบ่ายมีจำนวน 12 หน้า ในราคา 2 บาท มีบางช่วงได้ลดราคาลงเป็น 1.50 บาทและพิมพ์ออกจำหน่ายในภาคเช้าในช่วงแรกดำเนินไปด้วยดี มีบุคคลในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านรัฐบาลหรือเอกชนสนใจ
ปี 2518 เข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลง "เดอะเนชั่น" โดยคณะกรรมการบริหาร ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อหนังสือพิมพ์ได้ประกาศหยุดกิจการหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ด้วยเหตุผลว่าขาดทุน
ทีมหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวันเดิม จึงพร้อมใจกันมาเปิดกิจการใหม่ต่อเนื่องกัน แกนนำในขณะนั้นระบุว่ามี นายขรรค์ชัย บุนปาน, นายสุจิตต์ วงษ์เทศ, พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงาน อพยพย้ายสถานที่จากอาคารพญาไท ถนนศรีอยุธยา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ หนังสือพิมพ์เป็น "รวมประชาชาติ" ดำเนินงานโดยบริษัท ประชาชาติ จำกัด
หนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติรายวันดำเนินการเรื่อยมากระทั่งปี 2519 เมื่อมีความปั่นป่วนทางการเมือง แล้วหนังสือพิมพ์ก็ถูกปิดเพื่อหยุดยั้งการเสนอข่าวและภาพที่ปรากฎขึ้นเพื่อยุติ และขจัดความขัดแย้งรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ชั่วคราว
ว่ากันว่ามีหนังสือพิมพ์ที่ถูกปิดทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น 13 ฉบับ ในจำนวนนี้หนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติ ก็เป็นหนึ่งในจำนวน นั้นที่คณะ
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่อนุญาตให้หนังสือพิมพ์ที่ถูกปิดได้ออกใหม่ นอกจากนี้ยังมีคำสั่งห้ามในทางลับ มิให้คณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์รวมประชาชาติรายวัน ทำหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างเด็ดขาด
แต่แล้วคณะบริหารชุดเดิมที่เหลืออยู่ก็ได้คิดออกหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ-ธุรกิจ รายสัปดาห์แทน ชื่อว่า"เข็มทิศธุรกิจ" เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยเสนอ ข่าวธุรกิจทั้งด้านรัฐ และด้านเอกชน ตลอดจน ความเคลื่อนไหวการลงทุน และตลาดหลักทรัพย์
ปี 2521 ได้ผลิตหนังสือพิมพ์แนวเดียวกับ "รวมประชาชาติ" ในชื่อใหม่ว่า "มติชน" จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน1 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อ ประกอบธุรกิจการพิมพ์ โดยเป็นผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ ในระยะเริ่มแรก จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันชื่อ มติชน เป็นหนังสือ พิมพ์รายวันทั่วไป ที่เสนอข่าวเน้นหนักไปทาง ข่าวการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยออกควบคู่ไปกับ หนังสือพิมพ์เข็มทิศธุรกิจ ราย 3 วัน
ต่อมาจึงกำเนิด "มติชนสุดสัปดาห์" รายสัปดาห์ และ นิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม"รายเดือน จัดตั้ง บริษัท งานดี จำกัด ขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ของบริษัท และรับจำหน่ายหนังสือพิมพ์ ของสำนักพิมพ์อื่นๆ ด้วย และ ออกนิตยสาร "เทคโนโลยีชาวบ้าน" รายปักษ์
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2532 มติชน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และในปีนี้เอง ได้ออกหนังสือพิมพ์ "สปอร์ตนิวส์" รายวันเสนอข่าวกีฬา ปีได้เข้าซื้อกิจการ บริษัทข่าวสด จำกัด ซึ่งผลิตหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" รายวัน
ล่าสุดบริษัทได้มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 205 ล้านบาท
*การเมืองหรือธุรกิจ
จนถึงขณะนี้ผู้คนไม่น้อยยังคงตั้งข้อสังเกตุการเข้าซื้อหุ้นของ"อากู๋"ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากภาพของ"อากู๋" ที่ผ่านมามีความใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อย่างปฏิเสธไม่ได้
ประจวบกับก่อนหน้านี้กลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ได้เข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG เกือบ 25% ด้วยแล้วยิ่งตอกย้ำความสังสัยของผู้คน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตั้งข้อสังเกตุจากการติดตามอ่านหนังสือพิมพ์ของมติชนว่า มีหลายคอลัมน์ที่เขียนข่าวในลักษณะที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลในปัจจุบัน
ทำให้การเข้าซื้อหุ้นของอากู๋วันนี้แม้จะมีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้คนเชื่อสนิทใจได้
ขณะเดียวกันนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุน กล่าวถึงการที่บริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้น มติชน และโพสต์จากผู้ถือหุ้นเดิม มองว่า ถือเป็นการต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการประเมินว่า การเข้าเทคโอเวอร์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จหรือไม่
เพราะที่ผ่านมาเคยมีการเทคโอเวอร์ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่เข้าข่ายว่าจะถูกเทคโอเวอร์
เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ และยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่มีอัตราการเติบโตสูง และราคาหุ้นยังถูก
"ดังนั้น การเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทที่มีศักยภาพทั้งทางด้านบุคลากรและการบริหาร จึงเป็นวิธีที่ต่างประเทศนิยมทำ และคาดว่าจะเห็นมากขึ้นในประเทศต่อจากนี้" นายก้องเกียรต์ กล่าว
สุดท้ายไม่ว่า"อากู๋"จะทำเพื่อการเมือง หรือ เพื่อธุรกิจของกลุ่มแกรมมี่ แต่สิ่งที่เชื่อว่าหนีไม่พ้น ก็คือ มติชนซึ่งเติบโตผ่านวิกฤตทั้งการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง กำลังจะถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้ง
ส่วนวงการสื่อสิ่งพิมพ์จะถึงยุคเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือไม่นั้นยังต้องติดตามการเข้ามาของกลุ่มทุนการเมือง และกลุ่มทุนใกล้ชิดการเมืองจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของสื่อมวลชนแค่ไหน ?
Price is what you pay. Value is what you get...
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 50
คงไม่เกี่ยวอะไรกับการที่ผมลาออกจากงานมาเล่นหุ้นมั๊งครับNo Name เขียน: สำหรับที่คุณ Chatchai แนะนำให้พนักงานลาออกให้หมด
ชีวิตจริงมันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด
ไม่เช่นนั้น ทุกคนคงลาออกจากงานมาเล่นหุ้นเหมือนคุณ Chatchai แล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคนมติชนมีศักดิศรี
ถ้าเจ้าของ MATI เดิมขายหุ้นทั้งหมดให้ทาง GMMM แล้วนำเงินไปตั้งบริษัทใหม่
รับพนักงานเดิมที่ลาออกจาก MATI
ออกหัวหนังสือพิมพ์ใหม่ลักษณะเดิม
ผมก็สงสัยว่าทำไมจะทำไม่ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 51
อยากเรียนถามคุณno nameว่า
1.แกรมมี่ต้องเก็บหุ้นเท่าไหร่ถึงจะเอาออกจากตลาดได้ครับ
2.ถ้าเค้าถือหุ้นได้มากพอที่จะเอาออกจากตลาดได้
จะถือต่อมั้ยครับ ถ้าเค้ายังให้ผู้บริหารชุดเดิมบริหารต่อ
1.แกรมมี่ต้องเก็บหุ้นเท่าไหร่ถึงจะเอาออกจากตลาดได้ครับ
2.ถ้าเค้าถือหุ้นได้มากพอที่จะเอาออกจากตลาดได้
จะถือต่อมั้ยครับ ถ้าเค้ายังให้ผู้บริหารชุดเดิมบริหารต่อ
หนักแน่นในแนวทางviพันธ์แท้
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 52
เรื่องซื้อหุ้นกระดานต่างประเทศchatchai เขียน:
มีสิทธิแน่นอนครับ สิทธิการออกเสียงสำหรับคนไทยไม่มีจำกัดครับ มีที่จำกัดเฉพาะต่างชาติ
เปลี่ยนเป็นโอนหุ้นมาเป็นไทยได้เพียง3วัน
เรื่องการใช้สิทธิ์ คงใช้ได้ทั้งหมดครับ
ผมเคยถือหุ้นกระดานต่างประเทศ
เวลาถึงตอนเพิ่มทุน หรือประชุมก็โอนมาเป็นไทยได้
แต่จะโอนกลับไปกระดานต่างประเทศไม่ได้อีกครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 53
คุณประจวบ เขียน
ขั้นตอนการขอออกนอกตลาดนั้น ขั้นตอนสุดท้าย คือต้องมีรายย่อยคัดค้านไม่เกิน 10%
แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่า GMMM จะไม่สามารถซื้อหุ้นได้ครบ และไม่เชื่อว่าจะออกนอกตลาด
อย่างไรก็ตาม หากต้องออกนอกตลาด ส่วนใหญ่ผมจะขายหุ้นทิ้งทั้งหมด แล้วนำเงินไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นต่อ เหมือนที่ผ่านมาผมก็ขาย ASTL ทิ้ง และทุกวันนี้ยังประท้วงด้วยการไม่ซื้อสินค้าของ ASTL
อยากเรียนถามคุณno nameว่า
1.แกรมมี่ต้องเก็บหุ้นเท่าไหร่ถึงจะเอาออกจากตลาดได้ครับ
2.ถ้าเค้าถือหุ้นได้มากพอที่จะเอาออกจากตลาดได้
จะถือต่อมั้ยครับ ถ้าเค้ายังให้ผู้บริหารชุดเดิมบริหารต่อ
ขั้นตอนการขอออกนอกตลาดนั้น ขั้นตอนสุดท้าย คือต้องมีรายย่อยคัดค้านไม่เกิน 10%
แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่า GMMM จะไม่สามารถซื้อหุ้นได้ครบ และไม่เชื่อว่าจะออกนอกตลาด
อย่างไรก็ตาม หากต้องออกนอกตลาด ส่วนใหญ่ผมจะขายหุ้นทิ้งทั้งหมด แล้วนำเงินไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นต่อ เหมือนที่ผ่านมาผมก็ขาย ASTL ทิ้ง และทุกวันนี้ยังประท้วงด้วยการไม่ซื้อสินค้าของ ASTL
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 55
ขายหมดไปตั้งใหม่อาจไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ
เมื่อกี้ผมสงสัยในข้อนี้เลยลองไปเปิด 56-1 ดูครับ
เห็นว่ามติชนนั้นมีรายได้จากหนังสือพิมพ์ประมาณนี้ครับ
ข่าวสด 650
มติชน 450
ประชาชาติ 250
ข้อนี้อาจจะทำให้การตั้งหัวหนังสือพิมพ์ขึ้นมาใหม่ทำได้ยากขึ้นครับ
เพราะว่าคนที่อ่านข่าวสด กับมติชนน่าจะติดกันหัวหนังสือพิมพ์นี้ไม่ใช่เล่นครับ
แต่กำไร 4% กับการลงทุน 2000 ล้าน ผมคิดว่า GRAMMY พื้นฐานเปลี่ยนครับ
เมื่อกี้ผมสงสัยในข้อนี้เลยลองไปเปิด 56-1 ดูครับ
เห็นว่ามติชนนั้นมีรายได้จากหนังสือพิมพ์ประมาณนี้ครับ
ข่าวสด 650
มติชน 450
ประชาชาติ 250
ข้อนี้อาจจะทำให้การตั้งหัวหนังสือพิมพ์ขึ้นมาใหม่ทำได้ยากขึ้นครับ
เพราะว่าคนที่อ่านข่าวสด กับมติชนน่าจะติดกันหัวหนังสือพิมพ์นี้ไม่ใช่เล่นครับ
แต่กำไร 4% กับการลงทุน 2000 ล้าน ผมคิดว่า GRAMMY พื้นฐานเปลี่ยนครับ
_________
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 56
ถ้าสุดท้ายอากู๋เปลี่ยนใจ แทนที่จะซื้อดันมาขายซะเอง เห็นราคาวิ่งมาขนาดดดดนี้
พวกรายย่อยก็ไม่รู้ กว่าจะแจ้งตลาด ก็ขายหมดไปแล้ว
แบบนี้จะเข้าข่ายปั่นหุ้นไหมครับ? อิอิ People love conspiracies :lovl:
พวกรายย่อยก็ไม่รู้ กว่าจะแจ้งตลาด ก็ขายหมดไปแล้ว
แบบนี้จะเข้าข่ายปั่นหุ้นไหมครับ? อิอิ People love conspiracies :lovl:
I do not sleep. I dream.
- Coldwater Canyon
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 58
ส่วนตัวผม ยังไงก็ไม่ยอมขาย แน่นอนครับ ถึงแม้ว่าจะมีอยู่น้อยนิด :D
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครถือ MATI บ้างหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 60
ขอแสดงความยินดีกับผู้ถือหุ้นมติชนที่ยังถือหุ้นอยู่
ขณะนี้ น่าเชื่อว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้จะเป็นการ take over ไม่เป็นมิตร
มีแนวโน้มว่าราคา tender offer น่าจะสูงขึ้น เพราะ ราคาตลาดขณะนี้ 14.50 บาท
การถือหุ้นเพื่อชาติครั้งนี้ จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ขอแสดงความยินดีอีกครั้งครับ
ขณะนี้ น่าเชื่อว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้จะเป็นการ take over ไม่เป็นมิตร
มีแนวโน้มว่าราคา tender offer น่าจะสูงขึ้น เพราะ ราคาตลาดขณะนี้ 14.50 บาท
การถือหุ้นเพื่อชาติครั้งนี้ จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ขอแสดงความยินดีอีกครั้งครับ