#2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.คเชนท
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
#2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.คเชนท
โพสต์ที่ 1
สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม บริษัท และผู้บริหาร อ.คเชนทร์ เบญจกุล
5 Forces Model Analysis
1. Potential Entrants การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่
- ความยากง่ายของการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ จะขึ้นอยู่กับ barrier to entry เช่น เงินทุน เทคโนโลยี know-how brand สัมปทาน Economy of scale
- ธุรกิจที่เข้ามาง่าย คนอยากเข้ามาก เช่นธุรกิจที่ทำแล้วมี owner value มีความสุขทางใจ มีเกียรติ โดยที่อาจไม่สนใจเรื่อง return มากนัก เช่น โรงแรม สนามกอล์ฟ ร้านกาแฟ สปา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มักเป็นคนรวยแล้วมาทำ
- ธุรกิจที่ทำแล้วปวดหัว เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ บริหารคนจำนวนมาก หรือ ธุรกิจที่สภาพแวดล้อมแย่ๆ อาจไม่ค่อยมีคนสนใจทำ แต่ return ดี เช่น โรงพยาบาล ค้าปลีก ธุรกิจโรงศพ รับซื้อขยะ แปรรูปเนื้อสัตว์
- barrier to entry ต่ำ คู่แข่งเข้าง่าย ตลาดจะเป็น red ocean มีการแข่งขันสูง
- Brand Value มีความสำคัญ ธุรกิจบางอย่าง สร้างแบรนด์ใช้เงินสูงกว่าสร้างโรงงาน
- Economy of scale คือ barrier อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คู่แข่งเข้ามาได้ยาก
- หุ้นที่ตลาดมีการเติบโตปานกลางถึงสูง และมี barrier to entry สูง มีโอกาสเป็น super stock สูง
2. Bargaining Power of Buyer อำนาจต่อรองของลูกค้า
- ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากแค่ไหน
- ผู้ผลิต OEM ชิ้นส่วนประกอบ packaging จะมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ
- ผู้ผลิต commodity แทบไม่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าเลย เนื่องจากสินค้าเหมือนกันหมด ลูกค้าไปซื้อกับคนอื่นได้ แต่ commodity บางอย่าง อาจมีการสร้างแบรนด์ขึ้นมาเช่น น้ำตาล เกลือ
- ธุรกิจที่ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรอง มักเป็นธุรกิจที่ขายคุณภาพ brand name หรือ ขายความสะดวก เช่น LV (Gross margin 80%) AfterYou ลูกค้าต้องต่อแถวกันซื้อ และถ้าต้นทุนเพิ่มสามารถขึ้นราคาได้ทันที
- สินค้าที่ลูกค้าไม่รู้ราคาล่วงหน้า และลูกค้าไม่สามารถต่อรองราคาได้ เช่น โรงพยาบาล
- ธุรกิจที่ ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากๆ มักจะมีระยะเวลาของลูกหนี้การค้าค่อนข้างนาน เช่น ลูกค้า คือห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ทำให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง (working cap สูง)
- สินค้าที่รับเงินสด มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูงมาก เช่น ค้าปลีก
- หุ้นที่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง จะมีความสามารถในการปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่า เช่น ร้านอาหาร (แต่เมื่อต้นทุนลง ก็ไม่ลดราคาขาย)
3. Bargaining Power of Supplier
- บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ supplier สูง จะมี credit term ยาว ทำให้การเติบโตของยอดขายไม่ต้องใช้ working cap มาก และเมื่อต้นทุนสูงขึ้น supplier มักช่วยรับภาระให้ด้วย เช่น ค้าปลีก
- บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ supplier ต่ำ จะมี credit term สั้น เช่น บริษัทนำเข้าสินค้าต่างๆ
- การดู bargaining power of supplier & customer บริษัทไหนมี A/R มากกว่า A/P มากๆ bargainingไม่ดี บริษัทที่ A/R น้อยกว่า A/P มากๆ แสดงว่า bargaining สูง
- BUY COMMODITY, SELL BRAND (Warren Buffet) ซื้อวัตถุดิบ commo แต่ขายเป็นสินค้าแบรนด์ เช่น S&P Oishi แบบนี้ดีมาก มี margin สูง
- หุ้นประเภท specialty store เช่น BGT JMART JUBILE SE-ED S&P เช่าพื้นที่ห้าง มีอำนาจต่อรองต่ำ ค่าเช่าปรับสูงกว่าเงินเฟ้อทุกปี ทำให้ต้องมี same store sale สูงกว่าการขึ้นค่าเช่า
- HMPRO ROBINS BIGC MAJOR เป็น magnet ให้กับศูนย์การค้า ทำให้ค่าเช่าต่ำ และมีส่วนที่สร้างเองบนที่ดินเอง ทำให้ค่าเช่าเพิ่มไม่มากเท่าในห้าง
- CPALL เช่าตึกแถว ค่าเช่าเพิ่มน้อยกว่าในห้าง
4. Substitutes สินค้าทดแทน
- เป็นการวิเคราะห์จากปัจจจัยภายนอก ว่า หุ้นที่เราลงทุน จะมีสินค้าอะไรมาทดแทนได้ในอนาคต
- หุ้นสินค้าเทคโนโลยี จะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้สูง เช่น โทรศัพท์มือถือแทนโทรศัพท์บ้าน, Tablet แทนnotebook , download เพลงหนัง แทน CD VCD, กล้องดิจิตอลแทนกล้องฟิล์ม, Community mall แทนตึกแถว
- การจะดูเทรนด์ว่า อะไรจะมาทดแทน อาจจะใช้การไปเที่ยวต่างประเทศ โดยสังเกตประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นผู้นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลง และประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นผู้ตาม
- บางครั้งเป็นการทดแทนกันเนื่องจาก behavior หรือ life style change เช่น ร้านสะดวกซื้อแทนโชว์ห่วย, hypermarket แทนตลาดสด, ทานอาหารนอกบ้านแทนทำทานเองที่บ้าน(เกิดจากสังคมรีบเร่ง ครอบครัวเล็กลง), ผ้าอ้อมกระดาษแทนผ้าอ้อมผ้า(ครอบครัวเล็ก ไม่มีคนดูแล ไปนอกบ้านบ่อย สะดวก), ทานอาหารในห้างแทนอาหารห้องแถว(หาที่จอดรถยาก), รถไฟฟ้าแทนรถยนต์ taxi
- SF มาทดแทนตึกแถวเช่า เติบโตได้มาก Barrier to entry หลักคือ เงินทุน จึงทำให้ barrier ต่ำ, ใครมีเงินทุนก็เข้ามาได้ สถาปนิกที่ออกแบบ ใครก็จ้างได้ถ้ามีเงิน, Bargaining power of supplier ในระยะหลัง ราคาที่ดินแพงขึ้นมาก หาพื้นที่ยาก Landlord บางรายสนใจทำเอง, Bargaining power of buyer ต้องให้ค่าเช่าต่ำกับ anchor เพื่อดึงดูดคนเข้าศูนย์ (CPN สูงกว่า SF)
5. Industry Rivalry การแข่งขันของคู่แข่งปัจจุบัน
- แข่งขันรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับจำนวนผู้เล่น เช่น ค่ายมือถือ แข่งขันรุนแรงน้อยลง โปรโมชั่นไม่ดุเดือดเหมือนเมื่อก่อน
- จำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับ barrier to entry
- สินค้าที่มี price sensitive สูงมักจะมีการแข่งขันด้านราคามาก ทำให้ profit margin ไม่สม่ำเสมอ
- สินค้าที่ลูกค้าใช้ปัจจัยคุณภาพในการตัดสินใจ จะแข่งขันน้อยกว่า
การนำ 5 Forces มาใช้กับ DCF
- อำนาจต่อรองกับ Supplier สูง credit term ยาว เติบโตโดยใช้ working cap น้อย >> ดี
- อำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ ทำให้อายุลูกหนี้การค้ายาว การเติบโตต้องใช้ working cap สูง และอาจถูกต่อรองราคาทำให้ margin ที่ไม่แน่นอน >> ไม่ดี
- ธุรกิจที่มี barrier to entry ต่ำ และมีการแข่งขันสูง มีโอกาสเกิดการแข่งขันด้านราคา ทำให้ความแม่นยำในการทำนายอนาคตน้อยลง
5 Force สัมพันธ์กับ SWOT Analysis ในส่วนของ threats (หรืออาจจะเป็น opportunities ก็ได้ถ้าอำนาจต่อรองน้อย) ถ้าทำได้ทั้ง 2 อย่าง จะทำให้วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์คู่แข่ง ทำได้ดีขึ้นมาก
การวิเคราะห์ Working Cap
- บริษัทส่วนใหญ่ จะมี เจ้าหนี้การค้า < ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ
- บริษัทที่มี เจ้าหนี้การค้า > ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ (เช่น cpall) มักเป็นบริษัทที่ขายเงินสด มีอำนาจต่อรอง supplier สูง ไม่มีหนี้ที่มีดอกเบี้ย และจ่ายปันผลได้ดี
หุ้นที่จะเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ย
1)โตมากกว่า GDP (GDP+เงินเฟ้อด้วย = 4% + 3% = โตมากกว่า 7%)
- หากลูกค้ามีรายได้เพิ่ม จะใช้สินค้าเพิ่ม คนไม่เคยใช้ก็จะซื้อเพิ่ม
- มักเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต สุขภาพ สินค้าที่มีคุณภาพ
- สินค้าบางอย่าง คนรวยมากขึ้นแต่ใช้เท่าเดิม เช่น สบู่ แชมพู แบบนี้ไม่ใช่
2) Market share gain from
- traditional จากร้านค้าแบบดั้งเดิม เช่น โชว์ห่วย ตลาดสด และธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีสาขาเดียว
- competitors คู่แข่งขันรายใหญ่ใช้ economy of scale แย่งชิง market share จากรายเล็ก แต่ก็มีโอกาสถูกแย่งคืนเช่นกัน ยกตัวอย่าง SIRI LH PS
3) Increase Penetration
- เป็นการเพิ่มปริมาณการใช้หรือสัดส่วนการใช้ต่อคน
- ตัวอย่างเช่นธุรกิจมือถือ (แต่ก่อนยังน้อย ปัจุบันเยอะขึ้นมาก)
4) Mega Trend
- การดูแลสุขภาพ > โรงพยาบาล
- สังคมผู้สูงอายุ อายุขัยที่ยาวขึ้น (ป่วยง่าย รักษาได้ ตายยาก โรงพยาบาล) ตอนนี้ อันดับประเทศที่คนอายุยืนที่สุด 1.ฮ่องกง 2.ญี่ปุ่น ชายไทยอายุเฉลี่ย 70 ปี หญิงไทยอายุเฉลี่ย 76 ปี
- ขนาดครอบครัวเล็กลง > คอนโด อาหารสะดวกซื้อ
- ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น
- การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี มือถือ แทบเลต
- เดินทางรถไฟฟ้ามากขึ้น
- การเปิดเสรีต่างๆ AEC คนไทยไปทำงานต่างประเทศยาก (ไม่อยากย้ายงาน ภาษา) บริษัทที่จะขยายต้องเตรียมการเรื่องคน, ในขณะเดียวกัน แรงงานต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในไทย จะเจอข้อจำกัดเรื่องภาษาไทยที่เป็น barrier to entry อย่างหนึ่ง
- People, service mobility การเดินทางที่ถูกลง สังเกต ตั๋วเครื่องบินไม่ค่อยขึ้นราคา คงที่หรือลดลงตลอด
การวิเคราะห์ผู้บริหาร
- % ownership 50-70% น่าจะเป็นจุด optimum
- weath หลักของเจ้าของ มีส่วนเป็นการสร้างแรงจูงใจในการบริหารงานของเจ้าของ ถ้ามี weath หลักในสัดส่วนที่ไม่มาก เช่น เจ้าของทำธุรกิจหลายอย่าง ทำให้ผู้บริหารขาดแรงจูงใจ
- พฤติกรรมในอดีต รายการระหว่างกัน การเอาเปรียบผู้ถือหุ้น ลอง search ใน google ดูประวัติที่ผ่านมา
- โครงสร้างกรรมการ ความอิสระของกรรมการอิสระและตรวจสอบ
- โครงการ ESOP employee stock option program
- โครงการ EJIP employee joint invest program เช่น cpall cpf dsgt makro uac
การวิเคราะห์ค่าเสื่อมราคา
- ค่าเสื่อม 3 ประเภท 1.ตัดค่าเสื่อมหมดซื้อใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ แม่พิมพ์ 2.ตัดค่าเสื่อมหมดยังใช้ได้ระยะหนึ่ง เช่น เรือ รถยนต์ สวนตกแต่งร้านค้า และอาจต้องมีค่าซ่อมแซมด้วย 3.ตัดค่าเสื่อมหมดยังใช้ได้อีกนาน เช่น อาคาร
- ค่าเสื่อมแบบที่ 1 ไม่เป็น free cash flow แบบที่ 3 มีความเป็น free cash flow สูง
- หุ้นประเภทค้าปลีก โรงพยาบาล โรงแรม จะมีค่าเสื่อมแบบที่ 2-3 ในสัดส่วนที่มาก สามารถนำค่าเสื่อมมาใช้ในการลงทุนในอนาคตได้ เช่น cpn ตัดค่าเสื่อมหมด ยังไม่ทุบทิ้ง ใช้รีโนเวท
การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ Capex
- capital expenditure มี 2 แบบ 1. capex for maintain competitiveness เช่นการเปลี่ยนเครื่องจักรแทนเครื่องที่หมดอายุ การ renovate สถานที่ การเปลี่ยนแม่พิมพ์ 2. capex for growth เช่น การลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ การขยายสาขา
- บริษัททีมี capex for maintain สูง เมื่อเทียบกำไรแต่ละปีจะเป็นบริษัทที่มีการจ่ายปันผลต่ำ มีหนี้สินตลอดเวลา
- หุ้นที่มีการเติบโตโดยใช้ capex ต่ำ ยิ่งดี เพราะทำให้โตได้โดยมีความเสี่ยงที่จะต้องเพิ่มทุนต่ำ และโตได้โดยที่ยังจ่ายปันผลได้สูง
การวิเคราะห์หุ้นจากความรู้สึำำกตนเอง (และคนรอบข้าง)
- เราเป็นคนส่วนใหญ่ที่สะท้อนพฤติกรรมหรือไม่ ?
- ถ้าเรารายได้มากกว่า 30000 บาท/เดือน ยิ่งมากเท่าไหร่ เราจะห่างจากคนส่วนใหญ่มากเท่านั้น
- การนำความคิดเราหรือความคิดเพื่อนรอบตัวเรา อาจทำให้วิเคราะห์หุ้นตลาด mass ผิดพลาด
- หุ้นตลาด mass เช่น bigc robins bch dsgt jubilee s&p singer tk
- bigC เดินโลตัสดีกว่าเยอะเลย
- robins มีคนเดินด้วยหรอ
- bch ไม่เคยเข้าไปรักษาเลย
- dsgt เห็นมีแต่คนซื้อ poko
- jubilee ซื้อร้านเพชรสะพานเหล็กดีกว่า
- S&P อาหารงั้นๆ ไปกิน coffee beans ดีกว่า (ร้านที่ขยายสาขาได้มาก ไม่จำเป็นต้องทำสินค้าที่ดีที่สุด แต่ทำให้เหมาะสมกับคนส่วนใหญ่ และสามารถบริหารจัดการได้ไม่ยากจนเกินไป)
- singer มีคนใช้ด้วยหรอ
- การซื้อหุ้น เราต้องศึกษาจากพฤติกรรมคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่แค่จากพฤติกรรมของเราและคนรอบข้าง
- การดูจำนวนลูกค้าจากความรู้สึก เช่น hmpro 1.คนเดินน้อย พนักงานเยอะ จริงๆ แล้วพนักงานที่เห็นเป็นพนักงาน PC ซึ่งคือพนักงานเชียร์สินค้าที่ supplier ส่งมาประจำสาขา 2. hmpro รายได้ต่อบิล 3000 บาท bigc รายได้ต่อบิล 500 บาท ลูกค้า 6 คนใน bigc = ลูกค้า 1 คนใน hmpro, jubilee มีคนเข้าด้วยหรอ เห็นเงียบตลอด จริงๆ แล้วแค่คนซื้อ 1 ชิ้นต่อวัน ประมาณ 30000 บาท ร้านก็อยู่ได้แล้ว
การวิเคราะห์หุ้นค้าปลีก
- same store sale สำคัญมาก เพราะบอกกำไรแต่ละสาขาในระยะยาว โดยต้องเทียบ ค่าแรง ค่าเช่า ที่ขึ้นทุกปี
- กลุ่มค้าปลีกที่ capture demand ได้ตั้งแต่วันแรกที่เปิดจะทำให้ same store sale โตไม่มาก เช่น วันเปิด bigc คนล้นทะลัก หลังจากนั้นคนจะน้อยลงจนสู่ภาวะปกติ
- สิ่งที่เหมือนกันในค้าปลีกคือ ขายเงินสด
- สิ่งที่ต่างกันในค้าปลีกคือ ระยะเวลาสินค้าคงคลัง ของสินค้าแต่ละชนิด และระยะเวลาจ่ายเงิน supplier จะสะท้อนอำนาจต่อรอง
- Retail is Detail การมีสาขามาก จะทำให้มีความยากในการบริหาร detail เช่น คน ระบบ logistic
การวิเคราะห์หุ้นโรงพยาบาล
- ไม่สามารถที่จะ capture demand ในปีแรกๆ ทำให้ช่วง 2-3 ปีแรก อาจจะขาดทุน
- การซื้อกิจการถ้าทำได้จะดีกว่าการเปิดใหม่เอง ได้ทั้งแพทย์ ลูกค้า และกำไรในปีที่ซื้อ แต่ไม่ทำให้เกิด supply ใหม่ในระบบ
- growth มาจาก 1.จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.รายได้/ผู้ป่วย เพิ่มขึ้น (มาจากการปรับราคาและความซับซ้อนของโรคที่เพิ่มขึ้น)
- ความกลัวเรื่องฟ้องร้องทำให้เกิด over investigate ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มอาหาร
- ร้านอาหาร มีลักษณะคล้ายๆ ค้าปลีก เรื่อง cash flow cycle
- อาหารที่ขายให้ end user จะมี price power สูงกว่า
- การทานข้าวนอกบ้านเมื่อก่อนทานเมื่อมีโอกาสสำคัญ ปัจจุบันเป็น everyday life มากขึ้น
- หุ้นอาหารพวก commodity จะมีกำไรผันผวนตามราคาสินค้า
ปัจจัยตามฤดูกาล
- รายได้อาจแปรตามฤดูกาล การนำรายได้ Q1 คูณ4 หรือ H1 คูณ2 อาจได้ผลคลาดเคลื่อน
- ค้าปลีก Q4 เทศกาล > Q1 > Q2 พอๆ กับQ3 หน้าฝน
- โรงพยาบาล Q3 หน้าฝน ป่วยบ่อย > Q1 > Q4 > Q2
- เครื่องดื่ม Q2 ดีสุด หน้าร้อน
- ผ้าอ้อม Q2 แย่สุด อากาศร้อน เด็กฉี่น้อย
- Advertising Q1 แย่สุด Q4 ดีสุด
- แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่ Q4 จะมีรายได้ดีสุด แต่กำไรอาจไม่ดีที่สุด เนื่องจากมีการบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ใน Q4
การวิเคราะห์หุ้นวัฎจักร
- กำไรขึ้นลงตามราคาสินค้า มีโอกาสทำกำไรมากๆ หรือขาดทุนมากๆ ได้เสมอ
- จำนวนปีของช่วงเวลาขาขึ้นและขาลงสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เพิ่ม supply ใหม่ 1.ระยะเวลาเพิ่ม supply สั้น เช่น พืชผลเกษตร การเลี้ยงสัตว์ 2. ระยะเวลาเพิ่ม supply ยาว เช่น บริษัทเดินเรือ 3-4 ปี ปิโตร 3-4 ปี ยางพารา 7 ปี
- การใช้ PE ในการหาราคาเป้าหมายหุ้นวัฎจักรเป็นเรื่องอันตรายมาก ระวัง PE ต่ำในปีที่ peak
- ตัวอย่างหุ้น เช่น ptl sta psl
- การซื้อหุ้นวัฎจักรควรซื้อช่วงที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของราคาผลิตภัณฑ์
- แต่สัญญาณมีทั้ง true signal หรือ false signal ถ้าทำง่ายคงรวยกันหมดแล้ว
- จังหวะซื้อจึงเป็นศิลปะและเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างมาก
- ก่อนการฟื้นตัว อุตสาหกรรมควรจะตกต่ำยาวนานพอที่จะทำให้ไม่มี supply ใหม่ออกมาอย่างยาวนาน ผู้ประกอบการมีปัญหาทางการเงิน มีการซื้อกิจการ การควบรวมบริษัท
- ยิ่ง cycle ตกต่ำมากแค่ไหน โอกาสฟื้นตัวเป็น true signal ก็จะมากขึ้น
- คนติดหุ้นวัฎจักร มักซื้อหุ้นเพราะเหตุผลว่า PE ต่ำ แต่บังเอิญเป็น eps ในปีที่ peak
- หลักในการซื้อหุ้นวัฎจักรแบบ rule of thumb คือ buy high (PE) and sell low (PE)
การดู Market Cap
- สมศักดิ์ศรีหรือไม่ (บทความ ดร.นิเวศน์)
- hmpro เข้าตลาดใหม่ๆ mkt cap 3000 ล้าน ขณะที่ home depot อเมริกา อยู่ใน top 100
- รพ.กรุงเทพ มีเครือข่าย รพ.มากมาย เมื่อ 2-3 ปีก่อน มี mkt cap 2-3 หมื่นล้าน, cpall 3-4 หมื่นล้าน, hmpro robins 1 หมื่นล้าน ขณะที่ topโรงกลั่น มี mkt cap 100000 ล้าน
- ในระยะยาว mkt cap หุ้นโรงกลั่นควรมากกว่าร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศหรือไม่, หรือหุ้นโรงกลั่น จะมี mkt cap ใหญ่กว่าโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดหรือไม่
- หุ้นบางตัวมี mkt cap เล็กเพราะอยู่ในช่วง beginning stage ของการเติบโต
- บางตัวใหญ่เกินศักดิ์ศรีไปมาก เช่น N-park เคยมี mkt cap 50000 ล้าน
วิธีลงทุน VI แบบพี่คเชนทร์
- ใช้เวลาดูจอให้น้อย
- อ่านให้มาก อ่านทุกอย่าง ความรู้เชื่อโยงกันเอง
- ถามให้มาก
- เป็นลูกค้า ทดลองใช้สินค้า
- เดินทางไปต่างประเทศไม่ใช้แค่ เที่ยว ถ่ายรูป ควรสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง มองเทรนด์ นำมาใช้ในการลงทุน
- สุดยอดวิชาไม่มี อยู่ที่ความพยายาม
- มีคำถามว่า DCF จำเป็นหรือไม่? คำตอบ DCF อาจจะไม่จำเป็น แต่ขอให้รู้หลักการเพื่อนำไปใช้ได้
ข้อคิดที่อยากฝากจากพี่คเชนทร์
- การเดินขึ้นเขา ความสุขระหว่างทางจะสนุกกว่าเมื่อถึงยอดเขา อย่ากดดันกับเป้าหมายเกินไป
- อิสระทางการเงินไม่จำเป็นต้องเลิกทำงานเสมอไป ถ้าเรามีความสุขในงานที่ทำและสังคมที่ทำงานอยู่แล้ว
- ความสุขไม่ได้เพิ่มตามเงินที่เพิ่มขึ้น หรือพอร์ตใหญ่ขึ้น
- การให้โอกาสสำคัญกว่าเงิน สังคมเรายังขาดโอกาสอีกมาก
- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ขอขอบคุณ อาจารย์คเชนทร์ เบญจกุล เป็นอย่างสูง สำหรับการถ่ายทอดความรู้ในการอบรมครั้งนี้ครับ
5 Forces Model Analysis
1. Potential Entrants การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่
- ความยากง่ายของการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ จะขึ้นอยู่กับ barrier to entry เช่น เงินทุน เทคโนโลยี know-how brand สัมปทาน Economy of scale
- ธุรกิจที่เข้ามาง่าย คนอยากเข้ามาก เช่นธุรกิจที่ทำแล้วมี owner value มีความสุขทางใจ มีเกียรติ โดยที่อาจไม่สนใจเรื่อง return มากนัก เช่น โรงแรม สนามกอล์ฟ ร้านกาแฟ สปา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มักเป็นคนรวยแล้วมาทำ
- ธุรกิจที่ทำแล้วปวดหัว เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ บริหารคนจำนวนมาก หรือ ธุรกิจที่สภาพแวดล้อมแย่ๆ อาจไม่ค่อยมีคนสนใจทำ แต่ return ดี เช่น โรงพยาบาล ค้าปลีก ธุรกิจโรงศพ รับซื้อขยะ แปรรูปเนื้อสัตว์
- barrier to entry ต่ำ คู่แข่งเข้าง่าย ตลาดจะเป็น red ocean มีการแข่งขันสูง
- Brand Value มีความสำคัญ ธุรกิจบางอย่าง สร้างแบรนด์ใช้เงินสูงกว่าสร้างโรงงาน
- Economy of scale คือ barrier อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คู่แข่งเข้ามาได้ยาก
- หุ้นที่ตลาดมีการเติบโตปานกลางถึงสูง และมี barrier to entry สูง มีโอกาสเป็น super stock สูง
2. Bargaining Power of Buyer อำนาจต่อรองของลูกค้า
- ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากแค่ไหน
- ผู้ผลิต OEM ชิ้นส่วนประกอบ packaging จะมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ
- ผู้ผลิต commodity แทบไม่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าเลย เนื่องจากสินค้าเหมือนกันหมด ลูกค้าไปซื้อกับคนอื่นได้ แต่ commodity บางอย่าง อาจมีการสร้างแบรนด์ขึ้นมาเช่น น้ำตาล เกลือ
- ธุรกิจที่ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรอง มักเป็นธุรกิจที่ขายคุณภาพ brand name หรือ ขายความสะดวก เช่น LV (Gross margin 80%) AfterYou ลูกค้าต้องต่อแถวกันซื้อ และถ้าต้นทุนเพิ่มสามารถขึ้นราคาได้ทันที
- สินค้าที่ลูกค้าไม่รู้ราคาล่วงหน้า และลูกค้าไม่สามารถต่อรองราคาได้ เช่น โรงพยาบาล
- ธุรกิจที่ ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากๆ มักจะมีระยะเวลาของลูกหนี้การค้าค่อนข้างนาน เช่น ลูกค้า คือห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ทำให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง (working cap สูง)
- สินค้าที่รับเงินสด มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูงมาก เช่น ค้าปลีก
- หุ้นที่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง จะมีความสามารถในการปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่า เช่น ร้านอาหาร (แต่เมื่อต้นทุนลง ก็ไม่ลดราคาขาย)
3. Bargaining Power of Supplier
- บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ supplier สูง จะมี credit term ยาว ทำให้การเติบโตของยอดขายไม่ต้องใช้ working cap มาก และเมื่อต้นทุนสูงขึ้น supplier มักช่วยรับภาระให้ด้วย เช่น ค้าปลีก
- บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ supplier ต่ำ จะมี credit term สั้น เช่น บริษัทนำเข้าสินค้าต่างๆ
- การดู bargaining power of supplier & customer บริษัทไหนมี A/R มากกว่า A/P มากๆ bargainingไม่ดี บริษัทที่ A/R น้อยกว่า A/P มากๆ แสดงว่า bargaining สูง
- BUY COMMODITY, SELL BRAND (Warren Buffet) ซื้อวัตถุดิบ commo แต่ขายเป็นสินค้าแบรนด์ เช่น S&P Oishi แบบนี้ดีมาก มี margin สูง
- หุ้นประเภท specialty store เช่น BGT JMART JUBILE SE-ED S&P เช่าพื้นที่ห้าง มีอำนาจต่อรองต่ำ ค่าเช่าปรับสูงกว่าเงินเฟ้อทุกปี ทำให้ต้องมี same store sale สูงกว่าการขึ้นค่าเช่า
- HMPRO ROBINS BIGC MAJOR เป็น magnet ให้กับศูนย์การค้า ทำให้ค่าเช่าต่ำ และมีส่วนที่สร้างเองบนที่ดินเอง ทำให้ค่าเช่าเพิ่มไม่มากเท่าในห้าง
- CPALL เช่าตึกแถว ค่าเช่าเพิ่มน้อยกว่าในห้าง
4. Substitutes สินค้าทดแทน
- เป็นการวิเคราะห์จากปัจจจัยภายนอก ว่า หุ้นที่เราลงทุน จะมีสินค้าอะไรมาทดแทนได้ในอนาคต
- หุ้นสินค้าเทคโนโลยี จะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้สูง เช่น โทรศัพท์มือถือแทนโทรศัพท์บ้าน, Tablet แทนnotebook , download เพลงหนัง แทน CD VCD, กล้องดิจิตอลแทนกล้องฟิล์ม, Community mall แทนตึกแถว
- การจะดูเทรนด์ว่า อะไรจะมาทดแทน อาจจะใช้การไปเที่ยวต่างประเทศ โดยสังเกตประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นผู้นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลง และประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นผู้ตาม
- บางครั้งเป็นการทดแทนกันเนื่องจาก behavior หรือ life style change เช่น ร้านสะดวกซื้อแทนโชว์ห่วย, hypermarket แทนตลาดสด, ทานอาหารนอกบ้านแทนทำทานเองที่บ้าน(เกิดจากสังคมรีบเร่ง ครอบครัวเล็กลง), ผ้าอ้อมกระดาษแทนผ้าอ้อมผ้า(ครอบครัวเล็ก ไม่มีคนดูแล ไปนอกบ้านบ่อย สะดวก), ทานอาหารในห้างแทนอาหารห้องแถว(หาที่จอดรถยาก), รถไฟฟ้าแทนรถยนต์ taxi
- SF มาทดแทนตึกแถวเช่า เติบโตได้มาก Barrier to entry หลักคือ เงินทุน จึงทำให้ barrier ต่ำ, ใครมีเงินทุนก็เข้ามาได้ สถาปนิกที่ออกแบบ ใครก็จ้างได้ถ้ามีเงิน, Bargaining power of supplier ในระยะหลัง ราคาที่ดินแพงขึ้นมาก หาพื้นที่ยาก Landlord บางรายสนใจทำเอง, Bargaining power of buyer ต้องให้ค่าเช่าต่ำกับ anchor เพื่อดึงดูดคนเข้าศูนย์ (CPN สูงกว่า SF)
5. Industry Rivalry การแข่งขันของคู่แข่งปัจจุบัน
- แข่งขันรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับจำนวนผู้เล่น เช่น ค่ายมือถือ แข่งขันรุนแรงน้อยลง โปรโมชั่นไม่ดุเดือดเหมือนเมื่อก่อน
- จำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับ barrier to entry
- สินค้าที่มี price sensitive สูงมักจะมีการแข่งขันด้านราคามาก ทำให้ profit margin ไม่สม่ำเสมอ
- สินค้าที่ลูกค้าใช้ปัจจัยคุณภาพในการตัดสินใจ จะแข่งขันน้อยกว่า
การนำ 5 Forces มาใช้กับ DCF
- อำนาจต่อรองกับ Supplier สูง credit term ยาว เติบโตโดยใช้ working cap น้อย >> ดี
- อำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ ทำให้อายุลูกหนี้การค้ายาว การเติบโตต้องใช้ working cap สูง และอาจถูกต่อรองราคาทำให้ margin ที่ไม่แน่นอน >> ไม่ดี
- ธุรกิจที่มี barrier to entry ต่ำ และมีการแข่งขันสูง มีโอกาสเกิดการแข่งขันด้านราคา ทำให้ความแม่นยำในการทำนายอนาคตน้อยลง
5 Force สัมพันธ์กับ SWOT Analysis ในส่วนของ threats (หรืออาจจะเป็น opportunities ก็ได้ถ้าอำนาจต่อรองน้อย) ถ้าทำได้ทั้ง 2 อย่าง จะทำให้วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์คู่แข่ง ทำได้ดีขึ้นมาก
การวิเคราะห์ Working Cap
- บริษัทส่วนใหญ่ จะมี เจ้าหนี้การค้า < ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ
- บริษัทที่มี เจ้าหนี้การค้า > ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ (เช่น cpall) มักเป็นบริษัทที่ขายเงินสด มีอำนาจต่อรอง supplier สูง ไม่มีหนี้ที่มีดอกเบี้ย และจ่ายปันผลได้ดี
หุ้นที่จะเติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ย
1)โตมากกว่า GDP (GDP+เงินเฟ้อด้วย = 4% + 3% = โตมากกว่า 7%)
- หากลูกค้ามีรายได้เพิ่ม จะใช้สินค้าเพิ่ม คนไม่เคยใช้ก็จะซื้อเพิ่ม
- มักเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต สุขภาพ สินค้าที่มีคุณภาพ
- สินค้าบางอย่าง คนรวยมากขึ้นแต่ใช้เท่าเดิม เช่น สบู่ แชมพู แบบนี้ไม่ใช่
2) Market share gain from
- traditional จากร้านค้าแบบดั้งเดิม เช่น โชว์ห่วย ตลาดสด และธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีสาขาเดียว
- competitors คู่แข่งขันรายใหญ่ใช้ economy of scale แย่งชิง market share จากรายเล็ก แต่ก็มีโอกาสถูกแย่งคืนเช่นกัน ยกตัวอย่าง SIRI LH PS
3) Increase Penetration
- เป็นการเพิ่มปริมาณการใช้หรือสัดส่วนการใช้ต่อคน
- ตัวอย่างเช่นธุรกิจมือถือ (แต่ก่อนยังน้อย ปัจุบันเยอะขึ้นมาก)
4) Mega Trend
- การดูแลสุขภาพ > โรงพยาบาล
- สังคมผู้สูงอายุ อายุขัยที่ยาวขึ้น (ป่วยง่าย รักษาได้ ตายยาก โรงพยาบาล) ตอนนี้ อันดับประเทศที่คนอายุยืนที่สุด 1.ฮ่องกง 2.ญี่ปุ่น ชายไทยอายุเฉลี่ย 70 ปี หญิงไทยอายุเฉลี่ย 76 ปี
- ขนาดครอบครัวเล็กลง > คอนโด อาหารสะดวกซื้อ
- ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น
- การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี มือถือ แทบเลต
- เดินทางรถไฟฟ้ามากขึ้น
- การเปิดเสรีต่างๆ AEC คนไทยไปทำงานต่างประเทศยาก (ไม่อยากย้ายงาน ภาษา) บริษัทที่จะขยายต้องเตรียมการเรื่องคน, ในขณะเดียวกัน แรงงานต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในไทย จะเจอข้อจำกัดเรื่องภาษาไทยที่เป็น barrier to entry อย่างหนึ่ง
- People, service mobility การเดินทางที่ถูกลง สังเกต ตั๋วเครื่องบินไม่ค่อยขึ้นราคา คงที่หรือลดลงตลอด
การวิเคราะห์ผู้บริหาร
- % ownership 50-70% น่าจะเป็นจุด optimum
- weath หลักของเจ้าของ มีส่วนเป็นการสร้างแรงจูงใจในการบริหารงานของเจ้าของ ถ้ามี weath หลักในสัดส่วนที่ไม่มาก เช่น เจ้าของทำธุรกิจหลายอย่าง ทำให้ผู้บริหารขาดแรงจูงใจ
- พฤติกรรมในอดีต รายการระหว่างกัน การเอาเปรียบผู้ถือหุ้น ลอง search ใน google ดูประวัติที่ผ่านมา
- โครงสร้างกรรมการ ความอิสระของกรรมการอิสระและตรวจสอบ
- โครงการ ESOP employee stock option program
- โครงการ EJIP employee joint invest program เช่น cpall cpf dsgt makro uac
การวิเคราะห์ค่าเสื่อมราคา
- ค่าเสื่อม 3 ประเภท 1.ตัดค่าเสื่อมหมดซื้อใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ แม่พิมพ์ 2.ตัดค่าเสื่อมหมดยังใช้ได้ระยะหนึ่ง เช่น เรือ รถยนต์ สวนตกแต่งร้านค้า และอาจต้องมีค่าซ่อมแซมด้วย 3.ตัดค่าเสื่อมหมดยังใช้ได้อีกนาน เช่น อาคาร
- ค่าเสื่อมแบบที่ 1 ไม่เป็น free cash flow แบบที่ 3 มีความเป็น free cash flow สูง
- หุ้นประเภทค้าปลีก โรงพยาบาล โรงแรม จะมีค่าเสื่อมแบบที่ 2-3 ในสัดส่วนที่มาก สามารถนำค่าเสื่อมมาใช้ในการลงทุนในอนาคตได้ เช่น cpn ตัดค่าเสื่อมหมด ยังไม่ทุบทิ้ง ใช้รีโนเวท
การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ Capex
- capital expenditure มี 2 แบบ 1. capex for maintain competitiveness เช่นการเปลี่ยนเครื่องจักรแทนเครื่องที่หมดอายุ การ renovate สถานที่ การเปลี่ยนแม่พิมพ์ 2. capex for growth เช่น การลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ การขยายสาขา
- บริษัททีมี capex for maintain สูง เมื่อเทียบกำไรแต่ละปีจะเป็นบริษัทที่มีการจ่ายปันผลต่ำ มีหนี้สินตลอดเวลา
- หุ้นที่มีการเติบโตโดยใช้ capex ต่ำ ยิ่งดี เพราะทำให้โตได้โดยมีความเสี่ยงที่จะต้องเพิ่มทุนต่ำ และโตได้โดยที่ยังจ่ายปันผลได้สูง
การวิเคราะห์หุ้นจากความรู้สึำำกตนเอง (และคนรอบข้าง)
- เราเป็นคนส่วนใหญ่ที่สะท้อนพฤติกรรมหรือไม่ ?
- ถ้าเรารายได้มากกว่า 30000 บาท/เดือน ยิ่งมากเท่าไหร่ เราจะห่างจากคนส่วนใหญ่มากเท่านั้น
- การนำความคิดเราหรือความคิดเพื่อนรอบตัวเรา อาจทำให้วิเคราะห์หุ้นตลาด mass ผิดพลาด
- หุ้นตลาด mass เช่น bigc robins bch dsgt jubilee s&p singer tk
- bigC เดินโลตัสดีกว่าเยอะเลย
- robins มีคนเดินด้วยหรอ
- bch ไม่เคยเข้าไปรักษาเลย
- dsgt เห็นมีแต่คนซื้อ poko
- jubilee ซื้อร้านเพชรสะพานเหล็กดีกว่า
- S&P อาหารงั้นๆ ไปกิน coffee beans ดีกว่า (ร้านที่ขยายสาขาได้มาก ไม่จำเป็นต้องทำสินค้าที่ดีที่สุด แต่ทำให้เหมาะสมกับคนส่วนใหญ่ และสามารถบริหารจัดการได้ไม่ยากจนเกินไป)
- singer มีคนใช้ด้วยหรอ
- การซื้อหุ้น เราต้องศึกษาจากพฤติกรรมคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่แค่จากพฤติกรรมของเราและคนรอบข้าง
- การดูจำนวนลูกค้าจากความรู้สึก เช่น hmpro 1.คนเดินน้อย พนักงานเยอะ จริงๆ แล้วพนักงานที่เห็นเป็นพนักงาน PC ซึ่งคือพนักงานเชียร์สินค้าที่ supplier ส่งมาประจำสาขา 2. hmpro รายได้ต่อบิล 3000 บาท bigc รายได้ต่อบิล 500 บาท ลูกค้า 6 คนใน bigc = ลูกค้า 1 คนใน hmpro, jubilee มีคนเข้าด้วยหรอ เห็นเงียบตลอด จริงๆ แล้วแค่คนซื้อ 1 ชิ้นต่อวัน ประมาณ 30000 บาท ร้านก็อยู่ได้แล้ว
การวิเคราะห์หุ้นค้าปลีก
- same store sale สำคัญมาก เพราะบอกกำไรแต่ละสาขาในระยะยาว โดยต้องเทียบ ค่าแรง ค่าเช่า ที่ขึ้นทุกปี
- กลุ่มค้าปลีกที่ capture demand ได้ตั้งแต่วันแรกที่เปิดจะทำให้ same store sale โตไม่มาก เช่น วันเปิด bigc คนล้นทะลัก หลังจากนั้นคนจะน้อยลงจนสู่ภาวะปกติ
- สิ่งที่เหมือนกันในค้าปลีกคือ ขายเงินสด
- สิ่งที่ต่างกันในค้าปลีกคือ ระยะเวลาสินค้าคงคลัง ของสินค้าแต่ละชนิด และระยะเวลาจ่ายเงิน supplier จะสะท้อนอำนาจต่อรอง
- Retail is Detail การมีสาขามาก จะทำให้มีความยากในการบริหาร detail เช่น คน ระบบ logistic
การวิเคราะห์หุ้นโรงพยาบาล
- ไม่สามารถที่จะ capture demand ในปีแรกๆ ทำให้ช่วง 2-3 ปีแรก อาจจะขาดทุน
- การซื้อกิจการถ้าทำได้จะดีกว่าการเปิดใหม่เอง ได้ทั้งแพทย์ ลูกค้า และกำไรในปีที่ซื้อ แต่ไม่ทำให้เกิด supply ใหม่ในระบบ
- growth มาจาก 1.จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.รายได้/ผู้ป่วย เพิ่มขึ้น (มาจากการปรับราคาและความซับซ้อนของโรคที่เพิ่มขึ้น)
- ความกลัวเรื่องฟ้องร้องทำให้เกิด over investigate ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มอาหาร
- ร้านอาหาร มีลักษณะคล้ายๆ ค้าปลีก เรื่อง cash flow cycle
- อาหารที่ขายให้ end user จะมี price power สูงกว่า
- การทานข้าวนอกบ้านเมื่อก่อนทานเมื่อมีโอกาสสำคัญ ปัจจุบันเป็น everyday life มากขึ้น
- หุ้นอาหารพวก commodity จะมีกำไรผันผวนตามราคาสินค้า
ปัจจัยตามฤดูกาล
- รายได้อาจแปรตามฤดูกาล การนำรายได้ Q1 คูณ4 หรือ H1 คูณ2 อาจได้ผลคลาดเคลื่อน
- ค้าปลีก Q4 เทศกาล > Q1 > Q2 พอๆ กับQ3 หน้าฝน
- โรงพยาบาล Q3 หน้าฝน ป่วยบ่อย > Q1 > Q4 > Q2
- เครื่องดื่ม Q2 ดีสุด หน้าร้อน
- ผ้าอ้อม Q2 แย่สุด อากาศร้อน เด็กฉี่น้อย
- Advertising Q1 แย่สุด Q4 ดีสุด
- แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่ Q4 จะมีรายได้ดีสุด แต่กำไรอาจไม่ดีที่สุด เนื่องจากมีการบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ใน Q4
การวิเคราะห์หุ้นวัฎจักร
- กำไรขึ้นลงตามราคาสินค้า มีโอกาสทำกำไรมากๆ หรือขาดทุนมากๆ ได้เสมอ
- จำนวนปีของช่วงเวลาขาขึ้นและขาลงสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เพิ่ม supply ใหม่ 1.ระยะเวลาเพิ่ม supply สั้น เช่น พืชผลเกษตร การเลี้ยงสัตว์ 2. ระยะเวลาเพิ่ม supply ยาว เช่น บริษัทเดินเรือ 3-4 ปี ปิโตร 3-4 ปี ยางพารา 7 ปี
- การใช้ PE ในการหาราคาเป้าหมายหุ้นวัฎจักรเป็นเรื่องอันตรายมาก ระวัง PE ต่ำในปีที่ peak
- ตัวอย่างหุ้น เช่น ptl sta psl
- การซื้อหุ้นวัฎจักรควรซื้อช่วงที่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของราคาผลิตภัณฑ์
- แต่สัญญาณมีทั้ง true signal หรือ false signal ถ้าทำง่ายคงรวยกันหมดแล้ว
- จังหวะซื้อจึงเป็นศิลปะและเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างมาก
- ก่อนการฟื้นตัว อุตสาหกรรมควรจะตกต่ำยาวนานพอที่จะทำให้ไม่มี supply ใหม่ออกมาอย่างยาวนาน ผู้ประกอบการมีปัญหาทางการเงิน มีการซื้อกิจการ การควบรวมบริษัท
- ยิ่ง cycle ตกต่ำมากแค่ไหน โอกาสฟื้นตัวเป็น true signal ก็จะมากขึ้น
- คนติดหุ้นวัฎจักร มักซื้อหุ้นเพราะเหตุผลว่า PE ต่ำ แต่บังเอิญเป็น eps ในปีที่ peak
- หลักในการซื้อหุ้นวัฎจักรแบบ rule of thumb คือ buy high (PE) and sell low (PE)
การดู Market Cap
- สมศักดิ์ศรีหรือไม่ (บทความ ดร.นิเวศน์)
- hmpro เข้าตลาดใหม่ๆ mkt cap 3000 ล้าน ขณะที่ home depot อเมริกา อยู่ใน top 100
- รพ.กรุงเทพ มีเครือข่าย รพ.มากมาย เมื่อ 2-3 ปีก่อน มี mkt cap 2-3 หมื่นล้าน, cpall 3-4 หมื่นล้าน, hmpro robins 1 หมื่นล้าน ขณะที่ topโรงกลั่น มี mkt cap 100000 ล้าน
- ในระยะยาว mkt cap หุ้นโรงกลั่นควรมากกว่าร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศหรือไม่, หรือหุ้นโรงกลั่น จะมี mkt cap ใหญ่กว่าโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดหรือไม่
- หุ้นบางตัวมี mkt cap เล็กเพราะอยู่ในช่วง beginning stage ของการเติบโต
- บางตัวใหญ่เกินศักดิ์ศรีไปมาก เช่น N-park เคยมี mkt cap 50000 ล้าน
วิธีลงทุน VI แบบพี่คเชนทร์
- ใช้เวลาดูจอให้น้อย
- อ่านให้มาก อ่านทุกอย่าง ความรู้เชื่อโยงกันเอง
- ถามให้มาก
- เป็นลูกค้า ทดลองใช้สินค้า
- เดินทางไปต่างประเทศไม่ใช้แค่ เที่ยว ถ่ายรูป ควรสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง มองเทรนด์ นำมาใช้ในการลงทุน
- สุดยอดวิชาไม่มี อยู่ที่ความพยายาม
- มีคำถามว่า DCF จำเป็นหรือไม่? คำตอบ DCF อาจจะไม่จำเป็น แต่ขอให้รู้หลักการเพื่อนำไปใช้ได้
ข้อคิดที่อยากฝากจากพี่คเชนทร์
- การเดินขึ้นเขา ความสุขระหว่างทางจะสนุกกว่าเมื่อถึงยอดเขา อย่ากดดันกับเป้าหมายเกินไป
- อิสระทางการเงินไม่จำเป็นต้องเลิกทำงานเสมอไป ถ้าเรามีความสุขในงานที่ทำและสังคมที่ทำงานอยู่แล้ว
- ความสุขไม่ได้เพิ่มตามเงินที่เพิ่มขึ้น หรือพอร์ตใหญ่ขึ้น
- การให้โอกาสสำคัญกว่าเงิน สังคมเรายังขาดโอกาสอีกมาก
- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ขอขอบคุณ อาจารย์คเชนทร์ เบญจกุล เป็นอย่างสูง สำหรับการถ่ายทอดความรู้ในการอบรมครั้งนี้ครับ
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: #2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.ค
โพสต์ที่ 2
ราวกับเข้าไปเรียนในห้องเลย
ขอบคุณคุณ TLSS มากครับ
ขอบคุณคุณ TLSS มากครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: #2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.ค
โพสต์ที่ 4
ละเอียดมากๆ ขอบคุณคับ ผลงานดีมีคุณภาพอีกแล้วคับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: #2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.ค
โพสต์ที่ 6
สุดยอด! (ทั้ง อ. และ ลูกศิษย์)
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: #2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.ค
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
Re: #2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.ค
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณครับ
"If I had six hours to chop down a tree, I'd spend the first four hours sharpening the axe"
"ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ข้าพเจ้าจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงแรก ลับขวานให้คม"
Abraham Lincoln
"ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ข้าพเจ้าจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงแรก ลับขวานให้คม"
Abraham Lincoln