ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 121

โพสต์

TIESลั่นรายได้ทะลุเป้า 30% ดีดลูกคิดอนาคตไกล 1.59บ. [ ทันหุ้น, 3 ธ.ค. 55 ]

TIES ส่องผลงานปี 2555 ทะลุเป้าพุ่ง 30% จากปีก่อนที่มีรายได้ 1.4 พันล้านบาท อานิสงส์รับ
เหมาเฟื่องฟู พร้อมเร่งเครื่องสอยงานใหม่ 2 พันล้านบาท เสริม Backlog ที่มีราว 1.35 พันล้านบาท
ซดยาวถึงปีหน้า ฟากโบรเกอร์ เชียร์ "เก็งกำไร" มองคุณค่า 1.59 บาท ส่องกำไรปีนี้ 32 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 122

โพสต์

แรงงานนอกระบบพุ่ง24.8ล้านคน [ ข่าวสด, 3 ธ.ค. 55 ]

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยผลสำรวจแรงงานนอกระบบ
ซึ่งเป็นผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานในปี
2555 พบว่ามีแรงงานนอกระบบถึง 24.8 ล้านคน จากจำนวนผู้มีงานทำ 39.6 ล้านคน หรือคิด
เป็นสัดส่วนมากกว่า 62% สำหรับอัตราค่าจ้างหรือเงินเดือน พบว่าแรงงานนอกระบบที่มี
สถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 5,045 บาทต่อเดือน เมื่อพิจารณาตาม
อุตสาหกรรม แรงงานนอกระบบที่อยู่ในสาขาเกษตรกรรมมากที่สุดแต่กลับได้รับค่าจ้างต่ำสุดที่
3,870 บาทต่อเดือนเท่านั้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 123

โพสต์

ก่อสร้างค้านขึ้นค่าแรงชี้เพิ่มภาระต้นทุน [ โพสต์ทูเดย์, 3 ธ.ค. 55 ]

สมาคมก่อสร้างคัดค้านขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ กระเทือนผู้รับเหมาต้นทุนพุ่งสูง

นายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิด
เผยว่า ขณะนี้ได้มีการประชุมร่วมกับสมาคมวิชาชีพด้านการก่อสร้าง ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าไม่เห็นด้วยใน
การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ที่รัฐบาลจะประกาศใช้ในต้นปี 2556 เนื่องจากจะเป็น
การเพิ่มปัญหาในอนาคตมากกว่าเป็นผลดี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
et al.
Verified User
โพสต์: 848
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 124

โพสต์

Thai contractor - What a wonderful world
Action and recommendation
We re-initiate coverage of the contractor sector with an Overweight rating. In addition to the favorable business outlook from the many new large projects due to be rolled out in the future, the sector’s current status both in terms of revenue and costs is excellent. Although STEC is clearly the strongest contractor, based on current trading prices, we prefer CK. Meanwhile, the poor current condition of ITD has overshadowed the uncertain but substantial growth potential of its investments.
Key investment points
Favorable market situation. We believe the construction business is in the early stage of a growth phase given the number of government projects lined up ahead. The Thai government recently announced a five-year infrastructure investment plan worth a total of Bt2.27tn. Also, private investment both from the industrial sector and the housing segment is enjoying a boom. We expect the value of construction work generated by these sectors to top Bt300bn p.a. for at least the next few years.
All-time-high current backlog. Apart from the solid outlook for new projects, the current status of contractor companies is very solid. Thanks to the continuing flow of big government projects, particularly mass transit jobs, as well as state projects in neighboring countries, the backlogs of most contractors are at all-time highs.
Little cost pressure. Cost control, which is the most important factor for contractors’ profitability in the short-to-medium term, is currently easier to manage than normal due to soft global demand for key construction materials such as steel. While the minimum daily wage is scheduled to rise to Bt300 in 2013 from Bt159-221 at present, a lower corporate tax rate (down to 20% in 2013 from 30% in 2011 and 23% in 2012) and lower competition among contractors due to the large amount of work available is easing pressure on their bottom lines.
► STEC clearly stands out as the most impressive performer but it is also the most expensive. We see all the major contractors benefiting from the current market situation. STEC will be the winner in this early stage of growth, thanks to its robust balance sheet and earnings momentum while the balance sheets and earnings of CK and ITD are being pressured by their investments. However, STEC’s share price has strongly outperformed those of CK and ITD, rising 95% YTD compared with gains of 22% for CK and 9.4% for ITD. This has pushed STEC to trade at a 2013 PBV of 4.3x while CK and ITD are at 2.1x and 1.9x, respectively. In terms of valuation, STEC is thus relatively expensive.
► CK is our top pick. CK, in our view, will be the next winner as its investments start to contribute more and more to earnings. Also, the confirmation from the Lao government that the construction of its big project, the Xayaburi power generation will go ahead will boost trading sentiment. As for ITD, its poor balance sheet and weak earnings prospects as well as the uncertainty about its
investments make it less attractive. We therefore choose CK as our top pick in the contractor sector.
Price catalysts
► The start up of bidding for new mass transit routes.
► Upward trend in quarterly earnings.
Risk factors
► An earlier-than-expected global economic recovery, labor shortages and violence in the Middle East, which will raise construction material costs and oil prices.
► Political turmoil, which may delay the start up of new government projects.

3 December 2012
Kasikorn Securities Public Company Limited
"Success is the sum of small efforts, repeated day in and day out" [Robert Collier]
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 125

โพสต์

ไทยอันดับ 6 น่าลุยอสังหา จาการ์ตาที่ 1 [ โพสต์ทูเดย์, 6 ธ.ค. 55 ]

พีดับเบิลยูซี ชี้ปีหน้าจาการ์ตาน่าลงทุนด้านอสังหาฯ มากสุดในเอเชีย

บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ส (พีดับเบิลยูซี) ได้รายงานคาดการณ์เมืองที่น่าลงทุนด้าน
อสังหาริมทรัพย์ในเอเชียมากที่สุดในปีหน้า โดยพบว่ากรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย มีแนวโน้ม
ดีที่สุดจากการจัดอันดับทั้งหมด 22 เมืองทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก ส่วนอันดับที่รองลงมาคือ เมืองเซี่ยงไฮ้ ของ
จีน สิงคโปร์ ซิดนีย์ของออสเตรเลีย และกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ตามลำดับ ขณะที่กรุงเทพมหานคร
ของไทย ติดอยู่ในอันดับที่ 6 โดยเป็นอันดับที่ดีขึ้นจากการจัดอันดับในปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 14
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 126

โพสต์

ปิ๊งไอเดียปรับโฉมหมอชิตผุดโรงแรม ตั้งราคาถูกเอื้อคนเดินทางเล็งจัดระบบขายตั๋วจุดเดียว [ มติชน, 6 ธ.ค. 55 ]

'ประเสริฐ'เตรียมหารือ สนข.บ.ข.ส.วางแนวทางเชื่อมระบบรถไฟฟ้าย่านบางซื่อ ก่อน
พัฒนาหมอชิตใหม่ เล็งสร้างโรงแรมไซซ์กลาง ตั้งราคาไม่แพง รองรับผู้โดยสาร พร้อมเปิดให้
เอกชนร่วมโครงการ เผยแผนพัฒนาอาคารผู้โดยสาร จัดระบบขายตั๋วจุดเดียว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 127

โพสต์

คมนาคมสั่งลุยถนนปลอดฝุ่นที่เหลือ [ ข่าวหุ้น, 14 ธ.ค. 55 ].

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในระหว่างตรวจเยี่ยม
และมอบนโยบายให้กับกรทางหลวงชนบท (ทช.) วานนี้ (13 ธ.ค.) ว่านโยบายสำคัญที่ ทช.ต้องดำเนิน
การในขณะนี้คือ เดินหน้าโครงการถนนปลอดฝุ่นที่เหลืออยู่ประมาณ 5,100 กิโลเมตร โดยต้องดำเนินการ
ให้ได้ปีละ 1,000 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี เพื่อยกระดับ
มาตรฐานคุณภาพชีวิตประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจต้องหางบประมาณจากภายนอกมาช่วย
เช่น งบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้โครงการบรรลุผล
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 128

โพสต์

'รับสร้างบ้าน'จี้แก้วิกฤติแรงงานขอโควตานำเข้าคนงานต่างด้าว [ กรุงเทพธุรกิจ, 14 ธ.ค. 55 ]

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน แจงวิกฤติแรงงานปัญหาใหญ่ปีหน้ายื่นหนังสือกระทรวงแรงงานฯนำเข้า
แรงงานต่างด้าว 4 พันคน เปิดเงื่อนไขเคลื่อนย้ายข้ามเขต ผสานกรมแรงงานเร่งผลิตคน ผลักดันสมาชิก
เข้า ISO9001 ระบุขึ้นค่าแรง 300 บาท ดันราคาบ้านเพิ่ม 4-8% ชี้แนวโน้มตลาดรับสร้างบ้านมูลค่า 1
หมื่นล้านปีหน้า "ทรงตัว"--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 129

โพสต์

วอนรบ.ชะลอส่งกลับต่างด้าว หอค้าหวั่นเกิดวิกฤตแรงงานทำศก.'56ถดถอยโตต่ำเป้า5% [ มติชน, 14 ธ.ค. 55 ]

นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หลังวันที่ 14
ธันวาคมนี้ ต้องผลักดันแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้ทำการพิสูจน์สัญชาติกลับประเทศ และอนุญาต
ให้กลับมาทำงานใหม่ในรูปแบบข้อตกลงตามบันทึกความเข้าใจ (เอ็นโอยู) ตามนโยบายรัฐบาล
ในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวนั้น อาจทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานถึงขั้นวิกฤตเพราะ
ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้แรงงานต่างด้าวยังเหลือรอการพิสูจน์สัญชาติจำนวนมาก อาจกระทบต่อเนื่อง
ถึงการทำธุรกิจ การส่งออก และกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ถดถอยในปี 2556 หรือ
ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ 5%
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 130

โพสต์

Contractor sector (Overweight)

งบลงทุนและงานประมูลใหญ่จะมีมากขึ้นในปี 2013 เป็นต้นไป

การลงทุนในภาคก่อสร้างรวมช่วง 9M12 เพิ่มขึ้น 6.4% Y-Y
มูลค่าก่อสร้างรวมตามราคาฐาน 9M12 อยู่ที่ 2.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% Y-Y โดยสัดส่วนมูลค่าการก่อสร้างในช่วง 9M12 มาจากภาคเอกชน:ภาครัฐในสัดส่วน 55:45 โดยมูลค่างานก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 7.6% Y-Y จากการเร่งสร้างอาคารและปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่วนงานก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้น 5.0% Y-Y จากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่คืบหน้าต่อเนื่อง
ต้นทุนก่อสร้างมีแนวโน้มปรับเพิ่มตามค่าแรงงานแต่สะท้อนในต้นทุนก่อสร้างสำหรับการรับงานใหม่ของผู้รับเหมาแล้ว

ต้นทุนแรงงานที่จะปรับขึ้นเป็น 300 บาท ใน 70 จังหวัดที่เหลือใน 1 ม.ค. 2013 คาดว่า จะกระทบต้นทุนค่าก่อสร้างให้เพิ่มขึ้นสำหรับงานเก่าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่สำหรับงานใหม่ เราคาดว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างส่วนใหญ่ได้คำนึงถึงต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นในการประเมินต้นทุนก่อสร้างเพื่อเสนอรับงานใหม่แล้ว


ที่มา : Facebook ของคุณ มาร์ต๋า คุยเรื่องหุ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 131

โพสต์

'ปู'สั่งสปีดประมูลระบบราง
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, December 25, 2012

เร่งลงนามสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต สัญญา1-2

นายกรัฐมนตรีสั่ง “ชัชชาติ” เร่งลงนามสีแดงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 1-2 พร้อมสปีดโครงการต่อสายขยายราง ปีหน้าจ่อประมูลเพียบ ไตรมาสแรกเล็งทำสีเขียวเข้ม-สีชมพู-ส้ม ส่วนรถไฟเร็วสูงต้องเร่งแผนเปิดประมูลเร็วขึ้น จากเดิมตั้งเป้าปลายปี พร้อมหาเจ้าภาพรับผิดชอบแต่ละงาน ขีดเส้น 1 เดือนมารายงานความคืบหน้า

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (24 ธ.ค.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกเข้าพบเพื่อหารือกรณีโครงการก่อสร้างระบบราง พร้อมสั่งการให้เร่งรัดโครงการที่มีความสำคัญ คือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่ขณะนี้ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ แม้จะประกวดราคาสัญญาที่ 1 และ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะนำส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ และหากคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไม่มีข้อท้วงติงเพิ่มเติมก็จะนัดเอกชนผู้รับงานมาลงนามในสัญญา รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 4 (งานเดินรถ) และการจัดหารถเมล์ NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งจะนำส่งเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ในวันเดียวกัน

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งประกวดราคาโครงการก่อสร้างระบบราง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี สีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง รวมถึงส่วนต่อขยายจากสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ไปจนถึงบางปู และส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และ บางซื่อ-หัวลำโพง ส่วนต่อขยายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งทั้งหมดจะต้องประกวดราคาให้ได้ภายในปี 2556

“โครงการที่เราต้องรีบทำตั้งแต่ต้นปี 2556 เพราะเส้นทางเหล่านี้เป็นแผนปี 2555 ซึ่งล่าช้าแล้ว คือ สีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สีชมพู สีส้ม โดยจะประมูลภายในเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งสีชมพูก็ชัดเจนว่าจะทำถึงมีนบุรี คือทำตามแผนแม่บทเดิมไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า ส่วนจะช่วยประชาชนแถบสุวินทวงศ์ยังไง ค่อยไปศึกษาแล้วแนบความเห็นส่งไปยังคณะรัฐมนตรีอีกที” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรียังได้สั่งการให้เร่งดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (Hi Speed Train) ซึ่งตามแผนแล้วจะมีการจัดนิทรรศการแสดงโครงการในเดือนพฤษภาคม 2556 และเปิดประกวดราคาไตรมาส 3-4 ปีเดียวกัน แต่ต้องเร่งให้เร็วขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีระบุว่าให้ดำเนินงานแบบคู่ขนานกันไปเพื่อประหยัดเวลา เช่น ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปพร้อมกับการจัดทำเอกสารประกวดราคา รวมทั้งให้เร่งพิจารณาหน่วยงานที่จะมารับผิดชอบในแต่ละงาน เช่น การประกวดราคา การหาเงินลงทุน การบริหารจัดการโครงการ ซึ่งทั้งหมดต้องสรุปให้ได้ภายใน 1 เดือน เพื่อมารายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีรับทราบอีกครั้ง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้สั่งการให้เร่งพิจารณาการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อนำรายได้มาบำรุง ร.ฟ.ท. โดยให้หลักการเบื้องต้นว่ารัฐจะต้องเข้าไปร่วมพัฒนาด้วย เพราะหากยกโครงการทั้งหมดให้เอกชนก็จะไม่มีพื้นที่สำหรับประชาชน ดังนั้น ร.ฟ.ท.ต้องไปพิจารณาแบ่งพื้นที่ว่าจะจัดสรรให้เอกชนเท่าใดจึงจะเหมาะสม โดยในส่วนของรัฐเองอาจร่วมพัฒนาเป็นศูนย์การจำหน่ายสินค้าโอทอป และศูนย์การแสดงสินค้าอื่นๆ

ส่วนสัญญาการใช้ประโยชน์ที่ดินย่านถนนวิภาวดีของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT จำนวน 24 ไร่ ซึ่งจะหมดสัญญากับ ร.ฟ.ท.ในเดือนมีนาคม 2556 นั้น ล่าสุดได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.ไปจัดหาผู้ประเมินราคาอิสระ เพื่อมาศึกษาว่า หากต่อสัญญาแล้ว ร.ฟ.ท.ควรได้ผลตอบแทนเท่าใดจึงจะเหมาะสม

“ให้การรถไฟฯ ไปหาผู้ประเมินราคาอิสระมาดูว่าถ้าต่อสัญญา การรถไฟฯ ควรได้ผลตอบแทนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ส่วนเรื่องที่ ปตท.ระบุว่ามีสิทธิต่อสัญญาการใช้ประโยชน์บนที่ดินออกไปอีก 30 ปี โดยไม่ต้องจ่ายผลตอบแทนนั้น ก็คงต้องดูรวมกันว่าจะเอายังไงแต่ต้องเข้าใจว่าปีนี้ ปตท.มีกำไร 1 แสนล้าน ขณะที่การรถไฟฯ ยังมีหนี้ 1 แสนล้าน ปตท.จ่ายโบนัส 6 เดือน ขณะที่ การรถไฟฯ ไม่เคยมีโบนัสเลย ก็ลองพิจารณากันดู” นายชัชชาติ กล่าว

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 132

โพสต์

คมนาคมจ่อตั้งกรมขนส่งระบบราง
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, December 28, 2012

คมนาคมเตรียมตั้ง “กรมขนส่งระบบราง” ลุยงานก่อสร้างและกำกับดูแลระบบรางทั้งหมด รวมถึงรถไฟเร็วสูง พร้อมรับโอนหนี้มาทั้งหมด ส่วนร.ฟ.ท.กับรฟม.รับผิดชอบแค่งานเดินรถ ปลัดคมนาคม มั่นใจการบริการดีขึ้น

พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดตั้งหน่วยงานในสังกัดเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ กรมขนส่งระบบราง เพื่อมารับผิดชอบงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและกำกับดูแลระบบรางทั้งหมด คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมถึงรถไฟความเร็วสูง (Hi Speed Train)

ส่วน ร.ฟ.ท.และ รฟม.จะมีหน้าที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว โดย รฟม.นั้น จะมีลักษณะคล้ายกับบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) คือ เป็นเจ้าของสัมปทานเส้นทางและให้เอกชนมาร่วมวิ่งบริการ โดยจะโอนหนี้ทั้งหมดของทั้ง 2 หน่วยนี้มาไว้ที่กรมฯ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเขาจะรับผิดชอบแค่เรื่องบริการอย่างเดียวไม่ต้องแบกภาระหนี้ก่อสร้างไว้ด้วย

ทั้งนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างร่างระเบียบการจัดตั้งกรมฯ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาต่อไป โดยคาดว่าภายในปี 2556 การจัดตั้งกรมขนส่งระบบรางจะเสร็จสิ้นเป็นรูปธรรม

พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวต่อว่า ระหว่างรอให้การจัดตั้งกรมขนส่งระบบรางเสร็จสิ้น กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ สนข.ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานขึ้นมา 2 แห่ง คือ สำนักพัฒนาระบบราง และสำนักพัฒนาระบบตั๋วร่วม โดยเป็นหน่วยงานราชการอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สนข. เพื่อดูแลงานด้านระบบรางไม่ให้เกิดความล่าช้า ซึ่งภายใน 2-3 เดือนจากนี้การจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวจะเสร็จสิ้น จากนั้นเมื่อมีกรมขนส่งระบบรางแล้ว ก็จะยุบเลิกทั้ง 2 สำนัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้อยู่ 98,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้โครงสร้างพื้นฐาน รถจักรและล้อเลื่อน หนี้ค่าน้ำมันกับ ปตท.และบำเหน็จบำนาญ 21,962 ล้านบาท หนี้จากการดำเนินงาน 42,860 ล้านบาท หนี้จากโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 33,237 ล้านบาท เนื่องจากไม่ได้ปรับค่าโดยสารรถชั้น 3 มาตั้งแต่ปี 2528 ส่วนชั้น 1 และ 2 ไม่ได้ปรับตั้งแต่ปี 2539 โดยจัดเก็บค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนมากเนื่องจากต้องให้บริการเชิงสังคม ขณะเครื่องมือการหารายได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เช่น หัวรถจักร ขบวนรถ และรางที่มีอายุการใช้งานกว่า 50 ปี

ส่วน รฟม.นั้นปัจจุบันมีภาระหนี้สิน 80,000 ล้านบาท โดยปี 2554 รฟม.ขาดทุนสะสมถึง 35,066 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 10,000 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2555 (ต.ค.54-ก.ย.55) รฟม.ขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 35,711 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา รฟม.มีรายได้ประมาณ 17 ล้านบาทต่อเดือน

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
vajiralux
Verified User
โพสต์: 70
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 133

โพสต์

รวบรวมไว้ได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ pak
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 134

โพสต์

คอลัมน์: วิเคราะห์: จดเสี่ยงศก.ไทยปี 56 การเมือง-ศก.โลกยังหลอนจ้รัฐเร่งเมกะโปรเจ็กต์
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, January 02, 2013

วัดปรอทเศรษฐกิจไทยปี 2556 พบว่ายังมีความท้าทายจากปัจจัยเสี่ยงทั้งต่างประเทศและในประเทศ รุมเร้าไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐ กิจโลกที่ยังเปราะบาง จากปัญหาต่างๆ ที่ยังยืดเยื้อไม่ว่าหนี้สาธารณะยุโรป หน้า ผาการคลัง Fiscal Cliff เศรษฐกิจจีนเริ่มแผ่ว การเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุของญี่ปุ่น เมื่อประเทศเสาหลักคู่ค้าสำคัญของโลกมีปัญหาก็อาจส่งผลกระทบกับการส่งออกทางอ้อมมาถึงไทย

ส่วนปัจจัยเสี่ยงใหม่ในประเทศคือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ จำนำข้าว รถคันแรก รัฐต้องใช้ เงินอุดหนุนมหาศาล การดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่ต้องระมัดระวัง การแก้รัฐธรรมนูญก็ยังเป็นที่กังวล ของนักธุรกิจ แต่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจหลายสำนักยังประเมินเศรษฐกิจไทยไปในทิศทางที่ดี โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประ เทศ (จีดีพี) จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% ทั้งแนะรัฐบาลให้เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก็เห็นไม่แตกต่าง โดยระบุผลสำรวจพบว่า ความไม่แน่ นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก การ เมืองไทยราคาน้ำมันมีแต่จะปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ค่าวัตถุดิบต่างๆ และภัยธรรมชาติ เป็นความเสี่ยงที่ต้องระวัง

นายกฯ ไล่บี้ลงทุนภาครัฐ

ฉะนั้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดส่งท้ายปี (25 ธันวาคม 2555) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการคลัง ถึงได้ออกมาแถลงว่า นายกรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ชินวัตร" ได้ให้ความสำคัญการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและการบริหารจัดการน้ำ ให้จัดทำกรอบเวลาแผน การลงทุนให้ชัดเจน ให้กรมบัญชีกลางเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและเป็นแรงส่งดันจีดีพีให้สูงขึ้น

สำหรับเม็ดเงินโครงการของรัฐปีนี้ รองนายกฯ ระบุว่า มีเม็ดเงินกว่า 5 แสนล้านบาท เป็นงบลงทุนที่ตั้งไว้ 3.3 แสนล้านบาท และมาจากการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำที่จะเบิกจ่ายปีนี้ 6-9 หมื่นล้านบาท ลงทุนพื้นฐานโครงสร้างคมนาคมขนส่งอีกราว 1 แสนล้านบาท ทั้งสองส่วนคาดจะทำให้จีดีพีขยายตัว 1.5% ทั้งมั่นใจว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวที่ 5% ส่งออกโต 9% สอดรับกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ออกมาปรับเป้าจีดีพีปี 2555 ใหม่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะโต 5.7% จากเดิม 5.5% ส่งออกเหลือ 3.9% จากเดิม 4.5% ส่วนปีนี้คาดเศรษฐกิจไทยจะโตได้ 5%

ต่างชาติมองแง่ดี แต่ยังเสี่ยง

อย่างไรก็ดีรายงานของแบงก์โลกที่เผยแพร่ (วันที่ 19 ธันวาคม 2555) ประมาณการจีดีพีไทยปีที่แล้วอยู่ที่ 4.7% คาดว่าปีนี้จะขยายตัวที่ระดับ 5% โดยมองว่าภาคการผลิตจะมีการฟื้นตัวอย่างเต็มที่แล้วและภาวะเศรษฐกิจโลกก็มีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ และรัฐบาลไทยยังมีแผนเพิ่มการลงทุนโดยเฉพาะโครงการด้านการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท

"แต่ไทยก็ยังเผชิญความเสี่ยงหลายด้านไม่ว่าวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ราคาสินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา มีแนวโน้มลดลง และที่สำคัญคือการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนหรือไม่และยังมีความเสี่ยงค่าแรง 300 บาท ความไม่แน่นอนทางการเมืองจะกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน" ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแบงก์โลก สำนักงานประเทศไทยกล่าวเตือน

มุมมองของ นายรอล์ฟ-ดีเตอร์ ดาเนียล ประธานสมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน-อาเซียน ชี้ว่า "เศรษฐกิจไทยมีจุดเด่นตรงที่มีหลายเซ็กเตอร์มีความแข็งแกร่ง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การ เกษตรและอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะเป็นฐานขยายออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนแต่ยังมีกฎเกณฑ์หลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของต่างชาติ"

ต้นทุนพุ่งแต่บรโภคเพิ่ม

ส่วนการปรับค่าแรง 300 บาทยังเป็นประเด็นที่หลอนธุรกิจไทย เพราะมีทั้งบวกและลบ แต่ที่แน่ๆ จะพ่นพิษในปีนี้ แม้จะรับรู้กันตลอดว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เสี่ยงเจ๊งนับแสนราย เพราะถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือมีเพียงมาตรการเยียว ยาเท่านั้นทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนแรง งานยืดเยื้อข้ามปีจากทั้งระบบที่ขาดแคลน อยู่ถึง 3 ล้านคน

เรื่องนี้นายชัยรัตน์ ธรรมพีร ซีอีโอ บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า "ปีนี้ค่าก่อสร้างคงปรับขึ้น 5-10% จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่แพง ขึ้น แรงงานขาดเกิดการดึงตัว และการจราจร ติดขัดหนักจากโครงการรถคันแรก"

แต่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากอย่าง เครื่องนุ่งห่มมองว่าจากปัญหานี้ "จะ ทำให้ไม่สามารถขยายกิจการได้ ผู้ประ กอบการต้องขยายฐานการลงทุนไปประ เทศเพื่อนบ้านแล้วและยังมีแนวโน้มที่จะออกไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ" นายสุกิจ คงปิยา- จารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยระบุ

ด้านกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและห้างสรรพสินค้ากลับมองต่าง นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด เห็นว่า "เศรษฐกิจปีนี้จะมีการเติบโตจากค่าแรง 300 บาท แม้อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กบ้างแต่จะเป็นการช่วยกระตุ้นยอดขาย จากกำลังซื้อของภาคประชาชนให้สูงขึ้น"

ขณะที่ผู้บริหารศูนย์การค้าชั้นนำ นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวย การใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารสยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ ชี้ว่า "นโยบายของภาครัฐเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว ทั้งจำนำข้าว, ค่าแรง 300 บาท ซึ่งอาจจะส่งผลดีหรือไม่ดีก็ได้"

ส่วนภาคการส่งออกแม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าขยายตัว 9% แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านรวมถึงกรณีที่ผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ห่วงปัญหาการที่สหรัฐอเมริกา ยกสถานะไทย ให้อยู่ในระดับ Tier2 Watch List เป็นปีที่สามติดต่อกัน จากกรณีที่สหรัฐฯ กล่าวว่ามีการใช้แรงงานเด็กและปฏิบัติไม่ดีต่อแรงงานในอุตสาห กรรมอาหารทะเล

ต่อเรื่องนี้ นายธีรพงศ์ จันศิริ ประ ธานกรรมการบริหาร บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ แสดงความเป็นห่วงว่า "หากปีนี้การพิจารณาไทยถูกยกระดับขึ้นไปอยู่ในบัญชี Tier 3 ก็มีความเสี่ยงที่สินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะถูกกีดกันการค้าถึงขั้นอาจห้ามการนำเข้า และอาจลามถึงยุโรปที่เป็น ตลาดใหญ่ หากบริหารจัดการไม่ดี และต้องแก้ไขเป็นการด่วนเพราะกระทบถึงภาพลักษณ์ประเทศและเศรษฐกิจ"

ห่วงภาระทางการคลัง ทางด้านความกังวลของภาคการเงิน นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพ ชี้ว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่รวมทั้งตนเป็นห่วงเรื่องการคลัง เพราะไม่มีใครประ มวลภาระต่างๆ เนื่องจากข้อมูลไม่นิ่งและไม่ชัดเจน ในแง่เศรษฐกิจเห็นว่าการเติบ โตที่ยั่งยืนต้องมาจากประชาชน ไม่ใช้เงินภาษีหรือเงินกู้ถ้าหากรัฐยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็ควรจะมีที่สิ้นสุด สิ่งที่ควรระวังคือการเกินตัวหรือมีภาระเกินไป

ขณะที่นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรม การผู้จัดการใหญ่เอสซีจี ยังให้น้ำหนักความ เสี่ยงไปที่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบต่อ เศรษฐกิจไทยและอาเซียนจากตัวเลขไทยค้าขายในภูมิภาคมีสัดส่วนถึง 25% ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมด ทั้งเห็นว่าการดำเนินนโยบายของรัฐบาลให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ และพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด

เช่นเดียวกับนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรม การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกดีขึ้นหลังประเทศมหาอำนาจได้ผู้นำใหม่และจะเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกกับไทย หากแก้ไขดีก็จะเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจโลกให้เติบโตส่วนราคาน้ำมันดิบตลาดโลกคาดจะอยู่ในกรอบ 100-110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว"

ทั้งหมดเป็นการสะท้อนมุมมองของทุกภาคส่วนถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยปีมะเส็ง ท่ามกลางความท้าทายและความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังมีอยู่!!

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 135

โพสต์

หุ้น STEC พุ่งนิวไฮรอบ 17 ปี คาดรายได้ช่วง 3 ปีได้อย่างน้อย 2 หมื่นลบ.
อินโฟเควสท์, 2 ธ.ค. 56


ราคาหุ้น STEC เช้าวันนี้ ขึ้นไปทำราคาสูงสุดในรอบ 17 ปี ที่ระดับ 29.00 บาท จากเมื่อก.ย.38 ทำราคาสูงสุดที่ 29.40 บาท หลังบทวิเคราะห์โบรกเกอร์เช้านี้แนะนำกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเป็น Top Pick ในปีนี้รับประโยชน์จากงบลงทุนด้านสาธารณูปโภคภาครัฐ และการเปิดประมูลรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ๆ

ขณะที่ นายวรพันธ์ ช้อนทอง กรรมการรองผู้จัดการ สายงานการเงินและบริหาร บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น(STEC)กล่าวกับ"อินโฟเควสท์"ว่า บริษัทคาดว่าจะมีรายได้ช่วง 3 ปีข้างหน้า(ปี 56-58)อย่างน้อยปีละ 2 หมื่นล้านบาท หรือ เติบโตปีละประมาณ 20% โดยในปี 56 คาดวาจะมีรายได้ 2.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปี 55 ที่คาดจะรับรู้รายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท และคาดว่าอัตรากำไรสุทธิในปี 55 ใกล้เคียงปีก่อนที่ 8.5%
...
ทั้งนี้ งานในมือ(backlog)ล่าสุด ณ สิ้นปี 55 มีอยู่ 6 หมื่นล้านบาท และมีโอกาสได้รับงานใหม่เพิ่มขึ้นในระหว่างปี โดยปี 56 คาดว่าจะมีงานใหม่เข้ามาประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะจากงานภาครัฐ รวมถึงงานภาคเอกชนด้วย ก็จะยิ่งทำให้รายได้ของบริษัทจะมีมากขึ้น

รวมทั้ง บริษัทคาดว่าเร็วๆนี้จะมีการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 หลังจากที่ล่าช้ามานาน โดยกลุ่ม SU ที่ชนะประมูล เป็นความร่วมมือระหว่าง STEC กับ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น(UNIQ)โดย STEC ถือหุ้น 60% คิดเป็นสัดส่วนงานประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท นอกจากนั้นในปีนี้จะมีการประมูลงานก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2

"ปีหน้างานน่าจะเข้ามคึกคัก ทั้งงานบริหารจัดการน้ำ รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ยังมีงานประจำของกระทรวงต่างๆอีก"นายวรพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัทมีกระแสเงินสด จำนวน 6 พันล้านบาท ขณะเดียวกันบริษัทไม่มีหนี้สินระยะยาว ทำให้คล่องตัวอย่างมาก และคาดว่าจะมีการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการในปี 55 ที่มั่นใจจะจ่ายได้ตามนโยบายจ่ายเงินปันผลที่ 40% ของกำไรสุทธิ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 136

โพสต์

ยุบกะทู้นี้ไปดีกว่าครับ เพราะ ผมว่าคนถือหุ้นรับเหมาตอนนี้ไม่เหนื่อยใจแล้วล่ะ 555
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 137

โพสต์

ทุนฮ่องกงผนึก'โสภณพนิช'ลุยพัฒนาที่ดินในเมือง
กรุงเทพธุรกิจ, 10 ม.ค. 56

กลุ่มทุนฮ่องกง"เอชเคอาร์" จับมือ ซิตี้เรียลตี้ ของกลุ่มโสภณพนิช ตั้งบริษัทใหม่ "ซิตี้ เวอร์ชู" ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ลุยพัฒนาที่ดิน 2 แปลงใหญ่ในเมือง ผุดคอนโดฯ 40ชั้น ที่ดินสถานทูตฝรั่งเศสเดิมมูลค่า5พันล้าน เล็งพัฒนาที่ดินบนถนนวิทยุมูลค่าหมื่นล้าน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 138

โพสต์

'ยิ่งลักษณ์'ขันนอตเบิกจ่ายงบปี'57 สั่งเร่งทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทุกหน่วยให้เสร็จใน 30 พ.ย.นี้
โพสต์ทูเดย์, 10 ม.ค. 56

ยิ่งลักษณ์นั่งหัวโต๊ะถกเร่งจ่ายงบปี 2557 สั่งหน่วยงานทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างให้เสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. 2556
วานนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการงบลงทุนและแนวทางการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลังนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 139

โพสต์

กทพ.เร่งก่อสร้างด่วนขั้น 3
บ้านเมือง, 10 ม.ค. 56

นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งรัดงานก่อสร้างโครงการทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 N2 N3 ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม ที่มีคำสั่งให้รีบดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณถนนเกษตร-นวมินทร์ โดย กทพ.จะก่อสร้างตอน N2 วงเงินประมาณ 20,000 ล้านบาทก่อน เนื่องจากมีเสาตอม่ออยู่แล้ว และไม่ติดปัญหาการคัดค้านโครงการเช่นช่วง N1 ที่มีการคัดค้านจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยล่าสุด กทพ.อยู่ระหว่างศึกษาโครงการ จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปลายปี 2556 หากได้รับการอนุมัติก็จะเริ่มขั้นตอนการประกวดราคา โดยการก่อสร้างใช้เวลา 4 ปี สำหรับโครงการทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือ เป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่ใน พ.ร.บ.เงินกู้เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างทางพิเศษกระทู้-ป่าตอง และทางพิเศษศรีรัช-ดาวคะนองด้วย รวมทั้ง 3 โครงการ วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 140

โพสต์

ITDคว้างานใหม่131ล้านบาท กทพ.สปีดสร้างทางด่วน N2 แก้รถติดเกษตร-นวมินทร์
ข่าวหุ้น, 10 ม.ค. 56

กทพ. ลงนามสัญญาจ้าง ITD วงเงิน 131 ล้านบาท ปรับปรุงทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร กับถนนทางรถไฟสายเก่า พร้อมเร่งสร้างทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือ เดินหน้า N2 วงเงิน 20,000 ล้านก่อน เพราะมีตอม่ออยู่แล้ว แถมไม่ติดปัญหาคัดค้านโครงการ เชื่อชง ครม.ได้ปลายปีนี้ ขณะปริมาณจราจรล่าสุดกระฉูด 1.7 ล้านเที่ยวต่อวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 141

โพสต์

STEC-UNIQวิ่งรับข่าวดีศุกร์นี้
15-01-2013 04:10:37

คมนาคม’นัดเซ็นรถไฟสายสีแดงสัญญา1
STEC-UNIQ หลุดบ่วง คมนาคมนัดเซ็นงานสัญญา 1 โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต 18 ม.ค.นี้ พร้อมเรียกผู้ยื่นซองสัญญา 3 เข้าแจง กรณีเป็นกรรมการซ้อน 2 กลุ่ม “ประภัสร์” เชื่อ ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ฮั้วประมูล เพราะคนเดียวกันสามารถนั่งหลายบอร์ดได้ หากอธิบายชัด เดินหน้าประมูลต่อทันที

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 มกราคมนี้ ร.ฟ.ท.จะลงนามโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1(งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและอาคารซ่อมบำรุง) มูลค่า 29,828 ล้านบาท กับกลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ผู้รับงาน

ส่วนสัญญาที่ 2 งานก่อสร้างงานโยธาและสถานี ระยะทาง 26 กิโลเมตร มูลค่า 21,235 ล้านบาท ที่มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับงาน ซึ่งการประกวดราคาเสร็จสิ้นแล้วเช่นกันนั้น ยังไม่สามารถลงนามได้ เพราะต้องนำส่งผลการประกวดราคาให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ผู้ให้เงินกู้ รับทราบก่อน

“18 ม.ค.นี้ เราจะลงนามสัญญากับเอกชนผู้รับงานสัญญา 1 ส่วนสัญญาที่ 2 แม้ประมูลเสร็จแล้ว แต่ยังลงนามไม่ได้ เพราะตอนนี้ได้ส่งผลประมูลไปให้ JICA พิจารณา ถ้าเขาแจ้งกลับมาว่าไม่มีปัญหาอะไร เราก็พร้อมลงนามทันที” นายประภัสร์ กล่าว

สำหรับการประกวดราคาสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท ที่มีปัญหาการตีความกรณีผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกรรมการทับซ้อนกัน ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) นั้น นายประภัสร์ กล่าวว่า คณะกรรมการประกวดราคาที่มีนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่า ร.ฟ.ท. เป็นประธาน จะเชิญเอกชนที่เข้ายื่นข้อเสนอทั้ง 4 รายมาชี้แจง ในวันที่ 18 มกราคมนี้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นเห็นว่า การประกวดราคาสัญญา 3 ยังไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ฮั้วประมูล เพราะการที่บุคคลใดเป็นกรรมการซ้อนใน 2 กลุ่มที่ยื่นประกวดราคา เป็นเรื่องปกติของประเทศญี่ปุ่นโดยไม่ถือว่าผิดกฎหมาย และมักนิยมกระทำเพื่อให้การประกวดราคาเกิดความโปร่งใส โดยกรรมการจะไม่เข้าประชุมในเรื่องที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งประเทศไทยอาจยังไม่คุ้นกับวิธีการเช่นนี้ จึงมองว่าเข้าผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ฮั้วประมูล

“การกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องปกติที่ญี่ปุ่นและเขาถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งการที่เขาปฏิบัติตามกฎหมายของเขาแต่เราไปบอกว่าผิดกฎหมายฮั้วของเราคงไม่ได้ ที่สำคัญคือความผิดยังไม่ได้เกิดขึ้น การที่กรรมการคนหนึ่งจะนั่งเป็นบอร์ด 2 กลุ่ม ก็เหมือนกับประเทศไทยที่บุคคลคนหนึ่ง อาจนั่งเป็นบอร์ดหลายที่ก็ได้ แต่ต้องไม่เข้าร่วมประชุมในวาระที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งเราก็ต้องให้เขามาชี้แจงตรงนี้ ถ้าเขาชี้แจง พิสูจน์ได้ชัดเจนก็เดินหน้าประมูลต่อ แต่ถ้าเขาชี้แจงแล้วเห็นว่ามีพฤติกรรมที่ผิดปกติเราก็ยกเลิกประมูลไปเท่านั้นเอง” นายประภัสร์ กล่าว

สำหรับสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 มีผู้ยื่นข้อเสนอ 4 ราย คือ
1.กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation)

2.กลุ่มกิจการร่วมค้า SMCK Consortium (บริษัท SIEMENS Ak piengesellschaft บริษัท SIEMENS LIMITED บริษัท MITSUBISHI CORPORATION และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK

3.กลุ่มกิจการร่วมค้า MIR Consortium (บริษัท Maru Beni coporation บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และ บริษัท Hyundai Rotem Company)

4.กลุ่มกิจการร่วมค้า SAMSUNG Consortium (บริษัท Samsung engineering LTD บริษัท Chr zhu zhou electronic locomotive ltd บริษัท Sojitz jitz corperation และบริษัท Samsung SDS Ltd)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 142

โพสต์

ITD เซ็นสัญญารับใหม่ 2 โครงการในไทย-อินเดีย มูลค่ารวม 1.77 พันลบ.
อินโฟเควสท์, 15 ม.ค. 56


บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์(ITD) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้าง จำนวน 2 โครงการ ทั้งโครงการในประเทศและประเทศอินเดีย มูลค่างานรวม 1.77 พันล้านบาท

โครงการแรกเป็น โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จ.กำแพงเพชร และ จ.อุบลราชธานี ของ บจก. บึงสามพัน โซล่าร์,บจก.นอร์ธเวสต์ โซล่าร์, บจก.ไนน์ เอ โซล่าร์, บจก.โซล่าร์เทคเอ็นเนอยี และ บจก.อี เอส พี พี มูลค่างาน 315,437,030.41 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 240 วัน

ลักษณะงานก่อสร้าง ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อสร้างที่ จ.กำแพงเพชร ขนาดกาลังการผลิต 8 MW จำนวน 4 โครงการ และก่อสร้างที่ จ.อุบลราชธานี ขนาดกำลังการผลิต 6 MW.AC. จำนวน 1 โครงการ ขอบเขตของงานในส่วนของบริษัท ประกอบด้วยงานด้านโยธาทั้งหมด งานปรับพื้นที่ งานฐานราก(ไม่รวมงานจัดหาเสาเข็ม) และติดตั้ง Mounting Structure ,PV modules ,งานก่อสร้างถนน,ระบบระบายน้า,กาแพงดินกั้นน้าและสถานีไฟฟ้าภายในโครงการ

ส่วนอีกโครงการเป็นงานก่อสร้าง Delhi Metro Contract CC 26 R ,ประเทศอินเดีย ในนามของกิจการร่วมค้า ITD-ITD CEM ซึ่งเป็นโครงการของบริษัท เดลลี เมโทร เรล คอร์ปอเรชั่น จากัด มูลค่าโครงการ 5,460 ล้านรูปีอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนงานของ ITD ในสัดส่วน 51% คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 2,784.60 ล้านรูปีอินเดีย เทียบเท่ากับ 1,454,953,500 บาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 12 ธ.ค. 2555 : 1 รูปีอินเดีย เท่ากับ 0.5225 บาท

โครงการดังกล่าวเป็นงานก่อสร้างประกอบด้วย งานออกแบบ และก่อสร้างงานรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนยกระดับ พร้อมทางเข้า-ออก โรงซ่อม บารุง และสถานี 8 สถานี รวมงานสถาปัตยกรรม, งานระบบประปา, งานระบบสุขาภิบาล และระบายน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 143

โพสต์

“กิตติรัตน์” ดัน พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านเข้า ครม. 29 ม.ค.นี้
สำนักข่าวไทย TNA News | 15 ม.ค. 2556 17:52
ทำเนียบรัฐบาล 15 ม.ค. - นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ในที่ประชุม ครม.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงถึงการจัดทำร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ฯ 2 ล้านล้านบาท โดยระบุว่าในวันที่ 21 มกราคมนี้จะเสนอยุทธศาสตร์เรื่องการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานตาม พ.ร.บ.เงินกู้ฯ ทั้งด้านการขนส่งสินค้า การคมนาคม และอื่นๆ ให้ที่ประชุม ครม.สัญจรที่ จ.อุตรดิตถ์ รับทราบก่อนเสนอตัวร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ฯ ให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 29 มกราคมนี้ ซึ่ง พ.ร.บ.ฯ นี้จะเป็นประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจและประชาชนอย่างมาก เพราะจะช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทำให้ระบบการคมนาคมขนส่งในประเทศมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยเพิ่มการจ้างงานซึ่งถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศเติบโตมากยิ่งขึ้น

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือกันอย่างละเอียด เพื่อกำหนดโครงการต่างๆ ที่จะลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ฯ 2 ล้านล้านบาท เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด เบื้องต้นโครงการที่จะดำเนินการแน่นอนและลงตัวแล้วประกอบไปด้วย โครงการทางด้านระบบราง ทั้งระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั้ง 4 สาย คือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-ระยอง รวมถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย แต่ที่ยังเป็นปัญหา คือ เรื่องของระบบถนนที่ยังต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าควรจะดำเนินการในเส้นทางใดบ้าง และในแต่ละเส้นทางควรลงทุนแบบใด เช่น กรณีของเส้นทางมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ควรจะลงทุนในรูปแบบของการร่วมทุนกับภาคเอกชน หรือพีพีพี จะเหมาะสมหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าแต่ละโครงการสามารถปรับลดปรับเพิ่ม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการลงทุนของประเทศและเป็นไปตามกรอบวงเงินที่กำหนดไว้ 2 ล้านล้านบาท เพราะขณะนี้เมื่อพิจารณาตามฐานะ สภาพการลงทุน กำลังการผลิต และภาระหนี้ต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ไม่เกินร้อยละ 50 แล้วไทยเหมาะสมที่จะลงทุนในขนาดที่ไม่เกิน 2 ล้านล้านบาทใน 7 ปี

นายชัชชาติ กล่าวด้วยว่า การลงทุนครั้งใหญ่ของประเทศครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจในประเทศกระเตื้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการไปเดินสายโรดโชว์ให้กับนักลงทุนต่างชาติที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก เช่น กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้มีนักลงทุนรายอื่นเข้ามาลงทุน เพื่อแข่งขันกับเอกชนรายเดิมที่มีอยู่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น.

- สำนักข่าวไทย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 144

โพสต์

ปีทองหุ้นรับเหมาก่อสร้าง
*ชู STPI-ITD- SEAFCO น่าลงทุน

เซียนหุ้น ฟันธงภาพรวมธุรกิจรับเหมาฯปี56โต 20-30%รับอานิสงส์รัฐทุ่ม 2ล้านล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอเซียพลัส คาด10หุ้นรับเหมาฯตุนงานในมือเพิ่มอีก 1.4 แสนล้านบาท ชู STPI-ITD- SEAFCO น่าลงทุน ฟากทิสโก้ แนะซื้อ CK ให้มูลค่าเหมาะสม 20 บาท ระบุมีอัพไซด์จากเงินลงทุน ส่วนเคจีไอ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย STEC เป็น 36 บาท หลังเซ็นสัญญารับงานรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญา1 ขณะที่บิ๊ก UNIQ มั่นใจปี56 รายได้โตไม่ต่ำกว่า 10%

*เซียนหุ้น ฟันธงรับเหมาฯปี56โต 20-30%

นักวิเคราะห์จาก บล.ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แนวโน้มของธุรกิจวัสดุก่อสร้างในปีนี้มีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับอานิสงส์จากโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ทำให้ทิศทางของราคาวัสดุก่อสร้างอยู่ในระดับที่ทรงตัวและมีทิศทางปรับขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าราคาวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ เพราะเชื่อว่าคงจะเตรียมตัวรับมือไว้อยู่แล้วจากการสต็อกวัสดุก่อสร้างไว้ก่อน เพราะมีบทเรียนจากในช่วงปี 2008 ที่ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างรุนแรง จากกรณีที่ประเทศจีนได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตค่อนข้างมาก
พร้อมกันนี้ คาดว่า แนวโน้มของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปีนี้จะเติบโตประมาณ 20-30% เนื่องจากมีงานในมือที่รอรับรู้เป็นรายได้ค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันยังมีโครงการใหม่ๆที่จะเข้ามารองรับงานในมือของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ทั้งโครงการของภาครัฐและเอกชน โดยโครงการของภาครัฐ อาทิ โครงการบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างในช่วงเดือน เม.ย.นี้ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะมีการนำเสนอให้ครม.พิจารณาได้ในวันที่ 5 ก.พ.นี้ และโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย อาทิ สายสีแดง สายสีเขียว และสายสีส้ม
ทั้งนี้หากประเมินราคาหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงแล้ว แต่ยังคงมีสตอรี่ที่รองรับ ดังนั้นหากราคาปรับตัวลงก็สามารถเข้าซื้อได้ โดยแนะนำ STEC ราคาพื้นฐานที่ 33.50 บาท CK ราคาพื้นฐานที่ 22 บาท และ ITD ราคาพื้นฐานที่ 5.30 บาท


* รับอานิสงส์รัฐทุ่ม 2ล้านล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส ระบุว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค.จะเสนอแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทเข้าครม. 21 ม.ค. นี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดโครงการและงบประมาณของแต่ละโครงการ หลังจากนั้นจะเสนอร่างพรบ.กู้เงินตามโครงกล่าวเข้าครม. 5 ก.พ. สศค.คาดว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทจะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น 1% และมีการจ้างงานเพิ่มกว่า 8 หมื่นตำแหน่ง...ความชัดเจนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลดีต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเน้นระบบโลจิสติกส์ และกว่าครึ่งหนึ่งเป็นขนส่งทางบก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับเหมาและผู้จำหน่ายและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง


* เอเซียพลัส คาด10หุ้นรับเหมาฯตุนงานปีนี้เพิ่ม1.4 แสนล้านบาท

บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า วัฏจักรขาขึ้นรอบใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างของประเทศไทย เกิดขึ้นจากงานก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมากทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบันโดยสถานะ Backlog ณ สิ้น 3Q55 ของบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 10 แห่ง ภายใต้ Coverageของ ASP มีรวมกันสูงถึง 3.5 แสนล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ สำหรับปี 2556 จะมีการเปิดประมูลงานก่อสร้างขนาดใหญ่จากภาครัฐ ภายใต้แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งปี 2556-2563 วงเงินรวม 1.99 ล้านล้านบาท โครงการที่สำคัญได้แก่ การเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หลังได้สรุปแล้วใน 2 เส้นทาง คือกรุงเทพ-เชียงใหม่ วงเงินก่อสร้าง 3 แสนล้านบาท และกรุงเทพฯหนองคาย วงเงินก่อสร้าง 1.98 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการประมูลราคาผู้รับเหมาในช่วง3Q56 รวมถึงโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท จะช่วยสร้างกระแสเชิงบวกให้กับหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะ 3 ผู้รับเหมารายใหญ่ได้แก่ ITD CK และ STEC ซึ่งมีศักยภาพในการก่อสร้างงานระบบรางขนาดใหญ่ ขณะที่ผู้รับเหมาขนาดกลางและเล็ก จะได้ประโยชน์ในฐานะที่เข้าไปเป็นผู้รับเหมาช่วง ภายใต้สถานการณ์ที่เอื้อหนุนดังกล่าวฝ่ายวิจัยคาดว่ายอดการรับรู้รายได้ในปี 2556 ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง 10 แห่ง ภายใต้ Coverage ของ ASP จะเติบโตขึ้น 22%YoY เป็น 1.4 แสนล้านบาท และเพิ่มเป็น 1.6 แสนล้านบาท ในปี 2557


* ให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด ชู STPI-ITD- SEAFCO เด่นสุด

แม้ปี 2556 จะอยู่ในช่วงวัฏจักรขาขึ้นรอบใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง แต่ราคาหุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มรับเหมาฯ ได้ปรับตัวขึ้นมาก เทียบกับตลาดรวม โดยราคาของบริษัทรับเหมา 10 แห่ง ภายใต้Coverage ของ ASP ได้ปรับตัวขี้นเฉลี่ย 93% และส่วนใหญ่มีค่า PER สูงเกินกว่า 20 เท่า ในขณะที่ SETIndex ปรับตัวขึ้นเพียง 33% ฝ่ายวิจัยจึงไม่คาดหวังว่าที่จะเห็นผลตอบแทนการลงทุนหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างโดดเด่นเหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2555 จึงให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเพียง “เท่ากับตลาด” โดยเลือก ITD ,STPI และ SEAFCO เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มฯ
ITD ( FV @Bt 5.24 ) : ถือเป็นหุ้นรับเหมาฯ ที่ยัง Laggard อยู่เมี่อเทียบกับตลาดรวม และบริษัทมีแนวโน้มผลดำเนินงานที่ดีขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรได้อีกครั้งในงวด 4Q55 เป็นต้นไปอีกทั้งโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้นตามลำดับ จากการที่รัฐบาลไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการทวายให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยจะมีการสรุปผลการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการท่าเรือทวายตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับพม่าในเดือน ก.พ. 2556 สำหรับโครงการทวายถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อ ITD จากมูลค่าโครงการในเฟสแรกที่สูงถึง 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นแหล่งงานให้กับ ITD ในอนาคต ได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
STPI ( FV@Bt 72.55 ) : หลังคว้างานโครงการใหญ่ คือ Ichthys onshore LNG Projects มูลค่า 739 ล้านเหรียญฯ ในประเทศออสเตรเลีย คาดว่า STPI จะมีผลประกอบการที่เติบโตอย่างมากในช่วงระหว่างปี2556-2558 ตามมูลค่าของงานที่ได้ส่งมอบ จากประสบการณ์และการเตรียมความพร้อมที่ดี ทำให้ STPIปิดความเสี่ยงเกี่ยวกับต้นทุนโครงการได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้โอกาสทางธุรกิจของ STPI ยังมีต่อเนื่อง หลังปี2558 จากธุรกิจ LNG ในประเทศออสเตรเลียที่มีการเติบโตสูง เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกแม้ว่าราคาหุ้น STPI จะปรับตัวขึ้นมาแล้ว 110% จากต้นปี 2555 แต่ยังมี Upside จาก Fair Value ของฝ่ายวิจัยอีก 17% บวกกับผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 4% ต่อปี
SEAFCO ( FV@ Bt 6.91 ) : พื้นฐานบริษัทที่พลิกฟื้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นมาก หลังส่งมอบงานโครงการ margin ต่ำประเภทงานสะพานและถนนไปแล้วเกือบทั้งหมดขณะที่งานที่รับเข้ามาในช่วงหลัง ส่วนใหญ่เป็นงานที่ SEAFCO รับเฉพาะค่าแรง ซี่งเป็นงานที่มี marginสูง ทำให้คาดว่าปี 2555 SEAFCO จะสามารถสร้างกำไรได้สูงถึง 132 ล้านบาท สูงที่สุดในรอบ 6 ปี และกำไรจะเพิ่มเป็น 144 ล้านบาท ในปี 2556 ซึ่งจะทำให้ SEAFCO กลับมาจ่ายเงินปันผลในปี 2555 ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี นอกจากนี้ในช่วงต้นปี 2556 SEAFCO มีลุ้นข่าวดีจากการรับงานเสาเข็มและฐานราก โครงการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช วงแหวนรอบนอก ต่อจาก CK มูลค่าราว 500-600 ล้านบาทจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจทีดีต่อกัน เห็นได้จากการที่ SEAFCO ได้รับงานต่อจาก CK ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสาย ที่ CK ชนะประมูล คือ สายสีม่วง สีนำเงิน และ สายสีเขียว


* ทิสโก้ แนะซื้อ CK ให้มูลค่าที่เหมาะสม 20 บาท

บทวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ระบุว่า ถึงแม้ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาสูงในช่วงที่ผ่านมา แต่เรายังคงแนะนำให้ “ซื้อ” CK เนื่องจาก 1) เราคาดว่าการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งจะช่วยเพิ่มงานในมือและผลประกอบการของ CK 2) กำไรจากการขายหุ้น TTW 3) กำไรจากการจดทะเบียนบริษัท CK Power และ 4) D/E ต่ำจากการขายหุ้นและการชำระหนี้แนวโน้มเชิงบวกจากงานในมือและโครงการที่มีศักยภาพ
ปัจจุบัน CK มีงานในมือสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท รวมถึงโครงการที่รอเซ็นสัญญา 2.82 หมื่นล้านบาท เช่นโครงการ SPP เฟซที่ 2 (5 พันล้านบาท) รถไฟฟ้าสายสีเขียว แบริ่ง – สมุทรปราการ 2.5 พันล้านบาท และสายสีม่วง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งรวมแล้วจะทำให้ CK มีงานในมือ 1.48 แสนล้านบาท และเราคาดว่างานในมือของ CK จะเพิ่มขึ้นได้อีกจากโครงการสาธารณะในปีนี้เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม บางซื่อ – สะพานใหม่, รถไฟรางคู่, สนามบินสุวรรณภูมิเฟซ 2 และโครงการจัดการน้ำ
เราคาดว่าการที่ CK ขาย TTW ที่มีอยู่ 11% จะทำให้มีกำไรประมาณ 1.5 พันล้านบาทในช่วง 1Q56 และจะบันทึกกำไรจากการปรับมูลค่าตลาดของ TTW อีก 4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ Gearing ของ Ck ลดลงจากเดิม 2.9 เท่าเป็น 1.4 เท่า แต่อย่างไรก็ตามหาก CK ลดการถือหุ้น TTW เป็น 19% จะทำให้ CK ไม่ได้รวมกำไรสุทธิของ TTW ไว้ในผลประกอบการแต่จะรับรู้เพียงเงินปันผลเท่านั้น (ประมาณ 372 ล้านบาทในปี 2556) แต่ยังมีอัพไซด์จากการนำบริษัท CK Power เข้ามาจดทะเบียนใน ตลท. ในปีนี้ (CK ถือหุ้น 38%)
เราปรับประมาณการและมูลค่าที่เหมาะสมของ CK เพิ่มขึ้นเพื่อสะท้อนการขายหุ้น TTW และใช้ P/BV ที่ 2.6 เท่าจากเดิม 2.3 เท่าทำให้มูลค่าที่เมหาะสมของ CK สำหรับปี 2556 เพิ่มขึ้นจากเดิม 9.9 บาทเป็น 20 บาท อ้างอิง EV/Backlog 0.4 เท่าซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 9 เท่าโดยมีความเสี่ยงคือ 1) ความล่าช้าในการก่อสร้าง 2) โครงการใหม่ที่น้อยกว่าคาดและ 3) ต้นทุนที่สูงขึ้น


* เคจีไอ ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย STEC เป็น 36 บาท

บทวิเคราะห์ บล.เคจีไอ ระบุว่า จากแนวโน้มของธุรกิจที่สดใสในระยะต่อไป เราจึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” STEC โดยปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 36.00 บาท จาก 28 บาท หลังจากการ re-rating PBV จาก 2Std มาเป็น 3Std ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเมื่อปี 2547 จากการที่บริษัทมียอด backlog ในมือสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท จาก 2.65 หมื่นล้านบาทในปี 2547 นอกจากนี้ เรายังชอบ STEC จากแนวโน้มกำไรสุทธิที่ยังเติบโตต่อเนื่องทำสถิติสูงสุดใหม่ทุกปีในช่วงปี 2555-2557 ยิ่งไปกว่านั้น สถานะทางการเงินของบริษัทยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งโดยมีสถานะเงินสดสุทธิ และสัดส่วน DE ที่ต่ำ ซึ่งเท่ากับเป็นการจำกัดความเสี่ยงในการที่จะต้องเพิ่มทุนในอนาคต
มูลค่างานก่อสร้างสำหรับกลุ่มรรับเหมาก่อสร้าง คาดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2556 อย่างน้อย 10.0% YoY เป็น 1 ล้านล้านบาท จากการใช้จ่ายลงทุนของภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนส่งมวลชน ทั้งนี้จากอัตราการประสบความสำเร็จในการประมูลงานที่ 30.0% และยอดงานในมือ (backlog) ที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท เราคาดว่ายอดขายของ STEC ในช่วงปี 2554-2557 น่าจะเพิ่มขึ้น 18.2% CAGR ขณะเดียวกัน เราเชื่อว่าบริษัทจะสามารถรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) เอาไว้ได้ที่ 9.0% จากการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทมีสภาพคล่องสูงทำให้สามารถต่อรองขอส่วนลดจากผู้ค้าวัสดุได้มากขึ้น อันจะช่วยชดเชยกับการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนงานก่อสร้างภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 65-70% ของงานทั้งหมดของบริษัทจาก 59% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 นอกจากนี้อัตราภาษีที่ลดลงเหลือ 20% ยังช่วยชดเชยผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและน่าจะทำให้ STEC ทำสถิติกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ในปี 2554-2557 จาก 903 ล้านบาทในปี 2554 เป็น 1.0 พันล้านบาทในปี 2555 เป็น 1.2 พันล้านบาทในปี 2556 และ1.4 พันล้านบาทในปี 2557
ในช่วงที่อุตสาหกรรมการรับเหมาก่อสร้างอยู่ในช่วงขาขึ้น ตลาดเชื่อว่า STEC จะมีโอกาสเพิ่มทุนในอีกไม่ช้า แต่เราไม่ได้คิดเช่นนั้นเพราะเรามองว่ามีความเสี่ยงไม่มากนักที่บริษัทจะต้องเพิ่มทุนเนื่องจาก i) ไม่ได้มีงานกระจุกมากนักในช่วงปี 2554-2557 เนื่องจากรัฐบาลกระจายโครงการใหญ่ๆ เช่น โครงการระบบรางไปเป็นสัญญาย่อยๆหลายสัญญา ซึ่งจะช่วยให้ STEC สามารถรักษาสมดุลระหว่างงานเก่าและงานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ii) บริษัทยังมีความสามารถที่จะกู้เพิ่มได้อีกจากการที่บริษัทมีสถานะเงินสดสุทธิและมีสัดส่วน DE ที่ต่ำ
ประมาณการเฉลี่ยของ Bloomberg คาดว่ากำไรสุทธิของ STEC ในปี 2556 จะอยู่ที่ 1.1 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของเราที่ 1.2 พันล้านบาทอยู่ 10.8% ทั้งนี้จากยอด backlog จำนวนมากและ GPM ที่สูงถึง 9.0% เราเชื่อว่าตลาดมีมุมมองที่อนุรักษ์นิยมเกินไป และนักวิเคราะห์ในตลาดน่าจะมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรของบริษัทขึ้นอีกอย่างน้อย 10.0% ในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ เรายังมองว่าราคาหุ้นของ STEC ก็ยังถือว่าถูกที่ระดับ 4.9x 2013 PBV หรือ 2Std ในขณะที่บริษัทมียอด backlog ที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 5.8 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับ PBV ในอดีตที่ทำสถิติสูงสุดที่ 3std ในขณะที่มียอด backlog ในมือในเวลานั้นเพียงแค่ 2.85 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เราเชื่อว่า STEC สมควรที่จะได้รับการ re-rate จาก 2std มาเป็น 3Std ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของ PBV ในอดีต โดยราคาเป้าหมายของเราอยู่ที่ 36.00 บาทอิงจาก PBV ปี 2555 ที่ 6.3x
ด้วยผลประกอบการที่อยู่ในช่วงขาขึ้นและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เราจึงเลือก STEC เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มโดยแนะนำ “ซื้อ” และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายจาก 28 บาทเป็น 36 บาท
ล่าสุด วันนี้ (18 ม.ค.56 )กิจการร่วมค้า เอส ยู ซึ่งประกอบด้วย STECและUNIQ ซึ่งมีสัดส่วนในกิจการร่วมค้าฯ 60%และ40%ตามลำดับ ได้ร่วมกันลงนามสัญญาจ้างโครงการก่อสร้างกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต งานสัญญาที่ 1


*บิ๊ก UNIQ มั่นใจปีนี้รายได้โตไม่ต่ำกว่า 10%

นายนที พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า คาดว่ารายได้ในปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อนเนื่องจากปัจจุบันบริษัทฯ มีงานในมือหรือ Backlog อยู่ที่กว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยยังไม่ได้รวมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงสัญญาที่ 1 ที่มีมูลค่ารวม 2-3 หมื่นล้านบาทที่ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ที่คาดว่ารัฐบาลจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 8 ม.ค.นี้ ทั้งนี้ งานในมือปัจจุบันจะทยอยรับรู้บันทึกเป็นรายได้ตลอด 3-4 ปี
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ก็มีแนวทางที่จะเข้าประมูลงานภาครัฐอย่างต่อเนื่องโดยหากเงื่อนไขใดที่บริษัทฯสามารถเข้าร่วมประมูลได้ก็จะเสนอเรื่องในทันที โดยงานที่จะเข้าประมูลหลักๆ จะเป็นงานลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เชื่อว่าในปีนี้จะมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนการบริหารต้นทุนบริษัทฯ ก็ยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจทั้งเรื่องต้นทุนจากค่าแรง วัสดุก่อสร้าง เพราะบริษัทฯจะต้องเน้นคุมต้นทุนเพื่อให้สามารถชนะการประมูลงานของภาครัฐที่จะมีเข้ามาอย่างต่อเนื่องในอนาคต
สำหรับผลประกอบการในปี 2555 บริษัทฯเชื่อว่าจะสามารถพลิกกลับมามีกำไรได้เมื่อเทียบกับปี 54 ที่บริษัทฯ ขาดทุน 15.87 ล้านบาท จากผลกระทบเหตุการณ์น้ำท่วม โดยสาเหตุที่ทำให้เขื่อว่าผลประกอบการในปี 2555 จะพลิกกลับมามีกำไร เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับค่าสินไหมกรณีน้ำท่วมประมาณ 200 ล้านบาทและยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งรวมไปถึงบริษัทฯยังคงเดินหน้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเสริมรายได้ในอนาคต ทั้งนี้ ในงวดสิ้นปี2555บริษัทฯจะมีการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นตามนโยบายบริษัทฯที่กำหนดไว้ว่าจะต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักเงินสำรองต่าง ๆทุกประเภท
'ปี 55 บริษัทฯ ก็คงกลับมามีกำไรอีกครั้งจากปีก่อนที่ขาดทุนไปเพราะเจอน้ำท่วม และก็คงจะมีปันผลได้ในงวดปี 55 ตามนโยบายที่จ่ายไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรบริษัทฯ ส่วนราคาหุ้นที่ขึ้นมาต่อเนื่องคงเห็นว่าบริษัทฯ เราก็อยู่ในระดับเทียบชั้นกับการแข่งขันตลาดฯ ได้ ซึ่งก็เป็นผลบวกต่อการปรับตัวของราคาหุ้น เพราะก่อนหน้านี้ราคายังไม่ปรับตัวก็คงไม่มีใครเห็นเท่านั้นเอง' นายนที กล่าว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 145

โพสต์

"ปู" โชว์ลงทุน 4.75 ล้านล. ตีปี๊บจีดีพี 6% ดึง "จีน-ญี่ปุ่น" เอี่ยวทวาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 20 ม.ค. 2556 เวลา 09:36:36 น.
"ยิ่งลักษณ์" จัดบิ๊กอีเวนต์ โชว์วิสัยทัศน์แผนลงทุน 4.75 ล้านล้าน ดันจีดีพีโต 6% เรียกปลัดกระทรวง-หัวหน้าส่วนราชการ-ผู้ว่าฯทั่วประเทศติวเข้ม รับนโยบายปฏิรูปรายได้ประเทศ 4 ด้าน ญี่ปุ่น-จีน แห่ดูบัญชีโครงการลงทุนยักษ์ หวังเอี่ยวโครงการทวายโปรเจ็กต์ "อำพน" แจงแผนใหม่รุกเศรษฐกิจ 3 ก๊อก คมนาคมหั่นงบซ่อมถนนเหี้ยน หันทุ่มทุนสร้างระบบรางเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน

แหล่งจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 21 ม.ค. 2556 นี้ รัฐบาลจะอนุมัติบัญชีรายการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท จากนั้นวันที่ 22 ม.ค. 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะชี้แจงแผนยุทธศาสตร์ชาติ หรือ country strategy ภายใต้โครงการ 2 ล้านล้าน และการใช้งบประมาณรายจ่าย งบฯลงทุนปี 2557 เพื่อสั่งการให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ รับฟังและนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกันทั้งประเทศ ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร


4 ยุทธศาสตร์ปั้นจีดีพี 6%

ทั้งนี้ รัฐบาลจะจัดเวทีให้นายกรรัฐมนตรีได้ประกาศชี้แจงแผนการยุทธศาสตร์ให้กับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนไทยอีกครั้งเพื่อเชิญชวนนักลงทุนจากทั่วโลกและตอกย้ำภาพปีแห่งการลงทุนเป็นวาระแห่งชาติในโอกาสต่อไป

สำหรับเนื้อหาในการชี้แจงของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะครอบคลุมการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้มีการขยายตัวแบบ New growth new model จาก 4 ด้าน คือการปรับโครงสร้างการผลิตและบริการ การสร้างรายได้จากอตุสาหกรรมและธุรกิจที่ประชาชนมีส่วนร่วม อุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และการปฏิรูปประเทศด้วยกฎหมาย ปฏิรูประบบราชการ เป้าหมายเพื่อให้ประเทศมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6% ต่อปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 เป็นต้นไป รัฐบาลมีแผนในการลงทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตามแผนยุทธศาสตร์ 2 ล้านล้านบาท รวมกับลงทุนระบบน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท ดังนั้นมียอดงบประมาณที่รัฐบาลต้องทำตามแผนทั้งสิ้นประมาณ 4.75 ล้านล้านบาท


จีน-ญี่ปุ่น แย่งเค้ก

แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลยังเปิดเผยต่อไปว่า ขณะนี้นักลงทุนและรัฐวิสาหกิจของประเทศต่าง ๆ ให้ความสนใจโครงการลงทุนของประเทศไทยจำนวนมาก ส่วนใหญ่ต้องการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายทั่วประเทศ มูลค่าลงทุน 8 แสนล้าน โครงการรถไฟฟ้า 6 สายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และโครงการทวายโปรเจ็กต์ โดยกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือจีนและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมูลค่าลงทุนที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอเฉลี่ยสูงกว่าราคาของนักลงทุนจากจีนถึง 3 เท่า ทำให้รัฐบาลไทยต้องพิจารณาถ่วงดุลการเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนจากทั้ง 2 ประเทศอย่างรอบคอบโดยการมาเยือนของของนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในวันที่ 17-18 ม.ค.ที่ผ่านมา ก็มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารือและพิจารณาบัญชีโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทของไทย และแสดงความจำนงการเป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรในการร่วมลงทุนโครงการทวายโปรเจ็กต์ โครงการบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้รัฐบาลไทยเชิญไปลงพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจทวาย เพื่อร่วมรับฟังแผนดำเนินการระหว่างไทย-พม่าในอนาคตด้วย

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายนักลงทุนของญี่ปุ่นได้เดินทางมาหารือและรับฟังการชี้แจงโครงการลงทุนของฝ่ายไทยเป็นระยะ ๆ อาทิ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือเจบิก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัทอุตสาหกรรมการก่อสร้างอีกหลายแห่ง ได้เดินทางมารับฟังข้อมูลจากสำนักงบประมาณ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มาโดยตลอด


งัด 3 แผนรับเศรษฐกิจโลกล่ม

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2556 ว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนการลงทุน 2 ล้านล้านบาท และแผนการลงทุนเรื่องน้ำ 3.5 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นจากวิกฤต ทั้งอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่ไว้วางใจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจว่าจะดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ จึงได้ปรับแผน

ตั้งรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น 3 แนวทาง ตั้งแต่ก๊อก 1 ก๊อก 2 และก๊อกพิเศษ 3 ระดับ คือก๊อกที่ 1 การกระตุ้นการส่งออก ระบบเศรษฐกิจไทยยังคงเป็นประเทศที่ต้องพึ่งตัวเลขการส่งออกเป็นสำคัญ และตัวเลขการส่งออกยังคงเป็นเรื่องที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่รัฐบาลจะสู้อย่างเต็มที่ ก๊อกที่ 2 การหารายได้จากการท่องเที่ยว จะมีการปรับปรุงจุดขายเพื่อรองรับตลาดใหม่ โดยเฉพาะ

นักท่องเที่ยวชาวจีน ชาวอินเดีย ที่มีกำลังซื้อมาก และมีพฤติกรรมการใช้จ่ายจากการกิน ช็อปปิ้ง และการหารายได้จากการผลักดันสินค้าโอท็อป โดยเฉพาะอาหาร การขยายตลาดให้กับสินค้าอาหาร ก็ยังพอมีทิศทางที่เป็นไปได้

และก๊อกที่สำคัญที่สุดก๊อกพิเศษ คือ 3 ถือเป็นแผนขับเคลื่อนครั้งใหญ่ของรัฐบาล เพื่อสร้างความมั่นใจในระยะยาว นั่นคือการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ในส่วนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของประเทศอีกครั้ง หลังจากที่เคยลงทุนกับสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อ 6 ปีที่ที่ผ่านมา

"เราพูดกันมาตลอดว่า อนาคตพลังงานจะราคาสูงขึ้น เราจะถูกบีบเรื่องการลงทุนจากกฎระเบียบการค้าต่างประเทศ และเราก็พูดกันมาตลอดว่า จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ทั้งหมด การขนส่งจากถนนสู่ระบบราง จากรางสู่น้ำ ดังนั้น นี่ถือเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลจะทำในสิ่งที่ประเทศเราฝันกันมาตลอด 7 ปีว่า ระบบขนส่งทั้งหมดจะเชื่อมต่อกัน"

นายอำพนกล่าวอีกว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด จะมีผลกระทบในด้านบวก ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจไปในตัว ยกตัวอย่าง การก่อสร้างรถไฟฟ้า ก็ทำให้เกิดชุมชน เกิดบ้านจัดสรร เกิดร้านค้าบริเวณสถานีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากระบบรางทั่วประเทศเชื่อมต่อกัน ก็จะทำให้เกิดการสร้างงานในกลุ่มจังหวัด แรงงานไม่ต้องย้ายถิ่นเข้าเมือง เกิดการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นในการประกอบอาชีพ ซึ่งการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ถือเป็นโอกาสของการเชื่อมโยงไปสู่ความเจริญที่ยั่งยืนในที่สุด


โต้ง-ชัชชาติ ดันนโยบาย

มีรายงานข่าวจากสำนักงบประมาณว่า วันที่ 22 ม.ค. ซึ่งจะมีการจัดประชุมสัมมนามอบนโยบายสำหรับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ และการชี้แจงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 โดยมีนายกฯยิ่งลักษณ์เป็นประธานมอบนโยบาย ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายในงานสัมมนา จะมีการชี้แจงแนวทางหลักในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง จะชี้แจงภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทย และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม จะชี้แจงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ

นอกจากนี้ จะมีการชี้แจงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 โดยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในงานดังกล่าว เพื่อเร่งรัดให้หน่วยงานทุกกระทรวง ทบวง กรม ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในลักษณะบูรณาการร่วมกันให้เกิดผลในทางปฏิบัติเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด


คมนาคมเกลี่ย2ล้านล้านใหม่

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังนำแผนโครงการ 2 ล้านล้านบาท จำนวน 55 โครงการของคมนาคมที่อยู่บัญชี 1 ภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เข้าหารือร่วมกับนายกฯ และกระทรวงการคลังเมื่อ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปลงตัวในส่วนการลงทุนงานถนน โดยนายกฯให้เสนอโครงการที่เป็นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เน้นเส้นทางที่สนับสนุนด้านโลจิสติกส์

เพื่อลดต้นทุนขนส่งของประเทศระยะยาว ส่วนโครงการลงทุนทางราง ทางน้ำและทางอากาศเริ่มนิ่งแล้ว


โยกงบฯถมทั้งคู่-ไฮสปดเทรน

การเกลี่ยงบฯลงทุน ผลประชุมล่าสุด วันที่ 18 ม.ค. ตัดเงินลงทุนบางงานถนนทั้งกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทออกมาลงทุนโครงการทางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพิ่ม เช่น

ต่อขยายทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพถึงเด่นชัย ส่วนรถไฟความเร็วสูง 4 สายคงเดิม วงเงินลงทุนล่าสุดรวม 753,105 ล้านบาท คือ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 204,221 ล้านบาท และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ 183,600 ล้านบาท กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 140,855 ล้านบาท กรุงเทพฯ-หัวหิน 123,798 ล้านบาท และต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ไปพัทยา-ระยอง 100,631 ล้านบาท

ในส่วนกรมทางหลวงชนบท เดิมของบฯลงทุนกว่า 56,000 ล้านบาท ปรับลดวงเงินบางโครงการ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนเชื่อมต่อบริเวณ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ และ จ.สมุทรสาคร ออกให้เฉพาะค่าเวนคืน 800 ล้านบาท โยกงบฯลงทุนโครงการถนนเลียบชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก (รอยัลโคสต์) เป็นต้น


มอเตอร์เวย์ได้แค่ค่าเวนคืน

สำหรับกรมทางหลวงเสนอขอกว่า 260,000 ล้านบาท ถูกตัด 50,000-60,000 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนทั้งทางคู่และขยายถนน 4 เลน ปรับลดวงเงินค่าก่อสร้าง เช่น มอเตอร์เวย์ 2 สาย ให้เฉพาะ

ค่าเวนคืนที่ดิน โดยสายบางปะอิน-โคราช 8,000 ล้านบาท จากทั้งโครงการ 90,000 ล้านบาท สายบางใหญ่-กาญจนบุรี 6,600 ล้านบาท จากทั้งโครงการ 55,600 ล้านบาท ส่วนการก่อสร้างให้ดึงเอกชนมาลงทุนรูปแบบ PPP และตัดโครงการขยายโทลล์เวย์ (รังสิต-บางปะอิน) 23,000 ล้านบาท ไปอยู่บัญชี 2


งบฯขยาย 4 เลนพุ่ง 4.6 หมื่น ล.

นำเงินมาลงทุนเพิ่มในการขยายถนนสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร จากวงเงินเดิม 17,700 ล้านบาท เป็นกว่า 46,000 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 2,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยกเลิกวงเงินก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่คลังให้นำโครงการใส่ไว้ในบัญชี 1 กว่า 50,000 ล้านบาท ใช้เงินกู้ไจก้า โยกเงินมาลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 57,306 ล้านบาทเพิ่มอีก 1 สาย

ส่วนโครงการทางด่วนยังลงทุน 3 สาย คือ สายดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก สายศรีรัช-ดาวคะนอง และสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต รวมถึงโครงการของกรมการขนส่งทางบก คือโครงการสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายที่เชียงของ สถานีขนส่นสินค้า 15 แห่ง

ด้านโครงการของกรมเจ้าท่ายังได้เงินลงทุนคงเดิมที่ 30,277 ล้านบาท สร้างท่าเรือน้ำลึก จ.ชุมพร ท่าเรือน้ำลึกสงขลา แห่งที่ 2 สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังและขุดลอกร่องน้ำในแม่น้ำป่าสัก ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ด้านอากาศมี 1 โครงการคือสร้างสนามบินแม่สอด 862 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 146

โพสต์

รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเซ็นต์สัญญาและเริ่มสร้างภายในรัฐบาลชุดนี้
Source - กรมประชาสัมพันธ์ (Th), Sunday, January 20, 2013

นายประพัฒน์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบและเตรียมเอกสาร โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจรหรือ สนข. ภายในปีนี้จะออกรายละเอียดขอบเขตการดำเนินงานหรือ TOR โดยสี่สายจะประกาศพร้อมกัน คือ กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่, กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย, กรุงเทพมหานคร-ระยอง และกรุงเทพมหานคร-หัวหิน จะเริ่มเซ็นต์สัญญาและเริ่มก่อสร้างภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยจะประกาศทั่วไป ล่าสุดมีนักลงทุนทั้งประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี และประเทศแถบยุโรปให้ความสนใจ

ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ได้มีโครงการปรับปรุงรางรถไฟและจัดสร้างรางคู่ จัดซื้อหัวรถจักรและตู้โดยสารเพิ่ม เพื่อสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ในการบรรทุกสินค้า โดยได้รับการร้องของจากบริษัท ปตท.จำกัด มหาชน อยากให้เพิ่มหัวลากเพื่อส่งน้ำมันจากลานกระบือเข้ากรุงเทพมหานคร ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้จัดสรรงบประมาณให้ 176,000 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลชุดนี้เตรียมออกพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 .2 ล้านล้านและร้อยละ 60 จะนำไปให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบรางทั้งประเทศที่ไม่ได้พัฒนามากว่า 40 ปีแล้ว เนื่องจากระบบรางประหยัดกว่าการขนส่งระบบอื่น

ธนวันต์ ชุมแสง สวท.เชียงใหม่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 147

โพสต์

เรื่องราวที่เกิดซ้ำๆซากๆ
ส่วนทุนเหลือนิดเดียว
หากผมถือหุ้น
คงถามผู้บริหารว่า
ท่านได้บริหารงานอย่างมืออาชีพ
และด้วยความสุจริตหรือเปล่า
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย (F45-3)
บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน)

(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 3 งวด 9 เดือน
สอบทาน สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 30 กันยายน
ปี 2556 2555 2556 2555
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (1,244,776,000) 10,186,000(1,249,777,000) 34,101,000
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (1.01) 0.03 (1.12) 0.07
ต่อหุ้น (บาท)
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
kissme
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 148

โพสต์

พี่โจใจเย็นครับ แค่ตั้งสำรองเฉยๆ บริษัทนี้เค้าธรรมาภิบาลสูงส่ง :juju:
กลัว ผถห รู้ข่าวทีหลังจะตกใจ อิอิ :mrgreen:
narong_191
Verified User
โพสต์: 14
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 149

โพสต์

TIES เพิ่งเพิ่มทุนไปด้วยนะครับ. แต่ก็ ทำทุนหายกำไรหด :shock:
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 150

โพสต์

ผมว่าดีไม่ดีเค้าจะปลอบใจโดยการแจก Warrant เอาน่ะสิครับ เพราะส่วนของผู้ถือหุ้นเริ่มน้อย

เครือนี้หุ้นแม่มี W พ่วงทุกตัวนะครับ บางตัวก็พ่วง W มาหลายชุดแล้วด้วยครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"