รวม "พม่า"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 31

โพสต์

http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524

PwC ปักธง ‘พม่า’ ดันสาขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเป็นแห่งที่ 9 คาด FDI พุ่งในอนาคต
วันพฤหัสบดีที่ 08 พฤศจิกายน 2012 เวลา 08:28 น. สุวิภา บุษยบัณฑูร ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ

PwC ประเทศพม่าพร้อมให้บริการทางด้านการตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาทางด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนบริษัทท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่ต้องการขยายธุรกิจรวมทั้งการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในพม่า โดยเป้าหมายในช่วงแรกจะมุ่งเน้นไปที่การเปิดตลาด การควบรวมกิจการ การวางโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปทางธุรกิจต่างๆ ในพม่า

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส บริษัทผู้ให้บริการทางด้านตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาทางด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก ทำการเปิดสาขาอย่างเป็นทางการที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ทำให้จำนวนเครือข่ายการให้บริการของบริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเป็นแห่งที่ 9

นาย ศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร PwC ประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นาย โยว อูน จิน ประธานกรรมการบริหาร PwC สิงคโปร์ ได้เป็นประธานในการเปิดสาขาใหม่ ณ นครย่างกุ้ง สาธารณรัฐพม่าอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของบริษัทที่ได้ขยายการให้บริการครอบคลุมเป็นประเทศที่ 9 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

“การกลับมาเปิดให้บริการของ PwC ในพม่าครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในการปฏิรูปของประเทศ ที่เราทุกคนต่างเห็นในช่วงปีที่ผ่านมา รวมทั้งความมุ่งมั่นที่เรามีต่อประชาชนชาวพม่า,” นาย โยว อูน จิน กล่าว

“พม่าถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตยุทธศาสตร์ ระหว่างจีน อินเดีย และประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ามีประชากรกว่า 65 ล้านคน เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ ที่มีการศึกษา นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์,” เขา กล่าว

นาย ศิระ กล่าวเสริมว่า “ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณของการเปิดประเทศตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีบริษัททั้งในเอเชียและฝั่งตะวันตกต่างให้ความสนใจในการเข้ามาลงทุนในพม่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราคาดว่าแนวโน้มการลงทุนทางตรง (FDI) ของประเทศจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต”

ทั้งนี้ PwC ประเทศพม่า จะเปิดให้บริการทางด้านการตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาทางด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนบริษัทท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่ต้องการขยายธุรกิจรวมทั้งการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในพม่า โดยเป้าหมายในช่วงแรกจะมุ่งเน้นไปที่การเปิดตลาด การควบรวมกิจการ การวางโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปทางธุรกิจต่างๆ ในพม่า

นาย ออง เชา ชูน กรรมการผู้จัดการ สายงานที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบบัญชี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ PwC ประเทศพม่า กล่าวว่า “เราเริ่มต้นจากทีมงานท้องถิ่นกลุ่มเล็กๆ นำทีมโดย นางสาว จัสมิน ทาซิน ออง และนางสาว เจสสิก้า อี อี ซาน ซึ่งทั้งสองเป็นชาวพม่าผู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับ PwC ประเทศสิงคโปร์ ในขณะเดียวกัน PwC ประเทศสิงคโปร์จะให้การสนับสนุนในด้านเทคนิคต่างๆ ให้แก่ PwC ประเทศพม่าในช่วงเริ่มต้นในปีแรกๆ นอกจากนี้ เราจะใช้ประโยชน์จากการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญของเครือข่าย PwC ทั่วโลก การถ่ายทอดองค์ความรู้ผนวกกับการอบรมที่เป็นระบบนี้ เราคาดว่าจะสามารถพัฒนาความสามารถของบุคลากรท้องถิ่นของเราเติบโตรวดเร็วควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของพม่าได้เป็นอย่างดี”

“ในฐานะเครือข่ายผู้นำทางการให้บริการชั้นนำของโลก PwC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นที่มีศักยภาพ รวมทั้งให้บริการคุณภาพแก่กลุ่มลูกค้าในพม่าได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและวิชาชีพ เราหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปและการเจริญเติบโตของพม่า เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างมาก ที่จะได้ร่วมมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในครั้งนี้” เขา กล่าว

ข้อความถึงบรรณาธิการ:

เกี่ยวกับ PwC
PwC (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) หนึ่งในเครือข่ายบริษัทผู้ให้บริการทางด้านตรวจสอบบัญชี บริการให้คำปรึกษาทางด้านภาษี และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจรายใหญ่ของโลก โดยมีเครือข่ายไปใน 158 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 180,000 คน ในส่วนของ PwC ประเทศไทย บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 50 ปี บริษัทผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีพนักงานกว่า 1,350 คนในประเทศไทย
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 32

โพสต์

"ศึกน้ำดำ"ไม่ได้ระอุเฉพาะในไทยเท่านั้น ในพม่าก็ไม่ต่างกัน มีมูลค่าตลาด ๑๕,๕๐๐ ล้านบาทเป็นเดิมพัน

ยักษ์ธุรกิจ AEC : เมียนมาร์ โกลเด้น สตาร์

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2012 เวลา 16:25 น. วิชัย สุวรรณบรรณ ฐ.Blogger - วิชัย สุวรรณบรรณ


บริษัท เมียนมาร์ โกลเด้น สตาร์ฯ (MGS) ก่อตั้งในปี 2532 เป็นผู้ครองตลาดน้ำอัดลม 40 % ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และมีธุรกิจในเครือที่หลากหลาย ทั้งผลิตและค้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์นม เบียร์ บริการสวนสนุกในร่ม ธนาคาร ส่งออกสินค้าเกษตร โรงแรม และนิคมอุตสาหกรรม ผู้ก่อตั้งคือนายเทียน ทุน หรือ เต็ง ทุน ผู้ที่นำเป๊ปซี่เข้าตลาดเมียนมาร์เป็นคนแรกและปัจจุบันก็ได้กลายมาเป็นคู่แข่งคนสำคัญของเป๊ปซี่

เป๊ปซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล ย้อนกลับเข้าตลาดประเทศเมียนมาร์ใหม่อีกครั้งในปีนี้ (2555)โดยร่วมกับกลุ่มทุนอื่นที่ไม่ใช่เอ็มจีเอส และเป็นเวลาเดียวกันกับที่เลิกสัญญากับบริษัท เสริมสุข ในประเทศไทย

เทียน ทุน หรือ เต็ง ทุนเทียน ทุน หรือ เต็ง ทุน สำนักข่าวตะวันตกเคยประเมินมูลค่าสินทรัพย์ธุรกิจของนายเต็ง ทุนเมื่อหลายปีก่อนว่าน่าจะอยู่ในระดับ 40 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.24 พันล้านบาท) แต่ในปัจจุบันเชื่อว่ามูลค่าธุรกิจต้องมากกว่านี้หลายเท่าตัวจากการขยายกิจการในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทหารเมียนมาร์ในอดีต

นายเต็ง ทุน เป็นพ่อตาของนายซอ ซอ มหาเศรษฐีหนุ่มที่รวยที่สุด หนึ่งในสองคนของเมียนมาร์ นายซอ ซอ เป็นเจ้าของกลุ่มธุรกิจในนามของแม็กซ์ เมียนมาร์ หากรวมอาณาจักรธุรกิจของพ่อตาลูกเขยคู่นี้ ก็จะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์ในทันที ธุรกิจของนายเต็ง ทุน เติบใหญ่ขึ้นมาจากกิจการน้ำอัดลมที่ได้เข้าร่วมกับเป๊ปซี่ และขยายตัวต่อหลังจากที่เป๊ปซี่ถอนตัวออกจากเมียนมาร์

บริษัทเป๊ปซี่ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ ร่วมกับบริษัทเอ็มจีเอสฯ นำน้ำอัดลมเป๊ปซี่เข้าตลาดประเทศเมียนมาร์ในปี 2534 แต่เป๊ปซี่ โดนกลุ่มสิทธิมนุษยชนสากลต่อต้านหนัก จึงตัดสินใจถอนตัวออกจากตลาดเมียนมาร์ในปี 2540 โดยขายหุ้นและโรงงานบรรจุขวดน้ำอัดลมที่ชานเมืองย่างกุ้งให้เอ็มจีเอส ในราคาเงินสด 4 ล้านดอลลาร์

หลังจากเป๊ปซี่ ถอนตัวออกไป เอ็มจีเอส ออกน้ำอัดลมยี่ห้อ ‘สตาร์ โคล่า’ มาแทนแบรนด์เป๊ปซี่ และสามารถครอง 40 % ของตลาดน้ำอัดลมมูลค่ากว่า 500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,500 ล้านบาท) ของประเทศเมียนมาร์ได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากน้ำดำแล้ว ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เอ็มจีเอสขยายสินค้าเครื่องดื่มออกไปอีกหลายแบรนด์คือ เควนช์ (Quench) ครัสเชอร์ ออเร้นจ์ (Crusher Orange) ครัสเชอร์ คลาวดี้ (Crusher Cloudy) ครัสเชอร์ ฟรุตติโอ (Crusher Frutio) และโซดา มิแรนด้า คลับ โซดา (Miranda Club Soda)

สื่อตะวันตกรายงานว่า กิจการในเครือของ เอ็มจีเอส มีทั้งหมด 15 บริษัทและหนึ่งธนาคารเอกชน คือ ธนาคารทุนฟาวเดชั่นแบงก์ ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารเอกชนของเมียนมาร์ที่พัฒนาสู่ความทันสมัยได้เร็วที่สุดและมีกิจกรรมซีเอสอาร์มากมาย

เอ็มจีเอส มีบริษัทในเครืออีกสองบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านผลิตภัณฑ์นม คือบริษัท เอ็มจีเอส ฟู้ด จำกัด และบริษัท ดากอง แดรี่ โปรดักท์ จำกัด ซึ่งผลิตนมข้นหวานแบรนด์ ‘ซัน’ (Sun) และ ‘ควีน’ (Queen) โดยร่วมกับบริษัทของรัฐคือ บริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โคโอเปอเรชั่นฯ (เอ็มอีซี)

ธุรกิจเบียร์ของเอ็มจีเอส อยู่ภายใต้บริษัท ดากอง เบฟเวอเรจส์ฯ ผลิตเบียร์ลาเกอร์แบรนด์ ดากอง เบียร์ (Dagon Beer) สำหรับตลาดทั่วไปและแบรนด์ สโคล (SKOL) เป็นเบียร์ระดับพรีเมียม โดยเป็นกิจการร่วมทุนกับบริษัท เอ็มอีซี ของรัฐบาลและบริษัทเบียร์ในสิงคโปร์

ธนาคารทุนฟาวเดชั่นแบงก์ ของนายเต็ง ทุนก่อตั้งในปี 2537 มีนโยบายเอากำไรทั้งหมดตั้งเป็นกองทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจน รวมทั้งเป็นกองทุนเพื่อแจกรางวัลสำหรับศิลปินนักวาดและนักเขียนดีเด่นชาวเมียนมาร์และนานาชาติประจำปี ปัจจุบันแบงก์แห่งนี้มีสาขาที่บายิงเนาว์ (ไทยเรียก บุเรงนอง) และมัณฑะเลย์

นอกจากทุนการศึกษาแล้ว นายเต็ง ทุน ยังทำเช่นเดียวกับบริษัทน้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยและทั่วโลกคือการสนับสนุนวงการกีฬาทั้งทีมชาติฟุตบอล ทีมชาติวอลเลย์บอล สมาคมกอล์ฟและสมาคมเพาะกาย รวมทั้งศูนย์พัฒนาเยาวชน

นอกจากน้ำดำแล้ว ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เอ็มจีเอสขยายสินค้าเครื่องดื่มออกไปอีกหลายแบรนด์ สื่อมวลชนในเมียนมาร์ยกย่องนายเต็ง ทุนว่าเป็นเศรษฐีใจบุญผู้ซึ่งบริจาคเงินในแต่ละปีมากกว่าภาษีที่เสียให้กับรัฐบาล

ปัจจุบัน นายเต็ง ทุน อายุกว่า 76 ปีแล้วยังเคลื่อนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โครงการล่าสุดของนายเต็ง ทุน คือการเปิดสายการบินใหม่ คือสายการบินโกลเด้น เมียนมาร์ แอร์ไลน์ ซึ่งมีแผนจะเริ่มบินในปี 2556 โดยมีลูกชาย 2 คนและลูกสาว 1 คน ลูกชายคนโตคือนายถั่น ซิน ทุน (Thant Zin Tun) ดูแลธุรกิจโรงแรมและนิคมอุตสาหกรรม ลูกชายคนเล็กคือ โอ ทุน (Oo Tun) และลูกสาว ดอว์ มิ มิ ทุน (Daw Mi Mi Tun) ดูแลบริษัท เอ็มจีเอสฯและกิจการในเครือ

นายถั่น ซิน ทุน เป็นประธานบริษัท มัณฑะเลย์โนโวเทลโฮเต็ลฯ และประธานบริหารนิคมอุตสาหกรรมเมียนมาร์ เซาเทิร์นดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดพะอัน รัฐกะเหรี่ยง มีบริษัทเอกชนพม่า 20 บริษัทร่วมกันสร้างขึ้น มีเนื้อที่รวม 970 เอเคอร์ (2,450 ไร่) ตั้งอยู่ห่างจากด่านเมียวดี-แม่สอดเพียง 11 กิโลเมตรและอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก นายถั่นประกาศว่าโรงงานที่จะอยู่ในนิคมแห่งนี้ จะให้ค่าแรงเท่ากับประเทศไทยเพื่อดึงดูดแรงงานให้กลับไปพม่าผลิตสินค้ามาแข่งกับไทยและจีน

รัฐบาลพม่าภายใต้การนำของนายพลเต็ง เส่ง มีนโยบายเปิดนิคมอุตสาหกรรมแบบนี้ในทุกรัฐของประเทศเพื่อสร้างงาน ดึงคนพม่ากลับประเทศ โดยให้บริษัทเอกชนเป็นผู้บริหารงาน นับว่านาย เต็ง ทุนและครอบครัวคือลูกชายและลูกเขย กำลังอยู่ในแถวหน้าของธุรกิจประเทศเมียนมาร์ ทำให้มีโอกาสถีบตัวขึ้นเป็นยักษ์ธุรกิจรายหนึ่งของเออีซีในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างแน่นอน

+ศึกน้ำดำเมียนมาร์
ท่ามกลางบรรยากาศการปฏิรูปเศรษฐกิจในเมียนมาร์ซึ่งกระตุ้นให้นักลงทุนนานาชาติบุกเข้าไปแสวงหาลู่ทางการค้า-การลงทุน เป๊ปซี่โค และโคคา-โคลา สองบริษัทผู้ผลิตน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลกได้กลับเข้าไปทำตลาดในเมียนมาร์อีกครั้ง โดยล่าสุดเป๊ปซี่โคได้จับมือกับบริษัทไดมอนด์ สตาร์ฯ พันธมิตรท้องถิ่น ให้เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ เซเว่นอัพและมิรินด้า แต่เพียงผู้เดียวในเมียนมาร์ พร้อมรุกกิจกรรมการตลาดและโฆษณา เช่นการขึ้นป้ายขนาดใหญ่และแจกเครื่องดื่มให้ชิมฟรี ซ้ำจับมือกับองค์การยูเนสโกทำกิจกรรมซีเอสอาร์ด้วยการเข้าไปส่งเสริมการฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรด้านการบริหารจัดการ พร้อมโครงการพัฒนาการเกษตร ขณะที่โคคา-โคลา ก็มีพันธมิตรท้องถิ่นอย่างปินยา แมนูแฟคเจอริ่ง เป็นผู้ผลิตน้ำอัดลมป้อนให้เพื่อการจัดจำหน่ายในเมียนมาร์ ตามด้วยแคมเปญ "เปิดความสุข"(Open Happiness)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,788 วันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ไพร้ซวอเตอร์'ปักธง'พม่า'

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:32 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ การเงิน Financial - คอลัมน์ : การเงิน-ตลาดทุน

ไพร้ซวอเตอร์ฯเปิดสาขาในพม่า รองรับทุนข้ามชาติทะลัก เป้าหมายแรกโฟกัสงานที่ปรึกษาทั้งการเปิดตลาด ควบรวมกิจการ การวางโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปทางธุรกิจ พร้อมลุยบริการตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาด้านภาษี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=440


SCB ขยับรุกเมียนมาร์รับ AEC-ชี้ช่องลงทุนกลุ่มอาหาร-อสังหาฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 พฤศจิกายน 2555 20:42 น.

ไทยพาณิชย์เดินหน้าแผนรับ AEC เปิดสำนักงานตัวแทนในเมียนมาร์ ชี้ช่องทางลงทุนยังสดใส มีความต้องการอีกมาก แนะกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และวัสดุก่อสร้างที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก-คืนทุนเร็ว ส่วนในระยะกลางยังติดเบรก รอหลังเลือกตั้ง 2015

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://manager.co.th/Business/ViewNews. ... 0000138346

“อินเด็กซ์” บุกพม่าเต็มสูบ รุก ตปท.ลดเสี่ยงอีเวนต์ไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2555 09:48 น.

นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการบุกตลาดอีเวนต์ในอาเซียนหลังจากที่เข้าไปลงทุนไปเวียดนามเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดในส่วนของพม่าได้ทำการจับมือกับบริษัท ฟอร์เอฟเวอร์ กรุ๊ป สื่อยักษ์ใหญ่ในพม่า เปิดบริษัทร่วมทุนใหม่ในชื่อ บริษัท เอ็มไอซีวี MICV หรือ Myanmar Index Creative Village ด้วยสัดส่วนการลงทุนที่ 50% เท่ากัน โดยมองว่าปีหน้าจะมีรายได้จากพม่าราว 50 ล้านบาท และจากเวียดนาม 100 ล้านบาท ส่วนรายได้ในประเทศไทยนั้น ปีนี้มีการเติบโตสูงกว่าเป้าที่วางไว้ โดยทำได้กว่า 2,860 ล้านบาท เติบโต 38% จากเป้าเดิมที่วางเป้าไว้ที่ 2,250 ล้านบาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000138238
meadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 217
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 34

โพสต์

รูปภาพ
meadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 217
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 35

โพสต์

เก็บภาพ เมืองต่างจังหวัดในพม่า แวะจอดพักระหว่างทาง กลับเนปิดอร์
รูปภาพ

ใจกลางเมืองถนนกว่างหน่อย ถัดออกไปสักสามร้อยเมตร ถนนจะเหลือสามเลน ตรงกลางลงหิน ให้รถ&ลาเทียมเกวียนวิ่ง ซ้ายขวาเป็นทางเกวียน
รูปภาพ

ร้านน้ำชาแบบพม่า
รูปภาพ

ดูลีลาการทำ สั่งโรตี่มากินคู่ กับน้ำชา ดีกว่า
รูปภาพ

ปล. ควรกินก่อน เดินไปเข้าห้องน้ำ เดียวจะทานไม่ลง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 36

โพสต์

นึกถึงเรื่องอาหาร ที่พม่าสิ่งที่ไม่คิดมาก่อนอย่างหนึ่งว่าจะเจอ แต่คนใต้ยิ้มร่าเลย

"สะตอ" พบได้ทั่วไป
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 37

โพสต์

mewdow เขียน:รูปภาพ
ขอบคุณมาก ทำมานานพอสมควรแล้ว จะเข้าใจว่าสร้างภาพก็ยินดีน้อมรับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=53005

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=54130

และในห้องร้อยคนร้อยหุ้นอีกพอสมควร เชิญลองตรวจสอบกันดู

(ขออภัยทุกๆท่านที่ทำให้กระทู้เลอะเทอะ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจง)
meadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 217
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 38

โพสต์

เท่าที่เห็น สภาพบ้านเมื่อง และผู้คน ที่ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และตามหัวเมื่องที่ไป

พื้นที่ว่างเปล่าเยอะมาก ระหว่างทางจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ เริ่มมีการปลูกยางพาราบ้าง ต่อไปคงมีการปลูกอีกมาก

ด้วยปริมาณพื้นที่ที่ยังว่าง อีกมาก บวกกับแรงงานที่มี ถ้าพม่าหลุดจากการกีดกันท่างการค้า แก้กฏทางการค้าหน่อย ขายของกันออกต่างประเทศได้สะดวก ภาคเกตรน่าจะเกิดได้ก่อน โรงงานที่อาศัยที่แรงงานจำนวนมากน่าจะได้เปรียบ

ส่วนการปริโภคภายในประเทศคงต้องใช้เวลาสักพัก หลังจากคนมีงานทำ ขายสินค้าเกษตรได้ มีการต่อไฟฟ้าไปตามหมู่บ้าน
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 39

โพสต์

บทความของนักเศรษฐศาสตร์ ดร.วิรไท สันติประภพ

อ่านพม่าจากข่าว

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผมได้มีโอกาสกลับไปย่างกุ้งและเนย์ปิดอว์อีกครั้งหนึ่งเมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้ว หลังจากผ่านไปหกเดือน เพื่อติดตามความช่วยเหลือเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดทุนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงาน กลต. จะให้แก่ธนาคารกลางของพม่า กลับไปครั้งนี้ได้เห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่ารถที่ติดมากขึ้นในย่างกุ้ง การก่อสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นอีกหลายตึกในเนย์ปิดอว์ รวมทั้งราคาห้องพักโรงแรมที่แพงขึ้นมาก

เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ The Myanmar Times ยิ่งสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของพม่าที่กำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างชัดเจน แม้ว่าพม่าจะปิดประเทศมาหลายสิบปี แต่คุณภาพของ The Myanmar Times ถือว่าดีมาก ดีกว่าในหลายประเทศที่สื่อถูกแทรกแซงโดยรัฐบาล The Myanmar Times จัดได้ว่าเป็นสื่ออิสระที่ได้รับความนิยมสูง ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เคยถูกรัฐบาลทหารกักขังไว้ช่วงหนึ่ง จึงนับได้ว่ามีประวัติที่รับประกันความอิสระได้อย่างดี

The Myanmar Times ฉบับอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคมต่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในพม่าในหลายมิติ ผมคิดว่ามีอย่างน้อยสามข่าวที่น่าสนใจ ต้องติดตาม และคิดต่อเป็นอย่างยิ่ง ข่าวแรก คือข่าวที่ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง จัดให้มีการแถลงข่าวในพม่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่ที่ขึ้นเป็นประธานาธิบดี การจัดให้ประธานาธิบดีพบกับสื่อมวลชนท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องแปลกในประเทศประชาธิปไตย แต่ในพม่าซึ่งเคยมีธรรมเนียมการแทรกแซงสื่อ และไม่ค่อยเห็นความสำคัญต่อสื่อท้องถิ่นที่ไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาลนั้น นับว่าเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดที่สำคัญมาก การจัดงานประธานาธิบดีพบกับสื่อมวลชนในครั้งนี้ไม่ใช่การให้สัมภาษณ์ตามขั้นบันไดเหมือนกับที่ผู้นำไทยชอบทำ แต่ใช้เวลากว่าสองชั่วโมง และมีสื่อมวลชนเข้าร่วมกว่า 100 คน เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนถามคำถามตรงไปตรงมาในเรื่องใหญ่ๆ หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้าของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปัญหาความรุนแรงระหว่างชาวพุทธกับชาวโรฮิงยาในรัฐยะไข่ แนวทางการเจรจาสันติภาพในรัฐคะฉิ่น ปัญหาการจ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้านที่ถูกหน่วยงานของรัฐเวนคืนที่ดิน ตลอดไปจนถึงการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ว่าสื่อพม่าจะรายงานว่ายังไม่ค่อยพอใจกับช่วงเวลาที่ให้ถามประธานาธิบดีเท่าไหร่นัก แต่ก็นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าชื่นชม

ข่าวที่สอง รายงานความคืบหน้าของเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา (Thilawa) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้อย่างจริงจังต้นปี 2556 เขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา เป็นหนึ่งในสามเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลพม่าจัดสรรให้กับพันธมิตรต่างชาติ 3 ประเทศ คือ ทิลาวาเป็นของญี่ปุ่น เจ้าผิว (Kyaukphyu) เป็นของจีน และทวาย (Dawei) เป็นของไทย ดังนั้นจะจัดว่าโครงการทิลาวาเป็นคู่แข่งกับโครงการทวายก็เป็นได้ ในขณะที่เรายังต้องลุ้นกันอยู่ว่าโครงการทวายจะเดินหน้าได้อย่างไร จะจัดสรรประโยชน์ระหว่างไทยกับพม่าให้ลงตัวได้อย่างไร โครงการทิลาวาซึ่งได้รับสัมปทานทีหลังกลับมีความคืบหน้าที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมกว่าโครงการทวายมาก

รัฐบาลพม่าประกาศโครงการทิลาวาให้คนทั่วไปทราบเมื่อต้นปี 2554 นี้เอง แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าโครงการทวายมาก แต่ได้เปรียบโครงการทวายเพราะทิลาวาอยู่ห่างจากย่างกุ้งเพียง 25 กิโลเมตร และจะเชื่อมโยงกับท่าเรือเก่าที่ปากแม่น้ำย่างกุ้งได้อย่างดี โครงการทิลาวา ถือหุ้นโดยรัฐบาลพม่าร้อยละ 51 และญี่ปุ่นร้อยละ 49 โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น 3 บริษัทเข้าร่วมเป็นพันธมิตร คือ Mitsubishi, Marubeni และ Sumitomo ทั้งสามบริษัทเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเจ้าของเทคโนโลยี (ระดับโลก) หลายด้าน คาดว่าโครงการในทิลาวาจะผลิตสินค้าสำหรับทั้งการส่งออกและตอบสนองความต้องการของตลาดภายในพม่าที่โตขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมการจ้างงานให้แก่ประชาชนพม่าในวงกว้างอีกด้วย การที่รัฐบาลพม่าสามารถขับเคลื่อนโครงการทิลาวาได้รวดเร็วนั้น เป็นตัวอย่างสำคัญที่รัฐบาลไทยและธุรกิจไทยจะต้องเร่งศึกษาและนำมาปรับใช้สำหรับทั้งโครงการทวายและโครงการความร่วมมืออื่นๆ เพื่อที่เราจะไม่เสียโอกาสร่วมกับพม่าเดินไปข้างหน้าแบบชนะร่วมกัน (win-win) รัฐบาลพม่าใช้การเลือกตั้งในปี 2558 เป็นเงื่อนเวลาที่สำคัญสำหรับโครงการเหล่านี้ เพราะต้องแสดงให้ประชาชนพม่าเห็นก่อนการเลือกตั้งว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจ สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นถ้าโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่ายังขับเคลื่อนด้วยกำหนดเวลาแบบไทยไทยแล้ว คงจะไม่ทันใจพม่าและคู่แข่งจากประเทศรอบข้างที่รอเสียบอยู่อย่างแน่นอน

ข่าวที่สามเกี่ยวกับความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในย่างกุ้ง ทั้งที่อยู่อาศัยและสำนักงาน คนท้องถิ่นพม่ากำลังเดือดร้อนอย่างหนักจากที่ชาวต่างชาติจำนวนมากหลั่งไหลเข้าไปพม่าหลังจากเปิดประเทศ ในช่วงที่พม่าปิดประเทศนั้น การก่อสร้างที่อยู่อาศัย และอาคารสำนักงานใหญ่ๆ จำกัดมาก ชาวต่างชาติมักจะเช่าห้องพักตามโรงแรมทำเป็นสำนักงานและที่พักระยะยาว แต่เมื่อห้องพักโรงแรมขาดแคลน พวกฝรั่งอยู่ยาวและสำนักงานเหล่านั้นจึงต้องย้ายออกจากโรงแรมไปหาที่พักใหม่ ซึ่งหนีไม่พ้นว่าคนที่รับกรรมคือคนท้องถิ่นพม่าที่ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง ราคาบ้านเช่าในย่างกุ้งโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา และคนพม่าต้องย้ายออกไปเช่าบ้านไกลมากขึ้น ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามาทำงานและทำให้เกิดปัญหารถติด ปัญหาค่าเช่าบ้านในย่างกุ้งเป็นปัญหาที่อ่อนไหวมาก และถ้าไม่ได้รับการจัดการที่ดีแล้ว จะนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่พอใจของคนชั้นกลางพม่าได้

นอกจากสามข่าวข้างต้นแล้ว The Myanmar Times ยังได้รายงานอีกหลายข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพม่าและการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งสองเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่า พม่าขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานแทบจะทุกด้าน แม้ว่าพม่าจะส่งออกพลังงานหนึ่งในสิบอันดับต้นๆ ของโลก แต่คนพม่าไม่สามารถเข้าถึงพลังงานของตนเองได้ เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานและขาดระบบบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้การส่งเสริมการลงทุนของชาวต่างชาติจะต้องเปลี่ยนจากที่เน้นให้บริษัทต่างชาติเข้าไปขุดเอาพลังงานพม่าแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชนพม่า เพื่อจะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ให้แก่ประชาชนพม่าในวงกว้างด้วย

The Myanmar Times ฉบับนี้ไม่ได้รายงานเฉพาะข่าวภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีข่าวรอบโลกและข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยอยู่ 2 ข่าว ข่าวแรกเป็นข่าวเกี่ยวกับโครงการผ่าตัดหัวใจฟรีให้แก่เด็กพม่าของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ The Myanmar Times รายงานว่าโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ทำโครงการนี้เพื่อตอบแทนคนพม่าที่เป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญของโรงพยาบาล กิจกรรมเพื่อสังคมเช่นนี้เป็นกิจกรรมที่น่าชื่นชมยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับพม่าแล้ว ยังเป็นการตอบโจทย์ที่ตรงกับความต้องการของพม่าอย่างตรงประเด็น

สำหรับอีกข่าวหนึ่งเกี่ยวกับเมืองไทยนั้น อ่านแล้วอายพม่า The Myanmar Times รายงานเกี่ยวกับปัญหาโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย ที่กำลังทำให้ไทยสูญเสียความเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวให้แก่ผู้เล่นรายใหม่ เช่น กัมพูชาและพม่า (ไม่ใช่แค่อินเดีย หรือเวียดนามที่เรามักได้ยินกันเท่านั้น) รวมทั้งยังรายงานถึงผลกระทบอื่นๆ ที่ตามมาโดยเฉพาะการขาดแคลนโกดังเก็บข้าวจนต้องคิดที่จะใช้อาคารคลังสินค้าของสนามบินดอนเมือง

อ่าน The Myanmar Times ฉบับนี้แล้วได้ข้อคิดหลายอย่าง เพราะ The Myanmar Times ไม่ได้แค่สะท้อนการปฏิรูปในพม่าอย่างมีทิศทางชัดเจน รวดเร็ว และเป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่ยังทำให้ธุรกิจไทยและรัฐบาลไทยต้องคิดว่าทำอย่างไรที่เราจะเดินหน้าไปกับพม่าอย่างชนะร่วมกัน และทำอย่างไรที่คนไทยจะมีโอกาสอ่านข่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และการปฏิรูปในหนังสือพิมพ์ไทยได้บ้าง

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A7.html
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 40

โพสต์

สินค้าเกษตรไทยโดยเฉพาะยาง ทำใจไว้ได้เลยว่าราคาตกแน่ๆ แล้วยางตอนนี้ปลูกกันเยอะมากทั่วประเทศ อีสานก็เยอะ ถ้ามีการจำนำยางขึ้นมาเพื่อเอาใจฐานเสียงอีกล่ะก็ รัฐบาลคงกระเป๋าฉีก ข้าวอย่างเดียวก็เอาตัวไม่รอดแล้ว น่าเป็นห่วงนโยบายทำนองนี้จริงๆ
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 41

โพสต์

แบงก์ไทยลุยพม่ารับเออีซี รอ ก.ม. ร่วมทุนชัดเจน/กสิกรไทย-ใบโพธิ์เปิด สนง.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2012 เวลา 07:17 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ การเงิน Financial - คอลัมน์ : การเงิน Financial

แบงก์ไทยโหนกระแสพม่า ตั้งตารอปีหน้ากฎหมายร่วมทุนชัด "กสิกร" ชี้เริ่มเห็นเอกชนรายกลางปักหมุดลงทุนคอนโดฯ-อาคารสำนักงาน-ถนน-โรงพยาบาล-ประปา-ไฟฟ้าใช้ทุนส่วนตัว-กู้แบงก์ท้องถิ่นแม้ถูกโขกดอกสูงลิ่ว เชื่อโอกาสงามหลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ "ทวาย-จ้าวผิ่ว-ติลาวา" เสร็จสิ้น "ไทยพาณิชย์" เน้นเปิดเครือข่ายครอบคลุมประเทศลุ่มน้ำโขง แย้ม 23 พ.ย.นี้ เปิดสำนักงานตัวแทนที่พม่า

อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=443
meadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 217
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 42

โพสต์

patongpa เขียน:สินค้าเกษตรไทยโดยเฉพาะยาง ทำใจไว้ได้เลยว่าราคาตกแน่ๆ แล้วยางตอนนี้ปลูกกันเยอะมากทั่วประเทศ อีสานก็เยอะ ถ้ามีการจำนำยางขึ้นมาเพื่อเอาใจฐานเสียงอีกล่ะก็ รัฐบาลคงกระเป๋าฉีก ข้าวอย่างเดียวก็เอาตัวไม่รอดแล้ว น่าเป็นห่วงนโยบายทำนองนี้จริงๆ
ผมว่านอกจาก สองอย่างนี้แล้ว โรงงานที่ต้องการพื้นที่ปลูกพืชขนาดใหญ่ ป้อนให้โรงานอย่าง อ้อย ปาลม์ กระดาษ ก็น่าจะมี่ความได้เปรียบ
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ญี่ปุ่นจะประกาศให้เงินกู้พม่า $615 ล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2555 12:16 น.


นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ของญี่ปุ่น ระหว่างแถลงข่าว ในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 16 พ.ย. สื่อของญี่ปุ่นรายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดสรรเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำระยะยาวให้กับพม่าจำนวน 615 ล้านดอลลาร์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของบริษัทจากญี่ปุ่น โดยการประกาศคาดว่าจะมีขึ้นหลังการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นและพม่านอกรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันนี้ (19).

เอเอฟพี - รายงานวานนี้ (18 พ.ย.) ระบุว่า ญี่ปุ่นจะจัดสรรเงินกู้ให้กับพม่าจำนวน 615 ล้านดอลลาร์ ในความเคลื่อนไหวที่มีขึ้นหลังสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกห้ามนำเข้าสินค้าจากพม่าเพียงไม่กี่วัน

พม่าที่สิ้นสุดการปกครองระบอบเผด็จการทหารที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษเมื่อปีก่อน และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชาติต่างๆ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอย่างกว้างขวางและช่วงชิงที่จะเข้าไปยังตลาดที่สร้างกำไรแห่งนี้

นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ของญี่ปุ่น จะประกาศการจัดสรรเงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวเมื่อเข้าหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งนอกรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกัมพูชา วันนี้ (19 พ.ย.) ตามการระบุของหนังสือพิมพ์นิคเคอิ ของญี่ปุ่น

นับเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำระยะยาวครั้งแรกที่ญี่ปุ่นจัดสรรให้กับพม่าในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ ที่จะช่วยสนับสนุนบริษัทของญี่ปุ่นที่เข้าไปดำเนินกิจการในพม่าและถ่วงดุลอำนาจของจีนที่แผ่ขยายอิทธิพลในพม่า

หนังสือพิมพ์นิคเคอิรายงานว่า ญี่ปุ่นจะจัดมอบเงินกู้ยืมดังกล่าวให้ในปีงบประมาณหน้าที่จะเริ่มขึ้นในเดือนมี.ค. 2556 ขณะที่ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ต่างๆ คาดว่าจะประกาศยกเลิกหนี้ค้างชำระของพม่าในเดือนม.ค.

เงินกู้ยืมจำนวน 50,000 ล้านเยน จะนำไปใช้ใน 3 โครงการ ที่รวมทั้งโครงการระบบโครงสร้างพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาวา (Thilawa) ที่ญี่ปุ่นเข้าลงทุนพัฒนาชานนครย่างกุ้ง โดยมีบริษัทมิตซูบิชิ บริษัทซูมิโตโม และบริษัทมารุเบนิ ถือหุ้นส่วนใหญ่

ส่วนอีก 2 โครงการ คือ งานซ่อมแซมโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใกล้นครย่างกุ้ง และโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน 14 เขต เพื่อลดปัญหาความยากจน

ญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการส่งออกกำลังมองหาการส่งเสริมความเติบโตในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรและกำลังถูกปกคลุมด้วยอิทธิพลของจีน

ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายต่างไปจากชาติตะวันตกอื่นๆ โดยยังคงความสัมพันธ์ทางการค้าและการหารือกับพม่าและได้กล่าวเตือนว่าความแข็งกร้าวต่อรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าอาจผลักดันให้พม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากยิ่งขึ้น

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำระยะยาวลักษณะคล้ายกันนี้ให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้ง เวียดนาม และอินเดีย ในเป้าหมายที่หวังจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเห็นชอบที่จะยกหนี้จำนวน 300,000 ล้านเยน จากทั้งหมด 500,000 ล้านเยน ให้กับพม่า.

ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000141047
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 44

โพสต์

หนุนเปิดพรมแดนการค้า "แม่สอด-เมียวดี" ชี้มูลการค้าไทยสูงกว่าพม่าปีละ 2.8 แสนล้าน

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555 เวลา 14:43 น.

สำนักเศรษฐกิจการเกษตร หนุนเปิดพรมแดนเมืองเศรษฐกิจใหม่แม่สอด เมียวดี ชี้มูลค่าการค้าไทยสูงกว่าพม่าปีละ 2.8 แสนล้าน

วันนี้ ( 21 พ.ย.) นายชวพฤฒ อินทรเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 2 เปิดเผยว่าการค้าธุรกิจไทยและพม่าเข้ามาลงทุนในเขตการค้าชายแดน แม่สอด – เมียวดี มีมากขึ้น จะเห็นได้ว่าศักยภาพเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย-พม่าในปัจจุบันนั้นนับว่าไทยเป็นประเทศคู่ค้าของพม่าอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีมูลค่าการค้าสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากจีน (ยูนาน) ซึ่งในปี 2554 มูลค่าทางการค้าโดยรวมของไทย-พม่า สูงถึง 287,000 ล้านบาทโดยเป็นมูลค่าการค้าชายแดนในจุดผ่านแดนถาวร 4 จุด ทั่วประเทศ ประมาณ120,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าการค้าไทย-พม่าทั้งหมด

ปัจจุบันด่านการค้าชายแดนไทยพม่ามีจำนวน 4 ด่าน ได้แก่ 1) ด่าน อ.แม่สอดจ.ตาก -เมียวดี 2) ด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย – ท่าขี้เหล็ก 3) ด่านอ.เชียงแสน จ.เชียงราย และ 4) ด่าน จ.ระนอง – เกาะสองหากพิจารณามูลค่าการค้าชายแดนของไทย พบว่า เขตการค้าชายแดนด้านอำเภอแม่สอดจ.ตาก เป็นจุดผ่านแดนถาวรที่มีมูลค่าทางค้าชายแดนของไทย-พม่า สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับจุดผ่านแดนถาวรอื่นๆ โดยคิดเป็นมูลค่าการค้าประมาณ 20,000 - 30,000 ล้านบาท/ปี และในปี 2555

คาดว่าไทยจะมีมูลค่าทางการค้ามากกว่า 37,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 30ของมูลค่าการค้าบริเวณชายแดนระหว่างไทย – พม่า ทั้งหมดสำหรับแนวทางการพัฒนาและการเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจการค้าในบริเวณชายแดนไทย-พม่าในส่วนของด่าน อ.แม่สอด จ.ตาก นั้น หน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดตากโดยเฉพาะใน อ.แม่สอด ควรบูรณาการร่วมกันในระดับจังหวัดและระดับภาค เพื่อเร่งขับเคลื่อนโครงการพัฒนาการค้าชายแดนให้เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาอันใกล้นี้

โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษใน อ.แม่สอด จ.ตาก และโครงการจัดสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2 เพื่อให้สอดรับต่อการจัดสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษของเมียวดี รัฐกะเหรี่ยงของพม่า ที่คาดว่าจะพร้อมเปิดใช้บริการก่อนปี 2558 อันจะเป็นอีกปัจจัยช่วยกระตุ้นให้มูลค่าทางการค้าชายแดนไทย-พม่าขยายตัวได้อย่างมหาศาล ส่วนแนวทางการพัฒนาและการเตรียมพร้อมของพม่าขณะนี้นั้นภาครัฐของพม่าได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการยึดถือและปฏิบัติตามกฏหมายการค้า/การลงทุนเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้า การเงิน และการลงทุนสามารถดำเนินการได้อย่างเสรีมากขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2556

ทั้งนี้รัฐบาลพม่าจะประกาศใช้กฎหมายการค้าฉบับใหม่ที่ปรับปรุงจากกฎหมายการค้าเดิมเพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในประเทศพม่ามากขึ้น เช่นการลดภาษี การลดอัตราดอกเบี้ย ให้อยู่ในระดับที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้นรวมถึงอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิเท่าเทียมกันนักลงทุนชาติตนเองตลอดจนการเชื่อมโยงการค้าในหลายจุดและพัฒนาเส้นทางการคมนาคมสู่ตลาดจีนและอินเดียในอนาคตรวมไปถึงการกำหนดมาตรการด้านการขยายโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินธุรกิจในพม่าได้นานถึง50 ปี

ที่มา http://www.dailynews.co.th/businesss/168086
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ทุนโสมผุดรง.อาหารอาเซียน

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:01 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ การตลาด Marketing

"ซีเจ เจอึล เจดัง" กลุ่มทุนอาหารจากเกาหลี ปักธงบุกอาเซียน รุกหนักธุรกิจอาหารและไบโอรับเปิดเออีซี ประกาศทุ่มเงินผุด 2 โรงงานใหม่ในมาเลเซียและจีน พร้อมเดินหน้ารุกตลาดพม่า ขณะที่ตลาดในไทยแข่งเดือด ผู้นำตลาดแข็ง

ขอลุยเจาะช่องทางบีทูบีเป็นหลัก ชี้เป้าหมายระยะยาวขอขึ้นเบอร์ 1 ผู้ผลิตอาหารและไบโอระดับโลก

ชุง ยุน ลีชุง ยุน ลี นายชุง ยุน ลี ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มธุรกิจไบโอ บริษัท ซีเจ เจอึล เจดัง คอร์ปอเรชั่น ประเทศเกาหลี ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารและไบโอ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัทวางแผนจะรุกธุรกิจส่วนผสมอาหารและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ(ไบโอ)ในอาเซียนมากขึ้น รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 และผลักดันการเติบโตของธุรกิจให้เป็นผู้นำในธุรกิจส่วนผสมอาหารของอาเซียนภายใน 3-4 ปีข้างหน้า สอดคล้องกับนโยบายบริษัทแม่ที่ตั้งเป้าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ผู้ผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ไบโอรายใหญ่ของโลก โดยปัจจุบันบริษัทมียอดขายและส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 ในไทย ,ฟิลิปปินส์ และเป็นอันดับ 3 ในมาเลเซีย, เวียดนาม และเป็นอันดับ 1 ในอินโดนีเซีย เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทเตรียมขยายการลงทุนเพิ่มอีก 2 แห่ง ประกอบไปด้วย โรงงานแห่งที่ 2 เพื่อผลิตกรดอะมิโน ในประเทศมาเลเซีย และ โรงงานแห่งที่ 2 ในประเทศจีน ขณะที่ฐานการผลิตสินค้าสำคัญหลักยังอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียเพื่อใช้ในการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน

ล่าสุดเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าไปลงทุนสร้างสำนักงานที่ประเทศพม่า เพื่อรองรับตลาดอาหารและส่วนผสมอาหารเจาะลูกค้าอุตสาหกรรม(บีทูบี)ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นด้วย เนื่องจากพม่าเป็นประเทศเปิดใหม่และมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งบริษัทจะรุกหนักตลาดในประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้นด้วย เพราะยังมีช่องทางและโอกาสในการทำตลาดสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศไทยที่ตลาดผลิตภัณฑ์ไบโอค่อนข้างอิ่มตัว และตลาดมีการแข่งขันรุนแรงจากผู้นำตลาด โดยเฉพาะอายิโนะโมะโต๊ะ

ขณะที่การทำตลาดในประเทศไทย บริษัทยังเน้นเจาะลูกค้าอุตสาหกรรมหรือรูปแบบบีทูบีเป็นหลัก และยังไม่มีแผนนำสินค้าเจาะผู้บริโภครายย่อย แม้ว่าในประเทศเกาหลีจะมีผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ซอสปรุงรส ฯลฯ อยู่จำนวนมาก แต่ตลาดในประเทศไทยค่อนข้างมีอุปสรรคช่องทางจำหน่ายสินค้ามีคู่แข่งยึดพื้นที่ไว้เกือบหมดแล้ว ส่วนอุปสรรคในการทำตลาดอาเซียนยังเป็นเรื่องราคา เนื่องจากมีสินค้าจากจีนที่ราคาต่ำกว่าเข้ามาทำตลาด

"เดิมบริษัทมีแผนจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตกรดอะมิโนเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร รวมทั้งการผลิตผงชูรส แต่เมื่อพิจารณาตลาดแล้วพบว่ามาเลเซียมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าจึงลงทุนเพิ่มในประเทศดังกล่าว ประกอบกับไทยมีวัตถุดิบในการผลิตสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของบริษัท จากนี้ไปบริษัทจะมุ่งทำตลาดที่มีการเติบโตสูง เช่น เวียดนาม ซึ่งตลาดผงชูรส และผลิตภัณฑ์ไบโอเติบโตราว 20% จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังซื้อผงชูรสแบบตัก เป็นต้น ต่างจากไทยที่ตลาดโต 2-3% เท่านั้น และเริ่มอิ่มตัว หาโอกาสทางการตลาดยาก โดยในไทยบริษัทจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตอาหารหรือโปรเซสฟูดส์เป็นหลัก ซึ่งจากการเข้ามาทำตลาดตั้งแต่ปี 2553 มีลูกค้าหลักเช่น ซีพี เบทาโกร ไทยเพรซิเดนท์ มอนเด ยูนิลีเวอร์ เป็นต้น" นายลี กล่าว

ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกอาหารและส่วนผสมอาหารของบริษัทมากขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยอมรับว่าบริษัทแม่ให้ความสำคัญในการรุกตลาดเอเชียมากขึ้น ขณะที่ยอดขายสินค้าในไทยปีนี้คาดว่าจะเติบโตระดับทรงตัวประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 900 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน

สำหรับกลุ่มบริษัทซีเจฯ เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540 และมีธุรกิจหลักคือโฮมช็อปปิ้ง ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ร่วมทุนกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ขณะที่ในประเทศเกาหลีบริษัทถือเป็นผู้ผลิตอาหารครบวงจรและรายใหญ่สุดเช่นเดียวกับซีพีในประเทศไทย และมีธุรกิจมีเดีย เอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย โดยในปี 2556 บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายทั่วโลก 10 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,794 วันที่ 22-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 46

โพสต์


ไอเอ็มเอฟชี้พม่าอาจเป็นดาวรุ่งดวงถัดไปของเอเชีย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 พฤศจิกายน 2555 11:39 น.

เอเอฟพี - พม่าจะกลายเป็นพลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งถัดไปของเอเชีย หากพม่ายังเดินหน้าปฏิรูปต่อไป ไอเอ็มเอฟระบุวานนี้ (21) ที่เป็นการส่งสัญญาณว่าพม่าอาจได้รับการตรวจสอบโครงการลงทุนในปี 2556

“ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปอย่างแข็งขัน พม่ามีศักยภาพที่จะปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน และกลายเป็นดาวรุ่งดวงถัดไปของเอเชีย” นางเมอร์รัล คาราซูลู ผู้อำนวยการของไอเอ็มเอฟประจำพม่า ระบุในคำแถลง

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟระบุว่า การหารือได้ชี้เห็นเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีโครงการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ในปีหน้าที่จะเข้าร่วมตรวจสอบความก้าวหน้าในแผนปฏิรูปของรัฐบาล

นางคาราซูลู ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการหารือกับรัฐมนตรีคลัง ผู้ว่าการธนาคารกลาง และเจ้าหน้าที่อาวุโส ระบุว่า รัฐบาลพม่าได้ดำเนินการปฏิรูปอย่างรวดเร็วให้เศรษฐกิจประเทศทันสมัย นับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนขึ้นบริหารแทนรัฐบาลเผด็จการทหารเมื่อปี 2554

“อย่างไรก็ตาม รัฐบาลตระหนักว่าหนทางนั้นยังอีกยาวไกล” นางคาราซูลูกล่าว

ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า ทางการพม่าได้หารือเกี่ยวกับการปฏิรูปในช่วงปีข้างหน้าที่จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการรวมอัตราเงินตราต่างประเทศ การเสริมสร้างธนาคารกลางให้แข็งแกร่ง และปรับปรุงรายได้เพื่อเป็นทุนให้แก่โครงการพัฒนาที่จำเป็น

ในเดือน พ.ค. ไอเอ็มเอฟได้ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับพม่าฉบับแรกในรอบหลายสิบปี โดยเรียกร้องให้ทางการพม่าเร่งปฏิรูปเพื่อส่งเสริมบรรยากาศธุรกิจ และการลงทุน รวมทั้งปรับปรุงภาคการเงินให้มีความทันสมัย และการค้าเสรี

พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย หลังเศรษฐกิจของประเทศไม่ได้รับการจัดการที่ดีอยู่นานหลายทศวรรษภายใต้การปกครองของทหาร.

ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000142585
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 47

โพสต์

พม่าเปิดเส้นทางบินตรงพนมเปญฯ เดือนหน้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2555 18:23 น.

ซินหัว - สายการบินเมียนมาร์ แอร์เวย์ส อินเตอร์เนชันแนล (MAI) จะฟื้นเส้นทางบินตรงระหว่างนครย่างกุ้ง และกัมพูชาในเดือน ธ.ค. นี้ หลังจากหยุดให้บริการชั่วคราวนาน 3 เดือน เจ้าหน้าที่ของสายการบินพม่าเปิดเผยวันนี้ (23 พ.ย.)

สายการบินจะใช้เครื่องบินแอร์บัส A-320 ทำการบินในเส้นทางย่างกุ้ง-พนมเปญ ทุกวันพุธ และเสาร์ ขณะที่เส้นทางย่างกุ้ง-เสียมราฐ จะมีให้บริการทุกวันจันทร์ และศุกร์

เส้นทางบินย่างกุ้ง-พนมเปญ เริ่มให้บริการเมื่อเดือน พ.ย. 2554 ขณะที่เส้นทางย่างกุ้ง-เสียมราฐ เริ่มให้บริการในเดือน มี.ค.2554

เส้นทางบินตรงเชื่อมต่อระหว่างพม่า และกัมพูชาเปิดตัวครั้งแรกหลังการประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ครั้งที่ 4 และการประชุมกลุ่มประเทศ CLMV ครั้งที่ 5 (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ที่มีขึ้นในเดือน พ.ย.2553 ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค

ขณะเดียวกัน สายการบินอีกจำนวนมากต่างเตรียมพร้อมที่จะให้บริการเส้นทางบินมายังพม่า เช่น สายการบินดราก้อนแอร์ ที่จะเริ่มให้บริการบินตรงระหว่างฮ่องกงและนครย่างกุ้ง ในวันที่ 9 ม.ค.2556 ด้วยเครื่องบินแอร์บัส A-321 ทั้งหมด 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

ส่วนสายการบินเมียนมาร์ แอร์เวย์ส อินเตอร์เนชันแนล จะให้บริการเส้นทางบินตรงระหว่างนครย่างกุ้ง และฮ่องกงก่อนสิ้นปีนี้.

ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000143341
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 48

โพสต์

หม่องเฮ บริษัทพม่าคว้าสิทธิถ่ายทอดพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในประเทศ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2555 16:55 น.

รอยเตอร์ - การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษได้กลายเป็นธุรกิจรายล่าสุดที่เข้าทำกำไรจากการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางการค้ากับพม่า ด้วยสัญญาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันนาน 3 ปี

บริษัทสกายเน็ท บริษัทท้องถิ่นที่ให้บริการโทรทัศน์ในระบบสมาชิกรายใหญ่ที่สุดของพม่า เป็นผู้ซื้อสิทธิการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลรายการนี้

“แม้จะมีการแข่งขันอย่างรุนแรงจากบริษัทต่างชาติ แต่สกายเน็ทสามารถที่จะนำเสนอการแข่งขันฟุตบอลลีกที่มีผู้ติดตามชมมากที่สุดในโลกให้แก่ผู้ชมของบริษัทได้” มี้นต์ มี้นต์ วิน กรรมการผู้จัดการบริษัทสกายเน็ท กล่าวในคำแถลง

นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษอาจมีราคาสูงถึง 5,000 ล้านปอนด์ (8,000 ล้านดอลลาร์) สำหรับการถ่ายทอดการแข่งขัน 3 ฤดูกาล โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูกาล 2556-2557.

ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000143875
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ผ่าสัมพันธ์ "พม่า-จีน" จุดหักเห เปลี่ยนมุมอ้าแขนรับตะวันตก เปิดทาง"โอบามา"

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 20:00:08 น

ผู้เขียน: ดร.ประพีร์ อภิชาติสกล ผู้อำนวยการศูนย์อเมริกันศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พื้นฐานนโยบายต่างประเทศของพม่าในช่วง 14 ปีแรกที่เป็นเอกราชภายใต้การปกครองระบบรัฐสภานั้นเป็นไปในลักษณะยึดถือความเป็นกลาง แต่หลังปฏิวัติและอยู่ภายใต้ปกครองแบบเผด็จการทหารตั้งแต่ปีพ.ศ. 2505 มีการตั้งข้อสังเกตว่าภายในนโยบายความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของพม่านั้นมีลักษณะที่เป็นไปในรูปแบบการดำเนินนโยบายแบบโดดเดี่ยวมากกว่า

นักการทูตอาวุโสของพม่าคนหนึ่งกล่าวว่า ในช่วงก่อนถึงปลายยุค 80 ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนลงไปว่านโยบายต่างประเทศของพม่านั้นยึดหลักใด ไม่ว่าจะเป็นการยึดถือความเป็นกลาง (neutralism)ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด(non-aligned) นโยบายโดดเดี่ยวตัวเอง(isolationism) หรือนโยบายพึ่งพาตนเอง (independence) อาจอธิบายได้ว่าในช่วงสงครามเย็นจนถึงปีพ.ศ. 2514 นโยบายต่างประเทศของพม่าในทางปฏิบัตินั้นเป็นพึ่งพาตนเองและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่หลังจากนั้นจะเป็นไปในแบบพึ่งพาตนเอง และเป็นไปในเชิงรุก ตัวอย่างเช่น พม่าไม่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มการเมืองระหว่างประเทศใดแต่จะยึดมั่นอยู่กับฝ่ายที่ถูกต้อง โดยเข้าร่วมในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสันติภาพของโลก การต่อต้านสงคราม และรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกชาติ

สำหรับความสัมพันธ์กับจีน ย้อนกลับไปตั้งแต่พม่าประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ.2491 พม่าสนับสนุนจีนที่กลายเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยมีการปกครองภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์เมื่อปี พ.ศ.2492 ในมุมมองของพม่า พม่ารู้ว่าจีนมองพม่าสำคัญในแง่ความมั่นคงและยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นต่อจีนในการติดต่อกับดินแดนอื่นที่อยู่รอบพม่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่านั้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาตั้งอยู่บนหลักการการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5 ประการ เป็นความตกลงระหว่างพม่า จีน และอินเดียในปี พ.ศ.2497 ประกอบด้วย

1.เคารพต่อบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของกันและกัน
2.ไม่รุกรานซึ่งกันและกัน
3.ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
4.เคารพในความเท่าเทียมกันและการดำเนินการที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย
5.อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

นอกจากนั้นความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างพม่ากับจีนใกล้ชิดมากขึ้นโดยดำเนินนโยบายทางการทูตโดยส่วนตัวของผู้นำทั้งสองประเทศ นายโจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรีจีน เดินทางไปพม่าเมื่อเดือนมิถุนายน 2497 และนายอูนุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าเดินทางไปเยือนปักกิ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ในปีเดียวกัน แม้ว่าทั้งสองประเทศจะยอมรับในหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่านั้นเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆตั้งแต่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2493 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีนได้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้นและมากเป็นประวัติการณ์ในช่วงตั้งแต่ปี 2532 หลังจากมีการจัดตั้งสภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council – SLORC) โดยรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปี 2531

ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติและในเวทีการประชุมระหว่างประเทศอื่นๆเช่นในองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฝ่ายตะวันตกประณามและใช้มาตรการบีบบังคับพม่าในประเด็นประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ขณะที่ผู้นำจีนสนับสนุนพม่าอย่างชัดเจน โดยนอกจากจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสองประเทศแล้วแต่มีเหตุผลที่เข้าใจได้ว่าทั้งสองประเทศมีมุมมองอย่างเดียวกันในเรื่องการต่อต้านฝ่ายตะวันตกที่พยายามจะคุกคามและแทรกแซงกิจการภายในของทั้งสองประเทศ จีนและพม่ายังมีแนวคิดร่วมกันด้านสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกับสิทธิทางการเมือง

นายหลี่เผิง นายกรัฐมนตรีของจีน เดินทางไปพม่าเมื่อเดือนธันวาคม 2537 ทั้งสองฝ่ายยึดมั่นในประเด็นที่ว่าประเทศต่างๆในโลกควรมีสิทธิเลือกระบบการปกครองของตนเอง และเส้นทางในการพัฒนาประเทศควรที่จะเป็นไปตามธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ที่มาทางประวัติศาสตร์และความปรารถนาของมวลชนในประเทศนั้น

ในเรื่องความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง - พม่านั้นดำเนินนโยบายความเป็นกลางในช่วงสงครามเย็นอย่างเข้มงวดทั้งที่ประเทศมหาอำนาจต่างๆและพันธมิตรมีข้อเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่พม่า แต่เมื่อสภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ หรือสล็อร์กได้เข้ามาบริหารประเทศ พม่าพึ่งพาตนเองในการจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์ต่างๆ โดยมีจีนที่เต็มใจจะจัดหาอาวุธที่ทันสมัยให้แก่พม่า

ในเรื่องความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ – การค้าของพม่ากับจีนเป็นการทำการค้าในรูปแบบธรรมเนียมการค้าทั่วไปตามเมืองท่าและผ่านมายังสนามบินโดยอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การค้าบริเวณชายแดนที่ทั้งสองฝ่ายกำหนดขึ้นอย่างหลวมๆ จีนกลายมาเป็นผู้จัดหาสินค้าอุปโภคและบริโภคหลักให้กับพม่า และพม่าเองใช้นโยบายเปิดประตู (Open Door Policy) ซึ่งเป็นการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของรัฐบาลทหารพม่าอันเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการค้ากับภายนอกประเทศ ไม่เพียงแต่การทำการค้าสินค้าระหว่างกันแต่พม่ากับจีน(มณฑลยูนาน)ยังติดต่อกันด้านการค้าบริการและแรงงานด้วย ด้านทิศตะวันตกของมณฑลยูนานนั้นมีพรมแดนติดกับพม่าจึงมีการจ้างงานกันเป็นรายวันและระยะยาวเพื่อมาทำงานก่อสร้าง เหมืองแร่ การค้าบริการด้านต่างๆ และมณฑลยูนานยังได้ซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพม่าด้วย

นอกจากในเรื่องการค้าแล้วจีนยังได้เข้าไปเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมที่ล้าหลังในพม่าให้ทันสมัยขึ้นและและช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักของพม่าด้วย ในระหว่างที่นายพลอาวุโสตานฉ่วย ของพม่าเดินทางไปที่กรุงปักกิ่งเมื่อเดือนธันวาคม 2546 จีนยื่นข้อเสนอให้พม่าได้สิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน และให้เงินช่วยเหลือในความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีร่วมกัน ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจทำให้ตั้งแต่ช่วงต้นยุคทศวรรษ 1990 รัฐบาลทหารพม่ามีความพยายามจัดตั้งโครงการต่างๆขึ้นเช่น โครงการสร้างถนน สะพาน เขื่อน โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้กำลังน้ำ

ข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและด้านการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี ทำให้พม่านั้นพึ่งพิงจีนอย่างเต็มที่ในด้านความรู้ความชำนาญ การนำเข้าเครื่องยนต์กลไกและเครื่องมือต่างๆ ดังนั้นจีนจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเช่น โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตไม้อัด โรงสีข้าว โรงงานผลิตพลังงานจากถ่านหิน โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว และโรงงานอุตสาหกรรมเบาอื่นๆ

จีนยังจัดหาเรือส่งสินค้าตามชายฝั่ง เครื่องสูบน้ำชลประทาน เครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้าง ชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติ และสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินให้พม่าด้วย นอกจากนั้นสะพานข้ามระหว่างเมืองย่างกุ้งกับเมืองสิเรียมหรือตันลยิน (Thanlyin)เมืองท่าปากแม่น้ำอิระวดี สนามบินระหว่างประเทศที่เมืองมัณฑะเลย์ สนามกีฬาและโรงละคร

การปรับปรุงถนนบริเวณชายแดนระหว่างพม่ากับยูนาน ล้วนแล้วแต่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนทั้งสิ้น แม้ว่าในทางพฤตินัยพม่านั้นจะเป็นรัฐบริวารของจีน แต่พม่านั้นปฏิเสธการเข้ามาตั้งฐานทัพของจีนในพม่า หรือการจัดตั้งพันธมิตรทางด้านยุทธศาสตร์ตามที่จีนต้องการ และมีสัญญาณบ่งบอกว่าพม่าจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องการซื้ออาวุธ และจีนจะไม่มีความสำคัญให้เป็นอันดับแรกที่พม่าจะให้ความร่วมมือด้วยในโครงการต่างๆตามที่ตกลงกันไว้ในปี 2540 โดยที่รัฐบาลทหารพม่าได้ผ่อนคลายจุดยืนในเรื่องสิทธิมนุษยชนและประเด็นเรื่องประชาธิปไตยเมื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการเมืองโลก ทั้งในกลุ่มอาเซียน และระบบสหประชาชาติ ดังนั้นพม่าจึงมีแนวโน้มที่จะหันเหไปยังฝ่ายตะวันตกมากขึ้น

แม้ว่าการค้าขายระหว่างจีนกับพม่านั้นดูเหมือนว่าจะเป็นไปด้วยดี เช่นการค้าในเมืองรุ่ยลี่ (Ruili)บริเวณชายแดนจีน-พม่า ที่มีร้านค้าของชาวจีนขายพวกหยก กำไล จี้ อยู่เป็นจำนวนมาก ในมุมมองของจีน การค้าขายหิน ของเก่าแก่ และไม้ของพม่า นั้นเป็นธุรกิจที่ดี แต่ในมุมมองของชาวพม่า การค้าขายของเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเลยนอกจากการปล้นประเทศของพวกเขา ตั้งแต่ที่พม่านั้นถูกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากฝ่ายตะวันตกในช่วงกลางยุคทศวรรษที่1990 จีนมีอิสระในการเข้ามาควบคุมได้อย่างเต็มที่

ชาวพม่ายังไม่พอใจที่นักธุรกิจจีนจากยูนานที่นำสินค้าของพวกเขาเข้ามาขายในพม่าซึ่งเกิดจากการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่พม่าที่ให้ความร่วมมือด้วย ในเวลาเดียวกับที่ชาวพม่าได้รับผลประโยชน์น้อยมากจากการค้าข้ามพรมแดน ประเด็นเหล่านี้ไม่เป็นที่สนใจนักจนกระทั่งมีการปฏิรูปทางการเมืองในพม่า ซึ่งจีนเองไม่ได้คิดถึงว่าจะเกิดการสะสมความไม่พอใจขึ้นจากการเข้าไปตักตวงหาประโยชน์ในพม่ามาเป็นระยะเวลายาวนาน ในที่สุดศึกความขัดแย้งระหว่างจีนกับพม่าก็เริ่มขึ้นด้วยการที่พม่าระงับโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้ามี้ตโสน (Myitsone) ที่มีมูลค่า 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐไปเมื่อปี 2554 เขื่อนนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับเขื่อนอื่นๆ ซึ่งจะสร้างบนแม่น้ำอิระวดีในรัฐกะฉิ่น

จีนเข้าใจว่าพม่าจะยินดีกับโครงการพัฒนาต่างๆที่จีนจะสร้างให้ แต่สำหรับความเห็นของชาวพม่าการต่อต้านการสร้างเขื่อน มี้ตโสน เป็นการแสดงออกถึงความเกลียดชังจีน ในประเด็นเรื่องการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรอย่างพม่ากับประเทศเพื่อนบ้านที่โลภมากอย่างจีน หากปล่อยให้จีนสร้างเขื่อนจะทำให้ประชาชนในหลายหมู่บ้านต้องอพยพออกนอกพื้นที่และจะทำให้เกิดน้ำท่วมครอบคลุมหลายพื้นที่ ดังนั้นประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่าจึงระงับการสร้างเขื่อนนี้โดยให้เหตุผลว่าได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังประชาชนของเขาทำให้จีนค่อนข้างตกใจและประหลาดใจกับการตัดสินใจของผู้นำพม่าในครั้งนี้ เหตุการณ์นี้จึงเป็นบทเรียนของจีนที่สอนให้รู้ว่าจีนนั้นพลาดตรงที่มัวแต่ให้ความสนใจกับการสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลพม่า โดยไม่ได้สนใจที่จะฟังปัญหาในระดับท้องถิ่นและประเด็นการเมืองภายในอันละเอียดอ่อน

ในยุคปัจจุบันที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนจะกลับมาใหม่ในภูมิภาคเอเชีย พม่าจึงเปิดตัวด้วยการต้อนรับสหรัฐอเมริกา การยินดีต้อนรับการมาเยือนของประธานาธิบดีบารัค โอบามา จึงอาจตีความได้ว่าพม่ามีทีท่าจะเอนเอียงไปทางฝ่ายตะวันตก และให้ความสำคัญกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่มีนักวิชาการจีนส่วนหนึ่งมองว่าการเปลี่ยนแปลงในพม่าทั้งหมดนี้อาจจะเป็นแผนการอันแยบยลของสหรัฐอเมริกาที่จะกลับมาใช้นโยบายสกัดกั้นจีนอีกครั้ง หรืออาจจะเป็นเพียงแค่นโยบายที่มาจากกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในพม่าก็ได้

ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0305
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 50

โพสต์

เปิดข้อกฎหมายลงทุนพม่า ก้าวแรกบนเส้นทางสู่ "ทุนนิยม"

updated: 29 พ.ย. 2555 เวลา 10:57:34 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ย่างกุ้ง ได้รายงาน กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment Law หรือ FIL) กลับมายังกระทรวงพาณิชย์ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากกฎหมายการลงทุนฉบับเดิม ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2531 เริ่มแก้ไขในคราว การประชุมรัฐสภาวาระที่ 4 ในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้ให้ความเห็นชอบกฎหมายฉบับนี้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2555

สาระสำคัญของกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ประกอบไปด้วย รูปแบบการลงทุน แบ่งเป็น

1) การลงทุน โดยต่างชาติ ถือหุ้น 100% กับการร่วมทุนโดยนักลงทุนต่างชาติต้องมีสัดส่วนการลงทุนร่วมไม่น้อยกว่า 35% ของมูลค่าการลงทุนรวม สามารถร่วมทุนได้ทั้งกับรัฐบาลเมียนมาร์ หรือร่วมทุนกับเอกชนเมียนมาร์

2) สิทธิประโยชน์ ได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปีแรกนับจากปีที่เริ่มดำเนินการ แต่อาจขยายต่อไปได้เป็น 8 ปีแล้วแต่ประเภทกิจการ

3) สิทธิ์ในการเช่าที่ดิน ระยะเวลาการเช่าที่ดิน 30 ปี แต่สามารถต่อสัญญาได้อีก 1 ครั้ง รวมระยะเวลาการเช่าที่ดินต้องไม่เกิน 60 ปี นักลงทุนสามารถเช่าที่ดินได้จากทั้งรัฐบาล และเช่าที่ดินโดยตรงจากภาคเอกชนที่รัฐบาลสนับสนุน

4) การจ้างงาน ต้องจ้างชาวพม่าในตำแหน่งที่ไม่ต้องใช้ทักษะเป็นหลัก กำหนดสัดส่วนการจ้างงาน 5 ปีแรก 25%, ภายใน 10 ปี 50%, ภายใน 15 ปี 75% การจ้างงานคนพม่าจะต้องดำเนินการผ่านหน่วยงานของรัฐบาลหรือบริษัทจัดหางาน ท้องถิ่น

5) การให้หลักประกันนักลงทุน กม.ฉบับใหม่เพิ่มเติมข้อความว่า "กรณีที่มีการยึดกิจการกลับมาเป็นของรัฐบาล รัฐบาลจะพิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้กับนักลงทุนตามมูลค่าราคาตลาดในขณะนั้น" และ 6) เงินตราต่างชาติ นักลงทุนสามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วไป ปัจจุบันธนาคารกลางเมียนมาร์ได้ประกาศใช้ "อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ" มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 โดยมีการประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นประจำทุกวัน

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (FIL) ฉบับนี้แล้ว เมียนมาร์ยังมีระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าไป ประกอบธุรกิจในเมียนมาร์ ได้อีก 4 วิธีการ คือ
-การยื่นขอ อนุมัติโครงการลงทุนต่อคณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ (Myanmar Investment Commission หรือ MIC) ภายใต้กฎหมายการลงทุนฉบับเดิม มีเขตอุตสาหกรรม 23 แห่ง กับเขตอุตสาหกรรมบริเวณชายแดนอีก 3 แห่งไว้รองรับโครงการลงทุนของ MIC,
-การยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัทจำกัด ภายใต้กฎหมายบริษัท (Myanmar Company Act of 1914) เพื่อดำเนินธุรกิจในลักษณะแต่งตั้งบุคคลหรือผู้ประกอบการเป็นตัวแทนธุรกิจ การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทในเมียนมาร์
-การดำเนินกิจการเจ้าของ คนเดียวไม่ต้องยื่นขอจดทะเบียน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก อาทิ การเปิดร้านอาหาร
-และการยื่นขออนุมัติโครงการลงทุนต่อคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก ปัจจุบันเมียนมาร์มีเขตเศษฐกิจพิเศษไว้รองรับการลงทุนประเภทนี้ 3 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย, เขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะรัมรี และเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาร์ในระหว่างปี 2531-เมษายน 2555 คิดเป็นมูลค่า 40,699 ล้านเหรียญ โดยจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาร์มากที่สุดถึง 20,268 ล้านเหรียญ (49.8%) รองลงมาได้แก่ ไทย 9,564 ล้านเหรียญ (23.5%) และเกาหลีใต้ 2,930 ล้านเหรียญ (7.2%) ตามลำดับ

ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และรองประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมาร์ กล่าวว่า แม้จะมีกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้ แต่การลงทุนในเมียนมาร์ยังมีอุปสรรค เรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐานโดย เฉพาะไฟฟ้า, ระบบธนาคาร, การขาดแคลนแรงงานทักษะ, ข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมและธุรกิจสนับสนุน ตลอดจนตัวกฎหมายใหม่เองก็ยังไม่ชัดเจน

ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0200
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 792
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 51

โพสต์

วอลสตรีท เจอร์นัล เตือนลงทุนพม่าเสี่ยงสูง โครงสร้างยังไม่รองรับ

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล รายงานว่า นักลงทุนต่างชาติต่างแตกความเห็นต่อการลงทุนในพม่าเวลานี้ออกเป็น 2 ส่วน หลายบริษัทเร่งระดมทุนหวังเข้าไปลงทุนในหลายกิจการก่อน ในขณะที่อีกส่วนถึงกับถอนตัวออกมา พร้อมคำเตือนว่าโครงสร้างทุกอย่างในพม่ายังไม่รองรับการลงทุนจากภายนอก ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง

ทั้งนี้ กองทุนเพื่อการลงทุนเอกชน อาทิ ซิลค์โรด ไฟแนนซ์, คิวบ์ แคปิตอล, เลียวพาร์ด แคปิตอล และ พุกาม แคปิตอล ต่างพากันเร่งระดมทุนจากนักลงทุนเอกชนในหลายๆ ประเทศสำหรับการลงทุนในประเทศพม่า โดยขนาดของเงินลงทุนมีตั้งแต่ 20-25 ล้านดอลลาร์ เรื่อยไปจนถึง 1,300 ล้านดอลลาร์ และมีเป้าหมายจะลงทุนในกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงโทรคมนาคม บริษัทเพื่อการลงทุนชื่อดังอย่าง เคเคอาร์ และ แบล็คสโตน กรุ๊ป ที่เข้าไปสำรวจตลาดพม่ามาก่อนหน้านี้กลับยกธงขาวถอนตัวออกมาจากการลงทุนในประเทศที่ถือกันว่าเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้แล้ว

รายงานข่าวระบุว่า สิ่งที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนบางกลุ่มมากที่สุดก็คือ การที่ความเสี่ยงทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจยังคงใหญ่โตเกินไป ในขณะที่บรรดาสินทรัพย์โดยเฉพาะราคาที่ดินถูกดันขึ้นไปอยู่ในระดับสูงจนไม่เป็นเหตุเป็นผล ในขณะที่ดีลที่มีให้เลือกในเวลานี้ยังคงเล็กมากเกินไป แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทำให้ทุกฝ่ายกังขาก็คือประเด็นเรื่องโครงสร้างทั้งทางด้านกฎหมายเพื่อความคุ้มครองนักลงทุน การขาดความชัดเจนเรื่องการนำผลตอบแทนที่ได้ออกนอกประเทศ โดยจนถึงขณะนี้พม่ายังไม่มีตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้น และระบบธนาคารที่มีอยู่ก็ยังเป็นระบบหยาบๆ พื้นๆ เท่านั้น

จอห์น ฟาน โอสต์ ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการกองทุน อี้ซัน แคปิตอล พาร์ทเนอร์ส ยืนยันอย่างมั่นใจว่าใครต่อใครที่แห่กันไปลงทุนในเวลานี้จะล้มเหลวในที่สุด เพราะตลาดยังไม่พร้อม และจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับการแห่ไปลงทุนในเวียดนามเมื่อทศวรรษ 1990 ที่ผู้ที่ไปลงทุนก่อนไม่ใช่จะได้เกินมากและได้เงินก่อนเสมอไป

source: http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... &subcatid=
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 52

โพสต์

มาทำความรู้จักกับอดีตผู้ส่งออกข้าวอันดับ ๑ ของโลก ที่ประกาศจะทวงตำแหน่งคืน

ยักษ์ธุรกิจ AEC : อีเดนกรุ๊ป เมียนมาร์

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2012 เวลา 14:47 น. วิชัย สุวรรณบรรณ ฐ.Blogger

ผู้ก่อตั้งและเจ้าของกลุ่มบริษัท อีเดนกรุ๊ปของประเทศเมียนมาร์ คือนายชิต ไค (Chit Khine) เป็นนักธุรกิจแถวหน้าของประเทศเมียนมาร์ ที่กำลังมีบทบาทสำคัญเรื่องการค้าข้าวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในฐานะประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์

เมียนมาร์เคยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกแต่เสียแชมป์ให้กับประเทศไทยหลังจากที่เมียนมาร์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2505 บัดนี้รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง มีนโยบายฟื้นฟูการส่งออกข้าว และนักธุรกิจที่รับหน้าที่ช่วยรัฐบาลในเรื่องนี้คือนายชิต ไค โดยในเดือนมกราคม 2553 รัฐบาลเมียนมาร์ ผลักดันให้มีการรวมสมาคมผู้ค้าข้าวสารและข้าวเปลือก สมาคมโรงสีข้าวเมียนมาร์และสมาคมผู้ผลิตข้าวเปลือกเมียนมาร์ เป็นสมาคมเดียวคือ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ เพื่อให้มีการพัฒนาวงการค้าข้าวของเมียนมาร์ทั้งระบบทั้งเรื่องการปรับปรุงดิน การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ ปุ๋ย การยกระดับการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรและการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านถนน ท่าเรือและโรงสี

ในปี 2553 นายชิต ไค ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ เมียนมาร์ไทม์ส ว่า สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ กำลังทำงานเพื่อสนับสนุนชาวนาในการซื้อปุ๋ยและเทคนิคใหม่ ๆ ในการปลูกข้าวซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมาคมนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาการปลูกข้าวในประเทศ

หลังจากที่ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแล้วรัฐบาลเริ่มให้การสนับสนุนการส่งออกด้วยการลดภาษีข้าวส่งออกจาก 10 % เป็น 7 % ในปี 2554 นายชิต ไค มีบริษัทค้าข้าวของตัวเองด้วยชื่อ บริษัท คิตซานา คยุน ทาร์ฯ ซึ่งกำลังเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการค้าข้าวในประเทศและต่างประเทศ

ก่อนที่นายชิต ไค จะเข้ามาโลดแล่นอยู่วงการธุรกิจค้าข้าว นั้นเขาทำธุรกิจภัตตาคาร ก่อสร้างและโรงแรมมาก่อน และแน่นอนว่า ต้องสานสัมพันธ์กับนายพลที่มีอำนาจในรัฐบาลทหารมาอย่างต่อเนื่องจนโดนสหรัฐอเมริกาและยุโรปบรรจุอยู่ในกลุ่มพ่อค้าต้องห้าม เช่นเดียวกับนักธุรกิจแถวหน้าของเมียนมาร์คนอื่น ๆ

ปัจจุบัน นอกจากบริษัทค้าข้าวแล้ว นายชิต ไค ยังเป็นเจ้าของธุรกิจก่อสร้างในนามของบริษัทอีเดน กรุ๊ปฯ ซึ่งได้งานก่อสร้างสถานที่ราชการและบ้านพักข้าราชการบางส่วนในเมืองเนย์ปิตอว์ ภัตตาคารอีเดนบีบีบีเรสเตอรองต์ที่พุกาม ภัตตาคารซิกเนเจอเรสเตอรองต์ที่ย่างกุ้ง สนามกอล์ฟอิรทะยากอล์ฟ รีสอร์ตที่ตองยี โรงแรมทิงกาฮาโฮเต็ล ที่เนย์ปิตอว์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์มารีน่าเรสิเดนซ์ที่ย่างกุ้ง โรงแรมอีเดนการ์เดนรีสอร์ตโฮเต็ลที่ตองยี อีเดนการ์เดนรีสอร์ตที่พุกาม อีเดนการ์เดนรีสอร์ตที่หาดงาปาลี ธนาคารเมียนมาร์ลีดดิ้งแบงก์ (เอ็มแอลบี) และสนามกอล์ฟโรยัลเมียนมาร์กอล์ฟแอนด์คันทรี่คลับที่เมืองเนย์ปิตอว์

บริษัทของเขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการค้าของเมียร์มาร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สื่อต่างชาติระบุว่า ไม่ค่อยมีคนรู้ว่านายชิต ไค มีสินทรัพย์เท่าไหร่เนื่องจากเป็นคนที่เก็บตัว แต่มีรายงานว่าตอนที่เขาซื้อมารีน่าเรซิเดนซ์ ซึ่งเป็นอพาร์ตเมนต์หรูหราให้ชาวต่างชาติเช่าในปี 2547 นั้นเขาจ่ายเงิน 4.8 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 144 ล้านบาทในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) เป็นเงินสด

ข้อมูลจากวิกิลีกส์ ระบุว่านายชิต ไค เกิดในปี 2491 ที่เขตอิรวดี เริ่มเข้าสู่ธุรกิจครั้งแรกเมื่อมีอายุกว่า 30 ปี โดยเปิดภัตตาคารชื่อ อีเดนเรสเตอต์รอง ที่ย่างกุ้ง และชอบเคลื่อนไหวทางการเมืองจนโดนจับติดคุกช่วงปลายทศวรรษ 1980 เนื่องจากไปร่วมกับกลุ่ม 888 ที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลแต่ติดคุกได้ไม่นานก็ได้รับการปล่อยตัวด้วยความช่วยเหลือจากบิดาซึ่งเป็นข้าราชการระดับกลาง จากนั้นจึงมุ่งทำธุรกิจอย่างเดียว

นายชิต ไค ทำธุรกิจภัตตาคารได้ไม่นานก็พบว่าเขาสามารถทำเงินจากธุรกิจก่อสร้างได้มากกว่าภัตตาคารเยอะถ้ามีสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ ทำให้เริ่มวิ่งเต้นเส้นสายจนได้ใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลทหาร และในที่สุดบริษัทอีเดนฯก็ได้งานก่อสร้างมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศ โดยเป็นที่รู้กันว่าอีเดนกรุ๊ป เป็นบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในเขตย่างกุ้งและพุกาม

เมื่อรัฐบาลทหาร มีโครงการสร้างเมืองเนย์ปิตอว์ขึ้น บริษัทอีเดนฯก็เสนอตัวเข้าร่วมในการก่อสร้างเมืองใหม่ ร่วมกับนักธุรกิจชั้นนำที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลอีกหลายรายที่เสนอตัวร่วมสร้างเมืองใหม่ให้กับรัฐบาลทหารเช่นกัน

วิกิลีกส์ระบุว่า งานก่อสร้างหลายงานที่นายชิต ไค ทำให้กับรัฐบาลนั้นไม่ได้เงินค่าจ้าง แต่รัฐบาลจะมอบสิทธิประโยชน์เป็นทรัพย์สินที่ดินให้ไปทำประโยชน์รวมทั้งสิทธิ์ในการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเป็นการตอบแทนโดยมีรายงานว่าเขาได้รับสิทธิ์ในการนำเข้ารถเบนซ์และฮัมเมอร์ และนำไปขายต่อได้ราคาสูง

ในปี 2551 มีรายงานว่านายชิต ไค ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัท เอเชีย เจเนอรัล อิเล็คทริคฯ (เอจีอี) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตหม้อแปลงและสวิตช์ไฟโดยในช่วงนี้เองกลุ่มอีเดน ขยายกิจการออกไปค่อนข้างหลากหลายทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเข้าร่วมกับบริษัทของเวียดนามในการสำรวจและขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ

สื่อต่างประเทศรายงานว่า การทำธุรกิจของนายชิต ไค มีความหลากหลายเนื่องจากนักธุรกิจแถวหน้าของเมียนมาร์คนนี้ไม่ชอบทำธุรกิจที่แข่งขันโดยตรงกับนักธุรกิจชั้นนำอื่น ๆ โดยกลุ่มอีเดน มักจะทำธุรกิจที่กลุ่มอื่นไม่ทำ หรือในพื้นที่ที่กลุ่มอื่นไม่สนใจ และมีรายงานว่า เขามีธุรกิจค้าขายผ่านชายแดนจีนที่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำอยู่ด้วยเช่นกัน

นายชิต ไค แต่งงานแล้วกับนางคิน โซ วิน มีลูก 5 คน เป็นนักธุรกิจแถวหน้าคนหนึ่งของเมียนมาร์ที่เชื่อว่าในไม่ช้าจะก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซีอีกรายหนึ่ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796
วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 53

โพสต์

กลุ่มทรูรุกขยายสาขาเข้าพม่า เคเบิลทีวี-ข่ายสาย-กาแฟ พร้อมรองรับตลาดอาเซียน [ โพสต์ทูเดย์, 3 ธ.ค. 55 ]

ทรูเตรียมสยายปีกบุกพม่า หลังปรับโครงสร้างธุรกิจองค์กรใหม่ พร้อมรุกตลาดต่างจังหวัดดันยอดเติบ
โต 20%

นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ ผู้อำนวยการบริหาร ด้านลูกค้าองค์กรธุริกจและบริการระหว่างประเทศ
บริษัท ทรู เตรียมเข้าลงทุนเพื่อให้บริการโทรคมนาคมในประเทศพม่า โดยสนใจที่จะไปลงทุนในธุรกิจข่าย
สายเคเบิลทีวี ซึ่งพม่ามีความใกล้เคียงกับประเทศไทย มีความนิยมเนื้อหาต่างๆในลักษณะเดียวกันและมีฐาน
การให้บริการดาวเทียมที่ครอบคลุมถึงทั้งประเทศอยู่แล้ว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ยักษ์ธุรกิจลุยพม่าย้ายฐานหนีค่าจ้าง หอการค้านำทัพ 20 บิ๊กธุรกิจไทยลุยพม่า หนีค่าจ้าง 300 บาท

05 ธันวาคม 2555 เวลา 09:20 น.

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าจะจัดคณะผู้นำทางธุรกิจรายใหญ่ 20 ราย เช่น เครือสหพัฒนพิบูล กลุ่มบริษัท น้ำตาลมิตรผล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ธนาคารกสิกรไทย ไปเยือนพม่าวันที่ 16-18 ธ.ค.นี้ เพื่อพบกับประธานและผู้แทนระดับสูงของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งพม่า และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน

ทั้งนี้ เอกชนไทยจะไปศึกษาลู่ทางย้ายฐานการลงทุนไปยังพม่า เพื่อลดผลกระทบค่าจ้างวันละ 300 บาท โดยขณะนี้พม่าน่าลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ เพราะมีค่าจ้างถูกมาก โดยค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 75-120 บาทต่อวัน ระดับปริญญาตรีเดือนละ 3,000-6,000 บาท และยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อยู่

สำหรับภาคธุรกิจที่เดินทางไปเจรจา ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ข้าว ประมงและอาหารสำเร็จรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เทคโนโลยี และการขนส่งโลจิสติกส์ เป็นต้น

ที่มา http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B ... 2%E0%B8%87
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ไทยตั้งเป้าส่งออกพม่าปี 56โต 30%ส่งทัพเอกชนกว่า 220 ราย ปูทางขยายลู่ทางการค้าย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์

วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2012 เวลา 11:01 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ร่วมงานแสดงสินค้าไทยแลนด์ เทรด เอ็กซิบิชั่น ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 6 - 9 ธันวาคม 2555 และที่เมืองมัณฑะเลห์ ระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม 2555 เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าและแสดงศักยภาพสินค้าและบริการไทยให้เป็นที่รู้จักและนิยมอย่างกว้างขวางในตลาดพม่า คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายภายในงานทันทีและภายหลังการจัดงานตลอด 1 ปีกว่า 41 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกในอาเซียนขยายตัวในปี 2556 ไม่น้อยกว่า 10%

สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานมีจำนวน 220 ราย รวม 259 คูหา โดยเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค ได้แก่ สินค้าอาหารและเครื่องดื่มเข้าร่วมงานมากที่สุด คือ 62 ราย รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม 52 ราย ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ สินค้าชิ้นส่วนและวัสดุก่อสร้าง สินค้าของใช้ภายในบ้าน สินค้าเครื่องหนังและรองเท้า สินค้าอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

“การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมได้พบกับคู่ค้าในตลาดพม่า เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก สร้างทัศนคติที่ดีต่อสินค้าและบริการไทยทั้งด้านรูปแบบ คุณภาพและความหลากหลายของสินค้า”นายสมเด็จ กล่าวและว่า สำหรับการค้าระหว่างไทยกับพม่า ในช่วง 10 เดือนแรก(ม.ค.-ต.ค.)ของปี 2555 คิดเป็นมูลค่ารวม 5,465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 170,344 ล้านบาท) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 2,546 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 2,919 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น 7% “นายสมเด็จ กล่าว

นายประจวบ สุภินี ผอ.สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงย่างกุ้ง พม่า กล่าวว่า ปีหน้าตลาดพม่ายังคงคึกคักมากเช่นเดียวกับปีนี้ ดูได้จากกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งในส่วนของสำนักงาน กำหนดจัดเทรดโปรโมชั่น และกิจกรรมจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คาดว่าจะมีการจัดคณะธุรกิจไปพม่ารวมกว่า 40 – 50 คณะ ซึ่งวัตถุประสงค์ คือ การเข้าไปศึกษาลู่ทางธุรกิจ และการหาโอกาสจับคู่ค้าทางธุรกิจท้องถิ่น

“ในปี 2556 สำนักงานฯจะจัดคาราวานไปยังเมืองสำคัญ 7 เมือง เช่น ยะไข่ ตองจี เมาะลำไย เป็นต้น รวมถึงร่วมกับตัวแทนภาคเอกชนของพม่า ที่มีสมาชิกกว่า 20,000 ราย การตั้งสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศพม่า เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและแสวงหาลู่ทางการค้าการลงทุนในทุกมิติ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรระหว่างสองประเทศ เพื่อสร้างพันธมิตรและเครือข่าย โดยเน้นเมืองรองสำคัญ ซึ่งจะทำให้การค้าการลงทุนของไทยขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกไทยไปพม่าขยายตัวในปี 2556 ไม่น้อยกว่า 30%”นายประจวบ กล่าว

ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง ปูนซิเมนต์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค กล้อง เลนส์และอุปกรณ์การถ่ายรูป ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์มีชีวิตไม่ได้ทำพันธุ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูป ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นต้น

ตลาดพม่าเป็นตลาดใหม่ขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่นราว 60 ล้านคน ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน และเอเซียใต้ มีอาณาเขตติดกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย ทำให้มีความได้เปรียบในการติดต่อทางการค้า การส่งออกและนำเข้า รวมทั้งการส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนี้พม่ายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เหมาะแก่การเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม

การพัฒนาตลาดของพม่าในอนาคตจะพัฒนามากขึ้น จากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน และขนาดตลาดพม่ามีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับตลาดของไทย ซึ่งไทยสามารถใช้พม่าเป็นประตูระบายสินค้าของไทยสู่ประเทศที่สาม รวมทั้งใช้พม่าเป็นฐานในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในอนาคต อย่างไรก็ตามแรงงานของพม่าส่วนใหญ่ยังขาดผู้ที่มีความรู้ในด้านการทำธุรกิจต่างประเทศ ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ประกอบกับกฎระเบียบทางการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และพม่ายังมีอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศสูง อุปสรรคของการพัฒนาตลาดพม่าคือ พม่ายังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ทำให้ขาดข้อมูลด้านการตลาด รวมทั้งข้อมูลด้านการเงินของพม่าที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ที่มา http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
at75
Verified User
โพสต์: 124
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 56

โพสต์

พม่าฮิตเรียนภาษาไทยรับตลาดงาน เตรียมคลอดบัณฑิตรุ่น 1 ปี′56 ดึงเข้า บ.เอกชนไทย
updated: 07 ธ.ค. 2555 เวลา 12:19:25 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ล่าสุด ดร.วิน วิน ซอว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง (Yangon University of Foreign Languages : YUFL) เปิดเผยต่อ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันนักเรียนชาวพม่านิยมเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และทางมหาวิทยาลัยกำลังพิจารณาเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพิ่มอีกในปีการศึกษาหน้า

มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง เปิดสอนภาษาไทยมาตั้งแต่ปี 2540 โดยเริ่มจากการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร และเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากนั้นในปี 2553 จึงเปิดสอนภาษาไทยในระดับปริญญาตรี ถือเป็น 1 ใน 9 วิชาเอกภาษาต่างประเทศที่เปิดสอนของมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยจำนวนกว่า 200 คน จากนักเรียนทั้งมหาวิทยาลัยจำนวน 2,000 คน

"ฉันเชื่อว่านักศึกษาสนใจเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอน แม้จะยังเป็นรองภาษาอังกฤษ และภาษาจีนอยู่ แต่เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้งอย่างรอบด้านมาตั้งแต่ปี 2533 และดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการฝึกอบรม การจัดหาผู้เชี่ยวชาญ หนังสือ และเครื่องไม้เครื่องมือในการสอน จึงยิ่งทำให้ภาควิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้งเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักศึกษาพม่าที่เรียนภาษาไทยยังมองถึงลู่ทางการเปิดโรงเรียนสอนภาษาไทยในอนาคตด้วย" นางวิน วิน ซอว์กล่าว

ด้านนายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เปิดเผยว่า นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยจะจบการศึกษารุ่นแรกในปี 2556 โดยแต่ละรุ่นมีราว 60 คน โดยนักศึกษาเอกภาษาไทยของมหาวิทยาลัยต่างประเทศย่างกุ้งถือว่าเป็นนักศึกษาระดับหัวกะทิของพม่า ซึ่งต้องสอบแข่งขันกันเข้ามา และบัณฑิตในรุ่นแรกจะมีขีดความสามารถภาษาไทยอยู่ในระดับดี ทั้งในด้านการสื่อสาร อ่านเขียน และไวยากรณ์ การเรียนภาษาไทยของชาวพม่าที่เพิ่มขึ้นจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเปิดประเทศและพัฒนาทางเศรษฐกิจของพม่า เชื่อว่ามีการเรียนไทยของนักศึกษาชาวพม่า มาพร้อมกับโอกาสของวิชาชีพในอนาคตอีกด้วย

"ภาษาไทยมาพร้อมกับโอกาสด้านการงานอาชีพในประเทศพม่า เนื่องจากนักธุรกิจไทยจำนวนมากที่เข้ามาในพม่าต้องการบุคลากรที่เป็นคนท้องถิ่น ซึ่งรู้ธรรมเนียม วัฒนธรรม และกฎหมายในพม่า และขณะเดียวกันก็มีความรู้ในภาษาไทยด้วย" นายพิษณุกล่าว ทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้งกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากช่องทางด้านการงานแล้ว ชาวพม่านิยมเรียนภาษาไทย เนื่องจากทัศนคติในทางบวกต่อไทย และยังมองไทยเป็นประเทศที่สามารถเดินทางไปศึกษาต่อในสาขาต่าง ๆ และในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี

นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง จะริเริ่มโครงการใหม่โดยร่วมมือกับภาคเอกชนไทยที่ทำธุรกิจในพม่า นำนักศึกษาชาวพม่าที่เรียนภาษาไทยไปฝึกงาน และรับทำงานในอนาคต เพื่อให้ความนิยมของการเรียนภาษาไทยในพม่าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชาวไทยก็เริ่มให้ความสนใจในการเรียนภาษาพม่าแล้วเช่นกัน

นางวิน วิน ซอว์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง ได้เปิดหลักสูตรการสอนภาษาพม่าให้แก่นักเรียนต่างชาติ โดยปัจจุบันมีนักเรียนไทยจำนวน 15 คน มีทั้งสนใจมาเรียนด้วยตนเอง และมาจากกองทัพไทย โดยมหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีนักศึกษาไทยสนใจภาษาพม่ามากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจเรียนภาษาพม่าที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง ต้องมีอายุต่ำกว่า 45 ปี, ได้รับการรับรองจากสถานทูตไทยในพม่า, สำหรับผู้ที่มีพื้นความรู้ภาษาพม่าต้องลงเรียนคอร์สภาษาเพื่อวิชาชีพ (Proficiency Course) กับทางมหาวิทยาลัยก่อน ส่วนผู้ที่ไม่เคยเรียนภาษาพม่ามาก่อน สามารถลงเรียนในหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Arts) กับทางมหาวิทยาลัยได้ โดยค่าเล่าเรียนอยู่ที่ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ปี 2556 รัฐบาลไทย-พม่าครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตที่ยาวนานถึง 65 ปี การกระชับความร่วมมือระหว่างกันจะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นในระดับประชาชน โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศย่างกุ้ง เปิดสอนภาษาพม่าหลักสูตรเร่งรัดภายใน 90 วัน ให้แก่ผู้ที่เข้ามาประกอบธุรกิจชาวไทยในพม่า เพื่อใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยมีโครงการจะเปิดสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ละ 1-2 วัน

ขณะนี้มหาวิทยาลัยต่างประเทศย่างกุ้งกำลังร่างหลักสูตร ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทยกำลังดำเนินการในขั้นตอนการของบประมาณทางกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี และจะเริ่มโครงการในช่วงต้นปีหน้า นอกจากนี้ ในอนาคตคาดว่าจะมีการร่วมมือกันเพื่อจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย-พม่า เพื่อเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 57

โพสต์

เมียนมาร์ผ่อนคลายการห้ามนำเข้าสินค้า ๑๕ รายการ

คต. — 14 ธันวาคม 2555 16:24

นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมียนมาร์ได้ผ่อนคลายมาตรการห้ามนำเข้าสินค้า ๑๕ รายการจากไทย หลังจากที่มีการห้ามนำเข้ามาตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ จนถึงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า ๑๐ ปีแล้ว

สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย – เมียนมาร์ (Joint Trade Committee: JTC) ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑ – ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ โรงแรม รอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ โดยมีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนายอู วิน มิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฝ่ายเมียนมาร์ เป็นประธานร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน พร้อมทั้งหารือถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่ยังคั่งค้างอยู่จากการประชุมครั้งที่แล้ว ผลจากการประชุมดังกล่าว เมียนมาร์ได้แจ้งให้ทราบว่า ได้ผ่อนคลายมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าจำนวน ๑๕ รายการ ในรูปการค้าปกติผ่านทางชายแดน โดยได้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสำหรับสินค้าจำนวน ๗ รายการจาก ๑๕ รายการดังกล่าวแล้ว ได้แก่ ผงชูรส น้ำหวานและเครื่องดื่ม อาหารกระป๋อง(เนื้อสัตว์และผลไม้) เส้นหมี่และบะหมี่สำเร็จรูปทุกชนิด ผลไม้สดทุกชนิด ผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใช้ในครัวเรือนและใช้ส่วนตัวทุกชนิด และขนมปังกรอบทุกชนิด แต่สำหรับสินค้าจำนวน ๘ รายการที่เหลือ ได้แก่ หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ ช็อกโกแลต เหล้า เบียร์ บุหรี่ และสินค้าควบคุมการนำเข้าโดยกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เมียนมาร์ยังคงห้ามนำเข้าต่อไป

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวต่อไปว่า ทั้งสองฝ่ายยังเห็นควรให้มีการตั้งเป้าหมายการค้าเพิ่มขึ้นเป็น ๓ เท่าในปี ๒๕๕๘ จากมูลค่าการค้าสองฝ่ายในปี ๒๕๕๒ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ ๑ ของเมียนมาร์ โดยในปี ๒๕๕๕ (ม.ค.- ต.ค.) มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์ มีมูลค่า ๑๗๐,๓๔๓.๘๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๑๑.๔๙ แยกเป็นการส่งออกจากไทยไปเมียนมาร์ มีมูลค่า ๗๘,๘๑๒.๓ ล้านบาท และการนำเข้าจากเมียนมาร์มาไทย มีมูลค่า ๙๑,๕๓๑.๕ ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกจากไทยไปเมียนมาร์ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เครื่องจักรกล ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เป็นต้น และสำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมาร์ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่โลหะ เศษโลหะ เนื้อสัตว์ และอุปกรณ์การถ่ายภาพ เป็นต้น ทั้งนี้การค้าส่วนใหญ่ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ เป็นการค้าชายแดนซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ ๘๐ คาดว่าหลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยครั้งนี้แล้ว อาจจะมีการผ่อนคลายการห้ามนำเข้าสินค้าในรายการอื่น ๆ ที่เหลือต่อไป ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์เพิ่มขึ้น

ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย Thai PR http://www.thaipr.net/government/448940
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 58

โพสต์

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดรุกตลาดเมียนมาร์เตรียมเปิดทำการต้นปีหน้า

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2012 เวลา 12:11 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
พิมพ์

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางแห่ง เมียนมาร์ให้สามารถเปิดสำนักงานตัวแทนในกรุงย่างกุ้งแล้ว และการกลับเข้าไปเปิดทำการในเมียนมาร์ในครั้งนี้ทำให้สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเป็นธนาคารระหว่างประเทศเพียงธนาคารเดียวที่เปิดดำเนินการครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

การเปิดทำการอีกครั้งในเมียนมาร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเป็นการสนับสนุนให้เมียนมาร์ได้กลับมารวมตัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนานาชาติอีกครั้ง โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดสามารถให้บริการ และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งในส่วนบุคคลธนกิจและสถาบันธนกิจอย่างทั่วถึงทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยสาขาต่างๆ กว่า 1,700 แห่งใน 70 ประเทศทั่วโลก สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจึงมีความพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว

“สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีประวัติศาสตร์ในย่างกุ้งมาแล้วกว่า 150 ปี และเรายินดีอย่างยิ่งที่ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์อนุมัติใบอนุญาตแก่เราด้วยความรวดเร็ว” มร.จัสปาล บินดรา กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภาคพื้นเอเชีย กลุ่มสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกล่าว “และเรายังคาดหวังที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในเมียนมาร์ และช่วยสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจแก่เมียนมาร์อีกด้วย”

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเปิดทำการครั้งแรกในเมียนมาร์ในปี พ.ศ. 2401 ณ กรุงย่างกุ้ง จนถูกแปรสภาพเป็นธนาคารของพม่าในปี พ.ศ. 2506 และได้เปิดดำเนินการโดยสำนักงานตัวแทนอีกครั้งใน พ.ศ. 2538 จนถึง พ.ศ. 2547

สำนักงานตัวแทนของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดใหม่จะเปิดทำการในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยมุ่งเน้นกิจกรรมในส่วนสถาบันธนกิจ และสนับสนุนลูกค้าในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคต่างๆ ที่ธนาคารดำเนินธุรกิจ ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง

ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 59

โพสต์

ความคืบหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 07:29 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ : เศรษฐกิจโลก

โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 2 พันเฮกตาร์ (ประมาณ 1.25 หมื่นไร่) ตั้งอยู่ระหว่างเขตอำเภอ Thanlyin และ Kyauktan ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้ง ได้เริ่มเดินหน้าและมีความคืบหน้าของโครงการมากขึ้นเป็นลำดับ

คนงานท่าเรือติละวากำลังขนท่อนซุงขึ้นฝั่ง หลังจากที่รัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจจะร่วมกันพัฒนาโครงการเมื่อเดือนธันวาคม 2555 โครงการนี้นับเป็นโครงการนำร่องขนาดใหญ่ด้านการลงทุนของญี่ปุ่นที่กำลังเร่งสปีดกลับเข้ามามีบทบาทในเมียนมาร์อีกครั้ง

ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 12 ในเมียนมาร์ มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ระดับ 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากปี 2531 เป็นต้นมา แต่ก็มีแนวโน้มว่าสถานภาพดังกล่าวกำลังจะเปลี่ยนไป โดยญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชนได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาหาลู่ทางทำการค้าและลงทุนในเมียนมาร์ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานที่เป็นคนหนุ่มสาว

สัญญาณการเดินหน้าเต็มสูบของญี่ปุ่นนั้นเริ่มจากการเดินทางเยือนของนายทาโร อาโซะ รัฐมนตรีคลังซึ่งรับปากยินดีให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 576 ล้านดอลลาร์แก่เมียนมาร์ซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ โดยวงเงินกู้ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมยกหนี้ค้างชำระมูลค่าราว 5.8 พันล้านดอลลาร์ให้กับเมียนมาร์ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาอีกด้วย นายอาโซะเดินทางเยือนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาด้วยตนเอง

ก่อนหน้านั้นในช่วงต้นปี นายอิชิโร มารุยามะ รองหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นที่เดินทางเยือนเมียนมาร์ เปิดเผยว่า โครงการท่าเรือและเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนนั้น จำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลและประชาชนเมียนมาร์ ทั้งนี้ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์ที่ถือหุ้น 51 % และที่เหลือเป็นของฝ่ายญี่ปุ่น

เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้งที่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์และเป็นเมืองหลวงเก่า โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 25 กิโลเมตร นายเซ็ต ออง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของเมียนมาร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการคณะกรรมาธิการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ Management Committee) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา คณะของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ขอให้รัฐบาลเมียนมาร์จัดตั้งบริษัทเอกชนขึ้นเพื่อเข้ามาดำเนินการโครงการนี้ และเพื่อให้เป็นก้าวแรกของการดึงผู้ลงทุนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ นอกจากนี้ยังขอให้รัฐบาลเมียนมาร์เข้ามาซื้อหุ้นบริษัทเพื่อเป็นหลักประกันการให้ความสนับสนุนโครงการดังกล่าว "ถ้ารัฐบาล (เมียนมาร์) ซื้อหุ้นบริษัทเมื่อไหร่ ฝ่ายญี่ปุ่นก็จะมั่นใจมากขึ้นในการเข้ามาร่วมโครงการ" นายเซ็ต ออง กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับทรรศนะของนายมารุยามะที่ว่า โครงการนี้เกิดขึ้นในเมียนมาร์ ดังนั้นรัฐบาลและเอกชนเมียนมาร์ควรจะต้องเป็นผู้ผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น

แต่อุปสรรคก็ยังมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการขาดแคลนกระแสไฟฟ้าที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน อีกทั้งกฎหมายการลงทุนของต่างชาติในเมียนมาร์ก็ยังไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้ การเวนคืนที่ดินรายรอบโครงการยังส่อเค้ามีปัญหากับชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่

กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นเองแสดงความมุ่งมั่นที่จะเข้ามาผลักดันให้โครงการนี้เริ่มเดินหน้า ไม่เพียงการรับปากให้ความสนับสนุนด้านการเงินและจัดหาแหล่งทุนเพื่อให้โครงการนี้เกิดให้ได้ แต่ยังรับปากจัดตั้งสถาบันเทคนิคเพื่อเป็นช่องทางนำผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคนานาชาติเข้ามาถ่ายทอดความรู้ความชำนาญในเมียนมาร์อีกด้วย ท่าทีตอบสนองจากฝ่ายเมียนมาร์นั้นก็เป็นไปในทางบวกสำหรับญี่ปุ่น ล่าสุด คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ (เอ็มไอซี) ก็เพิ่งอนุมัติโครงการผลิตรถยนต์ของบริษัท ซูซูกิ (เมียนมาร์)มอเตอร์ฯ ที่กำลังจะเข้าไปตั้งฐานผลิตในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา นอกเหนือไปจากโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้วหนึ่งแห่ง ซูซูกิคาดหมายก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งถึงตอนนั้น การก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเฟสแรกก็คงคืบหน้าไปมากแล้ว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,819 วันที่ 17 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=425
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 60

โพสต์

พม่าหวังขึ้นเบอร์ 1 ส่งออกพลังงานโลก

บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ต่างประเทศพุ่งเป้าไปที่พม่าเพื่อขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

หลังจากที่รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่งของพม่า ได้ปฏิรูปการปกครอง และนานาชาติได้ยกเลิกการคว่ำบาตร พม่าก็กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของบริษัทพลังงานทั่วโลก ในการเข้ามาลงทุน เนื่องจากแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์

ปัจจุบันนอกจากจะมีปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)ที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ยังมี อีพีไอ โฮลดิ้งส์ จาก ฮ่องกง บริษัท จีโอเปโทร อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์" สัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ และ ปิโตรนาส จากมาเลเซีย

ทั้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โทเทล บริษัทน้ำมันจากฝรั่งเศส ยังได้ร่วมหุ้น 40% เพื่อลงทุนในโครงการสรรหาน้ำมันนอกชายฝั่ง และตามติดมาด้วยบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย "วู้ดไซด์" รวมถึงบริษัทพลังงานรายใหญ่จากอเมริกาและยุโรป

แนวโน้มการลงทุนในแหล่งพลังงานมีที่ท่าจะมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลพม่าได้เชื้อเชิญบริษัทต่างๆให้เข้าร่วมประมูลแหล่งน้ำมันในชายฝั่ง 18 แห่งเมื่อเดือนที่แล้วและจะเปิดให้ประมูลแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งอีก 50 แห่งเร็วๆนี้
นอกจากนี้ ย่างกุ้งยังจะจัดงานสัมมนานานาชาติในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆและรัฐบาลจะไม่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแหล่งพลังงานอยู่ในมือเลยก็ตาม

ราจีฟ บิสวอส หัวหน้านักเศรษฐศาตร์ จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ยังไม่เคยมีการนำเทคโนโลยีคลื่นไหวสะเทือนที่ทันสมัย เข้ามาใช้าสำรวจแหล่งสำรองน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติของพม่า เพราะฉะนั้นพม่าจีงเป็นสถานที่น่าดึงดูดสำหรับบริษัทพลังงานต่างชาติที่มีเทคโนโลยีพร้อมสรรพในการสำรวจ

ทางด้านหน่วยข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอ ของสหรัฐ คาดการณ์ว่า ขณะนี้พม่ามีน้ำมันสำรองอยู่ประมาณ 50 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 2.832 แสนล้านลูกบาศก์เมตร

แต่เว็บไซต์ของเมียนมาร์ ออยล์ แอนด์ ก๊าซ เอนเตอร์ไพรซ์ รัฐวิสาหกิจด้านน้ำมันของพม่า อ้างอิงเมื่อปี 2549 ว่า พม่ามีน้ำมันอยู่ 226 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติที่ 4.57 แสนล้านลูกบาศก์เมตร

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%81.html